Bouquet for Miss Universe 2018 “ปิยวัฒน์ มีไพฑูรย์” ผู้เนรมิตช่อดอกไม้ในอ้อมกอดนางงามจักรวาล

ก่อนอื่นเราต้องขอแสดงความยินดีกับสาวแคทรีโอนา เกรย์ (Catriona Gray) มิสยูนิเวิร์สฟิลิปปินส์ที่คว้าตำแหน่งนางงามจักรวาล หรือ Miss Universe 2018 มาได้สำเร็จ และขอเป็นอีกหนึ่งกำลังให้กับมิสยูไทยแลนด์คนสวย นิ้ง-โศภิดา กาญจนรินทร์ ขวัญใจชาวไทยของเราด้วย ถึงแม้งานประกวด Miss Universe 2018 จะจบลงไปเป็นที่เรียบร้อยท่ามกลางความประทับใจของคนทั่วโลก แต่ก็ยังมีควันหลงให้หลายคนพูดถึงกันอยู่ อย่างบนเวทีนอกจากความงามของชุดและความสวยบาดใจของแคทรีโอนาแล้ว สิ่งหนึ่งที่ฮือฮาและถูกพูดถึงไม่แพ้กันก็คือ “ช่อดอกไม้” ในอ้อมกอดของแคทรีโอนา มิสยูนิเวิร์สคนปัจจุบัน ซึ่งเป็นฝีมือออกแบบโดย ปิยวัฒน์ มีไพฑูรย์ จากร้าน FLOWDESIGN “ปิยวัฒน์ มีไพฑูรย์” หรือ “คุณโฟล์ว” จากเด็กบ้านนอกคนหนึ่งที่มีความฝันว่าอยากทำช่อดอกไม้ให้กับนางงามจักรวาล สู่วันที่ทุกคนชื่นชมและยอมรับในผลงาน จนทำให้เราอยากรู้จักเขาคนนี้ให้มากขึ้น | จุดเริ่มต้นของการชอบจัดดอกไม้ คุณโฟล์ว : จุดเริ่มต้นของการชอบจัดดอกไม้มันเริ่มมาจาก สมัยเด็กๆ เป็นคนชอบอะไรสวยๆงามๆ ทั้งดอกไม้ และการประกวดนางงาม ทำให้เราเริ่มความฝันที่ยิ่งใหญ่ว่า อยากจะทำดอกไม้สักช่อให้กับนางงามจักรวาลสักครั้ง มันคงจะมีความรู้สึกฟินมากๆ ถ้าได้เห็นช่อดอกไม้ที่เราทำได้ไปอยู่ในอ้อมกอดของผู้หญิงที่สวยที่สุดในโลก | จุดเปลี่ยนของชีวิต คุณโฟล์ว : ช่วง […]

“Kim Jinyoung” เจ้าของไลฟ์สไตล์ช็อป “Something About Us” สาวเกาหลีที่หลงรักย่านถนนพระอาทิตย์

‘คุณคิม จินยอง’ เริ่มต้นการเดินทางในเมืองไทยในฐานะนักท่องเที่ยวที่อยากค้นหาตัวตนเหมือนใครหลายคน แต่อาจเพราะความใจดี รอยยิ้ม และการใช้ชีวิตสบายๆ ที่ได้สัมผัส ทำให้เธอตัดสินใจเปลี่ยนตัวเองจากสาวชาวเกาหลี เป็นสาวชาวไทยที่ใช้ชีวิตอย่างค่อยเป็นค่อยไปใน ‘ย่านถนนพระอาทิตย์’

Like Father, Like Daughter : ความทรงจำผ่านบทเพลงของพ่อลูกหัวใจ 70’s แห่ง “Track Addict Records”

ในยุคสมัยที่เทคโนโลยีพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว บางครั้งก็ทำให้เราหวนคิดถึงช่วงเวลาอันหอมหวานในอดีต การอัดเพลงมิกซ์เทปลงคาสเซ็ตต์ส่งให้คนที่แอบรัก คงเป็นโมเมนต์ที่เด็ก ’90 หลายคนคิดถึง หรือหากย้อนกลับไปอีก เราคงนึกถึงห้วงเวลาของการบรรจงวางเข็มลงบนแผ่นเสียง แล้วนั่งละเมียดไปกับโมงยามแห่งความโรแมนติก

Like Father, Like Son : พ่อลูกคู่เหมือนแห่ง “ARTROOM 24” งานศิลปะแอร์บรัชที่ถ่ายทอดผ่านสายเลือด

บทสนทนาแสนอบอุ่น เรียบง่าย และข้อคิดจากผู้ชายธรรมดาๆ เจ้าของร้านทำสีมอเตอร์ไซค์ ที่ตั้งใจฟูมฟักลูกชายให้เติบโตเป็นคนดี ลงมือทำให้เห็นและสัมผัสถึงความรักในงานศิลปะ ที่ค่อยๆ ซึมซับในตัวลูกชาย จนเรียกได้ว่า “ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น”

ฟังเรื่องราวต่างถิ่นที่มาของ “คนสุพรรณ” จากถ้อยคำ “เหน่อเสน่ห์”

คนสุพรรณบุรี มีความหลากหลายซุกซ่อนอยู่ ความแตกต่างของเชื้อชาติ วัฒนธรรม และประเพณีที่มาจากคนละถิ่น หากแต่เมื่อมารวมตัวกันแล้ว กลับผสานเป็น “คนเมืองสุพรรณ” ได้อย่างกลมกลืน เราเลยจะพาไปเรียนรู้ รับฟังเรื่องราวต่างถิ่นที่มาของ “คนสุพรรณ” ที่ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านถ้อยคำ “เหน่อเสน่ห์” แสนน่ารักและเป็นกันเอง

เรื่องเล่าจากเด็กรามฯ สู่งานนอกเวลามหาโหด !

ผมเชื่อว่ามหา’ลัยรามคำแหง เป็นมหา’ลัยที่มีนักศึกษาทำงานระหว่างเรียนมากที่สุดในประเทศไทย ! เนื่องจากรูปแบบการเรียนที่เน้นผลสอบแบบ 100% การเข้าเรียนจึงไม่มีผลอะไรกับเกรดมากนัก การเอาเวลามาหางานพิเศษทำเพื่อหาเงินใช้เพิ่มเติมจึงเป็นอะไรที่ดูจะเข้าท่ามากกว่า….

ศิลปินชาวเคนย่า “CYRUS KABIRU” ผู้เสกขยะไร้ค่าให้กลายเป็นผลงานศิลปะ

ศิลปะที่แท้จริงย่อมไม่มีเส้นแบ่งขอบเขต หรือคำจำกัดความใดๆ “Cyrus Kabiru (ไซรัส คาบิรุ)” ศิลปินชาวเคนย่าผู้เสกขยะที่ถูกทิ้งขว้าง สร้างเป็นงานศิลปะ ที่ไม่เหมือนใคร และเขากำลังเป็นหนึ่งในตัวอย่างของการแก้ปัญหาขยะที่ปัจจุบันกลายเป็นคลื่นลูกใหญ่ที่กำลังจะทำลายโลกใบนี้ | ปัญหาขยะในทวีปแอฟริกา ประเทศเคนย่า เกิดในแหล่งเสื่อมโทรมเจอแต่ขยะ ปัจจุบันประเทศเคนย่า และอีกหลายประเทศในทวีปแอฟริกา กำลังประสบปัญหาขยะล้นเมือง โดยข้อมูลจากโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ พบว่า มีการพบถุงพลาสติกโพลีเอธิลีน รวมไปถึงขยะประเภทอื่นๆ ในระบบทางเดินอาหารของวัวที่ถูกส่งไปโรงฆ่าสัตว์ในกรุงไนโรบี วัวบางตัวมีถุงพลาสติกอยู่ในท้องถึง 20 ใบ จนทำให้เกิดเหตุการณ์พลาสติกปนเปื้อนในเนื้อวัว ซึ่งกลายเป็นปัญหาที่ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ หน่วยงานจัดการด้านสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเคนย่า จึงออกมาตรการสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ โดยใครที่มีถุงพลาสติกจากร้านปลอดภาษีติดมาด้วยนั้น จะต้องทิ้งถุงพลาสติกไว้ที่สนามบิน ไม่อนุญาตให้นำเข้าประเทศ ซึ่งจากปัญหาเหล่านี้ทำให้ประชากรเด็กที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ต้องเผชิญหน้ากับขยะกันถึงหน้าบ้าน หรือแม้กระทั่งในบ้านเลยทีเดียว | จุดเริ่มต้นของศิลปะจากขยะ เรียนจบม.ปลายไม่เรียนต่อ อยากทำงานศิลปะ ชอบแว่น โดนไล่ออกจากบ้าน เด็กชายไซรัส คาบิรุ ในวัย 7 ขวบ เริ่มต้นความสนใจด้านศิลปะ เพราะแว่นตาที่พ่อเขาสร้างขึ้นมาเอง ซึ่งตอนนั้นเขาอยากได้นาฬิกาเรือนนั้นมาก แต่พ่อกลับบอกกับเขาว่า ถ้าอยากได้ก็สร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเองสิ และนั่นจึงเป็นก้าวแรกของความมุ่งมั่นที่จะสร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเอง และสิ่งที่เขามองเห็นรอบข้างตลอดช่วงชีวิตที่ผ่านมานั่นคือ “ขยะ” สิ่งไร้ค่าที่ใครๆ ก็มองข้าม […]

เปิดบันทึกสาวหัวใจลูกทุ่งที่จริงจังเรื่องผ้า ‘แพรว ทำ-มา-หา-กิน’

“เราทุกคนต่างมีเส้นทางชีวิตที่ไม่เหมือนกัน หลากหลายเรื่องราวที่เกิดขึ้น และทุกย่างก้าวของวันที่ผ่านมาส่งผลถึงปัจจุบัน รวมถึงอนาคตของเราอย่างปฏิเสธไม่ได้” Urban Creature จึงเป็นหนึ่งในหน้าของสมุดบันทึก เดินตามความทรงจำของสาวน้อยหัวใจลูกทุ่งที่มาพร้อมเสน่ห์ และแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร แพรว-พรรณระพี พุกกะเจียม เจ้าของเพจ ทำ-มา-หา-กิน เชื่อว่าถ้าลองได้อ่านบันทึกหน้านี้แล้วต้องตกหลุมรักเธออย่างแน่นอน   | จุดเริ่มต้นของเพจทำมาหากิน PREAW : จุดเริ่มต้นมันยาวนานยาวไกลมากกก คือจริงๆ เราเป็นเด็กที่ใช้ชีวิตอยู่ทั้งฝั่งพระนครแล้วก็ฝั่งธนบุรี เราก็เลยคลุกคลีกับสถานที่ต่างๆ อย่าง สำเพ็ง พาหุรัด เจริญรัถ เสือป่า อะไรต่างๆ เราเดินมาตั้งแต่เด็กก็เลยเป็นหนึ่งคนที่คุ้นเคยกับแหล่งวัสดุพวกนี้ จนพอเริ่มทำงานบริษัทสกรีนลูกค้าที่มาทำแบรนด์กับเรา ถามกันเยอะมากว่าวัสดุไปหาที่ไหน เราก็แนะนำว่าไปตรงนั้นสิ ไปสามยอดสิ ไปวัดสนสิ อะไรแบบนี้ ก็เลยเกิดเป็นความคิดขึ้นมาว่าเพจเรามันควรจะมีอะไรที่เป็นความรู้ฟรีๆ บ้าง ซึ่งจริงๆ มันเป็นแหล่งวัสดุของคนไทยทั้งนั่นแหละ แต่เขาจะไม่ค่อยแชร์เรื่องพวกนี้กัน เลยมีความคิดว่าเราเองก็สนับสนุนคนทำงานได้นะ อย่างคนขายส่งเขาก็ไม่ได้ขายดีอะไรมากมาย เราก็เลยอยากแชร์ข้อมูลให้เลยเป็นจุดเริ่มต้นของเพจทำมาหากิน | นิยามความเป็นเพจ ทำ-มา-หา-กิน PREAW : เพจเราลูกทุ่งมากกกกก ที่จริงมันมีหลายเพจที่ทำออกมาแนวไทยนะ แต่ว่าเราค่อนข้างมั่นใจว่าเราโคตรจะฝั่งธนมากๆ แล้วเราก็จะแบบชีวิตจริงสุดๆ เพราะว่าออฟฟิศแพรวจะตั้งอยู่ในเขตชุมชน เราเห็นวิถีชีวิตของคนรอบข้างตลอด อาชีพส่วนใหญ่ย่านนี้ก็คือการเย็บผ้า […]

Running Changes Your Life : แซ-ตรีชฎา หวังพิทักษ์ สาวโอเวอร์ไซส์ที่เปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการ “วิ่ง”

สาวสวยนักสังคมสายเฮลท์ตี้ “พี่แซ-ตรีชฎา หวังพิทักษ์” ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราว “การเปลี่ยนแปลงตัวเอง” ผ่านการ “วิ่ง” กิจกรรมง่ายๆ แต่ได้ผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่

คุยกับ “Fungjai – Seen Scene Space -Have You Heard?” 3 แกนนำที่ปลุก “เพลงอินดี้” ขึ้นมาอินกระแส

บ่ายวันหนึ่งที่บ้านฟังใจ เรามีนัดกับ “พี่ท็อป-ศรันย์ ภิญญรัตน์”  CEO Fungjai, “พี่แป๋ง พิมพ์พร เมธชนัน” นักร้องนำวง Yellow Fang ที่รวมตัวกับเพื่อนสร้าง HAVE YOU HEARD? และ “พี่ปูม-ปิยสุ โกมารทัต” ผู้จัดจากทีม Seen Scene Space เพื่อพูดคุยถึงการเดินทางในสายดนตรีที่หลงใหล รวมถึงตัวตน และความเป็นไปของเพลงอินดี้ในบ้านเรา

คุยกับน้องฝึกงาน: ความฝัน ความกลัว และความพร้อมในช่วงวัยที่ใกล้เปลี่ยนผ่านสู่ชีวิต มนุษย์เงินเดือน

ในหนึ่งรอบชีวิตของคนหนึ่งคน เรามักถูกเฝ้ามองเมื่อครบกำหนดที่ต้องเข้าสู่พิธีกรรมเปลี่ยนผ่านจากช่วงวัยหนึ่งสู่อีกช่วงวัยหนึ่งอยู่เสมอ ยิ่งเป็นช่วงของ วัยรุ่นตอนปลาย ที่กำลังจะก้าวขาเผชิญหน้ากับความจริงในโลกของผู้ใหญ่ ยิ่งมีดวงตาที่ชื่อ ความคาดหวัง ความพร้อม และความเปลี่ยนแปลง มาเฝ้ามอง และลุ้นผลลัพธ์ที่จะเกิดในอนาคตมากขึ้นเป็นเท่าตัว การเผชิญหน้าที่พูดถึง คงไม่มีใครสัมผัส และรู้สึกกับมันได้มากไปกว่ากลุ่มคนจำนวนหลายพันชีวิตที่ถูกจัดอยู่ในสเตตัส ‘นักศึกษา’ เราจึงชวนน้องฝึกงานรุ่นแรก 3 คนของออฟฟิศ มาพูดคุย และแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับ อาชีพในฝัน มุมมองโลกของการทำงาน และความพร้อมที่กำลังจะต้องเปลี่ยนผ่านสู่ชีวิต มนุษย์เงินเดือน Designing Life With A Heart That Loves Design | Pun Khanhathai Prakaiphetkul ‘ปั้น’ คือน้องฝึกงานคนแรก จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เราขอตัวมานั่งคุยด้วยกัน ปั้นเป็นพี่คนโตในบรรดาแก๊งน้องฝึกงานในออฟฟิศ เพราะคณะน้องเรียน 5 ปี มาฝึกงานที่นี่จึงเรียนอยู่ชั้นปีที่ 4 แล้ว ปั้นสร้างรอยยิ้มให้กับออฟฟิศ พร้อมมอบมุมมองใหม่ๆ ในการทำงานแบบเด็กสถาปัตย์ให้กับเรา โลกแปลกใหม่ คือคำนิยามที่ปั้นให้กับการทำงานก่อนมาสัมผัสจริง “ปั้นมองว่า มันเป็นอีกโลกใบหนึ่งที่แปลก […]

The Cement City : Mocambique Modern

จากมุมมองการถ่ายภาพแบบ “Cement City” เป็นวิธีเรียก “เขตเมือง” ในประเทศโมซัมบิก เขตนี้บ่งบอกถึงลักษณะอาคารบ้านเรือนที่ถาวร และแยกตัวออกจากชุมชนแออัดของคนพื้นถิ่นโดยเด็ดขาดซึ่งอาคารต่างๆ ถูกสร้างไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับเจ้าอาณานิคมเพื่ออยู่อาศัยและปกครองในช่วงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เมืองท่าสำคัญแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เป็นหมุดหมายสำคัญของการเปลี่ยนแนวความคิดจากโลกยุคเก่าสู่โลกยุคใหม่ แต่ความทันสมัยคือสิ่งที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง เมื่อทุกสิ่งดำเนินไปความล้ำสมัยของสถาปัตยกรรมจะค่อยๆ ผสานรวมกับกาลเวลาที่คืบคลานมาอย่างช้าๆ และแล้วความจีรังของสถาปัตยกรรมก็ถูกปลดปล่อยออกมา Urban Creature จึงพามาตามติดแนวคิดของของ “เบียร์ – วีระพล สิงห์น้อย” ผ่านมุมมองของช่างภาพสถาปัตย์ | มุมมองสถาปัตยกรรมในเมืองไทยของพี่เบียร์เป็นแบบไหน สถาปัตยกรรมในเมืองไทยถ้าเรื่องการพัฒนา ความเจริญ เราก็ถือว่าโอเคเลยเรียกได้ว่าภูมิภาคนี้เราก็ไม่แพ้ใครแต่สิ่งที่เราสนใจอยู่ตอนนี้คือ สถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นซึ่งจริงๆ แล้วในศัพท์คำว่า “สถาปัตยกรรมสมัยใหม่” ความเป็นโมเดิร์นของมันอาจจะไม่ตรงกับความเข้าใจของคนทั่วๆ ไปเท่าไหร่ ถ้าโมเดิร์นแบบสมัยใหม่ปัจจุบันนี้เราขอเรียกว่า “ Contemporary” ดีกว่า แต่ถ้าเป็นคำว่า “Modern” ก็คือช่วงสมัยประมาณ 50 – 60 ปีที่แล้ว ตรงกับประมาณปี พ.ศ. 2483 – 2503 ซึ่งคำว่ายุคสมัยใหม่เป็นช่วงแนวความคิดที่มีอิทธิพลมาจากฝั่งยุโรป ฝั่งเลอกอร์บูซีเยซึ่งเราสนใจสถาปัตยกรรมยุคนี้ | ทำไมถึงชอบสถาปัตยกรรมยุค “โมเดิร์น” คือเรามีความประทับใจเรื่องรูปทรงอยู่แล้วพอเราศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ เราก็ยิ่งหลงรักสถานที่ต่างๆ มากขึ้นซึ่งที่แรกที่ประทับใจเลยคือ […]

1 25 26 27 28 29 31

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.