‘สุขสำราญ’ เรือนำเที่ยวไฟฟ้าที่พาสำรวจวิถีชีวิตตามสายน้ำ ให้สุขสำราญใจเหมือนชื่อเรือ

‘ซัน-ศิระ ลีปิพัฒนวิทย์’ ยุคสมัยหนึ่งเขาเคยรณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อจบการศึกษาก็เป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายรณรงค์ของมูลนิธิโลกสีเขียว องค์กร NGO ที่ผลักดันด้านสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการขับเคลื่อนสังคม เขายังใช้ชีวิตแบบ ‘กรีน’ ทั้งการปั่นจักรยานไปไหนมาไหน แยกขยะ ไม่ใช้วัสดุใช้ครั้งเดียวทิ้ง ฯลฯ หลังจากเขามีลูกเล็ก ก็ตกลงกับภรรยาว่าตนเองจะลาออกจากงานประจำเพื่อดูแลลูกเต็มเวลา แต่ ‘ศิระ’ ก็ไม่ได้ละทิ้งสิ่งที่ชอบ ผูกพัน และสังคมที่อยากเห็น  ในวันเสาร์-อาทิตย์ หลังพักภารกิจประจำ ตอนนี้เขาทำธุรกิจเรือไฟฟ้าเช่าเหมาลำ ‘สุขสำราญ’ บริการนำท่องเที่ยวแบบไม่เหลือมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม บริเวณคลองบางหลวง สายน้ำเล็กๆ ที่มีวัดปากน้ำภาษีเจริญ องค์พระใหญ่ที่เป็นจุดแลนด์มาร์ก และมีตลาด ชุมชนที่อยู่อาศัย อู่ต่อเรือ หรือโรงสีข้าว ที่ล้วนพัฒนามาจากรากฐานประวัติศาสตร์ของพื้นที่ เรานัดคุยกับเขาในปลายเดือนมีนาคม ตรงกับวันที่ศิระตกลงอาสาเป็นคนขับเรือ รับส่งผู้คนข้ามฟากในงานประเพณีประจำปีของ ‘ศาลเจ้าซำซัวก๊กอ้วง’ และ ‘ศาลเจ้ากวนอู’ บริเวณตลาดพลูซึ่งมีสายน้ำของคลองบางหลวงคั่นกลาง ในวันที่เทรนด์รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือเรือไฟฟ้ามาแรง ถูกคาดหวังว่าจะเป็นตัวเปลี่ยนผ่านจากพลังงานถ่านหินเป็นพลังงานสะอาด เพื่อลดระดับความรุนแรงของวิกฤตสภาพแวดล้อมตอนนี้ อาจจะเรียกได้ว่า ‘ศิระ’ เป็นผู้มาก่อนกาลอยู่เหมือนกันที่ลงมือเปลี่ยนเครื่องยนต์ดีเซลของเรือให้เป็นระบบไฟฟ้าเมื่อ 2 – 3 ปีก่อน  ทั้งแนวทางธุรกิจ […]

ทำความเข้าใจสงคราม ‘รัสเซียบุกยูเครน’ ผ่าน 5 สถานที่

นับตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงตอนนี้ ครบ 2 เดือนแล้วที่รัสเซียเริ่มทำสงคราม ‘รุกราน’ ยูเครน ทำให้เกิดคลื่นผู้อพยพกว่า 11 ล้านคนในทวีปยุโรป ผู้คนบาดเจ็บ สูญเสียชีวิต และเมืองต่างๆ ถูกทำลายอย่างราบคาบหลังเปลี่ยนเป็นสมรภูมิสงคราม คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์ตอนนี้อยู่เหนือความคาดหมาย เพราะเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2 วันก่อนรัสเซียปฏิบัติการทางการทหาร มีรายงานอย่างหนาหูว่า ทหารรัสเซียกว่าหนึ่งแสนคนตั้งกองกำลังประชิดเขตแดนของประเทศยูเครน และประธานาธิบดีรัสเซียอย่าง วลาดิเมียร์ ปูติน ก็ได้ประกาศรับรองเอกภาพของเขตการปกครองลูฮานส์ (Luhansk) และดอแนตสก์ (Donetsk) ทางตะวันออกของยูเครน แต่ปูตินก็ยังยืนยันหนักแน่นว่ารัสเซียไม่มีแผนบุกยูเครนแน่นอน  2 วันถัดมา เราจึงรู้ว่าคำกล่าวนั้นเป็นเพียงลมปาก รัสเซียเริ่มเปิดฉากบุกยูเครนจากทางเหนือ ตะวันออก และทางใต้ สื่อตะวันตกหลายแห่งรายงานตรงกันว่า การระดมกองกำลังทหารและสรรพาวุธของรัสเซียครั้งนี้มีจำนวนมากที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา  มีการวิเคราะห์กันว่า ฝ่ายรัสเซียหวังลึกๆ ว่าการรุกรานยูเครนในครั้งนี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เริ่มไวจบไว เหมือนการบุกยึดดินแดน ‘ไครเมีย’ ภายใต้การปกครองของยูเครนเมื่อปี 2014 แต่สถานการณ์ไม่ได้เป็นดังหวัง เพราะชาติตะวันตกทั้งสหรัฐอเมริกาและยุโรปต่างตอบโต้ด้วยการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย ส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ช่วยเหลือยูเครน […]

Art is a Way of Life 5 สารคดีเบื้องหลังศิลปะที่อยู่ในชีวิตประจำวัน

ช่วงหยุดยาวสงกรานต์ของทุกปีถือเป็นช่วงเวลาสุดเพอร์เฟกต์สำหรับคนที่อยากพักผ่อนหรือนอนดู Netflix อยู่บ้านแบบชิลๆ จะได้อยู่กับตัวเองและชาร์จพลังอย่างเต็มที่ ส่วนใครอยากหาแรงบันดาลใจและจุดประกายไอเดียใหม่ ไปพร้อมๆ กับการพักกายพักใจโดยไม่ต้องก้าวเท้าออกจากบ้าน ก็ทำได้เช่นกัน  เราอยากชวนทุกคนเปิดโลกแห่งไอเดียสร้างสรรค์ไปกับ 5 สารคดีแห่งจินตนาการและความคิดสุดบรรเจิด ที่จะพาทุกคนสำรวจความจริงและเบื้องหลังของศิลปะแขนงต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลก เช่น การออกแบบ การทำอาหาร การถ่ายภาพ ดนตรี ไปจนถึงผลงานจากดอกไม้ไฟขนาดมหึมา ผ่านเรื่องราวน่าประทับใจและจังหวะการเล่าเรื่องที่ทำให้เราเข้าใจแนวคิดและชีวิตของเหล่าศิลปินแบบถึงแก่น ต้องบอกก่อนเลยว่าสารคดีที่เราคัดสรรมาไม่น่าเบื่อจนชวนหลับอย่างที่หลายคนคิด แต่เต็มไปด้วยซีนสนุกๆ และน่าตื่นเต้นไม่ต่างจากหนังหรือซีรีส์ดีๆ สักเรื่องเลย เราเชื่อว่าหลังดูจบหลายคนจะมีไอเดียสร้างสรรค์พลุ่งพล่าน พร้อมกลับไปทำงานและลุกขึ้นมาทำอะไรใหม่ๆ หลังวันหยุดยาวแน่นอน 01 | Abstract: The Art of Design ซึมซับดีไซน์ล้ำสมัยจากเหล่านักออกแบบระดับโลก หากสังเกตดีๆ ทุกคนจะเห็นว่ารอบตัวของเราล้วนโอบล้อมไปด้วยผลผลิตของ ‘การออกแบบ’ ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม ดีไซน์รถยนต์ บรรจุภัณฑ์ ภาพวาดประกอบ ปกนิตยสาร ตัวอักษร ไปจนถึงเสื้อผ้าและรองเท้าที่เราสวมใส่ในชีวิตประจำวัน แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่ากว่าผลงานและสินค้าเหล่านี้จะถูกผลิตสู่สายตาชาวโลก พวกมันต้องผ่านกระบวนการคิดและออกแบบที่ละเอียดถี่ถ้วนขนาดไหน และเบื้องหลังของผลงานแต่ละชิ้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ช่วงวันหยุดยาวทั้งที เราจึงอยากชวนทุกคนดู ‘Abstract: The Art of […]

ประเทศฮาบ่ใจ่ของคิง : ฮ่องเต้ ธนาธร ผู้เรียกร้องความเท่าเทียมจากล้านนาสะเทือนกรุงเทพฯ 

นัดพบฮ่องเต้ ผู้ประสบภัย 112 ในเชียงใหม่ ขณะที่หลายประเทศเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตโลกร้อนด้วยนวัตกรรม เพราะแผ่นทวีปที่กำลังจะจมน้ำจากธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า แต่สิ่งที่รัฐไทยกำลังเลือกทำในปัจจุบัน คือการไล่ทุบกำราบคนเห็นต่างให้สยบยอมอยู่ใต้ตีนอย่างแข็งขัน  นี่คือข้อบ่งชี้ว่า ประเทศเรากำลังหมดหวังและถอยหลังลงคลองในสายตาคนรุ่นใหม่ แต่ขั้วอนุรักษนิยมกลับมองว่า นี่คือการรักษาความมั่นคงอันดีงามของชาติที่แสนสงบและดีพร้อมกว่าชาติใดใดในโลก และนี่คือสาเหตุที่ช่วงเกือบปลายปี 2564 เราตัดสินใจเดินทางไปพบนักกิจกรรมอย่าง ฮ่องเต้-ธนาธร วิทยเบญจางค์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากเขาถูกแจ้งจับคดีมาตรา 112 ก่อนหน้านั้นเพียงไม่นานนัก ฮ่องเต้ตั้งใจนัดให้เราไปพบที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ไม่ไกลจากคณะสังคมศาสตร์ คณะที่เขากำลังศึกษาวิชาปรัชญา ชั้นปีที่ 3 ในปัจจุบัน นี่คืออาคารที่ผู้บริหารมหา’ลัยตัดสินใจสั่งริบเอาพื้นที่จอดรถของนักศึกษามาสร้างอาคารที่ผู้เรียนแทบไม่ได้ใช้งาน เราถามฮ่องเต้ถึงจำนวนคดีความที่เขาได้รับ หลังการลุกขึ้นมาเรียกร้องความเท่าเทียมบนพื้นที่สาธารณะ “เกินสิบ (หัวเราะขื่นๆ) ส่วนใหญ่เป็นคดี พ.ร.บ.ชุมนุม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ควบคุมโรค และจะโดน 116 จำนวนหนึ่งหรือสองคดีนี่แหละ แล้วก็มี 112 อีกจำนวนหนึ่งคดี ผมคิดอยู่ว่า อีกหน่อยอาจจะมีคดีแปลกๆ โผล่ขึ้นมาอีก” เด็กหนุ่มยิ้มขื่นบางๆ หลังพูดจบ “หน้าที่ของเราคือยิ้ม และขัดขืนมัน เพื่อทำให้ประเทศนี้เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่านี้ให้ได้ ผมไม่คิดว่าเราต้องกลัวกฎหมายฉบับนี้ แค่ต้องทำงานของตัวเองต่อไป […]

JARB ศิลปินนักโหยหาอดีตผ่านเพลง J-City Pop สู่ Thai Lyric Visualizer ของ The Weeknd

เมื่อสี่ปีก่อน เรารู้จัก ‘JARB’ หรือ ‘จ๊าบ–มงคล ศรีธนาวิโรจน์’ ตอนเขาไปฝึกงานที่กองบรรณาธิการนิตยสาร a day Magazine เป็นครั้งแรก  จ๊าบเป็นนักศึกษาฝึกงานตำแหน่ง Illustrator หรือนักวาดภาพประกอบไฟแรง ที่ทั้งขยันและทำงานด้วยสนุก  ความขยันและความหาทำของจ๊าบ (ชม) ทำให้เขาผ่านประสบการณ์การฝึกงานมาอย่างโชกโชน จนกระทั่งเรียนจบจากสาขาวิชาภาพพิมพ์ คณะจิตรกรรมฯ รั้ว ม.ศิลปากร จ๊าบก็เข้าทำงานที่ Flvr Studio ของ โอ-ศรัณย์ เย็นปัญญา ก่อนที่เขาจะกลับมาเป็นนักวาดภาพประจำที่ a day สื่อสิ่งพิมพ์บันดาลใจที่ผลักดันให้เขาใฝ่ฝันอยากเป็นนักวาดภาพประกอบมาตั้งแต่ครั้งเรียน ม.ปลาย  สำหรับคนที่ติดตามผลงานจ๊าบเป็นประจำจะเห็นว่างานของเขาโคตรเท่ แต่ถ้าลงลึกไปกว่านั้น เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ในวงการสื่อและสิ่งพิมพ์ต่างขนานนามให้เขาเป็นนักวาดภาพประกอบสุดไฮเปอร์ ที่ทำงานด้วยง่าย ทำได้ทุกแบบทุกสไตล์ แถมสร้างสรรค์งานอย่างว่องไว และได้ผลลัพธ์เนี้ยบกริบชนิดหาตัวจับยาก และเอกลักษณ์พิเศษที่โดดเด่นไม่เหมือนใครของจ๊าบ คือสายตาโหยหาอดีตที่เขาหยิบจับเอาความ Nostalgia และความเครซี่ในแนวเพลง Japan City Pop มาแต่งแต้มจนกลายเป็นงานส่วนตัวที่สร้างสรรค์ออกมาอย่างต่อเนื่อง แน่นอน ปัจจุบันเขาบุกเข้าไปในโลก NFT แล้วสะสมชื่อเสียงในระยะเวลาอันรวดเร็ว […]

ไม่มีเทพสร้าง ไม่มีอัศวินม้าขาวช่วย แต่กรุงเทพฯ มี ‘หวัง’ ในสายตา ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

“ประมาณหกโมงเช้าไปวิ่งมา แล้วก็ออกไปดูพื้นที่เขตบางบอน จากนั้นข้ามไปหนองแขมเพื่อดูปัญหาในชุมชนและเดินตลาดต่อ”  ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครบอกกับเรา บริเวณใต้ร่มร้านขายของชำใกล้สวนสาธารณะเขตบางบอน วันเสาร์นั้นแดดจัด ช่วงใกล้เที่ยง พระอาทิตย์ส่องจ้ากลางหัว เขาโดยสารรถสองแถวหลังคาสูงมาพร้อมทีมงานที่สวมเสื้อดำสกรีนคำเขียวเข้มสะท้อนแสง ‘ทำงาน ทำงาน ทำงาน’  ช่วงนี้เขาออกวิ่งทุกวันเสาร์ ตระเวนวิ่งในแต่ละเขตทั่วกรุง เราสะดุดตาที่วันนี้ชัชชาติสวมรองเท้าวิ่งข้างหนึ่งสีขาว อีกข้างสีดำ เขาเล่าข้อมูลเขตบางบอนที่ศึกษามาว่า “เขตบางบอนเป็นเขตที่พื้นที่มีความยาว แต่เดิมเป็นพื้นที่ทำสวน ปัจจุบันหมู่บ้านจัดสรรเริ่มเข้ามา คนมาอาศัยในเขตนี้มากขึ้น ตอนนี้มีประชากรประมาณหนึ่งแสนคน”  ตลอดเส้นทางที่สัญจรมาที่นี่ เราขับรถผ่านถนนสองเลนที่ตัดผ่านย่านชุมชน ผ่านเส้นทางรถไฟ และ สถานี ‘รางโพธิ์’ สถานีหลักประจำพื้นที่ซึ่งเป็นสถานีหมุดหมายของรถไฟฟ้าสายสีแดงที่จะวิ่งผ่านในอนาคต ชัชชาติชี้ให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องการคมนาคมและขนส่งสาธารณะเป็นหนึ่งในโจทย์ใหญ่ของเขตบางบอน เขาเล่าประสบการณ์การเดินทางในช่วงเช้าก่อนมาเจอเราว่า “รถติดมาก เส้นเอกชัย-บางบอน หรือถนนบางบอน 3 หรือ 5 และขนส่งสาธารณะก็ยังไม่ดี รถไฟก็เป็นแบบท้องถิ่นที่มีความถี่น้อย ประชาชนจึงต้องใช้รถส่วนตัว”  ถ้าลองเปิดแผนที่ดู เขตบางบอนคือพื้นที่ขอบกรุงเทพฯ ที่ติดกับจังหวัดสมุทรสาครซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่สำคัญของอุตสาหกรรมประมง มีแรงงานชาวพม่าที่มาทำงานในพื้นที่อาศัยอยู่เยอะ ทำให้มีอีกโจทย์ตามมาว่าจะพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับแรงงานต่างชาติ และประชากรในพื้นที่อย่างไรไม่ให้อยู่อย่างแออัด นี่คือความหลากหลายและความซับซ้อนของสิ่งที่ต้องจัดการจากพื้นที่เพียงหนึ่งเขต เพราะความเป็นจริง กรุงเทพฯ มีทั้งหมด 50 เขต […]

ความฝัน น้ำตา และแดร็กยาใจของ Pangina Heals แดร็กไทยคนแรกใน RuPaul’s Drag Race

ปันปัน นาคประเสริฐ สักคำว่า Strive ไว้บนอกข้างซ้าย         ความหมายในพจนานุกรม Strive แปลว่า ‘พยายามอย่างหนักเพื่อสร้างสรรค์บางสิ่งให้เกิดขึ้น เป็นความพยายามที่ยาวนาน หรือความพยายามต่อสู้อย่างยากลำบาก’ พระเจ้าเท่านั้นที่รู้ว่า ปันปันสักคำนี้ไว้เหนืออกซ้ายทำไม แต่ตลอดชั่วโมงแสนสั้นที่มีโอกาสได้นั่งคุยกัน เรื่องราวจากปากเขาทำให้คำว่า Strive ผุดขึ้นมาในใจเราหลายครั้ง เช่นเดียวกับคำว่า Brave (กล้าหาญ) และ Unapologetic (ไม่อับอายในสิ่งที่ทำ) ก่อนเป็น Pangina Heals แดร็กควีนที่ประสบความสำเร็จเบอร์ต้นๆ ของไทยในวันนี้ ปันปันต่อสู้กับความยากลำบากมาหลายครั้ง ในวัยเด็ก ปันปันนิยามตัวเองว่า เป็นเด็กที่ ‘อ้วนและสาว’ โดนบุลลี่ที่โรงเรียนทุกวัน ครอบครัวไม่ยอมรับ ประสบการณ์เลวร้ายทำให้ปันปันปฏิเสธความเป็นตัวเอง ไม่กล้ากระทั่งจะมีความสุข จนป่วยเป็นโรคการกินผิดปกติ กินเข้าไปก็สำรอกทุกครั้ง นั่นคือจุดเปลี่ยนให้เขาหันกลับมาฟังเสียงข้างในตัวเอง ช่วงวัยรุ่น เขาเปิดตัวว่าเป็นเกย์ อาจเป็นโชคดีที่ครอบครัวรับได้ หลังจากนั้นชีวิตเสมือนได้หายใจอย่างเต็มปอดเป็นครั้งแรก ปันปันบินไปเรียนต่อปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกา ที่นั่นทำให้เขารู้จัก RuPaul แดร็กควีนในตำนานและ RuPaul’s Drag Race รายการแข่งขันแดร็กควีนที่ดังที่สุดในโลก จุดประกายให้ลองแต่งแดร็กเล่นๆ แต่ท้ายที่สุด ทำให้เขามั่นใจว่า […]

8 อีเวนต์ต้อนรับวาเลนไทน์ ชวนคู่รักใช้เวลาร่วมกันในวันแห่งความรัก

เทศกาลแห่งความรักที่กำลังจะมาถึงนี้ หลายคนคงกำลังแพลนว่าจะพาคนรู้ใจไปเดตที่ไหนสักที่ จะพาไปช้อปปิงเลือกซื้อของขวัญที่ห้างสรรพสินค้า กุมมือดูหนังรักแสนหวานในโรงภาพยนตร์ หรือทานดินเนอร์สุดหรูใต้แสงเทียนแบบที่เคยทำมาทุกปีดีนะ  แต่ถ้าใครเบื่อบรรยากาศเดิมๆ และอยากพาคนรักไปใช้ช่วงเวลาที่ดีร่วมกันในบรรยากาศใหม่ๆ Urban Creature ขออาสาหยิบอีเวนต์น่าสนใจที่จะเกิดขึ้นในวันแห่งความรักนี้ มาให้คู่รักได้เลือกทำกิจกรรมที่โดนใจ ตั้งแต่เดินชมนิทรรศการงานศิลปะ เล่นเซิร์ฟสเก็ตพร้อมเอนจอยกับอาหารอร่อยๆ ในคาเฟ่สไตล์บีชคลับ นั่งฟังเพลงรัก ทำเวิร์กช็อปเย็บปักถักร้อย ถ่ายรูปคู่ในตู้สติกเกอร์ ไปจนถึงกางเต็นท์นอนชิลใต้แสงจันทร์เลยทีเดียว  แล้ววันวาเลนไทน์ในปีนี้ของคุณจะน่าจดจำ และอาจทำให้คุณกับคู่รักได้กระชับความสัมพันธ์ อิ่มอก อิ่มใจ และอิ่มเอมไปตลอดการใช้เวลาทำกิจกรรมเหล่านี้ร่วมกันอีกด้วย 01 Art Cart 06 : I love you to Phrom Phong and back SAC Gallery ขอต้อนรับเดือนแห่งความรักด้วยโปรเจกต์ ‘Art Cart 06 : I love you to Phrom Phong and back’ ที่ได้แรงบันดาลใจจากประโยคบอกรักสุดละมุนอย่าง “I love you […]

คนไทยเสียเงินตรวจ ATK เกือบ 7 พันบาทต่อปี ราคาที่ต้องจ่ายเองเพื่อตอบว่า ‘กูติด (โควิด) ยัง?’ 

2 ปีแล้วที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้การระบาดของโควิด-19 แม้มีการฉีดวัคซีนไปหลายพื้นที่ แต่ใช่ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะดีขึ้นมากนัก เพราะเชื้อไวรัสพัฒนาสายพันธุ์เรื่อยๆ และจำนวนผู้ติดเชื้อก็ยังคงสูงอยู่ แม้สายพันธุ์ล่าสุดอย่าง ‘โอไมครอน’ มีอาการไม่รุนแรงเท่าเดิมแต่คนก็ติดเชื้อง่ายขึ้นมาก ถึงสถานการณ์หนักหนาสาหัส แต่ทั้งผู้ประกอบการ คนค้าขาย และคนทำงานก็ไม่สามารถล็อกดาวน์หรือปิดร้าน โดยที่ไม่ได้รับการเยียวยาจากรัฐได้อีกแล้ว นั่นทำให้ประชาชนต้องหาหลักยืนยันความมั่นใจให้ตัวเอง ครอบครัว และเพื่อนร่วมงานรอบตัวว่า เรายังไม่ติดโควิด-19 จึงไม่แปลกที่ช่วงนี้เราจะเห็นคนโพสต์ภาพชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) กันเยอะเป็นพิเศษ  แต่ใครจะรู้บ้างว่าเบื้องหลังราคาของการยืนยันความปลอดภัยนั้นมีมูลค่าเท่าไหร่ แน่นอนว่าบางบริษัทอาจจัดเตรียมชุดตรวจ ATK ให้พนักงานใช้ แต่บางบริษัทไม่เป็นแบบนั้น ยังไม่นับบางคนที่กังวลถึงความน่าเชื่อถือของผลตรวจ ทำให้ต้องซื้อชุดตรวจ ATK มาตรวจซ้ำเอง รวมราคาแล้วไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับค่าแรงที่ได้ ตามปกติแล้วถ้ายึดตามระยะเวลา การตรวจ ATK จะมีรอบการตรวจที่ 3 – 5 วันต่อหนึ่งเทสต์ ถ้านับเป็นเลขกลมๆ เข้าใจง่ายเท่ากับว่าเราจะใช้ชุดตรวจ ATK 1 ชุดต่อ 1 สัปดาห์ ถ้าขยับมานับเป็นระยะเวลา 1 เดือน เราต้องใช้ชุดตรวจ ATK 4 […]

‘ส่งสาร’ ร้านกาแฟของคนอุบลฯ ที่อยากส่งสารคาเฟอีนเสิร์ฟคู่การเมือง ดนตรี และศิลปะ

ในฐานะลูกหลานคนอุบลฯ เราคุ้นเคยกับ ‘ย่านเมืองเก่า’ ในตัวอำเภอเมืองอุบลราชธานี เป็นอย่างดี เพราะครอบครัวและคนรู้จักหลายคนต่างอาศัยอยู่ในย่านนี้มานาน จึงเรียกว่าเติบโตมากับย่านนี้ก็ว่าได้  ป๊าเคยเล่าว่า ในอดีตย่านเมืองเก่าเปรียบเสมือนศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเมืองอุบลฯ ร้านค้า ผู้ประกอบการ และธุรกิจต่างๆ มารวมตัวกันอยู่ที่นี่อย่างคึกคัก เต็มไปด้วยผู้คนที่ออกมาท่องเที่ยว และจับจ่ายใช้สอยทั้งกลางวันและกลางคืน  แต่ช่วง 20 – 30 ปีที่ผ่านมา ย่านนี้ก็ซบเซาลงเพราะร้านรวงและธุรกิจต่างๆ กระจายตัวออกไปเติบโตบนพื้นที่อื่นในเมือง จึงมีไม่กี่ร้านเท่านั้นที่ยังเปิดกิจการ ส่วนที่เหลือก็เป็นบ้านพักหรือตึกปล่อยเช่า กลายเป็นเมืองเก่าที่เหลือไว้แต่เรื่องราวในอดีต  ปีนี้เรามีโอกาสกลับไปโอลด์ทาวน์อีกครั้ง เพื่อพบกับ ‘เป็ด-ยุทธนา ดาวเจริญ’ คนอุบลฯ รุ่นใหม่ผู้ก่อตั้ง ‘Songsarn Coffee & Home Roaster’ หรือ ‘ส่งสาร’ ร้านกาแฟที่ตั้งอยู่บนซอยเล็กๆ ที่เคยร้าง มืด และเงียบเหงา ทว่าตอนนี้ทั้งคึกคัก สนุก และมีกาแฟรสชาติถูกปากให้ผู้มาเยือนเลือกสรร เป็ดเป็นมนุษย์ Active จัดอีเวนต์ทอล์กเรื่องการเมือง เสวนาเรื่องศิลปะที่ขายบน NFT และเอาวงแจ๊สฟิวชันอีสานจากนักดนตรีสายเลือดอุบลฯ มาเพอร์ฟอร์ม กิจกรรมเหล่านี้ลบภาพจำของซอยนี้ที่เคยเป็นแค่ทางลัดสำหรับกลับรถ ส่วนตอนกลางคืนเป็นซอยมืดเปลี่ยวที่มีรถจอดเต็มถนน แต่ทุกวันนี้ในซอยเล็กๆ […]

“เด็กฝึกงานคือแรงงานในอนาคต” ซีเรียสเรื่องการฝึกงานและความเป็นธรรมกับสมัชชาIntern

ไม่ได้ค่าตอบแทน ไม่มีสวัสดิการ ไม่ได้เครดิต พี่เลี้ยงให้ทำแต่งานง่ายๆ บาดเจ็บจากการฝึกงาน โดนบริษัทเอารัดเอาเปรียบ หรือทำงานหนักข้ามวันข้ามคืน เราเชื่อว่าปัญหาเหล่านี้ต่อให้คุณไม่มีประสบการณ์ฝึกงานมาก่อนก็คงเคยสัมผัสมาบ้าง ไม่ว่าเสียงบ่นระบายจากคนรอบข้าง คนในโซเชียลมีเดีย ข่าวสารสื่อออนไลน์ หรือเรื่องเล่าต่อกันมา เกิดเป็นแนวคิดการฝึกงานคือการหาประสบการณ์ อย่าไปคาดหวังเงินหรือสวัสดิการตอบแทนนัก บริษัทสอนงานให้ก็ดีแล้ว เป็นต้น ทั้งที่ถ้าพิจารณาตามความจริงแล้ว นี่คือสิทธิที่เด็กฝึกงานพึงได้รับ และไม่ใช่สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพียงผู้เดียว เพราะรัฐเองก็ควรเข้ามาช่วยเหลือภาคธุรกิจด้วย เราไม่รู้ว่าคุณมองเรื่องการฝึกงานยังไง แต่อย่างน้อยมีคนกลุ่มหนึ่งที่มองเห็นความสำคัญของประเด็นนี้ และหยิบยกขึ้นมาสื่อสารในนามของ ‘สมัชชาIntern’ ซึ่งประกอบด้วย สุดปรารถนา ชาตรี, ภูริภัทร ณ สงขลา และนภเศรษฐ์ ผลจันทร์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “อย่างแรกต้องเชื่อก่อนว่าเราเป็นแรงงานคนหนึ่ง ต้องเชื่อในสิทธิมนุษยชนที่เราพึงได้ก่อนที่จะตั้งคำถามถัดไป” นี่คือแนวคิดที่สมัชชาIntern ต้องการนำเสนอกับสังคม โดยเฉพาะนักศึกษาที่ต้องเข้าฝึกงาน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในสิทธิและเสียงของตัวเอง ให้กล้าตั้งคำถาม ต่อรอง และเรียกร้องกับผู้เกี่ยวข้อง คุณภาพชีวิตของเด็กฝึกงานไทยจะได้ดีขึ้นกว่านี้ มากไปกว่านั้น พวกเขายังร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ฝึกงาน โดยทำหน้าที่พูดคุยกับผู้ประกอบการและสื่อสารข้อเสนอสู่สังคม ทำให้นักเรียนนักศึกษาจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจ พร้อมเอ่ยตรงกันว่า “ในที่สุดก็มีสิ่งนี้เสียที”  เพราะเคยตั้งคำถามกับการฝึกงานมาเหมือนกัน เราจึงนัดคุยกับสุดปรารถนาและภูริภัทร […]

1 5 6 7 8

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 64 MB.