‘ตัดผมคือละเมิดสิทธิมนุษยชน’ คุยกับเคท ครั้งพิบูลย์ ถึงอำนาจนิยมผ่านการตัดผมนักเรียน

คุยกับ อาจารย์เคท ครั้งพิบูลย์ อาจารย์ประจำคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถึงประเด็นการบังคับให้อยู่ภายใต้อำนาจผ่านการตัดผมของนักเรียน คนบางอาชีพ หรือผู้ต้องหาในเรือนจำ ที่รู้ตัวอีกทีคนเหล่านั้นก็ถูกลดทอนความเป็นคนมาอย่างยาวนาน

หากคุณหมดไฟ พวกเราซ่อมได้ : ภารกิจตามติดช่างไฟฟ้า

ช่างไฟฟ้า นักปีนเสาไฟที่มีภารกิจแก้ไฟให้ประชาชนได้ใช้อย่างด่วนจี๋ ซึ่งครั้งนี้ ‘คุณเต้-พิพัฒน์พงษ์ สุรพิพิธ’ พนักงานช่างระดับ 3 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาย่อยอำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา จะพาเราขึ้นกระบะออกไปปีนเสา ซ่อมไฟด้วยกัน พร้อมทำความเข้าใจว่ากว่าจะเป็นช่างไฟฟ้าต้องผ่านอะไรมาบ้าง แล้วอาชีพค่อนข้างอันตรายนี้เขาทำงานและฝึกฝนกันยังไง ? ก่อนเริ่มภารกิจ: ช่างไฟไม่ใช่ใครก็เป็นได้  กว่าจะเป็นช่างไฟไม่ใช่แค่เดินเข้ามาสมัครก็เป็นได้ เพราะอาชีพที่ค่อนข้างเสี่ยงอันตรายนี้ ต้องเรียนจบวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงช่างไฟฟ้า (ปวส.) หรือจบวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตเท่านั้น ซึ่งถ้าหากใครไม่ได้จบโดยตรง จะต้องไปเรียนเพิ่มเติมให้ได้วุฒิการศึกษาที่กำหนด เพื่อใช้สอบเข้าทำงานช่างไฟฟ้านั่นเอง  เหมือนอย่างที่ ‘คุณเต้-พิพัฒน์พงษ์ สุรพิพิธ’ พนักงานช่างระดับ 3 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาย่อยอำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทราที่พาเราขึ้นรถกระบะลงพื้นที่ตามติดภารกิจช่างไฟครั้งนี้ ที่ไม่ได้เรียบจบตรงสาย เพราะครอบครัวอยากให้เรียนรัฐศาสตร์เพื่อรับราชการ แต่เมื่อได้ลองทำงานกลับพบว่าไม่ใช่ เลยไปสมัครเป็นลูกจ้างช่างไฟ เก็บเกี่ยวประสบการณ์นานถึง 4 ปี ซึ่งระหว่างนั้นคุณเต้ไปเรียนเสริมวุฒิปวส.ไฟฟ้าที่วิทยาลัยการอาชีพบางปะกงร่วมปีกว่า และเมื่อมีโอกาสสอบเข้า ด้วยความขยัน และชอบจริงๆ ทำให้เขาสอบติดบรรจุเป็นพนักงานช่างไฟ ภารกิจที่ 1: เตรียมพร้อมแก้ไฟ ‘แก้ไฟ’ คือภาษาที่ช่างไฟใช้กันเมื่อต้องออกไปซ่อมไฟฟ้าที่ชำรุด ซึ่งกว่าจะออกแก้ไฟได้ ช่างไฟจะต้องเข้าฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่ทางการไฟฟ้ากำหนด เช่น การอบรมพื้นฐานช่างสาย […]

“ผมตื่นเต้นเมื่อเจอบ้านร้าง” เตอร์ ศิริวัฒน์ นักชุบชีวิตบ้านเก่าที่คนทั้ง Pantip รู้จัก

ชวนรู้จัก เตอร์-ศิริวัฒน์ นักลงทุนผู้ตกหลุมรักการรีโนเวตบ้านร้าง จนคนรักบ้านต้อง Follow ไว้

เห็นต่างทางการเมืองแล้วทำร้ายกันได้เหรอ

“เห็นต่างทางการเมืองแล้วทำร้ายกันได้เหรอ ?” คอลัมน์ Perspective ชวนอาจารย์กนกรัตน์ เลิศชูสกุล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมหาคำตอบที่มีคำตอบอยู่แล้วในคำถาม

ชีวิตซิ่วสามครั้งของ ‘ชะมิญช์ มิญชญาดา’ กับมุมมองการศึกษาและความหลงไหลในกาแฟที่ดีชะมัด

หนึ่งปีหนึ่งครั้งกับหนึ่งบทเพลงคุ้นหู เป็นเวลาซึ่งเด็กน้อยทุกคนต่างเฝ้าฝันว่าจะได้เป่าเทียนบนเค้กวันเกิดที่แต้มแต่งด้วยครีมหลากสีเพื่ออธิฐานถึงความฝันให้กลายเป็นจริง แต่เมื่อสิ้นเสียงเพลงแห่งการเฉลิมฉลอง ภายใต้บทเพลงที่แฝงมากับคำอวยพรนั้นมาพร้อมการแบกรับความหวังของครอบครัว เหมือนดั่งเรื่องราวในวันเกิดของเธอผู้นี้ ชะมิญช์-มิญชญาดา บุญเรือง หากของขวัญที่ได้รับในวันนั้นยังคงเป็นส่วนหนึ่งที่ยังคงค้างคาใจไปตลอดชีวิต

เด็กอาชีวะต้องพิสูจน์ตัวเอง ?

“เด็กอาชีวะต้องพิสูจน์ตัวเองหรือสังคมกันแน่ที่ควรเปิดใจ” นอกจากคำบูลลี่ที่แปะป้ายว่าเกเร ไม่เอาไหนแล้ว ความเหลื่อมล้ำในระบบการศึกษาที่มีมากจนไปถึงเรื่องทรัพยากรการเรียนไม่เอื้อจนทำให้เด็กเสียโอกาสหลายอย่าง หรือระบบแรงงานที่ถูกผลักให้เป็น ‘ตัวสำรอง’ ที่ถูกกดเงินเดือน ทั้งที่ทำตำแหน่งเดียวกับเด็กปริญญาตรี

‘แคกตัสบำบัดซึมเศร้า’ ยาแห่งความสุขที่ทำให้ ‘แมว วีรณา’ อยากตื่นมาเจอเช้าวันใหม่

ค่ำวันศุกร์หลังเลิกงาน ช่วงเวลาของสายฝนซัดกระหน่ำโปรยปรายลงมาอย่างไม่ขาดสาย คงไม่ใช่แค่เราคนเดียวที่ต้องรีบเดินฝ่าดงฝนไปขึ้นรถกลับบ้านในแถบชานเมืองเพื่อหลีกหนีจากสังคมอันแสนวุ่นวาย ระหว่างทางบนถนนวิภาวดีรังสิตอันแสนน่าเบื่อที่รถกำลังเคลื่อนตัวเป็นระยะ เรานั่งเอามือท้าวคางแล้วมองออกไปนอกกระจกรถซึ่งเต็มไปด้วยเม็ดฝนแต่ยังคงพอมองเห็นแสงสว่างสีส้มเลือนลางจากข้างทางสาดส่องเข้ามาบ้าง ณ ขณะหนึ่งเราเผลอพูดกับตัวเองออกมาเบาๆ ว่า “เหนื่อยเนอะ” เป็นเพราะเรากำลังก้าวเข้ามาในโลกของการทำงานจริง คงเหมือนที่ใครหลายคนเคยเล่าให้ฟังว่า “ภาระอันยิ่งใหญ่มักมาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง” มันเป็นแบบนี้นี่เอง

‘รู้จักตัวเองให้ดี’ เพื่อตอบเป้าหมายชีวิตให้ชัดเจน

ชวนมาทำความรู้จักตัวเองให้มากขึ้น เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างเป้าหมายในชีวิตให้มีความหมาย ผ่านการค้นหาตัวเองด้วย 3 วิธีง่ายๆ ที่ใครก็สามารถทำได้จากสิ่งรอบตัว ที่หลังอ่านบทความนี้ไป อาจจะช่วยปลุกเเรงบันดาลใจให้คุณเข้าใจตัวเอง หรือวางแพลนที่อยากทำในสิ่งที่ชอบให้เกิดขึ้นสักที !

นักเรียนจากรร.ที่สอนให้เข้าใจชีวิตมากกว่าท่องจำ และพาฝึกงานตั้งแต่ ม.4

‘ณิชา วงศ์วอนแสง’ หรือ น้องนิ นักเรียนชั้น ม.5 จากโรงเรียนไตรพัฒน์ โรงเรียนทางเลือก 2 ภาษาที่ใช้หลักสูตรวอลดอร์ฟจากประเทศเยอรมนี ซึ่งออกแบบให้ตรงกับความต้องการของเด็กตามแต่ละช่วงวัย น้องมาขอฝึกงานกับเราเป็นเวลา 3 อาทิตย์ ซึ่งถึงแม้เวลาจะน้อย แต่ก็ทำให้เราได้เรียนรู้วิธีคิดของเด็กที่โรงเรียนสอนให้เข้าใจตัวเองมากกว่านั่งท่องจำตำราได้อย่างถึงแก่น และต่อจากนี้คือไดอารีที่บันทึกสิ่งที่เราได้พูดคุยกับน้องนิ เด็กวัย 17 ปีที่ทำให้เรารู้สึกประหลาดใจทุกครั้งเมื่อได้ฟังคำตอบ

“ผู้หญิงมีสิทธิ์พูดเรื่องเซ็กซ์” กับ Pomme Chan นักวาดที่เชื่อว่าเซ็กซ์ไม่ใช่เรื่องน่าอาย

“ผญมีสิทธิ์พูดเรื่องเซ็กส์” กับ พี่ปอม-ธัชมาพรรณ จันทร์จำรัสแสง หรือ Pomme Chan นักวาดภาพประกอบหญิงที่ชวนถกเรื่องเพศที่ผู้หญิง ผู้ชาย และ LGBTQ+ ถูกกดทับมาตลอดตั้งแต่ครอบครัว สถาบันการศึกษา ที่ทำงาน และวาทกรรมในสังคม เพราะไม่ว่าเพศไหนก็มีสิทธิ์พูดเรื่องเซ็กส์ได้เท่ากัน

‘ศาสตราจารย์วิริยะ’ ชายตาบอดผู้ผลักดันกฎหมายและสู้เพื่อสิทธิคนพิการไทย

สนทนากับ ‘ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์’ ชายตาบอดผู้ไม่เคยง้อโชคชะตา เพราะเชื่อมั่นว่าตัวเราคือคนกำหนดเส้นทางชีวิต จึงลุกขึ้นยิ้มสู้เพื่อให้ได้กฎหมาย และสร้างความเท่าเทียมให้ผู้พิการไทย

เพจเด็กพิการเรียนไหนดี : 1 ฝัน ‘ต้องเป็นจริง’ เด็กพิการได้เรียน ฝึกงาน และทำงาน

เพจเด็กพิการเรียนไหนดี คือ เพจแนะแนวการศึกษาสำหรับเด็กพิการ ที่ออกแบบห้องเรียนให้เด็กพิการและไม่พิการเรียนร่วมกันได้อย่างเกื้อหนุน อีกทั้งยังไม่ลืมพาเด็กพิการไปฝึกงานและส่งพวกเขาเข้าทำงานในอาชีพต่างๆ อย่างสุดกำลัง

1 14 15 16 17 18 31

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.