‘กัลชนา เนตรวิจิตร’ พนักงานกวาดถนน ผู้เป็นฟันเฟืองของเมืองที่มากกว่าแค่ทำความสะอาด

หากพูดถึงฟันเฟืองเล็กๆ ที่ทำให้เมืองของเราน่าอยู่ขึ้น คุณจะคิดถึงอะไร คำตอบแรกสำหรับเราที่ผุดขึ้นมาในหัวคงเป็นบรรดาพี่ๆ ที่ทำงานบริการใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ยิ่งในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขยะจากใบไม้กับเศษกิ่งไม้ที่ร่วงหล่น ไปจนถึงเศษซากอาหาร ถุงขนม กระดาษ ขวดพลาสติก หรือขยะชิ้นเล็กๆ อย่างก้นบุหรี่กับหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วจากฝีมือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ยิ่งทำให้ ‘พนักงานกวาดถนน’ ทวีความสำคัญขึ้นไปอีก วันนี้เราจึงเดินทางมายังเขตจตุจักรเพื่อพูดคุยถึงเรื่องราวชีวิตของ ‘แก้ว-กัลชนา เนตรวิจิตร’ ลูกจ้างชั่วคราวพนักงานทั่วไป (กวาด) ที่ก่อนหน้านี้เธอออกสื่อมาแล้วมากมาย เนื่องจากมีโอกาสได้รับประทานอาหารกับผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หลังจากเหตุการณ์ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหอวังที่โดนโจรจี้  เราหวังว่าถ้อยคำต่อจากนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงการทำงาน ความเป็นอยู่ ทั้งในเรื่องของรายได้และรัฐสวัสดิการของอาชีพพนักงานกวาดถนนมากขึ้นอีกหน่อย แล้วทุกคนจะรู้ว่าคนทำงานตัวเล็กๆ ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันมีความสำคัญต่อเมือง และต้องการคุณภาพในการใช้ชีวิตไม่ได้ยิ่งหย่อนไปจากอาชีพอื่นๆ เลย พนักงานกวาด ที่ไม่ได้มีหน้าที่แค่กวาด ในขณะที่ชีวิตของใครหลายคนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า แต่ชีวิตทุกวันของแก้วกลับเริ่มต้นขึ้นในยามที่ดวงจันทร์กำลังลาลับไป “เราตื่นนอนออกจากบ้านประมาณตีสี่ครึ่ง มาถึงก็ไปเอาไม้กวาดกับบุ้งกี๋มากวาดตรงจุดรับผิดชอบที่เขากำหนด จากนั้นมีเวลาพักช่วงแปดถึงเก้าโมงหนึ่งครั้ง ก่อนกลับมากวาดรอบสอง และนั่งอยู่บริเวณที่รับผิดชอบเผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน” ‘เหตุการณ์ฉุกเฉิน’ ที่ว่ารวมตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างขยะปลิว ไปจนถึงต้นไม้หัก น้ำท่วม หรือรถยนต์ที่ผ่านไปมาทำน้ำมันหก ทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของพนักงานกวาดถนนทั้งนั้น  แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นพนักงานกวาดถนน แต่หน้าที่การงานไม่ได้ทำแค่กวาดอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ เพราะควบรวมไปถึงการดูแลความเรียบร้อยทุกอย่างในพื้นที่นั้นๆ ด้วย […]

กระจกสี ป้าแก้ว เจ้าของร้านประกายแก้ว l The Professional

รู้ไหมว่า งานกระจกสีสวยงามที่เราเห็นที่ 1 – 3 ของโบสถ์คริสในไทย ล้วนมาจากฝีมือผู้หญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่ง จากความหลงใหลในกระจกสีวัดนิเวศธรรมประวัติ ทำให้ ป้าแก้ว-พวงแก้ว นันทนาพรชัย เจ้าของร้านประกายแก้ว อยากทำชิ้นงานแบบนี้ดูบ้าง  แม้ 10 นิ้วมือจะเต็มไปด้วยบาดแผล แต่ป้าแก้วกลับบอกว่า “เมื่อชิ้นงานเหล่านี้ถูกติดตั้ง ทุกคนเห็นแล้วมีความสุข ตัวป้าเองก็มีความสุข” แม้จะไม่ใช่ร้านเก่าแก่ที่สุด แต่ผลงาน กระจกสีของร้านประกายแก้วเป็นที่ยอมรับและไว้วางใจ จนเราได้เห็นมันบนวัดกาลหว่าร์ วัดเซนต์หลุยส์ ในวันนี้  Urban Creature อยากพาคุณไปทำความรู้จักกระจกสีให้มากขึ้นกับ ป้าแก้ว ร้านประกายแก้ว ที่ถือคติว่า “แม้หากเราไม่อยู่บนโลกนี้แล้ว แต่ศิลปะเหล่านี้ยังต้องอยู่ ศิลปะจงเจริญ”

“เกษตรอินทรีย์ช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติ” ทางฟื้นเชียงดาวด้วยธุรกิจของ จิราวรรณ คำซาว

เราเชื่อว่า ‘ดอยเชียงดาว’ คือสถานที่ท่องเที่ยวในเชียงใหม่ที่หลายคนหลงรักหรือปักหมุดอยากไปเยือนสักครั้ง เพราะที่นี่มีกิจกรรมไฮไลต์ที่จะพาผู้คนหนีความวุ่นวายในเมือง กลับสู่พื้นที่ท่ามกลางธรรมชาติที่สงบและสวยงาม ตั้งแต่การเดินป่าสำรวจสิ่งแวดล้อม แวะเข้าถ้ำ ลุยลำธารน้ำตก ไปจนถึงการตื่นเช้าขึ้นดอยไปดูทะเลหมอกสุดลูกหูลูกตาแบบฟินๆ ทั้งนี้ หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าดอยเชียงดาวไม่ได้เป็นแค่จุดหมายปลายทางยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยวเท่านั้น แต่เมื่อปี 2564 ที่นี่ยังได้รับการยกย่องจากองค์การระดับโลกอย่าง ‘ยูเนสโก (UNESCO)’ ให้เป็น ‘พื้นที่สงวนชีวมณฑล’ แห่งที่ 5 ของไทย และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑลของโลก พิจารณาจากการรักษาระบบนิเวศดั้งเดิมมาอย่างยาวนาน การฟื้นฟูพื้นที่เพื่อคืนความสมบูรณ์ให้แก่ธรรมชาติ รวมไปถึงศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของพื้นที่ที่มีระบบการจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ ความโดดเด่นทางธรรมชาติและระบบนิเวศของดอยแห่งนี้เกิดขึ้นได้เพราะการพัฒนาและความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และคนในท้องถิ่นที่มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อส่งต่อระบบนิเวศและทรัพยากรให้คนรุ่นต่อไป วันนี้ เรามีนัดพูดคุยกับ ‘มล-จิราวรรณ คำซาว’ อดีตนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ หนึ่งในหัวหอกสำคัญที่เปลี่ยนวิถีเกษตรชุมชนของเชียงดาวผ่านการเผยแพร่ความรู้เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจรมานานกว่า 10 ปี  มลวัย 35 ปี เคยทำงานเป็นนักวิจัยที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) 2 ปี แต่หลังจากเจอปัญหาสุขภาพที่เกิดจากอาหารปนเปื้อนเคมี เธอจึงตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เพื่อกลับบ้านเกิดที่เชียวดาวไปทำเกษตรอินทรีย์ที่ส่งเสริมทั้งสุขภาพของตนเองและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน  จากนั้นก็ขยับขยายก่อตั้งบริษัทพัฒนา วิจัย และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอย่าง ‘CNX Healthy Products’ ก่อตั้งศูนย์เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ครบวงจร ‘ทุ่งกับดอย’ […]

นั่งรถรางส่องประวัติศาสตร์กับ Co-create Chiang Rai โปรเจกต์พัฒนาเชียงรายให้เป็นเมืองสร้างสรรค์

01 ความทรงจำน้อยนิดระหว่างเราและจังหวัดเชียงราย คงเป็นวันหนึ่งในฤดูฝน แดดเช้าเย็นฉ่ำด้วยอายกลิ่นเมฆครึ้มในร้านกาแฟ ชาวเมืองต่างแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดที่ต้องไปให้ได้เมื่อมาเยือนแดนเหนือถิ่นนี้ เช่น เดินชมงานที่ ขัวศิลปะ ไป วัดร่องขุ่น ดูลวดลายฝีมืออาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และที่ขาดไม่ได้คือ บ้านดำ พิพิธภัณฑ์แห่งชีวิตของถวัลย์ ดัชนี ซึ่งทุกสถานที่ที่เอ่ยมาล้วนอยู่นอกเมือง วิธีเดินทางง่ายๆ ที่แนะนำต่อกันมาคือ การเช่ารถยนต์สักคันเพื่อประหยัดทั้งเงินและเวลา เราอดคิดซ้ำๆ ในใจไม่ได้ว่าขนส่งสาธารณะทุกๆ ที่ควรเร่งปรับปรุงแก้ไขได้เสียที กลับมาเชียงรายอีกครั้งในฤดูกาลเดียวกันกับคราวก่อน รอบนี้เราไม่ได้ออกไปนอกเมือง แต่กำลังนั่งอยู่บนรถรางไฟฟ้า  “วันนี้เป็น Test Day ทดลองใช้และดูระยะการปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนขนาดเล็กภายในเมือง รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ในเมืองเชียงราย” อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พูดผ่านไมค์เป็นการทักทายสำหรับการนำทัวร์เมืองล้านนาในวันนี้ ปกติแล้วรถรางไฟฟ้าของทางเทศบาลจะให้บริการในเมืองวันละ 2 รอบ แล่นไปยัง 4 จุดสำคัญ เป็นเส้นทางรถรางเชิงท่องเที่ยวสำหรับไหว้พระในเมืองเก่าเชียงรายที่มีหลายสิบวัด  แต่เพื่อการซัปพอร์ตมิติที่หลากหลายของผู้คนในเมืองมากขึ้น Test Day วันนี้เลยเพิ่มรอบรถรางเป็นทั้งหมด 8 รอบ ในบริเวณ 10 จุดสถานที่ที่ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA), สำนักงานในจังหวัดเชียงราย, กลุ่มนักสร้างสรรค์ท้องถิ่น และคนในชุมชน […]

“คุณภาพชีวิตต้องดี งานสร้างสรรค์จึงเบ่งบาน” สนทนากับสหภาพแรงงานสร้างสรรค์ฯ

หากคุณคลิกเข้ามาอ่านบทความนี้ ข้อความที่คุณกำลังบรรจงอ่านอยู่ คือบทสัมภาษณ์ที่ฉันใช้เวลาขัดเกลาและร้อยเรียงมันออกมาอย่างตั้งใจ ภาพถ่ายประกอบบทความที่คุณมองเห็นล้วนเป็นฝีมือช่างภาพของเรา ที่ใช้ประสบการณ์ของเขาจัดวางองค์ประกอบ และถ่ายทอดออกมาในเวอร์ชันที่ดีที่สุด นี่คงตอบได้ว่างานสร้างสรรค์อยู่ใกล้ตัวคุณ และแฝงอยู่ทั่วทุกมุมของสังคม อะไรที่คุณอ่าน อะไรที่คุณเห็น อะไรที่คุณฟัง อะไรที่คุณชื่นชม ล้วนมาจากการ ‘สร้างสรรค์’ ทว่าความสร้างสรรค์ของเหล่านักสร้างสรรค์หลายคน ต้องชะงักลงเพราะความไม่ยุติธรรมที่พวกเขาเจอในสายอาชีพ ทำไมนักเขียนบางคนถูกกดเงินค่างานเขียนไว้ที่ราคาเดียวมาเป็นสิบปี ทำไมนักวาดบางคนได้รับค่าจ้างไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตในยุคเศรษฐกิจตกต่ำ ทำไมคนทำหนังชอบทำให้การทำงานหนักๆ โดยไม่สนคุณภาพชีวิตคนกองเป็นเรื่องปกติ ทำไมบางหน้าที่ในกองถ่ายไม่ได้รับสวัสดิการเท่าเทียมกันทุกคน ทำไม ทำไม และทำไม “พวกเรามีตัวตน เหนื่อยเป็น และงานสร้างสรรค์นั้นสำคัญ” นี่คือสารที่เราอยากส่งออกไปให้ถึงทุกคนในบทความนี้ เช่นเดียวกับ ‘ไนล์-เกศนคร พจนวรพงษ์’ และ ‘อิง-ไชยวัฒน์ วรรณโคตร’ สองสมาชิกผู้ก่อตั้ง ‘สหภาพแรงงานสร้างสรรค์แห่งประเทศไทย’ (Creative Workers Union Thailand) หรือ CUT ที่มุ่งขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาคุณภาพชีวิตของแรงงานสร้างสรรค์ให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเรื่องสัญญาจ้างที่ไม่เป็นธรรม ความปลอดภัยในการทำงานที่เป็นศูนย์ สวัสดิการติดลบ การไม่ถูกให้คุณค่าในงาน หรือแม้แต่สิทธิขั้นพื้นฐานที่ไม่ได้รับ พร้อมเปิดวงวิพากษ์ความเผด็จการทั้งระดับเจ้านายในองค์กรและรัฐบาล  อ่านจบแล้ว ถ้อยคำของพวกเขาอาจจะตรงกับชีวิตของแรงงานสร้างสรรค์ที่บางคนเผชิญอยู่ไม่ทางใดทางหนึ่งก็ได้ และไม่แน่ อาจมีใครบางคนคิดว่า ฉันก็อยากออกมาพูดถึงเรื่องราวการถูกกดทับของตัวเองเหมือนกัน ทำไมถึงเลือกเป็นปากเป็นเสียงให้คนทำงานสร้างสรรค์ […]

มนต์รักรถไขว่คว้า ลิเกเร่ที่อยากผลักดันให้รถไฟฟ้าเป็นบริการสาธารณะของทุกคน

ช่วงสองเดือนที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครดูจะมีกิจกรรมให้ชาวเมืองได้ร่วมสนุกกันอยู่ตลอด ทั้งดนตรีในสวนในเดือนมิถุนายน และเทศกาลหนังกลางแปลงในเดือนกรกฎาคมนี้ ทำให้ผู้คนได้ออกจากบ้าน มีกิจกรรมใหม่ๆ นอกจากเดินห้างฯ อีกทั้งยังช่วยให้เมืองมีชีวิตชีวาและคึกคักยิ่งกว่าเดิม  อีเวนต์เหล่านี้ถือเป็นกิจกรรมเพื่อประชาชน ที่อยากให้คนเมืองมีส่วนร่วมมากที่สุด เพราะส่วนใหญ่จัดขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ที่ชาวกรุงเข้าถึงได้แบบชิลๆ ด้วยรถโดยสารสาธารณะอย่างรถเมล์ ไปจนถึงรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าใต้ดินสำหรับคนที่ต้องการความรวดเร็ว ทว่าแม้จะเป็นกิจกรรมที่เปิดให้เข้าร่วมฟรี แต่ก็ยังมีคนอีกหลายกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงกิจกรรมเหล่านี้ได้ ไม่ว่าจะด้วยเพราะอยู่ในพื้นที่ที่ห่างจากตัวเมือง หรือแม้แต่การเดินทางที่ไม่สะดวกก็ตาม ต้องยอมรับว่าการโดยสารรถไฟฟ้านั้นช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางได้มากพอสมควร ไม่ต้องเสียสุขภาพจิตไปกับการเอาแน่เอานอนไม่ได้ในเมืองที่เต็มไปด้วยการจราจรติดขัดและปัญหาบนท้องถนน เราเองก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เลือกใช้รถไฟฟ้าในวันที่เร่งรีบ หรือไม่อยากเสี่ยงกับรถติด แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ใช้ชีวิตในเมืองจะสามารถใช้บริการรถไฟฟ้าได้อย่างที่ต้องการ เพราะความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชน ‘กลุ่มดินสอสี’ จึงเข้าร่วมโครงการสนับสนุนข้อเสนอและการรณรงค์เรื่องรถไฟฟ้าในชื่อ ‘ขนส่ง ขนสุข สาธารณะ’ ร่วมกับสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ในการจัด ‘ลิเกเร่เตร็ดเตร่ชุมชน’ เพื่อให้ ‘กลุ่มคนชายขอบ’ หรือกลุ่มคนจนเมืองที่เรียกได้ว่าเป็น ‘เส้นเลือดฝอย’ ได้มีโอกาสสนุกกับลิเกที่จะเข้าไปเล่นตามชุมชนของพวกเขากันบ้าง และกิจกรรมนี้ยังเป็นกระบอกเสียงเรื่องสิทธิและการเข้าถึงรัฐสวัสดิการอย่างเท่าเทียมให้แก่กลุ่มคนที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเมือง แต่แทบไม่ได้มีโอกาสใช้รถไฟฟ้าในฐานะรถสาธารณะเลย คณะลิเกเร่จะเข้าไปในบรรดาชุมชนที่ไม่มีโอกาสได้ใช้บริการรถไฟฟ้า หรืออาจจะน้อยจนนับครั้งได้ แม้ว่าจะอยู่ไม่ไกลก็ตาม แต่ด้วยราคาค่าบริการที่ค่อนข้างสูง ทำให้บางกลุ่มที่มีรายได้ต่ำไม่สามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ รถไฟฟ้าเป็นของทุกคน “รถไฟฟ้าเป็นการเดินทางที่สะดวกของคนชนชั้นกลาง แต่ในความเป็นจริงแล้ว รถไฟฟ้าควรจะมีไว้เพื่อทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนชนชั้นไหนก็ตาม เราอยากให้ทุกคนใช้บริการรถไฟฟ้าได้ อยากให้เข้าถึงทุกคน ไม่มีความเหลื่อมล้ำ” โซ่-ปริตอนงค์ […]

‘ยกทรงสมสมัย’ ร้านชุดชั้นใน Tailor-made ที่ทำให้ผู้ใหญ่อายุ 40 – 90 ปี มั่นใจในการแต่งตัว

แกร๊ก แกร๊ก ครืกกก แกร๊กกก… ภาพที่ฉันเห็นตรงหน้าคือคุณป้าตัวเล็กๆ ท่านหนึ่งกำลังง่วนกับการเย็บผ้าบางสิ่งอยู่บนโต๊ะ รอบข้างเต็มไปด้วยกองผ้า เข็มและด้ายวางเรียงรายเต็มไปหมด มองไปบนไหล่เธอมีสายวัดตัวคล้องคอ และสายตาที่จดจ่อกับเครื่องจักรตรงหน้าอย่างตั้งอกตั้งใจ เขาคือ ‘สมสมัย ทิตะเชียง’ ช่างตัดชุดชั้นในวัย 58 ปี ผู้ออกแบบและตัดเย็บเสื้อในด้วยสองมือมานานกว่า 40 ปี และเป็นเจ้าของร้านชื่อ ‘สมสมัย’ ในย่านเจริญกรุง ปัจจุบันยังตัดชุดชั้นในอยู่กับหลานของเขาทุกๆ วัน ด้วยจุดเด่นการตัดเย็บชุดชั้นในที่ลูกค้าสั่งตัดได้ทุกรายละเอียด ไม่ว่าจะหน้าอกเล็กใหญ่หรือหุ่นผอมอวบบาง คุณป้าก็สามารถเนรมิตชุดชั้นในที่เหมาะสมกับหุ่นลูกค้าได้ทุกรูปแบบ แถมยังสร้างความมั่นใจในการแต่งตัวให้กับคนใส่ด้วยชุดชั้นในเพียงแค่ชิ้นเดียว เธอทำได้อย่างไรกัน…ฉันไม่รีรอที่จะขอสัมภาษณ์คุณป้าสมสมัยทันที ชุดชั้นใน เสื้อผ้าที่ใกล้ชิดร่างกายที่สุด ก่อนจะลงลึกถึงเรื่องเสื้อผ้า ฉันชวนคุยถึงที่มาของอาชีพช่างตัดชุดชั้นใน เธอจึงย้อนอดีตให้ฟังว่า สมัยยังสาวๆ เคยเรียนตัดเสื้อผ้ามาก่อน จากนั้นมีโอกาสได้ไปทำงานเป็นลูกน้องในร้านตัดเย็บชุดชั้นในมานานหลายสิบปี เมื่อถึงจุดอิ่มตัวเลยอยากออกมาเปิดร้านตัดชุดชั้นในของตนเอง  เธอเล่าเสริมว่า การตัดเย็บชุดชั้นในมีความซับซ้อนไม่แพ้เสื้อผ้าที่ทุกคนสวมใส่ เพราะมันเป็นสิ่งที่ใกล้ชิดกับร่างกายมากที่สุด จึงต้องมีขนาดพอดีกับหน้าอก ใส่แล้วต้องไม่รู้สึกอึดอัดตัว แตกต่างจากเสื้อผ้าด้านนอกที่ไม่จำเป็นต้องเป๊ะ หรืออยากใส่หลวมๆ ก็ไม่เป็นไร ทางร้านทำชุดชั้นในแบบสั่งตัดที่ลูกค้าสามารถเลือกทุกรายละเอียดได้เอง ตั้งแต่รูปทรงชุดชั้นใน ความยาวเนื้อผ้า โครงเหล็ก ยางยืด ตะขอ ไปจนถึงสีผ้า และมีรูปแบบชุดชั้นในให้เลือกทั้งหมด 2 […]

ไบรอัน ตัน อินฟลูฯ สายลักซูฯ ที่จัดเวทีเพื่อความเท่าเทียมและทำเพลงเพื่อสานฝันวัยเด็ก

บ่ายวันที่เรานัดคุยกับ พลากร แซ่ตัน หรือ ไบรอัน ตัน เขาปล่อยซิงเกิลล่าสุดอย่าง ‘ต๊าช (Touch)’ มาแล้วหนึ่งสัปดาห์ สารภาพตามตรงว่า ทุกวันในสัปดาห์นั้นที่เรารอจะคุยกับเขาด้วยใจจดจ่อ ไม่มีวันไหนที่เราจะไม่นึกถึงภาพของไบรอันก้าวลงจากรถด้วยท่าทางหัวรัดฟัดเหวี่ยง พอดนตรีขึ้นก็เดินสับๆ ประหนึ่งฟุตพาทที่ย่ำอยู่คือรันเวย์ ยิ้มแบบลักซูฯ (นิยามการยิ้มแบบไบรอันที่ชาวเน็ตตั้งให้) ให้กล้องสลับกับร้องอย่างมั่นใจ  รู้ตัวอีกที เราก็กดฟัง ‘ต๊าช’ ซ้ำๆ จนถึงวันที่ได้คุยกัน ไบรอันบนหน้าจอปรากฏตัวด้วยชุดสบายๆ ต่างจากคนในยูทูบอย่างชัดเจน แต่เมื่อบทสนทนาดำเนินไป จริต อินเนอร์ น้ำเสียง และคำตอบของคนตรงหน้าก็ทำให้เรารู้สึกคุ้นเคย นี่แหละคือหนึ่งในอินฟลูเอนเซอร์ตัวท็อปของแวดวงนางงาม โฮสต์ของเรียลลิตี้ประกวดนางงาม Miss Fabulous Thailand ที่เป็นไวรัลไปทั่วอินเตอร์ เจ้าของประโยค ‘เวอร์ เวอร์ เวอร์ เวอร์ เวอร์’ ที่ถูกนำมาต่อยอดเป็นซิงเกิลฮิต ในขณะเดียวกัน บางช่วงของบทสนทนานี้ ไบรอันก็เล่าเรื่องชีวิต ความฝัน และมุมมองต่อการงานที่เรามั่นใจว่าหลายคนไม่เคยได้ยินจากที่ไหน ชาวเน็ตหลายคนบอกว่าชอบคุณเพราะจริตแบบลักซูฯ คำว่าจริตแบบลักซูฯ ในความหมายของไบรอันเป็นยังไง ตามความหมายแล้วจริตลักซูฯ มันแปลว่าจริตของการเป็นคนรวยถูกไหม ซึ่งเราน่าจะได้มาจากเวลาเราขายสินค้าแบรนด์เนมและเครื่องประดับ เราต้องพรีเซนต์สินค้าเหล่านั้นออกมาให้คนซื้อ […]

“หน้าที่ของเราคือต้องทำให้คนรู้สึกมีความหวังกับเมือง” รองผู้ว่าฯ ศานนท์ หวังสร้างบุญ

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ Urban Creature ได้มีโอกาสไปพูดคุยกับ ดร.ยุ้ย-ผศ. ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ หนึ่งในหัวหอกสำคัญของทีมนโยบายของชัชชาติ รวมถึงพูดคุยกับชายผู้ควบตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. และบุรุษผู้แข็งแกร่งที่สุดในปฐพีอย่าง ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในช่วงก่อนเลือกตั้งมาแล้ว ครั้งนี้ก็ถึงคราวของ ‘ศานนท์ หวังสร้างบุญ’ รองผู้ว่าฯ กทม. ที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ ที่จับพลัดจับผลูขึ้นมาดำรงตำแหน่งในวัย 33 ปี หลังได้รับการชักชวนจากชัชชาติในคืนวันประกาศผลเลือกตั้งที่คะแนนเริ่มทิ้งห่าง ให้ดูแลสำนักการศึกษา สำนักพัฒนาสังคม สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว รวมไปถึงการพาณิชย์ของกรุงเทพมหานคร หรือเรียกรวมๆ ก็คือการดูงานที่เกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นหลัก  ทว่านี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ศานนท์ได้มาทำงานด้านนี้ เพราะหลายปีที่ผ่านมา เขาทำงานขับเคลื่อนเมืองและซัปพอร์ตชุมชนอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายภาคประชาสังคม SATARANA (สาธารณะ) ที่ทำงานเรื่องการพัฒนาเมือง และ Mayday กลุ่มผู้ออกแบบปรับปรุงป้ายรถเมล์รูปแบบใหม่  ถึงอย่างนั้น การย้ายฝั่งจากภาคประชาสังคมเข้าสู่ระบบราชการก็ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายศานนท์เป็นอย่างมาก และทำให้เขาได้เข้าใจและมองเห็นสิ่งใหม่ๆ จากมันอยู่ไม่น้อย ทั้งข้อจำกัดของระบบราชการที่มีขั้นตอนยุ่งยากจำนวนมาก งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด หรือการไม่มีเวลาปรับตัวเพราะต้องเริ่มต้นทำงานทันทีหลังจากได้รับตำแหน่ง คงไม่ผิดนักถ้าหากจะยกให้เป็นรองผู้ว่าฯ กทม. อีกคนที่ทำงานหนักไม่แพ้ผู้ว่าฯ กทม. เพราะขนาดช่วงที่เราขอสัมภาษณ์ ก็แทบต้องแย่งชิงเวลาอันน้อยนิดที่แน่นขนัดไปด้วยตารางการทำงานของเขา […]

Sculpturebangkok ธุรกิจตู้ถ่ายรูปและแบรนด์โดยคนรุ่นใหม่ ที่สร้างรายได้หลักล้าน

ในบรรดาธุรกิจเกิดใหม่ในยุคนี้ Sculpturebangkok น่าจะเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มาแรง และได้รับความนิยมมากเป็นอันดับต้นๆ เห็นได้จากรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การขยายตัวของตู้ถ่ายภาพที่เรียกว่า ไปเที่ยวที่ไหนก็ต้องเห็นตู้ถ่ายภาพภายใต้แบรนด์นี้ ยังไม่นับการได้คอลแลบกับแบรนด์และสเปซอื่นๆ อีกมากมาย เช่น Colors Culture, Space cat lab, Lido Connect, DayDay เป็นต้น แม้เพิ่งก่อตั้งได้เพียง 2 ปี แต่ด้วยพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์กับองค์ความรู้ด้านการออกแบบของ ‘ปิ่น-ลักษิกา จิระดารากุล’ ที่เริ่มต้นทำ Sculpturebangkok มาก่อน บวกกับหัวทางการค้ากับความรู้ความเข้าใจด้านการทำธุรกิจของ ‘พี-สาริษฐ์ ตรัยเลิศวิเชียร’ ที่มาร่วมทำแบรนด์ในช่วง 1 ปีให้หลัง ทำให้ Sculpturebangkok เติบโตขึ้นเรื่อยๆ มีการขยายไปทำโปรดักต์ภายใต้แบรนด์ Random Sculpture Club และบริการตู้ถ่ายภาพ SNAP ที่ปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้าได้ จนทำให้พวกเขามีรายได้หลักล้านต่อเดือน กลายเป็นเจ้าของธุรกิจสุดปังตั้งแต่อายุยังน้อย จากการเป็น Perfect Match นี้ ทำให้ Sculpturebangkok กลายเป็นผู้นำจุดกระแสตู้ถ่ายภาพในไทยให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง และยังเป็นที่สนใจอยู่เสมอๆ จากไอเดียที่สดใหม่ […]

ตัวตนและการทำงานของ ‘แอดมินหมู’ มือไลฟ์คู่หูผู้ว่าฯ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

“สวัสดีคร้าบบบ คุณผู้ชม ขณะนี้เราอยู่ที่สวนลุมพินีครับ” หลายคนคงคุ้นเคยการทักทายเป็นกันเองแบบนี้จาก ‘การถ่ายทอดสด’ หรือ ‘ไลฟ์’ ของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ซึ่งตั้งแต่รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ชัชชาติได้ถ่ายทอดสดภารกิจในแต่ละวัน ตั้งแต่การวิ่งในเมืองแบบ City Run ช่วงเช้าตรู่ การลงพื้นที่พบปะชาวบ้าน ไปจนถึงการประชุมกับหน่วยงานต่างๆ ให้ประชาชนได้สำรวจกรุงเทพฯ ไปพร้อมกับผู้ว่าฯ แบบเรียลไทม์แทบจะตลอดทั้งวัน การถ่ายทอดสดของชัชชาติได้รับความนิยมอย่างมาก ไลฟ์แต่ละครั้งมียอดผู้ชมแบบ Real Time ทะลุหลักหมื่นอย่างรวดเร็ว ส่วนคอมเมนต์ก็เพิ่มขึ้นรัวๆ จนอ่านแทบไม่ทัน และมียอดวิวถึงหลักล้าน เราเชื่อว่าความสำเร็จเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความมุ่งมั่นในการทำงาน การเปิดเผยข้อมูลแบบตรงไปตรงมา รวมไปถึงการให้ข้อมูลของชัชชาติที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาเมืองอย่างหลากมิติ ส่วนอีกคนที่ต้องยกเครดิตให้ก็คือ ‘แอดมินหมู’ มือไลฟ์เสียงนุ่ม มาดกวนนิดๆ ที่ตั้งคำถามแทนผู้ชมทางบ้านแบบตรงๆ แถมยังคอยแซวและหยอกล้อชัชชาติอย่างเป็นกันเอง ทำให้การไลฟ์สนุก ไม่น่าเบื่อ ดูได้เรื่อยๆ จนหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาเสพติดการดูไลฟ์ชัชชาติงอมแงมชนิดที่ว่าดูแทนซีรีส์ยังได้  วันนี้เราขอพาทุกคนมาพูดคุยกับ ‘หมู-วิทยา ดอกกลาง’ หรือ ‘แอดมินหมู’ จากเพจ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ […]

จอมเทียน จันสมรัก ผู้เขียน ‘ลูกสาวจากดาววิปลาส’ นิยายที่เล่าความช้ำจากสายตาผู้ถูกกดขี่

“เป็นนักเขียน เฟมินิสต์ และนักกิจกรรม ถ้าภาษาอังกฤษคือ Mental Health Advocate (ผู้ส่งเสริมประเด็นสุขภาพจิต) and Gender-based Violence Activist (นักกิจกรรมที่ทำงานในเคสความรุนแรงอันเกิดจากเหตุแห่งเพศ) นิยามตัวเองว่าเป็นนอนไบนารี เป็นคนไร้ศาสนา ตอนนี้อายุยี่สิบแปดปีค่ะ” ช่วงหนึ่งในบทสนทนา จอมเทียน จันสมรัก นิยามตัวเองว่าอย่างนั้น ถ้อยคำจากปากของเธอไม่มีคำว่า ผู้เสียหายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ หรือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เคยพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง—แบบที่หลายคนจำได้จากสื่อ บังเอิญไหมเราไม่อาจรู้ แต่ในหนังสือ ลูกสาวจากดาววิปลาส นิยายเรื่องแรกของจอมเทียนที่ตีพิมพ์กับสำนักพิมพ์ P.S. หน้าแรกๆ เขียนไว้ว่า  ‘ฉันไม่ต้องการสื่อสารเรื่องราวในรูปแบบหญิงสาวอับโชคชอกช้ำ ฉันอยากจะภูมิใจกับตัวเองในปัจจุบันที่ผ่านมาได้ ไม่ต้องรอให้ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่หรือกลายเป็นเพชรที่ถูกขัดล้างเจียระไนจากปลักตมจนสวยงามสูงค่า’ ปลักตมที่เธอว่า อาจหมายถึงชีวิตที่เติบโตในย่านทวีวัฒนากับแม่ที่เป็นโรคประสาท การไม่ได้เรียนหนังสือจนอายุเก้าขวบ มีเพียงนิยายของนักเขียนหญิงอนุรักษนิยมที่เป็นทั้งเพื่อนและครู การถูกล่วงละเมิดจากคนในบ้านตั้งแต่ยังเยาว์ ส่งผลต่อการเป็นโรคซึมเศร้าจนหลายครั้งหาเหตุผลที่ทำให้อยากมีชีวิตอยู่ไม่เจอ แต่บางครั้ง แม้ในยามที่คิดเหตุผลไม่ออกสักข้อ ชีวิตก็อนุญาตให้อยู่ต่อทั้งๆ ที่ไม่มีเหตุผลนั่นแหละ หลังจากมุ่งมั่นจะโบกมือลาโลกหลายครั้ง จอมเทียนก็ล้มเลิกความพยายาม เปลี่ยนความทรมานให้เป็นแรงฮึดไปทำกิจกรรมหลายๆ อย่างที่ช่วยเหลือผู้ป่วยซึมเศร้าและผู้เสียหายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศ กลายเป็นเฟมินิสต์นักกิจกรรม และล่าสุด-นักเขียนนวนิยาย ลูกสาวจากดาววิปลาส คือชื่อหนังสือเล่มแรกของเธอ บอกเล่าเรื่องราวที่อ้างอิงมาจากชีวิตจริงของจอมเทียน ท่ามกลางฉากหลังเป็นประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศไทยที่ถ่ายทอดผ่านสายตาของคนชนชั้นแรงงาน  บทสนทนานี้ เราจึงชวนจอมเทียนย้อนนึกถึงความวิปลาสที่เจอมาทั้งชีวิต […]

1 6 7 8 9 10 31

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.