ชาวคอนโดฯ ทำอะไรได้บ้าง ถ้ามีตึกสูงมาสร้างข้างๆ บดบังวิวที่เคยมองเห็น

เมื่อไม่นานนี้ มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของตึก One City Centre ตึกสำนักงานสร้างใหม่ที่อยู่ติดกับตึก 98 Wireless คอนโดมิเนียมสุดหรูที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ  ข้อถกเถียงที่ว่าคือ ทำไมตึกที่ดูใหญ่โตขนาดนี้ถึงสร้างติดกับคอนโดมิเนียมซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยได้อย่างใกล้ชิดสุดๆ จนสร้างความรู้สึกกังวลใจให้ผู้คนในแถบนั้น นอกจากประเด็นความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยที่น่าขบคิดต่อแล้ว การที่มีสิ่งก่อสร้างมาตั้งตระหง่านบดบังทิวทัศน์ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในตัวเพิ่มมูลค่าการซื้อ-ขายของห้องที่อยู่บนชั้นสูงๆ ก็ดูเป็นปัญหาใหญ่ และในอนาคต เราคาดเดาว่ากรุงเทพฯ น่าจะมีกรณีแบบนี้ให้เห็นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในยุคที่คนรุ่นใหม่เลือกอยู่คอนโดมิเนียมมากกว่าบ้านเดี่ยวในสมัยก่อน คำถามสำคัญคือ ถ้าหากวันหนึ่ง คอนโดฯ ที่เราทำงานเก็บเงินเช่าหรือซื้อ เพื่อให้ได้มองวิวสวยๆ เกิดมีตึกสูงใหญ่มาสร้าง บดบังสิ่งที่เคยเห็นทั้งหมด เราในฐานะเจ้าของห้องจะทำอะไรได้ไหม สิทธิของผู้อยู่อาศัย และตัวกฎหมายที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อมูลชุดใดที่ควรรู้และตั้งคำถามต่อบ้าง เราจึงชวน แทนศร พรปัญญาภัทร กรรมการผู้จัดการ และสถาปนิกผังเมือง บริษัท เออเบิ้น รูม จำกัด ที่คลุกคลีกับการทำงานพัฒนากรุงเทพฯ มาเกือบสิบปี มาพูดคุยถึงประเด็นนี้ รวมถึงบริบทรอบข้างที่อาจเป็นประโยชน์กับคนเมืองในอนาคต อาคารสูงกวนตาเป็นปัญหากวนใจ เริ่มด้วยข้อควรรู้เกี่ยวกับอาคารสูงให้ทุกคนเข้าใจร่วมกัน ที่จริงแล้วประเทศไทยมีกฎหมายเกี่ยวกับอาคารมาตั้งแต่ปี 2533 แต่เมื่อเริ่มมีการพัฒนาอาคารสูงกันมากขึ้น รัฐจึงบัญญัติคำว่าอาคารสูงขึ้นในปี 2543 โดยนิยามของอาคารสูงตามกฎหมายคือ อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรหรือ 8 […]

8 อีเวนต์ทั่วกรุงเทพฯ ที่น่าเที่ยว ชม ช้อป ตลอด มี.ค. – เม.ย. 65

หน้าร้อนนี้ ใครอยากออกจากบ้านไปเที่ยว ชม ช้อปในหลายบรรยากาศบ้าง? Urban Creature อยากชวนทุกคนไปใช้ชีวิตนอกบ้านกับ 8 อีเวนต์ หลายหมวดกิจกรรมที่เราได้คัดสรรมา มีตั้งแต่งานแฟร์ใหญ่ๆ เอาใจคนรักการอ่านและการออกแบบ เช่น งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ บ้านและสวนแฟร์ ไปจนถึงงานแสดงศิลปกรรมไฟประจำปีของ Time Out ที่จะพาทุกคนเดินดูแสงไฟยามราตรี และซึมซับสถาปัตยกรรมของย่านเก่าที่เรารัก ตั้งแต่เจริญกรุง ตลาดน้อย เยาวราช ไปจนถึงซอยนานา มากไปกว่านั้น เรายังรวบรวมนิทรรศการที่จะพาคุณไปทำความรู้จักศิลปะ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอย่างหลากมิติ มีทั้งการจัดแสดงงานศิลปะต่อต้านสงคราม ศิลปะสะท้อนชีวิตและสังคมในชายแดนใต้ กิจกรรมจำลองการแต่งงานเกาหลีแบบโบราณ และกิจกรรมบรรยายพิเศษเกี่ยวกับตลาดศิลปะดิจิทัล (NFT) รับรองว่าในแต่ละงาน คุณจะได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่แบบไม่ซ้ำกันแน่นอน อีเวนต์ที่เราเลือกมามีทั้งงานที่เริ่มจัดแล้ว และกำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ใครสนใจงานไหนตามไปอ่านรายละเอียดและปักหมุดไว้ได้เลย! 01| งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 20 ไม่ต้องกลัวว่าปีนี้จะล่ม เพราะได้รับการยืนยันมาแล้วว่างานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50ฯ จัดแน่นอน! ใครที่คิดถึงกลิ่นอายของงานสัปดาห์หนังสือฯ ไม่ว่าจะเป็นการเดินเลือกหนังสือท่ามกลางบูทหนังสือมากมายที่มีแทบทุกสำนักพิมพ์ในประเทศไทยในงานเดียว การหยุดนั่งพักเปิดหนังสือที่เพิ่งซื้อมา ก่อนที่จะรวบรวมพลังแล้วเดินหยิบหนังสือเข้ากระเป๋าอีก […]

SpokeDark TV เส้นทางแสบสันของสื่อประชาธิปไตย ที่อยู่ได้เพราะ “สปอนเซอร์เราคือคุณผู้ชม”

“เราอาจไม่ได้ไปต่อ”  พิธีกรในชุดพ่อหมอสีขาวใส่สร้อยประคำบอกกับผู้ชมผ่านรายการ ‘เจาะข่าวตื้น’ (ชื่อเต็มเดิมคือ ‘เจาะข่าวตื้น ดูถูกสติปัญญา’) ทางช่อง SpokeDark TV ที่เดินทางมาถึงตอนที่ 287  ความพังพินาศของเศรษฐกิจไทยตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 2557 เป็นต้นมา และสึนามิเศรษฐกิจถล่มซัดอีกครั้งในปี 2563 นับตั้งแต่การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้เราเห็นธุรกิจน้อยใหญ่ทยอยปิดตัว สำหรับ SpokeDark TV ทางรอดเดียวที่เหลืออยู่คือแรงสนับสนุนจากผู้ชมของช่อง ที่พอการันตีได้ด้วยยอดรับชมแต่ละคลิปไม่ต่ำกว่าหลักแสน  ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2021 เป็นต้นมาคือภารกิจที่ช่องต้องหาผู้ชมมาสนับสนุนรายเดือนภายใน 45 วันเป็นจำนวน 15,000 คน เพื่อให้เพียงพอกับต้นทุนการดำเนินงานของบริษัท จากเดิมยอดคนสนับสนุนอยู่ที่หลักพัน ขึ้นมาจนถึงหลักหมื่น แต่สถานการณ์ก็ยังไม่น่าวางใจ นี่เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญในเส้นทางสื่อออนไลน์กว่า 15 ปีที่เปิดรับรายได้จากการสนับสนุนของผู้ชมรายการครั้งแรก ตั้งแต่วันที่ภูมิทัศน์ของสื่อออนไลน์มีจำนวนนับได้ พวกเขาเริ่มทำรายการทีวีออนไลน์ในชื่อ ‘iHereTV’ จนมาเป็น ‘SpokeDark TV’  ในวันที่ทุกคนต่างลุกขึ้นมาเป็นสื่อ ผ่านการผลิตคอนเทนต์รวดเร็วเพียงปลายนิ้ว ประกอบกับสำนักข่าวออนไลน์ที่เกิดใหม่มากมาย ท่ามกลางมรสุมรุมเร้าทางการเมืองและเศรษฐกิจ แม้กระทั่งคดีความหมิ่นประมาทนายกรัฐมนตรีที่ผู้จัดรายการต้องแบกรับ แต่สื่อออนไลน์อย่าง SpokeDark TV ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเจ้าแรกๆ […]

“ขอเป็นผู้ว่าฯ ในหัวใจเธอ” เอ้ สุชัชวีร์ กับการอาสาเป็นพ่อบ้านและนายช่างใหญ่ให้คน กทม.

ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ถ้าถามคนกรุงเทพฯ หลายๆ คนว่า เวลาก้าวเท้าออกนอกบ้านแล้วเห็นหน้าใครบ่อยที่สุด หนึ่งในคำตอบที่ได้รับ คงไม่พ้นใบหน้าของ เอ้-สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ แคนดิเดตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจากพรรคประชาธิปัตย์บนป้ายประกาศ ที่มาพร้อมกับสโลแกนปลุกใจชาวกรุง ‘เปลี่ยนกรุงเทพฯ เราทำได้’  จากที่ปกติได้เห็นหน้าค่าตาของเขาบนป้ายตามจุดต่างๆ ของกรุงเทพฯ และได้ยินชื่อเขาผ่านกระแสไวรัลบนหน้าสื่อ อย่างกรณีทายาทสายตรงไอน์สไตน์ หรือบทบาทอธิการบดีแนวใหม่ที่ไม่ซ้ำแบบใครในอดีต ไม่ว่าคุณจะรู้จักเขาในมุมไหน แต่สุชัชวีร์ย้ำกับเราหลายต่อหลายครั้งว่า ถึงเวลาอันสมควรแล้วที่เขาจะเป็นผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ วันนี้ เรานัดหมายพูดคุยกับสุชัชวีร์ที่บ้านของเขาในย่านลาดกระบัง ใช่แล้ว บ้านหลังใหญ่หลังนั้นล่ะที่หลายคนได้เห็นคนแชร์จำนวนมากบนโลกออนไลน์ซึ่งเอาเข้าจริงการเปิดบ้านครั้งนั้นก็ทำให้ชื่อของเขากลายเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นไปอีก  เมื่อเข้าไปในบ้าน สุชัชวีร์ต้อนรับขับสู้เราเป็นอย่างดี เขาอยู่ในชุดสบายๆ เหมาะกับการอยู่บ้านในวันหยุดสุดสัปดาห์ เจ้าบ้านเล่าให้เราฟังว่า กิจวัตรประจำวันของเขามักเริ่มต้นด้วยการออกกำลังกาย เพราะเชื่อว่าร่างกายที่แข็งแรง สมองที่แจ่มใส คือบ่อเกิดของความคิดที่ดี ที่ผ่านมา สุชัชวีร์หรือ ‘พี่เอ้’ ของเหล่านักศึกษาทำงานด้านวิศวกรรมและงานการศึกษามาตลอด  ตัวอย่างผลงานที่คนส่วนใหญ่รู้จักคือ การเข้าไปดำรงอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในช่วงเวลาที่ประสบวิกฤติการเงิน เพราะเงิน 1,600 ล้านบาทสูญหายไปจากบัญชี ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานให้ร่วมสมัยโดยใช้ระบบเดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทั้งยังเป็นผู้บุกเบิกก่อตั้งโรงพยาบาลพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร และถือกำเนิดคณะวิชาใหม่ๆ ให้เท่าทันต่อบริบทสังคม แต่เหตุผลใดที่ทำให้สุชัชวีร์ ผู้ขับเคลื่อนการทำงานด้วยความรัก ตัดสินใจออกจากการงานฝั่งบริหารการศึกษามาลงสนามการเมืองหรืองานบริหารระดับเมือง เขามองเห็นความเป็นไปได้และอนาคตอะไรของกรุงเทพฯ จนต้องอาสาขอมาแก้ปัญหาให้เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยปัญหาหลากหลายมิติแห่งนี้ ทำไมคุณตัดสินใจลงชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ […]

Bangkok vs Krung Thep Maha Nakhon ทั่วโลกรู้จักกรุงเทพฯ ในชื่อไหนมากกว่ากัน?

สัปดาห์ที่แล้ว เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ล้นหลาม หลังมีรายงานว่า ราชบัณฑิตยสภาเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเมืองหลวง ‘กรุงเทพมหานคร’ ของไทย จาก ‘Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon’  ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า เปลี่ยนแล้วได้ประโยชน์อะไร? เพราะชื่อเดิมก็ดี และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่อยู่แล้ว บ้างมองว่า Krung Thep Maha Nakhon นั้นยาวไป และอาจเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ถ้าต้องเปลี่ยนป้ายใหม่ทั้งหมด หลังจากเกิดการถกเถียงไม่นาน สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นเพียงการปรับปรุงการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ และปรับเครื่องหมายเพียงเล็กน้อย จากเดิม ‘Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok)’ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของทางราชการ และให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันเท่านั้น พร้อมยืนยันว่า ‘กรุงเทพมหานคร’ ใช้ได้ทั้ง Krung Thep Maha Nakhon และ Bangkok อย่างไรก็ตาม ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า คนทั่วโลกรู้จักและใช้คำไหนมากกว่ากัน?  […]

สังคมแบบไหนช่วยให้รักเบ่งบาน : ความรักและรัฐสวัสดิการกับ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี

ในหนังสือ ‘The Radicality of Love’ สเรซโก ฮอร์วัต (Srećko Horvat) นักปรัชญาและนักเคลื่อนไหวชาวโครเอเชียวิเคราะห์ความหมายของการรักใครสักคนว่าเป็น ‘การยอมรับความเสี่ยง’ ความเสี่ยงที่ชีวิตของฉันและเธอต่อจากนี้จะไม่เหมือนเดิม ความเสี่ยงที่จะผ่านการทะเลาะ หรืออาจจะจบที่การเลิกรา  แต่ถ้าชีวิตเจอกับปัญหาสาหัสมามากพอแล้วในแต่ละวัน สังคมทุนนิยมก็นำเสนอ ‘ความรักแบบไร้ความเสี่ยง’ มาให้ ทั้งในรูปแอปพลิเคชันหาคู่ การเดตในเวลาจำกัดหรือแม้แต่ออกเดตคนเดียว หรือตัวละครเสมือนที่ทดแทนคู่รักในโลกจริง (แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่เจอรักแท้เสียทีเดียวนะ) กลับมาดูบริบทสังคมรอบตัวเรา ตั้งแต่ออกไปหน้าบ้าน แค่เดินทางเท้าก็เสี่ยงจะตกท่อระบายน้ำ จนชุ่มฉ่ำหรือขาเคล็ดได้เพราะบล็อกทางเดินที่ไม่เรียบ จนถึงปัญหาใหญ่อย่าง ความเหลื่อมล้ำ ความยากจนที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำเพราะไม่รู้ว่าวันต่อมาจะมีกินหรือไม่ เหล่านี้อาจจะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้คนไม่กล้ามี ‘ความรัก’ หรือ มี ‘ความรักแบบปลอดภัยไว้ก่อน’ เพราะไม่รู้จะซ้ำเติมความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของชีวิตด้วยความเสี่ยงอีกทบหนึ่งไปทำไม  แล้วสังคมแบบไหนที่พอจะช่วยให้ความรักเราเบ่งบานได้บ้างล่ะ ถ้าเรามีความมั่นคงในชีวิตจากสวัสดิการพื้นฐาน เราจะมีความรักที่ดีได้ไหม เรานำคำถามนี้มาคุยกับ ‘ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี’ อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้พยายามผลักดันให้ประเทศไทยเกิด ‘รัฐสวัสดิการ’ ผ่านทั้งบทบาทนักวิชาการ และผู้สอนหนังสือ เคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ในช่วงต้น จนถึงเคยขึ้นปราศรัยผลักดันประเด็นนี้บนเวทีของกลุ่ม ‘ราษฎร’ ที่หน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อปีก่อน ษัษฐรัมย์เคยใช้ชีวิตและทำงานในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการดูแลผู้คนตั้งแต่เกิดจนตายในแถบสแกนดิเนเวีย ล่าสุด เขาตัดสินใจทิ้งโอกาสในหน้าที่การงานในฟินแลนด์มาสอนหนังสือต่อที่ไทย มุมมองต่อความรักของเขาเป็นอย่างไร […]

5 ภาพยนตร์ LGBTQ+ ที่ขับเคลื่อนความรักของทุกคนให้เท่าเทียมกัน

“คนเท่ากัน สมรสเท่าเทียม” จากมูฟเมนต์ความเท่าเทียมทางเพศที่กลายเป็นกระแสสังคมที่แข็งแรงขึ้นและขยายวงกว้างไปทั่วโลก เราได้เห็นหลายประเทศหันมาสนใจ และลงมือแก้ไขกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันสมรสได้อย่างถูกต้อง และได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคู่รักต่างเพศ  ในทางกลับกัน ประเทศไทยที่อ้างตัวเสมอว่า เป็นดินแดนเสรี กลับยังคงไม่มีหนทางที่ชัดเจนให้กับการผ่านกฎหมายนี้ จนมวลชนต้องลุกขึ้นมาล่ารายชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 เพื่อให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับศักดิ์และสิทธิ์ไม่ต่างจากใครๆ ด้วยวาระที่ทวีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน Urban’s Pick จึงอยากชวนคุณมาทำความเข้าใจความสำคัญของ #สมรสเท่าเทียม ผ่าน 5 ภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความรัก ความสัมพันธ์ และสิทธิของคู่รัก LGBTQ+ ในเดือนแห่งความรัก ที่ไม่ว่าคนเพศไหนก็ควรจะรักกันได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากสังคม 01 Your Name Engraved Herein (2020) ไต้หวัน น่าจะเป็นประเทศในเอเชียที่เรียกว่า ‘ก้าวหน้าที่สุด’ ในมูฟเมนต์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เพราะนอกจากจะเป็นประเทศแรกที่รัฐสภาให้ผ่านกฎหมายแต่งงานเพศเดียวกันตั้งแต่ปี 2019 สื่อไต้หวันยังทำคอนเทนต์ที่ขับเคลื่อนสิทธิของคนเพศหลากหลายจำนวนไม่น้อย หนึ่งในนั้นคือภาพยนตร์เรื่อง Your Name Engraved Herein ที่กวาดรายได้ไปกว่า 100 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ภาพยนตร์ดราม่าเรื่องนี้ พาผู้ชมย้อนกลับไปในยุคหลังยกเลิกกฎอัยการศึก (Martial Law : 1949 […]

Bangkok Design Week 2022 เดินเล่น 5 ย่าน ดูงานสร้างสรรค์ 5 – 13 กุมภาพันธ์นี้

หลังจากที่กรุงเทพฯ เงียบเหงามานาน ในที่สุดเราก็ได้ออกไปเดินอีเวนต์นอกบ้านกันจุใจแล้ว เพราะในที่สุด Bangkok Design Week 2022 ก็กลับมาแล้ว Bangkok Design Week 2022 หรือ เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ปีนี้กลับมาภายใต้แนวคิด “Co With Creation คิด สร้าง ทางรอด” ชวนนักออกแบบทั่วเมืองมาร่วมมือกันหาทางออกให้กับชีวิตในยุคโควิด-19  งานนี้เป็นอีกปีที่เรารอคอยว่าจะมีอะไรสนุกๆ เกิดขึ้นบ้าง และได้เห็นพลังความคิดสร้างสรรค์ที่เคยต้องซบเซาไปพักใหญ่ๆ เพราะโรคระบาด กลับมาสร้างสีสันให้กับกรุงเทพฯ อีกครั้ง ในปีนี้มีการ Co with 5 ประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น Co with Space การออกแบบพื้นที่เพื่อรับมือกับปัญหาโควิด-19, Co with Mental Health งานออกแบบเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพจิต, Co with Eco การออกแบบเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม, Co with […]

‘พังก์ปาตานี’ 15 ปีแห่งวัฒนธรรมพังก์ร็อกกระแทกใจวัยรุ่น 3 จังหวัดชายแดนใต้

ดนตรีอาจเป็นสิ่งต้องห้ามในศาสนาอิสลาม ทว่าช่วงหนึ่งดนตรีและวัฒนธรรมพังก์กลับเคยรุ่งเรืองอย่างมากในดินแดนที่เรียกว่า ‘ปาตานี’ ‘ปาตานี’ ในภาษามลายู เป็นชื่อเรียกพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางส่วนในจังหวัดสงขลา ทั้งสี่จังหวัดอยู่ติดกันบริเวณชายแดนสุดปลายด้ามขวานของประเทศไทย ส่วน ‘พังก์’ คือ Pop Culture ที่ได้รับความนิยมมากในหมู่คนหนุ่มสาวทั่วโลก โดยเฉพาะความเฟื่องฟูช่วงปลายทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา บทเพลงเหล่านี้สอดแทรกนัยความขบถ การต่อต้านเชิงอำนาจที่แสดงผ่านพฤติกรรม การแต่งตัว การแต่งหน้า การทำผม การสักลาย และแน่นอน พังก์คือหนึ่งในแนวดนตรีร็อก มีจังหวะดิบๆ และเดือดดาล ส่งเสียงการขับร้องและการเล่นดนตรีอย่างเมามันเป็นเอกลักษณ์ ใช่ เรากำลังพูดถึง ‘พังก์ปาตานี’ วัฒนธรรมที่เคยผลิบานสุดๆ ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ระหว่างราวปี 1995 จนกระทั่งถึงช่วงราวปี 2010 รวมระยะเวลากว่า 15 ปี ที่วัฒนธรรมได้โลดแล่นสร้างสีสันให้วัยรุ่นในพื้นที่ได้ปลดปล่อยความขบถของพวกเขาออกมาอย่างเต็มที่ ถ้าสมัยก่อนมีสื่อโซเชียลออนไลน์อย่างในปัจจุบัน เราคงได้เห็นภาพความสนุกสนานวาดลวดลายอย่างทั่วถึง แต่ด้วยยุคสมัย ภาพของชาวพังก์ปาตานีจึงหลงเหลือเพียงเศษเสี้ยวกระจัดกระจาย บ้างบนภาพถ่ายฟิล์ม บ้างในคลิปวิดีโอจากกล้อง Handycam และส่วนสำคัญคือความทรงจำในเนื้อตัวของชาวพังก์ร่วมสมัยที่เติบใหญ่จนมีอายุกลาง 30 ถึงปลาย 40 กว่าๆ  […]

Ideal School ชวนนักเรียนออกแบบโรงเรียนในฝันที่ทั้งสนุกและตอบโจทย์ผู้เรียน

การระบาดของโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์อยู่บ้าน หลายคนเริ่มโอดครวญไม่อยากเรียนผ่านหน้าจอสี่เหลี่ยมแล้ว เพราะนอกจากนักเรียนจะไม่มีสมาธิ เนื้อหาไม่เข้าหัว จนรู้สึกหมดไฟไปตามๆ กัน และยังไม่มีใครฟันธงได้ว่าเด็กๆ จะได้กลับไปโรงเรียนแบบ 100% อีกเมื่อไหร่ Urban Creature จึงขอพักเบรกความรู้สึกห่อเหี่ยวและเหนื่อยล้าจากการเรียนออนไลน์ โดยการชวนนักเรียนชั้นประถมฯ จนถึงวัยมัธยมฯ มาร่วมกันระดมไอเดียสนุกๆ และสร้างสรรค์ เพื่อออกแบบ ‘โรงเรียนในอุดมคติ’ ตามแบบฉบับ Urban Sketch  จุดเริ่มต้นมาจากโรงเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกออกแบบโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอไอเดียเกี่ยวกับการออกแบบโรงเรียน ทำให้ห้องเรียน ตึก และอาคารส่วนใหญ่มีฟังก์ชันที่ไม่เหมาะกับการใช้งานของผู้เรียนเท่าที่ควร นอกจากนั้น เวลาซื้ออุปกรณ์หรือสร้างพื้นที่ใหม่ๆ โรงเรียนก็ไม่เคยถามความคิดเห็นจากเด็ก ว่าพวกเขาต้องการหรือคิดว่ามันเหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น เราจึงอยากให้เด็กๆ ช่วยกันจินตนาการว่า ถ้าเลือกเองได้ โรงเรียนควรออกแบบอย่างไร หรือควรมีอะไรบ้าง พวกเขาถึงจะเรียนได้อย่างสบายกายและสบายใจ เพราะหลายโรงเรียนทั่วโลกก็ออกแบบโดยยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลางทั้งนั้น การออกแบบของเด็กๆ มีตั้งแต่ฟังก์ชันล้ำที่เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การออกแบบห้องสมุดเพื่อความสะดวกสบาย ไปจนถึงการจัดวางห้องศิลปะและโรงอาหารที่ผู้ใหญ่อย่างเรานึกไม่ถึงมาก่อน ทั้งหมดนี้คือการออกแบบที่จะทำให้นักเรียนแฮปปี้และสนุกกับการไปโรงเรียนมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนแพ็กกระเป๋า สวมจิตวิญญาณของนักเรียน และไปทัวร์โรงเรียนในฝันด้วยกันเลย! 01 | ห้องเรียนที่มีอิสรภาพและความเสมอภาคในการเรียน ห้องเรียนส่วนใหญ่ออกแบบให้คุณครูยืนสอนอยู่หน้าห้อง ทำให้นักเรียนหลายคนรู้สึกอึดอัด […]

‘คุก’ พื้นที่ไร้สิทธิที่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในมุมมอง ‘รุ้ง ปนัสยา’

รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาหญิงจากแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ถูกจองจำในเรือนจำมาแล้ว 3 ครั้ง ส่วนอีก 1 ครั้งหลังคือ การใส่กำไล EM จำกัดพื้นที่ในเคหสถาน ถ้าย้อนกลับไปเกือบสามปีก่อน เราคงจินตนาการไม่ออกเลยว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยจะมาไกลและมีการพูดถึงปัญหาตรงไปตรงมาอย่างในตอนนี้ แต่การกล้าตั้งคำถาม การเสนอแนวทางให้สถาบันปรับตัว และการขับไล่เผด็จการ ก็ต้องแลกมาด้วยพันธนาการผู้เรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่า  จากการติดตามข่าวคราวของรุ้งและแกนนำคนอื่นๆ ช่วงที่อยู่ในเรือนจำ เราสังเกตเห็นว่าข่าวเหล่านี้ถูกเล่าในวงจำกัด มีการนำเสนอเฉพาะกลุ่มบนโซเชียลมีเดีย จากบุคคลหรือสำนักข่าวเจ้าเดิมๆ ส่วนสื่อกระแสหลัก หรือสื่ออนุรักษนิยม เราไม่เคยได้รับข้อมูลที่ตีแผ่ความเป็นจริงส่วนนี้เลย ช่วงเกือบสิ้นปีที่แล้ว ก่อนรุ้งเข้าเรือนจำเป็นครั้งที่สาม เราถามเธอ จากข้อสังเกตส่วนตัวว่า คิดยังไงที่ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘คุก’ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองที่แทบไม่เคยถูกพูดถึง และแน่นอน มันเป็นพื้นที่ลับแลที่คนส่วนหนึ่งไม่แยแสว่ามีปัญหามากมายสะสม นั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตต่ำเตี้ยเรี่ยดินของผู้ต้องขังที่ไม่เคยถูกยกระดับ และกระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข คุก : พื้นที่ห่างไกลเมืองและศิวิไลซ์  “คุก ส่วนใหญ่อยู่ไกลจากพื้นที่ชุมชน โดยเฉพาะคุกที่เกิดขึ้นใหม่ หรือคุกในต่างจังหวัด เพื่อให้ตั้งอยู่ไกลจากเมือง และเพื่อให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เขาคงไม่อยากให้คุกอยู่ในชุมชน แต่ถ้าคุกอยู่ไกลชุมชนมากๆ ก็จะทำให้ผู้ต้องขังลำบากมาก เพราะทนายความและญาติไปเยี่ยมได้ยาก สิ่งนี้สำคัญต่อผู้ต้องขังมาก ถ้าขาดตัวกลางนี้ไปก็แปลว่าคนข้างในจะไม่ได้รู้เรื่องข้างนอกเลย “มันจะทำให้คนข้างในมีความเครียดสูงขึ้นมากๆ […]

‘สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ สัญลักษณ์ยิ่งใหญ่ในสยามยุคอาณานิคม สู่อนาคตว่าจะไปทางไหนดี

ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กระแสการย้ายศูนย์กลางการเดินรถไฟจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปที่สถานีกลางบางซื่ออย่างฉับพลันทันด่วน ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งจากประชาชน นักเรียน-นักศึกษา นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานของรถไฟเช่นกัน เสียงสะท้อนต่อการตัดสินใจจะเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่ การไม่คิดคำนึงถึงความเดือดร้อนของคนที่ใช้เส้นทางสัญจรเป็นประจำเพราะการย้ายจะทำให้ค่าใช้จ่าย และเวลาเดินทางเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงคำถามเชิงคุณค่าทางวัฒนธรรมต่อการใช้งานพื้นที่หัวลำโพง รวมไปถึงคำถามภาพใหญ่ที่ตั้งคำถามถึงระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยทั้งหมด ว่าสรุปแล้วควรจะไปทิศทางไหน ถึงจะไม่สะเปะสะปะ และเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนคนเดินถนน ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศจริงๆ เมื่อมองกลับไปที่ประวัติศาสตร์ของ ‘สถานีกรุงเทพ’ สถานที่แห่งนี้บน ‘ถนนพระราม 4’ ในปัจจุบัน เคยเป็นทั้งศูนย์กลางขนส่งทางรางและตัวแทนอันน่าภาคภูมิของ ‘ความเป็นสมัยใหม่’ ของชนชั้นนำสยาม แต่ทำไมอนาคตของสถานีรถไฟในปัจจุบันกลับดูไม่แน่นอนว่าจะไปทางไหนต่อ หลังจากเสียงวิจารณ์เกือบหนึ่งเดือนเต็มๆ เมื่อ 20 ธันวาคม 2564 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้หยุดการ ‘ย้ายหัวลำโพง’ นี้ไปก่อน และให้มีรถไฟวิ่งเข้าออกสถานีตามปกติ นั่นทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์หยุดลงไปชั่วคราว แต่ปัญหาที่รอการหาทางออกร่วมกันในประเด็นนี้ยังคงอยู่ไม่หายไปไหน ดังคำกล่าวอันโด่งดังของนักปรัชญา ฟริดริช เฮเกล (Friedrich Hegel) ที่ว่า ‘เราเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ว่าพวกเราไม่เรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์เลย’ อาจจะเป็นประโยคเจ็บแสบล้อเลียนประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่ประเด็นสำคัญคือมันกระตุ้นเตือนให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่กำลังจะทำตลอดเวลา ว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง และเราเรียนรู้จาก ‘ประวัติศาสตร์’ […]

1 17 18 19 20 21 23

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.