Rainy Day Mood ติดฝน

ภาพเซตนี้ได้แรงบันดาลใจจากการที่เราติดฝนหลังเลิกงานบ่อยๆ ด้วยนิสัยที่เราเป็นคนพกกล้องตลอดเวลาและชอบสังเกต ทำให้เห็นว่าซีนรอบๆ ตัวมีหลายอารมณ์ ทั้งเหงา โรแมนติก ชุลมุน และวุ่นวาย แต่ก็มีเสน่ห์ในตัวของมันไปอีกแบบ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

FYI

อัปสกิลวิสาหกิจชุมชนไทย ปลดล็อกความรู้ มุ่งสู่ความยั่งยืน โครงการ ‘ไทยประกันชีวิต เสริมโอกาส สุขยั่งยืน’ สร้างคุณค่าร่วมแบบ Ecosystem

‘ผลิตภัณฑ์และบริการจากวิสาหกิจชุมชน’ คือแรร์ไอเทมประจำท้องถิ่นที่รอการส่งเสริมและพัฒนา เพราะนอกจากจะทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง ช่วยยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็ง ยังทำให้คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนดีตามไปด้วย แต่ถ้าถามว่า แล้วการยกระดับที่ว่าเป็นแบบไหน เราขอแนะนำให้รู้จักกับ 2 ผู้ประกอบการจาก 2 วิสาหกิจชุมชนที่ตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรม ‘ไทยประกันชีวิต เสริมโอกาส สุขยั่งยืน’ และนำความรู้ไปพัฒนาธุรกิจต่อจนประสบความสำเร็จ คนแรกคือ ‘หนิง-ธนพร วงค์เขื่อน’ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมรุ่นที่ 1 ในเขตภาคเหนือที่จังหวัดเชียงราย จากวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรท่าสุด (ท่าสุดเฮิร์บ) จ.เชียงราย ธนพรทำให้เราเห็นภาพความสำเร็จของโครงการนี้ชัดขึ้น ด้วยแนวทางการสร้างความร่วมสมัยให้ผลิตภัณฑ์ บริการแปรรูปสมุนไพร และบริการด้านสุขภาพ ให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ง่ายขึ้น เพื่อส่งให้ภูมิปัญญาไทยดั้งเดิมไปถึงผู้คนในวงกว้าง โดยวิธีการที่ว่าคือ การมุ่งเน้นที่การเพิ่มทักษะด้านการขาย และการสื่อสารการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ใหม่ๆ มีการเล่าเรื่องราวเบื้องหลังของแบรนด์ผ่านสื่อโซเชียล สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์ตามสโลแกน ‘ผ่อนที่กาย คลายที่ใจ By Tasud Herb’ อีกทั้งยังมีการจับมือกับเครือข่ายสายสัมพันธ์มาช่วยเสริมธุรกิจในหลายด้าน ตั้งแต่การเพิ่มพูนความรู้ ปรับปรุงรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ให้โมเดิร์นน่าใช้ เพิ่มช่องทางตลาดและจุดจำหน่าย ไปถึงยกระดับมาตรฐานแหล่งวัตถุดิบและสินค้า ทั้งหมดนี้ทำให้แบรนด์ Tasud Herb (ท่าสุดเฮิร์บ) ของวิสาหกิจชุมชนเติบโตฮิตติดตลาดอย่างรวดเร็ว และได้รับความนิยมจากกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่เป็นจำนวนมาก จนมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว […]

‘ตรอกสลักหิน’ ย่านชาวจีนหลังหัวลำโพงที่ขับเคลื่อนชุมชนด้วยวัฒนธรรมและศิลปะ

ระยะนี้ชื่อของ ‘ชุมชนตรอกสลักหิน’ ในโซเชียลมีเดียน่าจะผ่านตาของใครหลายคน เมื่อสปอตไลต์ฉายไปยังชุมชนกลางเมืองที่บางคนอาจยังไม่รู้จัก จนเป็นเหมือนแม่เหล็กดูดคนจากต่างถิ่นให้ปักหมุดมายังตรอกเล็กๆ หลังสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แห่งนี้ ถัดจากด่านเก็บเงินทางพิเศษศรีรัช ขนาบข้างด้วยทางรถไฟ เดินไปตามถนนรองเมือง ไม่ทันไรก็มาถึงใต้ชายคาบ้านไม้สองชั้นที่แปรเปลี่ยนหน้าที่เป็นมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก สถานที่พักใจของเด็กๆ ในวันหยุดด้านหลังวัดดวงแข วันนี้เป็นวันธรรมดา มูลนิธิไร้เงาเด็กน้อยเพราะไปเรียนหนังสือ เสียงจอแจเงียบหายไปเหมือนเสียงหวีดรถไฟที่ซาลงไปไม่กี่ปีมานี้ แต่จุดประสงค์ของเราไม่ใช่เยาวชนชาวตรอกสลักหิน ทว่าเป็นเบื้องหลังของกลุ่มเด็ก เพื่อฟังเรื่องราวจากปากชาวชุมชนที่ผลักดันให้เกิดทริปนี้ขึ้นมา แหล่งอโคจรยุคอันธพาลครองเมือง “ผมเห็นตั้งแต่ชุมชนไม่มีอะไร จนมูลนิธิฯ เข้ามาพัฒนา เอาศิลปะมาลง” ‘ปีโป้-เศรษฐศักดิ์ จตุปัญญาโชติกุล’ เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ เริ่มต้นเล่าถึงตรอกสลักหินที่เขารู้จัก “เมื่อก่อนใครจะเข้าชุมชนก็โดนตี ในช่วงอันธพาลครองเมือง ยาเสพติด การพนัน ค้าประเวณี” ในช่วงปี 2499 ยุคอันธพาลครองเมือง บริเวณตรอกสลักหินและพื้นที่รอบๆ มีกลุ่มเจ้าถิ่นดูแลอยู่ตลอด เป็นพื้นที่อโคจรที่เต็มไปด้วยสิ่งผิดกฎหมาย ชื่อของตรอกเป็นที่รู้จักของคนวัยเก๋าในฐานะบ้านเกิดของ แดง ไบเลย์ หนึ่งในอันธพาลตัวเอ้ของพระนคร ย้อนไปในอดีต ด้วยระยะทางที่ใกล้กับขนส่งมวลชนสำคัญในขณะนั้น ทำให้ผู้คนจากหลากที่มาต่างเข้ามาจับจองพื้นที่ในตรอกสลักหินเพื่อพักผ่อน เช้าก็ออกไปประกอบอาชีพรองรับผู้เดินทาง เช่น แม่ค้าส้มตำที่หาบจากในตรอกไปนั่งรอลูกค้าด้านหน้าสถานีหัวลำโพง จนเป็นเหมือนสัญลักษณ์ในวันวานที่หลายคนคุ้นตา “บางคนก็อาศัยอยู่ในนี้ บางคนก็อาศัยในชุมชนวัดดวงแข มีห้องเช่าทั้งรายวัน รายเดือน […]

ช่วย Joy จัดระเบียบ Back of the Mind ใหม่ ให้มีระเบียบมากขึ้น และพร้อมใช้งานใน Inside Out 2

ในแต่ละวัน เราย่อมมีความรู้สึกมากมายเกิดขึ้นผสมปนเปกันไป อาจเป็นเพราะว่าอารมณ์ต่างๆ กำลังทำงานหนัก เพื่อให้การใช้ชีวิตของเราออกมาอย่างสมบูรณ์แบบก็เป็นได้ เช่นเดียวกับ ‘ไรลีย์’ (Riley) เด็กน้อยที่มีเหล่าอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ‘ลั้ลลา’ (Joy), ‘เศร้าซึม’ (Sadness), ‘หยะแหยง’ (Disgust), ‘กลั๊วกลัว’ (Fear) และ ‘ฉุนเฉียว’ (Anger) คอยปกป้องเธอเอาไว้ให้เติบโตมาอย่างดี แต่เมื่อใน ‘Inside Out 2’ ไรลีย์เริ่มโตขึ้น ลั้ลลาก็เลยไม่สามารถที่จะปกป้องความรู้สึกนึกคิดของเธอได้ทั้งหมด รวมไปถึงอารมณ์ใหม่ๆ อย่าง ‘ว้าวุ่น’ (Anxiety), ‘อิจฉา’ (Envy), ‘เขินอาย’ (Embarrassment) และ ‘เบื่อหน่าย’ (Ennui) ที่เพิ่มขึ้นและหลอมรวมให้ไรลีย์ได้เป็นตัวเองอย่างแท้จริง ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ภูเขาอารมณ์ใน ‘Back of the Mind’ จะต้องได้รับการจัดระเบียบให้เรียบร้อย เพราะลั้ลลาไม่จำเป็นต้องโยนความทรงจำที่ไม่ดีเข้าสู่ภูเขากองนั้นทั้งหมด แต่เลือกบางส่วนที่คิดว่าไรลีย์ยังไม่พร้อมรับมือจริงๆ เข้าไปเก็บเอาไว้ในนั้นแทน คอลัมน์ Urban Isekai เลยขอพาทุกคนทะลุเข้าไปในสมองของไรลีย์ และแฝงตัวเข้าไปเป็น ‘Mind […]

สำรวจความวายป่วงของสัตว์ป่า ที่เข้ามาทำซ่าในเมืองมนุษย์

ในปี 1659 ตัวแทนจาก 5 เมืองตอนเหนือของอิตาลีรวมตัวกันพิจารณาคดีโดยมีจำเลยเป็น ‘หนอนผีเสื้อ’ ที่ถูกชาวบ้านร้องทุกข์ว่า หนอนเหล่านี้บุกรุกพื้นที่และลักทรัพย์จากสวนผลไม้ โดยมีการออกหมายให้หนอนผีเสื้อมารายงานตัวกับศาล แน่นอนว่าไม่มีหนอนตัวไหนมาตามนัด แต่คดีก็ยังดำเนินการต่อไป และศาลตัดสินยอมรับสิทธิ์ให้หนอนผีเสื้อใช้ชีวิตอย่างอิสรเสรีและมีความสุข โดยจะต้อง ‘ไม่เบียดเบียนความสุขของมนุษย์’ นี่คือหนึ่งตัวอย่างของคดีจากคำนำหนังสือ ‘ป่วนปุย เมื่อธรรมชาติทำผิดกฎมนุษย์’ ผลงานจาก ‘แมรี โรช’ นักเขียนขายดีของ The New York Times ที่บอกเล่าถึงเรื่องราวความซับซ้อนในปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนและสัตว์ จากกระบวนการยุติธรรมที่แปลกประหลาด กับการใช้กฎหมายของมนุษย์ตัดสินการกระทำของเหล่าสัตว์ที่ไม่มีทางเข้าใจเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือศีลธรรมอันดี ไปจนถึงคดีลักทรัพย์ ก่อกวน หรือการฆาตกรรม ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกจากสิ่งมีชีวิตผู้ไร้เดียงสา หากจะลดความอุกฉกรรจ์ลงมาหน่อย ก็คงเป็นปัญหาที่พบเจอได้ทั่วไปอย่างปัญหาสัตว์ที่ไม่ยอมข้ามถนนบนทางม้าลาย นกนางนวลที่ทำลายทรัพย์สินสาธารณะอย่างไม่มีเหตุผล สัตว์ฟันแทะที่บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ หรือเจ้าลิงที่ฉลาดในการกลั่นแกล้งมนุษย์ เมื่อเหตุร้ายเกิดจากสัตว์ป่าแสนน่ากลัว มนุษย์บางคนก็ลุกขึ้นจับอาวุธทำร้ายสัตว์เหล่านั้น โดยไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามันใช่ผู้ร้ายตัวจริงหรือไม่ แมรีจึงพาเราเข้าสู่กระบวนการสืบสวนด้านนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในการตามหาสัตว์ร้ายผู้กระทำความผิด และทวงคืนความยุติธรรมให้เหล่าสัตว์บริสุทธิ์ แกะรอยสืบสาวหาสัตว์ร้ายและทวงคืนความยุติธรรม พบศพชายคนหนึ่งนอนตายอยู่ริมถนน สภาพศพเละเทะ เสื้อผ้าฉีกขาด คาดว่าเกิดจากการถูกสัตว์ป่าโจมตี คดีทำนองนี้มักเกิดขึ้นในตอนเหนือของประเทศแคนาดาและอเมริกาที่คุณพบสัตว์ป่าได้เป็นเรื่องปกติ แต่สัตว์ร้ายตัวไหนกันที่ก่อเหตุอุกฉกรรจ์ขึ้นกลางเมืองแบบนี้ ก่อนจะมาเขียนหนังสือเล่มนี้ แมรีเข้าอบรมหลักสูตร ‘WHART หรือ […]

หลังกล้องของ ‘วิฬารปรัมปรา’ เพจหนังสั้นสยองขวัญที่ตั้งต้นจากแมว ความฝัน และความกลัวร่วมกันของคนในสังคม

[คำเตือน : ภาพประกอบในบทความมีความน่ากลัวและอาจสร้างความตกใจให้ผู้อ่าน] หากคุณเป็นทั้งทาสแมวและคนรักหนังสยองขวัญเป็นชีวิตจิตใจ วิฬารปรัมปรา คือเพจที่เหมาะสมกับคุณด้วยประการทั้งปวง เพราะเพจนี้เน้นทำหนังสั้นที่ส่วนใหญ่มีเจ้าแมว ‘วิฬาร’ เป็นตัวดำเนินเรื่อง พาไปสำรวจเรื่องลี้ลับที่ซ่อนอยู่ในชีวิตประจำวันของคนในสังคม และถึงแม้จะเป็นคลิปสั้นๆ ไม่กี่นาทีแต่ดูแล้วหลอนได้ใจ หลายคลิปของวิฬารปรัมปรากลายเป็นไวรัลในชั่วข้ามคืน อาจเพราะสะท้อนความกลัวที่หลายคนมีร่วมกัน ซึ่งความกลัวที่ว่านั้นไม่ได้จำกัดอยู่แค่ผีหรือสิ่งมีชีวิตประหลาด แต่เป็นความกลัวที่ถูกตีความในมิติที่มากกว่านั้น ไม่ว่าจะกลัวความจนและกลัวการสูญเสียคนรัก ในบ่ายที่เงียบเชียบวันนี้ เราชวน อี่-วรันย์ ศิริประชัย และ บอล-ประพนธ์ ตติยวรกุลวงษ์ มาบอกเล่าเรื่องราวหลังกล้องของหนังสั้นสยองขวัญของพวกเขา คุยกันตั้งแต่ไอเดียตั้งไข่กว่าจะเป็นหนังสักเรื่อง ไปจนถึงกระบวนการคิดมุกหลอกผีที่กลายเป็นไวรัล ฝัน, ผู้กำกับ แม้จะทำงานในแวดวงโฆษณามาหลายปี แต่จริงๆ ความฝันของวรันย์คือการเป็นผู้กำกับ “ตอนเด็กๆ เราชอบดูหนังจากวิดีโอ ชอบเข้าร้านเช่าหนัง ชอบดูหนังมากจนเก็บเอาไปฝันว่าเป็นผู้กำกับ ขึ้นเวทีได้รับรางวัลใหญ่” หญิงสาวนึกย้อนถึงอดีต แววตาเป็นประกาย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ทำตามความฝัน โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในครอบครัวฐานะไม่ค่อยดีอย่างวรันย์ เธอเปรียบวัยเด็กของตัวเองว่าไม่ต่างจากหนังสั้นเรื่อง ‘หนีหนี้’ ที่เธอทำ เล่าเรื่องครอบครัวเล็กๆ ครอบครัวหนึ่งที่พ่อแม่โดนเจ้าหนี้ไล่ตามอย่างน่ากลัว สิ่งที่แตกต่างกันคือชีวิตเธอไม่จบด้วยโศกนาฏกรรมแบบในหนัง วรันย์ไม่ได้ตายแบบลูกสาวในเรื่อง แต่เธอเติบโตมาพร้อมกับเส้นทางชีวิตที่ต้องหนีหนี้นอกระบบ เห็นพ่อแม่ทำงานหนักเพื่อใช้หนี้ และทำให้เธอจำเป็นต้องหันไปเรียนคณะบริหารธุรกิจที่มองว่าหาเลี้ยงชีพตัวเองได้ และเก็บความฝันของการเป็นผู้กำกับลงในซอกหลืบลึกสุดในใจ วรันย์บอกว่า ของเล่นชิ้นเดียวที่ติดตัวเสมอไม่ว่าจะย้ายที่อยู่ไปไหนคือกล้องถ่ายหนังพลาสติกที่แม่ซื้อให้เป็นของขวัญ ระหว่างเรียนจนถึงจบการศึกษา […]

ถอดรหัสความสำเร็จจาก Haikyu!! สุดยอดมังงะกีฬาสร้างแรงบันดาลใจ สู่การฟื้นกระแสกีฬาวอลเลย์บอลในญี่ปุ่น

‘เพราะว่าเราไม่มีปีก ดังนั้นเราจึงพยายามหาวิธีที่จะบิน’ หากพูดถึงอนิเมะที่กระแสแรงที่สุดในวินาทีนี้คงหนีไม่พ้น ‘ไฮคิว!! คู่ตบฟ้าประทาน’ หรือ ‘Haikyu!!’ จากกระแส #ประเทศไทยมีศึกกองขยะแล้ว ครองไทม์ไลน์โซเชียลมีเดียตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงปัจจุบัน แต่จริงๆ แล้วความเฟมัสของไฮคิว!! ไม่ได้เพิ่งมีในช่วงปีนี้ เพราะที่ผ่านมาไฮคิว!! ถูกพูดถึงมาตลอดในฐานะการ์ตูนสร้างแรงบันดาลใจ ที่ ‘ชาวไฮเคี่ยน’ มักนำโควตของตัวละครในเรื่องมาแชร์กันบ่อยครั้ง ทั้งบทสนทนาที่เปิดมุมมองการใช้ชีวิตและการทำตามความฝัน ไฮคิว!! ถือเป็นสุดยอดมังงะกีฬา ที่พูดถึงเรื่องราวของ ‘ฮินาตะ โชโย’ เด็กหนุ่มตัวเล็กที่สนใจในกีฬาวอลเลย์บอลตั้งแต่เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษา หลังบังเอิญได้เห็นการแข่งขันของ ‘ยักษ์จิ๋ว’ เอซ (Ace) ในตำนานของทีมคาราสึโนะ ผู้เล่นตัวเล็กที่สามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ทีมตรงข้ามที่สูงถึง 190 เซนติเมตรได้ ทำให้ฮินาตะใฝ่ฝันอยากเป็นอย่างยักษ์จิ๋ว พยายามฝึกฝนกีฬาวอลเลย์บอล เกิดเป็นเรื่องราวมิตรภาพและการแข่งขันตามมา ไฮคิว!! ถือกำเนิดจากฝีมือการเขียนของ ‘อาจารย์ฮารุอิจิ ฟุรุดาเตะ’ โดยเริ่มต้นจากการตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็งจัมป์รายสัปดาห์ ในปี 2555 ก่อนจะถูกนำไปสร้างเป็นอนิเมะซีซันแรกในปี 2557 ปัจจุบันมีการรวมเล่มมังงะจนจบ 45 เล่ม อนิเมะ 4 ซีซัน โดยล่าสุดภาพยนตร์อนิเมะกำลังฉายในโรงภาพยนตร์ ในชื่อ ‘Haikyu!! The […]

24 Hours Journey in Bangkok ขนส่งของคนกรุงฯ

“รถติดอีกละ”“โห…ทำไมคนเยอะจัง”“คนเยอะจัง เดี๋ยวดึกๆ เราค่อยกลับดีกว่า” ประโยคเหล่านี้มักเป็นสิ่งที่หลายๆ คนแอบคิดขึ้นมาในหัว ขณะที่เราต้องเดินทางโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ ซึ่งเราเองก็เป็นหนึ่งในนั้นเช่นกัน  ตั้งแต่เข้ามาเรียนต่อที่นี่ เราตั้งคำถามเกี่ยวกับจำนวนคนที่ใช้ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยครั้ง จนกลายเป็นภาพจำของหลายๆ คนเวลามองเข้ามาเห็นชีวิตของคนเมืองกรุง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่การสร้างผลงานภาพถ่ายชุด Journey in Bangkok ที่ต้องการจะเล่าถึงการเดินทางในแต่ละวันของคนเมืองกรุง เพื่อสะท้อนภาพการเดินทางในรูปแบบต่างๆ ผ่านระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร รับชมภาพเพิ่มเติมได้ที่ : 24 Hours Journey in Bangkok หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มิถุนายน 2567

นอกเหนือจากการเข้ามาของ AI ที่กำลังเป็นเทรนด์ในวงการดีไซน์อยู่ตอนนี้ เรื่องของการ Recycling และ Upcycling ก็ถือว่าเป็นอีกเทรนด์หนึ่งที่ยังคงได้รับความสนใจและถูกพูดถึงในปัจจุบัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมพวก Product Design ที่มักมีการนำเสนอไอเดียการออกแบบที่หนีไม่พ้นเรื่องรักษ์โลก ซึ่งยังไปสอดคล้องกับ Circular Economy ที่เป็นพันธกิจของหลายๆ องค์กรในปัจจุบัน กลับมาที่คอลัมน์ #ดีไซน์เค้าเจอ ที่ตัวผมมักให้ความสนใจของชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ทำขึ้นเพื่อแก้ปัญหาชีวิตประจำวันโดยชาวบ้านคนธรรมดาริมทาง ผมมองว่าของพวกนี้อาจนับว่าเป็นงาน Product Design ที่ดูบังเอิญจะจัดอยู่ในเทรนด์รักษ์โลกที่เกริ่นมาช่วงต้นได้โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะมักมีการ Upcycling วัสดุเหลือใช้ ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้พลาสติกเก่า ท่อนท่อพีวีซี เส้นสายไฟเก่า ฯลฯ นำมาประดิษฐ์ตัดแต่งกลายเป็นสิ่งของเครื่องใช้นั่นนี่เต็มไปหมด ทั้งที่ความเป็นจริงเมื่อเรามองดูก็รู้ทันทีเลยว่า การกระทำสิ่งของเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการสนใจเรื่องรักษ์โลกอะไรเลย แต่เกิดจากเหตุผลว่าอยากประหยัดเฉยๆ และไม่ได้ต้องแคร์หน้าตารูปทรงด้วย ขอแค่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดดั่งใจต้องการ ทำให้วัสดุเหลือใช้อะไรก็สามารถนำกลับมาใช้ได้หมด ไม่ได้มีเกณฑ์มาตรวัดมาตีกรอบ และเมื่อเราตั้งใจมองให้ลึกขึ้น หลายครั้งการ Upcycling ของข้างทางเหล่านี้มักไม่ได้จบแค่เรื่องวัสดุเหลือใช้ แต่ยังมีการเข้าไปหยิบยืมสิ่งของ องค์ประกอบ หรือโครงสร้างใดๆ ของเมืองที่เริ่มไม่ก่อประโยชน์ในการใช้สอยทางกายภาพ นำมา Upcycling ร่วมกับวัสดุเหลือใช้ได้อีกด้วย เช่น นำรูของเสาไฟมาเสียบด้วยแท่งไม้ม็อปให้กลายเป็นราวตากผ้า หรือใช้ซี่รั้วเหล็กเป็นฐานให้เก้าอี้ออฟฟิศเก่าที่ขาพังแล้วเข้าไปมัดติดไว้ให้พอนั่งได้ สิ่งเหล่านี้มันเริ่มไปไกลกว่าคำว่า Upcycling […]

‘ไม่ยาก ถ้าไม่อยากเป็นคน Toxic’ ขอโทษให้เป็น เยียวยาใจ และเตือนตัวเองให้อย่าเผลอไปทำร้ายใจใครอีก

หนึ่งคำพูดอันทรงพลังเกี่ยวกับสุขภาพจิตที่เราเคยได้ยินคือ “Hurt people, hurt people.” อธิบายคือ คนที่เคยผ่านเหตุการณ์ที่ทำให้เขาเจ็บปวดมา หากเขากอดความปวดร้าวนั้นไว้แน่นกับตัว ไม่ช้าก็เร็ว เขาต้องส่งความเจ็บปวดนี้ให้คนอื่นอีก และประโยคที่ตามมาจากประโยคแรกคือ “Healed people, heal people.” ใครก็ตาม ไม่ว่าจะเจ็บปวดมาแค่ไหน หากเขาคนนั้นเลือกที่จะเดินเข้าสู่หนทางแห่งการเยียวยาจิตใจ ไม่ช้าก็เร็ว แรงกระเพื่อมของการอยากมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นจะส่งผลต่อคนรอบข้างให้อยากมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นตามได้แน่นอน แต่ถ้า Hurt People (คนที่เจ็บปวด) ไม่ได้เจ็บปวดจากการที่คนอื่นทำตัวเองเจ็บ แต่เจ็บปวดจากการทำให้คนอื่นเจ็บแล้วรู้สึกแย่มากๆ หลังจากนั้นแทนล่ะ ความรู้สึกที่เหมือนตัวเองเป็นตัวร้ายนี้จะ Heal (เยียวยา) อย่างไรดี หาต้นตอที่ทำให้เราเจ็บปวด เพื่อรีบออกจากวงจรการเผลอเป็นคน Toxic แทบทุกคนที่เคยทำตัวไม่น่ารักใส่ใคร มักเคยมีคนมาทำให้เจ็บก่อน ไม่ว่าคนคนนั้นจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่นี่ก็ไม่ใช่ข้ออ้างที่อนุญาตให้เราสมควรส่งต่อความเจ็บนี้กระจายสู่คนอื่นไปเรื่อยได้ มีช่วงหนึ่งที่ผู้เขียนเคยมีเรื่องผิดใจกับแม่ รู้สึกเจ็บใจที่ไม่น่าเล่าเรื่องส่วนตัวให้เขาฟัง ปนกับความน้อยใจที่คาดหวังไปเองว่าแม่น่าจะเข้าใจฉันมากกว่านี้ ทำให้ผู้เขียนรู้สึกหงุดหงิดและรำคาญแม่อยู่เสมอ ซึ่งก็มาจากก้อนความเศร้าที่ต่างคนต่างผิดหวังในกันและกันจากความเชื่อในการใช้ชีวิตบางอย่างที่ไม่ตรงกัน จึงเกิดเป็นถ้อยคำทำร้ายจิตใจกัน แต่ก็เป็นตัวผู้เขียนเองที่ไม่ยอมสลัดความเจ็บนี้ออกจากใจ เลือกที่จะแบกไว้ เพราะหวังเองอยู่ลึกๆ ว่าแม่ต้องเข้าใจความเจ็บปวดนี้บ้าง ซึ่งวิธีจัดการความเจ็บในใจโดยการปักธงอยากจะลงโทษทางอารมณ์คนที่ทำให้เจ็บนั้น ก็เป็นวิธีที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าไหร่นัก เพราะทุกครั้งที่เราโฟกัสกับความเจ็บที่เรารู้สึกจากเขา และพยายามจะส่งก้อนความเจ็บนี้กลับไปให้เขา กลายเป็นเราเองนั่นแหละที่เจ็บในใจกว่าเหลือเกิน สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นคือ เราหงุดหงิดและรำคาญแม่แทบทุกเรื่องที่เขาทำ […]

‘อุตสาหกรรมดนตรีจะดีขึ้นกว่านี้ได้ ขนส่งมวลชนต้องดีก่อน’ คุยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเมืองและคนดนตรีกับ ‘บอล Scrubb’ 

เราไม่ได้มองศิลปินและนักดนตรีต่างออกไปจากคนเมืองธรรมดาๆ อย่างตัวเองนัก เราคือคนทำงาน พวกเขาก็คือคนทำงาน ความเป็นไปของเมืองที่เราอยู่อาศัยส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของเรา กับศิลปินและนักดนตรีที่อยู่ในเมืองเดียวกันนี้ก็คงไม่ต่างกัน จากประสบการณ์ส่วนตัว เราจะสนใจอ่าน ฟัง หรือถกเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างคนกับเมือง ผ่านบทสนทนากับคนในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเมืองเสียมากกว่า และหลังจากได้ยินความตั้งใจของคนหลายๆ กลุ่มก้อนที่อยากผลักดันให้เมืองกรุงเทพฯ เป็น Music City หรือสนับสนุนให้ T-POP เป็นซอฟต์พาวเวอร์ เป็นหน้าเป็นตาของเมืองหรือประเทศ คำถามที่ปรากฏขึ้นในหัวเราในเวลาต่อมาคือ แล้วเมืองได้สนับสนุนอะไรกลับไปที่ศิลปินที่กำลังตั้งใจทำงานอยู่หรือเปล่า กุมความสงสัยไว้กับตัวเองได้ไม่นาน เพราะวันนี้มีโอกาสได้เจอกับ ‘บอล Scrubb’ หรือ ‘ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ ศิลปินและผู้บริหารค่ายเพลงอย่าง ‘What The Duck’ และ ‘MILK! Artist Service Platform’ ที่ดูแลและสนับสนุนว่าที่ศิลปินหน้าใหม่ ซึ่งวันนี้ได้ขยับตัวเองมาเป็นค่ายเพลงน้องใหม่อย่าง ‘MILK! BKK Music Label’ แล้วเรียบร้อย ชวนเจ้าตัวคุยแบบลึกๆ ไปเลยว่า ในเลนส์ของคนฟังเพลงและคนที่ทำงานกับอุตสาหกรรมดนตรีมายาวนาน (แถมทำมาแล้วหลายบทบาท) ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับเมืองจะมีเรื่องที่อยากชมหรือเรื่องที่ขอบ่นแตกต่างไปจากเราอย่างไร ในฐานะศิลปินและคนทำค่ายเพลง นิยามคำว่า ‘เมือง’ ของคุณเป็นอย่างไร ผมว่ามันเป็นเรื่องของความสะดวกสบายในการเข้าถึงศิลปะและดนตรี […]

1 11 12 13 14 15 96

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.