วิ่งวนที่ ‘วงเวียน’ การจราจรบนท้องถนนที่ปลอดภัยที่สุด

หากลองนึกภาพท้องถนนเมืองไทย เราอาจพบเห็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการจราจรหลายรูปแบบ คอลัมน์ Urban Tales ครั้งนี้ เลยพาไปทำความรู้จัก ‘วงเวียน’ ซึ่งในอดีตใช้สำหรับเปลี่ยนเส้นทางการสัญจร แต่ปัจจุบันถูกปรับมาเป็นสี่แยกที่เห็นกันอย่างแพร่หลาย ย้อนกลับไปช่วงทศวรรษที่ 1790 นั่นคือยุคแรกที่แนวคิดการสัญจรรถเป็นวงกลมถือกำเนิด โดย ‘Pierre L’Enfant’ สถาปนิกพ่วงตำแหน่งวิศวกร เขาเริ่มจากการสร้างต้นแบบในวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา จนในปี 1905 ก็ได้ฟื้นฟูรูปแบบและพัฒนาจนกลายเป็นสี่แยกวงกลมแห่งแรกของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า ‘Columbus Circle’ ซึ่งตั้งโดดเด่นเป็นสง่า ณ มหานครนิวยอร์ก ก่อนจะถูกเรียกว่า ‘วงเวียน’ เต็มรูปแบบอย่างทุกวันนี้ หลักการพื้นฐานของวงเวียนคือการช่วยให้การจราจรที่อยู่ภายในหมุนเวียนได้อย่างลื่นไหล โดยไม่ต้องใช้สัญญาณไฟจราจร ซึ่งในวงเวียนอาจมีเลนภายในด้วย ยกตัวอย่างการใช้งานที่ประเทศอังกฤษ จะเห็นว่าระบบการจราจรที่นั่นส่วนใหญ่ แม้แต่จุดเปลี่ยนเส้นทางเล็กๆ ในเมือง มักจะใช้วงเวียนมากกว่าการใช้สัญญาณไฟจราจร หรือประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างจีน ก็มีสถานที่ชื่อดังอย่าง ‘วงเวียนหมิงจู่ (Mingzhu)’ ซึ่งกลายเป็นแลนด์มาร์กของเมืองเซี่ยงไฮ้ที่ครบวงจรมากกว่าการให้รถยนต์สัญจรไปมา แต่ยังสามารถเดินบนสกายวอร์กเชื่อมไปยังศูนย์การค้าหรือตึกต่างๆ ของย่านการค้าใจกลางเมืองโดยไม่ต้องข้ามถนน ข้อมูลทางสถิติจากการประเมินเปรียบเทียบประสิทธิภาพความปลอดภัยของวงเวียนและการควบคุมทางแยกแบบดั้งเดิม โดยสถาบันวิศวกรการขนส่งสหรัฐอเมริกาบอกว่า วงเวียนที่ถูกออกแบบมาอย่างสมบูรณ์จะปลอดภัยสำหรับผู้ขับขี่และคนเดินถนนมากกว่าสัญลักษณ์ในการจราจรรูปแบบอื่นๆ เพราะอัตราการเร่งรถจะลดลงเหลือ 25 – 40 กม. เท่านั้น […]

‘ซาอุดีอาระเบีย’ สร้างเมืองใหม่ ไร้รถยนต์ ไร้มลพิษ และขับเคลื่อนด้วย AI

เมื่อเทพเจ้าแห่งน้ำมันพยายามหาทางเอาตัวรอดจากวิกฤต จึงเกิดเป็นแนวคิดการสร้างแผนพัฒนาเมืองแห่งใหม่ของประเทศซาอุดีอาระเบีย ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ไร้รถ ไร้มลพิษ ขับเคลื่อนด้วยระบบ AI” และทุกพื้นที่จะเชื่อมต่อถึงกันด้วยการเดินเพียง 5 นาที ซึ่งมีชื่อว่า ‘The Line’

ย่านไหนในกรุงเทพฯ เดินได้เดินดีที่สุด

การเดินเท้าถือเป็นการเดินทางที่สมบูรณ์แบบที่สุด” โดยความหมายของ ‘เมืองเดินได้’ คือเมืองที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้การเดินร่วมกับขี่จักรยานและระบบขนส่งมวลชนในชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกและปลอดภัย จากการนิยามของ Goodwalk Thailand

ไขรหัสลับภาษามือ ‘I LOVE YOU’ จากจดหมายหนึ่งฉบับ ที่เป็นจุดเริ่มต้นทุกอย่าง

วันวาเลนไทน์นี้หากคุณอยากบอกรักใครสักคน แต่ไม่กล้าแสดงออก ขอให้ลองส่งอิโมจิ ‘🤟🏻’ ไปให้คนคนนั้นดูสิ! เพราะที่มาของมันไม่ใช่แค่สัญลักษณ์ที่แปลว่ารัก แต่ยังเป็นการส่งความรู้สึกดีๆ ถึงกันอีกด้วย

‘พื้นที่สาธารณะน้อยลง คนโสดก็ยิ่งเยอะขึ้น’ ดูความสัมพันธ์ที่แปรผันไปกับเมือง

ถ้าคุณเคยดูหนังรอมคอมผ่านตามาบ้าง คิดว่าฉากไหนโรแมนติกมากกว่ากัน ระหว่างดาราสาวสวยระดับโลกมาพบรักกับคนขายหนังสือเดินทางในร้านสถานะใกล้เจ๊งที่ย่านนอตติงฮิลล์ หรือวิศวกรหนุ่มหล่อที่เข้างานกะดึกบังเอิญมาเจอกับสาวออฟฟิศบนรถไฟฟ้าที่แน่นขนัด แม้จะเป็นเรื่องราวความรักที่สวยงามที่สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะด้วยกันทั้งคู่ แต่ฉากหลังของภาพยนตร์สองเรื่องนี้ถ้าเปรียบกันแบบน่ารักๆ ก็เรียกว่าพลิกจากหน้ามือกับหลังมือ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมฉากหลังของกรุงเทพฯ  ถึงดูเหมือนจะไม่ค่อยตอบโจทย์คู่รักหรืออบอวลไปด้วยกลิ่นอายโรแมนติกเหมือนในลอนดอนหรือเมืองชั้นนำในหลายประเทศ เราจึงชวน ‘รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา’ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ‘ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ’ มาหาคำตอบร่วมกันว่าปัจจัยอะไรที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีงามให้เกิดขึ้นในเมืองหลวงของเรา และจะมีวันไหนที่กรุงเทพฯ จะกลายเป็นมหานครที่เต็มไปด้วยความโรแมนติกกับเขาบ้าง  จำเลยรัก คนเราจะรักกันได้อย่างไรถ้าไม่เคยเจอหน้ากัน และจะมีความสัมพันธ์กันแบบไหนหากไม่มีพื้นที่สาธารณะ ก่อนจะท่องไปในโลกของความสัมพันธ์อันแสนล้ำลึกอาจารย์พนิตชวนเราก้าวถอยหลังออกมามองบริบทของกรุงเทพฯ เพื่อให้เห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น  “เมืองเรามีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งคือเป็น Gated Community หรือสังคมล้อมรั้ว มีหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม ที่ดึงเอาสวนสาธารณะ ลานออกกำลังกาย หรือพื้นที่ที่คนจะมารวมตัวกันเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง ทำให้เกิดเป็นชุมชนปิดเพราะมีแต่คนประเภทเดียวกันที่มีราคาบ้านเป็นตัวกำหนด “จะเห็นว่าคนไทยมีคนรักที่อยู่ในสังคมเดียวกันเป็นหลัก เป็นเพื่อนที่เรียนหรือทำงานด้วยกันด้วยกัน เพราะโอกาสที่จะรู้จักกับคนอื่นมีน้อยมาก หากจะเริ่มความสัมพันธ์กับใครคุณจะไปเจอเขาที่ไหน ยิ่งมีพื้นที่ส่วนตัวมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้มีคนโสดมากขึ้น” นอกจากสังคมแบบปิดจะทำให้คนรักไม่มีวันได้พบกันแล้ว ยังทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย อาจารย์พนิตบอกว่า สังคมปิดจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างชนชั้นชัดเจน และความหลากหลายทางเศรษฐกิจก็จะลดลง เพราะเราเคยชินกับการมีพื้นที่ของตัวเองจนลดการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นลงไป สินค้าทุกอย่างก็จะกลายเป็นแบบเฉพาะกลุ่มมากขึ้น Economy of Scale หรือสินค้าที่ผลิตปริมาณมากเพื่อขายราคาถูกก็จะน้อยลง เศรษฐกิจจะกระจุกตัวอยู่กับคนแต่ละชนชั้นเท่านั้น  เศรษฐกิจสีชมพู ค่าครองชีพที่สูงชะลูดเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของใครหลายคนต้องเป็นหมัน […]

หมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ บึงกาฬ จากคำเล่าลูกอีสาน ขาบ สุทธิพงษ์ ผู้พัฒนาชุมชนให้มีชีวิต

บึงกาฬ จังหวัดที่มากไปด้วยธรรมชาติ ซึ่งท่ามกลางแมกไม้นานาพรรณเขียวชอุ่ม ภายใต้ร่มเงาของมันคือพื้นที่ซุกตัวของ หมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ อำเภอโซ่พิสัย ที่เปรียบเสมือนเกาะถูกห้อมล้อมด้วยสายน้ำ ซึ่งรุ่มรวยไปด้วยอัตลักษณ์คนชาติพันธ์ุไทโส้ วิถีชีวิตเรียบ ง่าย งาม และความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติสมกับประโยคที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”  ไม่เพียงเท่านั้น หมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ จังหวัดบึงกาฬในวันนี้ยังกลายเป็น ‘พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จ.บึงกาฬ’ ที่ลูกหลานอย่าง ขาบ-สุทธิพงษ์ สุริยะ ฟู้ดสไตลิสต์แนวหน้าของเมืองไทย หวนกลับมาพัฒนาบ้านเกิดและรากเหง้าบึงกาฬให้มีลมหายใจอีกครั้ง จนพาชุมชนที่เคยไกลปืนเที่ยงแห่งนี้ไปคว้ารางวัลกูร์มองด์ อะวอร์ด (Gourmand Awards) หรือรางวัลออสการ์อาหารโลกซึ่งจัดขึ้นโดยประเทศฝรั่งเศส ธรรมะ-ธรรมชาติ-วัฒนธรรม สามแก่นแท้รากเหง้าบึงกาฬ ขาบเล่าว่า เรื่องธรรมะ จังหวัดบึงกาฬมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังมากมายให้ศรัทธา หากเป็นธรรมชาติคงไม่ต้องอธิบายให้มากความ เพราะบึงกาฬจัดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีห้วย หนอง คลอง บึง เยอะที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย  ส่วนด้านวัฒนธรรมก็แสนหลากหลายด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ‘ชาติพันธุ์ไทยโส้’ แห่ง ‘หมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่’ ที่ภายหลังเพี้ยนมาเป็นไทยโซ่ และถูกตั้งเป็นชื่ออำเภอโซ่พิสัย แปลว่าเมืองของคนโส้ ทั้งสามธรรมนี้จึงกลายเป็นรากเหง้าอันสมบูรณ์พร้อมของบึงกาฬ ซึ่งส่งเสริมให้จังหวัดที่เกิดขึ้นหลังสุดในแผนที่ประเทศไทยรุ่มรวยไปด้วยทุนวัฒนธรรม ขี้เหล็กใหญ่ในกาลก่อน ภาพหมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ในวันที่ขาบยังเป็นเด็ก คือหมู่บ้านที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นดอน อุดมไปด้วยต้นไม้ใหญ่เขียวชอุ่มซึ่งคอยแผ่กิ่งก้านสร้างร่มเงาให้เป็นพื้นที่ซุกตัวสำหรับบ้าน 45 […]

‘หมอบรัดเลย์’ ผู้สร้างวัคซีนเข็มแรกของไทย

‘หมอบรัดเลย์’ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ (Dan Beach Bradley, M.D.) หนึ่งในตัวละครบนหน้าประวัติศาสตร์ที่ออกมาโลดแล่นให้เราเห็นอยู่บ่อยครั้ง ทั้งในหนังสือหรือบทละครโทรทัศน์ในฐานะบิดาแห่งวงการพิมพ์ไทยผู้ให้กำเนิดหนังสือพิมพ์ไทยฉบับแรก แต่รู้หรือไม่ในฐานะแพทย์รักษาคนไข้เขาก็โดดเด่นไม่แพ้กัน

Xinzhongshan Linear Park ลานเดินขนาดจำกัด 500 ม. ที่เพิ่มความสุขให้ชาวไทเปไม่จำกัด

‘Xinzhongshan Linear Park’ พื้นที่สาธารณะซึ่งเพิ่งปรับปรุงใหม่กลางเมืองไทเปที่น่าสนใจและเป็นตัวอย่างที่เข้าใจผู้คน ทั้งยังเพิ่มคุณค่าและมูลค่าให้กับเมืองนั้นน่าอยู่มากขึ้น

Pontevedra เมืองที่ไร้คนตายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์กว่า 7 ปี

Prontevedra เมืองที่มีรูปแบบการขนส่งเป็นการเดินทางสูงถึง 70% และไม่มีตัวเลขอุบัติเหตุทางรถยนต์เป็นศูนย์ตั้งแต่ปี 2011-2018

Edo-Tokyo มิวเซียม 70,000 ตร.ม. ที่ยกบ้านหลังประวัติศาสตร์มาทำหมู่บ้านแห่งสถาปัตย์ญี่ปุ่น

ในวันที่รู้สึกเบื่อๆ เคยลองเสิร์ชเล่นๆ ว่าโตเกียวมีพิพิธภัณฑ์อะไรน่าสนใจบ้าง ผลลัพธ์ที่ออกมาชวนกรี๊ดมาก เมืองนี้ช่างอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพิพิธภัณฑ์นานาประเภท สิ่งพื้นฐานอย่างอาร์ตมิวเซียมและพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์มีแทบทุกแขนง พิพิธภัณฑ์การ์ตูนก็เนืองแน่น ของแปลกที่ไม่น่าเชื่อว่าจะมีก็มากมาย เช่น พิพิธภัณฑ์เกลือ พิพิธภัณฑ์อุปกรณ์และประวัติศาสตร์การดับเพลิง พิพิธภัณฑ์ค่าเงิน พิพิธภัณฑ์ปรสิต ฯลฯ ใครจะไปคิดว่าโตเกียวซึ่งเป็นเมืองหลวงมาตั้งแต่ปี 1869 เพิ่งนึกขึ้นได้ว่า… เฮ้ย! เรายังไม่มีพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์! หลังจากทางการโตเกียวไหวตัวทันว่ายังไม่มีพิพิธภัณฑ์ที่เล่าประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกรุงโตเกียวเลย Edo-Tokyo Museum จึงถูกก่อตั้งในปี 1993 ที่เขต Sumida โดยมีสาขาย่อยที่เล่าเรื่องราวผ่านสถาปัตยกรรมและชีวิตของผู้คนคือ Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum ที่เขต Musashino ซึ่งตั้งอยู่คนละฟากของเมืองเลยทีเดียว เพราะต้องใช้พื้นที่ในการจัดแสดง นอกจากจะเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum ยังต่างกับพิพิธภัณฑ์อื่นๆ ตรงที่ไม่ได้เล่าแค่ประวัติศาสตร์และคุณค่าของสิ่งก่อสร้าง แต่เน้นเรื่องวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนไม่แพ้กัน เดินดูเองก็ว่าสนุกแล้ว แต่เมื่อได้ Hidehisa Takahashi ภัณฑารักษ์ผู้คร่ำหวอดในวงการจาก Edo-Tokyo Open-Air Architectural Museum มาเล่าให้ฟังถึงความพิเศษของอาคาร 30 หลังบนพื้นที่ […]

นโยบายเซินเจิ้น เส้นทางแห่งการเป็นเมืองสีเขียว

เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ‘เซินเจิ้น’ พลิกบทบาทตัวเองครั้งใหญ่ โดยตั้งเป้าหมายที่จะลดการสร้างมลพิษ รักษาสิ่งแวดล้อม และเพิ่มการใช้พลังงานทดแทน เพื่อสร้างเมืองให้เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของโลกในอนาคต

1 23 24 25 26 27 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.