นกพิราบในเมือง อารยธรรมความเป็นเมืองที่เอื้อต่อพัฒนาการและปัญหานกพิราบล้นกรุง

ขึงตาข่าย งูปลอม หรือโมไบล์กระดิ่งลม ดูจะเป็นสิ่งของที่ชาวเมืองคุ้นเคยกันดีในฐานะเครื่องมือต่อกรกับ ‘นกพิราบ’ ที่มักมาทำรังบริเวณระเบียงตึกสูงและที่อยู่อาศัย ปัญหานกพิราบในกรุงเทพฯ ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นอย่างมาก ทั้งในสเกลของที่อยู่ส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะ จนถึงขนาดมีการออกกฎหมายและข้อระเบียบมาใช้ ภาพจำของนกกับธรรมชาติดูเป็นของคู่กัน แต่พวกมันกลับเจริญเติบโตได้ดีในเมืองที่เต็มไปด้วยพื้นที่คอนกรีต และดูเหมือนว่าอัตราการเพิ่มจำนวนของเจ้าสัตว์ชนิดนี้จะสูงขึ้นเรื่อยๆ สวนทางกับวิกฤตสิ่งแวดล้อมของโลก ปัจจัยใดบ้างที่ทำให้นกพิราบเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมความเป็นเมือง ตามไปดูกันในบทความนี้ โครงสร้างของตึกสูงคล้ายกับถิ่นกำเนิดของนกพิราบ ในอดีตนกพิราบมักอาศัยอยู่บริเวณปากถ้ำหรือหน้าผาหิน พัฒนาการของนกพิราบบนตึกจึงเหมือนเป็นการอยู่อาศัยบนหน้าผาจำลอง โดยเฉพาะตึกสูงที่มีระเบียงให้พวกมันเกาะหรือมีช่องให้ทำรัง อีกทั้งนกพิราบยังมีความสามารถในการจดจำเส้นทางได้ดีมาก ส่งผลให้การจดจำที่อยู่อาศัย หรือมองหาพื้นที่ทำรังในเมืองที่มีผังเมืองซับซ้อนแบบที่มนุษย์อย่างเราแค่มองยังปวดหัว ไม่ใช่เรื่องยากสำหรับพวกมัน และเมื่อจดจำเส้นทางได้ดี นกพิราบจึงควบตำแหน่งสัตว์ที่มีชื่อเสียงในการหาทางกลับบ้าน จนเคยถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารในฐานะเครื่องส่งข้อความหรือที่เรารู้จักในนาม ‘นกพิราบสื่อสาร’ ตั้งแต่ประมาณ 3,000 ปีก่อน ไม่แปลกเลยที่ฉายาเจ้าแห่งเส้นทางจะเป็นที่มาให้พวกมันสามารถเอาชีวิตรอดและเติบโตในเมืองใหญ่ได้ แหล่งอาหารนกพิราบ เศษซากของเหลือและความใจบุญสุนทาน โดยปกติแล้วสิ่งมีชีวิตจะมาคู่กับห่วงโซ่อาหาร มีผู้ล่าและผู้ถูกล่า เพื่อให้เกิดระบบนิเวศที่สมดุล แต่สถานการณ์ของวงจรนกพิราบตอนนี้คือ ระบบนิเวศในเมืองกำลังขาดความหลากหลายของผู้ล่าอย่างเหยี่ยวหรืองู อีกทั้งนกพิราบยังเป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี ปริมาณจึงเพิ่มอย่างรวดเร็วโดยไม่มีสิ่งใดมาควบคุม ไม่มีผู้ล่าคอยควบคุมจำนวนก็เรื่องหนึ่ง แต่อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นกพิราบใช้ชีวิตในเมืองรุ่นสู่รุ่นได้คือ แหล่งอาหารของพวกมัน คนเมืองจำนวนมากน่าจะคุ้นเคยกับภาพการจิกหาอาหารตามลานโล่งของนกพิราบ โดยเฉพาะบริเวณสวนสาธารณะ ลานโล่ง หรือท่าเรือ พวกมันล้วนแล้วแต่มองหาอาหารที่ชอบ เช่น เมล็ดธัญพืช หนอน และแมลง ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเป็นบริบทของเมืองใหญ่ อาหารลักษณะนี้คงไม่ได้หาได้ง่ายนัก […]

‘ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกระบบ แรงงานก็คือแรงงาน’ คุยถึงปัญหาแรงงานนอกระบบกับตัวแทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)

ทำไม ‘แรงงานนอกระบบ’ ยังไม่ได้รับความคุ้มครองเทียบเท่ากับ ‘แรงงานในระบบ’ กันนะ ในเมื่อไม่ว่านายกฯ ตำรวจ วิศวกร กรรมกร หรืออาชีพใด ต่างล้วนเป็น ‘แรงงาน’ ที่มีส่วนร่วมในการสร้างเศรษฐกิจและสังคมด้วยกันทั้งนั้น คำถามนี้คือจุดตั้งต้นที่ทำให้ Urban Creature ตัดสินใจติดต่อไปยัง ‘องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO)’ เพื่อพูดคุยกับ ‘เปิ้ล-จิตติมา ศรีสุขนาม’ เจ้าหน้าที่บริหารโครงการอาวุโสประจำประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ถึงสถานการณ์แรงงานนอกระบบในประเทศไทยที่ต้องเผชิญ และสิ่งที่ ILO พยายามผลักดันในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้อง รับหน้าที่ตัวกลางประสาน เข้าไปพูดคุยกับนายจ้าง หรืออยู่ข้างลูกจ้างที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ทั้งหมดนี้ ILO ทำโดยมีหัวใจหลักที่มีชื่อว่า ‘สิทธิมนุษยชน’ เป็นหลักการขั้นพื้นฐาน “เวลาพูดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชน คำแรกที่เจอเลยคือ ‘มนุษย์’ เพราะฉะนั้นคนทุกคนที่ทำงานก็ต้องมีสิทธิเหล่านี้ มันไม่ใช่ควรได้ แต่ต้องมี” ก่อนอื่นอยากให้คุณอธิบายก่อนว่า องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เป็นองค์การแบบไหน ILO เป็นหนึ่งใน ‘องค์การชำนาญการพิเศษประจำสหประชาชาติ (Specialized UN […]

ออกแบบเมืองให้เป็นมิตรกับผึ้งและผองเพื่อน เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพให้ดีต่อผึ้งและดีต่อใจเรา

เวลาที่ไปสวนแล้วเห็นต้นไม้หรือดอกไม้สวยๆ เรารู้สึกอย่างไรบ้าง แล้วเคยสังเกตกันไหมว่า ในชีวิตประจำวันเราพบเห็นแมลงชนิดไหนบ้าง พบเห็นผึ้งหรือผีเสื้อบ้างไหม และเพื่อนตัวน้อยเหล่านั้นทำอะไรอยู่ ผึ้งเป็นเพื่อนตัวเล็กๆ ที่มีอิทธิพลมากต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและต้นไม้ ซึ่งให้อากาศบริสุทธิ์ น้ำสะอาด และอาหารที่เรากิน จากภาวะโลกเดือด ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้จำนวนประชากรผึ้งและแมลงผสมเกสรลดลง และการทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวส่งผลให้ถิ่นที่อยู่ของแมลงและสัตว์ต่างๆ ลดน้อยลง ส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ จำนวนและชนิดของแมลงก็ลดลงตามไปอีก อีกทั้งยังทำให้ความหลากหลายทางอาหารลดลงอีกเช่นกัน เป็นวงจรที่กำลังดำเนินไป และเรากำลังเผชิญกับผลกระทบเหล่านั้น จากคำกล่าวที่ว่า ‘ถ้าไม่มีผึ้งจะไม่มีเราอีกต่อไป’ ดูจะไม่ไกลเกินจริงซะแล้ว ในโอกาสวันผึ้งโลกที่เพิ่งผ่านพ้นไป และวันนี้เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก คอลัมน์ Urban Sketch อยากชวนเพื่อนๆ มาดูกันว่า เราจะสามารถออกแบบเมืองและสิ่งแวดล้อมใกล้ๆ ตัวเราอย่างไร ให้เอื้อต่อความเป็นอยู่ที่ดีของเพื่อนตัวน้อยนักผสมเกสรของเรา และยังสร้างความเพลิดเพลินใจให้เราด้วย มาเปิดใจให้เหล่าผองผึ้งและแมลงตัวนั้นตัวนี้ ให้เราได้รักรักมันทุกตัวกัน ปลูกดอกไม้และต้นไม้ที่หลากหลายให้ผองผึ้ง ดอกไม้และต้นไม้บางชนิดเป็นแหล่งอาหารที่โปรดปรานของผึ้ง การออกแบบสวนที่มีดอกไม้ ผัก และต้นไม้ที่ให้เรณูเกสรและน้ำหวานแก่ผึ้ง ผีเสื้อ และแมลงจึงเป็นสิ่งสำคัญ ยกตัวอย่าง สวนสาธารณะ สวนในบ้าน สวนริมทางเท้า หรือ Pocket Park ลองเพิ่มต้นไม้ผลไม้เข้ามา สลับกับไม้พุ่มให้ดอก ผักที่กินผล และดอกไม้หอมที่ล่อแมลงและผึ้งอย่างต้นไม้วงศ์ส้ม […]

เรียนรู้เหตุการณ์แผ่นดินไหวกรุงเทพฯ รับมือภัยพิบัติที่เกิดขึ้นกะทันหันอย่างไรบ้าง

อาคารสั่นคลอน อาการวิงเวียน ที่พักอาศัยเสียหาย ทั้งหมดนี้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แม้จุดเกิดเหตุจะไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงในประเทศไทย แต่ด้วยแรงสั่นสะเทือนที่สูงถึง 7.7 แมกนิจูด ส่งผลให้คนเมืองผู้แทบไม่เคยเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้มาก่อนรับรู้ถึงความสั่นไหว และกลายเป็นผู้ประสบภัยในเวลาเพียงไม่กี่นาที นอกเหนือจากความตื่นตระหนกตกใจแล้ว แรงสั่นสะเทือนยังสร้างความเสียหายในหลายพื้นที่โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ทั้งที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานที่อาจไม่ได้คำนึงถึงการเผชิญหน้ากับแผ่นดินไหวรุนแรงแบบนี้มาก่อน และด้วยความที่เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีที่คนกรุงเทพฯ ต้องเจอกับแผ่นดินไหว ก่อให้เกิดความสับสนในการรับมือสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องการแจ้งเตือนล่วงหน้า วิธีการป้องกันตัวเอง ความปลอดภัยของการใช้ชีวิตในอาคาร หรือกระทั่งการใช้เส้นทางจราจรเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินที่ไม่เคยมีใครให้ข้อมูลมาก่อนว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรหากเจอเหตุการณ์แบบนี้ คอลัมน์ Report จะพาไปสำรวจว่า ในเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน กรุงเทพฯ ต้องเจอกับปัญหาในการรับมือสถานการณ์แบบไหนบ้าง มีการจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร และประเทศไทยสามารถนำวิธีการเตรียมพร้อมป้องกันภัยจากประเทศที่ต้องเผชิญหน้ากับภัยพิบัติเหล่านี้อยู่บ่อยครั้งมาปรับใช้ได้มากน้อยแค่ไหน ปัญหาเมืองที่เกิดขึ้นในวันภัยพิบัติ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ศูนย์กลางที่เมียนมาเมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นอกจากปัญหาเรื่องตึกสูง ที่อยู่อาศัย และความปลอดภัยในเมืองของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นได้จากโครงสร้างอาคารที่เกิดรอยแตก รอยร้าว หรือแย่ไปกว่านั้นคือ เศษโครงสร้างอาคารหลุดล่อนออกมา จนทำให้หลายคนหวาดผวาไปกับการใช้ชีวิตบนตึกสูงแล้ว สถานการณ์ในวันนั้นยังแสดงให้เห็นถึงปัญหาระบบขนส่งในเมือง รวมถึงพื้นที่อพยพที่ไม่สามารถรองรับชาวกรุงได้ เสียงบ่นอื้ออึงของคนกรุงหลังสถานการณ์แผ่นดินไหวคือ เรื่องถนนกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยรถยนต์ รถเมล์ รถจักรยานยนต์ที่แน่นิ่ง ไม่ขยับ รถเคลื่อนตัวได้เพียง 13 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และแออัดยาวนานขนาดที่แผ่นดินไหวผ่านไปแล้ว 8 ชั่วโมง การจราจรก็ยังไม่กลับสู่สภาวะปกติ รวมถึงเหล่าขนส่งสาธารณะระบบรางอย่าง […]

เปลี่ยนการเดินในเมืองให้สนุกขึ้น ด้วยนวัตกรรมและการออกแบบทางเท้า ที่ส่งเสริมให้คนเอนจอยกับการเดิน

เคยคิดไหมว่า ทำไมเราถึงไม่อยากใช้เวลาในวันหยุดออกไปเดินเท้าท่องแต่ละย่านของเมือง คำตอบของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป แดดร้อน ทางเท้าไม่ดี หรือเดินได้ไม่สะดวก แต่นอกเหนือจากความปลอดภัยและความสะดวกสบายทั่วๆ ไปอย่างทางเท้าที่กว้างตามมาตรฐาน ความสม่ำเสมอของพื้นทางเท้าที่ไม่เหยียบแล้วเป็นหลุมเป็นบ่อ หรือแม้กระทั่งไฟส่องสว่างตลอดการเดิน ยังมีอีกปัจจัยสำคัญอย่างการออกแบบสนุกๆ ที่จะช่วยทำให้การเดินในเมืองของพวกเรามีสีสันมากขึ้นได้อีก คอลัมน์ Urban Sketch ขอลองออกไอเดียว่า จะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อเปลี่ยนการเดินธรรมดาๆ ให้มีชีวิตชีวาและสนุกได้ตลอดทาง 1) พื้นจอ Interactive เดินอย่างเดียว มองพื้น มองทางแล้วก็เบื่อๆ ถ้ามีจอ Interactive ที่ทำให้การเดินไม่ต้องมองแต่อะไรซ้ำๆ ก็คงดี เราเลยคิดถึงจอที่โต้ตอบได้ พร้อมใส่อะไรสนุกๆ อย่างปลาทองที่ว่ายไปว่ายมา พร้อมผืนน้ำที่เมื่อเราเหยียบแล้วมีคลื่นเกิดขึ้น กระทั่งทุ่งหญ้าที่มีกระรอกตัวเล็กๆ กระโดดดึ๋ง เวลาเหยียบจุดไหนหญ้าก็เกิดการเคลื่อนไหว 2) จุดแวะนับก้าวและเติมพลัง นี่เราเดินมาไกลแค่ไหน เป็นจำนวนกี่ก้าวแล้ว หรือวันนี้เดินได้มากกว่าเมื่อวานไหม นี่เลย เราขอเสนอจุดแวะนับก้าวและเติมพลังให้ทุกคนนำ Smart Watch ไปแปะที่แท่นพร้อมขึ้นโชว์เป็นลำดับแข่งขัน และมอบรางวัลให้นักเดินคนเก่งที่สะสมจำนวนก้าวได้มากที่สุดในสัปดาห์ คู่กับบริการเช่ายืมเซตนักเดินอย่างหมวก แว่นกันแดด ร่ม หรือพัดลมจิ๋ว โดยมีค่าบริการคิดตามรายชั่วโมงและคืนได้ที่จุดแวะนับก้าวจุดต่อไป อีกส่วนสำคัญที่จุดนับก้าวนี้มีคือ ข้อความให้กำลังใจสำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้ร่วมแข่งขันเดินแชมเปียนชิป แต่ก็ต้องการกำลังใจดีๆ ให้ผ่านวันยากๆ […]

‘พี่ๆ ขอรูตเดินฉบับคนไม่ชอบเดินหน่อย’ รวม 5 รูตจากคนไม่เดิน ที่เดินแล้วไม่เหนื่อยอย่างที่คิด

ไม่ชอบเดินแต่อยากเดิน ควรเริ่มจากตรงไหนดี จริงๆ อาจไม่ต้องคิดเยอะหรือต้องตั้งเป้าหมายให้ยาก เพราะการเดินไม่ใช่เรื่องยากเท่าที่คิด ขอเพียงแค่ในระหว่างทางมีจุดให้แวะบ้าง ไม่ว่าจะเป็นของกิน ช้อปปิง หรือเข้าไปในโซนที่มีแอร์เย็นๆ ปะทะหน้า แค่นี้ก็ทำให้การเดินกลายเป็นเรื่องสนุกขึ้นมาแล้ว และแม้ว่าชาว Urban Creature ส่วนใหญ่จะเป็นสมาชิกชมรมนักเดิน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีคนที่ไม่ชอบเดินสักหน่อย คอลัมน์ Urban’s Pick วันนี้เลยขอนำ 5 รูตที่คนไม่ชอบเดินมาฝากทุกคนกัน เชื่อเถอะว่าถ้าเราเดินได้ ทุกคนก็ต้องเดินได้ ไม่แน่นะ บางรูตในนี้หลายคนอาจใช้เป็นรูตเดินประจำอยู่แล้วแบบไม่รู้ตัว 1) เดินสั้นๆ แบบเท้าไม่แตะพื้น (เริ่ม BTS สถานีสยาม จบ BTS สถานีสนามกีฬาฯ) รูตเดินขั้นเบสิกของคนมาเที่ยวสยามที่แวะเติมพลังระหว่างทางด้วยแอร์เย็นๆ จากทั้ง Siam Paragon ต่อไปยัง Siam Center ทะลุ Siam Discovery ออกทางเชื่อมแยกปทุมวัน แวะเข้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ก่อนเดินทางกลับด้วย BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ ทั้งหมดนี้ระยะทางเพียง 640 เมตรเท่านั้น เดินกำลังดี […]

เปลี่ยนกรุงเทพฯ จากเมืองปั่นได้เป็นเมือง ‘ปั่นดี’ ‘BUCA’ ชมรมปั่นจักรยานที่อยากชวนคนมามองเมืองบนอานในความเร็วจากสองแรงขา

ในประเทศไทย ‘จักรยาน’ มักถูกมองเป็นกิจกรรมนันทนาการหรือการออกกำลังกายซะเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อไหร่ที่จักรยานลงมาโลดแล่นอยู่บนถนน มันกลับกลายเป็นสิ่งอันตราย ไม่ตอบโจทย์การใช้งานในเมืองหลวงแห่งนี้ในสายตาของใครหลายคน แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไว้ใจให้จักรยานเป็นตัวเลือกหลักในการเดินทาง อีกทั้งยังคงจัดกิจกรรมเชิญชวนผู้คนมาปั่นจักรยาน และขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของพาหนะเดินทางประเภทนี้อยู่ ด้วยความเชื่อว่าจักรยานเป็นตัวเลือกเดินทางที่ดีของคนกรุงเทพฯ ได้มากกว่านี้ คอลัมน์ Think Thought Thought ชวนกระโดดขึ้นอาน ปั่นจักรยานไปคุยกับ ‘เป้-ธีรเมศร์ เลิศเศวตพงศ์’, ‘ปอนด์-วีรภัทร คำรัตน์’, ‘บุ๋น-จิรภัทร จิตวัฒนาศิลป์’ และ ‘แวน-วริทธิ์ธร สุขสบาย’ จากภาคีจักรยานเมือง กรุงเทพฯ (Bangkok Urban Cycling Alliance) หรือ ‘BUCA’ ที่ต้องการให้จักรยานเป็นตัวเลือกการเดินทางที่ไม่ถูกมองข้าม หากแต่การปั่นจักรยานในกรุงเทพฯ ดีกว่าการเดินทางแบบอื่นอย่างไร ไว้ใจความปลอดภัยได้แค่ไหน แล้วที่ผ่านมากรุงเทพฯ ใจดีกับคนปั่นจักรยานบ้างไหม หรือจริงๆ แล้วเมืองนี้ไม่มีทางเป็นเมืองจักรยานได้ ตามไปอ่านในบรรทัดต่อไปนี้ อยากให้พวกคุณเล่าว่า BUCA คือใคร ทำอะไรกันบ้าง ธีรเมศร์ : เริ่มแรกกลุ่มเราเป็นแค่การรวมตัวกันแบบหลวมๆ ของผู้ใช้จักรยานที่เคยร่วมเป็นอาสาสมัครในนโยบายการปรับปรุงทางจักรยานใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ของ […]

สามารถ สุวรรณรัตน์ Mae Kha City Lab คนหนุ่มมือเย็น ผู้ปลูกดอกไม้ ปลุกไอเดียเปลี่ยนเมืองเชียงใหม่

นอกจากเป็นคนทำสื่อ นักกิจกรรม นักเขียน และนักวิจัยด้านการพัฒนาเมือง สามารถ สุวรรณรัตน์ ยังเป็นคนมือเย็น ในตรอกเล็กๆ ริมคลองแม่ข่า ท่ามกลางเงาสูงของโรงแรมย่านไนท์บาซาร์ เชียงใหม่ ผมพบเขาและทีมงาน—ร่วมด้วยพนักงานโรงแรมและผู้ประกอบการในพื้นที่—กำลังปลูกดอกไม้ริมคลอง นั่นคือช่วงปลายเดือนมกราคม หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่เขาจะร่วมกับทีมสถาปนิกใจบ้านสตูดิโอ ผศ.วรงค์ วงศ์ลังกา ภูมิสถาปนิกและอาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเครือข่ายประชาชน เปลี่ยนพื้นที่นี้ให้กลายเป็นสวนป่าเล็กๆ ใจกลางเมือง ‘สวนเกสรและผีเสื้อ : พื้นที่การเรียนรู้นิเวศคลองแม่ข่า’ คือชื่อกิจกรรมที่พวกเขากำลังทำ—ฟังดูเหมือนแค่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีกหนึ่งแห่ง แต่สำหรับชายหนุ่มผู้นี้ นี่คือจุดเริ่มต้นของบางสิ่งที่ใหญ่กว่า “แม่ข่าเคยเป็นหัวใจของเชียงใหม่ เป็นชัยภูมิในการก่อตั้งเมือง แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ถ้าฟื้นฟูมันได้สำเร็จ นั่นอาจหมายถึงการเปลี่ยนเมืองทั้งเมือง” เขาบอก นี่คือแนวคิดของกลุ่มแม่ข่า ซิตี้ แลป (Mae Kha City Lab) กลุ่มที่สามารถร่วมกับเพื่อนนักวิจัย นักพัฒนาสังคม สถาปนิกชุมชน และเครือข่ายชาวบ้านริมคลองแม่ข่า ก่อตั้งขึ้นในปี 2565 เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการพัฒนาลำคลองและพื้นที่ริมคลอง อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัย ในเมื่อเทศบาลนครเชียงใหม่เพิ่งฟื้นฟูคลองแม่ข่าให้กลายเป็นจุดเช็กอินยอดนิยมของนักท่องเที่ยวไปหมาดๆ ยังจำเป็นต้องขับเคลื่อนอะไรอีก ซึ่งนี่แหละ ประเด็นสำคัญ ช่องว่างระหว่างการเปลี่ยนแปลง แม่ข่าเป็นสายน้ำที่มีมาก่อนการก่อตั้งเชียงใหม่กว่า 700 […]

ปักหมุดเช็กอินย่านวัฒนธรรม บางโพ-พระนคร-บางลำพู กับกิจกรรมสร้างสรรค์ที่พร้อมให้มาบวก งาน Bangkok Design Week 2025 วันนี้ – 23 กุมภาพันธ์ 2568

เข้าสู่สัปดาห์สุดท้ายของงาน ‘Bangkok Design Week 2025’ เทศกาลงานออกแบบสร้างสรรค์ที่ชวนให้เราออกมาเดินเล่นชมความสร้างสรรค์ใหม่ๆ ในย่านต่างๆ รอบกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้นับว่าเป็น Phase 2 ของงาน คิวของย่านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอย่าง ‘พระนคร’ ‘บางลำพู-ข้าวสาร’ และย่านอื่นๆ ที่ได้เปิดพื้นที่ให้ทุกคนเข้ามาเยือนถิ่นเช็กอินย่านได้ตั้งแต่วันนี้ – 23 กุมภาพันธ์ กับโปรแกรมที่น่าสนใจประจำย่าน ซึ่งหากใครสนใจวางแผนการเข้าร่วมงานก็ดูเพิ่มเติมก่อนไปได้ที่ bangkokdesignweek.com/bkkdw2025/program และหากใครถูกใจหลายกิจกรรมใน Bangkok Design Week 2025 จนเลือกไม่ได้ แต่ถ้าจะให้ไปวันเดียวทั้งหมดคงไม่ไหว คอลัมน์ Events ขออาสารวบรวมกิจกรรมไฮไลต์ที่น่าสนใจในช่วงที่ 2 ของเทศกาลฯ กับ 3 ย่านที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอย่าง ‘บางโพ’ ‘พระนคร’ และ ‘บางลำพู-ข้าวสาร’ กับโค้งสุดท้ายของเทศกาลฯ ในปีนี้มาให้ แนะนำให้เตรียมพัดลมจิ๋ว หมวก และน้ำดื่มไปด้วยนะ บางโพ เริ่มกันที่ ‘บางโพ’ ย่านการค้าไม้เก่าแก่ที่ได้มาร่วมแจมงาน Bangkok Design Week เป็นครั้งที่ […]

Thai Temple Festival สีสันงานวัด

งานวัดที่มีแสงสีสวยงามเป็นมากกว่ากิจกรรมบันเทิง เนื่องจากสะท้อนถึงความเชื่อมโยงระหว่างวัฒนธรรม ศาสนา และวิถีชีวิตของคนในชุมชน ยามค่ำคืนที่สว่างไสวด้วยแสงไฟหลากสีไม่เพียงแต่สร้างบรรยากาศที่สนุกสนาน แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของความหวังและการเฉลิมฉลองชีวิต แสงไฟจากโคมและเครื่องเล่นต่างๆ เป็นตัวแทนของความเจริญรุ่งเรือง และความปรารถนาที่จะนำความสว่างเข้ามาสู่ชีวิต แม้ในยามที่ต้องเผชิญกับความท้าทาย ในขณะเดียวกัน งานวัดยังเป็นพื้นที่ที่สะท้อนถึงมิติทางศาสนาและวัฒนธรรม การทำบุญ ไหว้พระ และพิธีกรรมทางศาสนาที่เกิดขึ้นภายในงาน คือการสานต่อความศรัทธาและประเพณีที่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน การผสมผสานระหว่างความเชื่อทางจิตวิญญาณกับความบันเทิงทางโลกร่วมสร้างสมดุลที่ลงตัว ซึ่งบ่งบอกถึงความลึกซึ้งของชีวิตที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ แสงสีจากงานวัดจึงไม่ได้เป็นเพียงการตกแต่งเพื่อความงดงาม แต่ยังเป็นเครื่องหมายของการเชื่อมโยงระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นที่ที่คนในชุมชนมารวมตัวกัน แลกเปลี่ยนความสุข ความหวัง และการสะท้อนถึงความหมายของชีวิต ติดตามผลงานของ ภาสกร บรรดาศักดิ์ ต่อได้ที่ Facebook : Phatsakorn Bundasak Instagram : @dave_street_photo หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Flowerrarium ร้านจัดดอกไม้และสวนขวดย่านเมืองเก่าของอดีตผู้แทนยาที่อยากให้ทุกคนมอบดอกไม้แก่กันได้โดยไม่ต้องรอโอกาสพิเศษ

จำได้ไหมว่าได้รับดอกไม้ครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ เวลาเห็นใครสักคนถือช่อดอกไม้ หรือเดินผ่านร้านดอกไม้ ก็มักจะชวนให้นึกถึงโอกาสพิเศษอย่างวันเกิด วาเลนไทน์ คริสต์มาส หรือวันครบรอบ แถมยังต้องเป็นความสัมพันธ์ที่พิเศษพอจะมอบดอกไม้ให้กันอีกด้วย แต่รู้ไหมว่าจริงๆ แล้วโอกาสในการให้ดอกไม้ไม่จำเป็นต้องจำกัดไว้เพียงแค่วันบางวันหรือบางช่วงเวลา แต่เราให้ดอกไม้กันได้ทุกวัน เพราะมันเป็นของที่เพียงได้รับก็รู้สึกดีแล้ว หรือการให้ดอกไม้ขอบคุณตัวเองที่ผ่านวันทั้งดีและแย่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร พอพูดถึงเรื่องดอกไม้ คอลัมน์ Urban Guide เลยขอพาไปรู้จักกับ ‘เยีย-อารยา ภู่ผึ้ง’ เจ้าของ Flowerrarium ร้านต้นไม้-ดอกไม้ใจกลางย่านเมืองเก่าอย่างชุมชนเลื่อนฤทธิ์ เขตการค้าเก่าแก่กว่า 100 ปี ที่เพิ่งรีโนเวตใหม่ให้กลายเป็นตึกสีขาวเหลืองตัดสีเขียวสวยเด่น เราเดินเข้าไปในชุมชนเลื่อนฤทธิ์จนสุดซอย ก่อนเจอเข้ากับเหล่าต้นไม้ ดอกไม้ วางประดับสวยงามอยู่หน้าร้าน พร้อมป้ายสีเขียวเข้มของร้านดูสบายตา สดชื่น ต้อนรับวันใหม่ จากผู้แทนยาสู่เจ้าของร้านดอกไม้ “เยียทำงานเป็นผู้แทนยามาสิบกว่าปี จนรู้สึกว่าถึงจุดอิ่มตัว เลยเริ่มมองหาแพสชันใหม่ๆ ลองเวิร์กช็อปไปเรื่อยๆ จนได้มาเจอว่าเราชอบดอกไม้กับสวนขวด รวมถึงตัวเราที่ชื่อเยียก็มาจากดอกเยียบีรา พี่สาวเป็นคนตั้งให้ ก็เลยเริ่มศึกษาเรื่องดอกไม้มาเรื่อยๆ” หลังส่งตัวเองศึกษาการจัดต้นไม้-ดอกไม้มาสักพัก ก็ถึงเวลาเปิดร้านที่เยียใช้คำว่า เปิดขึ้นได้ด้วย ‘จังหวะ’ จังหวะที่อยากจัดดอกไม้ จังหวะที่บังเอิญมาเจอชุมชนเลื่อนฤทธิ์ จังหวะที่ชอบตึกเก่าในย่านสงบ และจังหวะที่อยากให้คนได้รับดอกไม้ที่ตรงใจ ตลอดช่วงเวลา 6 เดือนที่เยียเปิดร้านนี้ขึ้นมา เธอได้เรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายในความสนใจเรื่องดอกไม้ของคนไทย […]

‘Sakamoto Days’ ช่วยซาคาโมโตะออกแบบร้านชำแห่งใหม่ในไทย ให้กลมกลืนกับพื้นที่และเฟรนด์ลีกับลูกค้าทุกคน

ถึงจะวางมือจากการรับจ้างฆ่าและผันตัวเป็นเจ้าของร้านขายของชำไปแล้ว แต่ดูเหมือนว่าในแต่ละวันของ ‘ซาคาโมโตะ ทาโร่’ ในการ์ตูนเรื่อง Sakamoto Days จะไม่ได้ขายของอย่างสงบสุขเลยสักครั้ง เพราะมีแขกไม่ได้รับเชิญเข้ามาเยี่ยมเยียนและสร้างความปวดหัวให้กับร้านทุกวัน และถ้าจะต้องเปิดร้านขายของไป เตรียมต่อสู้กับเหล่านักฆ่าที่หมายจะเอาค่าหัวไป ร้านชำแห่งนี้คงเจ๊งกะบ๊งแน่ๆ เพื่อความสงบสุข ครอบครัวซาคาโมโตะและเหล่าพนักงานอาจต้องโยกย้ายไปอยู่ทำเลใหม่ หลบหนีพวกนักฆ่า คอลัมน์ Urban Isekai ขอชวนซาคาโมโตะซังมาตั้งรกรากที่ไทย และช่วยออกแบบร้านชำแห่งใหม่ให้กลมกลืนกับพื้นที่ แถมได้ช่วยเหลือผู้คนตามที่ให้สัญญากับภรรยาด้วย เลือกทำเลในชุมชนให้อยู่ใกล้ผู้คนมากที่สุด ก่อนจะตั้งร้านก็ต้องเลือกทำเลที่บริการได้อย่างทั่วถึงก่อน เราจึงแนะนำซาคาโมโตะให้เลือกเปิดสาขาใหม่ในชุมชนที่อยู่ใกล้กับสถานที่สำคัญต่างๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล วัด เพื่อเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ที่ผู้คนจะนึกถึงเวลาซื้อของ และเพื่อความสะดวกสบายในการเข้าถึงบริการสาธารณะ (เกิดมีการต่อสู้ขึ้นมาอีกจะได้มีสถานที่รองรับ) รวมไปถึงเป็นคอมมูนิตี้เล็กๆ ให้คนในชุมชน หรือเหล่านักฆ่าที่ผันตัวมาเป็นครอบครัวพนักงานร้านชำซาคาโมโตะได้มาพบปะกัน ต้องการสินค้าอะไร ซาคาโมโตะหาได้ทุกอย่าง  เป็นแหล่งขายสินค้าในชุมชนทั้งทีก็ต้องพร้อมให้บริการอย่างครบวงจร ไม่ว่าใครต้องการอะไร ซาคาโมโตะจะหามาให้ทุกอย่าง ตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ หากเป็นสินค้าที่ไม่มีอยู่ในสต๊อก ก็แค่แจ้งความต้องการทิ้งไว้ ถ้าได้สินค้าชิ้นนั้นมาแล้วทางร้านจะรีบแจ้งให้ลูกค้ากลับมารับสินค้าที่สั่งไว้ทันที แต่ขอเตือนเอาไว้ก่อนว่า อย่าคิดจะสั่งสินค้าที่หามาไม่ได้จริงๆ เพราะเหล่าลูกน้องนักฆ่าของซาคาโมโตะพร้อมจะสั่งสอนอยู่ตลอดเวลานะ! อาหารรองท้อง พร้อมดื่ม พร้อมทาน ไม่ใช่แค่ของใช้หรือของสดเท่านั้นที่มีให้ แต่ร้านแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ฝากท้องให้คนในชุมชนด้วย กับเมนูง่ายๆ กินได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นน้ำเต้าหู้ […]

1 2 3 18

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.