‘สะพานเหล็ก’ ตลาดค้าของเล่นในความทรงจำ

หากมีสถานที่ไหนสักแห่งที่พาย้อนกลับไปวัยเด็กในโลกก่อนยุคดิจิทัล ท่องโลกตัวการ์ตูนหรือคาแรกเตอร์ในหนังผ่านโมเดลแบบต่างๆ ได้เลือกหาเครื่องเล่นและแผ่นเกมกลับบ้าน หรือฮีลใจด้วยการหาหุ่นฟิกเกอร์มาเติมเต็มตัวที่ยังขาดในคอลเลกชัน ‘สะพานเหล็ก’ น่าจะเป็นคำตอบที่แทรกอยู่ในความทรงจำของใครหลายคน แม้วันนี้ย้ายมาอยู่ในสถานที่ใหม่ ใหญ่กว่าเดิมหลายเท่า แต่ย่านการค้าของเล่นระดับตำนานของประเทศยังคงกลิ่นอายความคลาสสิกแทบไม่ต่างกัน และยังคงเป็นสวรรค์ของคนรักของเล่นและนักสะสมเหมือนเคย ยิ่งตลอดปีนี้ อาร์ตทอยและกล่องสุ่มกำลังมาแรง เหล่าศิลปินต่างสร้างสรรค์ออกมาในรูปลักษณ์ต่างๆ จนผู้คนเลือกซื้อสะสมกันไม่หวาดไม่ไหว เป็นอีกกระแสใหม่ของวงการทอยบ้านเราที่ส่งผลกระเทือนถึงย่านสะพานเหล็กด้วย คอลัมน์ Neighboroot ชวนตะลุยสะพานเหล็ก อาณาจักรของเล่นใหญ่ในกรุงเทพฯ ย้อนวันวานไปกับชาวย่าน กลับไปหาต้นตอของร้านรวง แล้วข้ามถนนไป Mega Plaza อัปเดตเทรนด์ใหม่ๆ ของวงการของเล่นปัจจุบัน ด่านแรกของร้านของเล่นนำเข้า ก่อนจะไปสำรวจย่านสะพานเหล็ก ขอพาไปฟังที่มาที่ไปของปลายทางในฝันของเด็กๆ และเหล่านักสะสมกันก่อนว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และทำไมธุรกิจของเล่นถึงมาลงหลักปักฐานอยู่ในย่านวังบูรพาแห่งนี้ได้ ‘เจ็กสมชัย กวางทองพานิชย์’ นักประวัติศาสตร์ของย่านเยาวราช-สำเพ็ง เป็นหนึ่งในคนที่เรานึกถึง แม้จุดหมายในวันนี้อยู่เกือบชายขอบของชุมชนคนจีนใหญ่ของพระนคร แต่คิดว่าเจ็กน่าจะสัมผัสและพอรู้เรื่องราวในฐานะคนบ้านใกล้เรือนเคียงกับย่านนี้บ้าง ทว่าพอได้มานั่งคุยกับเจ็กที่ร้านในซอยวานิช 1 ก็ทำให้เรารู้สึกว่ามารบกวนไม่ผิดคน เพราะนอกจากเป็นพ่อค้าและนักประวัติศาสตร์ เจ็กสมชัยในวัย 60 กว่ายังพ่วงตำแหน่งนักสะสมของเล่นตัวยงด้วย “สำเพ็งเป็นศูนย์รวมทุกอย่าง ของเล่นยุโรปก็มี แต่ที่เจ็กโตมาคือของเล่นญี่ปุ่นกับฮ่องกง ของเล่นยุโรปเกิดไม่ทัน แต่ทันแมตช์บ็อกซ์ของฮ่องกง และทินทอยของญี่ปุ่น” นักประวัติศาสตร์ประจำย่านเท้าความถึงจุดกำเนิดร้านของเล่น ภาพจำสะพานเหล็กฉบับออริจินัล มาพร้อมกับภาพซอยเล็กๆ เบียดเสียด เนืองแน่นไปด้วยผู้คน […]

ออกแบบสวนสาธารณะกินได้ พร้อมครัวชุมชนให้คนในพื้นที่มาใช้งานและสานสัมพันธ์

‘สวนสาธารณะ’ คือพื้นที่ที่เราใช้พักผ่อนหย่อนใจ ออกกำลังกาย หรือหลีกหนีความวุ่นวายของเมืองด้วยการใช้เวลากับธรรมชาติ อีกทั้งยังเป็นสถานที่ที่เชื่อมโยงผู้คนให้มีปฏิสัมพันธ์กัน โดยทั่วๆ ไปแล้ว สวนส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นมักปลูกต้นไม้และดอกไม้ที่เน้นความร่มรื่นสวยงาม ตอบโจทย์การเป็นพื้นที่สีเขียว แต่ในขณะเดียวกัน ถ้าเราทำให้สวนมีฟังก์ชันมากขึ้น ใช้งานได้หลากหลายขึ้นก็น่าจะดีไม่น้อย คอลัมน์ Urban Sketch ขอถือโอกาสออกแบบสวนสาธารณะให้ใช้งานได้อย่างรอบด้านภายใต้คอนเซปต์ ‘สวนสาธารณะกินได้’ ที่ไม่ได้ใช้แค่พักผ่อนเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้ใช้งานทั้งอิ่มใจและอิ่มท้องจากผลผลิตที่เพาะปลูกในสวนแห่งนี้ พร้อมกับเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารให้ชุมชนในพื้นที่ Plant Variety ปลูกต้นไม้หลากหลาย ให้ทั้งร่มเงาและความอร่อย หากต้องการใช้งานสวนสาธารณะให้คุ้มค่าที่สุด ก็ต้องเริ่มจากความหลากหลายของพืชพรรณ ด้วยการปลูกต้นไม้หลายชนิดให้กระจายตัวตามพื้นที่ต่างๆ ในสวน โดยเลือกจากความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น บริเวณทางเดินเน้นเป็นต้นไม้สูงที่ให้ร่มเงา และไม่มียางไม้หรือผลที่จะตกลงมาเป็นอันตรายกับคนที่ใช้พื้นที่ ถัดเข้าไปด้านในก็ปลูกต้นไม้ที่มีระดับความสูงต่ำลงมาเล็กน้อย รวมถึงพืชหัวที่ไม่ต้องดูแลมากก็สามารถเติบโตเองได้ตามลำดับ ส่วนไม้ผลขนาดใหญ่ให้อยู่ลึกเข้าไปด้านในที่คนไม่ค่อยพลุกพล่าน ซึ่งผลผลิตจากต้นไม้เหล่านี้ นอกจากจะเป็นอาหารให้สัตว์ตัวเล็กๆ หรือแมลงภายในสวนแล้ว คนที่เข้ามาใช้พื้นสวนสาธารณะก็สามารถเก็บเกี่ยวผักผลไม้บริเวณนี้ไปได้ด้วย Plantation Zone โซนปลูกผักสวนครัวสำหรับนำไปเป็นอาหาร ส่วนถัดมาของสวน เราจะเปิดเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับชุมชนรอบด้านที่จัดเอาไว้เพาะปลูกผักผลไม้ที่ต้องการ ใครที่มีเมล็ดพันธุ์ผักจำนวนมากและอยากแบ่งปันคนอื่นๆ หรือคนที่อาศัยอยู่บนคอนโดมิเนียมแต่ไม่มีพื้นที่ปลูกผักก็มาใช้พื้นที่นี้ได้ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ให้คนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุที่ไม่อยากอยู่เฉยหรือนักเรียนจากโรงเรียนใกล้เคียงผลัดเวรมาช่วยกันดูแลพืชพรรณส่วนรวมในสวนนี้ให้เติบโตงอกงาม พร้อมๆ กับเป็นพื้นที่สำหรับเรียนรู้ศึกษาเรื่องพันธุ์พืชในวิชาการเกษตรให้เด็กๆ ได้อีกด้วย มากไปกว่านั้น สวนแห่งนี้ยังเปิดให้ทุกคนเข้ามาเก็บผักผลไม้ไปประกอบอาหารได้อย่างอิสระ และมีการเปิดตลาดจิ๋วในสวนเพื่อขายผักเหล่านี้ 2 […]

ต่อเติมดัดแปลงห้องคอนโดฯ ทำได้เลยหรือต้องขออนุญาตก่อน

ช่วงนี้กระแสการซื้อคอนโดฯ เก่าเพื่อรีโนเวตใหม่ค่อนข้างมาแรงในหมู่คนที่ต้องการมีที่พักเป็นของตัวเอง เนื่องจากสู้ราคาที่สูงขึ้นของคอนโดฯ ใหม่ไม่ไหว แถมหลายๆ แห่งยังได้ตารางเมตรน้อยลงอีกต่างหาก เกิดเป็นข้อสงสัยในกลุ่มชาวคอนโดฯ ถึงกรณีการต่อเติมหรือดัดแปลงห้องคอนโดฯ ในครอบครองว่า เราสามารถทำอะไรกับห้องของเราได้บ้าง ทำเองได้เลยไหม หรือต้องไปขออนุญาตใครก่อน คอลัมน์ Curiocity อาสามาไขข้อข้องใจว่า หากต้องการต่อเติมดัดแปลงห้องคอนโดฯ แบบไหนที่ทำได้บ้าง และในระหว่างทางมีขั้นตอนอะไรที่ต้องดำเนินการขออนุญาต ต่อเติมดัดแปลงได้ ถ้าอยู่ภายใต้กฎหมายและระเบียบคอนโดฯ เชื่อว่าหลายคนที่ซื้อคอนโดฯ เป็นของตัวเอง คงมีความคิดอยากตกแต่งปรับเปลี่ยนรูปแบบภายในห้องให้แสดงออกถึงตัวตนของเรามากที่สุด เพราะเป็นสถานที่ที่เราต้องใช้ชีวิตทุกๆ วันนับต่อจากนี้ หากเป็นเพียงการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ หมุนโซฟา เปลี่ยนฮวงจุ้ย ก็คงไม่ใช่เรื่องใหญ่โต เนื่องจากสามารถทำได้เองโดยไม่ส่งเสียงดังรบกวนห้องอื่นในบริเวณใกล้เคียง หรือถ้ามีความจำเป็นต้องเจาะผนังหรือทำเสียงดังขึ้นมาหน่อย หลายคนคงรู้อยู่แล้วว่าต้องแจ้งทางนิติฯ และทำในวันและเวลาที่ทางคอนโดฯ กำหนด แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ใหญ่กว่านั้น อันนำมาซึ่งการต่อเติมดัดแปลงที่อาจกระทบต่อตัวโครงสร้างอาคาร ไม่ว่าจะเป็นการทุบผนังกั้นห้อง เพิ่มประตูหน้าต่าง หรือต่อเติมระเบียงให้กลายเป็นห้องด้วยแล้ว เจ้าของห้องอย่างเราๆ อาจต้องตรวจดูดีๆ ว่าการดำเนินการนั้นขัดต่อ ‘พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551’ รวมไปถึง ‘ระเบียบของห้องชุด’ ของคอนโดฯ แต่ละแห่งหรือไม่ เพราะที่พักอาศัยประเภทคอนโดฯ ถือเป็นที่อยู่อาศัยของคนจำนวนมากมาอยู่รวมกัน การปรับเปลี่ยนต่อเติมในบริเวณห้องพักจึงไม่สามารถทำได้ตามใจ เนื่องจากจำเป็นต้องคำนึงถึงส่วนรวมด้วย […]

สำรวจเบื้องหลัง ‘หมาล่า’ ที่ไม่ได้แค่ทำให้เผ็ดลิ้นชา แต่มาพร้อมชุมชนจีนใหม่

‘เย็นนี้กินหมาล่าไหม’ เชื่อเถอะว่ารอบตัวของเราต้องมีเพื่อนอย่างน้อยหนึ่งคนที่ประกาศตัวเองเป็น ‘หมาล่าเลิฟเวอร์’ ชนิดที่ถ้า 1 สัปดาห์มี 7 วัน คนเหล่านี้จะกินหมาล่าไปแล้ว 6 วัน ร้านไหนที่เขาว่าดี ว่าอร่อย หรือเพิ่งเปิดใหม่ก็เคยบุกตะลุยไปจุ่มฟองเต้าหู้มาหมดแล้ว  นอกจากเทรนด์อาหารการกิน ปรากฏการณ์ ‘หมาล่า’ ฟีเวอร์ยังบอกอะไรกับเราอีกบ้าง วันนี้ Urban Creature ชวนมาแกะรหัส สำรวจเส้นทางหมาล่าไปพร้อมๆ กันในคอลัมน์ Report ตั้งแต่ต้นกำเนิดของเมนูนี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงมิติทางการเมืองที่มาพร้อมการคืบคลานของชาติที่ให้กำเนิดหมาล่า 01 | หมาล่าไม่ใช่ชื่ออาหาร แต่เป็นรสชาติความเผ็ดชา หันไปทางนู้นก็หมาล่า หันไปทางนี้ก็หมาล่า แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า คำว่า ‘หมาล่า’ ที่เราใช้เรียกอาหารชนิดนี้กันจนติดปาก ไม่ใช่ชื่อเรียกของ ‘พริก’ แต่เป็นชื่อเรียก ‘รสชาติอาหาร’ ที่เราสัมผัสได้ในระหว่างการกินต่างหาก เพราะแท้จริงแล้ว คำว่าหมาล่าถูกถอดเสียงมาจากคำอ่านภาษาจีนกลางของอักษรทั้งหมด 2 ตัว ได้แก่ 麻 (má) อ่านว่า ‘หมา’ แปลว่า อาการชา และ […]

‘การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน’ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยกระบวนการคิดและนวัตกรรมนโยบาย

‘ขอนแก่น’ คือหนึ่งในเมืองที่หลายฝ่ายจับตามอง เพราะที่นี่เปรียบเสมือน ‘ศูนย์กลางความเจริญ’ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การศึกษา หรือแม้แต่ความหลากหลายของวัฒนธรรมอีสาน แต่การเติบโตของเมืองย่อมตามมาด้วยปัญหาที่ซับซ้อน โดยเฉพาะการหลั่งไหลเข้ามาของประชากรที่ก่อให้เกิดความท้าทายอื่นๆ เช่น ปัญหาที่อยู่อาศัย การแย่งงานของคนในพื้นที่และคนต่างถิ่น รวมถึงความเหลื่อมล้ำและคนจนเมือง เพื่อส่งเสริมการเติบโตของเมืองโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง Thailand Policy Lab ร่วมกับ UNDP Accelerator Lab Thailand จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดกิจกรรม ‘Policy Innovation Journey’ หรือ ‘เส้นทางสานฝันสร้างนโยบายครั้งที่ 4’ โดยยกห้องปฏิบัติการไปที่อำเภอเมืองขอนแก่น เพื่อนำเสนอ ‘นวัตกรรมนโยบาย’ ให้แก่นักวางแผนนโยบายระดับท้องถิ่น ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน การจัดทำเส้นทางสานฝันสร้างนโยบายครั้งที่ 4 นี้ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในจังหวัดขอนแก่นเพียงแห่งเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพื้นที่อื่นๆ ทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นได้จากผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ที่มาจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ภาครัฐ อบจ. อบต. ผู้นำชุมชน ภาคประชาสังคม และภาคเอกชนจากทั่วภาคอีสาน เครื่องมือนโยบายที่ Thailand Policy Lab […]

‘โกเบ’ เมืองแห่งการออกแบบที่เติบโตได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์

‘เมืองโกเบ’ ประเทศญี่ปุ่น ไม่ได้เป็นแค่แหล่งผลิตเนื้อวัวเกรดพรีเมียมชื่อดังระดับโลกอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ที่นี่ยังเป็นศูนย์รวมการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่นมาช้านาน และเป็นเมืองที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของแดนปลาดิบ เท่านั้นไม่พอ โกเบยังนำการออกแบบและความคิดสร้างสรรค์มาใช้ฟื้นฟูและพัฒนาเมืองอย่างรอบด้าน ทำให้ยูเนสโกประกาศให้เมืองท่าแห่งนี้เป็น ‘เมืองแห่งการออกแบบ’ (City of Design) ในปี 2018 โดยโกเบตั้งใจใช้การออกแบบสร้างเมืองที่ส่งเสริมคนทุกกลุ่มให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข แต่การออกแบบที่เรากำลังพูดถึงไม่ได้มีแค่สีสันและโครงสร้างของเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการสนับสนุนให้ผู้คนใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ด้วย แนวทางการพัฒนาเมืองตามแบบฉบับของโกเบเป็นแบบไหน คอลัมน์ City in Focus ชวนไปหาคำตอบพร้อมกัน การพัฒนาทิวทัศน์ของเมือง มิติแรกของการออกแบบในเมืองโกเบที่อยากพูดถึงคือ ‘ภาพทิวทัศน์ของเมือง’ หรือ ‘Cityscape’ ที่โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่แปลกตา และอยู่ใกล้ทั้งท้องทะเลและภูเขา โดยโกเบได้พัฒนา Cityscape ผ่าน 4 แนวทางหลักๆ ได้แก่ 1) การปรับปรุงย่านซันโนะมิยะ : ซันโนะมิยะ (Sannomiya) เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่เปรียบเสมือนประตูสู่เมืองโกเบ ที่สำคัญย่านนี้ยังมีกิจกรรมมากมาย เป็นที่ตั้งของเส้นทางรถไฟหลายสาย ทั้งยังอยู่ติดกับท้องทะเลและมีบรรยากาศของภูเขาเป็นฉากหลัง โกเบได้พัฒนาย่านซันโนะมิยะใหม่ เพื่อทำให้พื้นที่แห่งนี้น่าตื่นเต้นและสะดวกสบายสำหรับผู้อยู่อาศัยมากขึ้นผ่านโครงการต่างๆ เช่น โปรเจกต์ภาพถ่าย ‘1000 SMiLE Project’ ที่รวบรวมรอยยิ้มและภาพฝันที่ชาวโกเบอยากเห็นในอนาคต รวมถึงการเปลี่ยนสี่แยกซันโนะมิยะ (Sannomiya […]

กรุงเทพฯ ติดจังหวัดรั้งท้ายที่ผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงบริการได้น้อยที่สุด

จากรายงานข้อมูลสถิติสุขภาพจิตของ ‘องค์การอนามัยโลก (WHO)’ พบว่า ทุกๆ 8 คนของประชากรบนโลกนี้จะมี 1 คนที่ต้องเผชิญปัญหาสุขภาพจิต ขณะเดียวกันกลับมีผู้ป่วยสุขภาพจิตกว่า 71 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่ได้เข้ารับบริการด้านสุขภาพจิต เมื่อหันกลับมามองภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเรายังพบว่า ประเทศไทยมีความชุกของผู้ป่วยสุขภาพจิตในประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ โรคทางระบบประสาท การใช้สารเสพติด และการทำร้ายร่างกายติด 1 ใน 3 อันดับแรกเสมอ จนทำให้เราต้องย้อนกลับมาตั้งคำถามว่า ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทยมีผู้ป่วยสุขภาพจิตที่เข้าถึงการบริการทางการแพทย์ได้มากน้อยแค่ไหน วันนี้คอลัมน์ City by Numbers ขอหยิบข้อมูลสัดส่วนของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ ในปีงบประมาณ 2566 จากระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) มาให้ดูกัน กรุงเทพฯ รั้งท้าย ผู้ป่วยซึมเศร้าเข้าถึงบริการน้อย จากการรวบรวมข้อมูลของ ‘ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ’ Health Data Center (HDC) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลกลางด้านสุขภาพที่รวบรวมข้อมูลสาธารณสุขของสถานบริการภายใต้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกแห่ง พบว่าร้อยละของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเข้าถึงบริการ ในปีงบประมาณ 2566 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 […]

รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์แบบไหนปลอดภัย สังเกตง่ายๆ ดูได้จากท้ายรถ

เวลาขับรถแล้วเจอรถบรรทุกที่มาพร้อมตู้คอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ หลายคนคงใจตุ๊มๆ ต่อมๆ คิดจินตนาการกันไปไกลถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับเราเป็นฉากๆ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ความกังวลใจยิ่งทวีความเข้มข้นขึ้น เพราะที่ผ่านมาเรามักเห็นข่าวการเกิดอุบัติเหตุของรถบรรทุกที่ตู้คอนเทนเนอร์พลัดหลุดร่วงลงมาทับรถเล็กข้างๆ อยู่บ่อยครั้ง รวมไปถึงการได้รับข่าวสารมาว่าส่วนใหญ่รถบรรทุกเหล่านี้มักไม่มีการล็อกตู้คอนเทนเนอร์ให้ติดกับตัวรถ เพราะเชื่อว่าหากเกิดอุบัติเหตุจะทำให้รถพลิกคว่ำ จากความอันตรายนี้ก่อให้เกิดความสงสัยว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่ารถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่แล่นอยู่ข้างหน้าเรานั้นมีการล็อกตู้บรรทุกสินค้าอย่างแน่นหนาหรือไม่ เพื่อความสบายใจของการขับขี่บนท้องถนน คอลัมน์ Curiocity มีทริกการสังเกตรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ที่ปลอดภัยแบบง่ายๆ ดูได้จากท้ายรถมาฝากกัน กฎหมายการขนส่งทางบก (พยายาม) คุมเข้ม แม้จะมีข่าวตู้คอนเทนเนอร์ร่วงหลุดจากรถบรรทุกอยู่บ่อยครั้ง แต่ความเป็นจริงแล้วใน ‘พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522’ ได้มีการเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า รถบรรทุกที่มีการบรรทุกของนั้นต้องมีอุปกรณ์ตัวล็อกอย่างแน่นหนา และคลุมสิ่งของเหล่านั้นด้วยผ้าที่มีสีทึบ เพื่อไม่ให้ของที่บรรทุกมานั้นตกหล่น ปลิว หรือกระเด็นใส่รถคันอื่นๆ และตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 เป็นต้นมา กรมการขนส่งทางบกก็ได้ออกโรงประกาศชัดอีกครั้งว่า รถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์จดทะเบียนใหม่ทุกคันต้องติดตั้ง ‘Twist-lock’ หรืออุปกรณ์ยึดตรึงตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ โดยรถบรรทุกทุกคันจำเป็นต้องติดตั้ง Twist-lock ไม่น้อยกว่า 4 จุดต่อ 1 ตู้บรรทุกสินค้า และต้องอยู่ในตำแหน่งที่ทำให้การกระจายน้ำหนักบรรทุกมีความเหมาะสม รวมถึงติดแผ่นสะท้อนแสงหรือสีสะท้อนแสงสีขาว เหลือง และแดง ในรูปสี่เหลี่ยมขนาดไม่น้อยกว่า 50×50 มม. หรือรูปวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า […]

ย่าน ‘ทรงวาด’ ในวันที่ถนนสายเครื่องเทศเปลี่ยนไปสู่ย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ

‘ทรงวาด’ ในอดีตคือย่านการค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีความสำคัญพอๆ กับไชน่าทาวน์เยาวราชที่อยู่ถัดไปไม่ไกลกัน เป็นถนนที่เต็มไปด้วยโกดังกักเก็บสินค้า โดยเฉพาะเครื่องเทศที่ขึ้นชื่อลือชา จนได้รับการขนานนามว่า ‘ถนนสายเครื่องเทศ’ ทรงวาดในวันนี้ยังคงสถานะย่านพาณิชย์ แม้ภาพเรือขนส่งสินค้าที่มาจอดเทียบท่าจะหายไป แต่ก็แทนที่ด้วยรถราขนส่งที่วิ่งกันจอแจ ร้านค้าเก่าแก่ยังพอเปิดกิจการอยู่บ้าง ทว่าที่เพิ่มเติมมาคือร้านรวงเก๋ๆ คาเฟ่เท่ๆ และอาร์ตแกลเลอรีต่างๆ มากมายที่มาเสริมเติมแต่งเมืองเก่า ใต้ชายคาของสถาปัตยกรรมแบบยุโรปที่เรียงรายอวดความงามอยู่สองฟากฝั่งถนน เบื้องหลังการคืนลมหายใจของย่านเศรษฐกิจเก่าแก่ที่กำลังค่อยๆ ซบเซาลงไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการร่วมมือร่วมใจของผู้ประกอบการทั้งรุ่นใหม่และวัยเก๋าในนาม ‘Made in ทรงวาด’ ที่ช่วยกันหยิบเอาของดีของเด็ดประจำถิ่นมานำเสนอ พัฒนาย่านร่วมกันอย่างตั้งใจ จนทำให้ย่านนี้กลายเป็นอีกย่านสร้างสรรค์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ขอชวนกลับไปสำรวจถนนทรงวาด เดินทะลุตรอกออกซอยต่างๆ ของถนนสายเครื่องเทศอีกครั้ง สนทนากับเหล่าคนนอกที่เข้ามาทำกิจกรรมในย่านนี้ ทั้งพูดคุยกับนักเขียนอิสระเจ้าของผลงานทรงวาดไกด์บุ๊ก แวะสตูดิโอออกแบบและรีไซเคิลพลาสติกของสองสาวเจ้าของคาเฟ่รุ่นบุกเบิก และปิดทริปด้วยการเยือนร้านชาของคนไต้หวันที่ซ่อนตัวอยู่ในซอยวานิช 1 ฟังเรื่อง ‘ทรงวาด’ ผ่านสายตาของนักเขียนทรงวาดไกด์บุ๊ก ย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีก่อน Urban Creature เคยไปสำรวจทรงวาดมาแล้ว ตอนนั้นวี่แววในการเป็นทรงวาดแบบทุกวันนี้อาจไม่ชัดเจนนัก แต่พอจับสัญญาณได้จากการเริ่มมีกิจการรุ่นใหม่ๆ เปิดกันบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแกลเลอรี โฮสเทล บาร์ และคาเฟ่ ไม่นานมานี้ พอ Made […]

สำรวจภัยธรรมชาติถล่มโลกปี 2023 ผลกระทบจาก ‘ภาวะโลกเดือด’

ถ้าคุณคิดว่าสภาพอากาศของปีนี้ร้อนกว่าปีก่อนๆ หรือรู้สึกว่าตัวเองได้ยินข่าวคราวภัยพิบัติทางธรรมชาติบ่อยขึ้นก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะวิกฤตการณ์ Climate Change ทวีความรุนแรงขึ้นจริงๆ ยืนยันโดยสหประชาชาติที่ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ยุคของ ‘ภาวะโลกร้อน’ (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังย่างเข้าสู่ยุคของ ‘ภาวะโลกเดือด’ (Global Boiling) อย่างเต็มตัว คอลัมน์ Report อยากพาไปสำรวจผลพวงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านส่วนหนึ่งของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปีนี้ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ถึงวิกฤตโลกร้อนที่แปรปรวนและน่ากังวลกว่าเดิม คลื่นความร้อนปกคลุมทั่วโลก สัญญาณที่บ่งบอกว่าโลกของเราร้อนถึงขั้นเดือดแล้วคือการที่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เดือนกรกฎาคม ปี 2023 จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่โลกเริ่มมีการบันทึกสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ เพราะอุณหภูมิอากาศเฉลี่ยพื้นผิวโลกเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแตะระดับสูงถึง 16.95 องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ย 16.63 องศาเซลเซียสที่เคยบันทึกไว้เมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2019 เพราะเหตุนี้ หลายภูมิภาคทั่วโลกจึงเผชิญกับ ‘คลื่นความร้อน’ (Heatwave) ที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย สำหรับสหรัฐอเมริกา ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมามีชาวอเมริกันมากถึง 1 ใน 3 หรือราว 113 ล้านคน ได้รับการแจ้งเตือนอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด โดยพื้นที่ที่เจอคลื่นความร้อนหนักที่สุดคือรัฐทางตอนใต้ เช่น […]

ฝนตกช่วงเลิกงาน ไม่ใช่พระพิรุณไม่เห็นใจ แต่เพราะความร้อนที่สูงไปของเขตเมือง

พอใกล้ถึงเวลาเลิกงานในช่วงหน้าฝนทีไร ถ้าเป็นไปได้ชาวออฟฟิศหลายคนคงอยากจะเคลียร์งานให้เสร็จก่อนเวลา แล้วรีบเดินทางกลับบ้านก่อนที่ฝนห่าใหญ่จะเทลงมาจนต้องติดแหง็กอยู่ที่ออฟฟิศหรือหาที่หลบฝนระหว่างทางจนเกือบค่อนคืน แต่ในระหว่างที่เราเผชิญกับสถานการณ์เหล่านี้กัน มีใครเคยสังเกตไหมว่า ทำไมฝนมักจะตกลงมาในตอนเย็นและลากยาวไปจนถึงดึกในแต่ละวัน เหมือนหลอกให้เราตายใจในตอนเช้า แล้วเล่นตลกกับเราในตอนเย็นอยู่เสมอๆ เลย แต่จริงๆ แล้วปรากฏการณ์ฝนตกในช่วงเลิกงานแบบนี้ มีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ มารองรับอยู่เหมือนกัน วันนี้คอลัมน์ Curiocity อยากพาทุกคนไขคำตอบไปพร้อมๆ กันว่า ปรากฏการณ์ UHI คืออะไร และเพราะอะไรเกาะความร้อนเมืองที่ว่านี้ถึงทำให้ฝนตกในช่วงเวลาเย็นเหมือนตั้งเวลาเอาไว้ ฝนตกเพราะเมืองร้อน อย่างที่หลายคนทราบดีว่า ฝนที่ตกในทุกๆ วันล้วนเกิดจากกระบวนการที่เราเรียนกันตั้งแต่เด็กอย่าง ‘วัฏจักรของน้ำ’ ที่น้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ จะระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นไปในอากาศ จากนั้นจะเกิดการกระทบความเย็นควบแน่นเป็นละอองน้ำเป็นก้อนเมฆ ก่อนจะตกลงมาเป็นฝน วนเวียนเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ซึ่งวัฏจักรนี้จะทำให้สถานการณ์ฝนตกในแต่ละพื้นที่เกิดขึ้นในเวลาที่ต่างกัน และจะมีปริมาณฝนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิภายในพื้นที่นั้นๆ ที่ก่อให้เกิดอัตราการควบแน่นบริเวณแหล่งน้ำที่แตกต่างกันออกไปนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีบางเมืองที่มีลักษณะฝนตกเป็นแพตเทิร์นซ้ำๆ คือตกหนักในช่วงเวลาเลิกงานแบบสั้นบ้างยาวบ้างในแต่ละวัน เหตุการณ์เช่นนี้เป็นผลมาจาก ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ ที่เกิดขึ้นในเขตเมือง จนทำให้พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอกอย่างมีนัยสำคัญนั่นเอง เมืองร้อนเพราะสมดุลเปลี่ยน ความร้อนของเมืองที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ UHI […]

เปลี่ยน ‘เรื่องตลก 69’ ให้ไม่ตลกร้าย ด้วยทางเลือกใหม่ที่ ‘ตุ้ม’ ทำได้

ถ้าชีวิตของคุณถูกโชคชะตาเล่นตลก ชนิดที่อยู่ดีๆ ก็ถูกเลิกจ้างงาน แถมจู่ๆ มีกล่องพัสดุปริศนาที่เต็มไปด้วยเงินสดมาวางอยู่หน้าประตูห้องแบบงงๆ คุณจะรับมือกับสถานการณ์แบบนี้อย่างไร หลายๆ สิ่งอาจดูเป็นเรื่องตลก แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นกับเราจริงๆ อาจจะทำเอาเราหัวเราะฮือๆ แทนฮาๆ ไม่แพ้ ‘ตุ้ม’ ในเรื่อง ‘เรื่องตลก 69’ ได้เหมือนกัน ด้วยโอกาสที่ภาพยนตร์เรื่อง ‘เรื่องตลก 69’ ถูกนำมารีเมกให้กลายเป็นซีรีส์ขนาดสั้น 6 ตอนที่กำลังฉายอยู่ใน Netflix โดยผู้กำกับเจ้าเดิมอย่าง ‘เป็นเอก รัตนเรือง’ คอลัมน์ Urban Isekai จึงขอหยิบบางช่วงบางตอนของซีรีส์มาลองคิดในมุมกลับ ปรับมุมมองเล่นๆ ว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นจริงๆ วิธีการจัดการควรเป็นอย่างไร ถึงจะไม่เกิดเรื่องตลกร้ายแบบที่ตุ้มต้องเผชิญ ถ้า…การถูกเลิกจ้างไม่แย่เท่าที่ตุ้มคิด ในช่วงโควิดที่ผ่านมา หลายๆ คนอาจถูกเลิกจ้างเพราะพิษเศรษฐกิจไม่ต่างกับตุ้มในเรื่องตลก 69 แต่ถ้าเป็นการจับฉลากหาคนออกโดยไม่สนใจถึงผลการทำงานที่เรานั่งหลังขดหลังแข็งทำกันมาขนาดนี้ แค่คำว่าหัวร้อนคงไม่พอ นี่มันผิดกฎหมายแรงงานชัดๆ! ในกรณีนี้ สิ่งที่ตุ้มควรทำไม่ใช่การเก็บของลาออกอย่างจำยอม แต่ต้องเป็นการแบมือขอรับเงินชดเชยก้อนใหญ่ที่เราควรได้จากการบอกเลิกจ้างทันที เพราะหากตุ้มทำงานอยู่ที่นี่มาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน เงินเหล่านี้เป็นเงินที่เธอควรได้รับตามกฎหมาย แถมในกรณีที่นายจ้างไล่ออกทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า 30 – 60 […]

1 2 3 4 5 6 46

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.