CITY
อัปเดตทุกเทรนด์ชีวิตคนกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ที่น่าสนใจรอบโลกได้ที่ Urban Creature เพื่อเปิดโลกไอเดียเกี่ยวกับชีวิตวิถีใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ เทรนด์การใช้ชีวิต ไปจนถึงเรื่องราวมากมายในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดความเข้าใจต่อภาพรวมของสังคม ที่จะส่งผลให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สังคมและประเทศของเราจะได้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น
Urban Sketch คน-กรุงเทพฯ-ความคิด ถ้าเมืองที่เราอยู่มีชีวิต เขาจะเป็นคนอย่างไร ?
คุณลองนึกดูถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหรือควรห่างคนแบบนี้กันนะ . เมื่อเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ เราจึงได้คิดโจทย์สนุกๆ ให้ซีรีส์ Bangkok Hope ในการให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจิตนาการของตัวเอง หน้าต้าจะน่ารักหรือน่าคบไหม จะตรงกับสิ่งที่คุณคิดอยู่หรือเปล่า เราตามมาดูพร้อมๆ กันในคลิปนี้เลย! . #UrbanCreature #TheProfessional #BangkokHope #ReinventTheWayWeLive #ผู้ว่ากทม #เลือกตั้งผู้ว่าฯ #กรุงเทพฯ
Bedok & Siglap เที่ยวชายฝั่งตะวันออกสิงคโปร์ ย่านรวมกิจกรรมและร้านอาหารนานาชาติ
เราเชื่อว่าหลายๆ คนคงต้องเคยมาเที่ยวสิงคโปร์กันบ้างแล้ว ด้วยความที่ประเทศเกาะเล็กๆ แห่งนี้เป็นที่ที่ไม่ไกลจากบ้านเราเลย บินจากกรุงเทพฯ มาใช้เวลาสองชั่วโมงกว่าๆ ก็ถึง (ขับรถเผชิญกับรถติดใน กทม. บางทีอาจจะนานกว่านั้น) แต่เราก็แอบมั่นใจว่าคนจำนวนไม่มากในหมู่คนที่เคยมาเที่ยวสิงคโปร์แล้วจะเคยลองออกเดินทางนั่งรถไฟหรือรถเมล์ไปสำรวจจุดอื่นๆ นอกจากในย่านเมืองหลัก เช่น ถนน Orchard, Gardens by the Bay และ Marina Bay Sands วันนี้เราขออาสาพาคุณไปเดินสัมผัสย่าน Bedok (เบด็อก) และ Siglap (ซิกแลป) ย่านพักอาศัยทางตะวันออกของสิงคโปร์ซึ่งอยู่ห่างจากสวนชายฝั่งตะวันออก (East Coast Park) และสนามบิน Changi เพียงเล็กน้อย เรามั่นใจว่าหลังจากที่คุณอ่านบทความนี้จบลง คุณจะต้องรู้สึกอยากลองไปเยี่ยมดูสักครั้งบ้างล่ะ เล่าประวัติของ Bedok และ Siglap ย่านเล็กๆ สองย่านนี้ให้ฟังกันสักเล็กน้อยก่อนที่เราจะเริ่มออกเดินทางกัน สองย่านที่ติดกันนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากแนวชายฝั่งทะเลทางฝั่งตะวันออกของสิงคโปร์ โดยก่อนปี 1960 แหล่งรายได้หลักของชาวบ้านในสมัยนั้นก็คือมะพร้าว และการทำประมง ปัจจุบัน Bedok และ Siglap เป็นย่านที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ที่ถูกพัฒนาใหม่ในสิงคโปร์ ทำให้รอบบริเวณนี้เต็มไปด้วยร้านอาหาร และร้านค้าน่าสนใจมากมาย […]
ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ
ถ้ากรุงเทพฯ เป็นมนุษย์ คุณคิดว่ามันจะมีรูปร่างหน้าตาแบบไหน มีบุคลิกและนิสัยหรือจิตใจยังไง จะน่าคบหาหรือควรถอยห่างคนแบบนี้กันนะ เมื่อพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกรุงเทพฯ กับคนกรุงเทพฯ หรือคนต่างจังหวัดที่มาอาศัยอยู่ในเมืองแห่งนี้ เราคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะนิยามเป็นความสัมพันธ์ที่ทั้งรักทั้งชัง (Love-Hate Relationship) รักในแง่ความเจริญ มีชีวิตชีวา มีความสร้างสรรค์ และมีโอกาสมากมายให้ไขว่คว้า ขณะเดียวกันก็ชังที่ความเจริญนี้มีเพียงวัตถุ แต่โครงสร้างพื้นฐานของเมืองไม่ได้งอกงามตามไปด้วย ผู้คนยังต้องใช้ชีวิตท่ามกลางความเครียด ฝุ่นควัน หมดเวลากับการเดินทางเป็นชั่วโมงๆ หมุนวนไปกับการทำงานรายวันที่ยากจะมีโอกาสหลุดพ้นจากความเหลื่อมล้ำ เมื่อวินาทีนี้ เรากำลังเข้าใกล้ฤดูกาลเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ อยู่ทุกชั่วขณะ คอลัมน์ Urban Sketch จึงใช้โอกาสนี้นำเสนอเสียงสะท้อนของคนกรุงเทพฯ ผ่านภาพวาดในหัวข้อ ‘ถ้ากรุงเทพฯ กลายเป็นมนุษย์ หน้าตาและนิสัยจะเป็นแบบไหนกันนะ’ โดยคนกรุงเทพฯ และคนต่างจังหวัดที่อาศัยอยู่เมืองหลวงแห่งนี้ จำนวนสามคน ต่างเพศ ต่างวัย ต่างอาชีพ ต่างมุมมอง พวกเขามองกรุงเทพฯ เป็นคนแบบไหน เรายื่นโจทย์ให้ทุกคนวาดภาพกรุงเทพฯ ออกมาเป็นคนด้วยจินตนาการของตัวเอง หน้าตาจะน่ารักหรือน่าคบไหม เราตามไปดูพร้อมๆ กันได้เลย ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์ อายุ 30 ปีอาชีพ สถาปนิกภูมิลำเนา กรุงเทพฯ “เราคิดว่า ถ้าต้องวาดกรุงเทพฯ […]
Bangkok vs Krung Thep Maha Nakhon ทั่วโลกรู้จักกรุงเทพฯ ในชื่อไหนมากกว่ากัน?
สัปดาห์ที่แล้ว เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ล้นหลาม หลังมีรายงานว่า ราชบัณฑิตยสภาเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเมืองหลวง ‘กรุงเทพมหานคร’ ของไทย จาก ‘Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon’ ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า เปลี่ยนแล้วได้ประโยชน์อะไร? เพราะชื่อเดิมก็ดี และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่อยู่แล้ว บ้างมองว่า Krung Thep Maha Nakhon นั้นยาวไป และอาจเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ถ้าต้องเปลี่ยนป้ายใหม่ทั้งหมด หลังจากเกิดการถกเถียงไม่นาน สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นเพียงการปรับปรุงการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ และปรับเครื่องหมายเพียงเล็กน้อย จากเดิม ‘Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok)’ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของทางราชการ และให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันเท่านั้น พร้อมยืนยันว่า ‘กรุงเทพมหานคร’ ใช้ได้ทั้ง Krung Thep Maha Nakhon และ Bangkok อย่างไรก็ตาม ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า คนทั่วโลกรู้จักและใช้คำไหนมากกว่ากัน? […]
No one can save Bangkok? อ้าวเฮ้ย! เมื่อ ‘อัศวิน’ อาจไม่ได้ขี่ม้าขาวมากู้ กทม. อย่างที่คุยกันไว้นี่นา
ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ดีและลงตัว จริงๆ หรือยัง? ถ้ามองอย่างเที่ยงตรง เรามั่นใจว่า คำตอบคนส่วนมากคือ ‘ไม่’ เพราะกรุงเทพฯ ยังคงเผชิญกับปัญหาที่สะสมมานาน ทั้งการจราจรติดขัด ฝนตกแล้วน้ำท่วมขังในย่านต่างๆ การจัดการขยะที่ไม่เป็นระบบ ฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงระบบขนส่งสาธารณะและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ไม่ตอบโจทย์ผู้อาศัยจริงๆ สักที ทำให้การใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ เป็นไปอย่างยากลำบาก เหมือนผจญด้านโหดในเกม Adventure ทุกวันเลยทีเดียว เมื่อพูดถึงการแก้ปัญหาในเมืองกรุง ก็ต้องย้อนกลับไปที่ ‘ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร’ ผู้มีหน้าที่กำหนดนโยบาย ทิศทางการพัฒนาเมือง และการบริหารราชการของเมืองให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยปกติแล้ว ประชาชนที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในเมืองหลวงจะได้เลือกตั้งผู้ว่าฯ กันทุก 4 ปี เพื่อเป็นตัวแทนของคนกรุง เข้าไปพัฒนาเมืองและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนรอบด้าน ว่าแต่…จำได้หรือเปล่าว่าชาวกรุงเทพฯ เลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งล่าสุดเมื่อไหร่? เพราะตอนนี้ก็เข้าสู่ปีที่ 6 แล้ว ที่อัศวิน ขวัญเมือง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. ซึ่งนอกจากจะอยู่ในวาระนานกว่ากำหนดแล้ว เขายังมาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยไม่ผ่านการเลือกจากประชาชนด้วย อัศวินในตำแหน่งผู้ว่าฯ และผลงานของเขา จึงไม่ต่างอะไรกับมรดกที่คณะรัฐประหารทิ้งไว้ให้ชาวกรุงเทพฯ นโยบายหลายข้อไม่สอดคล้องกับแนวทางแก้ปัญหา แถมเมกะโปรเจกต์หลายโครงการยังไม่ตอบโจทย์การใช้งานของผู้คนและไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่ทุ่มไปด้วย ทำไมจึงเป็นแบบนี้ […]
สังคมแบบไหนช่วยให้รักเบ่งบาน : ความรักและรัฐสวัสดิการกับ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
ในหนังสือ ‘The Radicality of Love’ สเรซโก ฮอร์วัต (Srećko Horvat) นักปรัชญาและนักเคลื่อนไหวชาวโครเอเชียวิเคราะห์ความหมายของการรักใครสักคนว่าเป็น ‘การยอมรับความเสี่ยง’ ความเสี่ยงที่ชีวิตของฉันและเธอต่อจากนี้จะไม่เหมือนเดิม ความเสี่ยงที่จะผ่านการทะเลาะ หรืออาจจะจบที่การเลิกรา แต่ถ้าชีวิตเจอกับปัญหาสาหัสมามากพอแล้วในแต่ละวัน สังคมทุนนิยมก็นำเสนอ ‘ความรักแบบไร้ความเสี่ยง’ มาให้ ทั้งในรูปแอปพลิเคชันหาคู่ การเดตในเวลาจำกัดหรือแม้แต่ออกเดตคนเดียว หรือตัวละครเสมือนที่ทดแทนคู่รักในโลกจริง (แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่เจอรักแท้เสียทีเดียวนะ) กลับมาดูบริบทสังคมรอบตัวเรา ตั้งแต่ออกไปหน้าบ้าน แค่เดินทางเท้าก็เสี่ยงจะตกท่อระบายน้ำ จนชุ่มฉ่ำหรือขาเคล็ดได้เพราะบล็อกทางเดินที่ไม่เรียบ จนถึงปัญหาใหญ่อย่าง ความเหลื่อมล้ำ ความยากจนที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำเพราะไม่รู้ว่าวันต่อมาจะมีกินหรือไม่ เหล่านี้อาจจะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้คนไม่กล้ามี ‘ความรัก’ หรือ มี ‘ความรักแบบปลอดภัยไว้ก่อน’ เพราะไม่รู้จะซ้ำเติมความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของชีวิตด้วยความเสี่ยงอีกทบหนึ่งไปทำไม แล้วสังคมแบบไหนที่พอจะช่วยให้ความรักเราเบ่งบานได้บ้างล่ะ ถ้าเรามีความมั่นคงในชีวิตจากสวัสดิการพื้นฐาน เราจะมีความรักที่ดีได้ไหม เรานำคำถามนี้มาคุยกับ ‘ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี’ อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้พยายามผลักดันให้ประเทศไทยเกิด ‘รัฐสวัสดิการ’ ผ่านทั้งบทบาทนักวิชาการ และผู้สอนหนังสือ เคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ในช่วงต้น จนถึงเคยขึ้นปราศรัยผลักดันประเด็นนี้บนเวทีของกลุ่ม ‘ราษฎร’ ที่หน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อปีก่อน ษัษฐรัมย์เคยใช้ชีวิตและทำงานในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการดูแลผู้คนตั้งแต่เกิดจนตายในแถบสแกนดิเนเวีย ล่าสุด เขาตัดสินใจทิ้งโอกาสในหน้าที่การงานในฟินแลนด์มาสอนหนังสือต่อที่ไทย มุมมองต่อความรักของเขาเป็นอย่างไร […]
Duxton & Keong Saik เดินเล่นร้านเก่าและร้านเก๋ ย่านประวัติศาสตร์ของชุมชนชาวจีนในสิงคโปร์
ถ้าคุณถามผมเมื่อปีที่แล้วถึงสิงคโปร์ ผมคงส่ายหัวเบาๆ ก่อนตอบแบบไร้เยื่อใยว่าไม่เห็นจะมีอะไรนอกจากเมอร์ไลออน ถนนออร์ชาร์ด เซ็นโตซา การ์เดนส์บายเดอะเบย์ แล้วก็…ข้าวมันไก่ – หารู้ไม่ว่าผมเองจะถูกโชคชะตาและสถานการณ์โควิดพัดพาชีวิตย้ายมาทำงานถึงประเทศนี้ – ประเทศที่ผมเคยบอกว่าไม่มีอะไรเลย คนสิงคโปร์ทำงานกันจริงจัง แต่ก็เที่ยวกันอย่างบ้าคลั่งเช่นเดียวกัน ท่ามกลางสถานการณ์ของโลกที่การเดินทางข้ามประเทศทำได้ยาก ผมถือโอกาสนี้สำรวจย่านต่างๆ ที่น่าสนใจและไม่ได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายสำหรับนักท่องเที่ยวมือใหม่ หนึ่งในนั้นคือย่านแถบถนน Duxton (ดักซ์ตัน) และถนน Keong Saik (ค็องเซค) ครับ “โห แถวนั้นน่ะเหรอ มีแต่ร้านมิชลินเหอะ” – คำตอบจากเพื่อนเจ้าถิ่นเมื่อผมถามถึงย่านแถบถนน Duxton (ดักซ์ตัน) และถนน Keong Saik (ค็องเซค) คำตอบนี้ไม่เกินจริงเลย หากคุณลองกดดูแผนที่ร้านอาหารในเว็บไซต์หลักของมิชลิน ไกด์ในสิงคโปร์ (https://guide.michelin.com/sg/en) จะพบร้านที่ถูกปักหมุดว่าได้ดาวมิชลินหรือไม่ก็บิบ กูร์มองด์ กระจุกตัวอยู่ในย่านนี้นับได้เกินสิบร้าน – ไม่น่าแปลกใจที่ย่านด้านตะวันตกของไชนาทาวน์แถบนี้จะถูกนิยามโดยคนสิงคโปร์ว่าเป็นย่านแห่งร้านอาหารสุดฮิป ที่แม้ชื่อของย่านนี้จะไม่คุ้นหูนักท่องเที่ยวสักเท่าไหร่ แต่รับประกันได้ว่าแอบซ่อนอะไรไว้มากกว่าที่คิด หากใครมีโอกาสมาสิงคโปร์อยากให้ลองแวะมาที่ Duxton และ Keong Saik ดูสักครั้ง เพราะถนนสายเล็กๆ ทั้ง 2 […]
ย้อนดูประวัติศาสตร์ผู้ว่าฯ กทม. ก่อนความหวังครั้งใหม่ที่ปลายปากกา
ปี 2563 ที่ผ่านมา ในต่างจังหวัดมีการเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งเป็นรัฐบาลท้องถิ่นที่ใกล้ชิดประชาชน คอยทำหน้าที่ดูแลอำนวยความสะดวกด้านการดำรงชีวิต อย่างเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.), เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แต่เมื่อหันมามองที่กรุงเทพมหานคร ก็คิดว่า เมื่อไรจะมีการเลือกตั้งกับเขาสักที? คำถามนี้สะท้อนว่า เราไม่ได้เลือกตั้งผู้แทนเข้าไปทำงานเป็นปากเสียงให้มานานมากแล้ว หลังจากอยู่กับปัญหาสะสมเรื้อรังมากมาย ตั้งแต่ อากาศเป็นพิษ รถติดยาวเหยียด ทางเท้าพัง เหยียบแล้วชุ่มโชก รถเมล์ที่มาช้า กะเวลาไม่ได้ น้ำท่วมขังทุกครั้งที่ฝนตก รถไฟฟ้าราคาครึ่งร้อย หรือค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนน่าตกใจว่า จะใช้ชีวิตยังไงให้รอดในแต่ละวัน ฯลฯ จริงๆ แล้วประเด็นพวกนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นสิ่งที่คนที่อยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งที่เป็นคนพื้นที่ และคนที่เข้ามาเรียน ทำงาน หรือเหตุผลอื่นๆ ต้องเจออยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน นำมาสู่คำถามที่ว่า แล้วปัญหาที่อยู่รอบตัวเราในทุกๆ วันแบบนี้ จะแก้ไขหรือจัดการอะไรได้บ้าง ซึ่งหนทางแก้คงหนีไม่พ้นการกลับไปสำรวจว่า คนที่มีอำนาจกำหนดทิศทางการพัฒนาเมืองเป็นอย่างไร งบประมาณก้อนต่างๆ จำนวนมหาศาลที่ได้รับจากภาษีที่ทุกคนจ่ายๆ กันแต่ละปีจัดสรรไปกับอะไรบ้าง ใช้มันคุ้มค่าหรือเปล่า และที่สำคัญคือ เรามีสิทธิ์ ‘เลือก’ ‘ออกแบบ’ หรือ […]
Seibuen Yuenchi สวนสนุกยุคโชวะอายุ 71 ปีที่เอาความคึกคักยุค 60 มาชวนเล่นฉลองวัยเก๋าและวันวาน
โลกแห่งจินตนาการที่พาทุกคนย้อนความทรงจำ คนที่เคยมาเที่ยวโตเกียวน่าจะคุ้นกับชื่อ Seibu กันบ้าง เพราะเป็นหนึ่งในบริษัทรถไฟยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่น คุณเซบุเขาทำสวนสนุกด้วยคือ Seibuen Yuenchi (เซบุเอ็น ยูเอ็นจิ) เริ่มสร้างความสนุกมาตั้งแต่ปี 1950 และเพิ่งอายุครบ 70 ปีเมื่อปีที่แล้วเลยรีโนเวตสวนใหม่เพื่อเฉลิมฉลองวัยเก๋า ซึ่งเพิ่งเปิดให้บริการอีกครั้งเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมานี้เอง ธีมของสวนเจนฯ ใหม่คือโลกที่บรรยากาศเต็มไปด้วยความสุขและชวนให้อบอุ่นหัวใจ คนที่มาจะได้เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศเก่าๆ สไตล์วินเทจที่ชวนให้คิดถึงยุคโชวะของญี่ปุ่นโดยอิงยุค 60 เป็นหลัก เราชอบสภาพภูมิประเทศของที่นี่มาก มีการเล่นระดับเนินน้อยใหญ่มากมาย แถมมีต้นไม้เขียวขจีชวนสดชื่น เจ้าหน้าที่ของสวนแอบกระซิบบอกเรามาว่า เมื่อก่อนที่นี่เคยเป็นป่าเขา ตอนสร้างสวนสนุกเลยพยายามคงสภาพทางธรรมชาตินั้นไว้ให้ได้มากที่สุดรวมไปถึงต้นไม้ด้วย ถ้าเราขึ้นยูเอฟโอที่ชมวิวได้ 360 องศาหรือชิงช้าสวรรค์จะได้เห็นพื้นที่สีเขียวที่เต็มไปด้วยความร่าเริงของสวนสนุกซึ่งหาดูยากในเมืองใหญ่ ส่วนบรรยากาศวินเทจ ถ้าคิดไม่ออกว่าเป็นยังไง ลองคิดว่าเราได้เข้าไปอยู่ในโลกของหนังเรื่อง Always Sunset on the Third Street ซึ่งเป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในปี 1958 ตอนโตเกียวทาวเวอร์กำลังจะสร้างเสร็จ เราสามารถเดินสำรวจวิถีชีวิตชาวบ้านในย่านที่อยู่อาศัยบนถนนที่เต็มไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะของผู้คน อันเป็นที่มาของความอบอุ่นที่จับใจ ความวินเทจก็ลงดีเทลมาก เช่น เมนูอาหาร ราคาสินค้าอาหารต่างๆ ปรับให้เข้ากับยุคนั้นทั้งหมด (เราเลยต้องแลกธนบัตรที่น่ารักสุดใจ) มีขนมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนอย่าง shiberia […]
Ideal School ชวนนักเรียนออกแบบโรงเรียนในฝันที่ทั้งสนุกและตอบโจทย์ผู้เรียน
การระบาดของโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์อยู่บ้าน หลายคนเริ่มโอดครวญไม่อยากเรียนผ่านหน้าจอสี่เหลี่ยมแล้ว เพราะนอกจากนักเรียนจะไม่มีสมาธิ เนื้อหาไม่เข้าหัว จนรู้สึกหมดไฟไปตามๆ กัน และยังไม่มีใครฟันธงได้ว่าเด็กๆ จะได้กลับไปโรงเรียนแบบ 100% อีกเมื่อไหร่ Urban Creature จึงขอพักเบรกความรู้สึกห่อเหี่ยวและเหนื่อยล้าจากการเรียนออนไลน์ โดยการชวนนักเรียนชั้นประถมฯ จนถึงวัยมัธยมฯ มาร่วมกันระดมไอเดียสนุกๆ และสร้างสรรค์ เพื่อออกแบบ ‘โรงเรียนในอุดมคติ’ ตามแบบฉบับ Urban Sketch จุดเริ่มต้นมาจากโรงเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกออกแบบโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอไอเดียเกี่ยวกับการออกแบบโรงเรียน ทำให้ห้องเรียน ตึก และอาคารส่วนใหญ่มีฟังก์ชันที่ไม่เหมาะกับการใช้งานของผู้เรียนเท่าที่ควร นอกจากนั้น เวลาซื้ออุปกรณ์หรือสร้างพื้นที่ใหม่ๆ โรงเรียนก็ไม่เคยถามความคิดเห็นจากเด็ก ว่าพวกเขาต้องการหรือคิดว่ามันเหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น เราจึงอยากให้เด็กๆ ช่วยกันจินตนาการว่า ถ้าเลือกเองได้ โรงเรียนควรออกแบบอย่างไร หรือควรมีอะไรบ้าง พวกเขาถึงจะเรียนได้อย่างสบายกายและสบายใจ เพราะหลายโรงเรียนทั่วโลกก็ออกแบบโดยยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลางทั้งนั้น การออกแบบของเด็กๆ มีตั้งแต่ฟังก์ชันล้ำที่เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การออกแบบห้องสมุดเพื่อความสะดวกสบาย ไปจนถึงการจัดวางห้องศิลปะและโรงอาหารที่ผู้ใหญ่อย่างเรานึกไม่ถึงมาก่อน ทั้งหมดนี้คือการออกแบบที่จะทำให้นักเรียนแฮปปี้และสนุกกับการไปโรงเรียนมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนแพ็กกระเป๋า สวมจิตวิญญาณของนักเรียน และไปทัวร์โรงเรียนในฝันด้วยกันเลย! 01 | ห้องเรียนที่มีอิสรภาพและความเสมอภาคในการเรียน ห้องเรียนส่วนใหญ่ออกแบบให้คุณครูยืนสอนอยู่หน้าห้อง ทำให้นักเรียนหลายคนรู้สึกอึดอัด […]
คนไทยเสียเงินตรวจ ATK เกือบ 7 พันบาทต่อปี ราคาที่ต้องจ่ายเองเพื่อตอบว่า ‘กูติด (โควิด) ยัง?’
2 ปีแล้วที่ประเทศไทยอยู่ภายใต้การระบาดของโควิด-19 แม้มีการฉีดวัคซีนไปหลายพื้นที่ แต่ใช่ว่าสถานการณ์ในปัจจุบันจะดีขึ้นมากนัก เพราะเชื้อไวรัสพัฒนาสายพันธุ์เรื่อยๆ และจำนวนผู้ติดเชื้อก็ยังคงสูงอยู่ แม้สายพันธุ์ล่าสุดอย่าง ‘โอไมครอน’ มีอาการไม่รุนแรงเท่าเดิมแต่คนก็ติดเชื้อง่ายขึ้นมาก ถึงสถานการณ์หนักหนาสาหัส แต่ทั้งผู้ประกอบการ คนค้าขาย และคนทำงานก็ไม่สามารถล็อกดาวน์หรือปิดร้าน โดยที่ไม่ได้รับการเยียวยาจากรัฐได้อีกแล้ว นั่นทำให้ประชาชนต้องหาหลักยืนยันความมั่นใจให้ตัวเอง ครอบครัว และเพื่อนร่วมงานรอบตัวว่า เรายังไม่ติดโควิด-19 จึงไม่แปลกที่ช่วงนี้เราจะเห็นคนโพสต์ภาพชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) กันเยอะเป็นพิเศษ แต่ใครจะรู้บ้างว่าเบื้องหลังราคาของการยืนยันความปลอดภัยนั้นมีมูลค่าเท่าไหร่ แน่นอนว่าบางบริษัทอาจจัดเตรียมชุดตรวจ ATK ให้พนักงานใช้ แต่บางบริษัทไม่เป็นแบบนั้น ยังไม่นับบางคนที่กังวลถึงความน่าเชื่อถือของผลตรวจ ทำให้ต้องซื้อชุดตรวจ ATK มาตรวจซ้ำเอง รวมราคาแล้วไม่น้อยเลยเมื่อเทียบกับค่าแรงที่ได้ ตามปกติแล้วถ้ายึดตามระยะเวลา การตรวจ ATK จะมีรอบการตรวจที่ 3 – 5 วันต่อหนึ่งเทสต์ ถ้านับเป็นเลขกลมๆ เข้าใจง่ายเท่ากับว่าเราจะใช้ชุดตรวจ ATK 1 ชุดต่อ 1 สัปดาห์ ถ้าขยับมานับเป็นระยะเวลา 1 เดือน เราต้องใช้ชุดตรวจ ATK 4 […]
เมื่อกรุงเทพฯ มีรถเมล์ไฟฟ้าวิ่งครั้งแรก สิ่งนี้จะทำให้ชีวิตคนเมืองดีขึ้นได้ยังไง?
“เมื่อไหร่กรุงเทพฯ จะมีรถเมล์ใหม่สักที” คือคำถามยอดฮิตของคนกรุงตลอดหลายปีที่ผ่านมา และในเวลาเดียวกันก็มีข่าวคราวจากเพื่อนบ้านอาเซียนที่เปิดตัวรถเมล์ใหม่เรื่อยๆ ทั้ง พนมเปญ ย่างกุ้ง สิงคโปร์ ปีนัง หรือฮานอย เห็นรถเมล์ใหม่ๆ ของเหล่าเพื่อนบ้านก็อย่าเพิ่งน้อยใจไป เพราะกรุงเทพฯ ก็มีรถเมล์ใหม่แกะกล่องอย่าง ‘รถเมล์ไฟฟ้า’ กับเขาเหมือนกัน โดยเจ้ารถเมล์ไฟฟ้าได้เริ่มออกวิ่งตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ในนาม ‘ไทยสมายล์บัส’ บริษัทเอกชนเจ้าใหม่แห่งวงการขนส่งสาธารณะไทย (ชื่อฟังดูคุ้นเหมือนสายการบิน แต่ไม่เกี่ยวอะไรกับไทยสมายล์แอร์เวย์) รถเมล์ไฟฟ้ามาใหม่ดียังไงบ้าง? 1. ทางขึ้นที่สะดวกยิ่งขึ้น นอกจากประตูที่ไม่มีบันไดสูงอีกต่อไป นี่คือรถเมล์ที่ทำให้คนทุกวัยขึ้นลงรถได้สะดวก สิ่งแรกที่อาจต้องรู้ก่อนขึ้นรถเมล์ไฟฟ้าคันนี้ก็คือ กติกาที่รณรงค์ให้ผู้ใช้งาน ‘ขึ้นรถประตูหน้า-ลงรถประตูหลัง’ ถือเป็นการเปลี่ยนประสบการณ์ผู้ใช้งานรถเมล์กรุงเทพฯ ให้เป็นระบบเดียวกับรถเมล์หลายๆ เมืองในต่างประเทศ ส่วนใครที่เคยใช้งานรถเมล์ ปอ.พ. ของ Metro Bus ช่วงปี 2550 – 2557 ก็น่าจะคุ้นกับระบบนี้มาบ้างแล้ว รถเมล์ไฟฟ้าของไทยสมายล์เลือกใช้วิธีการติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิ (Hand temperature scanner) ไว้ข้างห้องคนขับ เมื่อก้าวขึ้นรถไป ทุกคนต้องสแกนวัดอุณหภูมิก่อนเป็นอันดับแรก ไม่แน่ใจว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้งานรถสาธารณะท่ามกลางวิกฤต COVID-19 หรือเป็นกุศโลบายให้ต้องขึ้นประตูหน้า-ลงประตูหลังไปในตัว แต่อย่างไรก็ตามถือเป็นการพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้ดีทีเดียว […]