ยิ่งสูงยิ่งไกล การให้ยิ่งสำคัญ “ครูอาสาบนดอยสูง”

หลายคนตั้งเป้าหมายในชีวิตเอาไว้หลายอย่าง อยากได้อาชีพที่ทำงานสบายๆ อาชีพที่เงินเดือนสูงๆ อาชีพที่ทำแล้วมีหน้าตาในสังคม แล้วถ้าคุณเลือกได้อาชีพในฝันของคุณล่ะคืออะไร คงเป็นคำถามที่ตอบยากอยู่เหมือนกันใช่ไหมล่ะ แต่กับชายหนุ่มคนหนึ่งในอาชีพของเขาคือการเป็นอาสาสมัครอาสาสมัครในชนบทห่างไกลเพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ชาวดอยให้ชีวิตที่ดีขึ้นโดยเขาได้รับแรงกดดันจากการรับชมรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอเรื่องราวของ ‘คุณครูจันทร์แรม ศิริคำฟู’ ครูบนดอยในพื้นที่อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย ที่อุทิศชีวิตให้กับนักเรียนและชาวเขาที่ไม่รู้หนังสือทั้งที่เธอจบเพียงป. 4 จนทำให้ ‘คุณต้อม’ ชายหนุ่มจากเมืองกรุง ผู้ทำงานด้านคอมพิวเตอร์ให้กับโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งได้ค้นพบเส้นทางชีวิตของตัวเอง และได้ลองสมัครเข้าร่วมโครงการครูบ้านนอก ของมูลนิธิกระจกเงา เพื่อเป็นอาสาสมัครไปสอนเด็กๆ ตามต่างจังหวัดในเวลาว่างจากงานประจำ เพื่อท้าทายตัวเองว่า หากลองทำตามฝันแล้วจะทำได้ไหม ? ทำแล้วจะมีความสุขหรือเปล่า ? และเขาก็ค้นพบว่า นี่คืออาชีพและสิ่งที่เขาใฝ่ฝันจะทำจริงๆ ซึ่งในเวลาต่อมามีรายการโทรทัศน์รายการ ‘โรงเรียนของหนู’ ได้เปิดรับสมัครครูอาสา เพื่อไปสอนหนังสือยังโรงเรียนชนบทในจังหวัดเชียงใหม่ คุณต้อมจึงไม่รอช้าที่จะยื่นใบสมัครแล้วก็ได้รับการคัดเลือก ทำให้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้กลายเป็นอาชีพถาวรจากเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์กลายเป็น ‘ครูต้อม’ ครูอาสานับแต่นั้นมา จากประสบการณ์แรมปีในการไปสอนในครั้งนั้น ทำให้ครูต้อมมองเห็นว่า “เด็กๆ ในพื้นที่บนดอยสูงยังต้องการโอกาส และความช่วยเหลือด้านการศึกษาอยู่อีกมาก” โดยเฉพาะในพื้นที่ที่สูงและห่างไกลอย่างบ้านแม่ฮองกลาง และหมู่บ้านอื่นๆ ในอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ที่ครูต๋อยได้มีโอกาสเดินทางไปช่วยเหลือในครั้งหนึ่งด้วย ซึ่งลักษณะของพื้นที่แห่งนี้ไร้ซึ่งการเข้าถึงของไฟฟ้า ถนนก็เป็นดินโคลนจากลูกรัง เมื่อถึงหน้าฝนรถยนต์ก็ไม่สามารถเข้าถึงได้ ไปได้ก็แต่เพียงหน้าแล้งเท่านั้น จึงทำให้การลงมาศึกษาหาความรู้ยังตัวอำเภอ ที่มีทรัพยากรความรู้พร้อมมากกว่านั้นค่อนข้างลำบาก และด้วยเหตุผลเหล่านี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ครูต้อมและเพื่อนอีก 3 คนก่อตั้งโครงการ […]

“พี่อร” คนเมืองหัวใจออร์แกนิค ที่อยากให้เราได้กินมะพร้าวน้ำหอมระดับเทพ

HEART : “พี่อร” คนเมืองหัวใจออร์แกนิค ที่อยากให้เราได้กินมะพร้าวน้ำหอมระดับเทพ จากอดีตสวนมะพร้าวที่เคยแปดเปื้อนสารเคมีในจังหวัดราชบุรี สาวร่างเล็กใจแกร่งจากเมืองใหญ่ สลัดลุคสาวออฟฟิศทิ้งทุกอย่างมาเป็นเกษตรกร พลิกสวนมะพร้าวแห่งนี้ให้เป็นออร์แกนิค 100% ในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี.

เบื้องหลังโรงงานรีไซเคิลของ ‘พี่โหมว’ มือปราบขยะ

เคยคิดไหม ? ขวดน้ำที่อยู่ในมือเราตอนนี้เมื่อดื่มหมดแล้ว ขวดพลาสติกเปล่าที่เราเพิ่งทิ้งลงถังขยะจะเดินทางไปไหน ระหว่างบ่อขยะ เตาเผาขยะ หรือโรงงานรีไซเคิล เราสืบเสาะมาจนถึงปลายทางของบรรดาขวดพลาสติกผู้โชคดี ที่ได้มาอยู่โรงงานรีไซเคิลในจังหวัดปทุมธานี รอการรีไซเคิลนำกลับไปใช้ประโยชน์อีกครั้ง

Urban Quote : สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

“ไม่มีใครอยากเกิดเป็นคนไม่ดี แต่ที่เขาไม่ดี เพราะไม่มีโอกาสและทางเลือก” – สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) – คำพูดนี้เป็นของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม “สมเด็จย่า” หากย้อนกลับไปดูพื้นทีดอยตุง จังหวัดเชียงราย สมัยก่อนนั้นค่อนข้างลำบากมาก ลำบากในที่นี้ คือลำบากทั้งเรื่องป่าที่มีความแห้งแล้ง เป็นภูเขาหัวโล้น ถูกทำลายให้เสื่อมโทรม และลำบากทั้งเรื่องปากท้อง เพราะชาวบ้านยากจน แม้จะปลูกฝิ่นขายหรือจะปลูกข้าวกิน ก็ไม่เพียงพอ ทำให้ขาดโอกาสในการดำรงชีวิตก็ว่าได้ ท่านจึงอยากนำผืนป่ากลับคืนมา พัฒนาชีวิต และสังคมความเป็นอยู่ของชาวบ้านไปพร้อมๆ กัน “ฉันจะปลูกป่าที่ดอยตุง” ภายในระยะเวลาร่วม 30 ปี เมื่อสมเด็จย่าริเริ่ม ‘โครงการพัฒนาดอยตุง’ ขึ้นมา จากป่าที่แห้งแล้ง กลับกลายเป็นพื้นที่สีเขียวชอุ่ม พร้อมทั้งชีวิตชาวบ้านที่เคยขาดรายได้หรือขาดช่องทางทำมาหากิน ก็กลับมามีรายได้พร้อมๆ กับมีความรู้ และความชำนาญเพิ่มขึ้นหลายเท่า ซึ่งการพัฒนาครั้งนี้ ประสบความสำเร็จได้ด้วยรูปแบบการจัดการ “ปลูกป่า ปลูกคน” เอาคนขึ้นมาเป็นแกนหลักในการพัฒนาก่อน โดยให้เขาอยู่ให้ได้ รักษาความเจ็บป่วย ให้พ้นจากความไม่รู้ แก้ปัญหาความยากจน ให้สัญชาติ เมื่อคนเข้มแข็งแล้ว ตามมาด้วยการปลูกป่า ใช้การจ้างงานให้ชาวบ้านมาปลูกป่า เช่นป่าเศรษฐกิจอย่างกาแฟและแมคคาเดเมีย ทำให้ต้นไม้ก็มีที่อยู่ ชาวบ้านก็มีรายได้ควบคู่กันไป […]

‘MAZELEE’ ครอบครัวสุขสันต์ เมื่อหนุ่มเกาหลีปิ๊งรักกับสาวแอฟริกัน

เราคงเคยได้ยินอยู่บ่อยครั้ง เกี่ยวกับการกีดกันหรืออคติในแง่ลบต่อความแตกต่างของเชื้อชาติ แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการเปิดกว้างเรื่องความหลากหลายมากขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าในสังคมของเรายังมีค่านิยมผิดๆ เรื่องเชื้อชาติและวัฒนธรรมหลงเหลืออยู่ จากข้อมูลในปี 2017 ของคณะกรรมาธิการยุโรป สำรวจว่า คุณจะรู้สึกสบายใจไหมถ้าลูกคุณมีความสัมพันธ์กับคนผิวสี พบว่าคนยุโรปส่วนมากที่รู้สึกพอใจ คิดเป็นอัตราร้อยละ 64 ถ้าเป็นคนเอเชีย พบว่ามีกลุ่มคนที่พอใจ 69 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเป็นคนมุสลิม พบว่ามีอัตราเฉลี่ย 50 เปอร์เซ็นต์ที่รู้สึกรับได้ จากข้อมูลจะเห็นว่า จำนวนกว่าครึ่ง ชาวยุโรปรู้สึกสบายใจถ้าลูกของตนเองจะมีความสัมพันธ์กับคนที่ต่างเชื้อชาติกัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีส่วนต่างเกือบครึ่งที่ไม่ค่อยโอเคกับความสัมพันธ์นี้เท่าไหร่นัก ทำให้เห็นว่าเรื่องของเชื้อชาติเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และไม่ได้เป็นที่ยอมรับอย่างเปิดกว้างมากนักเมื่อเทียบกับความสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อชาติเดียวกัน แต่บทความนี้เราจะมาพูดถึงครอบครัวสุดอบอุ่น ‘Mazelee’ ในช่องยูทูบ ที่เล่าถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตบนวัฒนธรรมและเชื้อชาติที่แตกต่างกันแต่สามารถอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งบ้านของพวกเขาอยู่ในรัฐลอสแอนเจลิส ประเทศอเมริกา ของคุณแม่ผิวสีลูกครึ่งแอฟริกัน-อเมริกัน และคุณพ่อชาวเกาหลีใต้–อเมริกัน กับลูกน้อยทั้ง 6 คน และอีกไม่นานก็จะเตรียมตัวต้อนรับคนที่ 7 แล้ว | เรื่องราวความรักระหว่างสองเชื้อชาติ เกาหลีใต้–แอฟริกัน ก่อนที่พวกเขาจะได้ใช้ชีวิตครอบครัวด้วยกัน ความรักของทั้งสองระหว่าง Alena Maze และ Joseph Lee เคยเป็นเพื่อนร่วมชั้นสมัยไฮสคูลมาก่อน ทั้งคู่ต่างมีความรู้สึกดีๆ ร่วมกัน แต่ด้วยวัยที่ยังเด็กอยู่ต่างคนจึงต่างใช้ชีวิตของตัวเอง […]

ช่วงชีวิต 10 ปีของ ‘ลุลา’ ที่บรรเลงด้วยเสียงเพลงและงานคราฟต์

คุยกับ ‘ลุลา’ ถึงช่วงชีวิต 10 ปี ที่ดนตรี และงานคราฟต์ ทำให้เธอยังคงเป็น ลุลา และยังคงรักษาความเป็นศิลปินให้ไหลวนอยู่ในตัวตน 

Synesthesia เห็นตัวหนังสือเป็นสี สัมผัสพิเศษจาก ‘อาการซินเนสทีเซีย’

ปกติแล้ว ร่างกายมนุษย์เราจะรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั่นคือ การมองเห็น, การดมกลิ่น, การล้ิมรส, การสัมผัส และการได้ยิน แต่หากวันหนึ่ง ตื่นขึ้นมาแล้วพบว่า เรามีสัมผัสพิเศษเพิ่มเข้ามาในร่างกาย สัมผัสพิเศษที่ว่า คือ ‘การรับรู้ข้ามช่องสัมผัส’ อย่างการมองเห็นเชื่อมการฟัง การสัมผัสไปเชื่อมกับรสชาติ อาการเหล่านี้ เรียกว่า ‘ซินเนสทีเซีย’

Double – dating : ทำไมบางคนห้ามใจไม่ไหวจนเลือก ‘คบซ้อน’

เพราะหากขาดเธอก็คงเหงา และถ้าขาดเขาก็คงต้องเสียใจ บางคนจึงตัดสินใจแล้วว่าจะไม่เลือกใคร สิ่งที่เรียกว่า “การคบซ้อน” จึงเกิดขึ้นในความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ที่แรกเริ่มอาจมีแค่เราสอง แต่พอเวลาผ่านไปสัก 1 ปี 2 ปี หรือแม้กระทั่ง 10 ปี ก็ตาม กลับมี ‘บุคคลที่สาม’ เพิ่มเข้ามา

S U N T U R ชวนเข้าวัด ทัวร์ไหว้พระ สีลม-สามย่าน “ขอให้ฉันโชคดี”

ช่วงตรุษจีนที่ผ่านมา เผอิญเราไปสะดุดตากับไอเท็มสุดคิ้วท์ของ ‘Suntur Store’ คอลเลคชั่น “ขอให้ฉันโชคดี” ที่มีรูปลักษณ์สุดมินิมอลแต่แฝงด้วยคอนเซปต์เรื่องดวง ที่ดูๆ ไปก็คล้ายการติดสติ๊กเกอร์แก้เคล็ดท้ายรถ “รถคันนี้สีแดง” ที่เชื่อว่าเจ้าของรถจะโชคดี

นักออกแบบผู้หลงใหลระบบการพิมพ์โบราณแบบฉบับ ‘เปิ๊ดสะการ์ด’

เมื่อความหลงใหลนำพามาซึ่งการเดินทางของคุณนิรุติ กรุสวนสมบัติ นักออกแบบและจัดพิมพ์ด้วยระบบเลตเตอร์เพรสส์ หนึ่งในระบบที่กำลังจะสูญหายไปจากประเทศไทย โดยผสมผสานเข้ากับการออกแบบที่ทันสมัย เรียกว่าสุดแสนจะเปิ๊ดสะการ์ดเลยล่ะ ความจริงระบบเลตเตอร์เพรสส์เป็นระบบที่อยู่กับเรามานานมากแล้ว โดยเป็นการพิมพ์พื้นนูนที่ใช้แม่พิมพ์ทำจากโลหะผสมหรือพอลิเมอร์อย่างหนา กัดผิวจนเหลือส่วนที่เป็นภาพนูนสำหรับรับหมึกพิมพ์ แล้วถ่ายทอดลงบนวัสดุที่ใช้พิมพ์โดยใช้วิธีกดทับจนเกิดเป็นงานพิมพ์ขึ้นมา และรู้หรือไม่ เลตเตอร์เพรสส์เป็นระบบการพิมพ์ใช้เชิงธุรกิจระบบแรกของโลกที่นับว่าเก่าแก่ที่สุด ซึ่งใช้กันมานานกว่า 600 ปีแล้ว จากความคิดของ ‘โยฮัน กูเตนเบิร์ก’ บิดาแห่งการพิมพ์ โดยผลงานการพิมพ์ชิ้นสำคัญที่สร้างชื่อเสียงให้เขาจนถึงปัจจุบันนี้คือหนังสือไบเบิลของกูเตนเบิร์กนั่นเอง มาร่วมเดินทางตามรอยกลิ่นหมึก สัมผัสถึงพื้นผิวของเนื้อกระดาษ และซึมซับเรื่องราวไปพร้อมๆ กัน | ก้าวแรกของ Press a Card มันเริ่มจากที่บ้านมีโรงพิมพ์เก่าของคุณป้าอยู่ อายุประมาณ 30 – 40 ปีได้ มันก็จะมีเครื่องพิมพ์พวกนี้อยู่เต็มไปหมด แล้วเผอิญเราก็เป็นนักออกแบบอยู่ด้วย ก็เลยมีความคิดว่ามันน่าจะทำอะไรที่เกี่ยวกับการออกแบบได้นะ ซึ่งช่วงที่เริ่มทำจริงจังก็เมื่อสักประมาณ 10 กว่าปีก่อน ที่ลองเอาเทคนิคการพิมพ์แบบระบบเลตเตอร์เพรสส์มาผสมกับงานออกแบบเพื่อทำการ์ดแต่งงานของเราเอง แล้วตั้งแต่นั้นก็ทำมาเรื่อยๆ จนเพื่อนเห็น คนนี้ คนนั้นเห็น แล้วบอกต่อปากต่อปากไปเรื่อยๆ จนกลายเป็น Press a Card ในปัจจุบันนี่แหละ  เปิ๊ดสะการ์ด | First Class […]

“GEDES” งานออกแบบที่กระชับความสัมพันธ์ระหว่างคนกับภูมิทัศน์

หลายคนคงได้ยินชื่องาน Bangkok Design Week 2019 กันมาบ้างแล้ว ซึ่งงานนี้เป็นเทศกาลงานออกแบบของชาวกรุงเทพฯ ที่บรรดานักออกแบบ และนักสร้างสรรค์ ต่างรวมพลังกันออกมาสร้างผลงาน และถ่ายทอดมุมมองในแบบฉบับของตัวเอง ผ่านผลงานศิลปะในรูปแบบต่างๆ วันนี้ Urban Creature จึงพาไปลงลึกเปิดมุมมองความคิดของ GEDES แก๊งภูมิสถาปนิกคลื่นลูกใหม่ ที่น่าจับตามองว่ากลุ่มคลื่นลูกนี้จะเป็นหนึ่งในแรงขับเคลื่อนให้กับเมืองของเราอย่างไรบ้างนะ ถ้าพร้อมแล้วไปทำความรู้จักกับพวกเขากัน ! | ‘GEDES’ พวกคุณคือใคร พวกเราคือกลุ่มภูมิสถาปนิกจบใหม่ที่อยากทดลองสร้างผลงานในสัดส่วนที่ควบคุมได้ และเข้าถึงผู้คนง่าย ก็เลยเริ่มจากงานประกวดแบบ หรือการสร้างผลงานในรูปแบบ Installation หรือผลงานศิลปะที่จัดวางไว้ตามสถานที่ต่างๆ ด้วยแนวความคิดแบบ Landscape Architecture (ภูมิสถาปัตยกรรม) ที่อยากให้คนกับสิ่งแวดล้อมสามารถอยู่ร่วมกันได้ | ภูมิสถาปัตยกรรมคืออะไร เรามองว่าภูมิสถาปัตยกรรมคือ การหาสมดุลระหว่างคนกับธรรมชาติ พอคนเริ่มมีการพัฒนาพื้นที่อะไรขึ้นมาสักอย่าง และสิ่งนั้นกำลังเริ่มสร้างผลกระทบกับธรรมชาติ ซึ่งนั่นแหละมันเป็นหน้าที่ของเราที่ต้องหาความสมดุลระหว่างสิ่งต่างๆ รอบตัว ไม่ว่าจะคนกับคน หรือคนกับพื้นที่ พื้นที่กับพื้นที่ ให้เป็นความสัมพันธ์ที่ดีและยืนยาว แต่มุมมองของคนไทยภูมิสถาปัตยกรรมยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากเท่าไหร่ ซึ่งงานของเราเหมือนถูกจำกัดแค่ว่า จัดสวน ปลูกต้นไม้ บางทีไม่ได้สนใจในเรื่องของการใช้พื้นที่ภายนอกเลย ทั้งที่จริงๆ แล้วเราสามารถเพิ่มทั้งคุณค่า มูลค่า ให้พื้นที่ภายนอกได้แบบเยอะมาก แถมยังทำให้พื้นที่เหล่านั้นมันมีพลังงาน […]

Nostalgia : ทำไมผู้ใหญ่อยากกลับไปเป็นเด็ก ที่เจ็บสุดแค่หกล้ม

สมัยยังเป็นเด็ก เราเฝ้ารอวันที่จะถูกเรียกว่า ผู้ใหญ่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว ความไร้เดียงสา ความค่อยเป็นค่อยไป แบบฉบับเด็กน้อย กลับกลายเป็นสิ่งที่วัยผู้ใหญ่อย่างเราคิดถึง และมักดึงรอยยิ้ม ความสนุกสนานในวันวาน มาเป็นเครื่องมือทุเลาความเจ็บปวด ลบล้างความเปลี่ยวเหงา และวาดความสุขในวิมานได้ชั่วขณะ

1 24 25 26 27 28 31

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.