
Featured
‘หลงยุคหลุดสมัย’ รวมเรื่องสั้นถึงสังคมไทยในอนาคต ที่หยิบความล้ำมาเล่าอย่างเจ็บแสบ
เมื่อปีก่อน ฉันได้มีโอกาสอ่านรวมเรื่องสั้นฉบับกะทัดรัดที่ทางสำนักพิมพ์แซลมอน ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์ให้คำจำกัดความไว้ว่า ‘โปรเจกต์ซาชิมิ’ เนื่องจากมีชิ้นพอดีคำ เนื้อหาสดใหม่ และไม่มีการปรับแก้ต้นฉบับ ชื่อของหนังสือคือ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ โดย วัน รมณีย์ นักเขียนที่ฉันไม่เคยได้ยินชื่อ และเสิร์ชหาข้อมูลเท่าไหร่ก็ไม่เจออะไรไปมากกว่าการที่เขาเป็นนักเขียนลึกลับ ฝีมือจัดจ้านเท่านั้น สามเรื่องสั้นที่ประกอบรวมในเล่ม อันได้แก่ จ๊ะเอ๋ บุษบา และหลงยุคหลุดสมัย ทำให้ฉันอดรู้สึกตะลึงพรึงเพริดไม่ได้ อาจเพราะฉันไม่ได้อ่านงานเขียนไทยแนวนี้มานานมากแล้ว หรือเพราะความสดใหม่ของไอเดียการนำเสนอเรื่องราวโดยนักเขียนก็ตาม สุดท้ายฉันเลือกบันทึกชื่อของ ‘วัน รมณีย์’ ไว้ลึกๆ ในใจ คาดหวังว่าถ้าเขาเขียนงานใหม่ออกมาเมื่อไหร่ ฉันจะไปขวนขวายหาอ่านให้ได้ จนกระทั่งฉันได้มาเจอ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ ในอีกเวอร์ชันหนึ่งที่เป็นฉบับครบรอบสามสิบปี โดยสำนักพิมพ์ Anthill Archive ที่ออกมาช่วงปลายปีที่แล้ว (แต่ในหนังสือระบุว่า พิมพ์เมื่อธันวาคม 2595 ที่สื่อว่ามาจากอนาคต!) ความพิเศษของฉบับนี้คือ มีเรื่องสั้นเพิ่มจำนวนขึ้นอีก 9 เรื่อง รวมเบ็ดเสร็จเป็น 12 เรื่อง แถมยังมีกิมมิก Ways to Read สำหรับการไล่อ่านแต่ละเรื่อง แบ่งเป็นตัวเลือกของนักเขียนและบรรณาธิการอีกแน่ะ แต่สุดท้ายเราก็เลือกไล่อ่านตามหน้าหนังสือไปเรื่อยๆ […]
‘ดูดวง’ ช่วยเยียวยาใจหรือทำให้คนงมงาย กับ แม่หมอพิมฟ้า | Unlock the City EP.21
“หมอดูบอกว่าฉันจะรวยตอนอายุสามสิบแหละ” “ดูดวงคราวที่แล้วไม่ตรงเลย ใครมีหมอดูแม่นๆ แนะนำบ้าง” “จะสมัครงานที่ใหม่แล้ว หมอดูพอบอกได้ไหมว่าออฟฟิศไหนดีสุด” เพราะไม่มีพลังวิเศษวาร์ปไปดูอนาคต ผู้คนถึงต้องหาที่พึ่งทางใจช่วยคาดการณ์เหตุการณ์ในวันข้างหน้าให้ และตัวเลือกที่เข้าถึงง่ายที่สุดคงหนีไม่พ้น ‘การดูดวง’ จากข้อมูลวิจัยพฤติกรรมการดูดวงคนเมืองในกรุงเทพฯ ของอัครกิตติ์ สินธุวงศ์ศรี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า คนดูดวงส่วนมาก 2 ใน 3 เป็นวัยทำงานช่วงอายุ 20 – 40 ปี อีกทั้งคนยังเข้าถึงการดูดวงได้ง่ายขึ้นจากการมีโซเชียลมีเดีย และไม่ใช่แค่คนทั่วๆ ไปเท่านั้นที่ต้องการที่พึ่งทางใจ เพราะแม้แต่นายทุน พรรคการเมือง และกลุ่มผู้มีอำนาจก็ยังต้องหวังพึ่งฤกษ์งามยามดีในการทำการใหญ่ไม่ต่างกัน Unlock the City เอพิโสดนี้ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง ‘พนิต ภู่จินดา’ ชวน ‘พิชา กุลวราเอกดำรง’ หรือที่สายมูฯ รู้จักในชื่อ ‘แม่หมอพิมฟ้า’ คนดังที่คลุกคลีกับศาสตร์ดูดวงอย่างยาวนานมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันถึงประเด็นนี้ที่สะท้อนถึงหลักคิดของคนเมือง
KARAVA แบรนด์องค์เทพตั้งโต๊ะของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนภาพจำไอเทมมูฯ ให้ดูโมเดิร์น
ไม่ว่าคุณจะเรียกตัวเองว่าสายมูฯ หรือไม่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าชีวิตประจำวันของเราเชื่อมโยงกับการมูเตลูไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การไหว้พระและรูปบรรพบุรุษให้คุ้มครองก่อนออกจากบ้าน การตามหาเลขเด็ดก่อนวันที่ 1 และ 16 ของเดือน หรือการขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือก่อนการพิตช์งานใหญ่ เหล่านี้คือตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ที่ถ้าคุณไม่ได้ทำเอง ก็ต้องมีคนใกล้ตัวสักคนทำ แน่นอน เรามูฯ เพราะคาดหวังความสำเร็จในสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรืออย่างน้อยที่สุดเราก็มูฯ เพื่อหล่อเลี้ยงความหวังและความสบายใจ บางครั้งการมูฯ ก็เป็นการตั้งหลักในใจก่อนจะเริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง ‘บุ๊ค-หัสวีร์ วิรัลสิริภักดิ์’ และ ‘เคน-นันท์ธร พรกุลวัฒน์’ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Karava ก็คุ้นเคยกับการมูเตลูมาตั้งแต่เด็กๆ พวกเขาอินกับการมูฯ มากจนเปิดธุรกิจไอเทมมูเตลูของตัวเอง เริ่มตั้งแต่สร้อยข้อมือหินมงคลพลังงานดี ไปจนถึงองค์เทพตั้งโต๊ะบูชา ที่น่าสนใจมันอยู่ตรงที่ว่า องค์เทพของแบรนด์ Karava ไม่ได้มีหน้าตาเหมือนองค์เทพที่เราเคยเห็นทั่วไป แต่ผ่านการดีไซน์ให้โมเดิร์นขึ้นเพื่อเอาใจคนรุ่นใหม่ ให้นำไปจัดวางไว้กับบ้าน Modern Luxury ที่ได้รับความนิยมในยุคนี้ได้อย่างไม่เคอะเขิน แนวคิดเบื้องหลังการดีไซน์ไอเทมมูเตลูของทั้งคู่เริ่มต้นยังไง คอลัมน์ Re-desire รอบนี้พาไปหาคำตอบกัน ธุรกิจมูเตลูของสายมูฯ ตัวจริง “ที่บ้านคนนี้เลยครับ” เคนผายมือไปที่บุ๊ค เมื่อเราถามถึงจุดเริ่มต้นการเป็นสายมูฯ ของทั้งคู่ บ้านของบุ๊คเป็นบ้านคนจีน คุณพ่อของเจ้าตัวมีตู้พระตู้ใหญ่ที่สะสมองค์พระดังๆ จากวัดมากมายในหลักร้อยชิ้น […]
Urban Eyes 26/50 เขตตลิ่งชัน Taling Chan
เขตตลิ่งชัน จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สมัยก่อนเขตนี้เป็นเขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมผสมผสาน แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย แต่ปัจจุบันพื้นที่เกษตรกรรมกำลังลดลงไปมากจากการสร้างพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่คมนาคม ส่งผลให้พื้นที่สีเขียวอย่างสวนผักสวนผลไม้ที่เคยมีให้เห็นหนาตาลดจำนวนลง แต่ก็ยังถือเป็นพื้นที่หนึ่งในกรุงเทพฯ ที่มีบรรยากาศแบบชนบทหลงเหลืออยู่ ถึงอย่างนั้น เขตนี้ก็เป็นเขตที่มีร้านอาหารอร่อยๆ มีคาเฟ่ให้ไปพักผ่อนหย่อนใจ และมีสถานที่เจ๋งๆ ค่อนข้างเยอะ แม้จะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะลำบากหน่อยก็ตาม สัปดาห์นี้เรายังอยู่กับกล้อง Lumix S1R กับเลนส์ Lumix 24-105 f/4.0 โดยเราเริ่มคอนโทรลกล้องได้คล่องขึ้นแล้ว แถมกล้องก็ตอบสนองไว เหมาะกับการจับภาพที่อาจมีเวลาเพียงเสี้ยววิอย่างการถ่ายภาพแนวสตรีทมากๆ สำหรับสถานที่ในแผนการถ่ายภาพวันนี้ของเราคือตลาดน้ำคลองลัดมะยม ที่เปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ที่นี่ของกินเยอะมากๆ คนก็แน่น จนอาจทำให้ถ่ายรูปได้ยากหน่อย แต่ลองหาจังหวะแสงลอดลงมานิดๆ ก็พอมีหวัง หรือถ้ายังหามุมไม่ได้ เรามีอีกตัวเลือกให้ลองคือการลงเรือล่องไปตามคลอง ตามรายทางมีโมเมนต์ดีๆ ให้เก็บภาพอยู่ จากนั้นก็นั่งเรือมายังตลาดน้ำวัดสะพาน เราชอบที่ท่าเรือที่นี่มีหลังคาแบบระแนงไม้ให้แสงส่องผ่านช่องลงมาได้ ทำให้เกิดแพตเทิร์นแสงและเงาที่ดี หลังจากอยู่บนน้ำมานาน ก็ขอสลับสับเปลี่ยนมาบนบกที่สายใต้ใหม่บ้าง เพราะเป็นสถานที่ที่คนมารวมตัวกันเพื่อเดินทางออกไปต่างจังหวัด จึงทำให้มีคนเยอะตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงเช้าวันจันทร์ สถานที่หลังจากนี้จะเป็นแหล่งค้าขายล้วนๆ แล้ว เริ่มที่ศูนย์กลางตลาดดอกไม้ปากคลองตลาดใหม่ หรือเรียกสั้นๆ ว่าตลาดดอกไม้ใหม่ ที่นี่เปิด 24 ชั่วโมง เราชอบบรรยากาศช่วงเย็นเกือบพลบค่ำ แสงลงกำลังสวย ถ้าท้องฟ้าระเบิดด้วยน่าจะดีเยี่ยม แถมเพิ่งมีร้านปาท่องโก๋มาเปิด […]
สำรวจ ‘เมืองทองธานี’ เมืองเล็กในเมืองใหญ่ที่ไม่เคยหยุดเติบโต
“ครั้งล่าสุดที่ไปเมืองทองคือเมื่อไรกันนะ” คนรักบ้านและสวนอาจตอบว่าเมื่อปลายปีที่แล้วที่งานแฟร์ คนรักรถน่าจะไปเดินเล่นงานมอเตอร์เอ็กซ์โปเมื่อไม่กี่เดือนก่อน หรือหลายคนอาจไปคอนเสิร์ตของศิลปินที่ชื่นชอบเมื่อไม่นานมานี้ ‘เมืองทองธานี’ ไม่ได้ขึ้นชื่อแค่เรื่องอีเวนต์ที่จัดอยู่ตลอดทั้งปี แต่ยังมีที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียม ออฟฟิศ ร้านรวงยันห้างสรรพสินค้า ศูนย์ราชการ และสนามกีฬาประเภทต่างๆ โดยเฉพาะฟุตบอล กับการมีสโมสรประจำย่านที่มีแฟนคลับเข้าเส้นไม่ต่างจากสโมสรในต่างประเทศ ปกติแล้วคอลัมน์ Neighboroot มักจะชวนผู้อ่านลงพื้นที่ ย่ำตรอก ออกซอย สำรวจย่านต่างๆ ในเมืองหลวงเป็นหลัก แต่สำหรับครั้งนี้เราขอชวนออกไปปริมณฑลเพื่อนบ้านเมืองหลวง อัปเดตวิถีชีวิตชาวเมืองทอง กินอย่างคนเมืองทอง และเชียร์ฟุตบอลอย่างทีมเมืองทองฯ กันดูบ้าง ‘เมืองทองธานี’ เรียกว่าเป็นเมืองขนาดย่อมๆ ก็ไม่ผิดนัก หากเล่าอย่างคร่าวๆ เพื่อให้รู้จักที่มาที่ไปเร็วที่สุด โครงการอภิมหาโปรเจกต์มิกซ์ยูสนี้เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2533 จากความตั้งใจของบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ที่อยากสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ขยับออกมาในเขตชานเมือง ตามอย่างในฮ่องกง พื้นที่รวมๆ ในเมืองทองธานีสามารถแบ่งได้เป็น 2 โซนหลักคือ โซนที่อยู่อาศัย มีทั้งคอนโดมิเนียมและบ้านเดี่ยว แบ่งซอยย่อยๆ แยกจากถนนใหญ่ไม่ต่างจากในเมือง วางแลนด์สเคปและผังเมืองในโครงการมาอย่างดี หากโซนแรกมีวิถีชีวิตที่เงียบๆ และไม่ค่อยพลุกพล่าน อีกฟากหนึ่งคงให้ความรู้สึกต่างออกไป เพราะโซนพื้นที่เชิงพาณิชย์-ศูนย์แสดงสินค้า จะคึกคักตลอดทั้งปี สถานที่ที่หลายคนคุ้นชินน่าจะเป็นชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพค […]
Live House ธุรกิจที่ส่งเสริมให้คนเข้าถึงศิลปะมากขึ้น l Urban เจอนี่ เจอ Live House
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับงานศิลปะอาจจะไม่ใช่ของคู่กัน 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเหล้าเบียร์มีส่วนทำให้ผู้คนเข้าถึงและอินกับผลงานได้ง่ายขึ้น เครื่องดื่มประเภทนี้จึงกลายเป็นไม้เบื่อไม้เมาของวัฒนธรรมการชมงานศิลปะในประเทศไทยมาช้านาน แต่จะเป็นอย่างไรถ้ามีสถานที่ที่ตั้งใจทำให้ตัวเองเป็นเหมือนกระดาษเปล่า และเปิดโอกาสให้ศิลปินทุกแขนงมาสาดสีผ่านไอเดียและความคิดสร้างสรรค์อย่างเต็มที่ โดยไม่จำกัดอายุ ไม่จำกัดแนวทาง ไม่ว่าจะเป็นการแสดงดนตรีแนวร็อก แนวอิเล็กทริก หรือจะจัดแสดงผลงานวิชวลหรือคอนเซปต์อาร์ต โดยมีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นจุดประสงค์รอง Urban เจอนี่ เอพิโสดนี้ จึงอยากพาทุกคนไปรู้จัก DECOMMUNE สถานที่ที่ไม่จำกัดตัวเองเป็นแค่ไลฟ์เฮาส์ ซึ่งมีแนวคิดการทำธุรกิจด้วยการหาจุดตรงกลางระหว่างความมึนเมาและการแสดงผลงานสร้างสรรค์
พาไปเที่ยว 10 ร้านหนังสือทั่วโลกที่ขายคอนเซปต์จัดๆ จับคู่กับหนังสือภายในร้าน
เหตุผลที่คุณจะเข้าร้านหนังสือสักแห่งคืออะไร อาจเป็นเพราะมีหนังสือที่อยากได้ มีการตกแต่งร้านที่สวยงาม หรือบังเอิญเจอจนต้องลองแวะเข้าไป ทว่าบางร้านไม่ได้มีแค่หนังสือหรือการออกแบบร้านที่น่าสนใจเท่านั้น แต่ยังจัดจ้านด้วยคอนเซปต์เฉพาะตัว จนกลายเป็นร้านหนังสือที่มาพร้อมกิมมิกแบบที่หลายคนอาจไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะมีใครทำ คอลัมน์ Urban’s Pick จึงอยากพาทุกคนไปรู้จัก 10 ร้านหนังสือจากทั่วโลก ที่ไม่ได้ขายแค่หนังสืออย่างเดียว แต่ยังขายคอนเซปต์ที่ยูนีกแบบสุดๆ ตั้งแต่ร้านที่ขายหนังสือประเภทเดียว ร้านที่ขายหนังสือสัปดาห์ละหนึ่งเรื่อง ร้านที่มีแต่หนังสือและสินค้าเกี่ยวกับแมว ไปจนถึงร้านหนังสือลอยน้ำที่เปลี่ยนโลเคชันไปเรื่อยๆ The Ripped BodiceCulver City, USA ถ้าให้พูดถึงร้านหนังสือที่สวยที่สุดในสหรัฐอเมริกาคงจะยากไปสักหน่อย เพราะมีหลายแห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่ถ้าเปลี่ยนคำถามเป็นร้านหนังสือที่โรแมนติกที่สุดในสหรัฐฯ คำตอบคงหนีไม่พ้น ‘The Ripped Bodice’ ใน Culver City รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นร้านหนังสือเพียงแห่งเดียวที่ทั้งร้านมีขายเฉพาะหนังสือโรแมนติกเท่านั้น หนังสือโรแมนติกใน The Ripped Bodice มีเนื้อหาให้เลือกหลากหลายประเภท เช่น หนังสือแนวโรแมนติกอิงประวัติศาสตร์ แนวโรแมนติกร่วมสมัย แนวโรแมนติกอาถรรพ์ แนวไซไฟ และเรื่องราวที่เกี่ยวกับ LGBTQ+ รวมทั้งยังมีให้เลือกหลายภาษา นอกจากหนังสือแล้ว ร้านค้ายังมีสินค้าอื่นๆ ให้เลือกอีกมากมาย โดยจะเน้นการสนับสนุนธุรกิจอิสระที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าของเป็นหลัก ไม่เพียงเท่านั้น ที่นี่ยังเป็นพื้นที่พบปะสังสรรค์ของเหล่าคนรักหนังสือแนวโรแมนติก […]
‘ซีรีส์วาย’ ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยหรือสื่อที่กำลังทำลายอุตสาหกรรมบันเทิง?
แม้ ‘ซีรีส์วาย’ จะดูเป็นเรื่องแปลกใหม่ในสังคมเมื่อหลายสิบปีก่อน แต่ปัจจุบันซีรีส์วายได้กลายมาเป็นซีรีส์อีกประเภทหนึ่งที่สามารถครองใจผู้ชมทั้งจอแก้วและโลกออนไลน์ได้อย่างอยู่หมัด โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดียอย่างทวิตเตอร์ ที่ไม่ว่าจะคนไทยหรือต่างประเทศต่างก็พูดถึงตัวซีรีส์และนักแสดงจนติดเทรนด์กันอยู่บ่อยๆ ส่งผลให้ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงคนทั่วไปมองว่านี่คือหนึ่งในซอฟต์พาวเวอร์ของไทยในปัจจุบัน อีกทั้งอุตสาหกรรมนี้ยังมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง เนื่องจากสร้างรายได้อย่างมหาศาลทั้งในและนอกประเทศ จนก่อให้เกิดวัฒนธรรมใหม่ที่เรียกว่า ‘Y Economy’ แต่ซีรีส์วายจะเป็นซอฟต์พาวเวอร์ที่ฟังดูดีมีเพียงแง่บวกของประเทศเราได้จริงๆ ใช่ไหม เพราะในอีกมุมหนึ่ง สื่อประเภทนี้ก็เข้ามาสร้างผลกระทบไม่น้อยให้อุตสาหกรรมบันเทิงบ้านเรา จนบางครั้งก็อดสงสัยไม่ได้ว่า หรือจริงๆ แล้วซีรีส์วายกำลังเป็นสื่อที่ทำลายอุตสาหกรรมบันเทิงของไทยอยู่กันแน่ หนังเรียก ‘เกย์’ แต่ซีรีส์เรียก ‘วาย’ เคยสังเกตกันไหมว่า ทำไมเราถึงเรียกภาพยนตร์ที่มีตัวเอกเป็นชายรักชายว่า ‘หนังเกย์’ แต่พอเป็นซีรีส์ที่มีนักแสดงนำรูปแบบเดียวกันกลับเรียกว่า ‘ซีรีส์วาย’ ที่เป็นเช่นนี้เพราะภาพยนตร์ของกลุ่ม LGBTQIA+ ที่เกิดขึ้นในช่วงแรก ไม่ว่าจะเป็น ‘รักแห่งสยาม’ ‘พี่ชาย My Hero’ หรือ ‘My Bromance’ ต่างฉายในช่วงเวลาที่คำว่า ‘วาย’ ยังไม่เป็นที่พูดถึงและใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงบริบทของสังคมไทยก็ยังไม่เปิดรับความหลากหลายทางเพศมากนัก แตกต่างจากการเข้ามาของสื่อบันเทิงในรูปแบบซีรีส์ที่ใช้นักแสดงหลักเป็นเพศชายในประเทศไทยครั้งแรกอย่าง ‘Love Sick The Series’ ที่มีการดัดแปลงบทละครจากนิยายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ถูกเรียกระหว่างกลุ่มนักอ่านและนักเขียนด้วยกันเองว่า ‘นิยายวาย (Y)’ ซึ่งย่อมาจากศัพท์ภาษาญี่ปุ่นคำว่า Yaoi […]
‘คลองแม่ข่า’ สายน้ำเน่าที่กำลังถูกเปลี่ยนให้เป็นอนาคตของเมืองเชียงใหม่ หรือจะถอยหลังลงคลอง
หากเอ่ยถึง ‘คลองแม่ข่า’ ในปัจจุบัน หลายคนน่าจะนึกถึงทางเดินเลียบคลองสวยๆ แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในตัวเมืองเชียงใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ขณะนี้ และเพิ่งได้รับสมญาใหม่ว่าเป็น ‘คลองโอตารุ’ ของจังหวัดเชียงใหม่ แต่หากย้อนกลับไปถามคนเชียงใหม่เมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว ทุกคนจะนึกถึงคลองแม่ข่าว่าเป็นแหล่งน้ำเน่าเสีย นั่นคือภาพลักษณ์ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมาสำหรับคนเชียงใหม่ เพราะตลอดหลายปีนั้น ชาวเชียงใหม่ต่างคุ้นเคยกับการได้เห็นและได้ยินการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ที่ทุกครั้งจะต้องมีนโยบายทำคลองแม่ข่าให้กลับมาใสอยู่ด้วยเสมอ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม หลายคนจึงอดไม่ได้ที่จะหมดหวังได้เห็นคลองแม่ข่ากลับมาใส จนกระทั่งปีที่แล้วที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแม่ข่าใหม่ให้สวยงาม ด้วยภาพสะอาดสะอ้านแปลกใหม่ที่ถูกนำเสนอออกมา ทำให้คลองแห่งนี้กลับมาได้รับความสนใจจากคนเชียงใหม่จำนวนมาก ก่อนจะขยายไปถึงคนจังหวัดอื่นๆ ที่เดินทางมาเที่ยวเดินถ่ายรูปเล่นที่คลองแห่งนี้ ซึ่งทางจังหวัดเชียงใหม่เองก็พยายามจัดให้มีกิจกรรมภายในพื้นที่แห่งนี้อยู่สม่ำเสมอ ชาวเชียงใหม่หลายคนที่ได้มาเดินเล่นที่นี่ ต่างแสดงความยินดีที่คลองแม่ข่ากลับมาเป็นคลองน้ำใส ไม่เน่าเสียอีกแล้ว…แต่น่าเสียดายที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะพื้นที่ที่มีการปรับภูมิทัศน์ให้เดินเล่นกันนั้นเป็นเพียงแค่ระยะ 756 เมตร จากระยะทั้งหมด 11 กิโลเมตรของคลองแม่ข่าในเขตเมืองเชียงใหม่ที่ยังคงเน่าเสีย มีปัญหา และรอคอยการแก้ไขพัฒนาต่อไป จึงทำให้มีเสียงค่อนขอดขึ้นมา ตั้งแต่ความพยายามเป็นญี่ปุ่นทั้งที่เชียงใหม่ก็มีวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของตนเอง จังหวัดพยายามนำเสนอแต่ภาพลักษณ์ดีๆ ของพื้นที่คลองบริเวณนี้เพื่อซุกปัญหาคลองแม่ข่าในส่วนอื่นๆ อีกจำนวนมากไว้ใต้ภาพสวยงาม หรือแม้แต่ตำหนิว่านี่เป็นการถอยหลังลงคลอง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะ 756 เมตรของคลองแม่ข่าครั้งนี้ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่แสดงให้เห็นว่ากำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไป และเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นก็แสดงให้เห็นว่าแม่ข่าเกี่ยวโยงกับผู้คน และมีคนจำนวนไม่น้อยกำลังให้ความสนใจกับลำน้ำสายนี้ คลองแห่งนี้มีความสำคัญต่อเชียงใหม่อย่างไร ทำไมถึงมีหลายองค์กรหลายผู้คนพยายามปรับปรุงให้มันกลับมาดีอีกครั้งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของแม่น้ำสายนี้ คอลัมน์ Report ขอนำเสนอเรื่องราวหลากหลายมิติที่สายน้ำนี้ได้ไปเกี่ยวโยง โดยลองถอยออกจากความเป็นคลองโอตารุ ไม่ต้องถึงกับถอยลงคลอง แค่ถอยมามองและทำความรู้จักกับน้ำแม่ข่า […]
เหล่ามังงะที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของนักเขียนการ์ตูน ‘สะอาด’
ขอออกตัวก่อนว่าเราไม่ใช่นักอ่านมังงะตัวยงหรือชื่นชอบงานเขียนประเภทการ์ตูนอะไรขนาดนั้น และนี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เราเลือกหยิบงานของ ‘สะอาด’ มาอ่านช้าเหลือเกิน เมื่อเทียบกับคนรอบๆ ตัวที่รู้จักและอ่านงานของเขาตั้งแต่เมื่อหลายปีก่อน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่รู้จักเขาเอาซะเลย เพราะเท่าที่จดจำได้ ชื่อของ ‘สะอาด’ น่าจะเป็นชื่อของคนทำงานสร้างสรรค์กลุ่มแรกๆ ที่ออกมาเคลื่อนไหวด้านการเมือง และแสดงจุดยืนของตัวเองอย่างเข้มแข็งผ่านปากคำให้สัมภาษณ์ในหลากหลายสื่อ รวมถึงผลงานการ์ตูนที่เผยแพร่ผ่านช่องทางของเขาเอง และลงตามสื่อออนไลน์ที่เขาร่วมงานด้วย ชายผู้ออกเดินทางตามเสียงของตัวเอง, ครอบครัวเจ๋งเป้ง, บทกวีชั่วชีวิต, การศึกษาของกระป๋องมีฝัน และให้รักเป็นบทกวีชั่วชีวิต คือผลงานส่วนหนึ่งที่ผ่านมาของนักเขียนการ์ตูนรุ่นใหม่คนนี้ นอกจากลายเส้นที่ไม่เนี้ยบ มุกตลกร้าย และคาแรกเตอร์ตัวละครที่มีเสน่ห์ (ปนกวนๆ) สิ่งที่ทำให้ผลงานของสะอาดเป็นที่ชื่นชอบของนักอ่านจำนวนมาก น่าจะหนีไม่พ้นประเด็นสังคมที่เขาสอดแทรกไว้ในการ์ตูน ตั้งแต่เรื่องอาชีพการงานของคนทำงานสร้างสรรค์ที่ไม่ได้รับการสนับสนุน การศึกษา ชาติพันธุ์ สิทธิเสรีภาพ เป็นต้น ยังไม่นับการดำเนินเรื่องที่ชวนให้ติดตาม รู้สึกร่วมไปกับตัวละคร และทิ้งท้ายด้วยความหวังเล็กๆ ที่ทำให้คนอ่านอย่างเราเกือบน้ำตาคลอ ด้วยเหตุนี้ เราจึงชวน ‘สะอาด’ หรือ ‘ภูมิ-ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์’ มาบอกเล่าถึงเหล่ามังงะที่มีอิทธิพลต่อชีวิตของเขา ตั้งแต่มังงะเรื่องแรกที่ชอบ เรื่องที่เปลี่ยนชีวิตและแนวคิด นักเขียนมังงะที่ชื่นชม ตัวการ์ตูนที่ยกนิ้วให้ ไปจนถึงมังงะที่อยากแนะนำให้ทุกคนได้อ่าน เราจำการ์ตูนเรื่องแรกที่อ่านไม่ได้ แต่จำเรื่องแรกที่อ่านแล้วชอบมากๆ ได้ คือเรื่อง ‘จอมโจรอัจฉริยะ’ นักเขียนคือ โกโช […]
TÁR : เมื่อเวลาสัมพันธ์กับวัฒนธรรมคว่ำบาตร และพลวัตของอำนาจไม่อาจแยกจากเรื่องเพศ
บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์ หลังห่างหายจากงานกำกับไปนานกว่า 16 ปี ล่าสุดผู้กำกับมากฝีมืออย่าง Todd Field ก็กลับมาพร้อมกับผลงานภาพยนตร์เรื่อง Tár ที่เปิดตัวครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส (Venice Film Festival) เมื่อปีที่ผ่านมา และล่าสุดก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ถึง 6 สาขาด้วยกัน รวมถึงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Tár นั้นเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของ Lydia Tár (รับบทโดย Cate Blanchett) วาทยกรหญิงผู้แสนเก่งกาจและมากประสบการณ์ ความสามารถของเธออยู่ในระดับที่หาตัวจับได้ยากในแวดวงดนตรี แน่นอนว่าสถานะทางสังคมที่เป็นทั้งวาทยกรเอกและอาจารย์ที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์นับร้อยพัน นั่นอาจเป็นจุดสูงสุดของอาชีพการงานที่ใครคนหนึ่งจะไปถึงได้ หากแต่ช่วงชีวิตคนเราต่างก็แปรผันไปตามสถานการณ์ เมื่อมือเอื้อมแตะถึงขอบฟ้า แต่เท้ายังย่ำอยู่ในโคลนตม ก็ไม่แปลกที่ต่อให้แม้จะยืนอยู่ในจุดที่สูงแค่ไหนก็พร้อมร่วงหล่นลงมาได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะกับ Tár ศิลปินมากความสามารถที่เต็มไปด้วยรอยด่างพร้อยและข้อบกพร่องนับไม่ถ้วน ซ้ำยังทำในสิ่งที่ก้าวข้ามเส้นแบ่งศีลธรรมและจริยธรรมอยู่หลังม่านมานานแรมปี แน่นอนว่าความสำเร็จในแง่ของรายได้และคำวิจารณ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้คงเป็นที่ประจักษ์อย่างไม่มีข้อกังขา แต่ความสำเร็จอีกนัยหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ การหยิบจับประเด็นที่สังคมให้ความสนใจมาบอกเล่า โดยทำให้เรื่องราวเหล่านั้นยังคงอยู่ในบทสนทนา จนเกิดการพูดคุยถกเถียงกันต่ออย่างไม่รู้จบหลังจากที่ลุกออกจากโรงหนังไป ‘เวลา’ คือตัวแปรสำคัญของวัฒนธรรมคว่ำบาตร ในช่วงปีหลังมานี้ ทุกครั้งที่มีประเด็นร้อนของเหล่าคนดังที่เกิดข้อโต้แย้งกันบนโซเชียลมีเดีย หลายคนอาจคุ้นหูและผ่านตากับคำว่า ‘วัฒนธรรมคว่ำบาตร (Cancel Culture)’ มาไม่มากก็น้อย ซึ่งความหมายโดยกว้างของคำนี้คือ การเลิกสนับสนุนผลงานของเหล่าศิลปินที่มีปัญหา (Problematic) […]
Urban Eyes 25/50 เขตบางคอแหลม Bang Kho Laem
เขตบางคอแหลมเป็นเขตที่เราผ่านบ่อย โดยเฉพาะถนนเจริญกรุง ถนนพระรามสาม ถนนจันทน์ และถนนเจริญราษฎร์ แต่ก็ไม่เคยเข้าไปเดินตามตรอกซอกซอย ถึงจะรู้มาบ้างว่าเขตนี้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยที่หนาแน่นมาก แต่เราไม่ได้คาดคิดว่าจะมีชุมชนอยู่เยอะขนาดนี้ แต่ก่อนไปชมโปรเจกต์ Bangkok Eyes สัปดาห์นี้ เรามีความพิเศษหนึ่งที่เพิ่มขึ้นมาคือ แบรนด์กล้อง Lumix ได้ให้กล้องรุ่น S1R มาลองใช้ เป็นกล้องที่เปลี่ยนเลนส์ได้ เซนเซอร์ Full Frame โดยกล้องรุ่นนี้เป็นหนึ่งในซีรีส์ที่ลงท้ายด้วยตัว R เพราะฉะนั้นเราจะได้ภาพความละเอียดสูงเป็นพิเศษ 47.3 Megapixels บวกกับเลนส์ Lumix 24-105 f/4.0 ตลอดช่วง นอกจากนี้ แบรนด์ยังใช้ L-mount เป็นเมาต์เดียวกันกับของ Leica และ Sigma ทำให้เราใช้เลนส์ของสองแบรนด์นี้ได้ด้วย เป็นการเพิ่มตัวเลือกสำหรับผู้ใช้งาน เริ่มด้วยแลนด์มาร์กประจำเขตหรือกรุงเทพฯ ก็ว่าได้ กับ Asiatique (เอเชียทีค) แหล่งท่องเที่ยวริมน้ำที่ใหญ่ที่สุดในเขตนี้ แนะนำให้ไปช่วงเย็นๆ เพราะเรือจะเริ่มมาส่งนักท่องเที่ยวเวลานั้น ถ้าไปก่อนเวลาจะไม่ค่อยมีคน เนื่องจากที่นี่เน้นตลาดเย็นถึงค่ำ บางร้านก็ปิดเที่ยงคืน ช่วงเย็นๆ ค่ำๆ คนจึงเยอะมากๆ […]