PEOPLE
ฟังเสียง ‘คนตัวเล็ก’ ไปจนถึง ‘คนตัวใหญ่’ ที่จะมาถ่ายทอดแนวคิด มุมมอง รวมถึงแรงบันดาลใจ เพื่อสะท้อนสังคมที่มีความหลากหลาย เพราะเสียงของทุกคนล้วนสำคัญ
อนาคตประเทศที่ไม่พึ่งคุกกี้เสี่ยงทายของ ‘แคน นายิกา’ จากอดีตไอดอลสู่นักการเมือง
คุยกับแคนถึงชีวิตเส้นทางไอดอลที่เริ่มขึ้นเพราะอยากทำกิจกรรมรับผิดชอบต่อสังคม และล่าสุดกับบทบาท ‘สมาชิกพรรคการเมือง’ วัย 23 ปี ที่ลงพื้นที่รับฟังปัญหาจากชาวบ้าน เพื่อนำมาเปลี่ยนแปลงประเทศ
Asexuality ความสัมพันธ์ที่ฉันรักเธอ แต่ ‘ไม่ฝักใฝ่เซ็กซ์’
‘การมีเซ็กซ์เป็นเรื่องธรรมชาติของร่างกายมนุษย์’ คือประโยคที่ได้รับรู้ผ่านการพร่ำสอน แต่ใครเล่าจะคิดว่าความปกติที่หล่อหลอม กลายเป็นส่วนสร้างบาดแผลชิ้นใหญ่ให้ผู้ที่มีรสนิยมทางเพศรูปแบบ Asexuality หรือ ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศกับผู้อื่น ที่ไม่ปรารถนาจะมีความสัมพันธ์ทางกายกับใคร ชวนทำความเข้าใจ Asexuality หนึ่งในสีสันแห่งความหลากหลายทางเพศกับ ปาร์คเกอร์-ภารวี อากาศน่วม ผู้นิยามตัวเองว่า Aromantic Asexual Trans Masculine ซึ่งสิ่งที่คุณกำลังจะได้อ่านต่อจากนี้ คือเสียงที่เขาอยากสะท้อนก้องสู่สังคมถึงการยอมรับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่ขึ้นชื่อว่า ‘มนุษย์’ P. Parkers เขาคือผู้กล้า “เรานิยามตัวเองว่าเป็น Asexual ที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศกับใคร และอยู่ในสเปกตรัมของ Aromantic ที่มีแรงดึงดูดทางใจกับคนอื่นน้อยมาก และไม่ได้รู้สึกว่าการมีคนรักเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต และเราเป็น Trans Masculine ที่มีเพศกำเนิดเป็นหญิง แต่ไม่ได้ต้องการจะข้ามเพศไปเป็นผู้ชาย เพียงแค่อิงกับความเป็นชาย” เมื่ออยากนำเสนอคำว่า Asexuality ให้ถึงแก่น ปาร์คเกอร์ คือชื่อแรกที่ฉันนึกถึง นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาและวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเพจ Aro/Ace-clusionist: Aromantic & Asexual Exist ซึ่งมีความมุ่งมั่นเพื่อสร้างความเข้าใจตัวอักษร ‘A’ ใน LGBTQIA+ […]
เบื้องหลังการเต้นของ “น้องกลมกลม” บน Wall Art จากแคมเปญ Hoegaarden rosée ‘Love Series’
ในแวดวงนักวาดภาพประกอบไทย ชื่อของ Jirayu Koo หรือ ‘จิ-จิรายุ คูอมรพัฒนะ’ คงเป็นที่คุ้นหูของใครหลายคน พอๆ กับ ‘น้องกลมกลม’ คาแรกเตอร์ที่เธอสร้างสรรค์ จะไม่ให้จำได้ได้ยังไง เพราะน้องกลมกลมเป็นตัวการ์ตูนที่ทั้งตุ๊ต๊ะ มีสีสันสดใส แถมยังไร้รูปแบบจนสามารถไปอยู่ในงานออกแบบได้หลากหลายประเภท ล่าสุด น้องกลมกลมไปปรากฏตัวในแคมเปญพิเศษอย่าง Hoegaarden rosée ‘Love Series’ ที่ Hoegaarden ประเทศไทยได้จัดขึ้นเพื่อต้อนรับวาเลนไทน์และเฉลิมฉลองอายุครบรอบ 7 ปีของแบรนด์ ด้วยการชวน Jirayu Koo กับอีก 3 ศิลปินไทยมาสร้างสรรค์ผลงานในรูปแบบกำแพงศิลปะขนาดใหญ่ (Wall Art) ภายใต้คอนเซปต์ ‘I’m in Love’ ให้คนโสด คนมีคู่ คนสถานะไม่ชัด หรือใครก็ตามได้ไปเดินเล่น (ใจ) เต้น และถ่ายรูปไปด้วยกัน กำแพงศิลปะ I’m in Love จะจัดขึ้นที่ Warehouse 30 ตั้งแต่ 1 […]
โพควา โปรดักชั่น สื่อปกาเกอะญอที่ปรับทัศนคติคนเมืองด้วยเรื่องจริงจากปากคนชาติพันธุ์
‘โอ-ทินภัทร ภัทรเกียรติทวี’ หนุ่มปกาเกอะญอวัย 28 แห่ง โพควา โปรดักชั่น สื่อออนไลน์เพื่อสร้างความเข้าใจและขับเคลื่อนชีวิตคนชาติพันธุ์ ที่เขาเขียน ถ่าย อัด ทำ ‘คนเดียว’ จะบอกคุณให้รู้ว่า แท้จริงแล้วชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์เป็นอย่างไร พวกเขาต้องการอะไร และโอต้องการอะไร
เคี้ยว กลืน หัวเราะ บอกรัก ‘เสียงบำบัด’ ศาสตร์คลายเศร้า
ชวนรู้จักศาสตร์ ‘เสียงบำบัด’ คลายทุกข์ บำรุงหัวใจ ด้วยวิธีกลืนน้ำลาย เคี้ยวข้าว กอดตัวเอง บอกรัก ส่งเสียงฮัม หัวเราะ หรือเคาะกลางอกตอนร้องไห้ ที่ช่วยเปลี่ยนวันแย่ๆ ให้เป็นวันที่ดีขึ้น และเรียกสติกลับมารักตัวเองได้อีกครั้ง
แก๊ป สิระ แห่ง CYPH.film ผู้กำกับหน้าใหม่ที่ขอขยี้เรื่องเศร้า แล้วเล่าในมุมชวนยิ้ม
คุยกับ แก๊ป-สิระ แห่ง CYPH.film โปรดักชันเฮาส์วัยขบเผาะที่อยากสร้างรอยยิ้มให้ทุกงานภาพเคลื่อนไหว
ง้อด้วย ‘ของหวาน’ ทำไมถึงทำให้หายโกรธ?
จริงๆ แล้วแผนการเอาของหวานมาหลอกล่อให้รู้สึกดีไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์และความสัมพันธ์ในร่างกายที่เกี่ยวข้องกัน เราจึงต่อสายตรงไปคุยกับ ‘คุณหมอปีย์ เชษฐ์โชติศักดิ์’ จากเพจ Theory of love ผู้มองเรื่องความสัมพันธ์ของความรัก ผ่านวิทยาศาสตร์และจิตวิทยา เพื่อไขข้อสงสัยว่า ทำไมง้อด้วยของอร่อยถึงหายโกรธง่ายทุกทีเลย
การเดินทางที่เนิบช้าแต่มั่นคงของ ‘Window Magazine’ นิตยสารอิสระที่พาไปเคาะประตูเปิดหน้าต่างบ้านศิลปิน
เราว่าการอ่านหนังสือคือการพักผ่อนอย่างหนึ่งที่ช่วยฮีลจิตใจได้เป็นอย่างดี ความสุขของการสัมผัสหนังสือ การดมกลิ่นของกระดาษ มันยากที่จะบรรยายออกมาเป็นคำพูดใดๆ ครั้งนี้เราเลยถือโอกาสไปทำความรู้จักกับ Window Magazine นิตยสารที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของผู้คนผ่าน ‘บ้าน’ สถานที่เซฟโซนที่น้อยคนนักจะยอมเปิดใจให้ใครเข้านอกออกใน ซึ่งมาพร้อมบทสนทนาอันแสนผ่อนคลาย แม้หลายคนอาจเคยรู้จัก Window Magazine กันมาบ้างกับเล่มแรกที่เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว แต่นับจากนี้ หน้าต่างบานนี้จะถูกเปิดออกอีกครั้ง ท่ามกลางบรรยากาศยามเย็น พระอาทิตย์กำลังจะลับขอบฟ้า เราเดินทางมาถึง Window Gallery and Café ก้าวแรกที่เข้าไปถึง ‘พี่เอ็กซ์-กึกก้อง ถิรธํารงเกียรติ’ พูดคุยทักทายอย่างเป็นกันเอง พร้อมเสิร์ฟเมนูเด็ดอย่าง ‘โกโก้เย็น’ ที่เล่นเอาประทับใจมาจนถึงตอนนี้ และรับรองว่าต้องกลับไปซ้ำให้ได้ หลังจากนั้นไม่นาน ‘พี่มิ่ง-วสุธรา นาราคาม’ ก็ตามเข้ามาทักทาย เสริมทัพด้วย ‘พี่ย้วย-นภษร ศรีวิลาศ’ ผู้รับบทเป็นบรรณาธิการของ Window Magazine Issue 02 และเมื่อทุกคนพร้อมแล้วบทสนทนาก็เริ่มต้นขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว | Window Magazine หน้าต่างที่สะท้อนเรื่องราวของชีวิต พี่เอ็กซ์ : ตัวพี่เริ่มต้นจากการชอบถ่ายภาพมากเลยยกให้ภาพถ่ายแต่ละภาพเป็นตัวแทนของหน้าต่าง ซึ่งพี่รู้สึกว่าในแต่ละภาพที่ถ่ายมันมีความเป็นธรรมชาติ มันมีเสน่ห์ที่ทำให้คนมีความรู้สึกร่วมไปกับมัน เลยเอาคอนเซปต์นี้มาใช้กับการถ่ายภาพ […]
คู่พ่อ-ลูก เซียนเกมที่ย่อรัฐสวัสดิการลงบนบอร์ดเกม
The Welfare คือบอร์ดเกมที่ให้ผู้เล่นจำลองเป็นคนที่ได้รับรัฐสวัสดิการ และไม่ได้รับรัฐสวัสดิการในประเทศไทยว่ามันต่างกันสุดขั้วอย่างไร โดยมี อาจารย์ต้น-เดชรัต สุขกำเนิด และ แดน-แดนไท สุขกำเนิด สองพ่อลูกจากกลุ่ม Deschooling Game ที่รักบอร์ดเกมพอๆ กับประชาธิปไตยเป็นผู้สร้างสรรค์
คลาสเย็บผ้าไร้แพตเทิร์นกับ ‘ซิกแนล’ ดีไซเนอร์รุ่นเก๋าผู้ใช้ข้างทางเป็นห้องเรียน
พี่ซิกแนล หรือ สมพร อินทร์ประยงค์ ดีไซเนอร์รุ่นเก๋าที่มีผลงาน Folk Art โลดแล่นอยู่บนเวทีระดับโลกมากว่า 14 ปี ผลงานทุกชิ้นของเธอล้วนมีเสน่ห์เสียจนอดคิดไม่ได้ว่าเสื้อผ้าของเธอแต่ละผืนนั้นมีชีวิต ตลอดระยะเวลาตั้งแต่วันแรกที่เริ่มเย็บผ้าจนถึงวันนี้ เธอมีความสุขทุกครั้งที่ได้ปักเข็มลงไปบนผ้าผืนต่างๆ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวในชีวิตและการมองโลกของเธอบนผืนผ้า ร้อยเรียงออกมาจนเป็นลวดลายแห่งความสุข เพียงแต่เธอไม่ได้มีความสุขแค่คนเดียว ยังคงส่งมอบความสุข ความรู้ และเสียงหัวเราะให้ผู้อื่น ผ่านการเปิดคลาสเรียนเย็บผ้าไร้แพตเทิร์นข้างทาง เสมือนห้องทดลองให้เหล่าคนที่ลุ่มหลงในงานผ้าได้มาทำความรู้จักแลกเปลี่ยนความรู้อย่างสร้างสรรค์ในร้านที่มีชื่อว่า ‘แนลแอนทีค’ ชีวิตวัยเด็กแก่นเซี้ยว สู่ดีไซเนอร์รุ่นเก๋าที่ชื่อว่า ‘ซิกแนล’ “พี่โตมากับการวิ่งเล่น ตัดต้นข้าวมาทำปี่เป่า เราทำของเล่นเองตั้งแต่เด็ก เพราะว่าไม่มีของเล่น ต้องคิดเองทำเอง เวลาอยากได้อะไรเราก็ทำเพราะว่าไม่มีเงิน ” ย้อนกลับไปวัยเด็ก ความซุกซนของพี่แนลเรียกได้ว่าเต็มสิบ จนถูกจับขังในกล่องลังอยู่เป็นประจำ เธอเติบโตในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นช่วงสงครามเวียดนามยุคที่มีทหารอเมริกันเข้ามาพักอาศัยจำนวนมาก เธอจำได้ว่าในจังหวัดมีจำนวนคนไทยกับฝรั่งพอกัน ทำให้พื้นที่ดังกล่าวเกิดการแลกเปลี่ยนและผสมผสานวัฒนธรรมเข้าด้วยกัน ทั้งภาษา สกุลเงิน นิตยสาร หรือแม้กระทั่งการแต่งตัว ยังเป็นช่วงที่คนรุ่นใหม่จากมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เริ่มเข้ามาทำงานในแคมป์ทหาร ทำให้พี่แนลในวัยประถมฯ ได้เห็นคนที่มีความสามารถด้านการวาดรูปและการสื่อสารภาษาอังกฤษ จนเกิดความชื่นชมและกลายเป็นความฝันว่า สักวันหนึ่งต้องเก่งให้ได้เหมือนพวกพี่ๆ เขา และแม้ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรให้เป็นคนเก่ง แต่เธอรู้เพียงว่า ถ้าทำอะไรได้เองมันคงน่าภูมิใจไม่น้อย จึงขวนขวายตั้งใจเรียนมาตั้งแต่เล็ก […]
“อย่าทำให้เสียงของนักข่าวหายไป” หทัยรัตน์ พหลทัพ บ.ก. The Isaan Record กับเสียงที่ส่งเพื่อแลกสังคมที่ดี
หทัยรัตน์ พหลทัพ บรรณาธิการสำนักข่าว The Isaan Record ที่ละทิ้งความกลัวเพื่อบอกว่าเสียงของนักข่าวสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง
ไม่อยากกลับบ้านเลย ‘เมื่อบ้านไม่ใช่บ้าน’
เหตุผลที่คนไม่อยากกลับบ้านมีอยู่พันหมื่นข้อเรียงยาวลงมาแล้วแต่ประสบการณ์ชีวิตที่แต่ละคนเจอ บ้างไม่ได้รับความอบอุ่นและความรักจากพ่อ-แม่ บ้างก็โดนญาติหรือคนในครอบครัวทำร้ายจิตใจและร่างกายให้บอบช้ำ หรือบ้างประสบปัญหาแบกความคาดหวังจากครอบครัวอย่างหนักอึ้งที่บั่นทอนความสุขลงทุกวัน ‘บ้านไม่ใช่บ้าน’ จึงเป็นประโยคแทนปรากฎการณ์ดังกล่าวได้ดี