แปลงโฉม ‘ป่าช้า’ ให้คนอยู่ได้ใช้พื้นที่

‘ป่าช้า’ กับ ‘คนไทย’ อยู่คู่กันมาหลายร้อยปี โดยมีฟังก์ชันเป็นพื้นที่สำหรับประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับศพ ไม่ว่าจะเป็นการทิ้งศพ เผาศพ และฝังศพก็ตาม อีกทั้งบางพื้นที่ถูกปล่อยทิ้งให้รกร้าง บางแห่งเป็นถนนตัดผ่าน หรือสร้างเป็นอาคารสำหรับพักอาศัย

อย่าโดนเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพวัคซีน COVID-19 หลอก!

หากดูเผินๆ ‘เปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพ’ น่าจะเป็นสิ่งที่บอกว่าวัคซีนตัวไหนมีดีกว่ากัน และตัวเลข 95 เปอร์เซ็นต์ก็ดูน่าเชื่อมั่นกว่า 66 เปอร์เซ็นต์ เป็นไหนๆ แต่ที่จริงแล้ว ตัวเลขที่ห่างกันเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถระบุว่าวัคซีนตัวไหนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 มากกว่ากัน เพื่อตอบคำถามว่าทำไมตัวเลขที่สูงจึงไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ก็ต้องย้อนกลับไปดูก่อนว่าเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีน มีที่มาจากอะไร  ในการทดสอบว่าวัคซีนจะใช้งานได้จริง นักวิทยาศาสตร์จะแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับวัคซีนจริงๆ โดยจะปล่อยให้กลุ่มตัวอย่างออกไปใช้ชีวิตตามปกติ เพื่อติดตามผลว่าทั้งสองกลุ่มนี้มีกี่รายที่จะติดเชื้อ  หากเราสมมติจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 10,000 คน สุดท้ายแล้วมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด 100 รายจากกลุ่มที่ได้วัคซีนจริงและยาหลอกเป็นจำนวนเท่ากันที่ 50 คน เท่ากับว่าเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีนชนิดนี้คือ 0 เพราะไม่ว่าคุณจะได้รับวัคซีนหรือไม่ ก็มีโอกาสติดเท่ากัน แปลว่าวัคซีนนี้ไม่มีความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อแม้แต่น้อย  แต่ถ้าผลออกมาว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกมีผู้ติดเชื้อทั้งหมด 95 คน แต่ผู้ที่ได้วัคซีนมีคนติดเชื้อแค่ 5 คนเท่านั้น นั่นแปลว่าวัคซีนตัวนี้มีเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งการหาเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีนทุกชนิดใช้วิธีเดียวกันนี้ทั้งหมด ทำให้ดูเหมือนว่าวัคซีนที่มีเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพมากกว่าต้องได้ผลมากกว่าตามไปด้วย แต่ที่จริงแล้วมีรายละเอียดในการทดสอบมากกว่านั้น   เปอร์เซ็นต์จะมีผล ถ้าวัดในสถานการณ์เดียวกัน ในบรรดาวัคซีนหลายตัวจะเห็นว่า Pfizer-BioNTech […]

บางโพ แหล่งขายไม้ใหญ่สุดในกรุงเทพฯ ที่มีกว่า 200 ร้านค้า จนได้ชื่อว่า “ถนนสายไม้”

‘บางโพ’ ไม่ได้อยู่แค่ในสาวบางโพ แต่คือย่านที่คนในวงการงานช่างต่างรู้จักกันดีในนาม ‘ถนนสายไม้’

‘ต้นไม้’ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ไหม?

เมื่อฝุ่นอนุภาคจิ๋วยังคงลอยฟุ้งอยู่ทั่วอากาศไม่มีท่าทีจะจางหาย จนทำให้ต้องกลับมานั่งคิดว่า กรุงเทพฯ ยังพอมีทางเลือกไหนบ้าง ที่ทุกคนสามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5

‘เราชนะ’ แล้วหรือยัง

ชวนตั้งคำถามกับรัฐบาลถึงโครงการต่างๆ ว่ามาตรการเหล่านั้นครอบคลุมทุกคนจริงหรือไม่ ข้อดีที่อยากชื่นชม และข้อบกพร่องที่อยากให้รัฐทบทวน

Koganeyu เซนโต 88 ปีที่รีโนเวตตัวเองให้มีบาร์คราฟต์เบียร์ บูท DJ และภาพวาดศิลปินให้แช่ ชน ชิล

หลายคนที่รู้จัก ‘อนเซ็น’ อาจจะยังไม่รู้จัก ‘เซนโต’ หรือโรงอาบน้ำสาธารณะ อธิบายง่ายๆ อนเซ็นใช้น้ำแร่ เซนโตใช้น้ำร้อน เป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ใช้การแช่ช่วยคลายความเหนื่อยล้าและเสริมสุขภาพให้คนญี่ปุ่นมานาน สมัยก่อนในโตเกียวมีเซนโตเยอะพอๆ กับร้านสะดวกซื้อ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป คนสะดวกอาบน้ำที่บ้านมากกว่า จำนวนเซนโตจึงค่อยๆ ลดลงอย่างน่าใจหาย จากปี 1975 ที่เคยมี 2,500 แห่ง ตอนนี้เหลือเพียง 473 แห่ง โชคดีที่ Koganeyu เป็นหนึ่งในนั้น ฃเซนโตแห่งย่านคินชิโจนี้เป็นเซนโตเก่าแก่ที่อยู่คู่ชุมชนมานาน ดำเนินกิจการมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 และเพิ่งรีโนเวตเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2020 Koganeyu กลับมาในดีไซน์สุดเท่ที่ได้ดีไซเนอร์ชื่อดังหลายคนมาช่วยออกแบบ พร้อมคราฟต์เบียร์บาร์และบูทดีเจ แจ่มไม่แจ่มก็ได้ลง Monocle และนิตยสารอีกเพียบ รวมไปถึงได้รางวัล Suanachelin (รางวัลสำหรับซาวน่ากรุบกริบ) ประจำปี 2020 ด้วย กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ไม่ใช่การเดินทางที่สะดวกรวดเร็วเหมือนชินคันเซ็น วัฒนธรรมชวนแช่อันเวรี่เจแปนนีสนี้จะอยู่รอดได้อย่างไร วันนี้เราได้สองสามีภรรยา Shinbo เจ้าของ Koganeyu มาเล่าให้ฟังถึงเสน่ห์ของการอาบน้ำนอกบ้านและการปรับตัวเข้ากับยุคสมัยได้อย่างน่าทึ่ง Glocal Sento ภารกิจเผยแพร่วัฒนธรรมการแช่ Koganeyu […]

‘กิ่งหว้า’ สัญลักษณ์ต่อต้านรัฐประหารของชาวพม่า

ภาพของประชาชนชาวเมียนมาถือยอดอ่อน ‘ต้นหว้า’ โบกสะบัดไปมาในการประท้วงเผด็จการทหารที่เมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งกลายเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงจากสังคมภายนอกอย่างเป็นวงกว้าง ดังนั้น คอลัมน์ Urban Tales ครั้งนี้จะพาผู้อ่านไปหาคำตอบว่า ‘ต้นหว้า’ กับ ‘การเรียกร้องของชาวเมียนมา’ เกี่ยวข้องกันอย่างไร

Great American Rail-Trail เส้นทางปั่นจักรยานเชื่อม 12 รัฐในอเมริกา

‘Great American Rail-Trail’ ที่ทอดตัวยาวครอบคลุม 12 รัฐ ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา หนึ่งในโปรเจกต์ที่น่าจับตามองซึ่งปัจจุบันเปิดให้ใช้งานบางส่วนแล้ว โดยอีกไม่กี่ปีนับจากนี้อาจกลายเป็นสวรรค์ของนักปั่นที่ชื่นชอบการขี่จักรยานเป็นชีวิตจิตใจ

ทางม้าลายแรกของโลกที่ The Beatles เคยเดินข้าม

ทางม้าลาย สัญลักษณ์บนท้องถนนสำหรับเดินข้ามที่ผู้คนส่วนมากเข้าใจว่า แถบขาวสลับดำที่ถูกฉาบได้แรงบันดาลใจมาจากลายสองสีของเจ้าม้าลาย แต่รู้หรือเปล่าว่าความเข้าใจที่ว่านั้นผิดมหันต์ แถมช่วงแรกทางม้าลายยังไม่ใช่สีขาว-ดำ แล้วความจริงเป็นอย่างไร คอลัมน์ Urban Tales ชวนค้นคำตอบตั้งแต่จุดแรกเริ่มของทางม้าลายไปพร้อมกัน  ก่อนไปถึงเรื่องราวของสัญลักษณ์สำหรับข้ามถนน ขอเล่าประวัติการเดินข้ามถนนสู่กันฟังเสียก่อน ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณราว 2,000 ปีที่แล้วในเมืองปอมเปอี นครโรมันโบราณ ตอนนั้นใช้หินก้อนใหญ่วางต่อกันโดยเว้นช่องว่างที่พอดีทั้งคนเดินข้าม และรถม้าวิ่งผ่าน เพื่อไม่ให้คนต้องย่ำเท้าลงถนนที่ด้านใต้เป็นระบบระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูล  เวลาหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ จากสิ่งประดิษฐ์ของนครปอมเปอีที่ล่มสลาย สู่จุดเริ่มต้นของทางข้ามถนนอีกครั้งในเดือนธันวาคม ปี 1868 ที่ถนน ‘Bridge Street’ เมืองเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเกิดขึ้นจากความคิดของ ‘John Peake Knight’ วิศวกรทางรถไฟผู้มองหาหนทางให้ชาวเมืองข้ามถนนที่เต็มไปด้วยรถราอย่างปลอดภัย ด้วยการนำเสาหางปลา (Semaphore Arm) ซึ่งเป็นสัญญาณของทางรถไฟมาปรับใช้ โดยด้านบนติดตะเกียงแก๊ส (Gas Illuminated Lights) สีเขียวและแดง และมอบหน้าที่ให้ตำรวจเป็นคนสับเสาขึ้น-ลงเพื่อส่งสัญญาณให้คนเดิน แต่เนื่องจากตะเกียงมีส่วนผสมของแก๊สที่ง่ายต่อการระเบิด ในปี 1896 จึงยกเลิกการใช้สัญลักษณ์เสาหางปลาสำหรับการข้ามถนน และไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้เป็นเวลานานกว่า 50 ปี  เข้าสู่ช่วงทศวรรษ 1930 สหราชอาณาจักรออกกฎหมายสำหรับการใช้ถนนปี […]

‘ซองโด’ เมืองอัจฉริยะที่ตั้งเป้าลดคาร์บอนฯ ให้เป็นศูนย์

เกาหลีใต้ไม่ได้มีดีแค่โซล แทกู หรือปูซาน แต่ยังมีเมืองใหม่ที่น่าสนใจอย่าง ‘ซองโด’ เมืองที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจ อสังหาริมทรัพย์ ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนที่อยู่ในเมืองนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน

จากรันเวย์สู่ลู่วิ่ง จีนเปลี่ยนสนามบินเก่าเป็นสวนสาธารณะ

ชวนไปดูพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของเซี่ยงไฮ้ ที่หยิบเอารันเวย์เก่าของสนามบินที่ปิดบริการมาตั้งแต่ปี 2011 มาปัดฝุ่นใหม่อย่างน่าสนใจ ด้วยการออกแบบโดยอิงจากประวัติศาสตร์ของสถานที่ จึงออกมาเป็นสวนสาธารณะทางยาวรูปร่างเหมือนกับรันเวย์ที่เปลี่ยนจากเครื่องบินมาให้คนวิ่ง แถมยังจัดสวนเล็กๆ ระหว่างทางเดิน แทนที่โล่งกว้างข้างๆ รันเวย์ ที่เห็นในสนามบินทั่วไป และยังมีสวนซับน้ำฝน และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่เข้ามาช่วยให้คุณภาพน้ำไปจนถึงคุณภาพดินของเซี่ยงไฮ้ดีขึ้นอีกด้วย  สนามบินเก่าสู่พื้นที่สาธารณะ ‘Longhua Airport’ คือสนามบินพาณิชย์ที่อยู่คู่คนเซี่ยงไฮ้มาตั้งแต่ปี 1949 – 2011 หลังจากปลดประจำการมาเป็นเวลานาน บริษัทสถาปนิก Sasaki เจ้าของคอนเซปต์ Better design, together ก็ใช้พลังแห่งการออกแบบชุบสนามบินเก่าให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งในชื่อ ‘Xuhui Runway Park’  พวกเขาเปลี่ยนรันเวย์สำหรับเครื่องบิน เป็นสวนสาธารณะแนวยาวตามรูปแบบของรันเวย์ดั้งเดิม ตลอดเส้นทาง 1,830 เมตร โดยมีทั้งทางเดินสำหรับชื่นชมสวนดอกไม้ พร้อมลู่วิ่ง และเลนจักรยานสำหรับผู้ที่ต้องการออกกำลังกายท่ามกลางความร่มรื่น เพราะพื้นที่สีเขียวคือชีวิต ‘Dou Zhang’ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโสของ Sasaki บอกว่า สวนสาธารณะแห่งนี้คือนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยฟื้นฟูเมืองและเติมลมหายใจให้เซี่ยงไฮ้  ซึ่งสวนนี้ออกแบบโดยคำนึงถึงประวัติศาสตร์ของสถานที่ แต่ในขณะเดียวกันก็ใส่ความทันสมัยลงไปเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานที่หลากหลาย เพราะคำนึงถึงผู้ใช้งานทุกกลุ่มได้ทำกิจกรรมที่ตนเองต้องการและผ่อนคลายได้อย่างเต็มที่โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย   ไม่ทิ้งเสน่ห์ดั้งเดิม เซี่ยงไฮ้คือเมืองที่เติบโตอย่างไม่หยุดยั้งด้วยจำนวนประชากรที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้พวกเขามองหาหนทางเพิ่มพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่อยู่เสมอ แต่ในขณะเดียวกันชาวเซี่ยงไฮ้ก็ยังโอบกอดประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขาไว้อย่างงดงาม  เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสวยงามในอดีต […]

1 22 23 24 25 26 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.