ไขปัญหา Service Charge ไม่จ่ายกรณีไหนได้บ้าง

หากเราไม่ประทับใจบริการของร้านค้า ขอเลือกไม่จ่ายค่า Service Charge ได้หรือไม่ จากประเด็นสังคมเกี่ยวกับ ‘Service Charge’ หรือการเรียกเก็บเงินค่าบริการลูกค้าในอัตราประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของราคาสินค้า ที่ส่วนใหญ่มักจะพบเห็นบ่อยๆ ในธุรกิจสายบริการโดยเฉพาะร้านอาหาร หากลูกค้ารู้สึกว่าไม่ได้รับการใส่ใจหรือบริการพิเศษจากทางร้านเท่าที่ควร พวกเราสามารถปฏิเสธจ่ายค่า Service Charge ได้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือเปล่า และต่างประเทศมีเหมือนเราไหม วันนี้ Urban Creature จะไปหาคำตอบกัน Service Charge เหมือน Tip ไหม แรกเริ่มชวนเข้าใจความหมายของ Service Charge กันก่อน อ้างอิงจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือค่าบริการพิเศษที่ผู้ประกอบธุรกิจเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายต่างๆ ในการรับประทานอาหารในร้าน ยกตัวอย่างค่าบริการดังกล่าว เช่น ล้างจาน เก็บโต๊ะ เสิร์ฟอาหาร หรือทำอาหารให้เรากิน ซึ่งค่า Service Charge ที่ลูกค้าจ่ายทั้งหมด ส่วนหนึ่งนำมาแบ่งเป็นรายได้ให้กับพนักงานทุกคนในแต่ละเดือน แตกต่างจากทิป (Tip) เป็นสินน้ำใจที่ลูกค้าให้โดยความสมัครใจ หรือบางร้านถือว่าทิปนั้นเป็นค่าตอบแทนที่พนักงานจะได้รับโดยตรง Service Charge […]

อย่าเพิ่งร้องกรี๊ด! แหล่งโปรตีนทดแทนที่เกิดขึ้นจริงแล้ว l Urban เจอนี่ เจอ อาหารจากแมลง

รู้หรือไม่ว่า มนุษย์เรากำลังเจอวิกฤตเกี่ยวกับการขาดแคลนอาหาร ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดเทรนด์การผลิตโปรดักต์ต่างๆ ที่มีการทดแทนสารอาหารจากวัตถุดิบอื่นๆ รวมไปถึงแมลงที่ให้โปรตีนสูง แต่นอกเหนือจากแมลงทอดตามรถด่วนที่เห็นจนชินตาแล้ว แมลงเอามาทำอะไรได้อีกมากมายจนคุณคาดไม่ถึง ถึงขนาดได้รับการขนานนามว่าเป็น ‘อาหารแห่งโลกอนาคต’ ว่าแต่ปัจจุบันอาหารจากแมลงพัฒนามาถึงจุดไหนแล้ว Urban เจอนี่ พาทุกคนมาเรียนรู้และอัปเดตหัวข้อนี้กันที่ Exofood Thailand แล็บสัญชาติไทยที่ศึกษาวิจัยแมลงเพื่อผลลัพธ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแง่มุมแมลงกับการเป็นอาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์เลี้ยง ไปจนถึงการใช้กำจัดศัตรูพืช แล็บแห่งนี้ก่อตั้งโดย ‘บูม-อธิวัชร พงษ์ศรัทธาสิน’ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยเริ่มจากความชื่นชอบเลี้ยงสัตว์แปลก (Exotic Pet) อย่าง Bearded Dragon หรือกิ้งก่าทะเลทราย ที่ชอบกินแมลงเป็นอาหาร จนนำมาสู่การตั้งคำถามว่า แมลงที่นำมาให้สัตว์กินนั้นสะอาดมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ยังมี ‘กล้า-อวิรุทธ์ ถวัลย์ศักดิ์วุฒิ’ นักวิชาการด้านกีฏวิทยา คอยดูแลเรื่องเทคนิคการเลี้ยงและการพัฒนาอีกด้วย

Omegaverse โลกสมมติที่ผู้ชายท้องได้ เมื่อหยิบมานำเสนอ ทำไมถึงเป็นปัญหา

การหยิบเอา ‘นวนิยาย’ หรือ ‘วรรณกรรม’ มาดัดแปลงเป็นละคร ซีรีส์ หรือภาพยนตร์ ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในอุตสาหกรรมวงการบันเทิง ไม่ว่าจะที่ต่างประเทศหรือในไทยเองก็ตาม แน่นอนว่ามีหลายเรื่องที่ดังเป็นพลุแตก แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่โดนวิพากษ์วิจารณ์ จนเกิดกระแสแง่ลบตามมาทันทีหลังเริ่มฉาย หรือกระทั่งถูกตั้งข้อกังขาตั้งแต่ยังไม่เริ่มผลิตผลงานออกสู่สายตาของผู้ชมด้วยซ้ำ อาจเป็นเพราะความคาดหวังของแฟนวรรณกรรม ตัวเนื้อเรื่องที่เป็นปัญหา รวมไปถึงบริบทสังคมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลาก็เป็นได้ ล่าสุดเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้เกิดกระแสต่อต้านการหยิบเอานวนิยายมาทำเป็นซีรีส์อีกครั้ง หลังจากผู้จัดซีรีส์เจ้าหนึ่งได้ประกาศเตรียมสร้างซีรีส์เรื่องใหม่โดยหยิบเอานิยายเรื่อง ‘อย่าบอกป๊านะม๊า Midnight Fortune’ ที่มีบริบทเป็น ‘โอเมกาเวิร์ส (Omegaverse)’ มาทำเป็น ‘ซีรีส์วาย (BL Series)’ ทำเอาหลายคนที่ไม่รู้จักจักรวาลโอเมกาเวิร์สถึงกับงงไปตามๆ กัน ส่วนฟากคนที่รู้จักนั้นก็ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับการทำสิ่งนี้เป็นสื่อกระแสหลัก Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโอเมกาเวิร์ส ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ และทำไมการหยิบเอาแนวคิดนี้มาทำเป็นซีรีส์ที่คนแสดงถึงอาจกลายเป็นปัญหาในสังคมของเรา จุดเริ่มต้นของโอเมกาเวิร์ส ก่อนจะไปรู้จักกับจักรวาลโอเมกาเวิร์สในนิยายวาย เรามาปูพื้นฐานเกี่ยวกับนิยายวายกันก่อนดีกว่า แม้ว่านิยายวายส่วนใหญ่จะใช้เรียกรวมแนวการเขียนที่มีตัวเอกของเรื่องเป็น ‘คู่ชายรักชาย’ แต่ความจริงแล้วคำว่า ‘วาย’ เป็นคำเรียกที่ย่อมาจากคำในภาษาญี่ปุ่น 2 คำ คือ ‘Yaoi’ ที่หมายถึงชายรักชาย และ ‘Yuri’ ที่ใช้เรียกหญิงรักหญิง โดยปัจจุบันคำเรียกนี้ถูกเปลี่ยนมาใช้คำว่า ‘Boy’s […]

ประกายแก้ว แบรนด์กระจกสีอายุ 29 ปี ที่รับทำตั้งแต่ซ่อมกระจกวัดจนถึงป้ายชื่อศิลปินเกาหลี

ในยุคที่เราตั้งคำถามกับการเปลี่ยนความชอบให้เป็นงาน อาจเป็นความโชคดีที่บางคนเจอสิ่งที่ชอบแล้วทำมันเป็นงานได้ แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นเสมอไป กับบางคนที่ไม่ได้รักงานที่ทำมาก แต่งานนั้นมอบคุณภาพชีวิตดีๆ มีเวลาว่างให้ผ่อนคลาย นั่นอาจเป็นนิยามของชีวิตที่น่าพอใจแล้ว ถึงอย่างนั้น เราก็ยังรู้สึกสนุกทุกครั้งเวลาได้เจอคนที่ทำงานในสิ่งที่รัก เหมือนกับวันนี้ที่เรามาเจอ ‘พวงแก้ว นันทนาพรชัย’ เจ้าของร้านและผู้ก่อตั้งร้าน ประกายแก้ว แบรนด์รับทำ-ซ่อมกระจกสีที่เพิ่งเป่าเทียนฉลองวันเปิด 29 ปีไปหมาดๆ โดยมี ‘ฌัลลกัณฐ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา’ คอยหนุนหลังในฐานะทายาทผู้มารับช่วงต่อ ในยุคที่เราตั้งคำถามกับการเปลี่ยนความชอบให้เป็นงาน ความหลงใหลในอะไรบางอย่างจะอยู่กับเราได้นานแค่ไหน ป้าพวงแก้วและฌัลลกัณฐ์คือตัวอย่างของคนที่อยู่กับกระจกสีมาได้อย่างยาวนาน, อย่างน้อยๆ ก็ 29 ปี  แต่อยู่มานานก็ไม่ได้แปลว่าต้องทำแบบเดิมเสมอไป เพราะธุรกิจของพวกเธอดำเนินอยู่ในโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงทุกวัน ในคำว่ายาวนานของร้านประกายแก้วนั้น มีการปรับตัวและพัฒนาบริการครั้งแล้วครั้งเล่า จากที่เคยรับทำกระจกสีซึ่งเราเห็นในบ้านและโบสถ์ ทุกวันนี้ประกายแก้วทำงานกระจกสีในรูปแบบใหม่เพื่อตอบรับกับกลุ่มลูกค้าอันหลากหลาย ตั้งแต่นักสะสมไปจนถึงแฟนคลับศิลปินเกาหลี  ลัดเลาะเข้าไปในหมู่บ้านมหาวงษ์ 3 ในบ้านหลังไม่เล็กไม่ใหญ่ริมคลองพระโขนงอันเป็นที่ตั้งของร้านประกายแก้ว ป้าพวงแก้วและฌัลลกัณฐ์เล่าเบื้องหลังให้เราฟังท่ามกลางเสียงเจียกระจกในโรงงาน Puangkaew’s Glass Glitter Studio ถ้าจะบอกว่าความสัมพันธ์ระหว่างกระจกสีกับป้าพวงแก้วเป็น ‘รักแรกพบ’ ก็คงไม่ผิดนัก ป้าพวงแก้วเรียนจบโรงเรียนคาทอลิก หลงใหลในกระจกสีหรือ Stained Glass ถึงขนาดไปเรียนกับช่างทำกระจกสีอยู่ 2 ปี […]

7 สตาร์ทอัพไทย ที่ใช้ไอเดียแก้ปัญหาเล็กๆ ที่ยุ่งยาก แต่พาเมืองไปต่อได้อย่างยิ่งใหญ่

พูดได้ว่า สตาร์ทอัพ ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทยแล้ว แต่ก็พูดได้อีกเช่นกันว่า ยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ว่าสตาร์ทอัพคืออะไร ทำอะไร แล้วใครได้ประโยชน์บ้าง จากเอกสาร ‘Set Your Startup Business Guide รู้จักธุรกิจสตาร์ทอัพ’ ที่จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้สรุปนิยามของธุรกิจสตาร์ทอัพว่า  “เป็นกิจการที่เริ่มต้นธุรกิจจากจุดเล็กๆ สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วแบบก้าว กระโดด ออกแบบให้ธุรกิจมีการทำซ้ำได้โดยง่าย (Repeatable) และขยายกิจการได้ง่าย (Scalable) มีการนำเทคโนโลยี และ/หรือ นวัตกรรมมาใช้เป็นหัวใจหลักในการสร้างธุรกิจ มักเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากไอเดียเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสทางธุรกิจที่ยังไม่มีใครเคยคิดหรือทำมาก่อน” พอหันกลับมามองสถานการณ์สตาร์ทอัพในไทย แม้ว่าเราอาจจะยังไม่สามารถพาตัวเองไปถึงระดับเอเชียหรือสากลได้ แต่แนวโน้มที่ผ่านมาก็พอพูดได้เต็มปากว่าสตาร์ทอัพไทยมีทิศทางที่ดี นั่นคือ นอกจากตัวธุรกิจจะได้รับการสนับสนุนจากทั้งเอกชนและรัฐบาลแล้ว ไอเดียต่างๆ ที่เหล่าชาวสตาร์ทอัพคิดค้นก็ช่วยแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันให้ผู้คนได้ตั้งแต่ระดับปัจเจกจนถึงระดับเมืองเลย เราจึงขอรวบรวม 7 สตาร์ทอัพไทยที่น่าจับตามอง และมีไอเดียเป็นประโยชน์กับคนเมือง ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากโครงการ Hack BKK จัดโดยกรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทยเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาด้วย iTAX เทคโนโลยีด้านภาษี iTAX คือเทคโนโลยีจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยปริญญาเอกด้านกฎหมายภาษีของ ผศ. ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ (ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งนายกสมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย) ด้วยความที่เชื่อว่าผู้เสียภาษีคือฮีโร่ตัวจริงของประเทศ เขาจึงหยิบเอาเทคโนโลยีชั้นสูงและดีไซน์ที่เรียบง่ายมาทำให้ภาษีกลายเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน […]

ค่า Ft คืออะไร ทำไมใช้ไฟฟ้าเท่าเดิมแต่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม

ถัดจากปัญหาฝนตกหนักน้ำท่วมขังที่หลายคนกังวลอยู่ในช่วงนี้ ก็คงเป็นเรื่อง ‘ค่าไฟ’ นี่แหละที่จะเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ถาโถมใส่ชาวไทยทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเป็นอันดับต่อไป อัตราค่าไฟฟ้าส่อแววเป็นปัญหาน่าปวดหัว หลังจากที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ประกาศปรับ ‘ค่า Ft’ ของงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม ปี 2565 ขึ้นเป็น 93.43 สตางค์/หน่วย จากเดิม 24.77 สตางค์/หน่วย เพิ่มขึ้นจากเดิมเกือบ 4 เท่า นี่ยังไม่รวมถึงไตรมาสเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม ปี 2566 ที่จะถึงนี้ที่จะมีการปรับขึ้นเป็น 98.27 สตางค์/หน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพราะฉะนั้น ไม่ว่าแต่ละครัวเรือนจะใช้ไฟฟ้าในปริมาณเท่าเดิมหรือน้อยลง พวกเขาก็อาจต้องแบกรับค่าไฟฟ้าที่เพิ่มมากขึ้นอยู่ดี หลายคนอาจกำลังสงสัยว่าค่า Ft คืออะไร ทำไมถึงเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการคิดค่าไฟ วันนี้ Urban Creature จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักส่วนประกอบสำคัญของบิลค่าไฟฟ้าอย่างค่า Ft ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร และทำไมการขึ้นค่า Ft ของ กกพ. ถึงทำให้ค่าไฟแพงขึ้นขนาดนี้ เผื่อจะช่วยไขข้อข้องใจของใครหลายคน และเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเพื่อวางแผนการใช้ไฟในอนาคตได้ บิลหนึ่งใบ ค่าไฟหนึ่งเดือน ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับส่วนประกอบของ […]

เยอรมนีทำอย่างไรถึงเป็นประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก

คนส่วนใหญ่คงรู้อยู่แล้วว่า ‘การแยกขยะ’ หรือ ‘การรีไซเคิลขยะ’ นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ หลายประเทศทั่วโลกผลักดันนโยบายเรื่องนี้มานานแล้ว และจำนวนไม่น้อยสามารถเปลี่ยนการแยกขยะให้เป็นความรับผิดชอบและวิถีชีวิตของประชาชนทุกคนได้สำเร็จ ‘เยอรมนี’ ถือเป็นหนึ่งในต้นแบบของการจัดการและการรีไซเคิลขยะ เพราะข้อมูลปี 2021 ระบุว่า เยอรมนีคือประเทศที่รีไซเคิลขยะมากที่สุดในโลก นั่นคือมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนขยะทั้งหมดที่ประเทศผลิตออกมา Urban Creature อยากพาทุกคนไปหาคำตอบว่า เยอรมนีทำอย่างไรถึงกลายเป็นดินแดนที่ยืนหนึ่งเรื่องการนำของเสียและวัสดุเหลือใช้กลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ผ่านการสำรวจนโยบายและโครงการที่เข้มแข็งของภาครัฐ ไปจนถึงการให้ความสำคัญเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชน 01 | นโยบายจัดการขยะที่เข้มแข็ง รัฐบาลเยอรมนีมีส่วนสำคัญในการกำหนดทิศทางการจัดการขยะ รวมไปถึงการรีไซเคิลขยะภายในประเทศ เหตุผลหนึ่งมาจากการออกกฎหมายและนโยบายที่เข้มแข็ง ทำให้ภาคส่วนต่างๆ และประชาชนมีส่วนร่วมในการแยกขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามนโยบายหลักที่เยอรมนีใช้ควบคุมและจัดการขยะภายในประเทศ ได้แก่ 1) ‘Packaging Ordinance (1991)’ หรือ ‘กฤษฎีกาว่าด้วยบรรจุภัณฑ์’ คือกฎหมายฉบับแรกของเยอรมนีที่กำหนดให้บรรดาผู้ผลิตสินค้าต้องจัดการขยะของแพ็กเกจจิ้งต่างๆ ซึ่งรวมทั้ง ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่ง (Primary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มตัวสินค้าเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวสินค้าเสียหาย, ‘บรรจุภัณฑ์ขั้นที่สอง (Secondary Packaging)’ ที่ห่อหุ้มบรรจุภัณฑ์ขั้นที่หนึ่งมาอีกทีเพื่อป้องกันความเสียหายและเพิ่มมูลค่าให้กับตัวสินค้า สุดท้ายคือ ‘บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่ง (Shipping Packaging)’ ซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้เก็บรักษาและขนส่งตัวสินค้านั่นเอง รัฐบาลเยอรมนีมองว่า แพ็กเกจจิ้งหลายรูปแบบนี้ก่อให้เกิดขยะจำนวนมหาศาลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม […]

เดินเล่น-ชิม-ชม ที่ ‘ยมจินดา’ ย่านเมืองเก่าใจกลางจังหวัดระยอง 

เมื่อพูดถึง ‘ระยอง’ หลายคนอาจนึกถึงอีเวนต์สนุกๆ อย่างฟูลมูนปาร์ตี้ที่เกาะเสม็ด ราชินีผลไม้อย่างมังคุด น้ำปลาแท้รสเด็ดที่ต้องซื้อทุกครั้งที่ไปเยือน หรือแม้กระทั่งอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่เป็นเสมือนแลนด์มาร์กของจังหวัดนี้ แต่นอกจากจุดเด่นต่างๆ ที่เรายกตัวอย่างมา ระยองยังมีอีกหนึ่งมนตร์เสน่ห์อย่าง ‘ยมจินดา’ ย่านเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน และยังวางตัวขนานไปกับแม่น้ำระยอง แม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชนมากว่า 100 ปี  หากพูดง่ายๆ ‘ยมจินดา’ เปรียบได้กับย่าน ‘เจริญกรุง’ ของกรุงเทพฯ เนื่องจากยมจินดาเป็นถนนสายแรกของระยอง ชุมชนเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง แหล่งที่ดินทำกินของชาวจีนโพ้นทะเล รวมไปถึงที่ตั้งของบ้านขุนนางและคหบดีในอดีต ทำให้ตลอดระยะทางกว่า 600 เมตรของถนนสายนี้เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรม อาหาร และศิลปะพื้นถิ่นที่หลากหลาย มีเอกลักษณ์ แต่สามารถอยู่รวมกันได้อย่างกลมกลืน วันนี้ คอลัมน์ Neighboroot จึงขอพาทุกคนออกนอกกรุงเทพฯ ไปอีกนิด เลยชลบุรีไปอีกหน่อย มุ่งหน้าสู่ตัวเมืองระยองเพื่อร่วมกันสำรวจย่านยมจินดา ผ่านกิจกรรม ‘Co-Create YOMJINDA’ ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ซึ่งเป็นกิจกรรมทดลองพัฒนาพื้นที่ ต่อยอดให้ย่านเมืองเก่าแห่งนี้ ก้าวเข้าสู่การเป็นพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ที่จะทำให้การเดินทางมาระยองของใครหลายๆ คน เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากขึ้นกว่าแค่การมาทะเล ศาลเจ้าแม่ทับทิมระยอง | พื้นที่แห่งศรัทธาของคนไทยเชื้อสายจีน […]

Haohed Studio นักทำโมเดลจิ๋ว Thai Style อาชีพที่ใส่ใจทุกความทรงจำของลูกค้า l The Professional

เราอาจจะเคยเห็นตามยูทูบต่างประเทศที่มีคนทำฉากโมเดลต่างๆ เพื่อเป็นฉากให้ของเล่นอย่างเช่นรถเหล็ก ใครจะคิดว่าไอ้ที่ดูเหมือนเป็นงานอดิเรก ไม่น่าจะสร้างรายได้อะไร ในไทยกลับมีคนนำสิ่งนี้มาทำเป็นอาชีพจนชาวต่างชาติต้องมาขอติดต่อเพื่อซื้องาน แถมช่วงหลังมานี้คนก็เริ่มหันมาสนใจอาชีพทำฉากโมเดลมากขึ้นและมีคอร์สเปิดสอนกันมากมาย แต่คุณสุริยุ โซ่เงิน (ซัน) และ คุณจุฑามาศ กระตุฤกษ์ (หนึ่ง) เจ้าของเพจ @Haohed Studio กลับรังสรรค์งานที่แตกต่างออกไป ทั้งคู่เลือกที่จะใส่ใจทุกดีเทลและนำเสนอผลงานออกมาเป็นแบบ Thai Style ถ่ายทอดภาพจำในวัยเด็กออกมาเป็นรูปแบบโมเดล Urban Creature อยากพาคุณไปทำความรู้จักอาชีพช่างทำโมเดลให้มากขึ้น พร้อมกับถ่ายทอดเรื่องราวแรงบันดาลใจและความรู้สึกที่ได้ทำสิ่งที่ชอบเป็นอาชีพ

‘กัลชนา เนตรวิจิตร’ พนักงานกวาดถนน ผู้เป็นฟันเฟืองของเมืองที่มากกว่าแค่ทำความสะอาด

หากพูดถึงฟันเฟืองเล็กๆ ที่ทำให้เมืองของเราน่าอยู่ขึ้น คุณจะคิดถึงอะไร คำตอบแรกสำหรับเราที่ผุดขึ้นมาในหัวคงเป็นบรรดาพี่ๆ ที่ทำงานบริการใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ยิ่งในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขยะจากใบไม้กับเศษกิ่งไม้ที่ร่วงหล่น ไปจนถึงเศษซากอาหาร ถุงขนม กระดาษ ขวดพลาสติก หรือขยะชิ้นเล็กๆ อย่างก้นบุหรี่กับหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วจากฝีมือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ยิ่งทำให้ ‘พนักงานกวาดถนน’ ทวีความสำคัญขึ้นไปอีก วันนี้เราจึงเดินทางมายังเขตจตุจักรเพื่อพูดคุยถึงเรื่องราวชีวิตของ ‘แก้ว-กัลชนา เนตรวิจิตร’ ลูกจ้างชั่วคราวพนักงานทั่วไป (กวาด) ที่ก่อนหน้านี้เธอออกสื่อมาแล้วมากมาย เนื่องจากมีโอกาสได้รับประทานอาหารกับผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หลังจากเหตุการณ์ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหอวังที่โดนโจรจี้  เราหวังว่าถ้อยคำต่อจากนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงการทำงาน ความเป็นอยู่ ทั้งในเรื่องของรายได้และรัฐสวัสดิการของอาชีพพนักงานกวาดถนนมากขึ้นอีกหน่อย แล้วทุกคนจะรู้ว่าคนทำงานตัวเล็กๆ ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันมีความสำคัญต่อเมือง และต้องการคุณภาพในการใช้ชีวิตไม่ได้ยิ่งหย่อนไปจากอาชีพอื่นๆ เลย พนักงานกวาด ที่ไม่ได้มีหน้าที่แค่กวาด ในขณะที่ชีวิตของใครหลายคนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า แต่ชีวิตทุกวันของแก้วกลับเริ่มต้นขึ้นในยามที่ดวงจันทร์กำลังลาลับไป “เราตื่นนอนออกจากบ้านประมาณตีสี่ครึ่ง มาถึงก็ไปเอาไม้กวาดกับบุ้งกี๋มากวาดตรงจุดรับผิดชอบที่เขากำหนด จากนั้นมีเวลาพักช่วงแปดถึงเก้าโมงหนึ่งครั้ง ก่อนกลับมากวาดรอบสอง และนั่งอยู่บริเวณที่รับผิดชอบเผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน” ‘เหตุการณ์ฉุกเฉิน’ ที่ว่ารวมตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างขยะปลิว ไปจนถึงต้นไม้หัก น้ำท่วม หรือรถยนต์ที่ผ่านไปมาทำน้ำมันหก ทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของพนักงานกวาดถนนทั้งนั้น  แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นพนักงานกวาดถนน แต่หน้าที่การงานไม่ได้ทำแค่กวาดอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ เพราะควบรวมไปถึงการดูแลความเรียบร้อยทุกอย่างในพื้นที่นั้นๆ ด้วย […]

Smart Farmer ที่ผลิตนมโคด้วยเทคโนโลยี l Urban Journey เจอ ฟาร์มนมโฮมเมด

เราเคยตั้งข้อสงสัยกันไหมว่า ทำไมมนุษย์ต้องดื่มนมวัวทั้งๆ ที่ตอนเกิดเราดื่มนมแม่ แล้วแบบนี้นมวัวที่เรากินอยู่ทุกวันนี้เป็นการที่เราฝืนธรรมชาติหรือเปล่า ในบางครั้งเราก็มักจะเจอบทความที่เขียนถึงอันตรายหรือข้อเสียกับการดื่มนม  ทำให้เกิดความเข้าใจผิดมากมายว่าสรุปแล้ว มนุษย์อย่างเราควรดื่มนมวัวหรือไม่ Urban journey  ในตอนนี้เราจึงจะพาทุกคนไปหาคำตอบด้วยกันว่ามนุษย์อย่างเราควรกินนมวัวต่อไปหรือไม่ กับฟาร์มที่ได้ชื่อว่าผลิตนมวัวที่มีคุณภาพมากที่สุดในตอนนี้อย่าง ก้าวแรกฟาร์ม ซึ่งเป็นฟาร์มที่อยู่เบื้องหลังแบรนด์โคนมคุณภาพอย่าง Mellow Milk   อีกทั้งความน่าสนใจของ ก้าวแรกฟาร์ม อยู่ที่วิธีการดูแลแม่โคนม ที่ใส่ใจทุกรายละเอียดและยังเป็นฟาร์มที่นมเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาคุณภาพนมวัวให้เทียบเท่าระดับโลกอีกด้วย

The Wall at Songkhla 2022 กิจกรรมเติมแสงไฟให้สงขลาส่องสว่าง ปลุกย่านเมืองเก่าให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

แสงไฟไม่ได้ทำหน้าที่ให้ความสว่างอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจนำไปใช้ต่อยอดในการพัฒนาเมือง ไปจนถึงกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ให้กลับมาคึกคักได้ด้วย แนวคิดนี้จึงเป็นที่มาของกิจกรรม ‘The Wall at Songkhla 2022’ ที่ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA และทีมนักออกแบบแสงจากกลุ่ม Lighting Designers Thailand (LDT) ร่วมมือกับเทศบาลนครสงขลาและภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม ชวนทุกคนมาค้นหาเรื่องราวที่ซ่อนอยู่ของย่านเมืองเก่าสงขลาในยามค่ำคืน ผ่านการออกแบบแสงไฟเพื่อเปลี่ยนกลางคืนในเมืองเก่าสงขลาให้ส่องสว่างและกลับมามีชีวิตอีกครั้ง การจัดแสดงไฟบริเวณ 3 จุดที่เชื่อมโยงกันครั้งนี้ ช่วยให้ทั้งคนในและคนนอกพื้นที่ได้เข้าถึง Hidden Gems และอาจต่อยอดไปเป็นการติดตั้งแสงไฟอย่างถาวรในการช่วยให้ร้านรวงต่างๆ ในท้องถิ่นได้ขยายเวลาค้าขายและต้อนรับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นในอนาคต คอนเซปต์การจัดไฟของแต่ละจุดเป็นอย่างไร แสงสว่างเหล่านี้ช่วยให้พื้นที่มีชีวิตชีวามากขึ้นขนาดไหน เราขอชวนทุกคนออกสำรวจเส้นทางเมืองเก่าสงขลาไปพร้อมๆ กัน ภาพงานไฟครั้งนี้แตกต่างจากที่เราจินตนาการกันไว้เล็กน้อย เพราะงานไฟส่วนใหญ่ที่เราเคยได้เห็นมักจะเป็น Installation Art เชิงศิลปะที่เน้นความน่าตื่นตาตื่นใจให้คนได้ถ่ายรูปกัน แต่งานนี้ผู้จัดตั้งใจออกแบบแสงสว่างที่สวยงามและเน้นเรื่องการพัฒนาเมืองเป็นหลักมากกว่า เริ่มกันที่จุดแรกกับ ‘The Wall 1: The Prime Light’ ที่ชุมชนมัสยิดบ้านบน มัสยิดที่เป็นศูนย์รวมกิจกรรมทางศาสนาของคนในชุมชนเป็นเวลานานกว่า 170 ปี แม้จะเป็นพื้นที่ที่คึกคักมีคนเข้าออกตลอดเวลา แต่เมื่อไม่มีแสงเข้าถึงกลับทำให้บริเวณนั้นมืดมิดจนหลายครั้งคนนอกพื้นที่ไม่รู้หรือดูไม่ออกเลยว่ามีมัสยิดอยู่ตรงนี้ด้วย ทาง LDT จึงเข้ามาออกแบบแสงเพื่อสะท้อนให้เห็นความงามของมัสยิดในยามค่ำคืน […]

1 4 5 6 7 8 9

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.