Featured
การเติบโตของ ‘ตลาดสินค้ามือสอง’ อาจกำลังทำลายสิ่งแวดล้อมในทางอ้อม
รายงานประจำปี 2021 ของ thredUP แพลตฟอร์มตัวกลางออนไลน์สำหรับซื้อขายเสื้อผ้ามือสองคุณภาพสูง พบว่า ในระยะเวลาเพียงหนึ่งปี (2021 – 2022) ตลาดเสื้อผ้ามือสองเติบโตเพิ่มสูงขึ้นถึง 24 เปอร์เซ็นต์ และคาดว่าจะขยายตัวจนมีมูลค่าสูงถึง 2 แสนล้านดอลลาร์ (7 ล้านล้านบาท) ในปี 2025 การคาดการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า ผู้คนในยุคปัจจุบันเริ่มหันมาสนใจการซื้อสินค้ามือสองมากขึ้น และตัวเลขเหล่านี้ยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตอันใกล้ อันเป็นผลมาจากการตระหนักรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าตามกระแส (Fast Fashion) และปัญหาสิ่งแวดล้อม ทว่าการเติบโตแบบก้าวกระโดดของตลาดมือสองในระยะเวลาอันสั้นเช่นนี้ อาจไม่ได้ส่งผลเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเสมอไป คอลัมน์ Green Insight ขอพาไปดูอีกแง่มุมหนึ่งของตลาดสินค้ามือสองที่หลายครั้งอาจไม่ได้กรีน แต่กำลังทำลายสิ่งแวดล้อมในทางอ้อมอยู่ คนรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แม้เทรนด์การซื้อสินค้ามือสอง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ หรือแม้กระทั่งอุปกรณ์เครื่องใช้จะไม่ใช่แนวคิดใหม่ แต่หลังจากธุรกิจขายของออนไลน์เติบโตขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้ฐานลูกค้าสินค้ามือสองที่แต่เดิมมีเพียงส่วนน้อย เพิ่มจำนวนมากขึ้นจนกลายเป็นเทรนด์มาแรงของผู้คนทั่วโลก โดยผลสำรวจจาก GlobalData 2022 พบว่า ตลาดมือสองในทวีปอเมริกาเหนือมีขนาดตลาดที่เติบโตขึ้นจากการประมาณการเติบโตถึง 8 เท่าในระยะเวลาอันสั้นเมื่อเทียบกับตลาดสินค้าโดยทั่วไปในท้องตลาด รองลงมาคือทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา ออสเตรเลีย เอเชีย และยุโรปตามลำดับ […]
ผังเมือง ความสัมพันธ์ และความโรแมนติก | Unlock the City EP.22
รู้ไหมว่า ‘เมือง’ ที่อยู่อาศัยมีส่วนทำให้เรารู้สึกเหงาหงอย ไม่โรแมนติก หรือกระทั่งไร้คู่ตุนาหงันได้ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมฉากหลังของกรุงเทพฯ ถึงดูไม่ค่อยตอบโจทย์คู่รักหรืออบอวลไปด้วยกลิ่นอายโรแมนติกเหมือนเมืองใหญ่ในหลายประเทศ ‘พนิต ภู่จินดา’ สถาปนิกผังเมืองและโฮสต์รายการ Unlock the City จะมาให้คำตอบถึงเบื้องหลังเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นแง่ที่เกี่ยวโยงกับพื้นที่สาธารณะ ความสัมพันธ์ของชุมชน หรือขนส่งสาธารณะก็ตาม ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/d1ktUSJ1Aas Spotify : http://bit.ly/3YWoRGE Apple Podcasts : http://bit.ly/4062S0S Podbean : http://bit.ly/3YPZBBM
‘ไม่มีใครที่อยากมีความสัมพันธ์แย่ๆ หรอก’ ค่านิยมสุขภาพจิตที่อยากให้ทำความเข้าใจใหม่
เรารักสังคมที่เปิดกว้างและเข้าถึงเรื่องสุขภาพจิตอย่างง่ายดายขึ้นในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้มากๆ แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ไม่รักเลยกับการที่บางคนนำชุดความรู้จิตวิทยาบางอย่างมาวิเคราะห์กับทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม จนลืมไปว่า ทุกเหตุการณ์และตัวบุคคลล้วนมีความละเอียดอ่อนต่างกันโดยสิ้นเชิง แค่เพียงชุดความคิดเดียวที่แม้จะได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้างขนาดไหน ก็ไม่ได้เป็นบทการันตีว่าจะสามารถนำมาใช้กับทุกคนบนโลกได้ ไม่มีใครคนไหนเหมือนกัน และไม่ว่าอะไรแย่ๆ จะเกิดขึ้นในชีวิต ไม่จริงเลยที่สิ่งนั้นจะทำให้เรากลายเป็นคนต้องคำสาป และมันไม่มีหรอก ปัญหาสุขภาพจิตไหนที่โหดร้ายเกินเยียวยา หากคนคนนั้นเลือกที่จะมีความกล้า ให้เวลา และเชื่อมั่นในตัวเอง เพื่อเดินทางไปสู่ชีวิตที่มีสุขภาพจิตดี เพราะอยากให้คนในสังคมเปิดใจ มีมายด์เซตที่ไม่ตัดสินคนอื่นผ่านความสัมพันธ์ของพวกเขาไปก่อน เราขอแชร์บางชุดความคิดที่อยากกระตุ้นให้ทุกคนลองมองในมุมใหม่ดู “เกิดมาในครอบครัวที่ไม่อบอุ่น โตมาก็จะมีความสัมพันธ์ที่ไม่อบอุ่น” เราขอเริ่มด้วยทฤษฎีทางจิตวิทยาที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกัน นั่นคือ ทฤษฎีความสัมพันธ์ในช่วงปี 1950s ที่ชื่อ Attachment Theory โดย John Bowlby เขาเชื่อว่า ทารกทุกคนเรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดเพื่อเป็นทักษะในการอยู่รอด ซึ่งคนใกล้ชิดของทารกคือ ‘ผู้ดูแล’ นั่นเอง (เราขอใช้คำว่า ผู้ดูแล เพราะคนคนนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อหรือแม่เท่านั้น ใครก็ตามที่ใกล้ชิดและผูกพันกับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นคุณยาย พี่เลี้ยง คนเลี้ยงเด็กในสถานสงเคราะห์ ฯลฯ ก็ถือเป็นผู้ดูแลทั้งสิ้น) John Bowlby ได้ทำการทดลองกับหลายครอบครัว และได้บทสรุปที่กึ่งๆ เป็นคำทำนายอนาคตของเด็กแต่ละครอบครัวมาว่า ‘สิ่งที่คนใกล้ชิดเลือกปฏิบัติต่อเด็กและสิ่งที่เด็กเลือกตอบสนองนั้น จะช่วยสร้างแพตเทิร์นความสัมพันธ์ของเด็กคนนั้น เมื่อเขาโตมามีคนรักเป็นของตัวเอง’ […]
ฟังเสียงเด็กวัดจากอัลบั้ม ‘ธาตุทองซาวด์’ บันทึกช่วงเวลาที่ผ่านไปแล้วของ ‘YOUNGOHM’
การฟังเพลงแบบเป็นอัลบั้มใช้เวลาเยอะ และใช้สมาธิเยอะไม่ต่างกัน แต่ก็เพราะการฟังเพลงแบบเป็นอัลบั้มนี่แหละ ที่มอบความพิเศษของเรื่องราวผ่านบทเพลงได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ยิ่งได้ฟังอัลบั้มที่มีคอนเซปต์เรียงร้อยต่อกันไป แถมเป็นเรื่องราวที่บันทึกประสบการณ์ชีวิตในโลกที่เหมือนละครด้วยแล้ว เราย่อมได้รับพลังงานจากเรื่องเล่าเหล่านั้นเสมอ อัลบั้ม ‘ธาตุทองซาวด์’ คือความรู้สึกพิเศษแบบนั้น เพราะเป็นดั่งบันทึกเรื่องราวชีวิตของผู้คนในมุมหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร คอนเซปต์อัลบั้มที่ฟังต่อกันแล้วได้อรรถรสแบบหนังม้วนยาว พาทุกคนเข้าไปอยู่ในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องเล่าที่ทำให้เห็นว่า กว่า ‘YOUNGOHM’ (โอม-รัธพงศ์ ภูรีสิทธิ์) ที่ถูกรู้จักในฐานะแรปเปอร์แห่งยุคเช่นทุกวันนี้ ในวันวัยแห่งการเริ่มต้นจนถึงวันที่ประสบความสำเร็จเขาต้องผ่านอะไรมาบ้าง ยังโอมเลือกเป็นนักแรปมาตั้งแต่ช่วงวัยเรียน และเดินทางไปแข่งขันในหลากหลายสนามแรป บวกกับทำเพลงมาเรื่อยๆ จนหลายเพลงทำให้เขามีชื่อเสียง และเกิดอัลบั้มแรกของชีวิตเมื่อปี 2020 ชื่อว่า ‘Bangkok Legacy’ ในอัลบั้มแรกเราจะได้ยินความสบถ ความเกรี้ยวกราด และความคับแค้นต่างๆ ที่ผสมปนเปเล่าออกมาผ่านเพลง ทว่าอัลบั้มที่สองนี้เสมือนการตกผลึกของความนึกคิด ที่มันย้ำให้เห็นว่า ความสำเร็จหรือความสมหวังตั้งใจของคนคนหนึ่งนั้นย่อมมีความเจ็บปวดที่ต้องเผชิญ ยังโอมได้เล่าประสบการณ์ต่างๆ ของชีวิตผ่าน 19 บทเพลงที่ตั้งใจสร้างขึ้นมา เป็นการเปิดเปลือยตัวตนบางอย่างในอดีตเพื่อทบทวนให้เห็นว่าเขาในปัจจุบันนั้นเป็นใคร รายละเอียดชีวิตที่นำมาบอกเล่าด้วยความสุนทรีย์ผ่านบทเพลงก็ช่วยทำให้ได้รู้จักเขามากยิ่งขึ้นด้วย โดยแกนหลักอัลบั้มสองเป็นเรื่องราวของเด็กวัดธาตุทอง ช่วงเวลาชีวิตวัยรุ่น วัยเรียน ซึ่งฉายภาพการอาศัยอยู่ในโซนเอกมัยใจกลางเมือง ย่านที่มีตึกสูงเสียดฟ้าและมีผู้คนมากมายที่ต่างพยายามเคลื่อนต่อไปเพื่อให้ตัวเองได้มีชีวิตที่ดีขึ้น คอลัมน์ แกะเพลง ชวนมาสำรวจอัลบั้มธาตุทองซาวด์ของยังโอม ที่บรรจุอัดแน่นด้วยบทเพลงทั้ง 19 เพลง ซึ่งล้วนเป็นบันทึกช่วงเวลาที่ผ่านมาแล้วของเด็กวัดธาตุทองแห่งย่านเอกมัยที่กลายเป็นแรปสตาร์ได้ตามที่ตั้งใจ วันนี้เราจึงขอเลือกหยิบบางเพลงมาพูดคุยกัน […]
สารพัดวัฒนธรรมที่ต่างกันสุดขั้วจากเด็กไทยผู้ไปแลกเปลี่ยนที่เยอรมนี | คนย่านเดียวกัน EP.10
รายการ ‘คนย่านเดียวกัน’ ชวน TikToker สายอาร์ตชื่อดัง ‘กบ-กชกร สำเภาพล’ จากช่อง Koko do art ผู้มีโอกาสไปโครงการแลกเปลี่ยนที่ประเทศเยอรมนี มาเล่าประสบการณ์ Culture Shock ทั้งเรื่องระเบียบวินัย ทัศนคติ และความเห็นทางศาสนาของผู้คนในสังคม ที่ทำให้ต้องปรับตัวหลายอย่าง นอกจากนี้ เธอยังมีโอกาสไป Work and Travel ที่รัฐอะแลสกา ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ทุกอย่างต่างจากเยอรมนีอย่างสิ้นเชิง เรื่องราวการผจญภัยทั้งหมดของเธอจะน่าติดตามแค่ไหน ติดตามฟังได้ในเอพิโสดนี้ ติดตามฟัง ‘คนย่านเดียวกัน’ ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/JkZi7MlGsL8 Spotify : http://bit.ly/3FbhPXa Apple Podcasts : http://bit.ly/3YDQ2ps Podbean : http://bit.ly/3YCJkQx
ครูเชฟผู้ไม่เกษียณการสอน ‘อาจารย์สุริยันต์ ศรีอำไพ’ | THE PROFESSIONAL
“เราไม่แน่ใจว่าจะมีอายุยืนยาวอีกเท่าไหร่ วันนี้มีจริงแต่พรุ่งนี้จะมีจริงหรือเปล่ายังไม่รู้ รู้แค่ว่าวันนี้อยากจะทำงานดีๆ สร้างสรรค์วงการเบเกอรีให้คนรุ่นหลังมีโอกาสต่อยอดธุรกิจหรือทำเป็นอาชีพได้” ในยุคที่สังคมผู้สูงอายุกลายเป็นโจทย์และความท้าทายสำคัญของชาวเมือง ส่วนอุตสาหกรรมแรงงานต่างมองหาและต้องการคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงาน ทำให้ผู้มีอายุหรือวัยเกษียณส่วนใหญ่มีพื้นที่ในการแสดงศักยภาพและทักษะน้อยลงเรื่อยๆ ตัวอย่างเช่น วงการอาหารที่มีเชฟรุ่นเก๋ามากมายที่พร้อมส่งต่อความรู้และมอบประสบการณ์หลายสิบปีให้กับเชฟรุ่นใหม่ แต่กลับหาโอกาสในการถ่ายทอดไม่ได้ง่ายๆ THE PROFESSIONAL เอพิโสดนี้ ชวนสำรวจประสบการณ์ของ ‘สุริยันต์ ศรีอำไพ’ เชฟจาก KRU-CHEF PROJECT ที่ตั้งใจชวนเหล่าเชฟที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มาใช้วัยเกษียณให้มีคุณภาพมากขึ้นผ่านการถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับเชฟรุ่นใหม่ เพื่อพิสูจน์ว่าวัยเกษียณไม่ใช่แค่เก่า แต่เก๋าด้วย
Beat the Heat in Bangkok ทำกรุงเทพฯ ให้กลับมาเย็นอีกครั้ง
ในปัจจุบันที่กรุงเทพฯ เต็มไปด้วยไอความร้อนจากการเผชิญหน้ากับ ‘ปรากฏการณ์เกาะความร้อน’ หรือ ‘Urban Heat Island (UHI)’ เหตุการณ์ที่พื้นที่ในเมืองมีอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณรอบนอก ซึ่งสาเหตุสำคัญเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และสิ่งปลูกสร้างภายในเมืองที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ต้นไม้ในเมืองลดลง เคยลองคิดกันเล่นๆ ไหมว่า ถ้าเราสามารถทำให้หน้าร้อนของเมืองไทยที่มีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปีมีอุณหภูมิลดลงได้ หน้าตาของเมืองกรุงเทพฯ จะแตกต่างไปจากปัจจุบันและทำให้คุณภาพชีวิตของผู้คนดีขึ้นได้มากน้อยขนาดไหน วันนี้คอลัมน์ Urban Sketch จึงขอหยิบเอาแผนพัฒนาเมืองบางส่วนของประเทศสิงคโปร์อย่าง ‘Cooling Singapore’ ที่สร้างขึ้นมาเพื่อลดภาวะ UHI ภายในเมือง มาออกแบบกรุงเทพฯ กันใหม่ว่า ถ้าต้องการให้อุณหภูมิเมืองลดลงจะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง 01 | VEGETATION : เพิ่มสีเขียวให้พื้นที่เมือง หากต้องการลดอุณหภูมิเมืองลง สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยคือ ‘พื้นที่สีเขียว’ เนื่องจากพืชโดยทั่วไปมีคุณสมบัติในการแผ่รังสีความร้อนที่ต่ำและสร้างร่มเงา ช่วยลดการสะสมของพลังงานแสงอาทิตย์ภายในเขตเมืองได้ แต่การจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดอุณหภูมิภายในเมืองลงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะจำเป็นต้องปลูกต้นไม้จำนวนมากพอสมควรเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นในแนวระนาบหรือแนวดิ่งตามอาคารต่างๆ ก็ตาม การมีสวนสาธารณะขนาดไม่ใหญ่มากแต่กระจายตัวอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ รอบเมืองอย่างทั่วถึง จึงเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ความเย็นจากพื้นที่ในบริเวณนั้นๆ ส่งผลดีต่อพื้นที่อาคารโดยรอบได้ง่ายกว่า เมื่อเทียบกับการมีสวนสาธารณะขนาดใหญ่เพียงไม่กี่แห่งทั่วเมืองอย่างปัจจุบัน แต่สำหรับอากาศของประเทศไทย แค่สวนสาธารณะในแนวราบคงไม่เพียงพอ การปลูกพืชเพิ่มในแนวดิ่งไม่ว่าจะเป็นพืชไม้เลื้อยบริเวณผนังอาคาร ฟาร์มผักบนหลังคา พื้นที่สีเขียวบริเวณอาคารร้าง รวมถึงพื้นที่ว่าง ล้วนเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ชาวเมืองเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ง่ายขึ้น […]
เปิดสถิติงานสัปดาห์หนังสือย้อนหลัง 5 ปี จริงๆ แล้วคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงหรือไม่
ข่าวการปิดตัวลงของร้านหนังสือจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา อาจทำให้หลายคนมองว่าสาเหตุหลักๆ เกิดจากการที่คนไทยอ่านหนังสือน้อยลง แต่เมื่องานหนังสือวนกลับมาอีกครั้ง เหล่านักอ่านก็ยังให้ความสนใจและเตรียมไปขนหนังสือกลับบ้านกันอยู่ตลอด รวมถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 ที่ใกล้ถึงนี้ ในสถานที่เดิมอันคุ้นเคยอย่างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คอลัมน์ City by Numbers จึงขอพาไปดูสถิติย้อนหลังของงานสัปดาห์หนังสือฯ 5 ปีที่ผ่านมากันว่า จำนวนบูท ยอดผู้เข้างาน และยอดขายในแต่ละปีเป็นอย่างไร สอดคล้องกับความคิดที่ว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงหรือไม่ สถานที่เปลี่ยนไป ทำให้ตัวเลขในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติลดลง โดยปกติแล้ว งานหนังสือครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ จัดขึ้นสองช่วง ได้แก่ ‘งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ’ ในช่วงปลายเดือนมีนาคมคาบเกี่ยวต้นเดือนเมษายนของทุกปี และ ‘งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ’ ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยมีสถานที่จัดงานประจำคือ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แต่ในปี 2562 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ปิดปรับปรุงนานกว่า 3 ปี ทำให้งานหนังสือทั้งสองช่วงต้องเปลี่ยนสถานที่จัดงาน รวมไปถึงการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบงานเป็นออนไลน์ และเพิ่งได้กลับมาจัดงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อีกครั้งในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27 ในเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ด้วยสถานที่จัดงานที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงการเดินทางที่ไม่สะดวกเท่าเดิม จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้งานหนังสือในช่วง 2 – 3 […]
‘หลงยุคหลุดสมัย’ รวมเรื่องสั้นถึงสังคมไทยในอนาคต ที่หยิบความล้ำมาเล่าอย่างเจ็บแสบ
เมื่อปีก่อน ฉันได้มีโอกาสอ่านรวมเรื่องสั้นฉบับกะทัดรัดที่ทางสำนักพิมพ์แซลมอน ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์ให้คำจำกัดความไว้ว่า ‘โปรเจกต์ซาชิมิ’ เนื่องจากมีชิ้นพอดีคำ เนื้อหาสดใหม่ และไม่มีการปรับแก้ต้นฉบับ ชื่อของหนังสือคือ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ โดย วัน รมณีย์ นักเขียนที่ฉันไม่เคยได้ยินชื่อ และเสิร์ชหาข้อมูลเท่าไหร่ก็ไม่เจออะไรไปมากกว่าการที่เขาเป็นนักเขียนลึกลับ ฝีมือจัดจ้านเท่านั้น สามเรื่องสั้นที่ประกอบรวมในเล่ม อันได้แก่ จ๊ะเอ๋ บุษบา และหลงยุคหลุดสมัย ทำให้ฉันอดรู้สึกตะลึงพรึงเพริดไม่ได้ อาจเพราะฉันไม่ได้อ่านงานเขียนไทยแนวนี้มานานมากแล้ว หรือเพราะความสดใหม่ของไอเดียการนำเสนอเรื่องราวโดยนักเขียนก็ตาม สุดท้ายฉันเลือกบันทึกชื่อของ ‘วัน รมณีย์’ ไว้ลึกๆ ในใจ คาดหวังว่าถ้าเขาเขียนงานใหม่ออกมาเมื่อไหร่ ฉันจะไปขวนขวายหาอ่านให้ได้ จนกระทั่งฉันได้มาเจอ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ ในอีกเวอร์ชันหนึ่งที่เป็นฉบับครบรอบสามสิบปี โดยสำนักพิมพ์ Anthill Archive ที่ออกมาช่วงปลายปีที่แล้ว (แต่ในหนังสือระบุว่า พิมพ์เมื่อธันวาคม 2595 ที่สื่อว่ามาจากอนาคต!) ความพิเศษของฉบับนี้คือ มีเรื่องสั้นเพิ่มจำนวนขึ้นอีก 9 เรื่อง รวมเบ็ดเสร็จเป็น 12 เรื่อง แถมยังมีกิมมิก Ways to Read สำหรับการไล่อ่านแต่ละเรื่อง แบ่งเป็นตัวเลือกของนักเขียนและบรรณาธิการอีกแน่ะ แต่สุดท้ายเราก็เลือกไล่อ่านตามหน้าหนังสือไปเรื่อยๆ […]
‘ดูดวง’ ช่วยเยียวยาใจหรือทำให้คนงมงาย กับ แม่หมอพิมฟ้า | Unlock the City EP.21
“หมอดูบอกว่าฉันจะรวยตอนอายุสามสิบแหละ” “ดูดวงคราวที่แล้วไม่ตรงเลย ใครมีหมอดูแม่นๆ แนะนำบ้าง” “จะสมัครงานที่ใหม่แล้ว หมอดูพอบอกได้ไหมว่าออฟฟิศไหนดีสุด” เพราะไม่มีพลังวิเศษวาร์ปไปดูอนาคต ผู้คนถึงต้องหาที่พึ่งทางใจช่วยคาดการณ์เหตุการณ์ในวันข้างหน้าให้ และตัวเลือกที่เข้าถึงง่ายที่สุดคงหนีไม่พ้น ‘การดูดวง’ จากข้อมูลวิจัยพฤติกรรมการดูดวงคนเมืองในกรุงเทพฯ ของอัครกิตติ์ สินธุวงศ์ศรี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยว่า คนดูดวงส่วนมาก 2 ใน 3 เป็นวัยทำงานช่วงอายุ 20 – 40 ปี อีกทั้งคนยังเข้าถึงการดูดวงได้ง่ายขึ้นจากการมีโซเชียลมีเดีย และไม่ใช่แค่คนทั่วๆ ไปเท่านั้นที่ต้องการที่พึ่งทางใจ เพราะแม้แต่นายทุน พรรคการเมือง และกลุ่มผู้มีอำนาจก็ยังต้องหวังพึ่งฤกษ์งามยามดีในการทำการใหญ่ไม่ต่างกัน Unlock the City เอพิโสดนี้ โฮสต์ผู้เชี่ยวชาญด้านผังเมือง ‘พนิต ภู่จินดา’ ชวน ‘พิชา กุลวราเอกดำรง’ หรือที่สายมูฯ รู้จักในชื่อ ‘แม่หมอพิมฟ้า’ คนดังที่คลุกคลีกับศาสตร์ดูดวงอย่างยาวนานมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันถึงประเด็นนี้ที่สะท้อนถึงหลักคิดของคนเมือง
KARAVA แบรนด์องค์เทพตั้งโต๊ะของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนภาพจำไอเทมมูฯ ให้ดูโมเดิร์น
ไม่ว่าคุณจะเรียกตัวเองว่าสายมูฯ หรือไม่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าชีวิตประจำวันของเราเชื่อมโยงกับการมูเตลูไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การไหว้พระและรูปบรรพบุรุษให้คุ้มครองก่อนออกจากบ้าน การตามหาเลขเด็ดก่อนวันที่ 1 และ 16 ของเดือน หรือการขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือก่อนการพิตช์งานใหญ่ เหล่านี้คือตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ที่ถ้าคุณไม่ได้ทำเอง ก็ต้องมีคนใกล้ตัวสักคนทำ แน่นอน เรามูฯ เพราะคาดหวังความสำเร็จในสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรืออย่างน้อยที่สุดเราก็มูฯ เพื่อหล่อเลี้ยงความหวังและความสบายใจ บางครั้งการมูฯ ก็เป็นการตั้งหลักในใจก่อนจะเริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง ‘บุ๊ค-หัสวีร์ วิรัลสิริภักดิ์’ และ ‘เคน-นันท์ธร พรกุลวัฒน์’ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Karava ก็คุ้นเคยกับการมูเตลูมาตั้งแต่เด็กๆ พวกเขาอินกับการมูฯ มากจนเปิดธุรกิจไอเทมมูเตลูของตัวเอง เริ่มตั้งแต่สร้อยข้อมือหินมงคลพลังงานดี ไปจนถึงองค์เทพตั้งโต๊ะบูชา ที่น่าสนใจมันอยู่ตรงที่ว่า องค์เทพของแบรนด์ Karava ไม่ได้มีหน้าตาเหมือนองค์เทพที่เราเคยเห็นทั่วไป แต่ผ่านการดีไซน์ให้โมเดิร์นขึ้นเพื่อเอาใจคนรุ่นใหม่ ให้นำไปจัดวางไว้กับบ้าน Modern Luxury ที่ได้รับความนิยมในยุคนี้ได้อย่างไม่เคอะเขิน แนวคิดเบื้องหลังการดีไซน์ไอเทมมูเตลูของทั้งคู่เริ่มต้นยังไง คอลัมน์ Re-desire รอบนี้พาไปหาคำตอบกัน ธุรกิจมูเตลูของสายมูฯ ตัวจริง “ที่บ้านคนนี้เลยครับ” เคนผายมือไปที่บุ๊ค เมื่อเราถามถึงจุดเริ่มต้นการเป็นสายมูฯ ของทั้งคู่ บ้านของบุ๊คเป็นบ้านคนจีน คุณพ่อของเจ้าตัวมีตู้พระตู้ใหญ่ที่สะสมองค์พระดังๆ จากวัดมากมายในหลักร้อยชิ้น […]
Urban Eyes 26/50 เขตตลิ่งชัน Taling Chan
เขตตลิ่งชัน จัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สมัยก่อนเขตนี้เป็นเขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมผสมผสาน แหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย แต่ปัจจุบันพื้นที่เกษตรกรรมกำลังลดลงไปมากจากการสร้างพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่คมนาคม ส่งผลให้พื้นที่สีเขียวอย่างสวนผักสวนผลไม้ที่เคยมีให้เห็นหนาตาลดจำนวนลง แต่ก็ยังถือเป็นพื้นที่หนึ่งในกรุงเทพฯ ที่มีบรรยากาศแบบชนบทหลงเหลืออยู่ ถึงอย่างนั้น เขตนี้ก็เป็นเขตที่มีร้านอาหารอร่อยๆ มีคาเฟ่ให้ไปพักผ่อนหย่อนใจ และมีสถานที่เจ๋งๆ ค่อนข้างเยอะ แม้จะเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะลำบากหน่อยก็ตาม สัปดาห์นี้เรายังอยู่กับกล้อง Lumix S1R กับเลนส์ Lumix 24-105 f/4.0 โดยเราเริ่มคอนโทรลกล้องได้คล่องขึ้นแล้ว แถมกล้องก็ตอบสนองไว เหมาะกับการจับภาพที่อาจมีเวลาเพียงเสี้ยววิอย่างการถ่ายภาพแนวสตรีทมากๆ สำหรับสถานที่ในแผนการถ่ายภาพวันนี้ของเราคือตลาดน้ำคลองลัดมะยม ที่เปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ที่นี่ของกินเยอะมากๆ คนก็แน่น จนอาจทำให้ถ่ายรูปได้ยากหน่อย แต่ลองหาจังหวะแสงลอดลงมานิดๆ ก็พอมีหวัง หรือถ้ายังหามุมไม่ได้ เรามีอีกตัวเลือกให้ลองคือการลงเรือล่องไปตามคลอง ตามรายทางมีโมเมนต์ดีๆ ให้เก็บภาพอยู่ จากนั้นก็นั่งเรือมายังตลาดน้ำวัดสะพาน เราชอบที่ท่าเรือที่นี่มีหลังคาแบบระแนงไม้ให้แสงส่องผ่านช่องลงมาได้ ทำให้เกิดแพตเทิร์นแสงและเงาที่ดี หลังจากอยู่บนน้ำมานาน ก็ขอสลับสับเปลี่ยนมาบนบกที่สายใต้ใหม่บ้าง เพราะเป็นสถานที่ที่คนมารวมตัวกันเพื่อเดินทางออกไปต่างจังหวัด จึงทำให้มีคนเยอะตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วงเช้าวันจันทร์ สถานที่หลังจากนี้จะเป็นแหล่งค้าขายล้วนๆ แล้ว เริ่มที่ศูนย์กลางตลาดดอกไม้ปากคลองตลาดใหม่ หรือเรียกสั้นๆ ว่าตลาดดอกไม้ใหม่ ที่นี่เปิด 24 ชั่วโมง เราชอบบรรยากาศช่วงเย็นเกือบพลบค่ำ แสงลงกำลังสวย ถ้าท้องฟ้าระเบิดด้วยน่าจะดีเยี่ยม แถมเพิ่งมีร้านปาท่องโก๋มาเปิด […]