‘โฆษณารถเมล์’ สิ่งกวนใจคนโหน มรดกยุค 60 ที่หันมาใช้เทคโนโลยีเดียวกับ ‘ผ้าม่านบังแสง’

‘รถเมล์ไทย’ กับ ‘โฆษณา’ ของคู่กันที่เกิดมาก่อน ขสมก. ตั้งแต่เวอร์ชันแปะท้าย Wrap รอบคัน จนสติกเกอร์ปรุ

ทำไมถนนปูดเก่ง จนรถพากันเหินไม่หยุด

ใครขับรถไปจนถึงเดินบนฟุตพาทแล้วอาจชำเลืองตาไปเห็นกับสภาพ ‘ถนนปูด’ ที่ปูดเก่งไม่ไหว จนพาให้รถหลายคัน ทั้งรถยนต์ ไปจนถึงมอเตอร์ไซค์เหินเวหา ล้มระเนระนาดมานับไม่ถ้วน แล้วสภาพถนนปูดนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร คอลัมน์ Curiocity ชวนมาหาคำตอบกัน ก่อนอื่นชวนทำความเข้าใจก่อนว่า ถนนในบ้านเรามีทั้ง ‘ถนนลาดยางมะตอย’ หรือ ถนนแบบผิวทางอ่อน (Flexible Pavement) ซึ่งจะใช้หลักการออกแบบตามมาตรฐานของสถาบันยางมะตอย (Asphalt Institute) โดยจะมีอายุการใช้งานราว 20 – 30 ปี กับอีกรูปแบบถนนคือ ‘ถนนคอนกรีต’ หรือ ถนนแบบผิวทางแข็ง (Rigid Pavement) ใช้หลักการออกแบบตามวิธีของสมาคมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement Association : PCA) โดยจะมีอายุการใช้งานอย่างน้อย 40 – 50 ปี สาเหตุถนนปูดคืออะไร สำหรับอาการถนนบวม (Upheaval) หรือเรียกง่ายๆ ว่าถนนปูดนั้น เป็นความเสียหายด้านการใช้งาน (Functional Failure) ประเภทการเปลี่ยนรูปร่าง (Distortion) และมักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งกับถนนประเภทลาดยางมะตอยที่มีชั้นถนนเป็นดินเดิมของพื้นที่นั้นๆ ซึ่งสาเหตุของการเกิดมีดังนี้ […]

‘กรวยจราจร’ เหตุเกิดจาก พนง. ทาสีถนน จนได้เครื่องหมายจราจรที่คนทั่วโลกต้องหลีกทาง

กว่าจะมาเป็น ‘กรวยจราจร’ สีส้มแปร๊ดตั้งตระหง่านอยู่บนท้องถนน และเป็นสัญลักษณ์จราจรของสากลโลกที่บอกว่าเป็น ‘พื้นที่ห้ามเข้า’ ชนิดที่ต่อให้คุณบิดคันเร่งสุดแรง เหมือนดอมินิก ทอเรตโตเข้าสิงก็ต้องหักพวงมาลัยหลบทางให้ ซึ่งก่อนหน้านั้นมนุษย์เราเคยใช้ ‘แผงไม้’ กันมาก่อน แต่บ่อยครั้งที่โดนรถยนต์สอยกระจุยกระจาย แถมสร้างอันตรายให้ผู้ขับขี่ทวีคูณ ทำให้การใช้แผงไม้จึงไม่เวิร์กอย่างแรง! ‘Charles D. Scanlon’ พนักงานทาสีบนท้องถนนในเมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา คลุกคลีกับรถที่เหยียบเส้นถนนที่ลงสีไว้แล้วยังไม่แห้งจนเลอะเทอะพื้นไปทั่ว หรือรถยนต์พุ่งเข้ามาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยขณะปฏิบัติงานอยู่บ้าง ทำให้เขารวบปัญหาทั้งหมดแล้วคิดค้น ‘กรวยจราจร’ เพื่อบอกรถยนต์ที่ขับผ่านไปมา กรุณาใช้ช่องทางอื่น เพราะสีเส้นถนนยังไม่แห้งค้าบโผ้มมมม (เสียเวลาทาใหม่แหละ) หลังจากตัดสินใจว่าจะทำกรวยจราจร ในปี 1940 เขาจึงเอาหนังมาเย็บเป็นทรงกรวยถูๆ ไถๆ ใช้งานไปก่อน หากรถคันไหนเกิดอุบัติเหตุขับชนกรวย อย่างน้อยมันก็ไม่ทำอันตรายต่อรถและผู้ขับขี่แน่นอน ซึ่งพอได้ลองใช้ปรากฏว่าเวิร์กซะงั้น เพราะรถหลายคันทยอยขับเบี่ยงทางและเดาได้ว่าข้างหน้าต้องมีการทาเส้นถนนอยู่แน่ๆ  ในปีเดียวกัน Scanlon ยื่นจดสิทธิบัตร ‘กรวยจราจร’ และได้รับสิทธิบัตรในปี 1943 ในชื่อว่า ‘Safety marker (US 2817308)’ แถมเขายังตั้งกฎสำหรับการผลิตกรวยจราจรขึ้นมา 3 ข้อ1. ใช้สีสันที่รถต้องมองเห็นได้ง่าย และวัสดุที่ใช้ต้องไม่สร้างความเสียหายแก่รถยนต์2. ใช้พื้นที่จัดเก็บน้อยและขนย้ายได้ง่าย3. ถ้ากรวยโดนรถเสยจนเหินฟ้าต้องตกลงมาในแนวตั้งเหมือนเดิม  […]

Smart Pole เสาไฟเป็นได้มากกว่าที่คิด

Smart Pole หรือเสาไฟอัจฉริยะ เป็นแนวคิดในการนำเอาเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสานสร้างสิ่งใหม่ ให้มีหน้าที่การทำงานที่หลากหลาย สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่สิ่งสำคัญที่เมืองของเราขาดในตอนนี้ แต่หมายถึงศักยภาพที่มากขึ้นของโครงสร้างพื้นฐานเมือง คุณภาพที่มากขึ้นของประชากรไปในเวลาเดียวกัน  และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเมืองให้เข้าสู่ Smart City ซึ่งคำว่าเมืองอัจฉริยะอาจไม่ได้หมายรวมถึงแค่เมืองทางกายภาพ แต่อาจหมายรวมถึงศักยภาพและความสามารถที่เพิ่มขึ้นของผู้คนภายในเมือง ผ่านการใช้เทคโนโลยีในวิถีชีวิตประจำวัน พื้นที่ริมถนน หากอยากเริ่มติดตั้งเสา Smart Pole สักต้น พื้นที่ริมถนนบริเวณจุดรอรถสาธารณะเป็นจุดที่ควรนำร่องติดตั้ง Smart Pole เป็นอันดับต้นๆ เพราะเป็นบริเวณที่เกิดกิจกรรมของคนหลายช่วงอายุ มีผู้คนสัญจรผ่านไปมา มีคนนั่งรอใช้บริการรถสาธารณะ ฟังก์ชันที่อยากนำเสนอจึงอยากเริ่มจากอะไรที่ง่ายๆ แต่ใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวันของคนเมือง เริ่มต้นจากการเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติอย่างแสงอาทิตย์ (Solar Cell) เพื่อกลบจุดอ่อนที่ว่า เสาไฟแบบเดิมมีฟังก์ชันการใช้งานเพียงช่วงเวลากลางคืน แต่ Smart Pole สามารถกักเก็บพลังงานธรรมชาติในตอนกลางวันเพื่อใช้หล่อเลี้ยงภายในระบบ ในยุคที่คนทั้งโลกสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมและมีนโยบายกระตุ้นให้ประชากรโลก หันมาใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการใช้พลังงานน้ำมัน รถพลังงานไฟฟ้าจึงได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างแพร่หลายในประเทศโลกที่ 1 แต่เมื่อมองย้อนกลับมาในประเทศไทย หนึ่งสิ่งที่ทำให้นโยบายการใช้รถยนต์ไฟฟ้ายังไม่ประสบความสำเร็จนัก เป็นเพราะปัญหาสถานีชาร์จไฟไม่เพียงพอต่อความต้องการ การเกิดขึ้นของ Smart Pole ที่มีฟังก์ชัน Charging Station จึงกลายเป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งจะร่วมผลักดันให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า […]

FYI

เรื่องนี้ต้องรู้ ลงทะเบียนฉีดวัคซีนที่ไหนได้บ้าง

ตอนนี้ทั้งหน้าฟีด จอทีวี หรือแม้แต่กลุ่มไลน์ เต็มไปด้วยข่าวสารการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่มีมาอัปเดตกันล้นหลาม โดยเฉพาะหลังจากวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ได้มีการเปิดให้คนลงทะเบียนเฉพาะพื้นที่สีแดงเข้มและพื้นที่เศรษฐกิจ ซึ่งจะปูพรมฉีดวัคซีนตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป สร้างความสับสนให้ใครหลายคนว่าสรุปแล้วเราจองฉีดวัคซีนได้ช่องทางไหนบ้าง Urban Creature รวบรวมช่องทางการลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 (อัปเดตวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564) มาให้แต่ละคนตัดสินใจว่า หากมีความประสงค์รับวัคซีนต้องลงทะเบียนผ่านช่องทางไหน 01 LINE OA และแอปฯ หมอพร้อม เวอร์ชัน 2 ช่องทางแรกที่น่าจะคุ้นเคยกันดีอย่าง ‘หมอพร้อม’ ที่ไม่กี่วันมานี้มีการออกมาแถลงว่าสั่งชะลอ ล่าสุด วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. ระบุว่า ไม่ได้มีการยกเลิกการลงทะเบียนฉีดวัคซีนผ่านหมอพร้อมแต่อย่างใด เพียงแต่เปิดโอกาสให้มีช่องทางการเปิดลงทะเบียนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการฉีดวัคซีนมากขึ้น พร้อมยืนยันว่าใครที่จองผ่านหมอพร้อมแล้วจะได้ฉีดวัคซีนแน่นอน Source : https://bit.ly/3uxHZeA 02 รพ.ใกล้บ้าน รพ.ที่มีประวัติการรักษา หรือ รพ.ส่งเสริมสุขภาพตำบล […]

สัญญาณไฟเหลือง เตรียมหยุด หรือ เตรียมเหยียบ

ฮันแน่~ ชอบเร่งเครื่องตอนเห็นไฟเหลืองกันหรือเปล่า ถ้าเคยทำหรือยังทำอยู่อยากให้ลองอ่านเรื่องราวเหล่านี้ดูสักนิด แล้วคุณอาจจะเปลี่ยนความคิดใจเย็นลง เมื่อไฟสีเหลืองอำพันแสดงอยู่บนเสาสัญญาณจราจร เราต้องทำตัวอย่างไรดี หลักการทำงานง่ายๆ ของไฟจราจรคือการใช้สีบ่งบอกสัญญาณการขับขี่ ไฟเขียวคือสัญญาณให้รถวิ่ง ในทางกลับกันไฟแดงคือสัญญาณบ่งบอกว่าให้หยุดรถ ทว่าไฟเหลืองกลับมีความพิเศษมากไปกว่านั้น เพราะสำหรับบางคนเห็นไฟแล้วเตรียมตัวหยุด แต่หลายคนเมื่อเห็นไฟเหลืองก็เปลี่ยนตัวเองเป็นวัวกระทิงที่พร้อมพุ่งกระโจนใส่ไฟเหลืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวมีโอกาสก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้สูงกว่าปกติ | ขับรถฝ่าไฟเหลืองผิดมั้ยนะ คำตอบคือผิด แต่มีข้อยกเว้นบางกรณีอ้างอิงตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 22 ระบุไว้ว่าผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรที่ปรากฏข้างหน้าในกรณีต่อไปนี้ สัญญาณจราจรไฟสีเหลืองอำพัน ให้ผู้ขับขี่เตรียมหยุดรถหลังเส้น เพื่อเตรียมปฏิบัติตามสัญญาณที่จะปรากฏต่อไป เว้นแต่ผู้ขับขี่ที่ได้ขับเลยเส้นรถหยุดไปแล้วขณะเกิดไฟเหลืองให้ขับรถเลยไปได้ เท่ากับว่าถ้าขับรถผ่านเส้นหยุดก่อนที่ไฟเหลืองขึ้นมีโทษปรับ 1,000 บาท นั่นเอง | แต่ในบางครั้งเราก็ไม่ได้ตั้งใจขับรถฝ่าไฟเหลือง หากไม่นับในบางครั้งที่เราอาจไม่ได้ตั้งใจจะทำผิด แต่การออกแบบสัญญาณไฟจราจรดันไม่เอื้อต่อการขับขี่เท่าที่ควร เช่น สัญญาณไฟจราจรบางแยกไม่มีตัวเลขนับถอยหลังระบุให้ชัดเจน หนำซ้ำบางแยกไฟเขียวยังไม่มีฟังก์ชันกะพริบเพื่อส่งสัญญาณเตือนผู้ขับขี่ก่อนจะเปลี่ยนเป็นไฟเหลือง แต่จะเปลี่ยนแบบฉับพลันในขณะที่รถขับด้วยความเร็ว ทำให้ชะลอรถไม่ทันเพราะการเบรกกะทันหันอาจจะเกิดอุบัติเหตุตามมาได้ จึงต้องตัดสินใจขับรถฝ่าไปในที่สุด ความจริงตามกฎจราจรประเทศไทยมีระยะเวลาไฟเหลืองเฉลี่ยราว 3 วินาทีบวกกับระยะเวลาไฟแดงของจุดอื่นอีก 2 วินาทีเพื่อความปลอดภัย โดยระยะเวลาดังกล่าวถูกคำนวณให้คนขับมีเวลาเพียงพอเพื่อจะหยุดรถทันเมื่อขับขี่รถด้วยความเร็วตามกฎหมาย แต่หากขาดสัญญาณบอกก่อนเปลี่ยนสีก็ยากที่จะคำนวณระยะในการเบรกรถได้ ซึ่งพบว่าแยกไหนมีระยะเวลาไฟเหลืองต่ำกว่า 3 วินาที สามารถแจ้งสำนักจราจรฯ กทม. มาแก้ไขให้ตรงมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยเช่นกัน […]

ทำไมมอเตอร์ไซค์ห้ามขึ้นสะพาน ความเหลื่อมล้ำบนถนน ดีต่อรถยนต์แต่ไม่เอื้อพาหนะสองล้อ

ภาพอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์คว่ำบนสะพานถูกกั้นด้วยกระจกรถยนต์หนาไม่กี่มิลลิเมตรที่ขับผ่านไปคันแล้วคันเล่า ถ้ามองจากวิวบนพาหนะ 4 ล้อ บ้างอาจคิดว่าเจ้าของมอเตอร์ไซค์เหล่านั้นน่าสงสาร บ้างอาจคิดว่าขับมอเตอร์ไซค์อันตรายจนรีบบอกลูกที่นั่งเบาะข้างๆ ว่าอย่าไปขับเชียวนะ บ้างอาจคิดว่าทำผิดกฎหมาย ‘ห้ามขึ้นสะพาน’ เองนี่ หรืออาจคิดว่าคนขับมอเตอร์ไซค์ผิดตั้งแต่เลือกขับแล้ว เพราะกฎหมายเข้มงวดสารพัดสิ่งถูกบังคับใช้กับคนขับมอเตอร์ไซค์เป็นส่วนใหญ่ แม้อุบัติเหตุบางส่วนเกิดขึ้นเพราะคนขับรถยนต์ และลักษณะการออกแบบของสะพานก็ตาม นั่นน่ะสิ ทำไมคนขับมอเตอร์ไซค์ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ (มีจำนวน 21,452,050 คัน มากกว่ารถยนต์กว่า 10 ล้านคันเลยนะ) ถึงห้ามขึ้นสะพานฝ่ายเดียว ตามมาตรา 139 (1) ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 3 กล่าวว่า ห้ามรถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถยนต์สามล้อ และล้อเลื่อนลากเข็นทุกชนิดเดินบนสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ และสะพานข้ามแม่น้ำ รวม 39 สาย  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความเห็นเกี่ยวกับการอนุญาตให้มอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานจากกลุ่มประชาชนตัวอย่างในเขต กทม. 1,254 คน พบว่า ร้อยละ 51.12 ไม่เห็นด้วย เพราะสะพานข้ามแยกค่อนข้างลาดชัน ไม่เหมาะกับมอเตอร์ไซค์ เนื่องจาก ‘รถยนต์’ […]

ฉีดครบโดสแล้วหายเลย? ฉีดแล้วตายใครเยียวยา? ถาม-ตอบ ‘วัคซีนโควิด-19’ อะไรที่ควรรู้

การมีอยู่ของวัคซีนโควิด-19 ทำให้เกิดคำถามมากมายวิ่งเข้ามาในหัวแทบทุกวัน ยิ่งคนไทยซึ่งไม่สามารถเลือกยี่ห้อวัคซีนฉีดเอง แถมวัคซีน 2 ชนิดอย่าง Sinovac และ AstraZeneca ที่ใช้ฉีดในประเทศยังเกิดข้อครหาด้านประสิทธิภาพและอาการแพ้ ยิ่งทำให้ประชาชนอย่างพวกเรากังวลเข้าไปอีก

Osaka กับแผน Soft Power เรียกคืนเสน่ห์ Manchester of East Asia ด้วยมิวเซียมบ้านโอซาก้าแท้แห่งแรกในญี่ปุ่น

Osaka Museum of Housing and Living พิพิธภัณฑ์โอซาก้าบรรยากาศ Machiya ที่สร้างโดยช่างผู้เคยสร้าง Katsura Imperial Villa

58 ปีที่มีคำว่า ‘สมองไหล’ ภาวะอนาคตชาติเลือนรางจนต้องแก้ด้วยยาแรง ‘ย้ายประเทศกันเถอะ’

ภาวะสมองไหล ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่กลับมีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดอะไรขึ้นหากกำลังหลักของประเทศทิ้งบ้านเกิดไป

เฉาจัง! 10 เขตที่มีพื้นที่ต้นไม้ต่อคนน้อยที่สุดใน กทม.

สารพัดโครงการชวนคนเมืองปลูกต้นไม้ของกรุงเทพมหานครผุดขึ้นทุกปี ตั้งแต่ชวนปลูกต้นไม้หนึ่งแสนต้น มากไปจนถึงล้านกล้าสู่ล้านต้น เพื่อสร้างกรุงเทพฯ เมืองสีเขียวให้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามปี 2563 กรุงเทพฯ กลับมีพื้นที่สีเขียวเพียง 6.99 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งน้อยกว่าค่ามาตรฐาน 9 ตารางเมตรต่อคนที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ‘พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง’ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครจึงตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้คนกรุงเทพฯ 10 ตารางเมตรต่อคนให้ได้ ภายใต้โครงการ Green Bangkok 2030 แต่ตอนนี้ไม่ว่าจะปลูกเท่าไหร่ ต้นไม้ที่ควรจะเติบโตละลานตาเต็มกรุงเทพฯ ก็ยังกระจายไปไม่ครบทุกเขตเสียที เพราะต้นไม้มีความสำคัญกับเมืองและคนอยู่ จึงมีหลายภาคส่วนศึกษาเรื่องพื้นที่ต้นไม้ เพื่อช่วยกันผลักดันให้ประชากรกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้พอหายใจ และทีม mor and farmer เป็นหนึ่งในนั้น สี่สถาปนิกรั้วธรรมศาสตร์ใช้เทคโนโลยีในการคิด วิเคราะห์ และออกแบบสื่อเพื่อพัฒนาเมือง ชุมชน และผู้คน ได้วิเคราะห์พื้นที่ต้นไม้ในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานครปลายปี 2560 จนถึงต้นปี 2561 ด้วยเครื่องมือ Machine Learning สำหรับหาพื้นที่ต้นไม้จากภาพถ่ายดาวเทียม ผลปรากฏว่า กรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้เพียง 227 ตารางกิโลเมตรจากพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด […]

ยิ่งหยุดพัก งานยิ่งปัง?

วันศุกร์ทีไร ‘มนุษย์แรงงาน’ ดี๊ด๊าทุกที เพราะเป็นวันสุดท้ายของการทำงานในสัปดาห์! เพื่อชาร์จพลังกลับไปลุยงานต่อวันจันทร์ ว่าแต่การหยุดพัก 2 วันหลังจากเคร่งเครียดกับงานมายาวๆ 5 วันนั้นช่วยให้สมองและร่างกายเราพร้อมกลับไปทำงานจริงหรือเปล่า เพราะยังว่ากันว่าหลังจากได้พักยาวๆ แล้ว เมื่อกลับไปทำงานอีกครั้ง ประสิทธิภาพของคนทำงานจะดีขึ้น จนผลงานที่ออกมาเต็มไปด้วยคุณภาพ เรื่องนี้จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ คอลัมน์ Curiocity ชวนค้นคำตอบฉลองวันแรงงานกัน  ทำ 5 พัก 2 มาจากไหน ย้อนกลับไปศตวรรษที่ 19 สมัยที่ยังไม่มีกฎหมายแรงงาน ทำให้นายจ้างกำหนดเวลาเข้า-ออกงาน รวมถึงชั่วโมงทำงานอย่างไรก็ได้ บางที่ดีหน่อยให้หยุดพัก 1 วัน ไม่เสาร์หรืออาทิตย์ขึ้นอยู่กับวันประกอบพิธีของแต่ละศาสนา แต่บางที่ก็แย่เกินใครเพราะไม่มีวันหยุด และให้พนักงานโหมทำงานมากถึง 14 ชั่วโมง/วัน เนื่องจากงานหนักจนคนทำงานทนไม่ไหว จึงเกิดการนัดหยุดงานเพื่อออกมาประท้วง ท้ายที่สุดพี่น้องแรงงานเลือดนักสู้ก็ได้เวลาทำงานวันละ 8 ชั่วโมง และหลายประเทศบรรจุเข้าข้อกฎหมาย ประกอบกับปัญหาการขอหยุดงานไม่ตรงกันของแต่ละศาสนาที่ยากต่อการจัดการ และประสิทธิภาพการทำงานตกลง จึงมีข้อกำหนดเพิ่มเติมให้วันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันหยุดงานประจำสัปดาห์ไปโดยปริยาย  ปี 1926 ‘เฮนรี ฟอร์ด’ เจ้าของฟอร์ด มอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอเมริกา คือนายทุนแรกที่ทดลองให้คนงานทำงานแค่ […]

1 20 21 22 23 24 45

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.