หลังโต๊ะทำงานของ KongGreenGreen อินฟลูฯ ผู้เชื่อว่าไลฟ์สไตล์สายกรีนสร้างได้ด้วยความเข้าใจ

บ้านของ ‘ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ’ หรือ ‘ก้องกรีนกรีน’ เป็นทั้งบ้านและออฟฟิศที่กรีนสมชื่อ หลังจากเปิดประตูบ้านต้อนรับ ก้องพาเราเข้าห้องทำงานของเขาที่เต็มไปด้วยไอเทมที่เราคุ้นเคยแต่กลับแปลกตา “โคมไฟนี่ทำมาจากพลาสติกที่เคยเป็นกล่องข้าว บ้านแมวอันนั้นทำมาจากฝาขวด” ก้องแนะนำ “เมื่อก่อนออฟฟิศอยู่แถวเลียบด่วน แต่บ้านเราอยู่แถวแจ้งวัฒนะ เราขับรถไปก็เปลืองพลังงานโดยใช่เหตุ ทั้งพลังงานคนและพลังงานโลก เราเลยย้ายมาอยู่ที่นี่” บทสนทนาประมาณนี้เป็นสิ่งที่เราคาดหวังว่าจะได้ฟังจากปากก้องอยู่แล้ว เพราะอย่างที่หลายคนรู้กันดี ก้องเคยเป็นพิธีกรรายการเปิดโลกอย่างกบนอกกะลา ก่อนจะผันตัวมาเปิดแชนเนล ‘KongGreenGreen’ เพื่อรณรงค์ให้คนแยกขยะกันมากขึ้นเมื่อไม่กี่ปีก่อน วันนี้ก้องกรีนกรีนเติบโตจนมีผู้ติดตามบนเฟซบุ๊กเกือบ 3 แสนคน มีหลายคลิปใน TikTok กลายเป็นไวรัลที่มียอดวิวเป็นล้าน พูดได้เต็มปากว่าเป็นหนึ่งในคอนเทนต์ครีเอเตอร์สายกรีนแนวหน้า แนวทางของคอนเทนต์ในเพจยังขยับขยายไปเล่ามากกว่าเรื่องขยะ แต่ครอบคลุมไปถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ก้องย้ำหลายรอบว่าใกล้ตัวกว่าที่เราคิด ในวาระที่ก้องเพิ่งได้รับเลือกเป็น 1 ใน 50 ครีเอเตอร์ผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงจากโครงการ TikTok Change Makers เราถือโอกาสนี้มานั่งคุยกับก้องถึงความเชื่อเบื้องหลังการทำช่อง ล้วงเคล็ดลับการทำคอนเทนต์สิ่งแวดล้อมที่ขึ้นชื่อว่าเข้าใจยากให้สนุก เข้าถึงง่าย และไม่ทำให้ใครหลายคนเบือนหน้าหนี คิดว่าเป็นเพราะอะไรที่คุณถูกเลือกเป็น 1 ใน 50 ครีเอเตอร์ของโครงการ TikTok Change Makers  อาจเป็นเพราะคอนเทนต์ของเราน่าจะตรงกับแคมเปญที่เขาตั้ง นั่นคือ Change Makers […]

วิธีแยกขยะง่ายๆ ไม่มีถังแยกสีก็ทิ้งได้แบบไม่ต้องเทรวม

หลังจากที่กรุงเทพมหานครเปิดตัวโครงการ ‘ไม่เทรวม’ เพื่อรณรงค์การแยกขยะเมื่อปีที่แล้ว นโยบายถัดไปที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อช่วยจัดการขยะคือ การขึ้นค่าธรรมเนียมเก็บขยะจากบ้านที่ไม่คัดแยกขยะ โดยบ้านที่เข้าร่วมการคัดแยกขยะจะเสียค่าใช้จ่าย 20 บาทต่อเดือน ส่วนบ้านที่ไม่คัดแยกขยะนั้นจะเสียค่าใช้จ่าย 60 บาทต่อเดือน หวังเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้ครัวเรือนหันมาใส่ใจกับการแยกขยะมากขึ้น การแยกขยะนั้นไม่เพียงช่วยลดภาระการกำจัดขยะของเจ้าหน้าที่เท่านั้น แต่เรายังเรียนรู้กันมาตลอดว่าการแยกขยะเป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยลดโลกร้อนได้ และด้วยความเคยชินที่ทิ้งขยะลงถังเดียวมาตลอดอย่างยาวนาน อาจทำให้การแยกขยะดูยุ่งยากไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้ยากเกินกว่าจะลองทำ แน่นอนว่าภาพของการแยกขยะนั้นมักมาพร้อมกับถังขยะชนิดต่างๆ ที่แบ่งแยกด้วยสีสัน ช่วยให้จำง่าย แต่หลายๆ บ้านคงไม่ได้มีถังขยะสำหรับแยกขยะแต่ละประเภทโดยเฉพาะ ทำให้เกิดความสับสนว่า หากมีถังขยะแค่ใบเดียวแล้วจะแยกขยะได้อย่างไร Urban Creature เลยจะมาบอกวิธีการแยกขยะที่ทำได้ง่ายๆ โดยแบ่งเป็นสองระดับคือ 1) การแยกขยะระดับเริ่มต้น เป็นการแยกขยะที่ไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อน เพียงแค่แยกขยะออกเป็นสองประเภทก่อนทิ้งลงถัง วิธีนี้จะสะดวกกับผู้เริ่มต้นแยกขยะ คนที่มีเวลาน้อย หรือพื้นที่บ้านน้อย แบ่งออกเป็น 🍪 ขยะอินทรีย์ ขยะประเภทเศษอาหารจากการทำอาหารหรือกินเหลือ โดยเทน้ำทิ้งให้เหลือแต่เศษอาหาร และแยกถุงเอาไว้ อาจใช้เป็นถุงสีใสให้มองเห็นได้ง่ายว่าเป็นขยะประเภทไหน ขยะประเภทนี้ควรทิ้งทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมความสกปรกและกลิ่นเหม็นภายในบ้าน 🧃ขยะทั่วไป  ขยะแห้งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ ซองขนม รวมถึงขยะพลาสติก ซึ่งพลาสติกบางประเภท เช่น ถุงพลาสติกหรือกล่องที่ใส่อาหาร ควรล้างให้สะอาดและตากให้แห้งก่อนจะนำไปทิ้ง เพื่อเลี่ยงไม่ให้เศษอาหารปนเปื้อนกับขยะอื่นๆ จนขยะแห้งเหล่านี้หมักหมมความสกปรกเอาไว้ […]

#กินหมดจาน Guidebook และ Restaurant Makeover โครงการที่จะชวนกินข้าวให้หมดจาน และช่วยปรับร้านอาหารให้จัดการขยะอย่างถูกวิธี

“ข้าวทุกจาน อาหารทุกอย่าง อย่ากินทิ้งขว้าง เป็นของมีค่า” ประโยคคุ้นหูที่ท่องจำกันมาตั้งแต่อนุบาล แต่เหมือนยิ่งโตนั้นจะได้แค่จำแต่ทำไม่ได้ ไม่ว่าจะด้วยเวลาที่น้อยลง รสชาติอาหารไม่ถูกปาก เครียดกินข้าวไม่ลง หรือแม้กระทั่งลืมว่ายังกินไม่หมด เช้าวันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม ทีมกินหมดจานชวนเราไปชิม 2 ใน 50 ร้านจาก ‘กินหมดจาน Guidebook’ โดยมีร้าน Karo Coffee Roasters คาเฟ่สุดเท่ย่านปรีดี พนมยงค์ ที่แนะนำโดย ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และร้าน No Name Noodle BKK แนะนำโดย ‘ปิ๊ปโป้-เปรมวิชช์ สีห์ชาติวงษ์’ ผู้เชี่ยวชาญด้านราเม็งตัวจริงเสียงจริง พร้อมไปดูวิธีกำจัดขยะเศษอาหารที่เขตวัฒนา กินหมดจาน Guidebook เป็นเสมือนหนังสือรวม 50 ร้านอาหารที่เหล่า KOLs ขอการันตีว่าร้านนี้อร่อยและจัดการขยะได้ดี โดยอยู่ภายใต้โครงการ ‘Restaurant Makeover’ ที่ แพร-พิมพ์ลดา ไชยปรีชาวิทย์ หรือ ‘PEAR […]

Liberation ความงดงามของการหลุดพ้น

ท่ามกลางกระแสสังคมที่เร่งรีบและวุ่นวาย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทุกคนหลงลืมการสำรวจตัวตน ความรู้สึก และเรื่องใกล้ตัวในชีวิต ทำให้รู้สึกไม่เป็นส่วนใดส่วนหนึ่งกับโลกอีกต่อไป กลายเป็นเรื่องช่างไร้ความหมายและปล่อยให้เวลาหลุดลอยไปเพียงวันต่อวัน Liberation เป็นผลงานภาพถ่ายที่เกิดจากการบันทึกชีวิตประจำวัน และใช้ช่วงเวลาหลงเคลิ้มไปกับสิ่งเล็กๆ ผ่านการสำรวจสิ่งสวยงาม-ผุพัง เพื่อปลดปล่อยตัวตนจากความเป็นมนุษย์และธรรมชาติ เนื่องจากสิ่งเหล่านี้มักเชื่อมโยงและผูกพันอยู่กับเราอย่างแยบยล บางปรากฏการณ์ธรรมชาติมักสื่อสารออกมาจากเรื่องราวธรรมดาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด พืชพรรณ หรือสิ่งมีชีวิต พวกเขามักแสดงตัวตนเพื่อพึ่งพาและดูดซับพลังงานที่มนุษย์ละทิ้ง และมนุษย์ก็พึ่งพาสิ่งเหล่านี้เช่นกัน ก่อนที่ทุกอย่างจะสูญสลายและหายไปในที่สุด สภาวะปกติของการรับรู้ของมนุษย์ปัจจุบันนั้นช่างเบาบางและไม่ละเอียดอ่อน ความหมายของความต้องการบางอย่างถูกแทนที่ไปกับหน้าที่และความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นจุดใหญ่มากพอที่จะบดบังความสุนทรีย์ในชีวิต Liberation จึงเป็นผลงานที่อยากส่งต่อให้กับผู้คนที่หลงลืมความหมายอะไรบางอย่าง จะได้ลองหยุดเพื่อสำรวจเรื่องราวเล็กน้อยในชีวิตอีกครั้ง เริ่มต้นเชื่อมโยงและสร้างความหมายใหม่ให้กับตัวเอง หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Ghost Public Space ถ้ามีพื้นที่สาธารณะให้ผีทำกิจกรรม คนก็ไม่ต้องกลัวผีออกมาหลอกอีกต่อไป

พื้นที่สาธารณะของผีจะมีหน้าตาเป็นแบบไหนกันนะ คนที่ตายไปแล้วก็น่าจะอยากได้พื้นที่ทำกิจกรรมของตัวเองด้วยเหมือนกัน เพราะถ้าไม่มีพื้นที่รองรับความต้องการนี้ การออกไปเดินเล่นข้างนอกตอนกลางคืนและปรากฏตัวให้คนเห็นจนกลายเป็นการหลอกหลอน ก็คงกลายเป็นเรื่องเดียวที่เหล่าผีสามารถทำได้ในยามว่าง สำหรับฮาโลวีนปีนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จะขอมาเอาใจประชากรในปรโลก ด้วยการออกแบบพื้นที่สาธารณะสำหรับผีที่คนเองก็ใช้งานได้ โดยเปลี่ยนสุสานที่นานๆ ครั้งจะมีคนเข้ามาเยี่ยมเยือนตามโอกาส ให้กลายเป็นพื้นที่เพื่อผีบ้าง 1) Public Housing : เปิดบ้านพักให้ผีทุกตัวไม่ต้องเป็นวิญญาณเร่ร่อน แม้ว่าจะเป็นสุสาน แต่ผีทุกตัวที่อยู่ที่นี่ไม่ใช่ว่าจะมีที่อยู่ทั้งหมด บางตัวอาจเป็นผีไม่มีญาติ ทำให้ไม่มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง หากมีลูกหลานของใครบางคนเผาตึกหรือคอนโดฯ กระดาษไปให้ อากงอาม่าก็นำไปเปิดเป็นที่พักให้กับผีเร่ร่อนอาศัยร่วมชายคา ช่วยเหลือกันแม้ในยามที่ไม่มีชีวิตอยู่ เพื่อช่วยให้เหล่าผีได้มีความสุขดีในโลกหลังความตาย หรืออาจจะเปิดให้ผีตัวอื่นๆ เช่า สร้าง Passive Income ในอนาคตต่อไป ลูกหลานจะได้ไม่ต้องเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้ทุกวันไหว้ 2) Community Space : พื้นที่สร้างสังคม ให้ทั้งคนและผีมีปฏิสัมพันธ์กัน ปกติแล้วพื้นที่ในสุสานมักเป็นลานกว้างๆ ให้ญาติๆ เข้ามาเยี่ยมเยียนหลุมศพของคนในครอบครัวตัวเองเท่านั้น เราเลยขอเพิ่มศาลาหลบแดด เพื่อให้คนทั่วไปและคนที่เข้ามาเยี่ยมหลุมศพได้นั่งพักหลบร้อน รวมตัว พบปะกับผู้คนใหม่ๆ ที่มาเจอกันที่นี่ ส่วนตอนกลางคืน เหล่าผีก็สามารถใช้พื้นที่นี้ในลักษณะเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการพบปะ พูดคุย ทำความรู้จักกับผีใหม่ๆ เพื่อสร้างสังคมแบบผีๆ […]

Meltdistrict แบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลจากเชียงใหม่ ให้กลายเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ใช้งานได้ แถมยังเก๋ไก๋ชวนใจละลาย

We have to MELT because the world is MELTING. หากจะถามว่า Meltdistrict คือใครและทำอะไร ประโยคนี้บนหน้าเว็บไซต์พวกเขาเล่าความตั้งใจของพวกเขาได้ดี Meltdistrict เป็นแบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลให้เป็นสินค้าใหม่ โดยสร้างสรรค์จากพลาสติก 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถรีไซเคิลต่อได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก่อตั้งโดย ‘โบ-สลิลา ชาติตระกูลชัย’ และ ‘ฟ้า-ขวัญชีวา พงศ์สิมภากรณ์’ สองสาวที่พบกันด้วยความสนใจเรื่องความยั่งยืนที่ตรงกัน พวกเธอจึงขอใช้ขยะพลาสติกส่วนหนึ่งจากโรงงานรับขยะของครอบครัวขวัญชีวา ลองผิดลองถูกกับการรีไซเคิลอยู่พักใหญ่ ก่อนจะผลิตเป็นบอร์ดพลาสติกที่แปรรูปเป็นสินค้าได้อเนกประสงค์ ดีไซน์สนุก ใช้งานได้จริง กิ๊บติดผม เฟอร์นิเจอร์ กระเบื้องตกแต่งคาเฟ่ นี่คือตัวอย่างของสินค้าที่บางคนอาจจะไม่เคยคิดว่าพลาสติกรีไซเคิลก็ทำได้ คอลัมน์ Sgreen ตอนนี้ ขอพาคุณบุกเชียงใหม่ ไปสืบความลับของการหลอมพลาสติกให้กลายเป็นสินค้าหน้าตาน่าใช้ ฟังสองสาวเจ้าของแบรนด์เล่าความตั้งใจในการเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสินค้าไลฟ์สไตล์ที่เก๋และยั่งยืนไปพร้อมกัน โรงงานขยะ ครอบครัวของขวัญชีวาทำธุรกิจแปรรูปพลาสติกมาเนิ่นนาน ภาพที่เธอคุ้นชินตั้งแต่ยังเด็กจึงเป็นภาพโรงงานรับซื้อขยะของพ่อแม่ในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กับกระบวนการป่นพลาสติกชิ้นใหญ่ให้เป็นเม็ดเล็กๆ แล้วส่งให้โรงหลอมเพื่อรีไซเคิลต่อ เมื่อโตขึ้น ขวัญชีวารับช่วงต่อแล้วขยายธุรกิจรับซื้อสิ่งของเหลือใช้มาที่อำเภอสันป่าตอง Meltdistrict ก็เกิดขึ้นที่นั่นเช่นกัน “เราซึมซับการรีไซเคิลมาตั้งแต่เด็ก และทำเรื่องรณรงค์ไฟป่าหรือเรื่องลดหลอดมาตั้งแต่สมัยเรียน […]

เมื่อศิลปินที่รักดันไม่เป็นอย่างที่คิด พาไปดูวิธีการรักคนดังยังไงให้เซฟใจตัวเองไปด้วย

‘ถ้าสองคนนี้เลิกกันนะ ฉันจะไม่เชื่อเรื่องความรักอีกแล้ว’ หลายคนน่าจะเคยคิดอะไรแบบนี้ จากการเฝ้ามองคู่รักคนดังที่ตัวเองชื่นชอบ ที่ลุ้นให้พวกเขารักกันยั่งยืน แต่ที่สุดแล้วก็ไปไม่รอดถึงฝั่งฝัน การได้รับรู้ข่าวเลิกราของคู่ที่เราเชียร์มานาน มันบาดใจเหมือนเราเจ็บแทนเขา ทั้งๆ ที่ ก็ไม่มีใครรู้จักชีวิตส่วนตัวของคู่รักคนดังอย่างลึกซึ้งและละเอียดเท่าเจ้าตัวเอง ต่อให้คนดังเหล่านั้นจะเล่าเรื่องความรักของตัวเองออกสื่อบ่อยแค่ไหนก็ตาม ความสัมพันธ์ที่ดูมีเส้นขีดไว้ชัดเจน แต่ความรู้สึกเราเลยเถิดออกไปได้ยังไง ‘เธอไม่รู้จักเขาจริงๆ ด้วยซ้ำ’ อาจเป็นสิ่งที่คนนอกมองเข้ามา ด้วยความไม่เข้าใจในความสัมพันธ์ของคนคนหนึ่งที่หลงใหลคนดังอย่างหัวปักหัวปำ ทั้งในแง่ตัวตนที่เขานำเสนอออกมา หรือความคิดสร้างสรรค์อันสวยงามจากผลงานของเขา คอยติดตามชีวิตตลอด ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็คอยเป็นกำลังใจหรือออกตัวปกป้อง หากศิลปินในดวงใจเจอความทุกข์ ความรู้สึกนั้นก็เสียดแทงใจเหมือนตัวเองเจ็บแทน เว็บไซต์ findapsychologist.org อธิบายความสัมพันธ์พิเศษที่มีชื่อเรียกว่า Parasocial Relationship ว่า เป็นความสัมพันธ์ข้างเดียว ที่คนหนึ่งมอบทั้งพลังงานด้านอารมณ์ ความสนใจ และเวลาให้ โดยที่อีกคนไม่รับรู้ถึงการมีอยู่ของอีกฝ่าย ซึ่งมักเกิดในความสัมพันธ์ที่แฟนคลับมีต่อศิลปินหรือทีมกีฬา อย่างในตอนนี้ อีกหนึ่งกลุ่มคนดังที่หลายคนเลือกมีความสัมพันธ์แบบ Parasocial ด้วยคือนักการเมือง ‘ความคุ้นชิน’ ทำให้เกิดความผูกพัน  เมื่อไหร่ก็ตามที่คนเราผูกพันกับอะไร เมื่อนั้นจะยิ่งทำให้ตนรู้สึกว่า เรารู้จักคนคนนี้หรือสิ่งสิ่งนี้ดีพอ ยกตัวอย่าง พ่อแม่หลายคนที่คิดว่าตัวเองรู้จักนิสัยใจคอหรือความฝันของลูกดี ซึ่งเขาไม่ผิดที่จะคิดอย่างนั้น เพราะอยู่ด้วยกันในบ้านทุกวัน แต่จริงๆ แล้วก็มีอีกหลายเรื่องที่ลูกเลือกจะไม่แสดงออกมาให้พ่อแม่เห็น ไม่ต่างจากศิลปินหรือคนดังที่เราหลงรัก ขนาดตัวอย่างแรกที่ยกมาเมื่อตอนเปิดเรื่อง แม้ตัวเองอาจไม่ได้เป็นแฟนคลับเหนียวแน่น แต่การแค่เห็นใครคนหนึ่งผ่านสื่อบ่อยๆ […]

4,000 Miles การเดินทางอันแสนยาวไกลในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

การเดินทางอันแสนยาวไกลกว่า 4,000 ไมล์ ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทำให้เราได้พบกับสิ่งที่เหนือความคาดหมาย หลังจากทำงานบ้าระห่ำอย่างแทบเป็นแทบตายในช่วงชีวิตที่เราสามารถซักซ้อมในการเป็นผู้ใหญ่ได้ รู้ตัวอีกทีก็อยู่บนเรือสำราญขนาดยักษ์ที่มีทั้งหมด 12 ชั้น นำพาผู้โดยสาร 4,000 กว่าชีวิตมุ่งไปสู่จุดหมายเดียวกันในทริปนี้ ภายในห้องนอนมองเห็นวิวน้ำสีฟ้าของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่องประกายระยิบระยับจากแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบ ในช่วงฤดูร้อนของยุโรปใต้ที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง 40 องศาเซลเซียส รูตนี้เริ่มเดินทางจากเมือง Corfu ประเทศกรีซ โดยล่องเรือผ่านมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ มุ่งหน้าสู่ประเทศมอลตาที่เป็นเกาะเล็กๆ สีครีม มีขนาดเพียง 316 ตร.กม. อัดแน่นไปด้วยเรือสีขาวน้อยใหญ่ที่จอดเทียบท่าเรียงกันเหมือนรูปในโปสต์การ์ด ในคืนนั้นเอง เรือของเราได้เดินทางต่อไปยังจุดหมายปลายทางที่เมือง Taormina แคว้น Sicily หรือที่รู้จักกันในนามเกาะมาเฟีย ประเทศอิตาลี ต่อด้วยเมือง Crotone ที่เป็นเมืองฮิตในการพักผ่อน เพราะมีทั้งโซนเมืองเก่าและโซนชายหาด ตามรายทางมีขายอาหารทะเลสดๆ บาร์ พร้อมร่มชายหาดสีเขียวสลับเหลืองเรียงเต็มอาณาบริเวณ  คืนนั้นเรือของเราแล่นออกจากท่าอีกครั้งเพื่อไปให้ทันพระอาทิตย์ขึ้นที่เมือง Olympia ประเทศกรีซ หากใครเป็นสาย Myth คงฟินน่าดูที่ได้ไปเยือน Olympia ในช่วงที่มีการจัดแข่งขัน Olympics 2024 พอดิบพอดี แหล่งรวมซากปรักหักพังเป็นเครื่องยืนยันว่า ในอดีตบริเวณนี้เคยมีอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองมากขนาดไหน  ถัดมาที่เมืองสุดท้ายในวันที่ […]

‘ความมืดนั้นสำคัญไฉน’ เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดกับผลกระทบต่อเมือง ธรรมชาติ และสิ่งมีชีวิต

‘ฟ้ามืดทีไรมันเหงาทุกคืน’ ท่อนหนึ่งในเพลงฟ้ามืดทีไร ของวง Dept ว่าไว้อย่างนั้น อย่างที่คุ้นชินกันว่า ความมืดมักถูกยึดโยงกับสิ่งไม่ดี ชั่วร้าย ความเศร้าซึม หรือความเหงา แต่แท้จริงแล้วความมืดมิดยามค่ำคืนกลับมอบสุนทรียศาสตร์ที่ไม่มีสิ่งไหนสามารถแทนที่ได้ แต่รู้หรือไม่ว่า อุปสรรคใหญ่ที่คอยขัดขวางความมืดคือมลภาวะทางแสงยามค่ำคืน ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม โดยที่ไม่รู้ถึงผลกระทบต่อธรรมชาติ ทั้งต่อสัตว์ป่าและระบบนิเวศในตอนกลางคืน แน่นอนว่ารวมถึงการศึกษาด้านดาราศาสตร์ที่จำเป็นต้องพึ่งพาความมืดมิดในการสังเกตธรรมชาติและดวงดาว จนนำไปสู่การจัดตั้ง ‘เขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด’ ด้วย ในประเทศไทยรวมถึงทั่วโลกเริ่มมีการพูดถึงและเพิ่มจำนวนเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดมากขึ้นทุกปี คอลัมน์ Curiocity จึงอยากพาทุกคนลดแสงไฟ มุ่งหน้าสำรวจความมืดมิดถึงที่มาของเขตอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด ความสำคัญของความมืดต่อเมือง และตัวอย่างนโยบายการจัดการแสงสว่างจากทั่วโลก เมื่อเมืองสว่างเกินไปจนลดความมืดของธรรมชาติ แสงรถ แสงไฟจากตึกรามบ้านช่อง และการใช้งานแสงสว่างด้านอื่นๆ ของมนุษย์ ล้วนเติบโตขยายตามขนาดของเมืองและเทคโนโลยีในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 จนเกิดการใช้แสงสว่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดมลพิษทางแสงที่ลดความมืดของท้องฟ้าในยามค่ำคืนตามมา ทั้งเรื่องเล่าจากดวงดาว ทางช้างเผือกที่พาดผ่านในยามค่ำคืน และจินตนาการในอวกาศอันไกลโพ้นล้วนค่อยๆ ถูกลบหายไปพร้อมกับแสงสว่างจ้าที่บดบังความสวยงามในธรรมชาติ มิหนำซ้ำแสงเหล่านี้ยังรบกวนพฤติกรรมของสัตว์ป่าและการนอนหลับของมนุษย์อีกด้วย แต่ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจมลภาวะทางแสงเสียก่อน ‘มลภาวะทางแสง’ คือแสงสว่างที่ปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน ซึ่งเกิดจากการติดตั้งแหล่งกำเนิดแสงอย่างไม่ถูกต้อง ไม่ได้ควบคุมปริมาณและทิศทางให้เหมาะสมกับบริเวณที่จำเป็นต้องใช้ ทำให้แสงเหล่านี้ส่องสว่างไปบนท้องฟ้า ส่งผลให้ท้องฟ้าที่เคยมืดมิดกลับไม่มืดสนิทอย่างที่ควรจะเป็น เราสามารถแบ่งมลพิษทางแสงออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แสงเรืองบนท้องฟ้า แสงจ้าบาดตา และแสงรุกล้ำ […]

ปอกเปลือกความเหลื่อมล้ำดั่งหนามทิ่มแทง และความยุติธรรมที่ไม่มีวันออกผลใน วิมานหนาม (The Paradise of Thorns)

‘วิมานหนาม (The Paradise of Thorns)’ ผลงานล่าสุดจากค่าย GDH ร่วมกับ ‘ใจ สตูดิโอ’ ผ่านการกำกับของ ‘บอส-นฤเบศ กูโน’ (ซีรีส์แปลรักฉันด้วยใจเธอ) ด้วยเรื่องราวที่แปลกใหม่แตกต่างจากสิ่งที่ค่ายหนังอารมณ์ดีของไทยเคยทำมา พร้อมการแสดงของศิลปินที่พลิกบทบาทมาสู่การเป็นนักแสดงอย่าง ‘เจฟ ซาเตอร์’ และ ‘อิงฟ้า’ นักร้องและนางงามที่สลัดบทบาทมารับบทใหม่ในแบบที่ผู้ชมไม่เคยเห็นมาก่อน ทั้งหมดนี้คงทำให้หลายคนรู้สึกอยากดูวิมานหนามขึ้นมาทันที แต่อีกความน่าสนใจสุดๆ ของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ ความต้องการนำเสนอประเด็นสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่นานนี้ ด้วยการมองเห็นถึงปัญหาของช่องโหว่ทางกฎหมายมากมายที่ทำให้เกิดความทุกข์ยากแก่ผู้คนชายขอบที่ไม่ได้เป็นที่สนใจในสังคม ประเด็นหนึ่งที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ สิทธิตามกฎหมายของคู่รัก LGBTQ+ ที่ทำให้หลายคนพลาดโอกาสในการมีชีวิตอย่างที่ควรจะเป็นไปอย่างน่าเสียดาย สิ่งเหล่านี้ถูกนำเสนอผ่านเรื่องราวของ ‘ทองคำ’ (เจฟ ซาเตอร์) และ ‘เสกสรร’ (เต้ย พงศกร) คู่รักที่ร่วมกันสร้างสวนทุเรียนขึ้นมาด้วยน้ำพักน้ำแรงของตัวเองกว่า 5 ปี โดยทองคำเป็นคนหยิบยื่นเงินในการไถ่ถอนที่ดินติดจำนองและมอบที่ดินผืนนี้ให้เสกไว้เป็นดั่งทะเบียนสมรสของทั้งสอง แต่ยังไม่ทันได้มีความสุขนานพอที่จะเห็นผลผลิตผลิดอกออกผล เสกก็ประสบอุบัติเหตุจนเสียชีวิตไปในที่สุด ทำให้ทรัพย์สมบัติทั้งหมดกลับไปตกอยู่กับ ‘แม่แสง’ (สีดา พัวพิมล) ผู้เป็นมารดาของเสก และได้พา ‘โหม๋’ (อิงฟ้า วราหะ) ลูกสาวที่เก็บมาเลี้ยง รวมทั้ง […]

‘ยังธน’ กลุ่มคนวัย Young ที่รวมพลังพัฒนาฝั่งธนฯ ด้วยความสนุก ตั้งแต่จัดเตะบอลไปจนถึงสร้างเกมที่ทำให้คนอยากมาตามรอย

การพัฒนาเมือง ฟังแล้วเป็นเรื่องแสนยิ่งใหญ่ การเสกโครงสร้างพื้นฐานสุดอลังการ การขุดลอกคูคลอง เอาสายไฟลงใต้ดิน ปรับระดับพื้นทางเดินให้เรียบเกลี้ยง การวางวิสัยทัศน์เมือง ตั้งเป้าหมายมุ่งไปข้างหน้าอีกหลายสิบปี แต่จะเป็นไปได้ไหม ถ้าเราจะพัฒนาเมืองด้วยการจัดงานเตะบอลหรือการสร้างเกมขึ้นมาสักอัน ฟังดูแปลก เหนือความคาดหมาย แต่นี่คือสิ่งที่ ‘ยังธน’ ทำมาแล้วจริงๆ ยังธน เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่ผูกพันกับย่านธนบุรี บ้างก็เกิดและเติบโตในพื้นที่นี้จนเรียกธนบุรีว่าบ้าน แม้สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะมีพื้นเพแตกต่างกัน บางคนเป็นสถาปนิก บางคนเป็นอาจารย์ แต่ทุกคนมีจุดร่วมเดียวกันคือ อยากเห็นธนบุรีเป็นย่านที่น่าอยู่มากขึ้นกว่าเดิม แทนที่การพัฒนาเมืองจะเป็นแค่เรื่องของผู้มีอำนาจหรือผู้เชี่ยวชาญ ระดมพลทำโครงการพลิกเมืองจากหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องวางแบบแผนให้เป๊ะทุกกระเบียดนิ้ว ต้องจริงจัง ขึงขัง ยังธนแสดงให้เห็นว่า กลุ่มคนธรรมดาก็สามารถรวมตัวกันเพื่อขับเคลื่อนย่านให้ดีขึ้นได้ และมี ‘ความสนุก’ เป็นสารตั้งต้นของการพัฒนาเมืองได้เหมือนกัน ในตึกแถวสีเทาปูนเปลือยริมถนนอิสรภาพ เราได้เจอกับ ‘บลู-รวิพล เส็นยีหีม’, ‘จั่น-จิรทิพย์ เทวกุล’, ‘ฮิน-ฐากูร ลีลาวาปะ’ และ ‘เมฆ สายะเสวี’ สี่สมาชิกกลุ่มยังธนที่รอคอยต้อนรับด้วยความยินดี หลังจัดแจงห้องและเก้าอี้ให้เรียบร้อย เตรียมพร้อมกับการสัมภาษณ์ ทั้งหมดก็นั่งประจำที่ แล้วบอกเล่าถึงความฝันของคนตัวเล็กๆ อย่างพวกเขาที่อยากเห็นเมืองที่ดี การขับเคลื่อนย่านธนบุรีเกือบสิบกว่าปีที่ผ่านมา รวมถึงจุดเริ่มต้นของคำว่า ‘ยังธน’ ที่เริ่มต้นในห้องสี่เหลี่ยมสีเทาที่เรานั่งพูดคุยกันอยู่ห้องนี้ กลุ่ม […]

‘Made in Song Wat’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่ร่วมมือกับผู้ประกอบการรุ่นเก่าและใหม่ พัฒนาย่านทรงวาดให้กลับมาคึกคัก

หากนึกถึงถนนทรงวาดในอดีต เชื่อว่าทุกคนคงนึกถึงภาพถนนที่เต็มไปด้วยร้านค้าของเหล่าอากงอาม่ากับบรรยากาศเงียบๆ ที่ผสมผสานความคลาสสิกของสถาปัตยกรรมมากมาย แต่ด้วยมนตร์เสน่ห์ของถนนทรงวาดที่ต่อให้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนานแค่ไหน ย่านนี้ก็เป็นที่รักของคนรักเมืองมาเสมอ และปัจจุบันก็กลับมาคึกคักกว่าเดิมและกลายเป็นจุดเช็กอินของเหล่าวัยรุ่นและนักท่องเที่ยวนับไม่ถ้วน จากการมีธุรกิจใหม่ๆ อย่างร้านอาหาร คาเฟ่ และแกลเลอรีเข้ามาสร้างชีวิตชีวาให้ตัวพื้นที่ โดยที่ยังไม่ทิ้งความน่ารักอบอุ่นของบรรยากาศเก่าๆ ไป คอลัมน์คนขับเคลื่อนเมืองครั้งนี้ จะพามารู้จักกับ ‘Made in Song Wat’ กลุ่มคนที่ทำให้หัวใจของถนนทรงวาดกลับมาเต้นแรงอีกครั้ง จากการรวบรวมเหล่าผู้ประกอบการมาช่วยกันพัฒนาดีเอ็นเอของทรงวาดให้แข็งแรงขึ้น รวมไปถึงจับมือกันโปรโมตย่านนี้ผ่านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่ที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันจนดึงดูดให้คนนอกอยากเข้าไปสัมผัสย่านนี้สักครั้ง รวมตัวผู้ประกอบการและโปรโมตย่าน ‘ทรงวาด’ คือหนึ่งย่านเก่าแก่ในกรุงเทพฯ ที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมทางเชื้อชาติอันหลากหลายที่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ แม้ในมุมของคนนอกอย่างเรานั้นอาจจะมีภาพจำว่าย่านนี้เป็นย่านแห่งการค้าขาย แต่ความจริงแล้วทรงวาดยังมีเสน่ห์อื่นๆ ซุกซ่อนอยู่อีกมากมายที่รอให้หลายคนเข้าไปค้นหา ด้วยกลิ่นอายของความเก่าแก่และความน่าสนใจของย่านนี้ ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนที่ทั้งเกิด เติบโต หรือตั้งถิ่นฐานในย่านนี้มานานอยากตอบแทนทรงวาดด้วยการพัฒนาพื้นที่ที่พวกเขารักให้ดีขึ้น ผู้ประกอบการเหล่านั้นรวมตัวกันในชื่อกลุ่ม ‘Made in Song Wat’ ในปี 2565 โดยมี ‘อุ๊ย-เกียรติวัฒน์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’ นายกสมาคมผู้เป็นคนแรกที่ริเริ่มเชิญชวนคนอื่นๆ ได้แก่ ‘เอ๋-พัชรินทร์ ศรีจันทร์วันเพ็ญ’, ‘ป็อก-สุขสันต์ เอื้ออารีชน’, ‘อิน-อินทุกานต์ คชเสนี สิริสันต์’ และ ‘อาร์ท-อรองค์ […]

1 2 3 4 5 19

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.