ชีวิตแบบ Spider-Neighbor ฮีโร่ของไทย เพื่อนบ้านคนใหม่ใน Bangklyn (Earth-112)

ติดตาม ‘Spider-Man’ มาตั้งแต่เวอร์ชันแรก ไม่เคยคิดเลยว่าจะมีฮีโร่คนนี้อยู่ในจักรวาลอื่นๆ ด้วย แต่ ‘Spider-Man : Across the Spider-Verse’ ก็ทำให้เราได้เห็นแล้วว่า ไม่ว่าจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนบนจักรวาลนี้ ก็สามารถเป็นฮีโร่แมงมุมได้ด้วยเหมือนกัน พอได้เห็น Spider-Man ในภาพที่แตกต่างกันออกไปมากมายแล้วก็แอบนึกสงสัยว่า ถ้าหากมีไอ้แมงมุมในประเทศไทยของเราบ้างจะเป็นอย่างไร จะสามารถเดินทางข้ามตึกโดยเท้าไม่แตะพื้นเหมือนที่นิวยอร์กได้หรือเปล่า หรือจะต้องเผชิญกับรถจำนวนมากบนท้องถนนเหมือนกับที่มุมแบตตันกันนะ คอลัมน์ Urban Isekai ขอพาทุกคนไปติดตาม ‘Spider-Neighbor’ ฮีโร่เพื่อนบ้านที่แสนดีในเวอร์ชันที่ต้องใช้ชีวิตที่เมือง ‘Bangklyn’ กันว่า ในโลกหมายเลข 112 นี้ชีวิตของเขาจะเป็นอย่างไรบ้าง Daily Life : ถึงจะมีตัวช่วยทำให้ชีวิตเปลี่ยนไป แต่การเดินทางก็ยังยากลำบากเหมือนเดิม ครั้งหนึ่ง Spider-Neighbor เคยมีชีวิตธรรมดาเหมือนกับ Spider-Man ในโลกอื่นๆ ก่อนหน้านี้เขาเป็นนักศึกษาที่ใช้เวลาเดินทางในแต่ละวันไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง เคยเดินสะดุดฟุตพาทเพราะกระเบื้องไม่เสมอกันจนทำให้เลือดท่วมมาแล้ว แต่หลังจากโดนแมงมุมกัดจนกลายเป็น Spider-Neighbor เขาก็มีตัวช่วยอย่างใยแมงมุมที่ควรจะช่วยร่นเวลาเดินทางในเมืองได้ แต่ด้วยข้อจำกัดหลายอย่างของ Bangklyn ไม่ว่าจะเป็นจำนวนตึกสูงที่มีน้อยและตั้งอยู่ห่างกันจนไม่สามารถโหนตัวข้ามตึกได้ รวมถึงเสาไฟฟ้าและสายไฟระโยงระยางที่กีดขวางการห้อยโหน ทำให้ต้องโหนตัวระดับที่ต่ำและใกล้กับพื้นดิน ซึ่งวิธีนี้ยังเสี่ยงต่อการถูกรถยนต์และมอเตอร์ไซค์ชนอีกด้วย […]

ความรุ่มรวยของ ‘สุราชุมชน’ และ ‘วัฒนธรรมการดื่ม’ ของญี่ปุ่น

หนุ่มสาวออฟฟิศใส่สูทผูกไทนั่งสังสรรค์กันในร้านเหล้า มนุษย์เงินเดือนออกไปดื่มกับหัวหน้าและลูกค้าจนดึก แถมยังเมาเละเทะจนหมดสภาพ เหตุการณ์เหล่านี้คือภาพสะท้อนสังคมญี่ปุ่นที่หลายคนคงเคยเห็นในข่าวหรือสื่อต่างๆ อยู่บ่อยครั้ง ส่วนใครที่เคยไปเยือนญี่ปุ่นด้วยตัวเองก็น่าจะนึกภาพตามได้ไม่ยาก เพราะเราสามารถพบเห็นวิถีชีวิตแบบนี้ได้ทั่วไปในแดนอาทิตย์อุทัย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่อย่างโตเกียว ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า ‘การดื่ม’ คือส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่คนญี่ปุ่นสืบทอดกันมานานแล้ว มากไปกว่านั้น ธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของแดนปลาดิบยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะผู้คนเข้าถึงน้ำเมาได้ง่ายและสะดวกสบาย ที่สำคัญ ภาครัฐยังส่งเสริมการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในฝั่งของแบรนด์ใหญ่ไปจนถึงผู้ผลิตรายย่อยระดับท้องถิ่น ชาวญี่ปุ่นกับวัฒนธรรมการดื่ม ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการดื่มที่ยาวนาน และยังแทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันของประชาชนในปัจจุบัน ที่เป็นแบบนั้นเพราะการดื่มของผู้คนในแดนปลาดิบไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายหรือสังสรรค์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนถึงวัฒนธรรมทางสังคมและธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันมานาน ชาวญี่ปุ่นมองว่าการดื่มคือหนึ่งวิธีแบ่งปันความรู้สึกของ ‘การอยู่ร่วมกัน’ (Togetherness) และ ‘ความซื่อสัตย์’ (Honesty) ที่นี่จึงมีวัฒนธรรมการดื่มที่เรียกว่า ‘โนมิไก’ (NoMiKai) ซึ่งมาจากคำว่า ‘nomi’ (飲み) ที่แปลว่าดื่ม และ ‘kai’ (会) ที่แปลว่างานรวมหรืองานประชุม เมื่อนำมารวมกัน โนมิไกจึงแปลว่างานสังสรรค์ที่เน้นการดื่มมากกว่าการกิน และเป็นการสังสรรค์กันหลังเลิกงาน โดยส่วนใหญ่การดื่มลักษณะนี้จะเกิดขึ้นที่ร้านอาหารและบาร์สไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกว่า ‘อิซากายะ’ (Izakaya) แม้ว่าโนมิไกจะไม่ใช่การบังคับ แต่พนักงานส่วนใหญ่มักถูกคาดหวังให้เข้าร่วมการดื่มหลังเลิกงาน เนื่องจากคนส่วนใหญ่มองว่าการเข้าสังคมลักษณะนี้คือส่วนหนึ่งของการทำงาน ซึ่งจะช่วยเชื่อมโยงคนทำงานเข้าหากัน เหมือนเป็นการสร้างคอนเนกชันที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ และอาจส่งผลต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพเช่นกัน แต่การสังสรรค์ลักษณะนี้ไม่ได้ใช้กับบริบทการทำงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะยังรวมถึงการดื่มเพื่อทำความรู้จักเพื่อนใหม่ หรือสร้างความสนิทสนมระหว่างกลุ่มเพื่อนด้วย สำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของญี่ปุ่น หลายคนอาจนึกถึง […]

การปรับค่าแรงขั้นต่ำของไทย เพิ่มขึ้นเท่าไรในช่วงระยะเวลา 10 ปี

วันวันหนึ่งคุณหมดเงินไปกับค่าครองชีพเท่าไหร่ ทั้งค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายจิปาถะเล็กๆ น้อยๆ ที่พอรวมกันก็หลายร้อยบาท จากนั้นลองหันมาดูจำนวนเงิน 300 กว่าบาท ซึ่งเป็นค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบัน ที่แค่ใช้จ่ายในแต่ละวันก็แทบไม่เพียงพอแล้ว ไหนจะค่านู่นค่านี่ที่ต่อแถวปรับราคาขึ้นแทบทุกปี แต่ในขณะเดียวกัน ค่าแรงของคนทำงานในประเทศนี้กลับยังแช่แข็งที่เรตเดิม จริงอยู่ว่ามีการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำเพิ่มขึ้นบ้าง แต่ก็เพิ่มขึ้นในจำนวนแค่หลักหน่วยถึงหลักสิบเท่านั้น ซึ่งเอาเข้าจริงจำนวนเงินที่ว่านี้ก็ไม่ได้ช่วยให้คนทำงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้เท่าไหร่เลย ค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยที่เริ่มต้น 300 บาทมาตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบันมีการปรับขึ้นไปกี่ครั้ง และในแต่ละครั้งนั้นมากน้อยแค่ไหน เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายจำเป็นในแต่ละวันหรือไม่ คอลัมน์ City by Numbers หาคำตอบมาให้แล้ว ไทยกับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน แม้ว่าเราจะเคยชินกับค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยที่ 300 บาท/วัน แต่ความจริงแล้วอัตราค่าแรงถูกปรับจากปี 2554 ให้เป็นมาตรฐานเท่ากันทั่วประเทศทุกจังหวัดเมื่อปี 2556 และคงอัตรานี้มานานกว่า 4 ปี จนมีการปรับอีกครั้งในปี 2560 ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ค่าแรงขั้นต่ำในไทยมีการปรับขึ้นทั้งสิ้น 5 ครั้ง ดังนี้ ปี 2556 ค่าแรงขั้นต่ำปรับขึ้นที่ 300 บาท/วัน (ทั่วประเทศ) […]

Little Stove & Little Stump สนามเด็กเล่นและคาเฟ่ที่อยากให้ครอบครัวใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน

กลิ่นขนมปังอบสดใหม่ลอยจางๆ ในอากาศ ลาเต้ร้อนแก้วหนึ่งวางอยู่ตรงหน้า เรายกขึ้นจิบเชื่องช้า ละเลียดรสขมจากกาแฟที่เบลนด์กับความหวานของน้ำผึ้งได้พอดี ความง่วงงุนจากการออกเดินทางแต่เช้าหายเป็นปลิดทิ้ง “เดือนนี้มีวันพิเศษคือวันผึ้งโลก เราอยากให้เด็กๆ เรียนรู้ว่าผึ้งเป็นสัตว์ที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ในส่วนของสนามเด็กเล่นจะมีเวิร์กช็อปที่สอนเด็กๆ เรื่องนี้ ส่วนคาเฟ่ก็จะทำเมนูที่อินสไปร์ควบคู่ไปด้วยกัน” หญิงสาวคนคิดเมนูอธิบายให้ฟัง หญิงสาวคนนี้คือ ‘พีช-วงศ์ณิชา วงศ์สืบชาติ’ หุ้นส่วน ‘คาเฟ่’ ที่เสิร์ฟกาแฟให้เรา ส่วนที่นั่งข้างกันคือ ‘พราว พุทธิธรกุล’ หุ้นส่วน ‘สนามเด็กเล่น’ ที่เพิ่งถูกพูดถึง Little Stove & Little Stump คือชื่อของคาเฟ่และสนามเด็กเล่นแห่งนี้ และถึงแม้จะตั้งชื่อแยกกันชัดเจน ทว่าทั้งสองร้านตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน นั่นคือลานกว้างริมคลองบางมดในย่านพระราม 2 ที่มีต้นไทรเก่าแก่ตั้งอยู่เด่นหรา รายล้อมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ไม่ผิดแน่ว่าเป็นความตั้งใจ พวกเธออยากให้ทุกคนในครอบครัวได้มีพื้นที่ใช้เวลาร่วมกันได้ แต่มากกว่านั้น-ในฐานะแม่ของลูก-พวกเธออยากให้ผู้ใหญ่ไม่พลาดโมเมนต์สำคัญของเด็ก เช้าวันนี้ที่ไร้เสียงเจี๊ยวจ๊าวของน้องๆ เราเอ่ยปากขอให้พวกเธอพาทัวร์คาเฟ่และสนามเด็กเล่นพร้อมกับเล่าเรื่องราวเบื้องหลัง ท่ามกลางกลิ่นขนมปังอบสดใหม่และสีเขียวของพรรณไม้ Little Bond ย้อนกลับไปหลายปีก่อน พีชกับพราวรู้จักกันผ่านสามีที่เป็นเพื่อนกัน ทั้งคู่เจอกันบ่อยจนกลายเป็นเพื่อนสาวคนสนิท แชร์ความชอบ ความฝัน และเรื่องราวในชีวิตประจำวันให้กัน ยิ่งได้มีลูกในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกันก็ยิ่งเข้าอกเข้าใจกันและกันมากขึ้น หนึ่งในความฝันที่ทั้งสองคนแชร์กันบ่อยๆ คือ ถ้ามีลูก […]

เช่าหรือซื้อที่อยู่อาศัย เสียเงินแบบไหนคุ้มค่ากว่ากัน

หลายคนคงเคยได้ยินความเชื่อที่ว่า ‘การเช่าบ้านคือการทิ้งเงินเปล่า’ เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อให้ได้มาซึ่ง ‘พื้นที่อยู่อาศัย’ แต่คนจำนวนไม่น้อยกลับมองว่า การจ่ายค่าเช่าทุกๆ เดือนนั้นไม่ใช่การลงทุนหรือทำให้ผู้เช่ามีทรัพย์สินที่จับต้องได้ แต่ถ้าหากนำค่าเช่านั้นไปลงทุนซื้อบ้านของตัวเองสักหลัง ท้ายที่สุดแล้วบ้านหลังนั้นก็จะเป็นทรัพย์สินที่เราถือครองได้ตลอดชีวิต ขณะเดียวกัน ไม่ใช่ทุกคนจะมีเงินก้อนใหญ่สำหรับซื้อบ้านได้ แถมการกู้เงินซื้อบ้านยังอาจสร้างภาระผูกพันให้ผู้ซื้อนานถึง 20 – 30 ปี ซึ่งยอดผ่อนแต่ละเดือนอาจมีราคาสูงกว่าค่าเช่าบ้านรายเดือน ทำให้กว่าจะได้เป็นเจ้าของบ้านเต็มตัว ว่าที่เจ้าของบ้านคนใหม่คงต้องประหยัดอดออมรวมไปกับการซื้อบ้าน จนอาจไม่มีเวลาหรือไม่มีเงินที่จะใช้จ่ายให้กับกิจกรรมที่ยังไม่จำเป็น ระหว่างการซื้อบ้านหรือการเช่าบ้านอยู่ ตกลงแล้วตัวเลือกไหนจะดีและเหมาะสมกับเราที่สุด เราขอชวนผู้อ่านไปเปรียบเทียบเงื่อนไขและความคุ้มค่าพร้อมกัน ที่อยู่อาศัยในเมืองมีราคาสูง จากการวิเคราะห์ของเว็บไซต์อสังหาริมทรัพย์ Realtor.com พบว่า พื้นที่ของเมืองใหญ่ในสหรัฐอเมริกานั้นมีราคาสูง เนื่องจากเป็นแหล่งเศรษฐกิจขนาดใหญ่จนทำให้ตลาดที่อยู่อาศัยเติบโตไปด้วย ส่งผลให้ราคาที่อยู่อาศัยในบริเวณนี้มีมูลค่าที่สูงขึ้น ซึ่งถ้าหากจะต้องใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่แล้ว การจ่ายค่าเช่าเฉลี่ยต่อเดือนจะช่วยประหยัดเงินได้มากกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยของผู้ซื้อบ้านถาวร เช่นเดียวกันกับในกรุงเทพฯ ที่แหล่งงานส่วนใหญ่กระจุกอยู่ในเมือง ทำให้ผู้คนจากหลายพื้นที่ต้องเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในเมือง แน่นอนว่าราคาของอสังหาริมทรัพย์ในทำเลทองหรือใกล้ตลาดแรงงานจึงมีราคาสูงขึ้นตามความต้องการ ยกตัวอย่างเช่น คอนโดมิเนียมใกล้รถไฟฟ้าสถานีเพลินจิต ราคาซื้อจะอยู่ที่ 4.29 – 6.8 ล้านบาทต่อห้อง ซึ่งในบริเวณใกล้เคียงสถานีเดียวกันนั้น หากเป็นราคาเช่าจะเริ่มต้นตั้งแต่ 13,900 บาทต่อเดือนขึ้นไป จะเช่าหรือซื้อขึ้นอยู่กับการวางแผนอนาคต สำหรับคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในเมืองเป็นส่วนใหญ่ การจะซื้อบ้านหรือคอนโดฯ ที่มีราคาจับต้องได้จึงอาจเป็นไปได้ยากในตอนนี้ แต่ในขณะเดียวกัน ในตลาดอสังหาฯ ยังมีที่อยู่อาศัยจำนวนมากที่ปล่อยเช่าในราคาหลายระดับ ตั้งแต่ราคาต่ำกว่า […]

Household คนไทยและถิ่นที่อยู่

‘ที่อยู่อาศัย’ คือหนึ่งในปัจจัยสี่ที่ช่วยให้มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ได้ เป็นทั้งพื้นที่ส่วนตัว พื้นที่พักผ่อน และพื้นที่ที่ให้ความสุขสบายทั้งกายและใจ ดังนั้นการมีบ้านหรือที่อยู่สักแห่งเป็นของตัวเองนั้นจึงเป็นความฝันและเป้าหมายของใครหลายคน แต่การจะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังในตอนนี้แทบกลายเป็น ‘ความฝัน’ ที่เอื้อมไม่ถึงของคนไทยจำนวนไม่น้อย ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันที่ทำให้ทุกคนต้องรัดเข็มขัดให้แน่นกว่าเดิม รวมถึงปัจจัยอื่นๆ อย่างวัสดุการสร้างบ้าน ค่าที่ดิน หรือดอกเบี้ยการกู้เงินที่สูงขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก จนทำให้คนที่ตั้งใจจะซื้อที่อยู่เป็นทรัพย์สินของตัวเองต่างต้องเลื่อนโครงการในฝันนี้ออกไปเรื่อยๆ จนไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้วเมื่อไหร่ถึงจะได้มีบ้านในครอบครองเสียที คอลัมน์ Overview เดือนพฤษภาคมนี้ ชวนทุกคนไปสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยในยุคปัจจุบัน ตั้งแต่ราคาอสังหาริมทรัพย์ที่ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ เทรนด์การเช่าอยู่ที่กำลังมาแรง ไปจนถึงแนวโน้มของที่อยู่อาศัยที่จะรองรับวิถีชีวิตของผู้คนในอนาคต ราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองสูง ปัจจุบันที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ มีราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ มูลค่าของตัวบ้าน ค่าวัสดุก่อสร้างต่างๆ ที่ปรับตัวขึ้น รวมไปถึงราคาประเมินที่ดินเมื่อต้นปี 2566 ที่ปรับขึ้นถึง 8.93 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ราคาซื้อขายที่อยู่ต้องปรับขึ้นตาม โดยทำเลไหนที่เป็นแหล่งตลาดงานและเดินทางสะดวก ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก ตัวอย่างทำเลในกรุงเทพฯ ที่ใกล้แหล่งทำงานและขนส่งสาธารณะที่มีราคาสูง ได้แก่  – ถนนเพลินจิต 1,000,000 บาท/ตร.ว. – ถนนสีลม 750,000 – 1,000,000 บาท/ตร.ว. – ถนนสาทร 450,000 […]

สัมผัสชะตาโศกของคนไร้บ้านที่ไร้สิทธิ์ไร้เสียงกับ ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’

‘ยามเดินสวนกัน ไม่ว่าใครก็หลบสายตา แต่กลับถูกเฝ้าจับจ้องจากผู้คนมหาศาล นิยามนั้นคือชีวิตคนไร้บ้าน’ แม้จะเป็นคนที่ค่อนข้างสนใจประเด็นสังคมอยู่บ้าง แต่กับประเด็นคนไร้บ้าน ฉันคงต้องบอกว่าค่อนข้างเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่แม้ว่าในโลกแห่งความจริงมันจะแสนใกล้ตัว เพราะเคยนั่งรถหรือเดินผ่านคนกลุ่มนี้แถวถนนราชดำเนินและมุมอื่นๆ ในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยๆ ที่บอกว่าไกลตัวเพราะสารภาพตามตรงว่าตัวเองไม่เคยสนใจศึกษาประเด็นนี้อย่างจริงจัง แน่นอนว่ามีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเขาอยู่แล้ว แต่ไม่มีทางที่จะเข้าอกเข้าใจได้ เพราะไม่เคยสนทนาหรือคลุกคลีกับคนกลุ่มนี้แม้แต่น้อย จนกระทั่งเมื่อปีก่อน ไม่รู้อะไรดลใจให้ฉันหยิบหนังสือเกี่ยวกับชีวิตคนไร้บ้านในกองดองมาอ่าน เริ่มต้นด้วยรวมเรื่องสั้น ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ก่อนไปเสาะหาความเรียง ‘สายสตรีท’ มาอ่านเพิ่มเติม หนังสือทั้งสองเล่มเขียนโดย ‘บุญเลิศ วิเศษปรีชา’ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สนใจประเด็นชีวิตคนชายขอบ และเป็นนักวิชาการไทยผู้เป็นที่รู้จักจากการทำงานวิจัยที่เอาตัวเองไปใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้าน ทั้งในประเทศไทย (สนามหลวง กรุงเทพฯ), ประเทศญี่ปุ่น (กรุงโตเกียว) และกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ คุณบุญเลิศเคยกล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ท้ายหนังสือ ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ถึงความแตกต่างของโครงสร้างสังคมและค่านิยมที่ส่งผลต่อสถานภาพของคนไร้บ้านของแต่ละประเทศ โดยเปรียบเทียบผ่านประเทศฟิลิปปินส์ที่มีคนไร้บ้านจำนวนมาก จนมีชุมชนคนไร้บ้านของตัวเองตามย่านต่างๆ และประเทศญี่ปุ่นที่มีจำนวนคนไร้บ้านไม่มากเท่า ทั้งยังไม่ได้พบเจอได้ง่ายๆ เนื่องจากพวกเขาไม่เป็นที่ยอมรับ ต้องหลบซ่อนตัวจากผู้คน ทั้งยังถูกมองว่าใช้ชีวิตได้ล้มเหลว ทำให้คนไร้บ้านที่ญี่ปุ่นมีความกดดัน เครียด และมีสถานะที่ต่ำต้อยจากการหลบๆ ซ่อนๆ และนั่นนำมาสู่การอ่านนิยายเรื่อง ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’ โดย Yu […]

‘แต่ละคนมีช่วงเวลาผลิบานของตัวเอง’ อย่าไปกลัวโลกที่เราช้าลงเมื่อไหร่ คนอื่นพร้อมวิ่งแซงเมื่อนั้น

‘รู้สึกผิดมากเลย ที่ต้องมาเครียดเรื่องความรัก แทนที่จะไปเครียดเรื่องงาน’ สาวผู้บริหารคนหนึ่งเคยบ่นกับเรา เพราะเธอเพิ่งอกหักจากความรักที่คาดหวังไว้มาก ตั้งแต่เมื่อไหร่กันนะ ที่ผู้คนวัยทำงานเริ่มหันมามองการดูแลทะนุถนอมหัวใจว่าเป็นเรื่องที่เสียเวลา มันคืออะไรกันแน่ที่ทำให้ ‘บทสนทนาเรื่องความรู้สึก’ ได้รับการยอมรับน้อยกว่าบทสนทนาเรื่องการลงทุน ผลกำไร หรือการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เราขอตอบเลยว่า ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเรานั้นล้วนอาศัยอยู่ในโลกแห่งทุนนิยม ทุกคนพอจะเข้าใจดีว่า หน้าตาของระบบทุนนิยมคือระบบเศรษฐกิจที่เน้นการแข่งขัน เร่งผลผลิต และคืนกำไรขึ้นไปสู่นายทุน อ่านมาถึงตรงนี้คงเริ่มคิ้วขมวดกันว่า เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจนั้นเกี่ยวข้องอะไรกับสุขภาพจิตเราด้วย เพราะในความเป็นจริงแล้ว สุขภาพจิตที่ดีแทบสร้างได้ยากมากๆ หากมาจากเราเพียงฝ่ายเดียว เราทุกคนล้วนได้รับผลกระทบทางจิตใจไม่ว่าในทางดีหรือไม่ดี จากสังคมที่เราอยู่หรือผู้คนที่รายล้อมเราเสมอ สิ่งที่ระบบทุนนิยมมีอิทธิพลต่อการกระทบใจเราก็คือ 1) ชีวิตเสพติดการแข่งขัน2) ชีวิตที่ไม่อยากคิดจะหยุดพัก3) ชีวิตที่ไม่อยากจะสนใจเรื่องหัวใจและความรู้สึก สภาพแวดล้อมที่ดำเนินด้วยความเร็วและการแข่งขัน การทำงานในแต่ละวันที่ต้องเร่งรีบ ยิ่งทำหลายอย่างในเวลาเดียวกันได้ยิ่งดี ไปจนถึงความเครียดจากงาน บางครั้งกลายเป็นถ้วยรางวัลแห่งความมุ่งมั่นของบางคน หากวันไหนที่เราร่วงโรยจากการจดจ่อกับงาน เมื่อนั้นจะรู้สึกว่านี่คือบาดแผลของนักรบผู้ยิ่งใหญ่ ในขณะเดียวกัน ความเครียดเรื่องงานในจังหวะชีวิตที่เร่งรีบนี้เป็นบ่อเกิดของ Anxiety หรือก้อนความวิตกกังวลให้ใครหลายๆ คน อีกหนึ่งโรคใหม่ที่หนุ่มสาวออฟฟิศคุ้นเคยเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือ ‘โรคกลัวไลน์’ เพราะรู้สึกมีคนต้องการตามตัวเราไม่จบไม่สิ้น ต้องตื่นตัว พร้อมรับมือปัญหาจากงานตลอดเวลา หลายคนไม่ใช่แค่รู้สึกถึงความจำเป็นในการเอาชนะบริษัทคู่แข่ง แต่เพื่อนร่วมงานเองก็รู้สึกอยากเอาชนะด้วยเหมือนกัน เพียงเพราะอยากหลีกหนีให้ไกลๆ กับ ‘ความรู้สึกดีไม่พอ’ เราขอยกตัวอย่างความเร็ว ความแรง ความต้องแอ็กทีฟตลอดเวลาผ่านวงการเหล่านี้ […]

‘จักรพรรดิพงษ์’ ถนนทางผ่านย่านโรงพิมพ์หนังสือ ที่กำลังถูกปลุกให้ตื่นจากหลับใหล

ในวันที่ย่านเก่าอย่างนางเลิ้งและหลานหลวง เป็นปลายทางของผู้คนที่หลั่งไหลมาฮอปปิงคาเฟ่ที่ผุดขึ้นมากมายในพื้นที่ คืนความคึกคักกลับเข้ามาในพื้นที่โอลด์ทาวน์แถบนี้อีกครั้ง ไม่ต่างกับยุครุ่งเรืองของตลาดนางเลิ้งเมื่อครั้งอดีตที่เป็นจุดหมายของเหล่าหนุ่มสาวชาวพระนครมายาวนาน ใกล้ๆ กันยังมีอีกชุมชนหนึ่งตั้งอยู่ตรงกลาง ริมสองฝั่งของ ‘ถนนจักรพรรดิพงษ์’ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมร้อยทั้งสองย่านที่ว่านี้เข้าด้วยกัน แม้วันนี้จะอยู่ในสถานะของทางผ่านจนหลายคนอาจมองข้ามไป หรือถูกเหมารวมไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของย่านข้างเคียง ทว่าจริงๆ แล้วตรงนี้ก็มีคาแรกเตอร์ที่โดดเด่นไม่น้อย เพราะแต่ก่อน บนถนนสายนี้เคยเต็มไปด้วยโรงพิมพ์และร้านหนังสือการ์ตูนในวันที่สิ่งพิมพ์เฟื่องฟู มีร้านทำผมบาร์เบอร์และซาลอนยุคเก่าตั้งเรียงรายกว่าสิบร้าน ไปจนถึงภาพชินตาอย่างร้านกล้วยแขกหลากหลายสีเอี๊ยมที่เป็นสัญลักษณ์ประจำย่านนี้ ชวนย้อนความหลังฟังเรื่องเล่าจากหลายปากเสียงของชาวชุมชนจักรพรรดิพงษ์ ถึงบรรยากาศในอดีตของย่าน พัฒนาการของร้านค้าและชุมชน ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่กำลังปลุกให้ย่านทางผ่านที่หลับใหลค่อยๆ ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง ถนนที่นำพระนามอันไพเราะของพระอนุชาของรัชกาลที่ 5 มาตั้งเป็นชื่อนั้น คือผลพวงส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว โดยตัดแยกมาจากถนนบำรุงเมือง ถนนสายแรกๆ ในสยาม เชื่อมกับถนนราชดำเนิน เส้นเลือดใหญ่ที่เชื่อมระหว่างโซนเมืองเก่าตรงพระบรมมหาราชวังกับเมืองใหม่ (ในสมัยนั้น) แถบดุสิต แต่แรกเลยแถบนี้ยังเป็นพื้นที่สวนตามประสาบรรยากาศชานเมือง กว่าจะมีอาคารพาณิชย์ตลอดสองฝั่งถนนจักรพรรดิพงษ์แบบที่เห็นกัน ก็ต้องรอจนถึงประมาณช่วงทศวรรษ 2490 หลังจากนั้นจึงเริ่มเป็นย่านการค้าที่มีร้านรวงต่างๆ เข้ามาจับจองพื้นที่เพื่อประกอบกิจการกันอย่างหลากหลาย นอกจากร้านทำผมแล้ว ก็มีร้านตัดเสื้อสูท ร้านทำฟันแบบโบราณ ทำแป้งประหน้า ร้านเอกซเรย์ ร้านขายเคมีภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งสลับสับเปลี่ยนเจ้าของอยู่ตลอด บ้างก็ย้ายไปที่อื่นแล้วในตอนนี้ บางห้องก็ยังมีลูกหลานอยู่กระทั่งปัจจุบัน ‘สุขศาลานางเลิ้ง’ อดีตสถานอนามัยของชาวกรุง “ชุมชนป้าไม่ใหญ่ แต่มีสตอรีเยอะ” ป้าจิ๋ว […]

Accessible Elections ออกแบบหน่วยเลือกตั้ง ให้เอื้อต่อคนทุกกลุ่มและรับรองสิทธิของประชาชน

เป็นช่วงโค้งสุดท้ายที่ต้องบอกว่าถ้าเลี้ยวผิดชีวิตเปลี่ยนแน่นอน สำหรับการเลือกตั้งที่จะมาถึงในวันที่ 14 พฤษภาคมนี้ การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นจะออกมาในทิศทางไหน ใครจะเป็นนายกฯ และเราจะมีทีมรัฐบาลที่เข้ามาช่วยปรับเปลี่ยนแก้ไขความเป็นอยู่ของสังคมประเทศไทยให้ดีขึ้นได้จริงหรือไม่ การออกไปเลือกพรรคที่ชอบและลงคะแนนให้กับคนทำงานที่ใช่ เสียงของทุกคนจะตอบคำถามนี้ได้ แต่อย่างไรก็ตาม จากการเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา เราทุกคนคงได้เห็นข้อผิดพลาดจากการจัดการของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กันมาไม่น้อย ส่งผลให้หลายคนเริ่มกังวลต่อความโปร่งใสในการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นอย่างมาก ก่อนวันเลือกตั้งใหญ่จะมาถึง คอลัมน์ Urban Sketch ขอนำปัญหาต่างๆ จากการเลือกตั้งล่วงหน้า รวมถึงความเป็นไปได้อื่นๆ มาออกแบบการเลือกตั้งให้เกิดบรรยากาศที่เป็นมิตร เข้าถึงง่าย เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนทุกเพศทุกวัย ทั้งคนหนุ่มสาว ผู้เฒ่าวัยชรา ไปจนถึงคนพิการ ให้ออกไปใช้สิทธิ์ได้อย่างสะดวกสบาย สมศักดิ์ศรี ไม่ต้องกังวลว่าเสียงของตนจะหล่นหายหรือไม่ หน่วยเลือกตั้งที่ใครๆ ก็ไปถึง การเลือกตั้งครั้งนี้แบ่งออกเป็น 400 เขตทั่วประเทศ โดยกรุงเทพฯ มีหน่วยเลือกตั้งมากที่สุดที่ 33 เขต แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีเสียงสะท้อนมาว่า การเดินทางไปถึงสถานที่รองรับการเลือกตั้งในหลายเขตเป็นเรื่องยากลำบาก เนื่องจากรายชื่อหรือรหัสของหน่วยเลือกตั้งไม่มีพิกัดแน่ชัด หรือผู้สูงวัยที่บางบ้านไม่มีรถยนต์เป็นของตัวเอง ต้องอาศัยติดรถกันมา บางคนต้องนั่งหลังรถกระบะปะทะกับแดดร้อนๆ กว่าจะถึงก็ใช้เวลานาน ขณะเดียวกัน เมื่อหลายครอบครัวและคนจำนวนมากใช้รถยนต์ส่วนตัวเดินทางมายังจุดเลือกตั้ง ก็อาจส่งผลให้การจราจรติดขัดตามไปด้วย เพื่อแก้ปัญหานี้ เราจะเปิดบริการขนส่งสาธารณะฟรีหรือจัดจ้างรถที่ใช้ประจำหมู่บ้าน อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเดินทางในวันเลือกตั้ง […]

‘SiraWigs’ อาณาจักรวิกทอมือของ ‘ไจ๋ ซีร่า’ ที่อยากให้คนไทยสนุกและมั่นใจกับการแปลงโฉม

เมื่อพูดถึง ‘วิกผม’ หลายคนอาจมองว่าเป็นสิ่งของฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต แต่สำหรับคนจำนวนไม่น้อย วิกผมอันเดียวกันนี้คือหนึ่งในเครื่องมือประกอบอาชีพที่ เสริมสร้างความมั่นใจ หรือแสดงออกถึงตัวตนที่ซ่อนลึกอยู่ภายในให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาคนภายนอก เพื่อทำความเข้าใจถึงการมีอยู่ของลักษณะและประเภทของวิกผมในท้องตลาด วันนี้คอลัมน์ The Professional จึงขอชวน ‘ไจ๋-ศิรวิชญ์ กมลวรวุฒิ’ หรือ ‘ไจ๋ ซีร่า’ Drag Queen เบอร์ต้นๆ ของวงการที่ตัดสินใจเปิดธุรกิจ ‘SiraWigs’ แบรนด์วิกทอมือที่ถูกเรียกกันจนติดปากว่า ‘วิกพี่ไจ๋’ มาพูดคุยแบบลงลึกถึงจักรวาลวิกทอมือตั้งแต่วันแรกมาจนถึงวันนี้ เหตุผลอะไรที่ทำให้บรรดาลูกๆ Drag Queen ทั้งหลาย รวมไปถึงเซเลบ ดารา อินฟลูเอนเซอร์ และบุคคลทั่วไปที่มีความต้องการใช้วิกต่างมองหาวิกจาก SiraWigs เป็นอันดับแรกๆ เราขอชวนทุกคนไปหาคำตอบพร้อมๆ กัน Drag Queen กับวิกผมเป็นของคู่กัน การถือกำเนิดของแบรนด์ ‘SiraWigs’ นั้นมีสารตั้งต้นมาจากอาชีพ Drag Queen ของไจ๋ ที่ทำให้ต้องคลุกคลีอยู่กับวงการวิกผมมาโดยตลอด ซึ่งจุดเริ่มต้นในครั้งนี้เกิดจากการเจอกันของไจ๋และเพื่อน Drag ชาวเยอรมนีเมื่อครั้งที่ไจ๋อยู่ประเทศออสเตรเลีย “เราเป็นนางโชว์มาก่อน พอขยับจากนางโชว์มาเป็น Drag Queen เรื่องของวิกก็กลายเป็นเรื่องคู่กันที่ขาดไม่ได้ […]

‘กลาสโกว์’ สู่การเป็น ‘เมืองเฟมินิสต์’ แห่งแรกของสหราชอาณาจักร ที่ออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่ม

เมือง ‘กลาสโกว์’ ประเทศสกอตแลนด์ คือหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เพราะเป็นเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยความมีชีวิตชีวา มีแหล่งช้อปปิงและร้านค้ากระจายอยู่ทั่ว ที่สำคัญยังเป็นเมืองขนาดใหญ่อันดับ 3 ของสหราชอาณาจักร ที่มาพร้อมความเจริญเกือบทุกด้าน ทำให้ผู้คนจากทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาตั้งรกรากที่นี่ จนทำให้กลาสโกว์มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเปิดกว้างสำหรับทุกคน ทว่าความก้าวหน้าของกลาสโกว์ไม่ได้หยุดเพียงเท่านั้น เพราะล่าสุดเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์ตั้งใจจะทำให้ ‘ผู้หญิง’ เป็นศูนย์กลางของการวางผังเมืองในทุกมิติ เพราะรัฐบาลของเมืองเชื่อว่า ‘การออกแบบเมืองที่ดีสำหรับผู้หญิง คือการออกแบบเมืองที่ดีสำหรับทุกคน’ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปทำความเข้าใจว่า ‘เมืองสำหรับผู้หญิง’ หรือ ‘Feminist City’ หน้าตาเป็นอย่างไร พร้อมเจาะลึกถึงแผนการสู่การเป็นเมืองเฟมินิสต์แห่งแรกของสหราชอาณาจักร และท้ายที่สุดมูฟเมนต์นี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กลาสโกว์ในมิติไหนบ้าง จุดเริ่มต้นของการออกแบบเมืองเพื่อผู้หญิง เส้นทางสู่การเป็นเมืองเฟมินิสต์ของกลาสโกว์เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2565 หลังจากสภาเทศบาลเมืองกลาสโกว์มีมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ที่จะทำให้ ‘ผู้หญิง’ เป็นหัวใจสำคัญของการวางผังเมืองทุกมิติ โดยผู้ยื่นข้อเสนอนี้คือ ฮอลลี บรูซ (Holly Bruce) สมาชิกสภาจากพรรคกรีน (Green) ความเคลื่อนไหวนี้ทำให้เมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์กลายเป็นเมืองแรกในสหราชอาณาจักรที่จะโอบรับ ‘แนวคิดการออกแบบเมืองแบบสตรีนิยม’ หรือ ‘Feminist Urbanism’ Feminist Urbanism หมายถึงการออกแบบเมืองที่ส่งเสริมการไม่แบ่งแยก และการรวมความหลากหลายของคนทุกกลุ่มเข้าไว้ด้วยกัน […]

1 3 4 5 6 7 13

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.