PEOPLE
ฟังเสียง ‘คนตัวเล็ก’ ไปจนถึง ‘คนตัวใหญ่’ ที่จะมาถ่ายทอดแนวคิด มุมมอง รวมถึงแรงบันดาลใจ เพื่อสะท้อนสังคมที่มีความหลากหลาย เพราะเสียงของทุกคนล้วนสำคัญ
The School of Life : เพราะชีวิตจริงไม่มีติด ร. เปิดห้องเรียน ‘วิชาชีวิต 101’ ที่โรงเรียนไหนก็ให้ไม่ได้
ดราม่าเอยจงซับซ้อนยิ่งขึ้น… แปลกไหมยุคสมัยที่เรามีปัญหาร้อยแปด แต่ผู้คนยังชอบเสพดราม่าในโลกโซเชียล หากย้อนไปดูคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ก็เคยกุมขมับกับเรื่องของความรู้สึกและจิตใจไม่ต่างจากเรา พูดให้เห็นภาพอย่างเพลงฮิตที่ต่อให้ผ่านไปกี่ยุคกี่สมัย ก็หนีไม่พ้นความเจ็บปวดไม่ว่าจะเป็นเรื่องรักๆ ใคร่ๆ การไม่เป็นที่ยอมรับ ไปจนถึงปัญหาชีวิตที่รุมเร้า
แยกขยะเป็นจะเห็นค่า คุ้ยเรื่องขยะกับ ‘ชูเกียรติ’ ผู้เปลี่ยนขยะอาหารเป็นปุ๋ยธรรมชาติ
‘ชูเกียรติ โกแมน’ คือหนึ่งในทีมงานสวนผักคนเมือง ที่เห็นความสำคัญของการแยกขยะ และเห็นค่าของขยะอาหาร จนหยิบมาทำเป็นปุ๋ยหมักธรรมชาติ พร้อมคิดค้นระบบกล่องปุ๋ยหมักที่ทำได้ทุกบ้าน เราชวนพี่ชูเกียรติมาร่วมพูดคุยถึงการจัดการขยะอาหาร ขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก ความสำคัญของการแยกขยะ ตลอดจนช่วยไขความกระจ่างว่า ทำไมประเทศไทยถึงยังก้าวสู่สังคม Zero Waste ไม่ได้เสียที
‘เชฟแนน’ @Cuisine de Garden เพิ่มคุณค่า ‘วัตถุดิบท้องถิ่น’ ผ่านอาหารโมเดิร์น
ถ้าให้พูดถึงร้านอาหารในย่านเอกมัย พอฟังแล้วคงเดาไม่ยากว่าราคาคงสูงเอาการ อาจเพราะทำเลที่ตั้งอยู่บนที่ดินราคาสูง จึงทำให้ภาพจำคนนอกพื้นที่อย่างเรา มองว่าร้านอาหารแถวนี้น่าจะหรูหราพอตัว จนกระทั่งเราเดินมาหยุดอยู่หน้าร้าน ‘Cuisine de Garden’ และได้พูดคุยกับ ‘เชฟแนน-ลีลวัฒน์ มั่นคงติพันธ์’ ทำให้เรามองข้ามเรื่อง ‘ราคา’ แล้วหันไปโฟกัสที่ ‘อาหาร’ แทน ล้มลุกคลุกคลาน ระยะเวลากว่า 10 ปี บนทางเดินอาชีพ ‘เชฟ’ ของเชฟแนน ไม่ได้เกิดจากความตั้งใจแต่แรกเริ่ม แต่มาจากการ ‘ล้ม’ ครั้งแรกของธุรกิจส่งออกที่เขาทําอยู่เชียงใหม่ จนทําให้เขาต้องมองหาอาชีพเสริมอื่นๆ เพื่อมาประคองชีวิต เชฟแนน : ก่อนหน้านี้ผมทําธุรกิจส่งออกอยู่ที่เชียงใหม่กับแม่ แต่พอเกิดวิกฤตการณ์ฟองสบู่ของสหรัฐฯ ทําให้ผมตัดสินใจผันตัวออกไปทําอาชีพเสริม ตอนแรกผมเริ่มเรียนคอร์สแม่บ้านอาหารญี่ปุ่น เพราะราคาไม่แพง พอเรียนไปเริ่มรู้สึกว่า เราทําอาหารใช้ได้นะ (หัวเราะ) เลยอยากเรียนคอร์สอาหารเพิ่มอีก แต่ตอน นั้นตัวเลือกเราไม่ได้มีเยอะมาก จนไปเจอคอร์สเรียนอาหารตะวันตกฟรี ของศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน ทําให้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการอยากทําอาชีพเชฟก็ว่าได้ เชฟแนน : ผมเก็บเงินทุนได้ส่วนหนึ่งประมาณ 50,000 – 60,000 บาท และนําเงินจํานวนนั้นมาเปิด ร้าน […]
หลุมดำ ความเศร้า และ One of A Kind Art สไตล์ ‘ก้องกาน’ กับความท้าทายใหม่ๆ ในการครีเอทงานศิลปะ
ในยุคที่ศิลปินรุ่นใหม่เกิดขึ้นมากมาย เต็มไปด้วยแพสชันและพลังความคิดสร้างสรรค์ที่เต็มเปี่ยม ในการครีเอทงานศิลปะที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง และหลุดออกจากกรอบเดิมๆ เพิ่มเติมคือมุมมองต่อผลงานศิลปะที่มีความตื่นตาตื่นใจมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในศิลปินที่หลายคนคุ้นเคยกับลายเส้นและเรื่องราวที่มีเอกลักษณ์อย่าง ‘ก้องกาน – กันตภณ เมธีกุล’ ชายหนุ่มผู้เปลี่ยนเอา Depression หรือความเศร้าให้กลายเป็นงานอาร์ตที่มีเอกลักษณ์เฉียบคม แฝงไปด้วยความหมายและสัญลักษณ์จนกลายเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และโด่งดังไกลไปถึงนิวยอร์ก วันนี้ Urban Creature พามารู้จักกับเจ้าของ ‘เทเลพอร์ต’ ทะลุมิติที่จะพาคุณวาร์ปไปในที่ที่พบแต่ความสุขในแบบที่ตัวเราอยากให้เป็น การสนทนาครั้งนี้เปิดประเด็นด้วยคำถามเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของ ‘หลุมดำ’ ซึ่งคุณก้องได้เล่าเรื่องย้อนกลับไปสมัยที่ตัดสินใจก้าวออกจากเซฟโซน ไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์ใหม่ๆ ถึงนิวยอร์ก | จุดเริ่มต้นของ ‘เทเลพอร์ต’ ทะลุมิติ ก้อง : ความคิดนี้เกิดขึ้นช่วงที่เราเคยรู้สึกเครียดตอนที่อยู่ต่างประเทศแรกๆ ทำให้เราอยากหาทางออกให้ชีวิต อยากมีประตูวิเศษที่พาเราไปในชีวิตที่เราอยากไป “ ถ้าเราสามารถเทเลพอร์ตไปอยู่ในโลกที่ดีขึ้น หรือโลกที่มีความสุขมากขึ้นก็คงดี” แต่นอกจากเรื่องของความเครียดจากภาวะคัลเจอร์ช็อกแล้ว จุดเริ่มต้นของงานศิลปะในครั้งนี้ยังมาจากสังคมในปัจจุบันที่เต็มไปด้วยปัญหา ทั้งเรื่องธุรกิจ สิ่งแวดล้อม ปัญหาเรื่องเพศ หรือความไม่เท่าเทียมกันในสังคม จึงเกิดแนวคิดที่ว่า “ถ้าเราสามารถเทเลพอร์ตไปอยู่ในโลกที่ดีขึ้นหรือโลกที่มีความสุขมากขึ้นก็คงดี” | ‘หลุมดำ’ ซิกเนเจอร์ที่ไม่เหมือนใคร ก้อง : ตอนอยู่นิวยอร์ก ผมใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับตัวเอง ทำให้สามารถผลิตงานอาร์ตที่เกิดจากอินเนอร์ของผมจริงๆ ผนวกกับที่นั่นเป็นโลกที่รวมเอาหลายเชื้อชาติมาอยู่ด้วยกัน ทำให้ผมเห็นความแตกต่างทางวัฒนธรรม […]
มองไม่เห็นใช้ชีวิตในเมืองอย่างไร ? ฟังจากปากคนตาบอด ‘พี่แก๊ป NECTEC’
การใช้ชีวิตในเมืองที่แสนชุลมุน ทั้งต้องเผชิญกับการเดินทางหลากหลายรูปแบบ และต่อสู้กับระบบอำนวยความสะดวกที่อาจไม่ได้สะดวกสำหรับทุกคนจริงๆ มาลองฟังความคิดเห็นและประสบการณ์จากปากคนตาบอด ‘พี่แก๊ป – เทอดเกียรติบุญเที่ยง’ ผู้พิการทางสายตาตั้งแต่กำเนิดวัย 29 ปี กับตำแหน่งผู้ช่วยวิจัยที่ NECTEC หรือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กับมุมมองที่คนตาดีทั่วไปอาจไม่เคยรู้มาก่อน
‘ฟาร์มลุงรีย์’ คอมมูนิตี้ชาวสวนรุ่นใหม่ ฉีกกฏเกษตรแบบเดิมด้วยเทคโนโลยีใกล้ตัว
วันนี้เรามีโอกาสได้คุยกับ ‘ลุงรีย์-ชารีย์ บุญญวินิจ’ ผู้บุกเบิกฟาร์มลุงรีย์ และ ‘พี่นัท-กิตติพงศ์ กีรติเตชะนันท์’ นักเพาะเห็ดที่มาเรียนรู้จากฟาร์มลุงรีย์ ทั้งสองคนจะมาแชร์ประสบการณ์เกษตรกรรุ่นใหม่อยู่อย่างไรในเมือง รวมทั้งเป้าหมายในอนาคตของฟาร์มในเมืองที่พึ่งพาตัวเองได้ หน้าตาจะเป็นอย่างไรตามไปดูกัน
ร้านยาสมุนไพรไทย ‘เจ้ากรมเป๋อ’ – หมอถวัลย์ สุวรรณเตมีย์
“ยาสมุนไพรไทยไม่มีพิษมีภัยถึงจะหายช้าหน่อย แต่ดีกว่ายาที่กินแล้วหายเร็วสุดท้ายต้องมารักษาไตทีหลัง”
ฟ้าหลังฝนของ ‘พิมพ์พาพ์’ นักวาดภาพประกอบที่บันทึกช่วงเวลา 30 วัน หลังพบก้อนมะเร็งในไดอารี่เด็กหน้าแมว
หากวันหนึ่งไปหาหมอแล้วพบว่า มีก้อนบางอย่างอยู่ในร่างกาย ไม่ว่าใครก็คงกังวลกับความเปลี่ยนแปลงที่จะตามมา หรือไม่ก็หูอื้อนึกอะไรไม่ออก แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นกับเพื่อนสาวที่น่ารักสดใส ‘เจิ้ล’ หรือ แองเจิ้ล – ณัฐณิชา พิมพ์พาพ์ ในตอนนั้นเธออายุ 24 เพิ่งเรียนจบและกำลังเดินบนเส้นทางนักวาดภาพประกอบ โดยใช้นามสกุล ‘พิมพ์พาพ์’ เป็นนามปากกา
‘อาชีพหมอฉุกเฉิน’ ทุกนาทีเพื่อคนไข้ ความเป็นความตายที่ไม่มีโอกาสให้พลาด
หากมองอาชีพหมอฉุกเฉินในชีวิตจริงไม่อิงละคร รู้ไหมว่าหมอฉุกเฉินมีบทบาทหน้าที่อะไร และต้องแบกรับความท้าทายมากน้อยแค่ไหน
“เบื้องหลังความสำเร็จของ ‘เชฟอ๊อฟ’ แชมป์อันดับ 1 The Next Iron Chef Thailand 2019”
เมื่อไม่กี่วันก่อน รายการ ‘เชฟกระทะเหล็ก The Next Iron Chef Thailand 2019’ ก็โบกมือลาหน้าจอไปเรียบร้อยแล้ว และแชมป์ใหม่ป้ายแดง คือ ‘เชฟอ๊อฟ – ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์’ ที่เบื้องหน้าเสมือนถูกโรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่กว่าจะเดินทางมาถึงวันนี้ได้ รสชาติชีวิตของเชฟอ๊อฟที่ผ่านมาช่างมีหลากหลายรสซะเหลือเกิน จุดเริ่มต้นเชฟ ค่อยเป็นค่อยไป เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงชีวิตในวัยเด็กหลายคนอาจจะได้อยู่กินข้าวกับครอบครัวบ่อยครั้ง แต่สำหรับเชฟอ๊อฟนั้นเมื่ออายุได้ 15 ปี จากที่ต้องอยู่กับครอบครัว แต่เขาต้องจากบ้านเพื่อไปเรียนและใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศกับครอบครัวคนอื่นแทน ช่วงนั้นเชฟอ๊อฟเป็นเด็กที่ค่อนข้างเกเร ใช้คำนี้คงไม่ผิดเท่าไหร่ และหากถามว่า ชอบทำอาหารเป็นทุนเดิมอยู่แล้วไหม ? เชฟอ๊อฟตอบกลับมาว่า เชฟอ๊อฟ : บอกตรงๆ ว่าไม่ใช่ครับ แม้ครอบครัวจะมีกิจการร้านอาหารอยู่แล้วก็ตาม แต่การไปอยู่ต่างแดนอาหารก็ไม่ค่อยถูกปากเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อสถานการณ์พาไปจึงต้องลงมือทำอาหารเองบ้างบางเมนู และนั้นคงเป็นจุดเริ่มต้นของการทำอาหาร เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี ถือว่ากฎหมายอเมริกาอนุญาตให้ดื่มเหล้าได้แล้วเลยเกิดไอเดียอยากเปิดผับเล็กๆ กับเพื่อน จึงได้พื้นที่ในห้องใต้ดินร้านอาหารไทยแห่งหนึ่ง ช่วงชีวิตตอนนั้นระยะแรกเรียกว่าเฟื่องฟูแต่สุดท้ายก็ต้องปิดตัวลงแบบไม่สวยนัก เชฟอ๊อฟ : ตอนนั้นทำร้านและเรียนไปด้วย เราได้เงินเยอะมากๆ แต่ทำได้เพียง 7 เดือนก็ต้องปิดตัวลง […]
“คลองต้องดี เมืองถึงจะดี” ฟังวิธีฟื้นคลองให้กลับมาสำคัญอีกครั้งจาก ‘ธนบุรี มี คลอง’
สทนากับทีม ‘ธนบุรี มี คลอง’ ถึงความสำคัญของคลองกับเมือง และหนทางที่จะทำให้คลองอยู่คู่กับเมืองได้อย่างยั่งยืน
เปิดตำราวิชาพิพิธภัณฑ์ กับอาจารย์และนิสิตที่ผูกพันกับพิพิธภัณฑ์ไทย
คุยกับอาจารย์และนิสิตหลักสูตรการจัดการทางวัฒนธรรม กับประเด็นการเรียนหลักสูตรพิพิธภัณฑ์ และมุมมองต่อวงการพิพิธภัณฑ์ไทย