การเดินทางค้นหาความหมายของเวลา การพบพาน และการจากลาใน Frieren : Beyond Journey’s End

หากพูดถึงการ์ตูนอานิเมะญี่ปุ่นสักเรื่องที่ถ่ายทอดความเป็นไปของชีวิตอันเรียบง่าย เป็นไปไม่ได้เลยที่เวลานี้จะไม่พูดถึง Frieren เพราะอานิเมะจำนวน 28 ตอนเรื่องนี้ได้พร่ำสอนเรื่องราวในชีวิตที่พวกเราต่างต้องพบเจอ ผ่านการเดินทางผจญภัยในโลกเวทมนตร์แฟนตาซีของเหล่าผู้กล้า ที่ดูไกลตัวมนุษย์ปุถุชนคนธรรมดาอย่างเราๆ ได้อย่างแนบเนียน ไม่รู้สึกเคอะเขินแต่อย่างใด ซึ่งน่าแปลกใจว่าเหตุใดเรื่องราวแฟนตาซีเหนือจินตนาการ ทั้งการไปปราบจอมมาร นักรบผู้แกร่งกล้า คนแคระยอดนักสู้ นักพรตมากวิชา และจอมเวทผู้มีพลังมหาศาล จึงเข้าถึงหัวอกหัวใจคนธรรมดาที่ใช้ชีวิตในโลกไร้ซึ่งความวิเศษได้อย่างอ่อนโยน ท่ามกลางกระแสของแอนิเมชันแนว ‘อิเซไก’ ที่บรรดาตัวละครเอกกลับไปเกิดใหม่ในโลกต่างแดนที่เต็มไปด้วยความแฟนตาซี การผจญภัยท่ามกลางสิ่งวิเศษ และการทำภารกิจที่ยิ่งใหญ่ แอนิเมชันอย่าง Frieren กลับนำเสนอเรื่องราวเดียวกันในรูปแบบการผจญภัยที่แตกต่างออกไป และเข้าถึงผู้คนได้อย่างเรียบง่าย อย่างที่อานิเมะแฟนตาซีเรื่องอื่นๆ ไม่เคยทำมาก่อน จนชวนให้น่าค้นหาว่าสิ่งใดกันคือความเป็นมนุษย์ที่ผู้ชมประทับใจในการผจญภัยของแอนิเมชันเรื่องนี้ เวลาของแต่ละคนไม่เท่ากัน เราถึงต้องทำให้มีความหมาย การผจญภัยของ Frieren เริ่มต้นด้วยเรื่องราวการเดินทางของ ‘ฟรีเรน’ นักเวทสาวเผ่าเอลฟ์กับเหล่าผู้กล้า ประกอบไปด้วยวีรบุรุษ ‘ฮิมเมล’, นักบวช ‘ไฮเตอร์’ และนักรบคนแคระ ‘ไอเซ็น’ ที่หากเป็นแอนิเมชันเรื่องอื่นๆ คงจะเล่าด้วยการที่พวกเขาทั้งสี่เริ่มเดินทางไปปราบราชาปีศาจ แต่ Frieren กลับเริ่มต้นเรื่องราวด้วยช่วงเวลาหลังการปราบราชาปีศาจที่สำเร็จลุล่วง และสมาชิกแต่ละคนแยกย้ายกันไปใช้ชีวิตของตนเอง ฟรีเรนจึงออกเดินทางเรื่อยเปื่อยค้นคว้าศึกษาเกี่ยวกับเวทมนตร์ที่มีอยู่ทุกรูปแบบ ทว่าเมื่อถึงเวลาที่สมาชิกทั้ง 4 คนสัญญาว่าจะกลับมาพบกันอีกครั้ง เพื่อดูฝนดาวตกในรอบ 50 ปีดั่งที่เคยดูด้วยกันเมื่อครั้งปราบราชาปีศาจสำเร็จ […]

เมื่อความเชื่ออยู่เหนือทุกสิ่ง สำรวจจักรวาล Dune ผ่านมุมมองศาสนาและความเชื่อ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘Dune : Part Two’ กลายเป็นภาพยนตร์ไซไฟขึ้นหิ้งเรื่องใหม่ในทศวรรษนี้ไม่ต่างจาก ‘Star Wars’ หรือ ‘The Matrix’ ในอดีต จากเรื่องราวอันยอดเยี่ยมผ่านปลายปากกาของ Frank Herbert สู่จอเงินด้วยทัศนะของ Denis Villeneuve ผู้กำกับมากวิสัยทัศน์ ที่พาเราท่องไปในจักรวาล Dune ได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ เรื่องราวของ Dune ไม่ใช่จักรวาลไซไฟในอนาคตอันหรูหราไฮเทค แต่กลับเป็นอนาคตที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ อีกทั้งยังเต็มไปด้วยความป่าเถื่อนและอิทธิพลของศาสนาราวกับวิวัฒนาการย้อนกลับไปในยุคกลาง (Medieval) ทั่วทั้งจักรวาลถูกปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการโดยองค์จักรพรรดิเพียงหนึ่งเดียว และแบ่งสันการดูแลดวงดาวให้กับกลุ่มตระกูลขุนนางต่างๆ โดยที่ประชาชนบนดาวผู้เป็นเจ้าของเดิมทำได้เพียงก้มหัวยอมรับผู้ปกครองคนใหม่เท่านั้น จนกระทั่งการมาถึงของ ‘พอล อะเทรดีส’ (Paul Atreides) ผู้ที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของจักรวาลใหม่ทั้งหมด ทำไมผู้มีอำนาจถึงปกครองจักรวาลได้อย่างยาวนานโดยไร้ผู้ต่อต้าน และอะไรที่ทำให้การมาถึงของพอล อะเทรดีส สามารถปลุกระดมผู้คนให้ลุกขึ้นมาต่อต้านอำนาจจักรวรรดิอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คอลัมน์เนื้อหนังอยากพาทุกคนไปสำรวจจักรวาล Dune ผ่านแนวคิดของ ‘ศาสนา’ และ ‘ความเชื่อ’ ที่ปรากฏในเรื่อง อิทธิพลของศาสนาและจุดกำเนิดความศรัทธาของมนุษย์ โฮโมเซเปียนส์ (Homo Sapiens) คือสิ่งมีชีวิตเดียวที่สามารถสร้างแนวความคิดบางอย่างเพื่อชักจูงและรวบรวมกลุ่มก้อนของตนให้กระทำบางสิ่งที่ต้องการ […]

มองปัญหาความเหลื่อมล้ำของชนชั้นทางสังคม ผ่านตัวละครจากซีรีส์เกาหลี The Impossible Heir

คุณคิดว่าบุคคลเหล่านี้มี ‘สถานะทางสังคม’ แบบไหน และจะยกระดับมันอย่างไร เด็กหนุ่มที่มีพ่อเลี้ยงเป็นฆาตกรลูกชายนอกสมรสของตระกูลเศรษฐี (หรือแชบอล)หญิงสาวที่ต้องดิ้นรนหลังชนฝาเพราะหนี้สินที่แม่ก่อ เพราะบรรทัดฐานของสังคมที่มองมา กดทับให้พวกเขาต้องไขว่คว้าหา ‘สายป่าน’ ที่จะพาตัวเองปีนป่ายให้ได้มาซึ่งเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อยกระดับชนชั้นทางสังคมโดยไม่สนวิธีการ The Impossible Heir (2024) คือซีรีส์เกาหลีดราม่าแนวเสียดสีสังคม บน Disney+ Hotstar ที่ทำให้เราเห็นได้ชัดว่า สังคมที่เต็มไปด้วยความเหลื่อมล้ำมันกัดกินตัวตนและพาเราไปสู่อะไรบ้าง โดยเมสเซจของซีรีส์จะนำเสนอผ่านเรื่องราวการร่วมมือกันของตัวละครหลักที่มาจากชนชั้นล่างสุดของห่วงโซ่ เพื่อยกระดับตัวเองในเกมการชิงอำนาจ หวังเข้าครอบครองตำแหน่งผู้นำทางสังคมบนจุดยอดของพีระมิด ใครที่อยากสัมผัสเกมการชิงอำนาจสุดเข้มข้น สตรีมได้เลยบน Disney+ Hotstar “ถ้าอยากได้คำตอบที่ถูกต้อง ให้ดูที่กระบวนการ หากกระบวนการไม่ถูกต้อง มันจะไม่พาไปสู่คำตอบที่ถูกต้อง” – ฮันแทโอ แม้มองจากภายนอก ตัวเอกอย่าง ‘ฮันแทโอ’ (รับบทโดย อีแจอุค) เด็กหนุ่มนิสัยเย็นชาที่มีความฉลาดระดับหัวกะทิจนได้รับคะแนนสูงสุด 0.1 เปอร์เซ็นต์จากทั้งประเทศในการสอบจำลอง ดูเหมือนเป็นตัวละครที่มีสถานะทางสังคมที่ไม่แย่นัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว แทโอเติบโตขึ้นมาพร้อมกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นจากพ่อเลี้ยง และถูกคำว่า ‘ลูกฆาตกร’ คอยหลอกหลอนและเป็นตัวกดไม่ให้สามารถเลื่อนสถานะทางสังคมได้ตามต้องการ ความแค้นจากการโดนพ่อทารุณกรรมในช่วงวัยเด็ก และการขู่ฆ่าแม่ผู้ซึ่งเป็นคนในครอบครัวเพียงหนึ่งเดียวของแทโอที่เหลืออยู่ ทำให้เขาตัดสินใจใช้ความฉลาดและเจ้าวางแผนของตัวเองหากระบวนการที่จะนำไปสู่คำตอบที่ตัวเองต้องการ ตั้งแต่การร่วมมือช่วยเหลือ ‘คังอินฮา’ (รับบทโดย อีจุนยอง) […]

ค้นหาความพิเศษของวันธรรมดาในหนังเรื่อง Perfect Days

ไม่เกินจริงแต่อย่างใดที่จะกล่าวว่า Perfect Days คือหนังที่มอบการมองหาความสุขเล็กๆ น้อยๆ ของแต่ละวันในการใช้ชีวิต และเป็นความสุขให้การใช้ชีวิตทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นวันที่ดีดั่งฝัน วันที่ผิดหวังเกินทน วันหลังจากนี้ หรือวันนี้ในชั่วขณะที่กำลังเกิดขึ้นก็ตาม ทุกๆ วันคือวันวันหนึ่งที่ผ่านเข้ามา ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ เราไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แน่นอนว่าฟังดูคลิเชและไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรเลย แต่หนังญี่ปุ่นที่เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์นานาชาติยอดเยี่ยมเรื่องนี้กลับมอบประสบการณ์ที่ต่างออกไปให้ผู้ชมอย่างเราได้ หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องราวผ่านตัวละครชายผู้ประกอบอาชีพเป็นคนทำความสะอาดห้องน้ำสาธารณะ ซึ่งเป็นงานหนักหนาที่หลายคนในสังคมแสนรังเกียจ ดูไม่น่ามีความสุขได้เลย แต่เรากลับมองเห็นความมุ่งมั่นตั้งใจในการออกไปทำงานในแต่ละวันอย่างเปี่ยมล้นจนน่าประหลาดใจ รู้ตัวอีกที การได้เฝ้ามองเขาทำสิ่งต่างๆ ก็กลายเป็นความเพลิดเพลินใจอย่างที่หาไม่ได้ในหนังเรื่องไหนมาก่อน ไม่ว่าแต่ละวันจะเป็นวันที่ดี วันที่ผิดหวัง วันที่ผ่านไปแล้ว หรือวันที่ยังมาไม่ถึง ตัวละครนั้นยังคงมีจิตใจที่อยู่กับปัจจุบันชั่วขณะนั้น แม้ฟังดูเรียบง่ายและไร้ซึ่งแก่นสาร แต่การใช้ชีวิตในแต่ละวันอันธรรมดาที่ไม่ได้มีอะไรพิเศษแต่อย่างใดนั้นกลับสอนใจเราให้ลองหยุดชื่นชมกับสิ่งที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานั้นและละทิ้งทุกสิ่งไว้ก่อน  อะไรที่ทำให้ผู้กำกับชาวเยอรมันถ่ายทอดหนังที่สะท้อนชีวิตของชายชาวญี่ปุ่นออกมาแบบนั้น คอลัมน์เนื้อหนังอยากพาไปสำรวจแนวคิดและวิถีการทำงานของคนญี่ปุ่นใน Perfect Days กัน วันธรรมดาที่เปลี่ยนไปเพราะวิธีคิดในการใช้ชีวิต เมื่อมองดูชั้นหนังสือตามร้านหนังสือบ้านเรา บรรดาหนังสือพัฒนาตนเองในชั้นเหล่านั้นมักเป็นหนังสือที่หยิบยกคำญี่ปุ่นมาใช้เป็นชื่อหนังสือปรัชญาชีวิต ไม่ว่าจะ ‘อิคิไก’, ‘อิจิโกะ-อิจิเอะ’ หรือ ‘มตไตไน’ เป็นต้น แต่สำหรับคนญี่ปุ่นคงจะมองเป็นคำทั่วๆ ไป เป็นวิถีชีวิตที่พวกเขาใช้เป็นธรรมดาอยู่แล้ว เพราะมันฝังรากลึกในทุกสิ่งที่คนญี่ปุ่นเป็น ซึ่งคงยากที่จะสอนสิ่งเหล่านี้หรืออธิบายให้เข้าใจได้อย่างที่พวกเขาเข้าใจ แม้แต่จะอธิบายความหมายของคำเหล่านี้ออกมาให้คนญี่ปุ่นฟังเองยังเป็นเรื่องยาก เพราะมันคือเรื่องธรรมดาในชีวิตประจำวันของพวกเขา น่าสนใจที่คนญี่ปุ่นให้ความหมายกับสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน […]

‘สรรพสิ่งล้วนถูกกัดเซาะไปตามคลื่นลม’ สำรวจกรอบและเขตแดนที่กางกั้นใน Solids by the Seashore

ปกติแล้วหนังที่มีประเด็นใหญ่ๆ ชัดๆ มักจะนำเสนอเรื่องราวโดยให้ตัวละครชี้ไปยังปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ชมเห็นสถานการณ์เหล่านั้นอย่างชัดเจน ก่อนจะพยายามนำพาให้ตัวละครชักจูงผู้ชมไปหาหนทางต่อสู้แก้ปมปัญหานั้นๆ ทว่าสำหรับภาพยนตร์ ‘Solids by the Seashore’ หรือ ‘ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง’ ผลงานกำกับของ ‘อิฐ-ปฏิภาณ บุณฑริก’ ที่ก็ดูเป็นหนังไทยที่เต็มไปด้วยหัวข้อประเด็นใหญ่ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกำแพงกันคลื่นของรัฐ ความแตกต่างทางศาสนาไทยพุทธและมุสลิม และความสัมพันธ์ของหญิงสาวทั้งสอง ซึ่งแตะทั้งมิติการเมือง ศาสนา เพศสภาพ ที่เป็นเรื่องอ่อนไหว เล่าด้วยน้ำเสียงที่เป็นกลางค่อนข้างยาก และยากที่จะจับประเด็นทั้งหมดมาเล่าพร้อมกันให้ออกมากลมกล่อม กลับไม่ได้พยายามตะโกนป้อนข้อมูลเหล่านี้ให้แก่ผู้ชมเลยสักนิด ทั้งที่ประเด็นต่างๆ ทับซ้อนเกาะเกี่ยวกันมากมาย แต่การเล่าเรื่องก็เป็นไปดั่งชื่อ ‘ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย ถึงปานกลาง’ หนังเพียงแค่ทำหน้าที่พาผู้ชมไปจับจ้องคลื่นลมทะเล หาดทราย ภูมิลำเนาของจังหวัดสงขลาผ่านตัวละครทั้งสอง จนไม่แปลกใจที่หลายคนจะรู้สึกว่าเป็นหนังส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัด เนื่องจากฉายภาพวิวทิวทัศน์ความสวยงามของหาดทราย สถานที่ต่างๆ ในจังหวัด มากกว่าการถ่ายทอดเรื่องราวของตัวละครเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่นั่นแหละ การค่อยๆ จับจ้องความเปลี่ยนแปลงและความเป็นไปที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ทั้งจากธรรมชาติที่ค่อยๆ เปลี่ยนไปอยู่แล้ว สิ่งปลูกสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ด้วยจุดประสงค์บางอย่าง รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีความเชื่อแบบเก่า และความคิดแบบใหม่ที่ค่อยๆ ผ่านเข้ามา ก็เป็นวิธีการบอกเล่าที่เรียบง่ายและทำให้คนเห็นปัญหาต่างๆ ได้ชัดเจนเช่นกัน สิ่งปลูกสร้างของภาครัฐที่ยับยั้งความเป็นไปของธรรมชาติ […]

สำรวจพื้นที่ระหว่างความเชื่อ ความตาย และความเป็นชุมชนในภาพยนตร์ ‘สัปเหร่อ’

หลังจากการเดินทางของหนังชุด ‘ไทบ้านเดอะซีรีส์’ ที่เล่าเรื่องของบรรดาตัวละครมาเป็นจำนวน 3 ภาค โดยมีภาคแยกของตัวละครในจักรวาลนี้ด้วยกันหนึ่งเรื่อง นั่นคือ ‘หมอปลาวาฬ’ รวมไปถึงหนังที่แยกออกจากจักรวาลหลักอย่าง ‘รักหนูมั้ย’ และ ‘เซียนหรั่ง’ ในที่สุดก็มาถึงคราวหนังภาคแยกเรื่องราวของตัวละครที่ทุกคนต่างรอคอยใน ‘สัปเหร่อ’ ซึ่งเป็นเสมือนภาคที่จะคลี่คลายเรื่องราวของตัวละคร ‘เซียง’ และ ‘ใบข้าว’ เมื่อดูผิวเผินจากตัวอย่างและใบปิด เราอาจรู้สึกเหมือนว่า หรือทีมคนทำหนังชุดไทบ้านต้องการทำหนังผีเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดหนังไทย เพราะด้วยภาพต่างๆ ที่เผยออกมาให้ได้ชม เป็นเรื่องราวของคนในหมู่บ้านที่ถูกวิญญาณผีใบข้าวตามหลอกหลอนจนหัวโกร๋น แต่เมื่อได้รับชมตัวหนังจริงๆ ปรากฏว่าเรื่องราวในเรื่องกลับเป็นสิ่งที่ไม่ได้ถูกนำเสนอบ่อยนักในหนังไทย เราจึงไม่แปลกใจที่ผู้ชมที่เริ่มต้องการสิ่งแปลกใหม่จากหนังไทยจะแห่กันไปดูหนังเรื่องนี้อย่างล้นหลาม จนรายได้จะทะลุ 1,000 ล้านแล้วในขณะนี้ นอกจากความแปลกใหม่ของรสชาติที่หนังไทยไม่ค่อยนำเสนอ หนังเรื่องนี้ยังหยิบเอาประเด็นความเป็น-ความตาย ที่เชื่อมโยงกับความเป็นชุมชนในต่างจังหวัดมาบอกเล่าได้อย่างเรียบง่ายและสมจริง ผ่านสายตาของลูกหลานผู้เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ คอลัมน์เนื้อหนังขอถือโอกาสพาผู้อ่านไปสำรวจแง่มุมเหล่านี้ในสัปเหร่อ เพื่อทำความเข้าใจบริบทประเทศไทยในพื้นที่ที่อาจห่างไกลจากตัวผู้อ่าน ไม่ว่าจะเป็นในเชิงกายภาพหรือความเข้าใจก็ตาม พื้นที่ของความเชื่อ สิ่งที่ทำให้สัปเหร่อโดดเด่นกว่าหนังไทยเรื่องอื่นๆ คือการเข้าไปลงลึกถึงอาชีพของสัปเหร่อ ราวกับเป็นสารคดีงานศพตามหลักความเชื่อและความต้องการของผู้ตายหรือผู้จัดงานให้ หนังค่อยๆ พาผู้ชมไปสำรวจการแสดงความรักต่อผู้ที่จากไปในรูปแบบต่างๆ นานา จากการที่ ‘เจิด’ (นฤพล ใยอิ้ม) ลูกชายคนเล็กของ ‘ศักดิ์’ (อัจฉริยะ ศรีทา) สัปเหร่อประจำหมู่บ้านที่กลับมาบ้านหลังจากไปร่ำเรียนมหาวิทยาลัยที่กรุงเทพฯ ซึ่งนำพาเขาไปพบกับความหลากหลายของการจัดทำพิธีแก่ผู้ที่จากไป ไม่ว่าจะแบบท้องถิ่นของชาวไทยอีสานที่มีวัฒนธรรมการตั้งวงเล่นพนันกันในงานศพ […]

I Feel ‘Them’ Linger in the Air มองความไม่เท่าเทียมในสังคมไทยผ่านละคร ‘หอมกลิ่นความรัก’

บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของละคร ลองตั้งใจดม…นอกจากกลิ่นของความรักแล้ว…คุณรู้สึกถึงกลิ่นอื่นอีกไหม ลองตั้งใจมอง…นอกจากภาพสวยงามของคนรักกัน…คุณเห็นภาพความเหลื่อมล้ำอันแสนเจ็บปวดไหม ลองตั้งใจฟัง…นอกจากเสียงของคำรักพร่ำพลอด…คุณได้ยินเสียงกรีดร้องจากความเจ็บช้ำของผู้ถูกกดขี่หรือไม่ ลองตั้งใจละเลียด…นอกจากรสหวานล้ำของน้ำผึ้งพระจันทร์…คุณสัมผัสได้ถึงรสชาติขมขื่นซับซ้อนที่ถูกแทรกซอนเพิ่มเติมเข้ามาอย่างแนบเนียนบ้างหรือเปล่า แม้เส้นเรื่องหลักจะให้น้ำหนักกับความรักโรแมนติกของสองพระเอกอย่าง ‘พ่อจอม’ (ชานน สันตินธรกุล) และ ‘คุณใหญ่’ แห่งเรือนพลาธิป (รพีพงศ์ ทับสุวรรณ) สมกับชื่อเรื่อง ‘หอมกลิ่นความรัก’ หากแต่เส้นทางชีวิตของตัวละครสมทบที่รายล้อมนั้นก็มีสีสันจัดจ้านและรสชาติเข้มข้นจนไม่อาจมองข้าม เรื่องราวอันแสนตราตรึงนี้กำลังขยายตีแผ่สถานะและความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ จนพูดได้เต็มปากว่าไม่ใช่เพียง I Feel ‘You’ Linger in the Air เท่านั้น บทโทรทัศน์ถูกรีเสิร์ชมาโดยถ้วนถี่เพื่อเพิ่มเติมเส้นเรื่องตัวรองขึ้นมาอย่างละเมียดละไม จนสามารถขยายขอบเขตของนิยาย Boy’s Love ไปสู่ประเด็นสังคมที่กว้างขวางกว่าเดิมในระดับ I Feel ‘Them’ Linger in the Air ‘They/Them’ หมายความถึงใครบ้าง…หลังจากห้วงกาลของคุณใหญ่เคลื่อนผ่านไปร่วมร้อยปี สรรพนามบุรุษที่ 3 ตามหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษนี้มิได้หมายถึงแค่ ‘พวกเขา’ เหล่าชายหญิงทั้งหลายอีกแล้ว แต่หมายรวมเพศหลากหลายที่ปฏิเสธจะยึดมั่นการถูกจำแนกให้มีสิทธิ์เป็นได้เพียง ‘He/Him’ หรือ ‘She/Her’ ตามกรอบจำกัดของเพศกำเนิด สรรพนาม They/Them นี้อาจสามารถอ้างอิงถึง ‘นายเหนียว […]

‘แม้เราจะมีลูก แต่ก็ยังโดดเดี่ยว’ มองสังคมผู้สูงวัยแต่ละประเทศผ่าน 8 หนังและซีรีส์

แม้จะมีภาพยนตร์หรือซีรีส์จำนวนไม่มากที่เลือกถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตหรือบริบทสังคมผู้สูงอายุโดยมีพวกเขาเป็นคนแสดงนำ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ผู้กำกับหยิบเรื่องของพวกเขาในแง่มุมต่างๆ มานำเสนอ ก็มักจะกินใจผู้ชมอยู่เสมอ เพราะไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก กลุ่มผู้สูงอายุก็เป็นหนึ่งฟันเฟืองที่ทำให้สังคมดำเนินต่อไปได้  และในขณะเดียวกัน การนำเสนอภาพผู้สูงอายุจากฝั่งตะวันตกหรือฝั่งเอเชียที่อยู่ในบริบททางสังคมที่แตกต่างกันในจอภาพยนตร์ ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้เราได้ทำความเข้าใจกับแนวคิดหรือปัญหาผู้สูงวัยที่แต่ละประเทศกำลังเผชิญ เพื่อเรียนรู้หรือหาหนทางแก้ไขสถานการณ์ที่เกิดขึ้นร่วมกัน คอลัมน์ ‘เนื้อหนัง’ ชวนทุกคนมาร่วมมองประเด็นสังคมผู้สูงอายุผ่าน 8 ภาพยนตร์และซีรีส์ที่ล้วนสะท้อนถึงบริบททางสังคมและการจัดการเมืองที่เกี่ยวข้องกับคนกลุ่มนี้ 01 | Plan 75 (2022)เมื่อญี่ปุ่นเปิดโอกาสให้คนอายุ 75 ปี เลือกตายอย่างสมัครใจ(การการุณยฆาตและสังคมที่ไม่มีโอกาสให้ผู้สูงอายุ) ถ้าพูดถึงหนังที่มีตัวเอกดำเนินเรื่องเป็นผู้สูงอายุในยุคนี้ คงหนีไม่พ้นเรื่อง ‘Plan 75’ (2022) ที่หยิบจับเอาประเด็นเรื่องสังคมผู้สูงอายุและการการุณยฆาตมาเล่าผ่านบริบทความเป็นประเทศญี่ปุ่นได้อย่างเจ็บแสบ จนได้รับเลือกให้เป็นตัวแทนภาพยนตร์ญี่ปุ่นเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์นานาชาติเวทีออสการ์ปี 2023 ผู้ชมจะรับรู้ถึงความยากลำบากของสถานการณ์ผู้สูงอายุประเทศนี้ได้ผ่านการเล่าเรื่องราวสุดดิสโทเปีย เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นออกกฎหมาย Plan 75 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีอายุ 75 ปีขึ้นไป เลือกการุณยฆาตตนเองได้อย่างสมัครใจ แบบไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมรับเงินชดเชยถึง 1 แสนเยน เพื่อหวังแก้ปัญหาตัวเลขผู้สูงอายุล้นเมือง และจากตัวกฎหมายนี้เองที่ทำให้เราเห็นถึงเบื้องลึกในจิตใจของคนแต่ละกลุ่ม ตั้งแต่คนที่มองว่าผู้สูงอายุเป็นภาระของสังคม ไปจนถึงตัวผู้สูงอายุบางคนที่มองว่าการการุณยฆาตอาจไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการ แต่เป็นเพราะสังคมที่ไม่มีโอกาสให้พวกเขาได้ใช้ชีวิตต่างหากที่กำลังบังคับให้พวกเขาเลือกเส้นทางนี้อย่างเลี่ยงไม่ได้ 02 | C’mon C’mon (2021)การออกเดินทางสัมภาษณ์เด็กในอเมริกาของลุงและหลาน(การมองโลกของคนสองวัยในมุมมองที่แตกต่างกัน) ‘เรานึกภาพอนาคตของตัวเองไว้แบบไหน’‘ถ้าเราสามารถมีพลังพิเศษได้ […]

Overseas ความหวัง ความกลัว และชะตากรรมของแรงงานฟิลิปปินส์โพ้นทะเล

“ทำไมฉันมาเจอเจ้านายแบบนี้นะโชคไม่เคยเข้าข้างฉันเลยนี่แหละชีวิตแรงงานฟิลิปปินส์โพ้นทะเล” ในแต่ละปีชาวฟิลิปปินส์นับล้านต้องเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเล โยกย้ายไปอยู่ต่างแดนในฐานะ ‘แรงงานชาวฟิลิปปินส์โพ้นทะเล’ หรือ ‘Overseas Filipino Workers’ เป้าหมายของคนเหล่านี้แทบไม่ต่างกัน นั่นคือ หาเงินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว และไขว่คว้าโอกาสใหม่ๆ ที่บ้านเกิดของพวกเขาให้ไม่ได้ ‘Overseas’ (2019) คือสารคดีสัญชาติเบลเยียม-ฝรั่งเศส กำกับโดย ‘Sung-A Yoon’ การันตีคุณภาพโดยรางวัล Amnesty International Catalunya Award จาก DocsBarcelona ภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมจาก DOXA และภาพยนตร์สารคดียอดเยี่ยมจาก Atlanta Film Festival ซึ่งทาง Documentary Club ได้นำกลับมาฉายอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้ในโปรแกรมพิเศษ ‘3 หนังอาเซียนร่วมใจ’ แก่นสำคัญของสารคดีเรื่องนี้คือ เรื่องราวของผู้หญิงฟิลิปปินส์จำนวนมากที่ต้องเดินทางไปทำงานเป็นคนรับใช้หรือพี่เลี้ยงเด็กในต่างประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในทางออกของชีวิตขัดสนในประเทศหมู่เกาะแห่งนี้ แต่ก่อนจะทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ พวกเธอต้องทุ่มเทให้กับการเรียนใน ‘โรงเรียนแม่บ้าน’ ศูนย์ฝึกอาชีพด้านนี้โดยเฉพาะที่มีอยู่แพร่หลายในฟิลิปปินส์ ที่นี่ไม่ได้สอนแค่เรื่องหน้าที่การงานให้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังสอนให้พวกเธอต้องเตรียมตัวเตรียมใจก่อนเผชิญอุปสรรคมากมาย ทั้งความเหงา การถูกนายจ้างกดขี่ หรือแม้แต่การต้องตัดสินใจทิ้งลูกของตัวเองไว้ที่บ้านเป็นปีๆ เพื่อไปทำงานเลี้ยงลูกให้คนอื่น กฎข้อที่ 1 : จงอย่าร้องไห้ต่อหน้าเจ้านาย […]

TÁR : เมื่อเวลาสัมพันธ์กับวัฒนธรรมคว่ำบาตร และพลวัตของอำนาจไม่อาจแยกจากเรื่องเพศ

บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์ หลังห่างหายจากงานกำกับไปนานกว่า 16 ปี ล่าสุดผู้กำกับมากฝีมืออย่าง Todd Field ก็กลับมาพร้อมกับผลงานภาพยนตร์เรื่อง Tár ที่เปิดตัวครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส (Venice Film Festival) เมื่อปีที่ผ่านมา และล่าสุดก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ถึง 6 สาขาด้วยกัน รวมถึงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Tár นั้นเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของ Lydia Tár (รับบทโดย Cate Blanchett) วาทยกรหญิงผู้แสนเก่งกาจและมากประสบการณ์ ความสามารถของเธออยู่ในระดับที่หาตัวจับได้ยากในแวดวงดนตรี แน่นอนว่าสถานะทางสังคมที่เป็นทั้งวาทยกรเอกและอาจารย์ที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์นับร้อยพัน นั่นอาจเป็นจุดสูงสุดของอาชีพการงานที่ใครคนหนึ่งจะไปถึงได้ หากแต่ช่วงชีวิตคนเราต่างก็แปรผันไปตามสถานการณ์ เมื่อมือเอื้อมแตะถึงขอบฟ้า แต่เท้ายังย่ำอยู่ในโคลนตม ก็ไม่แปลกที่ต่อให้แม้จะยืนอยู่ในจุดที่สูงแค่ไหนก็พร้อมร่วงหล่นลงมาได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะกับ Tár ศิลปินมากความสามารถที่เต็มไปด้วยรอยด่างพร้อยและข้อบกพร่องนับไม่ถ้วน ซ้ำยังทำในสิ่งที่ก้าวข้ามเส้นแบ่งศีลธรรมและจริยธรรมอยู่หลังม่านมานานแรมปี แน่นอนว่าความสำเร็จในแง่ของรายได้และคำวิจารณ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้คงเป็นที่ประจักษ์อย่างไม่มีข้อกังขา แต่ความสำเร็จอีกนัยหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ การหยิบจับประเด็นที่สังคมให้ความสนใจมาบอกเล่า โดยทำให้เรื่องราวเหล่านั้นยังคงอยู่ในบทสนทนา จนเกิดการพูดคุยถกเถียงกันต่ออย่างไม่รู้จบหลังจากที่ลุกออกจากโรงหนังไป ‘เวลา’ คือตัวแปรสำคัญของวัฒนธรรมคว่ำบาตร ในช่วงปีหลังมานี้ ทุกครั้งที่มีประเด็นร้อนของเหล่าคนดังที่เกิดข้อโต้แย้งกันบนโซเชียลมีเดีย หลายคนอาจคุ้นหูและผ่านตากับคำว่า ‘วัฒนธรรมคว่ำบาตร (Cancel Culture)’ มาไม่มากก็น้อย ซึ่งความหมายโดยกว้างของคำนี้คือ การเลิกสนับสนุนผลงานของเหล่าศิลปินที่มีปัญหา (Problematic) […]

ส่องปรากฏการณ์บุลลี่ในสังคมเกาหลีผ่าน The Glory ที่คว้ารางวัลซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี

ประเทศเกาหลีใต้มีคำสามัญที่ใช้เรียกความรุนแรงในโรงเรียนว่า ‘학교폭력’ (ฮักกโยพงนย็อก) และมีคำศัพท์เฉพาะอย่างคำว่า ‘왕따’ (วังต้า) ที่ไม่มีคำแทนความหมายแบบแน่นอนในภาษาอังกฤษ แต่แปลความได้ราวๆ ว่า ‘เหยื่อที่ถูกบุลลี่’ โดยคำขั้วตรงข้ามของวังต้าคือ ‘일진’ (อิลจิน) หมายถึง ‘คนที่ชอบรังแกคนอื่นๆ และทำผิดกฎเป็นประจำ’ แค่ชุดคำไม่กี่คำ น่าจะพอทำให้เราเห็นกันแล้วว่า ศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาโดยเฉพาะเหล่านี้ คือหลักฐานและชื่อเรียกของสิ่งที่มีอยู่จริงและเกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในสังคมเกาหลีใต้ นี่คือความรุนแรงที่เกิดจริง ทั้งในกรณีที่มีคนออกมาพูดถึงปัญหาที่ตัวเองเผชิญ หรือเรียกร้องความเป็นธรรมจากสิ่งที่เกิดขึ้น และในกรณีที่มันถูกเก็บงำไว้กับผู้ที่ถูกกระทำตลอดไป และใช่ นั่นหมายถึงความเจ็บปวดรวดร้าวที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ และวัยรุ่นชาวเกาหลีใต้ ซึ่งเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้ว The Glory เป็นซีรีส์เรื่องล่าสุดของนักแสดงสาวชื่อดัง ‘ซงฮเย-กโย’ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในผลพวงของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมเกาหลี และไม่ใช่แค่ซีรีส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนัง นวนิยาย และเรื่องราวใน WEBTOON ที่เป็นผลผลิตสะท้อนแง่มุมของสังคมที่ผู้คนกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์เลวร้ายรูปแบบนี้ หลังจากปล่อยซีรีส์พาร์ต 1 ออกมาไม่นาน The Glory ก็กวาดอันดับ 1 ในด้านยอดการรับชมบนแพลตฟอร์ม Netflix ได้ถึง10 ประเทศ ตั้งแต่เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย […]

Twerk เจ้าปัญหา และการยืนหยัดต่อการเป็นผู้หญิงธรรมดาใน She-Hulk ซีรีส์ฮีโร่หญิงของมาร์เวล

บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาซีรีส์ สารภาพว่าตั้งแต่จบ Phase 3 ความสนใจในหนังและซีรีส์ Marvel Cinematic Universe (MCU) ของเราก็ลดตามลงไปด้วย เพราะส่วนตัวรู้สึกว่า Avengers : Endgame คือหนังที่ขมวดทุกสิ่งที่มาร์เวลสร้างมา 10 ปีได้อย่างสมบูรณ์แล้ว ประกอบกับ Phase 4 ก็ขยันปล่อยคอนเทนต์ออกมาถี่เหลือเกินจนตามไม่ทัน สุดท้ายเลยเลือกตามเฉพาะเรื่องที่สนใจไปโดยปริยาย  She-Hulk : Attorney at Law คือหนึ่งในนั้น อันที่จริงเกือบจะขอข้ามไปแล้วด้วยซ้ำ เพราะกว่าจะมารู้สึกอยากดูเอาก็ตอนที่ซีรีส์เรื่องนี้ฉายไปแล้ว 3 ตอน ซึ่งเหตุที่อยากดูก็ไม่ได้เป็นเพราะคลิปต่อสู้สุดมันที่ค่ายตัดมาอ่อยแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะซีนหลังเครดิตที่ชาวเน็ตตัดมาทวีต พร้อมแคปชันเกรี้ยวกราดว่า WTF is happening with MCU?!  ตามมาด้วยรีแอ็กชันสุดเกรี้ยวกราดของแฟนบอยมาร์เวลอีกนับร้อยในทำนองเดียวกันว่า MCU is DONE. (จบเห่แน่จ้ามาร์เวล) ทำเอาเราตกอกตกใจจนต้องเปิดคลิปดู มันคือซีนที่ She-Hulk ตัวเอกของเรื่อง กำลังทำท่า Twerk อยู่ข้างๆ Megan Thee Stallion […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.