The Cement City : Mocambique Modern

จากมุมมองการถ่ายภาพแบบ “Cement City” เป็นวิธีเรียก “เขตเมือง” ในประเทศโมซัมบิก เขตนี้บ่งบอกถึงลักษณะอาคารบ้านเรือนที่ถาวร และแยกตัวออกจากชุมชนแออัดของคนพื้นถิ่นโดยเด็ดขาดซึ่งอาคารต่างๆ ถูกสร้างไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับเจ้าอาณานิคมเพื่ออยู่อาศัยและปกครองในช่วงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เมืองท่าสำคัญแห่งนี้จึงเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เป็นหมุดหมายสำคัญของการเปลี่ยนแนวความคิดจากโลกยุคเก่าสู่โลกยุคใหม่ แต่ความทันสมัยคือสิ่งที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง เมื่อทุกสิ่งดำเนินไปความล้ำสมัยของสถาปัตยกรรมจะค่อยๆ ผสานรวมกับกาลเวลาที่คืบคลานมาอย่างช้าๆ และแล้วความจีรังของสถาปัตยกรรมก็ถูกปลดปล่อยออกมา Urban Creature จึงพามาตามติดแนวคิดของของ “เบียร์ – วีระพล สิงห์น้อย” ผ่านมุมมองของช่างภาพสถาปัตย์ | มุมมองสถาปัตยกรรมในเมืองไทยของพี่เบียร์เป็นแบบไหน สถาปัตยกรรมในเมืองไทยถ้าเรื่องการพัฒนา ความเจริญ เราก็ถือว่าโอเคเลยเรียกได้ว่าภูมิภาคนี้เราก็ไม่แพ้ใครแต่สิ่งที่เราสนใจอยู่ตอนนี้คือ สถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นซึ่งจริงๆ แล้วในศัพท์คำว่า “สถาปัตยกรรมสมัยใหม่” ความเป็นโมเดิร์นของมันอาจจะไม่ตรงกับความเข้าใจของคนทั่วๆ ไปเท่าไหร่ ถ้าโมเดิร์นแบบสมัยใหม่ปัจจุบันนี้เราขอเรียกว่า “ Contemporary” ดีกว่า แต่ถ้าเป็นคำว่า “Modern” ก็คือช่วงสมัยประมาณ 50 – 60 ปีที่แล้ว ตรงกับประมาณปี พ.ศ. 2483 – 2503 ซึ่งคำว่ายุคสมัยใหม่เป็นช่วงแนวความคิดที่มีอิทธิพลมาจากฝั่งยุโรป ฝั่งเลอกอร์บูซีเยซึ่งเราสนใจสถาปัตยกรรมยุคนี้ | ทำไมถึงชอบสถาปัตยกรรมยุค “โมเดิร์น” คือเรามีความประทับใจเรื่องรูปทรงอยู่แล้วพอเราศึกษามากขึ้นเรื่อยๆ เราก็ยิ่งหลงรักสถานที่ต่างๆ มากขึ้นซึ่งที่แรกที่ประทับใจเลยคือ […]

URBAN EYES : A Little Big Moments With “Louis Sketcher”

เปิดบทสัมภาษณ์ Louis Sketcher หรือคุณหลุยส์-ศุภชัย วงศ์นพดลเดชา คนวาดเมืองผ่านสองตา และสองมือกับเครื่องเขียนมากมายที่สะบัดปลายพู่กันผ่านสีน้ำลงสู่ผลงานการสเก็ตช์ภาพ จากความแน่วแน่ในสิ่งที่รักเขาจึงผันตัวจากสถาปนิกสู่ ‘นักวาดภาพ Urban Sketch’ สั่งสมประสบการณ์จนกลายเป็นนิทรรศการภาพวาดลายเส้นและสีน้ำที่ถ่ายทอดบรรยากาศของย่านเก่าเมืองกรุง และชุมชนที่มีเอกลักษณ์ บริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ ผ่านมุมมองของผู้ชายตัวเล็กๆ ที่หลงใหลในสถาปัตยกรรมแสงสลัวกับเงามืดและจังหวะชีวิตในชุมชนที่เต็มไปด้วยเสน่ห์กับบรรยากาศอ้อยอิ่งของการเดินเล่นสำรวจเมือง

Intro to PhotoBangkok 2018 : Walking Interview with ‘TITI’

การสัมภาษณ์วันนี้เราจะนำเสนอในมุมมองของคนหลังเลนส์ ศิรวิทย์ คุววัฒนานนท์ ตีตี้ ที่มีความชอบในการถ่ายภาพเหมือนกัน และด้วยความที่เราทั้งคู่เป็นช่างภาพ จึงมีกล้องคนละตัวเป็นเครื่องมือในการเล่าเรื่องเมืองด้วยภาษาภาพไปด้วยกัน

คุณชุม ช่างภาพรอยเตอร์ TP.02

URBAN PEOPLE : The Professional 02.“ผมเชื่อว่าถ้าเราชอบจริงในสิ่งที่ทำ สักวันมันจะสำเร็จ” ’อธิษฐ์ พีระวงศ์เมธา (ชุม)’ ช่างภาพประจำสำนักข่าวรอยเตอร์ประเทศไทย เมื่อความชื่นชอบในการถ่ายภาพทำให้เขาผันตัวจากวิศวกรคอมพิวเตอร์กลายมาเป็นช่างภาพข่าวมืออาชีพที่มากความรู้และประสบการณ์.มาสัมผัสเคล็ดลับการทำงาน และกล้องคู่ใจที่ติดตัวได้ตลอดเวลา กับกิจกรรมเวิร์กชอปการถ่ายภาพจาก SONY RX โดยคุณชุม ที่มาพร้อมแนวคิดมุมมองการเป็นช่างภาพแบบมืออาชีพที่ใครๆ ก็เป็นได้กับกล้อง Sony RX ลงทะเบียนได้แล้ววันนี้ที่ https://www.sony.co.th/…/alphaunive…/rx/

OAT-CHAIYASITH

URBAN PEOPLE : OAT-CHAIYASITH .เก็บโมเมนต์สำคัญไว้บนภาพถ่าย สไตล์ “โอ๊ต ชัยสิทธิ์” ช่างภาพเวดดิ้ง ที่กดชัตเตอร์ด้วยความรู้สึก พร้อมมารู้จักเขาในมุมมองที่เรายังไม่เคยเห็น กับการฉีกกรอบเดิมๆ ผ่านโฟโต้เซ็ท Trans Project ที่บอกเล่าความหลากหลายทางเพศ

BANGKOKIAN EP.03

เห่นโล๊ววววว ชาวบางกอก ชีวิตช่วงนี้เป็นยังไงกันบ้าง แล้วย่านที่อยู่ตอนนี้ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป มีอะไรสนุกๆอยากแชร์บ้างมั้ย วันนี้เราชาว UC มีเรื่องราวสนุกๆมาแชร์ให้เพื่อนๆได้ชมกัน ไปดูกันเล้ยยยย

BANGKOKIAN EP.02

ไหนๆขอเสียงชาวกรุงเทพหน่อยเร้วว!! มาดูกันว่าใครจะมาเม้าท์เรื่องมันส์ๆเกี่ยวกับย่านที่เราอยู่บ้าง มีอะไรอยากบ่น แล้วพวกเขามีวิธีคิดให้ชีวิตแฮปปี้ยังไง ตามมาเลย!

URBAN VISION X SHMA SOEN

URBAN VISION : “คุณภาพชีวิตคนเมืองในอนาคต คุยกับ Shma SoEn กลุ่มนักออกแบบเพื่อส่วนรวมที่เชื่อว่าเมืองและที่อยู่อาศัยที่ดีต้องไม่ดีด้านเดียว”

Active River Station : จูงมือลงเรือลำเดียวกัน ร่วมคิด ร่วมสร้าง “สถานีเรือเพื่อทุกคน”

“ท่าเรือ” ที่เราใช้ทุกวันนี้เป็นอย่างไร? เท่าที่เห็นกัน คงมีชำรุดหรือบางที่ก็ดีไซน์มาไม่ตอบโจทย์สำหรับคนทุกกลุ่ม เราจึงมีแนวคิดดีๆ จากเหล่า “คนเข้าท่า” มานำเสนอ กับโครงการ “Active River Station – สถานีเรือเพื่อทุกคน” ที่ต้องการสร้างสถานีเรือรูปแบบใหม่ให้คนเมืองได้ใช้

“อุ๋ย นนทรีย์” ผู้กำกับ | จักรยาน | เมือง | ท้องถนน | และโอเค เบตง

ย้อนกลับไปเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว มีภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ได้รับการพูดถึงอยู่ไม่น้อย ด้วยการถ่ายทอดเรื่องราวผ่าน ‘ทิดธรรม’ เกี่ยวกับการใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวมุสลิมในชายแดนใต้ของไทย ซึ่งแวดล้อมไปด้วยวัฒนธรรม วิถีคนท้องถิ่น ความรุนแรง และความไม่สงบในอำเภอเบตง, ยะลา

CHART SUCHART ‘ชาติ สุชาติ’

URBAN PEOPLE : ชวนขึ้น ‘บันไดเลื่อน’ ไปคุยกับ ‘ชาติ สุชาติ’ เปิดกระเป๋าใบเท่ ที่ไม่มี ‘มือถือ’ อยู่ในนั้น.ในวันที่มือถือเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ของมนุษย์ แต่พี่ชาติกลับไม่พกติดตัวเหมือนใครเขา ด้วยเหตุผลง่ายๆว่า “มันโล่งดี ไม่ต้องกังวล”.อะไรที่พี่ชาติพกใส่กระเป๋าเข้ากรุงครั้งแรกกันบ้าง? ทุกวันนี้ยังพกอยู่เหมือนเดิมหรือเปล่า? มากดเปิดวิดีโอ พร้อมเปิดกระเป๋าพี่ชาติ คลอไปกับเพลง ‘บันไดเลื่อน’ แบบสดๆ กันเลย

โสเภณี (ถ้า) อาชีพนี้ถูกกฎหมาย

เจาะลึกเรื่องราวของ “หญิงขายบริการ” ที่มีประเด็นถกกันอย่างเข้มข้นระหว่างนักอนุรักษ์นิยมเกี่ยวกับขนบธรรมเนียม และนักวิชาการเกี่ยวกับการขับเคลื่อนเพื่อให้โสเภณีในประเทศไทยถูกกฎหมาย ถึงทิศทางความเป็นไปของ “โสเภณี” ว่า อาชีพนี้ ควรถูกกฎหมายหรือไม่?

1 26 27 28 29 30 31

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.