ลำกระโดงสโมสร คลับคนแม่กลองที่จะพาไปรู้จักและใกล้ชิดเมืองแม่กลองผ่านลำน้ำและการพาย

ย้อนกลับไปเมื่อปลายปีที่แล้ว วันเดียวกับที่กรมอุตุฯ ประกาศว่าฤดูหนาวมาถึงแล้ว อากาศยามเย็นของแม่กลองพอจะกล่าวได้ว่าเย็นสบาย มีสายลมอ่อนโบกโบยเป็นระยะ และฝนเจ้ากรรมทำท่าว่าจะยังไม่หนีหายไปไหน ส่อเค้าลางเป็นเมฆสีดำที่ลอยอยู่ไกลๆ และเรดาร์น้ำฝนจากแอปพลิเคชันก็การันตีเลยว่าราตรีนี้ไม่รอดแน่  “โห กำลังมาเลย” ก๊อก-กึกก้อง เสือดี ชายหนุ่มเจ้าของคลับลำกระโดงสโมสรกล่าวก่อนเดินไปที่ท่าน้ำของ อบต.แหลมใหญ่ เพื่อยกเรือคายัคสีสดลงจากหลังคารถเอสยูวี ก่อนจะอธิบายทีมงานผู้ไม่ค่อยจะคุ้นเคยกับการคมนาคมทางน้ำที่คราวนี้ต้องรับบทเป็นฝีพายถึงเทคนิคในการพายเรือให้ได้แรงดี กฎความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน พร้อมอธิบายเส้นทางคร่าวๆ ให้ฟัง เริ่มต้นด้วยเลาะไปตามท่าเรือที่สองฟากฝั่งเต็มไปด้วยเรือหาปลาลำใหญ่ ต้านทางน้ำขึ้นดูประวัติศาสตร์ชุมชนแม่กลอง หยุดอยู่ริมฝั่งนั่งบนเรือเพื่อขอผูกมิตรกับหิ่งห้อยที่วิบวับราวกับแสงไฟจากงานเทศกาล ก่อนจะไหลตามสายน้ำกลับสู่จุดเริ่มต้น ทั้งหมดนี้คือน้ำจิ้มจากลำกระโดงสโมสรที่เราจะได้เจอกันในวันนี้  “เราอธิบายความเป็นแม่กลองจากการพายเรือร่วมกัน วันนี้เรามาที่แหลมใหญ่ก็เลยชวนเป้ (ชาวแม่กลองอดีตนักกีฬาคายัคที่วันนี้เป็นไกด์กิตติมศักดิ์) มาด้วย อยากให้เป้ได้เห็นศักยภาพของบ้านตัวเองว่าเราตื่นเต้นกับสิ่งที่เขามีนะ (ยิ้ม) มันเป็นโอกาส เป็นอนาคต แล้วเราจะเดินไปข้างหน้าได้อย่างไรจากสิ่งที่เรามีอยู่ เราจะพามันไปด้วยได้อย่างไร” ตะวันทำท่าจะคล้อยต่ำ เรากระชับเสื้อชูชีพสีส้มก้าวลงบันไดอย่างมั่นคง แล้วขึ้นเรืออย่างโคลงเคลงตามประสาคนไม่คุ้นเคย เมื่อจำนวนสมาชิกครบถ้วนไม้พายก็เริ่มออกแรงต้านสู้กับสายน้ำ เรือคายัคทั้งแบบสมัครเล่น มืออาชีพ และกระดานซัปบอร์ดไหลไปข้างหน้าทีละนิด เมื่ออยู่ติดผิวน้ำเรือแต่ละลำใหญ่ขึ้นถนัดตา และหนึ่งวันกับลำกระโดงสโมสรก็เริ่มต้นขึ้น… 01 ปฐมบทลำกระโดง เราเดินทางกันอย่างไม่เร่งรีบ เสียงพายกระทบน้ำ ควบคู่ไปกับเสียงสนทนาที่เต็มไปด้วยความตื่นเต้นของผู้มาเยือน หากฟังจากที่พี่ก๊อกเล่า เรารู้สึกได้ว่าแม่กลองเป็นเมืองที่เต็มไปด้วย Active Citizen ที่พยายามทำสิ่งที่ตัวเองถนัดในการพัฒนาให้เมืองดีขึ้น แน่นอนว่าลำกระโดงสโมสรก็เป็นหนึ่งในนั้น  “แม่กลองเรามีฐานเป็นคนขับเคลื่อนเมืองอยู่แล้ว […]

กชกร วรอาคม กับปณิธานการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้คนในยุคนี้และยุคหน้า

“Can we fix the climate problem in one generation?” เป็นคำถามที่กชกร วรอาคม ถามกับตัวเอง เป็นคำถามที่ทำให้เธอที่เป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ บนโลก เริ่ม ‘ลงมือทำ’ หลายสิ่งหลายอย่าง เป็นคำถามที่เธอพูดในคลิป ที่ท่านเซอร์ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ นักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญ นำไปเปิดประกอบสปีชที่ COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกชกรได้เข้าร่วมเพื่อรับรางวัลด้านการออกแบบจาก UN เป็นคำถามที่เธอถามกับผู้คนที่มาร่วมงานประกาศเดินหน้าธุรกิจควบคู่กับการกู้วิกฤตโลกของ SCG หรือ SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก ในครั้งนี้ และ My answer would be yes. We have to. เป็นประโยคที่เธอตอบคำถามของตัวเอง ‘กชกร วรอาคม’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘อาจารย์กช’ ตามบทบาทภูมิสถาปนิก พ่วงด้วยอาจารย์พิเศษด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทีมงานออกแบบโปรเจกต์พื้นที่สาธารณะเด่นๆ หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ, สวนหลังคาอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต, Siam Green Sky สวนเกษตรลอยฟ้า สยามสแควร์, สวนบำบัดลอยฟ้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี, ทางเดินคนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ดัดแปลงจากโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน, สวนสาธารณะเลียบคลองช่องนนทรี และงานอื่นๆ อีกมากมาย สาวแพสชันสูงคนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกต่างๆ เธอเป็นคนไทย 1 ใน 3 คน ที่ติดอยู่ในลิสต์ ‘TIME 100 […]

สุนัขชุมชน ตลาดแม่กลอง โมเดลที่บอกว่าหมาจรจัดไม่ใช่ภาระ และอยู่ร่วมกับสังคมได้

ยามเย็นของตลาดแม่กลอง ตลาดติดทางรถไฟหุบร่มไปเรียบร้อย คุณแม่แวะมาหิ้วมื้อเย็นไปฝากครอบครัว เด็กนักเรียนถือไม้ลูกชิ้นทอดแกล้มกับน้ำอัดลม ชายหนุ่มวัยเก๋าฝังตัวอยู่ในบาร์เบอร์ที่น่าจะใช้บริการกันมาแต่นานนม หมาปลอกคอเขียวใส่เสื้อกั๊กสีส้มกระโดดขึ้นมอ’ไซค์วินอย่างคุ้นเคย เจ้าตัวอวบอ้วนสีดำไม่สนิทคาบตะกร้าเดินตามคนรู้ใจ ประชากรสี่ขาครับกระจายตัวไปทั่วตลาดอย่างกลมกลืน บ้างเล่นกับพ่อค้าแม่ขาย บ้างนอนทอดอารมณ์ไม่สนใจความเป็นไปของผู้ใด พอจะกล่าวได้ว่าบรรยากาศตลาดแห่งนี้ดูแสนคึกคักแม้เป็นวันธรรมดา หากลองทอดน่องเลยมาทางโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นอกจากจะพบ ‘กล้าหาญ’ ดาราตลาดที่เราบอกว่ากระโจนขึ้นลงรถพี่วินฯ อย่างคล่องแคล่วไร้ความเขินอายแล้ว ‘โอวัลติน’ สามขาพันธุ์ซ่าก็ออกมาทักทายคนรู้จักตามประสา ปลอกคอสีเหลืองเตือนเราว่าอย่าพึ่งรีบทักทายเพื่อนใหม่คนนี้ คอยดูท่าทีความเป็นมิตรอีกสักนิดหนึ่งดีกว่า  “โอวัลตินนี่แล้วแต่คนเลยครับ ต้องดูท่าเขาหน่อยว่าจะให้จับหรือเปล่า” พี่หนึ่ง-ณัฐพงษ์ งามสง่า เจ้าของร้านดอกไม้หน้า รพ.สมเด็จฯ และผู้ก่อตั้งโครงการสุนัขชุมชน ตลาดแม่กลอง เอ่ยปากแล้วบอกว่าส่วนเจ้ากล้าหาญนี่ใครอยากเล่นด้วยก็เอาเลย เพราะเป็นมิตรกับทุกคนอยู่แล้ว ยิ่งกับพี่วินฯ นี่จะยิ่งซี้เป็นพิเศษ อยากขึ้นมอเตอร์ไซค์คันไหนก็ได้หมดแถมไม่เสียตังค์ด้วย  ใครบอกว่าหมาจรต้องจับเอาไปตอนสถานเดียวพี่หนึ่งบอกว่าไม่จริง เพราะถ้าออกแบบและวางระเบียบให้ดีหมาอยู่กับคนได้แน่ ว่าแต่เจ้าของเสื้อสีฟ้าคนนี้มีวิธีอะไร ฉายาผู้ใหญ่บ้าน (ของชาวสี่ขา) ทำยังไงถึงได้มา ปลอกคอที่ใช้สีจราจรบอกความเป็นมิตรใช้ได้ผลแค่ไหน ชวนอ่านไปพร้อมกันเลยครับ การันตีว่าถูกใจทั้งคนรักและไม่รักหมาแน่นอน เริ่มจากคนรักหมา ในโลกของคนรักหมาผู้ใหญ่บ้านชาวสี่ขาตลาดแม่กลองอย่างพี่หนึ่ง ถือเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงและมีคนนับหน้าถือตาไม่น้อย เพราะนอกจากจะช่วยแก้ปัญหาหมาจร จับหมาไม่มีเจ้าของไปฉีดวัคซีน ทำหมันจนเสร็จสรรพ พี่แกยังเป็นเจ้าของเพจ @มัชเฌ Never Die อัศวินหมาดำ ที่สมัยก่อนเป็นไดอารีของเจ้ามัชเฌ ลาบราดอร์สีดำต้นตำรับเซเลบแห่งตลาดแม่กลองที่ดังถึงขนาดไปออกทีวีที่ญี่ปุ่น […]

จากนักอสังหาฯ ถึงผู้พัฒนาเมือง ‘ดร.ยุ้ย’ ผู้วางนโยบายแห่งทีมชัชชาติ

ทำงาน ทำงาน ทำงาน ก่อนหน้านี้ Urban Creature มีโอกาสได้พูดคุยกับบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีอย่าง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ถึงการก่อตั้งกลุ่ม Better Bangkok ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยชุมชนแก้ไขสารพัดสารพันปัญหา และนำองค์ความรู้ไปสนับสนุนการพัฒนาคนและพื้นที่อย่างยั่งยืน หลังจากปล่อยบทสัมภาษณ์และติดตามการทำงานกันมาพักใหญ่ วันนี้เรามีโอกาสได้คุยกับอีกหนึ่งขุนพลในทีมชัชชาติ อย่าง ดร.ยุ้ย-ผศ. ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ที่เพิ่งเปิดตัวในฐานะทีมนโยบายไปหมาดๆ หากใครมีโอกาสได้ติดตามการทำงานของเสนา จะพบว่าบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายนี้ก็มีส่วนช่วยขับเคลื่อนเมืองอยู่ไม่น้อย ทั้งโครงการบ้านที่ราคาจับต้องได้ง่าย บ้านที่ขายแล้วนำเงินไปบริจาคเพื่อโรงพยาบาล และอีกหลายโครงการ CSR ที่หยิบมาพูดทั้งหมดคงมีพื้นที่ไม่พอ ในฐานะสื่อที่สนใจเรื่องเมือง เราเตรียมชุดคำถามในมือ พกไปพร้อมความสงสัยในใจว่า CEO ของบริษัทอสังหาฯ ที่มองว่าการให้ไม่ใช่ทางออกของปัญหา และการแก้ไขอาจเป็นคำตอบที่ถูกต้องมากกว่า ในการพลิกบทบาทจากนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Developer มาทำนโยบายผ่านการเป็น Regulator  ว่าจะพัฒนาเมืองฟ้าอมรแห่งนี้ไปในทิศทางไหน สารพัดปัญหาของเมืองเทพสร้างจะแก้ยังไง สโลแกนของ Better Bangkok ที่บอกว่าจะทำให้กรุงเทพเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน จะทำให้พวกเรามีชีวิตดีๆ ที่ลงตัวกว่าเดิมได้จริงหรือเปล่า ใครที่สงสัยไม่ต่างจากเราก็ขอเชิญมาอ่านพร้อมกันได้เลยครับ  เล่าเรื่องตัวเองให้ฟังหน่อยว่าปกติแล้วคุณติดตามเรื่องการเมือง หรือนโยบายเมืองอย่างไรบ้าง  […]

“เด็กฝึกงานคือแรงงานในอนาคต” ซีเรียสเรื่องการฝึกงานและความเป็นธรรมกับสมัชชาIntern

ไม่ได้ค่าตอบแทน ไม่มีสวัสดิการ ไม่ได้เครดิต พี่เลี้ยงให้ทำแต่งานง่ายๆ บาดเจ็บจากการฝึกงาน โดนบริษัทเอารัดเอาเปรียบ หรือทำงานหนักข้ามวันข้ามคืน เราเชื่อว่าปัญหาเหล่านี้ต่อให้คุณไม่มีประสบการณ์ฝึกงานมาก่อนก็คงเคยสัมผัสมาบ้าง ไม่ว่าเสียงบ่นระบายจากคนรอบข้าง คนในโซเชียลมีเดีย ข่าวสารสื่อออนไลน์ หรือเรื่องเล่าต่อกันมา เกิดเป็นแนวคิดการฝึกงานคือการหาประสบการณ์ อย่าไปคาดหวังเงินหรือสวัสดิการตอบแทนนัก บริษัทสอนงานให้ก็ดีแล้ว เป็นต้น ทั้งที่ถ้าพิจารณาตามความจริงแล้ว นี่คือสิทธิที่เด็กฝึกงานพึงได้รับ และไม่ใช่สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเพียงผู้เดียว เพราะรัฐเองก็ควรเข้ามาช่วยเหลือภาคธุรกิจด้วย เราไม่รู้ว่าคุณมองเรื่องการฝึกงานยังไง แต่อย่างน้อยมีคนกลุ่มหนึ่งที่มองเห็นความสำคัญของประเด็นนี้ และหยิบยกขึ้นมาสื่อสารในนามของ ‘สมัชชาIntern’ ซึ่งประกอบด้วย สุดปรารถนา ชาตรี, ภูริภัทร ณ สงขลา และนภเศรษฐ์ ผลจันทร์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ “อย่างแรกต้องเชื่อก่อนว่าเราเป็นแรงงานคนหนึ่ง ต้องเชื่อในสิทธิมนุษยชนที่เราพึงได้ก่อนที่จะตั้งคำถามถัดไป” นี่คือแนวคิดที่สมัชชาIntern ต้องการนำเสนอกับสังคม โดยเฉพาะนักศึกษาที่ต้องเข้าฝึกงาน เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในสิทธิและเสียงของตัวเอง ให้กล้าตั้งคำถาม ต่อรอง และเรียกร้องกับผู้เกี่ยวข้อง คุณภาพชีวิตของเด็กฝึกงานไทยจะได้ดีขึ้นกว่านี้ มากไปกว่านั้น พวกเขายังร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ฝึกงาน โดยทำหน้าที่พูดคุยกับผู้ประกอบการและสื่อสารข้อเสนอสู่สังคม ทำให้นักเรียนนักศึกษาจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจ พร้อมเอ่ยตรงกันว่า “ในที่สุดก็มีสิ่งนี้เสียที”  เพราะเคยตั้งคำถามกับการฝึกงานมาเหมือนกัน เราจึงนัดคุยกับสุดปรารถนาและภูริภัทร […]

พุทธคือยาฝิ่น จึงใช้คอมมิวนิสต์ดับทุกข์ คุยกับอดีตเณรโฟล์ค ผู้ปลดจีวรมาจับค้อนเคียว

“ขอให้พระภิกษุโปรดจดจำว่าข้าพเจ้าคือคฤหัสถ์ ขอให้พระภิกษุโปรดจดจำไว้ว่าข้าพเจ้าคือคอมมิวนิสต์” ประโยคส่งท้ายการลาสิกขาของอดีตสามเณรโฟล์ค เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมาสร้างความงุนงงให้เราไม่น้อย ขณะที่กระแสสังคมส่วนใหญ่กำลังต่อสู้เรียกร้องเพื่อ ‘ประชาธิปไตย’ (จะมีคำสร้อยห้อยท้ายว่า “อันมีพระ…” หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณเป็นทีมกี่ข้อ)  แต่นักกิจกรรมวัย 21 ปีผู้นี้ประกาศตนว่าเขาเป็น ‘คอมมิวนิสต์’ จะเรียกว่าเป็นความกล้าหาญคงไม่ผิด แต่ในมุมมองของเรา สัดส่วนที่มากกว่าคงเป็นความบ้าบิ่น  ในเมื่อสังคมไทยยังคงถูก ‘ผีคอมมิวนิสต์’ หลอกหลอนอยู่ และยังไม่ลืมกันใช่ไหมว่าเพิ่งสี่สิบกว่าปีที่แล้วเองที่พระสงฆ์รูปหนึ่งเปล่งวจีกรรมว่า “ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป” เพราะเช่นนี้ เราจึงหอบหิ้วความสงสัยไปคุยกับอดีตเณรโฟล์ค ผู้บัดนี้ละผ้าเหลือง ไม่ใช่สามเณรใต้ร่มกาสาวพัสตร์​ แต่เป็น ‘สหรัฐ สุขคำหล้า’ คอมมิวนิสต์ผู้เชื่อมั่นว่าแนวทางแบบ Buddhist Marxism จะช่วยให้ประชาชนไม่ว่าศาสนาใดพ้นทุกข์อันเกิดจากความไม่เท่าเทียม อัปเดตชีวิตก่อนดีกว่า หลังจากสึกมาได้ประมาณสิบวัน คุณเป็นอย่างไรบ้าง ประเด็นแรกเลยซึ่งเป็นเรื่องแซวกันเล่นๆ ในหมู่เพื่อนผม คือการใส่กางเกงในครั้งแรกมันรู้สึกแปลกมาก เพราะมันอึดอัด และผมรู้สึกว่าเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับผม เดี๋ยวนะ ปกติพระไม่ใส่กางเกงในกันจริงๆ เหรอ ไม่ใส่ครับ ไม่ใส่ มันจะโล่งๆ สบายๆ ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ก็เลยแก้ปัญหาตัวเองโดยซื้อบ็อกเซอร์กับกางเกงในรัดรูปมาสองแบบ  ประสบการณ์ซื้อกางเกงในครั้งแรกเป็นอย่างไร ผมเรียกคนขายว่าโยม (หัวเราะ) […]

เป็นสิตางศุ์ เป็นนางร้าย เป็นลิซ่า ‘พีทพามานา’ Creator ที่ใช้เสื้อผ้าแม่ทำ Parody วิวหลักล้าน

ท่ามกลางตลาดคอนเทนต์ครีเอเตอร์ในไทยที่บูมขึ้นเรื่อยๆ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำคอนเทนต์ให้โดดเด่นและโดนใจคนหมู่มากนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งที่ยากกว่าคือการทำคอนเทนต์ใหม่ๆ เพื่อจูงใจให้คนยังกดติดดาว (หรือกระดิ่ง) ช่องเราไว้เสมอ แต่ความชอบคนเราเปลี่ยนไปได้ทุกวัน ครีเอเตอร์หน้าใหม่ก็กลายเป็นไวรัลในชั่วข้ามคืน การจะยืนระยะในวงการนี้ได้นั้นเรียกร้องเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ถูกอกถูกใจคนดู และหนึ่งในครีเอเตอร์ที่ทำแบบนั้นได้คือ ‘พีทพามานา’ แม้ว่าแอ็กเคานต์ติ๊กต็อกและเพจของ พีท-สุทิน โคตะถา จะเปิดมาได้แค่ปีกว่าๆ แต่ครีเอเตอร์วัย 27 ปีคนนี้ก็ขยันปล่อยคอนเทนต์ใหม่ๆ ออกมาให้คนดูได้หัวเราะ (หรืออย่างน้อยก็กระตุกมุมปากยิ้มล่ะ) ไม่ว่าจะเป็นคลิปเลียนเสียงคนดังอย่าง พิม นาคำไฮ หรือ สิตางศุ์ บัวทอง คลิปพาโรดี้ละครไทย ล่าสุดคือคลิปคัฟเวอร์เอ็มวีเพลง LALISA ของ LISA วง BLACKPINK ที่มียอดวิวกว่า 3 ล้านวิวเข้าไปแล้ว! ด้วยยอดคนดูขนาดนี้ ไม่เกินจริงเลยถ้าจะเรียกพีทว่าดาวติ๊กต็อก นอกจากจริตจะก้านการแอ็กติ้งที่ดูแล้วต้องตบเข่าฉาด เหตุผลที่ทำให้หลายคนกดติดตามพีทคือการสร้างคอนเทนต์จาก ‘อะไรง่ายๆ’ ที่อยู่รอบตัวอย่างการหยิบยืมเสื้อผ้าของแม่กับพี่สาวมาใส่ ไหนจะใช้นาข้าวในชนบทของอำเภอนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานี เป็นฉากหลัง  สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือเบื้องหลัง ‘อะไรง่ายๆ’ เหล่านั้นต้องแลกกับอะไรบ้าง คอลัมน์ The Professional คราวนี้ เราจึงอยากชวนไปสำรวจโลกของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ไม่ได้ง่ายดายเหมือนใช้ปลายนิ้วไถฟีด เสียงแมงแคงบินว่อน ลมจากเถียงนาพัดเอื่อย อีกฝั่งของวิดีโอคอล พีทในชุดเดรสแหวกอกกับวิกหน้าม้ารอให้คำตอบกับเราแล้ว โตมากับละครไทย […]

The Professional l คุยกับโต้ง บรรจง ผู้กำกับหนังเรื่อง ‘ร่างทรง’ หนังสยองขวัญที่อีก 10 ปี คุณยังต้องพูดถึง

เจ้าเชื่อเรื่องผีบ่’ ในโลกที่หลายๆ คนอาจไม่สัมผัสสิ่งที่เรียกว่า ‘ผี’ ในชีวิตจริง แต่ก็มีหนังที่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ ผลิตออกสู่สายตาให้เรารับชมไม่ขาดสาย ไม่ว่าจะเป็นหนังไทยหรือต่างประเทศ ผีจะโผล่มาตอนไหน เนื้อเรื่องจะเล่าอย่างไร เป็นสิ่งท้าทายผู้กำกับยุคนี้ที่ต้องทำให้คนดูกลัวด้วยวิธีใหม่ๆ ตลอดเวลา “สิ่งสำคัญที่สุดของคนทำหนังคือ งานมันต้องเดินทางผ่านกาลเวลาได้ ไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเรื่องไหน 10 ปีต่อมาใครจะยังพูดถึงอยู่” คำพูดชวนเราให้คิดตามของ ‘โต้ง-บรรจง ปิสัญธนะกูล’ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง ‘ร่างทรง’ ที่เล่าเรื่องราวสยองขวัญ ผ่านความเชื่อเรื่องร่างทรงตามชื่อหนัง สร้างกระแสฮือฮาทั่วเอเชียตั้งแต่หนังปล่อยทีเซอร์ออกมา และกระแสยังแรงต่อเนื่องเมื่อหนังได้เข้าฉายที่ประเทศเกาหลี รวมถึงประเทศไทยเองก็กระแสแรงไม่แพ้กัน หนังเรื่องนี้จะถ่ายทอดออกมาในรูปแบบไหน และจะเป็นหนังที่อีก 10 ปีคนยังพูดถึงอยู่หรือไม่ มาร่วมพูดคุยกับโต้ง บรรจง ไปพร้อมๆ กับเราในคลิปนี้ได้เลย แล้วคุณล่ะ ‘เชื่อในเรื่องร่างทรงไหม’ #UrbanCreature #ReinventTheWayWeLive #ร่างทรง #หนังผีไทย #หนัง2021

หิน ณรงค์ แท็กซี่โชห่วย ที่มีของใช้ ของกิน ยันของส่วนตั๊วส่วนตัว หยิบได้เลย ฟรี!

ขึ้นแท็กซี่คันนี้ อย่างต่ำยิ้มออก อย่างมากม่วนหลาย และใช่ค่ะ ดิฉันเอนจอยสุดๆ ตั้งแต่หย่อนตัวลงเบาะ 360 องศาภายในรถ อัดแน่นไปด้วยขนมหลากยี่ห้อ ทั้งคาว หวาน นัว มีไข่ไก่ ปลากระป๋อง เครื่องปรุงครบรส ไปจนถึงของใช้เบสิกอย่างน้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างจาน ร่ม แปรงสีฟัน แม้กระทั่งโมเดลการ์ตูนหลายร้อยตัวเพิ่มสีสัน เอ๊ะ ผนังรถมียาสามัญประจำบ้านด้วย ดีจัง แต่เดี๋ยวนะ นั่นมันยาคุมฉุกเฉิน ถุงยาง เจลหล่อลื่น และผ้าอนามัยหรือเปล่า?!  แทบจะไม่ใช่แท็กซี่อยู่แล้ว แทบจะเป็นร้านสะดวกซื้อเคลื่อนที่อยู่แล้ว ซึ่ง หิน-ณรงค์ สายรัตน์ คนขับแท็กซี่วัย 55 ปี คนนี้ก็ต้องการให้เป็นแบบนั้น เพราะนี่คือ ‘แท็กซี่โชห่วย’ ที่เจ้าตัวทำมา 13 ปี และขอดอกจันรัวๆ ไว้ก่อนเลยว่าทุกอย่างบนรถไม่ขายสักชิ้นเด้อ แจกฟรี “โอ๊ย ถ้าไม่ได้ซื้อของขึ้นรถ นี่ไม่มีแรงขับหรอก มันไม่สนุก (หัวเราะ)” อะไรที่ทำให้น้าหินแจกฟรีแทนขาย และกลายเป็นขวัญใจชาวบางนาที่หิวเมื่อไหร่จะนึกถึง (เล่นมีโจ๊ก และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปพร้อมน้ำร้อนให้กินบนรถเวลาหิวโซ) แถมหยิบของใช้ส่วนตัวต่างๆ […]

จิรันธนิน กิติกา อ. หัวขบถผู้ดีไซน์วิชาถาปัตย์ให้แซ่บ และพัฒนาเมืองเชียงใหม่ให้ต้าชชช

ถ้าคิดว่าบทบาทอาจารย์ต้องขรึมเคร่งน่าเบื่อ ก็อยากให้ขยำภาพนั้นเขวี้ยงทิ้งซะให้หมด เพราะ ภูวา หรือ อ.ภู-จิรันธนิน กิติกา อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กำลังเป็นในสิ่งที่สวนทางกับอาจารย์ส่วนใหญ่ แฟชั่นเนเบิล แซ่บ สนุก ฉูดฉาด แสบสัน แบบใหม่แบบสับ และพลังล้นเหลือ นี่คือกลุ่มคำที่เราถอดออกมาจากตัวตนหลากสีเกินจำกัดความของเขา  เฮ้ย แบบนี้ดิวะ อาจารย์ที่เราอยากให้มีในโลกวิชาการมากขึ้น เพราะเขาคือภาพแทนของคนบนพื้นที่อันหลากหลาย เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งใหม่ เปลี่ยนให้การศึกษาน่าตื่นเต้น และทำให้วัยรุ่นได้รับความเข้าอกเข้าใจเป็นของขวัญแบบไม่มีกั๊ก จิรันธนินเป็นคนเชียงใหม่มันๆ ขาหนึ่งรับบทเป็นอาจารย์ ที่อยากให้เด็กได้เป็นตัวเอง และเป็นพลเมืองตื่นรู้ (Active Citizen) ส่วนอีกขาเป็นนักพัฒนาเมืองเชียงใหม่ บ้านเกิดที่เขารักให้มีความต้าชชช เพื่อคนเชียงใหม่จะได้ใช้ชีวิตอย่างสนุกและสบาย ไม่ใช่แค่เก๋ไก๋อย่างฉาบฉวย หรือดัดจริตไร้แก่นสาร แต่ต้องยั่งยืน เข้าใจบริบททางวัฒนธรรม และที่สำคัญ คนในชุมชนต้องมีปากเสียง และมีสิทธิดีไซน์บ้านและเมืองที่พวกเขาอยากอยู่อย่างเต็มพลัง  จากเด็กที่เคยถูกเพื่อนล้อตัวตนว่าพิลึกและแปลกประหลาด สู่นักเรียนสถาปัตย์ที่พบว่าบ้านเมืองของเราไม่ได้เจริญไปกว่าประเทศเพื่อนบ้านที่เคยดูแคลน กระทั่งออกเดินทางไปเรียนโทจนจบดอกเตอร์ที่เมืองเกียวโต เพื่อพบว่าเมืองที่รักษาวัฒนธรรมตัวเองได้ดีมากๆ แท้จริงแล้วเป็นยังไง จนในที่สุดตัดสินใจกลับมาเป็นอาจารย์หัวขบถที่ลากวิชาสถาปัตยกรรมมารวมกับลวดลายทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และสังคม จนเด็กๆ ผู้เรียนต้องร้องว้าว ทว่าโครงสร้างหลักอาจเกลียดวิถีแหวกขนบ กล้าตั้งคำถาม ของคนประเภทนี้เข้าไส้ และต่อจากนี้ไป […]

Meme Girls Thailand เพจทำมีมเมาท์มอยประเด็นร้อนในสังคมด้วยจริตจาก Mean Girls

อย่าคิดว่ามีมมีดีแค่สร้างเสียงหัวเราะ ถ้ายังไม่ได้รู้จัก Meme Girls Thailand เพจทำมีมเม้ามอยประเด็นร้อนในสังคมด้วยจริตจากภาพยนตร์ Mean Girls

ศราวุธ แววงาม ชาว Punk ที่ผันเป็นช่างสักขาลาย อนุรักษ์รอยสักล้านนาโบราณที่แทบสาบสูญ

หากสังเกตจิตรกรรมฝาผนังโบราณล้านนา เราจะพบว่าบริเวณขาของชายทุกคนจะมีลวดลายจากการสักอยู่ นี่คือหนึ่งในอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมล้านนาที่เรียกกันว่า ‘การสักขาลาย’ ซึ่งเกิดมาจากความเชื่อในอดีตของชาวล้านนาว่า เด็กผู้ชายเมื่อจะก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ทุกคนต้องผ่านพิธีการสักขาลายเสียก่อน  นอกจากจะพิสูจน์ความกล้า ความอดทน ยังเชื่อกันว่าเป็นการแสดงความนอบน้อมต่อครอบครัว แสดงความกตัญญูทดแทนพระคุณแม่ และพร้อมที่จะเป็นหัวหน้าครอบครัวต่อไป ถึงขั้นมีจารึกบันทึกไว้เลยว่า หากหญิงใดจะดูว่าชายนั้นเหมาะเป็นคู่ครองหรือไม่ ส่วนหนึ่งคือให้ดูว่าชายนั้นสักขาลายแล้วหรือยัง ด้วยเหตุนี้ผู้ชายชาวล้านนาในอดีตทุกคนจึงสักขาลายกันทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามตลอดช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ค่านิยมการสักขาลายก็ถูกลดทอนลงจนใกล้จะสาบสูญเต็มที เหลือหลักฐานให้ได้เห็นอยู่บ้างบนเรือนร่างของผู้เฒ่าต่างๆ โชคดีที่ยังมีคนจำนวนหยิบมือหนึ่งยังเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมการสักขาลาย และเข้ามาช่วยอนุรักษ์ สืบสานวัฒนธรรมนี้ให้คงอยู่ต่อไป หนึ่งในคนจำนวนนั้นก็คือ อ๊อด-ศราวุธ แววงาม ช่างสักอดีตเด็กพังก์ (Punk) ที่ผันตัวมาศึกษาวัฒนธรรมการสักขาลายอย่างจริงจัง โดยเดินทางไปศึกษากับอาจารย์ชาวปกาเกอะญอที่ยังคงสักอยู่ และสืบทอดวิชาการสักขาลาย รวมถึงอนุรักษ์การสักขาลายด้วยการบันทึกรอยสักนั้นไว้ลงบนเรือนร่างของผู้ที่สนใจ อะไรที่ทำให้เด็กพังก์ ไว้ทรงโมฮอว์ก สวมเสื้อหนัง ห้อยโซ่ รองเท้าบูตติดหนาม ถึงผันตัวมาสวมใส่เสื้อม่อฮ่อม กางเกงสะดอ และเปลี่ยนจากสักลายร่วมสมัยด้วยเครื่องสัก มาจับเข็มสักโบราณ รับแต่งานสักขาลายโดยเฉพาะ The Professional คราวนี้เราจึงขอนำเสนอเรื่องราวของชายผู้นี้ อ๊อดเริ่มต้นการเป็นช่างสักตั้งแต่อายุ 18 ปี พร้อมๆ กับการหันมาสนใจวัฒนธรรมพังก์ “เราสนใจความเป็นพังก์ เพราะว่าตอนนั้นยังไม่เป็นที่นิยมในสังคมไทย คนไม่ค่อยแต่งตัวแบบนี้ พังก์น่าสนใจตรงที่การทำสีผม […]

1 8 9 10 11 12 31

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.