ส่องปรากฏการณ์บุลลี่ในสังคมเกาหลีผ่าน The Glory ที่คว้ารางวัลซีรีส์ยอดเยี่ยมแห่งปี

ประเทศเกาหลีใต้มีคำสามัญที่ใช้เรียกความรุนแรงในโรงเรียนว่า ‘학교폭력’ (ฮักกโยพงนย็อก) และมีคำศัพท์เฉพาะอย่างคำว่า ‘왕따’ (วังต้า) ที่ไม่มีคำแทนความหมายแบบแน่นอนในภาษาอังกฤษ แต่แปลความได้ราวๆ ว่า ‘เหยื่อที่ถูกบุลลี่’ โดยคำขั้วตรงข้ามของวังต้าคือ ‘일진’ (อิลจิน) หมายถึง ‘คนที่ชอบรังแกคนอื่นๆ และทำผิดกฎเป็นประจำ’ แค่ชุดคำไม่กี่คำ น่าจะพอทำให้เราเห็นกันแล้วว่า ศัพท์ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาโดยเฉพาะเหล่านี้ คือหลักฐานและชื่อเรียกของสิ่งที่มีอยู่จริงและเกิดขึ้นอย่างเข้มข้นในสังคมเกาหลีใต้ นี่คือความรุนแรงที่เกิดจริง ทั้งในกรณีที่มีคนออกมาพูดถึงปัญหาที่ตัวเองเผชิญ หรือเรียกร้องความเป็นธรรมจากสิ่งที่เกิดขึ้น และในกรณีที่มันถูกเก็บงำไว้กับผู้ที่ถูกกระทำตลอดไป และใช่ นั่นหมายถึงความเจ็บปวดรวดร้าวที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ และวัยรุ่นชาวเกาหลีใต้ ซึ่งเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้ว The Glory เป็นซีรีส์เรื่องล่าสุดของนักแสดงสาวชื่อดัง ‘ซงฮเย-กโย’ ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในผลพวงของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในสังคมเกาหลี และไม่ใช่แค่ซีรีส์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนัง นวนิยาย และเรื่องราวใน WEBTOON ที่เป็นผลผลิตสะท้อนแง่มุมของสังคมที่ผู้คนกำลังเผชิญกับปรากฏการณ์เลวร้ายรูปแบบนี้ หลังจากปล่อยซีรีส์พาร์ต 1 ออกมาไม่นาน The Glory ก็กวาดอันดับ 1 ในด้านยอดการรับชมบนแพลตฟอร์ม Netflix ได้ถึง10 ประเทศ ตั้งแต่เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย […]

‘ญี่ปุ่น’ กับการสร้างชาติด้วยวัฒนธรรมการเดินทาง ‘ระบบรถไฟ’

‘ญี่ปุ่น’ ถือเป็นประเทศที่มีเอกลักษณ์และความก้าวหน้าในหลายๆ ด้าน ทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน วัฒนธรรมอาหารที่โด่งดังไปทั่วโลก รวมถึงสวัสดิการและโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้ชีวิตของประชาชนอย่างรอบด้าน จนทำให้แดนปลาดิบติดท็อป 10 ประเทศน่าอยู่ที่สุดในโลกแทบทุกปี หนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกของญี่ปุ่นที่มีประสิทธิภาพและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตประชากรมากที่สุดคือ ‘เครือข่ายรถไฟ’ ที่มาพร้อมชื่อเสียงเรื่องความทันสมัย ความสะอาด และการตรงต่อเวลา ขนาดที่ว่าถ้ารถไฟขบวนไหนออกเร็วหรือช้าแค่หลักวินาที ทางบริษัทรถไฟจะรีบออกแถลงการณ์ขอโทษผู้โดยสารทันที จากความสะดวกสบายของระบบขนส่งสาธารณะ ทำให้ชีวิตของชาวญี่ปุ่นส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับการเดินทางด้วยรถไฟ เห็นได้จากสัดส่วนผู้โดยสารที่ใช้งานระบบรถไฟในกรุงโตเกียวที่มีมากถึง 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับมหานครนิวยอร์กและกรุงลอนดอน ที่มีสัดส่วนดังกล่าวประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ และ 19 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ คอลัมน์ Report ประจำเดือนนี้ชวนไปสำรวจว่า ปัจจัยใดที่ทำให้ญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในเครือข่ายรถไฟที่ดีที่สุดในโลก โดยพาผู้โดยสารไปส่งยังจุดหมายปลายทางได้เกือบทุกที่ทั่วประเทศ แถมยังครอบคลุมการใช้ชีวิตประจำวันของผู้คนทุกกลุ่ม เปลี่ยนให้เอกชนดูแลเครือข่ายรถไฟ ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า ผู้ดูแลบริหารเครือข่ายรถไฟทั่วเกาะญี่ปุ่นคือ ‘กลุ่มบริษัทรถไฟญี่ปุ่น’ หรือ ‘Japan Railways Group (JR Group)’ ที่แต่เดิมรัฐเป็นเจ้าของ แต่เมื่อปี 1987 รัฐบาลได้ดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ (Privatization) โอนกิจการให้เอกชนเข้ามาดูแล เพื่อแก้ไขสองปัญหาหลักๆ ได้แก่ การเป็นองค์กรขนาดใหญ่อุ้ยอ้ายจนบริหารงานยาก และการดำเนินงานภายใต้อิทธิพลทางการเมืองจนสร้างความเสียหายให้องค์กร อย่างการสร้างเส้นทางรถไฟที่ไม่ทำกำไรเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง […]

Sick Building Syndrome โรคตึกเป็นพิษ โรคฮิตของคนใช้ชีวิตในห้องสี่เหลี่ยม

การอาศัยอยู่ในเมืองหลวงประเทศไทย ก็เหมือนการใช้ชีวิตในกล่องสี่เหลี่ยมหลายๆ กล่อง ที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนไปในแต่ละช่วงเวลา  ตั้งแต่การตื่นนอนในห้องสี่เหลี่ยมบนตึกสูง การเดินทางด้วยรถรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าระหว่างวัน เพื่อย้ายตัวเองไปยังห้องทำงานสี่เหลี่ยมไซซ์เล็กใหญ่ใจกลางเมือง หรือแม้แต่ไปเดินห้างสรรพสินค้าทรงเหลี่ยมที่กระจายตัวอยู่แทบทุกหัวมุมถนน จะว่าไปแล้ว ในแต่ละวันที่เราต้องเปลี่ยนห้องสี่เหลี่ยมไปเรื่อยๆ มีสถานที่ไหนบ้างไหมที่เมื่อคุณเข้าไปทีไรก็จะรู้สึกปวดศีรษะ เวียนหัว คลื่นไส้ ระคายเคืองตา จมูก ผิวหนัง หรือคอจนเกิดอาการไอแห้งไปซะทุกครั้ง หากคุณตกอยู่ในอาการเหล่านี้ทุกครั้งที่เข้าไปในสถานที่เดิมๆ คุณอาจกำลังเผชิญอยู่กับ ‘Sick Building Syndrome’ หรือ ‘โรคตึกเป็นพิษ’ อยู่ก็ได้นะ Sick Building Syndrome อาการป่วยของคนในเมืองใหญ่ ‘Sick Building Syndrome (SBS)’ หรือชื่อภาษาไทยว่า ‘โรคตึกเป็นพิษ’ เป็นกลุ่มอาการที่ปรากฏครั้งแรกในช่วงปี 1970 และถูกบันทึกลงในรายงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 1984 เพื่ออธิบายผู้ป่วยที่มักมีอาการไม่สบายอย่างเฉียบพลัน เช่น ปวดศีรษะ ระคายเคืองตา จมูก หรือลำคอ จาม มีน้ำมูก คันตามผิวหนัง หน้ามืด คลื่นไส้ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน รวมไปถึงอาการแพ้จะกำเริบมากขึ้นในผู้ที่มีโรคภูมิแพ้อยู่ก่อนแล้ว เมื่อเข้าไปภายในอาคารบางแห่ง […]

BRAVE SHOES แบรนด์สินค้าอัปไซเคิลที่เปลี่ยนเปลือกกล้วยและเศษมะนาวให้กลายเป็นรองเท้าทรงเก๋

สำหรับคนที่ไม่ได้ซื้อรองเท้าบ่อยๆ อย่างเรา โอกาสที่จะหยุดดูรองเท้าสักคู่ในช็อปอาจมีไม่มาก  แต่บ่ายวันนี้ รองเท้าคู่หนึ่งชวนให้เราเดินทางมาถึงช็อปเล็กๆ ในย่านพุทธมณฑล สาย 2 เพื่อมันโดยเฉพาะ คุณอาจสงสัยว่า แล้วคนไม่ค่อยซื้อรองเท้าอย่างเราทำไปทำไม เฉลยให้ฟังว่าเพราะรองเท้าคู่นี้ไม่ใช่รองเท้าธรรมดา แต่เป็นรองเท้าหนังสังเคราะห์ที่ทำจากผักผลไม้เหลือทิ้งในอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งเปลือกกล้วย เศษมะนาว และลูกมะพร้าว BRAVE SHOES คือชื่อแบรนด์รองเท้าที่เรากำลังพูดถึง เหมือนกับชื่อแบรนด์ นอกจากความกล้าที่จะใช้วัสดุซึ่งไม่เคยเห็นดีไซเนอร์ไทยคนไหนใช้มาก่อน ‘ตะวัน-กฤดิพัชร เจริญชัยปิยกุล’ และ ‘มาย-มาย การุณงามพรรณ’ สองผู้ก่อตั้งแบรนด์ยังใส่ความกล้าลงไปในแทบทุกองค์ประกอบ ไล่ไปตั้งแต่ดีไซน์รองเท้าสุดเก๋ไก๋ที่เหมือนหลุดออกมาจากหนังไซไฟสักเรื่อง การผลิตแบบสล็อตเล็กๆ ไม่มีซีซัน ไม่ขายตลาดแมส ไปจนถึงการตั้งราคาที่สูงเมื่อเทียบกับรองเท้าแฟชั่นแบรนด์อื่น ไม่ใช่เพราะอยากให้แบรนด์มีรายได้เยอะๆ แต่อยากให้ทุกคนในสายพานการผลิตได้รับผลตอบแทนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้งคู่เอาความกล้านี้มาจากไหน ตะวันและมายพร้อมตอบคำถามเราแล้ว แบรนด์แฟชั่นยั่งยืนของเพื่อนสนิท BRAVE SHOES เปิดตัวแบรนด์ครั้งแรกบน Instagram ในเดือนธันวาคม 2564 แต่ความเป็นเพื่อนของตะวันกับมายเริ่มต้นมาเนิ่นนานก่อนหน้านั้น เรียนมัธยมฯ ที่เดียวกัน มหาวิทยาลัยก็อยู่คณะใกล้กัน ตะวันเรียนจบด้านแฟชั่นดีไซน์จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ส่วนมายจบสถาปัตย์ ต่างคนต่างแยกย้ายไปใช้ชีวิตของตัวเองหลังสำเร็จการศึกษา มายผู้สนใจเรื่องความยั่งยืนเป็นทุนเดิมเปิดสตาร์ทอัปทำเทคโนโลยีที่แปลงวัสดุใช้แล้วในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง ส่วนตะวันบินลัดฟ้าไปเรียนต่อปริญญาโทที่อิตาลี และมีโอกาสได้ทำงานเป็นฟรีแลนซ์ดีไซเนอร์ที่เมืองโคเปนเฮเกน […]

Urban Eyes 18/50 เขตปทุมวัน

ปทุมวันเป็นเขตหนึ่งที่ค่อนข้างมีอะไรให้ถ่ายได้หลากหลาย ทำให้เป็นสถานที่แรกๆ ที่คนเริ่มถ่ายภาพแนวสตรีทมักมาลองมือกัน เราเลยขอลิสต์สถานที่เป็นแห่งๆ มาให้ทุกคนเดินทางไปด้วยกันเลยดีกว่า สถานที่แรกที่พลาดไม่ได้เลยคือ สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่เริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. 2453 (ยุคของรัชกาลที่ 5) ในสมัยนั้นประเทศไทยเราได้รับอิทธิพลจากชาวตะวันตกค่อนข้างมาก ทำให้สถาปัตยกรรมของสถานีกรุงเทพมีความโมเดิร์น เป็นเอกลักษณ์สะดุดตา เราได้ข่าวว่าที่นี่จะปิด-ไม่ปิดมานานพอดู แต่โชคดีที่สุดท้ายเขายังเปิดใช้งานอยู่ ซึ่งเอาเข้าจริงเราก็ไม่รู้ว่าจะเปิดแบบนี้อีกนานขนาดไหน  สำหรับคนที่อยากไปถ่ายภาพ แสงที่หัวลำโพงช่วงเช้าและเย็นจะพุ่งเข้ามาในสถานีเป็นแนวเฉียง ลองหาจังหวะแสงดีๆ เราว่าถ่ายยังไงก็สวย นอกจากนี้ การมีผู้คนที่หลากหลายเชื้อชาติ รถไฟแนววินเทจผสมปนๆ กับขบวนที่ดูใหม่ๆ ก็ทำให้เราถ่ายได้หลายมู้ดดีเหมือนกัน  หลังจากนั้นเราเดินทางมายังย่านรองเมืองที่อยู่ด้านหลังของหัวลำโพง ที่นี่มีตึกศูนย์ไปรษณีย์ กรุงเทพฯ ขนาดใหญ่ตั้งอยู่ น่าเสียดายที่เราไปถึงช้านิดเดียว เพราะที่นี่เพิ่งจัดงานรองเมืองที่เป็นงานเล็กๆ น่ารักไป ย่านนี้เป็นย่านที่ดูเป็นชุมชนขนาดเล็ก ไม่วุ่นวาย แตกต่างจากแถวถนนบรรทัดทองที่อัดแน่นไปด้วยร้านอาหารเต็มสองข้างทาง เปลี่ยนบรรยากาศไปที่สวนลุมพินีกันบ้าง ที่นี่เป็นปอดขนาดใหญ่ให้กับชาวกรุงเทพฯ ด้วยขนาดพื้นที่ 360 ไร่มานานเกือบจะ 100 ปีแล้ว (เริ่มสร้างขึ้นใน พ.ศ. 2468) สวนนี้เต็มไปด้วยต้นไม้สีเขียว ผู้คนมักมาออกกำลังกายในช่วงเช้าและเย็น เพราะมีทั้งสถานที่ให้เล่นกีฬา สนามเด็กเล่นให้เด็กๆ เล่นสนุก แถมมีชมรมหลากหลาย เช่น […]

Happy Neighbor Market พาไปลงสนามธุรกิจจริงของลูกบ้าน SMART บริษัทนิติฯ ที่อยู่เบื้องหลังที่พักอาศัย

หากพูดถึงการเปิดร้าน จัดตลาดในคอนโดฯ คงไม่ใช่เรื่องแปลกนักสำหรับสมัยนี้ ‘Happy Neighbor Market’ จึงพิเศษ เพราะนี่คือการชวนลูกบ้านมาจัดตลาดกันที่ CentralwOrld แม่งานของตลาดครั้งนี้ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือ SMART ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร และงานบริการนิติบุคคล ที่มุ่งมั่นสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่สังคมในโครงการที่อยู่อาศัย แทนที่จะจัดตลาด สนับสนุนการออกร้านในพื้นที่คอนโดฯ หรือหมู่บ้านขึ้นมาเฉยๆ SMART เลือกที่จะเติมเต็มความรู้ เพิ่มทักษะด้านการทำธุรกิจให้ลูกบ้านก่อน ด้วยการเปิดเวิร์กช็อป เชิญ 2 กูรูด้านธุรกิจอย่าง ‘ต่อ-ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี’ เจ้าของร้านอาหาร Penguin Eat Shabu และ ‘โซอี้-โสภา พิมพ์สิริพานิชย์’ แห่ง Digital Shortcut ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำธุรกิจออนไลน์ ติวเข้มก่อนพาลูกบ้านไปลงสนามพื้นที่ธุรกิจจริง บรรยากาศในวันนั้นจะเป็นยังไงบ้าง Urban Creature อาสาพาไปดู ‘Happy Neighbor Market’ คือตลาดนัดแบบป๊อปอัพที่จัดขึ้นใจกลางห้างดัง ที่นอกจากจะมีความพิเศษอยู่ที่การรวมร้านค้าและส่วนลดมาหลากหลาย พร้อมโชว์จากศิลปินมาคอยสร้างสีสันให้ตลอดงาน อีกหนึ่งจุดเด่นที่ไม่เหมือนใครก็คือพ่อค้าแม่ขายที่มาออกบูธในตลาดนี้ ล้วนแต่เป็นลูกบ้านในหมู่บ้านและคอนโดฯ ที่ SMART บริหารจัดการ  แม่งานของตลาดครั้งนี้ไม่ใช่ใครที่ไหน […]

‘ฟิว-ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล’ นักแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์รุ่นใหม่ | THE PROFESSIONAL

“ดนตรีประกอบสำคัญกับภาพยนตร์ไหมคงฟันธงไม่ได้ แต่เก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของภาพยนตร์บนโลกนี้มีดนตรีอยู่ในนั้น”.อย่างที่หลายคนเข้าใจ ภาพยนตร์เป็นสื่อที่มีองค์ประกอบของทั้งภาพและเสียงผสมกัน ร้อยเรียงออกมาเป็นชุดเรื่องเล่าที่ให้ข้อมูล ให้ความเข้าใจ ให้ความรู้สึกกับผู้ชม ‘เสียงดนตรี’ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่หลายคนอาจไม่ทันสังเกตเพราะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ต้องการคนชำนาญเฉพาะด้านมาสร้างสรรค์ .THE PROFESSIONAL ชวนดูเบื้องหลังการทำงานของ ‘ฟิว-ชัพวิชญ์ เต็มนิธิกุล’ นักทำดนตรีประกอบภาพยนตร์รุ่นใหม่ ที่ฝากผลงานไว้ทั้งในภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ รวมถึงสำรวจแนวคิดหลังตัวโน้ตของเพลงที่คุณได้ยินผ่านจอภาพยนตร์ที่สำคัญไม่แพ้ภาพเคลื่อนไหว #UrbanCreature #TheProfessional #Score #FilmScoring #MusicComposer #Producer #นักแต่งดนตรีประกอบภาพยนตร์ #ดนตรีประกอบ #เพลงประกอบ #นักทำเพลง

คุยกับรองผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ถึงอนาคตเมืองปี 2566 กับ ศานนท์ หวังสร้างบุญ | Unlock the City EP.17

ปีที่ผ่านมา กรุงเทพฯ มีอะไรเปลี่ยนไปบ้างแล้ว และในอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป  ปีใหม่คือช่วงเวลาที่หลายคนใช้ตั้งต้นในการทำอะไรใหม่ๆ รวมถึงใช้เป็นหลักไมล์สุดท้ายในการสรุปการเติบโตของตัวเองในช่วงเวลาที่ผ่านมา รายการ Unlock the City จึงขอใช้โอกาสนี้ชวน ‘ศานนท์ หวังสร้างบุญ’ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ มาบอกเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองหลวงแห่งนี้ นับตั้งแต่วันที่ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ นำทีมคว้าชัยชนะแบบถล่มทลายในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว และจากประสบการณ์การทำงาน ลงพื้นที่ พูดคุยกับชาวเมืองในหลายภาคส่วน เขาในฐานะผู้มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงเห็นอุปสรรคและโอกาสใดของเมืองนี้บ้าง แล้วแผนการในปี 2566 ที่อยากพากรุงเทพฯ ไปให้ถึงมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ติดตามฟังได้ที่เอพิโสดแรกของปีนี้เลย ติดตามฟัง Unlock the City ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/JhQx6OVfqXM Spotify : https://bit.ly/3Zci64A Apple Podcasts : https://bit.ly/3vzO25B Podbean : https://bit.ly/3X0m0vA

Oho! แอปฯ สั่งของกินเมนูพิเศษที่ทั้งอร่อย ถูกกว่า และได้ช่วยร้านค้าลดขยะอาหาร

ในสายตาของคนที่รักของเซลล์เป็นชีวิตจิตใจ ไม่ว่าจะไปไหน ซื้ออะไร เรามักตาเป็นประกายเสมอเมื่อเห็นส่วนลด แม้แต่อาหารที่กดสั่งเดลิเวอรีทุกวัน เชื่อว่าหลายคน (ที่เป็นคนแบบเรา) ไม่พลาดที่จะเช็กโค้ดโปรโมชัน บางครั้งถึงกับตั้งเวลาปลุกให้เข้าไปออเดอร์ช่วง Flash Sale ให้ทัน ฟังดูเหมือนจริงจังไปนิด แต่เราก็ทำถึงขนาดนั้นเลย แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราได้อาหารที่ลดราคาแบบสุดๆ แถมยังเป็นมิตรต่อโลกด้วย เรารู้จักแอปพลิเคชัน Oho! ครั้งแรกราวกลางปีที่ผ่านมา ในฐานะแอปฯ สั่งอาหารที่ละลานตาไปด้วยการลดราคาอย่างน้อย 25 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เลขเปอร์เซ็นต์สุดว้าวนั้นจูงใจให้คนรักของเซลล์อย่างเราโหลดมาใช้ ก่อนจะพบว่าแอปฯ นี้มีความพิเศษมากกว่าราคาที่ลดแล้วลดอีกไปมากโข แท้จริงแล้ว Oho! คือแอปฯ ขายอาหารเมนูป้ายเหลืองเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่แค่อาหารใกล้หมดอายุอย่างที่หลายคนเข้าใจกัน แต่บางเมนูมีความสดใหม่และคุณภาพอยู่ในระยะเวลาจำกัด ถ้าปล่อยไว้นาน คุณภาพนั้นจะดร็อปลงจนร้านค้าต้องจำใจทิ้งไป  Oho! เกิดขึ้นเพราะอยากช่วยแบ่งเบาภาระนั้นจากร้านอาหาร ทุกเมนูบนแอปฯ จึงลดราคาได้แบบจัดหนักจัดเต็มอย่างที่เห็น ฟังดูเป็นโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ลึกลงไปมากกว่านั้น ‘วริทธิ์ธร มังกรทองสกุล’, ‘สมิทธ์ ชัยชาญชีพ’ และ ‘Richard Armstrong’ ผู้ก่อตั้งทั้ง 3 คนตั้งใจอยากให้ Oho! เป็นแอปฯ ของคนรุ่นใหม่ที่อยากแบ่งเบาภาระโลกจากปัญหา Food Surplus […]

ฟังเสียงคนไทย สบายดีไหมปีนี้

ปีที่ผ่านมาเป็นยังไงบ้าง สบายดีไหมทุกคน ในปี 2022 มีการเปลี่ยนแปลงในสังคมมากมาย ที่เห็นชัดๆ ก็คงเป็นข่าวดีที่ชาวกรุงเทพฯ ได้ผู้ว่าฯ คนใหม่มาช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น ส่วนผู้คนก็เริ่มออกมาใช้ชีวิตและทำงานได้ตามปกติ หลังจากต้องกักตัวอยู่บ้านนานกว่าสองปีเพราะโรคระบาด ในช่วงสัปดาห์ส่งท้ายปีแบบนี้ Soundcheck อยากพาทุกคนไปฟังเสียงของชาวเมืองจากหลากหลายสายอาชีพว่า ชีวิตของพวกเขาเป็นอย่างไรบ้างในปีที่ผ่านมา มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือแย่ลงบ้าง พร้อมทิ้งท้ายด้วยคำอวยพรเพื่อเป็นกำลังใจให้กับตัวเองและคนอื่นๆ _____________________________________

ส่อง 5 แชนเนลยูทูบสุดฟิน ที่ต่อให้ไม่ใช่ช่วงกินข้าวก็ดูเพลินจนหยุดไม่ได้

หยุดปีใหม่ทั้งที ทำอะไรกันดีนะ หลายคนอาจใช้ช่วงวันหยุดนี้กลับบ้านไปหาครอบครัว อยู่กับคนที่คุณรัก หรือจองทริปไปเที่ยวสถานที่ต่างๆ แต่สำหรับคนติดบ้านอย่างเรา ขอเพียงแค่มีแอร์เย็นๆ ผ้าห่มอุ่นๆ และช่องยูทูบดีๆ สักแชนเนล ก็ทำให้ช่วงเวลาปีใหม่เต็มไปด้วยความสุขได้แล้ว เชื่อว่าหลายคนคงมีแชนเนลยูทูบที่มักเปิดเป็นประจำเวลากินข้าว ที่กดเข้าไปดูเมื่อไหร่ ก็เพลินจนหยุดดูไม่ได้ เผลออีกทีก็ไล่ดูจนจะหมดแชนเนลซะแล้ว วันนี้เราเลยขอเอาใจสายติดบ้านด้วยการแนะนำ 5 ช่องยูทูบสุดฟินที่ดูเพลินจนหยุดไม่ได้ ใครเป็นแฟนคลับช่องไหนหรืออยากแนะนำแชนเนลใหม่ๆ ก็คอมเมนต์มาบอกกันได้นะ Haohed Studioทำของจิ๋วให้แจ๋ว ในแบบไทยๆ หลายคนอาจเคยเห็นช่องยูทูบต่างประเทศที่มีคนทำโมเดลขนาดเล็กเพื่อเป็นฉากให้ของเล่นอย่างเช่นรถเหล็กกันมาบ้าง แต่ใครจะคิดว่าการทำของจิ๋วๆ แบบนี้ก็มีคนไทยทำเหมือนกัน  ‘Haohed Studio’ เป็นช่องยูทูบไทยของ ‘ซัน-สุริยุ โซ่เงิน’ และ ‘หนึ่ง-จุฑามาศ กระตุฤกษ์’ ที่สร้างสรรค์ฉากโมเดลขนาดเล็กในแบบ Thai Style ผ่านการประกอบด้วยมืออย่างประณีตและใส่ใจทุกดีเทล รวมถึงถ่ายทอดภาพจำในวัยเด็กออกมาเป็นโมเดลต่างๆ จนเปลี่ยนความชอบนี้เป็นอาชีพที่สามารถทำรายได้ได้จริง รับรองได้ว่าช่อง Haohed Studio จะมีฉากโมเดลที่มีดีเทลสวยๆ ให้ดูเพลิน ไม่แพ้แชนเนลจากต่างประเทศเลยทีเดียว ดูวิดีโอสัมภาษณ์ Haohed Studio จากทาง Urban Creature ได้ที่ www.youtube.com/watch?v=_t6O5_fg6Z8  Jungle […]

ไทยติด 10 ประเทศอันตรายที่สุดในโลกสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติผู้หญิง

ผลสำรวจจาก World Population Review ปี 2022 เผยว่า ‘ประเทศไทย’ ติดอันดับ 10 เมืองอันตรายที่สุดในโลกสำหรับนักท่องเที่ยวผู้หญิง จากทั้งหมด 50 ประเทศทั่วโลก โดยรวบรวมข้อมูลจากสมาคมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ที่สำรวจความคิดเห็นผู้หญิงชาวอเมริกันที่เคยเดินทางท่องเที่ยวภายในหนึ่งปี ไม่ว่าจะไปคนเดียวหรือไปหลายคน ทั้งหมดประมาณ 32 ล้านคน  เกณฑ์การให้คะแนนพิจารณาจากสภาพแวดล้อมและสังคมเป็นหลัก เช่น ความไม่ปลอดภัยบนท้องถนน การเลือกปฏิบัติทางกฎหมาย ความรุนแรงทางเพศ ความไม่เท่าเทียมทางเพศ และทัศนคติต่อความรุนแรง ซึ่งคะแนนเต็มทั้งหมด 800 คะแนน โดยผลสรุป 10 อันดับแรกจากทั้งหมด 50 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ – อันดับ 1 แอฟริกาใต้ 772 คะแนน – อันดับ 2 บราซิล 624 คะแนน – อันดับ 3 รัสเซีย 593 คะแนน – อันดับ 4 เม็กซิโก […]

1 33 34 35 36 37 81

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.