Bangkok vs Krung Thep Maha Nakhon ทั่วโลกรู้จักกรุงเทพฯ ในชื่อไหนมากกว่ากัน?

สัปดาห์ที่แล้ว เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ล้นหลาม หลังมีรายงานว่า ราชบัณฑิตยสภาเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษเมืองหลวง ‘กรุงเทพมหานคร’ ของไทย จาก ‘Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon’  ทำให้หลายคนตั้งคำถามว่า เปลี่ยนแล้วได้ประโยชน์อะไร? เพราะชื่อเดิมก็ดี และเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวต่างชาติส่วนใหญ่อยู่แล้ว บ้างมองว่า Krung Thep Maha Nakhon นั้นยาวไป และอาจเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ถ้าต้องเปลี่ยนป้ายใหม่ทั้งหมด หลังจากเกิดการถกเถียงไม่นาน สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊กว่า เป็นเพียงการปรับปรุงการทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ และปรับเครื่องหมายเพียงเล็กน้อย จากเดิม ‘Krung Thep Maha Nakhon; Bangkok’ เป็น ‘Krung Thep Maha Nakhon (Bangkok)’ เพื่อใช้เป็นมาตรฐานของทางราชการ และให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบันเท่านั้น พร้อมยืนยันว่า ‘กรุงเทพมหานคร’ ใช้ได้ทั้ง Krung Thep Maha Nakhon และ Bangkok อย่างไรก็ตาม ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า คนทั่วโลกรู้จักและใช้คำไหนมากกว่ากัน?  […]

สังคมแบบไหนช่วยให้รักเบ่งบาน : ความรักและรัฐสวัสดิการกับ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี

ในหนังสือ ‘The Radicality of Love’ สเรซโก ฮอร์วัต (Srećko Horvat) นักปรัชญาและนักเคลื่อนไหวชาวโครเอเชียวิเคราะห์ความหมายของการรักใครสักคนว่าเป็น ‘การยอมรับความเสี่ยง’ ความเสี่ยงที่ชีวิตของฉันและเธอต่อจากนี้จะไม่เหมือนเดิม ความเสี่ยงที่จะผ่านการทะเลาะ หรืออาจจะจบที่การเลิกรา  แต่ถ้าชีวิตเจอกับปัญหาสาหัสมามากพอแล้วในแต่ละวัน สังคมทุนนิยมก็นำเสนอ ‘ความรักแบบไร้ความเสี่ยง’ มาให้ ทั้งในรูปแอปพลิเคชันหาคู่ การเดตในเวลาจำกัดหรือแม้แต่ออกเดตคนเดียว หรือตัวละครเสมือนที่ทดแทนคู่รักในโลกจริง (แต่ไม่ได้แปลว่าเราจะไม่เจอรักแท้เสียทีเดียวนะ) กลับมาดูบริบทสังคมรอบตัวเรา ตั้งแต่ออกไปหน้าบ้าน แค่เดินทางเท้าก็เสี่ยงจะตกท่อระบายน้ำ จนชุ่มฉ่ำหรือขาเคล็ดได้เพราะบล็อกทางเดินที่ไม่เรียบ จนถึงปัญหาใหญ่อย่าง ความเหลื่อมล้ำ ความยากจนที่ต้องทำงานหามรุ่งหามค่ำเพราะไม่รู้ว่าวันต่อมาจะมีกินหรือไม่ เหล่านี้อาจจะเป็นความเสี่ยงที่ทำให้คนไม่กล้ามี ‘ความรัก’ หรือ มี ‘ความรักแบบปลอดภัยไว้ก่อน’ เพราะไม่รู้จะซ้ำเติมความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของชีวิตด้วยความเสี่ยงอีกทบหนึ่งไปทำไม  แล้วสังคมแบบไหนที่พอจะช่วยให้ความรักเราเบ่งบานได้บ้างล่ะ ถ้าเรามีความมั่นคงในชีวิตจากสวัสดิการพื้นฐาน เราจะมีความรักที่ดีได้ไหม เรานำคำถามนี้มาคุยกับ ‘ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี’ อาจารย์จากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้พยายามผลักดันให้ประเทศไทยเกิด ‘รัฐสวัสดิการ’ ผ่านทั้งบทบาทนักวิชาการ และผู้สอนหนังสือ เคยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ในช่วงต้น จนถึงเคยขึ้นปราศรัยผลักดันประเด็นนี้บนเวทีของกลุ่ม ‘ราษฎร’ ที่หน้าสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อปีก่อน ษัษฐรัมย์เคยใช้ชีวิตและทำงานในประเทศที่มีรัฐสวัสดิการดูแลผู้คนตั้งแต่เกิดจนตายในแถบสแกนดิเนเวีย ล่าสุด เขาตัดสินใจทิ้งโอกาสในหน้าที่การงานในฟินแลนด์มาสอนหนังสือต่อที่ไทย มุมมองต่อความรักของเขาเป็นอย่างไร […]

5 ภาพยนตร์ LGBTQ+ ที่ขับเคลื่อนความรักของทุกคนให้เท่าเทียมกัน

“คนเท่ากัน สมรสเท่าเทียม” จากมูฟเมนต์ความเท่าเทียมทางเพศที่กลายเป็นกระแสสังคมที่แข็งแรงขึ้นและขยายวงกว้างไปทั่วโลก เราได้เห็นหลายประเทศหันมาสนใจ และลงมือแก้ไขกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันสมรสได้อย่างถูกต้อง และได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคู่รักต่างเพศ  ในทางกลับกัน ประเทศไทยที่อ้างตัวเสมอว่า เป็นดินแดนเสรี กลับยังคงไม่มีหนทางที่ชัดเจนให้กับการผ่านกฎหมายนี้ จนมวลชนต้องลุกขึ้นมาล่ารายชื่อแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 เพื่อให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับศักดิ์และสิทธิ์ไม่ต่างจากใครๆ ด้วยวาระที่ทวีความสำคัญมากขึ้นทุกวัน Urban’s Pick จึงอยากชวนคุณมาทำความเข้าใจความสำคัญของ #สมรสเท่าเทียม ผ่าน 5 ภาพยนตร์ที่ว่าด้วยความรัก ความสัมพันธ์ และสิทธิของคู่รัก LGBTQ+ ในเดือนแห่งความรัก ที่ไม่ว่าคนเพศไหนก็ควรจะรักกันได้อย่างมั่นใจ โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากสังคม 01 Your Name Engraved Herein (2020) ไต้หวัน น่าจะเป็นประเทศในเอเชียที่เรียกว่า ‘ก้าวหน้าที่สุด’ ในมูฟเมนต์เรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เพราะนอกจากจะเป็นประเทศแรกที่รัฐสภาให้ผ่านกฎหมายแต่งงานเพศเดียวกันตั้งแต่ปี 2019 สื่อไต้หวันยังทำคอนเทนต์ที่ขับเคลื่อนสิทธิของคนเพศหลากหลายจำนวนไม่น้อย หนึ่งในนั้นคือภาพยนตร์เรื่อง Your Name Engraved Herein ที่กวาดรายได้ไปกว่า 100 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน ภาพยนตร์ดราม่าเรื่องนี้ พาผู้ชมย้อนกลับไปในยุคหลังยกเลิกกฎอัยการศึก (Martial Law : 1949 […]

Bangkok Design Week 2022 เดินเล่น 5 ย่าน ดูงานสร้างสรรค์ 5 – 13 กุมภาพันธ์นี้

หลังจากที่กรุงเทพฯ เงียบเหงามานาน ในที่สุดเราก็ได้ออกไปเดินอีเวนต์นอกบ้านกันจุใจแล้ว เพราะในที่สุด Bangkok Design Week 2022 ก็กลับมาแล้ว Bangkok Design Week 2022 หรือ เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ปีนี้กลับมาภายใต้แนวคิด “Co With Creation คิด สร้าง ทางรอด” ชวนนักออกแบบทั่วเมืองมาร่วมมือกันหาทางออกให้กับชีวิตในยุคโควิด-19  งานนี้เป็นอีกปีที่เรารอคอยว่าจะมีอะไรสนุกๆ เกิดขึ้นบ้าง และได้เห็นพลังความคิดสร้างสรรค์ที่เคยต้องซบเซาไปพักใหญ่ๆ เพราะโรคระบาด กลับมาสร้างสีสันให้กับกรุงเทพฯ อีกครั้ง ในปีนี้มีการ Co with 5 ประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ เช่น Co with Space การออกแบบพื้นที่เพื่อรับมือกับปัญหาโควิด-19, Co with Mental Health งานออกแบบเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพจิต, Co with Eco การออกแบบเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม, Co with […]

‘พังก์ปาตานี’ 15 ปีแห่งวัฒนธรรมพังก์ร็อกกระแทกใจวัยรุ่น 3 จังหวัดชายแดนใต้

ดนตรีอาจเป็นสิ่งต้องห้ามในศาสนาอิสลาม ทว่าช่วงหนึ่งดนตรีและวัฒนธรรมพังก์กลับเคยรุ่งเรืองอย่างมากในดินแดนที่เรียกว่า ‘ปาตานี’ ‘ปาตานี’ ในภาษามลายู เป็นชื่อเรียกพื้นที่ครอบคลุมตั้งแต่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และบางส่วนในจังหวัดสงขลา ทั้งสี่จังหวัดอยู่ติดกันบริเวณชายแดนสุดปลายด้ามขวานของประเทศไทย ส่วน ‘พังก์’ คือ Pop Culture ที่ได้รับความนิยมมากในหมู่คนหนุ่มสาวทั่วโลก โดยเฉพาะความเฟื่องฟูช่วงปลายทศวรรษ 1970 เป็นต้นมา บทเพลงเหล่านี้สอดแทรกนัยความขบถ การต่อต้านเชิงอำนาจที่แสดงผ่านพฤติกรรม การแต่งตัว การแต่งหน้า การทำผม การสักลาย และแน่นอน พังก์คือหนึ่งในแนวดนตรีร็อก มีจังหวะดิบๆ และเดือดดาล ส่งเสียงการขับร้องและการเล่นดนตรีอย่างเมามันเป็นเอกลักษณ์ ใช่ เรากำลังพูดถึง ‘พังก์ปาตานี’ วัฒนธรรมที่เคยผลิบานสุดๆ ในสามจังหวัดชายแดนใต้ ระหว่างราวปี 1995 จนกระทั่งถึงช่วงราวปี 2010 รวมระยะเวลากว่า 15 ปี ที่วัฒนธรรมได้โลดแล่นสร้างสีสันให้วัยรุ่นในพื้นที่ได้ปลดปล่อยความขบถของพวกเขาออกมาอย่างเต็มที่ ถ้าสมัยก่อนมีสื่อโซเชียลออนไลน์อย่างในปัจจุบัน เราคงได้เห็นภาพความสนุกสนานวาดลวดลายอย่างทั่วถึง แต่ด้วยยุคสมัย ภาพของชาวพังก์ปาตานีจึงหลงเหลือเพียงเศษเสี้ยวกระจัดกระจาย บ้างบนภาพถ่ายฟิล์ม บ้างในคลิปวิดีโอจากกล้อง Handycam และส่วนสำคัญคือความทรงจำในเนื้อตัวของชาวพังก์ร่วมสมัยที่เติบใหญ่จนมีอายุกลาง 30 ถึงปลาย 40 กว่าๆ  […]

Ideal School ชวนนักเรียนออกแบบโรงเรียนในฝันที่ทั้งสนุกและตอบโจทย์ผู้เรียน

การระบาดของโควิด-19 ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้นักเรียนส่วนใหญ่ต้องเรียนออนไลน์อยู่บ้าน หลายคนเริ่มโอดครวญไม่อยากเรียนผ่านหน้าจอสี่เหลี่ยมแล้ว เพราะนอกจากนักเรียนจะไม่มีสมาธิ เนื้อหาไม่เข้าหัว จนรู้สึกหมดไฟไปตามๆ กัน และยังไม่มีใครฟันธงได้ว่าเด็กๆ จะได้กลับไปโรงเรียนแบบ 100% อีกเมื่อไหร่ Urban Creature จึงขอพักเบรกความรู้สึกห่อเหี่ยวและเหนื่อยล้าจากการเรียนออนไลน์ โดยการชวนนักเรียนชั้นประถมฯ จนถึงวัยมัธยมฯ มาร่วมกันระดมไอเดียสนุกๆ และสร้างสรรค์ เพื่อออกแบบ ‘โรงเรียนในอุดมคติ’ ตามแบบฉบับ Urban Sketch  จุดเริ่มต้นมาจากโรงเรียนไทยส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกออกแบบโดยยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือเสนอไอเดียเกี่ยวกับการออกแบบโรงเรียน ทำให้ห้องเรียน ตึก และอาคารส่วนใหญ่มีฟังก์ชันที่ไม่เหมาะกับการใช้งานของผู้เรียนเท่าที่ควร นอกจากนั้น เวลาซื้ออุปกรณ์หรือสร้างพื้นที่ใหม่ๆ โรงเรียนก็ไม่เคยถามความคิดเห็นจากเด็ก ว่าพวกเขาต้องการหรือคิดว่ามันเหมาะสมหรือไม่ ดังนั้น เราจึงอยากให้เด็กๆ ช่วยกันจินตนาการว่า ถ้าเลือกเองได้ โรงเรียนควรออกแบบอย่างไร หรือควรมีอะไรบ้าง พวกเขาถึงจะเรียนได้อย่างสบายกายและสบายใจ เพราะหลายโรงเรียนทั่วโลกก็ออกแบบโดยยึดโรงเรียนเป็นศูนย์กลางทั้งนั้น การออกแบบของเด็กๆ มีตั้งแต่ฟังก์ชันล้ำที่เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การออกแบบห้องสมุดเพื่อความสะดวกสบาย ไปจนถึงการจัดวางห้องศิลปะและโรงอาหารที่ผู้ใหญ่อย่างเรานึกไม่ถึงมาก่อน ทั้งหมดนี้คือการออกแบบที่จะทำให้นักเรียนแฮปปี้และสนุกกับการไปโรงเรียนมากขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว เราขอชวนทุกคนแพ็กกระเป๋า สวมจิตวิญญาณของนักเรียน และไปทัวร์โรงเรียนในฝันด้วยกันเลย! 01 | ห้องเรียนที่มีอิสรภาพและความเสมอภาคในการเรียน ห้องเรียนส่วนใหญ่ออกแบบให้คุณครูยืนสอนอยู่หน้าห้อง ทำให้นักเรียนหลายคนรู้สึกอึดอัด […]

‘คุก’ พื้นที่ไร้สิทธิที่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในมุมมอง ‘รุ้ง ปนัสยา’

รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาหญิงจากแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ถูกจองจำในเรือนจำมาแล้ว 3 ครั้ง ส่วนอีก 1 ครั้งหลังคือ การใส่กำไล EM จำกัดพื้นที่ในเคหสถาน ถ้าย้อนกลับไปเกือบสามปีก่อน เราคงจินตนาการไม่ออกเลยว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยจะมาไกลและมีการพูดถึงปัญหาตรงไปตรงมาอย่างในตอนนี้ แต่การกล้าตั้งคำถาม การเสนอแนวทางให้สถาบันปรับตัว และการขับไล่เผด็จการ ก็ต้องแลกมาด้วยพันธนาการผู้เรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่า  จากการติดตามข่าวคราวของรุ้งและแกนนำคนอื่นๆ ช่วงที่อยู่ในเรือนจำ เราสังเกตเห็นว่าข่าวเหล่านี้ถูกเล่าในวงจำกัด มีการนำเสนอเฉพาะกลุ่มบนโซเชียลมีเดีย จากบุคคลหรือสำนักข่าวเจ้าเดิมๆ ส่วนสื่อกระแสหลัก หรือสื่ออนุรักษนิยม เราไม่เคยได้รับข้อมูลที่ตีแผ่ความเป็นจริงส่วนนี้เลย ช่วงเกือบสิ้นปีที่แล้ว ก่อนรุ้งเข้าเรือนจำเป็นครั้งที่สาม เราถามเธอ จากข้อสังเกตส่วนตัวว่า คิดยังไงที่ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘คุก’ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองที่แทบไม่เคยถูกพูดถึง และแน่นอน มันเป็นพื้นที่ลับแลที่คนส่วนหนึ่งไม่แยแสว่ามีปัญหามากมายสะสม นั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตต่ำเตี้ยเรี่ยดินของผู้ต้องขังที่ไม่เคยถูกยกระดับ และกระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข คุก : พื้นที่ห่างไกลเมืองและศิวิไลซ์  “คุก ส่วนใหญ่อยู่ไกลจากพื้นที่ชุมชน โดยเฉพาะคุกที่เกิดขึ้นใหม่ หรือคุกในต่างจังหวัด เพื่อให้ตั้งอยู่ไกลจากเมือง และเพื่อให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เขาคงไม่อยากให้คุกอยู่ในชุมชน แต่ถ้าคุกอยู่ไกลชุมชนมากๆ ก็จะทำให้ผู้ต้องขังลำบากมาก เพราะทนายความและญาติไปเยี่ยมได้ยาก สิ่งนี้สำคัญต่อผู้ต้องขังมาก ถ้าขาดตัวกลางนี้ไปก็แปลว่าคนข้างในจะไม่ได้รู้เรื่องข้างนอกเลย “มันจะทำให้คนข้างในมีความเครียดสูงขึ้นมากๆ […]

‘สถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง)’ สัญลักษณ์ยิ่งใหญ่ในสยามยุคอาณานิคม สู่อนาคตว่าจะไปทางไหนดี

ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา กระแสการย้ายศูนย์กลางการเดินรถไฟจากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปที่สถานีกลางบางซื่ออย่างฉับพลันทันด่วน ก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม ทั้งจากประชาชน นักเรียน-นักศึกษา นักวิชาการจากสถาบันการศึกษา รวมถึงบุคลากรในหน่วยงานของรถไฟเช่นกัน เสียงสะท้อนต่อการตัดสินใจจะเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่ การไม่คิดคำนึงถึงความเดือดร้อนของคนที่ใช้เส้นทางสัญจรเป็นประจำเพราะการย้ายจะทำให้ค่าใช้จ่าย และเวลาเดินทางเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงคำถามเชิงคุณค่าทางวัฒนธรรมต่อการใช้งานพื้นที่หัวลำโพง รวมไปถึงคำถามภาพใหญ่ที่ตั้งคำถามถึงระบบขนส่งสาธารณะของประเทศไทยทั้งหมด ว่าสรุปแล้วควรจะไปทิศทางไหน ถึงจะไม่สะเปะสะปะ และเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนคนเดินถนน ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศจริงๆ เมื่อมองกลับไปที่ประวัติศาสตร์ของ ‘สถานีกรุงเทพ’ สถานที่แห่งนี้บน ‘ถนนพระราม 4’ ในปัจจุบัน เคยเป็นทั้งศูนย์กลางขนส่งทางรางและตัวแทนอันน่าภาคภูมิของ ‘ความเป็นสมัยใหม่’ ของชนชั้นนำสยาม แต่ทำไมอนาคตของสถานีรถไฟในปัจจุบันกลับดูไม่แน่นอนว่าจะไปทางไหนต่อ หลังจากเสียงวิจารณ์เกือบหนึ่งเดือนเต็มๆ เมื่อ 20 ธันวาคม 2564 ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมก็ได้หยุดการ ‘ย้ายหัวลำโพง’ นี้ไปก่อน และให้มีรถไฟวิ่งเข้าออกสถานีตามปกติ นั่นทำให้เสียงวิพากษ์วิจารณ์หยุดลงไปชั่วคราว แต่ปัญหาที่รอการหาทางออกร่วมกันในประเด็นนี้ยังคงอยู่ไม่หายไปไหน ดังคำกล่าวอันโด่งดังของนักปรัชญา ฟริดริช เฮเกล (Friedrich Hegel) ที่ว่า ‘เราเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ว่าพวกเราไม่เรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์เลย’ อาจจะเป็นประโยคเจ็บแสบล้อเลียนประวัติศาสตร์มนุษยชาติ แต่ประเด็นสำคัญคือมันกระตุ้นเตือนให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่กำลังจะทำตลอดเวลา ว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้าง และเราเรียนรู้จาก ‘ประวัติศาสตร์’ […]

‘Art is the Solution’ 10 จุดดูงานศิลปะยามราตรีจากงาน Galleries’ Nights

คุณเข้าแกลเลอรีหรือดูงานศิลปะแบบใกล้ชิดครั้งล่าสุดเมื่อไหร่?  ในช่วงเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้แกลเลอรีต่างๆ ต้องปิดทำการชั่วคราว ทำให้หลายคนห่างหายจากงานศิลปะ หรือลืมไปแล้วว่าความรู้สึกที่ได้ดูงานศิลปะใกล้ๆ ในแกลเลอรีจริงๆ เป็นอย่างไร  สุดสัปดาห์ที่จะถึงนี้ วงการศิลปะในบ้านเราจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง เพราะทางสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยกำลังจะจัดงาน ‘Galleries’ Night Bangkok 2021’ ภายใต้ธีม ‘Art is the Solution’ เพื่อนำผู้คนกลับมายังแกลเลอรีอีกครั้ง และพาทุกคนไปหาคำตอบว่า ศิลปะคือทางออกสำหรับตัวคุณได้อย่างไรบ้าง  สำหรับปีนี้ Galleries’ Night ในกรุงเทพฯ ได้รวบรวมแกลเลอรีมากกว่า 70 แห่ง ที่น่าตื่นเต้นก็คือผู้เยี่ยมชมสามารถกระโดดขึ้น-ลงตุ๊กตุ๊กที่ทางผู้จัดมีบริการฟรี ทุกคนจะได้สัมผัสประสบการณ์ Gallery Hopping และสามารถเพลิดเพลินกับศิลปะร่วมสมัย นิทรรศการ กิจกรรมพิเศษอื่นๆ อีกมากมายผ่านเส้นทางกว่า 30 เส้นทาง Galleries’ Nights จะจัดขึ้นในกรุงเทพฯ 2 คืน โดยมี 2 เส้นทางหลัก ได้แก่ วันที่ 26 พฤศจิกายน […]

รีโนเวต หอสมุดวังท่าพระ 57 ปี ให้เชื่อมบริบทท่าช้าง และเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะกับโบราณคดี

ห้องสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากรในความทรงจำคุณเป็นแบบไหน? หากคุณเป็นชาวศิลปากร อาจจดจำภาพห้องสมุดเล็กๆ ที่นักศึกษาล้อมวงแน่นรอบโต๊ะ เต็มไปด้วยเสียงพูดคุยจอแจ ซึ่งบ่อยครั้งต้องแย่งชิงที่นั่ง และต่อคิวยืมหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ถ้าคุณเป็นผู้แวะเวียนมาใช้บริการเป็นครั้งคราว อาจพบว่าที่นี่คือสวรรค์ของคนรักหนังสือศิลปะ งานดีไซน์ สถาปัตยกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ ซึ่งเต็มไปด้วยมนตร์ขลังของบรรยากาศเก่าแก่ ไม่ว่าภาพจำจะเป็นแบบไหน แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ห้องสุดเก่าในมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งนี้ก็แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ก่อนเป็น ‘หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร’ ห้องสมุดแห่งนี้เคยเปิดทำการครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 2507 โดยตั้งอยู่ภายในอาคารบริเวณหลังลานอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ก่อนย้ายมาสร้างด้านหน้าสำนักงานอธิการบดีเมื่อปี 2518 จนถึงปัจจุบัน เดิมทีออกแบบโดย ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุริยา รัตนพฤกษ์’ เป็นสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เริ่มต้นไว้อย่างดี แต่ด้วยการปรับปรุงพื้นที่ตามกาลเวลา โดยไม่ได้มีแผนการพัฒนาชัดเจน จึงทำให้ภาพรวมการขยับขยายพื้นที่ค่อนข้างสะเปะสะปะ  ในปี 2558 นับตั้งแต่เริ่มโครงการปรับปรุงวิทยาเขตวังท่าพระของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นการปรับปรุงพื้นที่ทั้ง 4 คณะวิชา ประกอบด้วย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะมัณฑนศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะโบราณคดี รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางอื่นๆ ซึ่งหอสมุดเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่ได้รับการยกเครื่องใหม่ ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทพล จั่นเงิน’ หรือ ‘อาจารย์โอ๊ต’ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง ผู้ออกแบบหอสมุดวังท่าพระเวอร์ชันล่าสุด จึงตั้งใจที่จะพัฒนาและปรับปรุงให้อาคารหอสมุดมีภาพลักษณ์และภูมิทัศน์ที่ดีขึ้น […]

1 15 16 17 18 19 21

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.