Eye Contact สบสายตา

เมื่อการออกเดินทางเพื่อไปสำรวจพื้นที่ต่างๆ จากความตั้งใจ กลับกลายเป็นความบังเอิญในการค้นพบและได้ทำความรู้จักกับสิ่งที่แปลกใหม่ ที่ทั้งพิเศษและแตกต่างออกไปจากข้อจำกัดเดิมที่มี ราวกับว่าได้สบตากับบุคคลแปลกหน้าโดยบังเอิญ และได้รับรู้เรื่องราว คำบอกเล่า และประสบการณ์ต่างๆ จากคนแปลกหน้าผู้นั้น ‘Eye Contact’ ในความหมายโดยทั่วไปคือการที่ดวงตาของบุคคลทั้งสองฝ่ายเกิดการสบตาระหว่างกันและกัน แต่สำหรับตัวเรานั้นความหมายกลับต่างออกไปโดยสิ้นเชิง การสบตาไม่ได้เป็นแค่เพียงการจ้องมองกันระหว่างสิ่งมีชีวิตเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการที่ดวงตาของเราได้ผสานเข้ากับบางสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกดึงดูด แม้กระทั่งสิ่งที่ไม่มีชีวิต ราวกับว่าสิ่งนั้นกำลังสื่อสาร ถ่ายทอดเรื่องราว อารมณ์ และความรู้สึกต่างๆ ออกมา โดยไร้ซึ่งดวงตาที่ขยับเคลื่อนไหวหรือบ่งบอกถึงความรู้สึกนึกคิดได้ แต่กลับเป็นตัววัตถุที่อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมและบรรยากาศต่างๆ เหล่านี้ต่างหากที่เป็นตัวเชื่อมโยง สื่อสาร และบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ อย่างเช่น กระจกในพุ่มหญ้าที่สะท้อนเข้ากับแสงแดด เศษแจกันที่กระจัดกระจายอยู่ตามพื้น หรือต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ริมรั้วท่ามกลางเศษไม้ใบหญ้า สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วๆ ไป แต่ถ้าหากเราลองหยุดอยู่นิ่งๆ และลองสัมผัสไปกับบรรยากาศรอบๆ เราอาจจะค้นพบบางสิ่งบางอย่างที่กำลังพยายามสื่อสารกับเราอยู่ จนเราเองก็อดไม่ได้ที่จะจินตนาการถึงเรื่องราวและที่มาที่ไปของสิ่งของเหล่านี้ ติดตามผลงานของ ณปภัช โสภณวิชาญกุล ต่อได้ที่ Instagram : hatebbroccoli และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

The Fig Lobby โรงแรมสีสดใสย่านคลองเตยที่อยากเป็น ‘สนามผู้ใหญ่เล่น’ ที่สนุกและผ่อนคลายแบบไร้กรอบ

ตามประสาคนเสพติดการ Workation เป็นชีวิตจิตใจ ฉันเลิฟการสกรอล์หน้าจอเพื่อเสาะหาที่พักใหม่ๆ ที่ช่วยเปลี่ยนบรรยากาศการทำงานให้กระชุ่มกระชวยเป็นที่สุด วันหนึ่ง ภาพของ ‘The Fig Lobby’ โรงแรมใหม่ย่านคลองเตยก็โผล่ขึ้นมาบนฟีด สีสันของตึกอาคารที่สนุกสดใสดึงความสนใจของฉันได้ตั้งแต่แวบแรก รู้ตัวอีกที ฉันก็มายืนหน้าล็อบบี้ของ The Fig Lobby ถือ Welcome Ice Cream ของโรงแรมอยู่ในมือ และพร้อมที่จะเดินสำรวจที่พัก+ที่ทำงาน (ชั่วคราว) แห่งใหม่อย่างระริกระรี้ สิ่งที่ได้จากการสำรวจอาจเล่าย่อๆ ได้ดังนี้ : ที่นี่มีห้องพัก 68 ห้องรองรับแขก มีร้านอาหารและคาเฟ่ที่นั่งทำงานเพลินสุดๆ นอกจากนี้ยังมีสปาธีมอินเดียฟีลดี ห้องปั้นเซรามิกสุดอบอุ่น สตูดิโอทำงานศิลปะ บาร์และร้านอาหารสไตล์เม็กซิกันอยู่บนชั้นดาดฟ้า และมีห้องปั่นจักรยานประกอบของ Native คอยให้บริการสายสุขภาพ ที่ต้องมีเยอะขนาดนี้เพราะ ‘พลอย-ชาลิสา เตียนโพธิทอง’ ผู้ก่อตั้ง The Fig Lobby ผู้อาสาพาฉันทัวร์ในวันนี้บอกว่าที่นี่ไม่ใช่แค่โรงแรม แต่เธอหวังอยากให้เป็นพื้นที่ที่ผู้ใหญ่วัยมันได้มาใช้ชีวิตกันเต็มที่ ภายใต้ไวบ์สขี้เล่นๆ ที่พร้อมอ้าแขนกว้างต้อนรับทุกคนอย่างเต็มกอด Magic Lobby สำหรับพลอย การมีโรงแรมเป็นของตัวเองคือความฝัน “พลอยชอบโรงแรมตั้งแต่เด็ก […]

BOOK DREAMS เหล่าหนังสือในฝันที่ชาว Urban Creature อยากได้มาไว้ในคอลเลกชันกองดอง

ขอต้อนรับงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 28 กับธีม BOOK DREAMS ด้วยลิสต์หนังสือในฝันที่ชาว Urban Creature อยากได้ เพราะแม้ตอนนี้ราคาหนังสือแต่ละเล่มจะเริ่มพุ่งทะยานไปไกลจนเราต้องคิดแล้วคิดอีกเวลาควักเงินซื้อ แต่พออยู่ในงานหนังสือที่รายล้อมไปด้วยหนังสือมากมายหลากหลายประเภทที่มีหน้าปกล่อตาล่อใจ หลายๆ ครั้งเราก็มักจบลงด้วยการหอบหนังสือกองโตกลับบ้านพร้อมใบหน้าเปื้อนยิ้ม (ที่ต้องไปบริหารจัดการเงินทีหลัง) ในลิสต์นี้มีตั้งแต่ฟิกชันอ่านสนุก วรรณกรรมแปลแนวสืบสวนสอบสวน ชีวประวัติคนสำคัญระดับโลก ไปจนถึงน็อนฟิกชันเรื่องการออกแบบและเมืองที่ทำให้เราหันกลับมามองพื้นที่อยู่อาศัยในสายตาที่ต่างออกไป ว่าแต่มีเล่มไหนบ้าง มาอ่านที่เราป้ายยากัน ชื่อหนังสือ : สถาปัตย์-สถาปนา : การ(เมือง)ดีไซน์พื้นที่และความนัยสถาปัตยกรรมสำนักพิมพ์ : มติชน (บูท J47)ชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Managing Editor ปกติเป็นคนชอบอ่านงานเขียนประเภทนิยาย แต่จะมีบ้างบางครั้งที่เปลี่ยนอารมณ์ไปอ่านงานน็อนฟิกชันแนวการเมือง ซึ่งหนึ่งในงานเขียนแนวนี้ที่ประทับใจคือ ‘ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร’ โดย ‘ชาตรี ประกิตนนทการ’ ที่เล่าเรื่องการเมืองในศิลปะการออกแบบได้อย่างสนุก ชวนติดตาม พร้อมกับเปิดตาเราให้เห็นมุมมองทางอุดมการณ์และความเชื่อที่ซุกซ่อนอยู่ของการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะในหลายๆ สถานที่ที่เราเคยผ่านไปผ่านมาแต่ไม่เคยครุ่นคิดถึงต้นตอที่มาของมัน ด้วยเหตุนี้ เราจึงอดไม่ได้ที่จะลิสต์ ‘สถาปัตย์-สถาปนา : การ(เมือง)ดีไซน์พื้นที่และความนัยสถาปัตยกรรม’ ผลงานเล่มใหม่ของอาจารย์ชาตรีไว้ในใจ ต่อให้กองดองจะสูงเด่นท้าทายแค่ไหนก็ตาม […]

‘นภัสรพี อภัยวงศ์’ ศิลปินผู้ใช้ AI สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายที่เต็มไปด้วยความเหนือจริง

เมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาตามยุคสมัยมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งอำนวยความสะดวกสบายของพวกเราล้วนเปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยเข้ามาช่วยงานเราเล็กๆ น้อยๆ ตอนนี้เทคโนโลยีเดินหน้ามาถึงวันที่มันมีมันสมองในตัว สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาจากชุดข้อมูลที่เราป้อนเข้าไป ส่งผลให้การค้นหา ‘ความจริง’ ของเราถูกขยายขอบเขตไปไกลเกินกว่าจะกำหนดได้ เรื่องที่ไม่เคยรู้ก็ได้รู้ เรื่องที่น่ารู้น่าสนใจก็ประดากันเข้ามาเป็นประตูสู่โลกใบใหม่ที่มีหลากร้อยพันมิติให้เลือกค้นหาหรือใช้ประโยชน์ จากยุคปัญญาคนมาถึงยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเป็นเครื่องมือแห่งยุคสมัยหรืออาจเรียกว่าเป็นคู่หูใหม่ที่หลากหลายวงการต่างนำไปใช้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ออกมาให้ได้เห็นกันทุกวัน เช่นเดียวกับนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรกในไทยของ ‘ตรัส-นภัสรพี อภัยวงศ์’ ผู้นำ AI มาร่วมด้วยช่วย Generate ผลงานภาพชุด Resonances of the Concealed ของเขา เพื่อบันทึกช่วงเวลาหนึ่งเอาไว้ และวันนี้ภาพของเขาก็กำลังแขวนอยู่บนผนังสีนวลตาชั้นสองของแกลเลอรีสุดสงบ รอให้ทุกคนแวะเวียนมาชมที่ ‘Kathmandu Photo Gallery’ (คัดมันดูโฟโต้แกลเลอรี) ในซอยสีลม 20 ตรงข้ามวัดแขก Pale_Flare ระดับแสงที่ตรงกับความรู้สึก ตรัสเริ่มต้นเล่าว่า จากช่วงน้ำท่วมในปี 54 ระหว่างย้ายออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว ความเปื่อยๆ เบื่อๆ ก็เข้าครอบงำ พอดีกันกับที่น้องของเขาได้หิ้วหนังสือสอนถ่ายภาพเบื้องต้นและกล้อง Canon 7D เข้ามาให้ทำความรู้จัก การเรียนรู้ครั้งใหม่ของตรัสจึงเกิดขึ้น “ช่วงแรกๆ ก็ถ่ายรูปไปเรื่อย ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร […]

07:00 AM สภากาแฟและอาหารเช้า

ในช่วงปลายเดือนกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคม จากการพยากรณ์อากาศพบว่ามีฝนตกมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่แทบทุกวัน สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างผมมันเป็นปัญหาไม่ใช่น้อยกับการต้องเดินทางไปทำงานยังสถานที่ต่างๆ หรือแม้กระทั่งการหาอาหารเช้าทาน ด้วยช่วงเวลาอันเร่งรีบบางครั้งก็ทำให้เราไม่มีตัวเลือก จนต้องจำใจกดแอปพลิเคชันสั่งอาหารผ่านร้านเดิมๆ เมนูเดิมๆ กลายเป็นช่วงเวลาที่แสนน่าเบื่อหน่ายไปในที่สุด อนึ่งปัญหาของผมกับการสั่งอาหารเช้านั้นมีอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาเสาะหาเลือกร้านและเมนูอาหาร เพราะด้วยตัวเลือกที่เยอะ ทำให้ผมนั่งๆ นอนๆ ไถหน้าจอมือถืออยู่นานจนไม่สามารถตัดสินใจได้สักทีว่าจะกดสั่งอะไรดี ไหนจะปริมาณอาหารที่มากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหวในตอนเช้า และปัญหาสุดท้ายที่หนักหนาสาหัสสำหรับผมก็คือ เมื่อรับอาหารจากไรเดอร์มาแล้ว ผมก็ทำได้เพียงแค่นำมันขึ้นมานั่งทานบนห้องเงียบๆ คนเดียว โดยมีรัฐสภาและการจราจรบนท้องถนนเป็นฉากนอกหน้าต่าง ทำหน้าที่เป็นวิวทิวทัศน์เพียงอย่างเดียวที่ผมสามารถใช้พักสายตาได้ ผมใช้ชีวิตซ้ำไปซ้ำมาจนเป็นกิจวัตร ความเบื่อหน่ายและความเหงาค่อยๆ กัดกินไปเรื่อยๆ จนในที่สุดผมก็ตัดสินใจที่จะคุยกับใครสักคน ผมกดเบอร์โทรศัพท์อย่างคุ้นเคย…ปลายสายรับสาย “ฮัลโหล ว่าไงวิน… “ทำไมไม่ลองหาเวลาออกจากคอนโดฯ ไปพวกร้านกาแฟหรือร้านอาหารเช้าดูล่ะ มันก็มีนะที่ไม่ไกลจากคอนโดฯ เอ็ง” เสียงแนะนำจากปลายสายแนะนำอย่างต่อเนื่อง และกระตือรือร้นเมื่อได้ฟังรูทีนชีวิตที่แสนน่าเบื่อของผม “สมัยก่อนตอนเอ็งเรียนอยู่ประถมฯ หลังจากไปส่งที่โรงเรียนเสร็จ ป๊าก็นั่งรถเมล์สาย 56 ไปร้านหนึ่งที่อยู่ตรงแยกวิสุทธิกษัตริย์ ‘ร้านเฮี้ยะไถ่กี่’ เป็นร้านเก่าแก่ที่มีมานานแล้ว สมัยก่อนตอนป๊าทำงานธนาคารแถวนั้นก็แวะไปนั่งกินประจำ เมื่อก่อนร้านนี้ถือว่าเป็นสภากาแฟเลยนะ เพราะหลายครั้งที่พวกคอลัมนิสต์มานั่งคุยกันเรื่องนู้นเรื่องนี้ และถกเถียงกันเรื่องข่าวสารหรือการเมือง “อีกร้านคือ ‘ร้านหน่ำเฮงหลี’ ตรงแยกหลานหลวง เอ็งจำได้ไหมว่าสมัยก่อนเวลาที่เอ็งเดินไปซื้อหนังสือการ์ตูนของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ร้านเขาจะอยู่แถวนั้น เอ็งเดินมานิดหนึ่งก็เจอเลย อยู่ตรงแยกพอดี ร้านนี้สังขยาอร่อยลองไปกินดู […]

ย่าน ‘ทรงวาด’ ในวันที่ถนนสายเครื่องเทศเปลี่ยนไปสู่ย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ

‘ทรงวาด’ ในอดีตคือย่านการค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีความสำคัญพอๆ กับไชน่าทาวน์เยาวราชที่อยู่ถัดไปไม่ไกลกัน เป็นถนนที่เต็มไปด้วยโกดังกักเก็บสินค้า โดยเฉพาะเครื่องเทศที่ขึ้นชื่อลือชา จนได้รับการขนานนามว่า ‘ถนนสายเครื่องเทศ’ ทรงวาดในวันนี้ยังคงสถานะย่านพาณิชย์ แม้ภาพเรือขนส่งสินค้าที่มาจอดเทียบท่าจะหายไป แต่ก็แทนที่ด้วยรถราขนส่งที่วิ่งกันจอแจ ร้านค้าเก่าแก่ยังพอเปิดกิจการอยู่บ้าง ทว่าที่เพิ่มเติมมาคือร้านรวงเก๋ๆ คาเฟ่เท่ๆ และอาร์ตแกลเลอรีต่างๆ มากมายที่มาเสริมเติมแต่งเมืองเก่า ใต้ชายคาของสถาปัตยกรรมแบบยุโรปที่เรียงรายอวดความงามอยู่สองฟากฝั่งถนน เบื้องหลังการคืนลมหายใจของย่านเศรษฐกิจเก่าแก่ที่กำลังค่อยๆ ซบเซาลงไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการร่วมมือร่วมใจของผู้ประกอบการทั้งรุ่นใหม่และวัยเก๋าในนาม ‘Made in ทรงวาด’ ที่ช่วยกันหยิบเอาของดีของเด็ดประจำถิ่นมานำเสนอ พัฒนาย่านร่วมกันอย่างตั้งใจ จนทำให้ย่านนี้กลายเป็นอีกย่านสร้างสรรค์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ขอชวนกลับไปสำรวจถนนทรงวาด เดินทะลุตรอกออกซอยต่างๆ ของถนนสายเครื่องเทศอีกครั้ง สนทนากับเหล่าคนนอกที่เข้ามาทำกิจกรรมในย่านนี้ ทั้งพูดคุยกับนักเขียนอิสระเจ้าของผลงานทรงวาดไกด์บุ๊ก แวะสตูดิโอออกแบบและรีไซเคิลพลาสติกของสองสาวเจ้าของคาเฟ่รุ่นบุกเบิก และปิดทริปด้วยการเยือนร้านชาของคนไต้หวันที่ซ่อนตัวอยู่ในซอยวานิช 1 ฟังเรื่อง ‘ทรงวาด’ ผ่านสายตาของนักเขียนทรงวาดไกด์บุ๊ก ย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีก่อน Urban Creature เคยไปสำรวจทรงวาดมาแล้ว ตอนนั้นวี่แววในการเป็นทรงวาดแบบทุกวันนี้อาจไม่ชัดเจนนัก แต่พอจับสัญญาณได้จากการเริ่มมีกิจการรุ่นใหม่ๆ เปิดกันบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแกลเลอรี โฮสเทล บาร์ และคาเฟ่ ไม่นานมานี้ พอ Made […]

งาน Sustainability Expo 2023 สมดุลที่ดีต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ เพื่อโลกที่ดีกว่า

ยุคนี้ถ้าไม่รู้เรื่องของ ‘ความยั่งยืน’ หรือ ‘Sustainability’ ก็คงไปคุยกับใครไม่รู้เรื่อง เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกันแก้ไข เพื่อโลกที่ดีในอนาคต เนื่องในโอกาสที่งาน ‘Sustainability Expo 2023’ กลับมาจัดอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่มาตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน และจะลากยาวไปจนถึง 8 ตุลาคม Urban Creature เลยจะขอพาทุกคนเดินทัวร์ดูโซนภายในงานไปพร้อมๆ กัน เพราะงานนี้ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ โครงการต่างๆ แนวคิดที่น่าสนใจ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ตลอดจนกิจกรรมเวิร์กช็อปที่ส่งเสริมการเรียนรู้การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน โดยเน้นไปที่โซน ‘BETTER COMMUNITY’ บริเวณที่เราจะได้เห็นภาพจำลองสังคมเมืองในฝัน นวัตวิถีเพื่อชีวิตเท่าเทียม น่าอยู่ ปลอดภัย และยั่งยืน เท่านั้นยังไม่พอ ทุกคนยังจะได้พบกับแบบบ้านพอเพียงเพื่อผู้ขาดแคลน แบบโครงสร้างเมืองใหม่ที่เชื่อมถึงกันเต็มระบบ และชุมชนสร้างสรรค์เพื่อโอกาสที่เท่าเทียมของทุกคนในสังคมอีกด้วย แต่ก่อนจะเดินทางไปถึงโซนที่น่าสนใจ เราขอเล่าถึงตัวงานโดยรวมกันก่อน เพราะงาน Sustainability Expo 2023 เป็นงานอีเวนต์เกี่ยวกับความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จากการผสานความร่วมมือของ 5 องค์กรธุรกิจชั้นนำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้, พีทีที […]

ดนตรีให้อะไรมากกว่าที่คิด” คุยกับ ‘วงหน้าโรงเรียน’ ผู้ชนะเลิศแห่งเวที THE POWER BAND 2023 Season 3

เผลอแป๊บเดียว เวทีประกวดดนตรีสากลที่หลายคนรอคอยอย่าง ‘THE POWER BAND 2023 Season 3’ ก็ปิดฉากลงไปอย่างชื่นมื่น อบอวลไปด้วยบรรยากาศของเสียงหัวเราะ รอยยิ้ม คราบน้ำตา มิตรภาพ และรางวัลแด่นักดนตรีช่างฝัน เวทีนี้เริ่มประกวดกันมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2566 จนได้วงดนตรีทั้งหมด 30 วง จาก 5 ภูมิภาคทั่วไทย แบ่งเป็น Class A (รุ่นมัธยมศึกษา) 15 วง และ Class B (รุ่นบุคคลทั่วไป) อีก 15 วง ที่ผ่านเข้าไปฉายแสงแสดงความเจ๋งบนเวทีให้ทุกคนได้ฟัง มาถึงวันนี้เป็นระยะเวลากว่า 6 เดือน ในที่สุดเราก็ได้รายชื่อวงดนตรีที่ชนะเลิศในรายการนี้กันไปเป็นที่เรียบร้อย โดย Class A รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ‘วงเตรียมอุดมศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา’ จากกรุงเทพมหานคร และ Class B รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ‘วงหน้าโรงเรียน’ จากจังหวัดศรีสะเกษ […]

‘Q-CHANG’ แพลตฟอร์มรวมสารพัดช่างซ่อมให้บริการทั่วไทย ที่วางตัวเป็น ‘แบ็คอัพทุกเรื่องบ้าน’

หลังคาบ้านโดนลูกเห็บตกใส่จนเป็นรูรั่ว แต่ไม่รู้จักช่างซ่อมหลังคาที่ไว้ใจได้เลย แอร์ที่บ้านไม่เย็น พอเรียกช่างมาล้างเขากลับเติมน้ำยาแอร์ให้ แถมคิดตังค์เพิ่มอีก! ก๊อกในห้องน้ำมีรอยแตก แต่ภารกิจชีวิตเยอะจนไม่มีเวลาซ่อม หากคุณเคยเจอปัญหาอีหรอบเดียวกัน เราขอแนะนำให้รู้จัก ‘Q-CHANG (คิวช่าง)’ แพลตฟอร์มที่เปรียบเสมือนเพื่อนคู่ใจที่จะช่วยแก้ปัญหาในที่อยู่อาศัยของคุณได้แบบครบจบในที่เดียว เกริ่นมาอย่างกับสปอตโฆษณา แต่สัญญาว่าไม่ได้พูดเกินเลยสักนิด นั่นเพราะแพลตฟอร์มนี้รวบรวมช่างสารพัดแบบเอาไว้ ไล่ตั้งแต่ช่างล้างแอร์ ช่างซ่อมหลังคา ไปจนถึงแม่บ้านทำความสะอาด Q-CHANG เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาความยากลำบากในการหาช่างฝีมือดีและไว้ใจได้ นั่นคือเป้าหมายแรก ทว่ามากกว่าการอำนวยความสะอาดให้เจ้าของที่พักเพื่อให้พวกเขากดจองคิวช่างได้ง่ายๆ แค่ปลายนิ้วคลิก Q-CHANG ยังมีฝันใหญ่คือการสร้างงานสร้างอาชีพให้ช่างไทยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้พวกเขามีคุณภาพชีวิตที่ดี เพียง 5 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้ง Q-CHANG มีลูกค้าใช้แพลตฟอร์มเรือนแสน มีช่างในระบบกว่าพันคนกระจายไป 77 จังหวัดทั่วไทย และมีรายได้มากกว่า 250 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา  มองเผินๆ ตัวเลขเหล่านี้อาจบอกว่าตลาดของลูกค้าที่ต้องการช่างนั้นแสนกว้างใหญ่ แต่หลายคนอาจไม่รู้ว่าเบื้องหลังตัวเลขเหล่านี้คือการทำงานหนักของทีมงาน และการเอาใจใส่ทั้งลูกค้าและช่างอย่างจริงจัง อะไรทำให้ Q-CHANG มาถึงจุดนี้ได้ บ่ายวันฟ้าเปิด เราบุกออฟฟิศ Q-CHANG ไปคุยกับ ‘บอย-ศรัณย์วิศว์ ภักดีนอก’ ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์ม ช่างคิด ก่อนจะมาเป็นผู้ก่อตั้ง Q-CHANG อย่างเต็มตัว […]

Bare Minimum Monday ทฤษฎีทำงานน้อยๆ ในวันแรกของสัปดาห์ ช่วยลดความเครียดและแก้อาการเกลียดวันจันทร์

แม้ว่าการทำงานจะเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน แต่พอตกเย็นวันอาทิตย์ทีไร หลายคนก็เริ่มเกิดความรู้สึกเครียดและหดหู่ เพราะปรับตัวให้ชินกับการต้องตื่นไปทำงานในวันจันทร์หลังจากได้พักผ่อนสบายๆ ช่วงสุดสัปดาห์ไม่ได้สักที  แต่จะให้ลาออกมาพักผ่อนอย่างเดียวก็คงเป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุนี้จึงเกิดแนวคิด ‘Bare Minimum Monday’ เทรนด์การทำงานของคนยุคใหม่ที่จะช่วยแก้อาการเกลียดวันจันทร์ กอบกู้อาการหมดไฟ และกระตุ้นให้คนทำงานพร้อมลุยงานตรงหน้าได้อย่างมีความสุขด้วย เริ่มต้นสัปดาห์ด้วยการทำงานให้น้อยเข้าไว้ ทฤษฎี Bare Minimum Monday เกิดขึ้นจากคลิปไวรัลบน TikTok ที่โพสต์โดย ‘Marisa Jo Mayes’ อดีตพนักงานบริษัทขายอุปกรณ์การแพทย์ที่เกิดอาการหมดไฟกับงานของเธอ และหันมาเริ่มต้นธุรกิจของตัวเอง ก่อนจะพบว่าอาการหมดไฟที่เกิดขึ้นในตอนนั้นยังคงมีอยู่แม้ว่าเธอจะเปลี่ยนงานไปแล้วก็ตาม Marisa ยังคงมีอาการที่เรียกว่า ‘Sunday Scaries’ และเธอจะนอนจนกว่าจะถึงวินาทีสุดท้ายก่อนที่จะต้องลืมตาตื่นมาในวันจันทร์ โดยเธอยังอธิบายว่า ความกดดันในตัวเองคือสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดและความรู้สึกหวาดกลัวในวันอาทิตย์เหล่านี้ตามมา เนื้อหาบนวิดีโอได้เล่าถึงวิธีลดวงจรความเครียดในการทำงานของเธอด้วยการทำงานในวันจันทร์ให้น้อยที่สุด และพยายามกดดันตัวเองให้น้อยลง เพื่อหันกลับมาให้ความสำคัญกับตัวเอง และยังเป็นการอุ่นเครื่องให้วันแรกของสัปดาห์ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี  โดยวิธีการจัดการกับวันจันทร์ของเธอคือ การลิสต์งานหลักและสิ่งจำเป็นที่ต้องทำในวันนั้น และเริ่มต้นวันด้วยการอ่านหนังสือ จดบันทึก หรือทำกิจกรรมที่ไม่มีเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ประชุม ไม่เช็กอีเมลเป็นเวลาสองชั่วโมง หลังจากนั้นก็ใช้เวลาไปกับการทำคอนเทนต์ คิดงานสร้างสรรค์สำหรับแบรนด์ของเธอเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกสนุกขึ้น เธอใช้เวลาไปกับการพักหนึ่งชั่วโมง แล้วกลับมาให้เวลากับงานหลักเป็นเวลาสองชั่วโมง หากทำไม่เสร็จก็จะทำต่ออีกแค่หนึ่งชั่วโมงเท่านั้น โดยระหว่างทำงานเธอจะโฟกัสกับงานตรงหน้าอย่างเต็มที่ ทำให้ผลลัพธ์ของงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับการทำงานแปดชั่วโมง ในขณะที่ใช้เวลาในการทำงานจริงน้อยกว่าเดิม แม้ว่าวิธีคิดของ Marisa […]

Checkmate ซุ้มหมากรุก

‘ไม่ดูตาม้าตาเรือ’ สำนวนสุภาษิตไทยที่เราทุกคนคุ้นเคยและได้ยินกันบ่อยๆ มักใช้กับการตำหนิคนที่ไม่รอบคอบและไม่ระมัดระวัง ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าที่มาของสำนวนนี้จะมาจากกีฬาหมากรุก ซีรีส์ภาพถ่าย Lost and Found ประจำสัปดาห์นี้ ขอพาไปพบกับงานอดิเรกที่ทุกคนรู้จักกันดี และเมื่อก่อนเราสามารถพบเห็นกิจกรรมเหล่านี้ได้ตามพื้นที่ต่างๆ ของชุมชน แต่ปัจจุบันเรากลับเห็นภาพนี้น้อยลงเรื่อยๆ เมื่อก่อนตอนมีเวลาว่าง ด้วยความที่เป็นลูกชายคนเดียวของบ้านและไม่มีเพื่อนบ้านที่เป็นรุ่นราวคราวเดียวกันในละแวกนั้นเลย กิจกรรมของผมส่วนใหญ่คือการเดินออกไปที่สะพานเหล็กเพื่อซื้อแผ่นเกม และเดินกลับบ้านมาเล่นเกม ผมใช้ชีวิตส่วนใหญ่ตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบันไปกับการเล่นเกม ต้องยอมรับเลยว่าการเล่นเกมนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผมไปแล้ว แต่บางครั้งความเหงาก็ก่อกำเนิดขึ้นในจิตใจ เพราะไม่ได้พบเจอ พูดคุยกับเพื่อน หรือกระทั่งเล่นกับเพื่อนตามช่วงชีวิตของเด็กในวัยนั้นที่ควรมี ต้องบอกก่อนว่าในอดีตบ้านของผมที่สำเพ็งเป็นอาคารพาณิชย์สูงห้าชั้น ด้านล่างแบ่งให้ร้านขายผ้าเช่า ผมจึงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่ชั้นสามของบ้านเท่านั้น ด้วยความเหงาและอยากหาเพื่อนคุยเล่น ผมตัดสินใจเดินลงไปที่ชั้นหนึ่งของบ้าน และขอร่วมวงเล่นหมากรุกกับพี่ๆ ที่ทำงานอยู่ในร้านขายผ้าตอนนั้น นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมมีประสบการณ์มีเพื่อนต่างวัยเป็นครั้งแรกของชีวิต เวลาล่วงเลยมาเกือบยี่สิบปีที่ผมไม่ได้เล่นหมากรุกเลย ด้วยสภาพสังคมที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป มีกิจกรรมทางเลือกมากขึ้น กิจกรรมที่ผมทำทดแทนการเล่นหมากรุกคือการเล่น Trading Card Game เพียงแค่พกสำรับการ์ดติดตัวเราก็สามารถไปร่วมเล่นและทำความรู้จักกับคนอื่นๆ ในสถานที่ใหม่ๆ ที่มีอย่างแพร่หลายมากขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ผมมองว่ากีฬาหมากรุกก็ไม่ต่างจาก Trading Card Game เท่าไรนัก เพียงแค่ในปัจจุบันพื้นที่ที่ถูกจัดให้เล่นหมากรุกมีน้อยลงจากเมื่อก่อน ด้วยความสงสัยและอยากเล่นอีกครั้ง ผมได้หาข้อมูลจนไปเจอซุ้มหมากรุกสองซุ้มที่น่าสนใจและไม่ไกลจากคอนโดฯ ที่พักอาศัยมากนัก ที่แรกที่ผมเลือกเดินทางไปคือซุ้มใต้สะพานพระราม 8 ในวันนั้นผมเดินทางถึงจุดหมายเวลาประมาณบ่ายสามกว่าๆ สิ่งที่พบเจอคือภาพคุณน้าคุณลุงนั่งเล่นหมากรุกกันอย่างเอาจริงเอาจัง ห้อมล้อมไปด้วยบริเวณด้านข้างที่มีร้านรถเข็นขายอาหารและเครื่องดื่มอยู่พอสมควรตามขนบของสวนสาธารณะที่ต้องมีทุกที่ […]

เปิดรูต One Day Trip ตามรอย Troye Sivan แวะเที่ยว 4 ย่านจากเอ็มวีเพลง Got Me Started

นอกจากเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวในช่วงวันพักผ่อนแล้ว ประเทศไทยยังเป็นอีกหนึ่งในตัวเลือกสถานที่ถ่ายทำโปรดักชันจากต่างประเทศด้วย ล่าสุดนี้ศิลปินเควียร์ชาวออสเตรเลีย ‘Troye Sivan’ ก็พาเราไปสำรวจมุมต่างๆ ในกรุงเทพฯ ผ่านเพลง ‘Got Me Started’ ที่เจ้าตัวแอบบอกใบ้ไว้ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ใครที่ได้ดู MV เพลงนี้แล้วคงเห็นว่าสถานที่ต่างๆ ที่ใช้ถ่ายทำอาจไม่ได้แปลกใหม่เท่าไรนัก บางโลเคชันอย่างสะพานช่องนนทรีหรือถนนเยาวราชก็เป็นสถานที่ที่เห็นผ่านสื่ออยู่บ่อยครั้ง แต่ภาพที่เพลงนี้นำเสนอออกมาต่างหากที่ทำให้เราค้นพบความสวยงามที่อาจนึกไม่ถึงในเมืองนี้ อีกทั้งยังสะท้อนถึงความเป็นตัวของตัวเองและความหลากหลายที่กรุงเทพฯ โอบรับผู้คนทุกเพศทุกวัย วันหยุดสุดสัปดาห์แบบนี้ คอลัมน์ Urban Guide ถือโอกาสพาทุกคน Get Started ออกเดินทางตามรอย Troye Sivan กับ 4 ย่านในกรุงเทพฯ กัน ชม MV ก่อนออกไปเดินเล่นกันที่ : youtube.com/watch?v=mLqPC9Z6C9E เยาวราช Location : maps.app.goo.gl/LSEG5pGD1mNBbQGB7  เริ่มต้นทริปกับย่านที่คุ้นตาที่สุดใน MV ด้วยเอกลักษณ์ที่เด่นชัดอย่างป้ายไฟของห้างร้านต่างๆ ที่ทำให้ถนนสายนี้สว่างไสวและคึกคักอยู่ตลอด คงไม่มีใครไม่รู้ว่าหนึ่งในสถานที่ถ่ายทำนั้นคือย่านนักท่องเที่ยวสุดฮิตที่ถนน ‘เยาวราช’ แม้ว่าจะเป็นเส้นทางขึ้นชื่อเรื่องสตรีทฟู้ดหลากหลายประเภทในตอนกลางคืน แต่ความเป็นเยาวราชไม่ได้มีแค่นี้ เพราะยังมีสถานที่และกิจกรรมที่น่าสนใจแฝงตัวอยู่ในย่านมากมาย ทั้งวัดไทย วัดจีน ตึกเก่า […]

1 9 10 11 12 13 80

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.