
CITY
อัปเดตทุกเทรนด์ชีวิตคนกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ที่น่าสนใจรอบโลกได้ที่ Urban Creature เพื่อเปิดโลกไอเดียเกี่ยวกับชีวิตวิถีใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ เทรนด์การใช้ชีวิต ไปจนถึงเรื่องราวมากมายในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดความเข้าใจต่อภาพรวมของสังคม ที่จะส่งผลให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สังคมและประเทศของเราจะได้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น
Urban Wildlife : กรุงเทพฯ เมืองสัตว์ๆ ออกแบบให้คนและสัตว์อยู่ร่วมกันดียิ่งขึ้น
ชวนเข้าป่าในเมือง พร้อมออกแบบที่ทางให้เหล่าสัตว์ในเมือง เพื่อให้พวกมันได้อยู่ร่วมกันกับพวกเราชาวมนุษย์ได้อย่างสมดุลและดียิ่งขึ้น
สำรวจคลัสเตอร์แคมป์คนงาน ส่องมาตรการควบคุมโควิดดีพอหรือยัง?
ขณะที่คลัสเตอร์แคมป์คนงานยังคงออกข่าวอยู่เรื่อยๆ ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ก็เพิ่มขึ้นทวีคูณ ด้วยจำนวนแรงงานที่ง่ายต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในวงกว้าง และส่งผลกระทบตั้งแต่แรงงานระดับรากหญ้าไปจนถึงเศรษฐกิจของประเทศ เราจึงชวนมาสำรวจความเป็นอยู่ที่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่างๆ พร้อมส่องมาตรการในแคมป์คนงานว่ารัดกุมมากน้อยแค่ไหน
‘ป้ายบิลบอร์ด’ จากสิ่งโปรโมตคณะละครสัตว์ ไปเป็นการ์ดอวยพรวันเกิดศิลปิน
คำว่า ‘ให้เช่าพื้นที่โฆษณา’ แผ่หลาไปทั่วทุกอณูของกรุงเทพฯ ตั้งแต่ใบปลิวเล็กๆ ป้ายตามสถานีรถไฟฟ้า ไปจนถึงบิลบอร์ดริมมอเตอร์เวย์ เพื่อเชิญชวนให้เหล่าผู้ประกอบการใช้โปรโมตธุรกิจของตัวเอง หรือในปัจจุบันก็เห็นเหล่าแฟนคลับใช้พื้นที่โฆษณาเป็นการ์ดอวยพรวันเกิดศิลปิน หรือดาราที่ชื่นชอบ แต่หารู้ไม่ว่าต้นกำเนิดของป้ายโฆษณาถูกใช้ในแวดวงของ ‘คณะละครสัตว์’ มาก่อน เริ่มต้นจากคณะละครสัตว์ จริงๆ แล้วจุดเริ่มต้น ‘ป้ายโฆษณา’ ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1835 โดย Jared Bell สำหรับประชาสัมพันธ์คณะละครสัตว์ Barnum And Bailey ในนิวยอร์ก เขาทำโปสเตอร์ขนาด 9×6 ฟุตและอัดแน่นไปด้วยสีสันอันดึงดูดตา พ่วงด้วยกิจกรรมต่างๆ ในคณะละคร เพื่อบอกกล่าวผู้ชมที่สนใจว่าหากคุณมาชมการแสดงจากคณะละครสัตว์ คุณจะได้รับประสบการณ์แบบไหนกลับไปบ้าง หลังจากที่เขาปล่อยป้ายประชาสัมพันธ์ออกไป ก็เริ่มมีคณะละครสัตว์อื่นๆ อย่าง The Hagenbeck-Wallace Circus หันมาใช้ป้ายเพื่อประชาสัมพันธ์บ้าง ป็อปปูลาร์เพราะอุตสาหกรรมรถยนต์ ช่วงยุคศตวรรษที่ 20 ถือเป็นยุคปฏิวัติครั้งสำคัญของป้ายโฆษณา เพราะอุตสาหกรรมรถยนต์กำลังเข้ามาทำตลาด ซึ่ง Model T เป็นหนึ่งในรถยนต์ราคาประหยัดคันแรกๆ ทำให้คนอเมริกันจับจ่ายซื้อรถมากขึ้น ส่งผลให้ถนนและทางหลวงถูกสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับปริมาณรถยนต์ที่หลั่งไหลเข้าเมืองอย่างไม่ขาดสายและกลายเป็นรูปแบบการขนส่งหลักของเมือง ทำให้บริษัทใหญ่ๆ เห็นพื้นที่โฆษณาและตั้งป้ายริมถนนเยอะขึ้น โดยเฉพาะ […]
เราจะอยู่ที่ไหนก็ได้ที่ตัวเองพอใจ ในแบบจ่ายไหว โดยไม่อิงกับที่ทำงานอีกต่อไป
ปีที่ผ่านมาโควิด-19 เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของโลกใบนี้ไปโดยสิ้นเชิง ปัจจุบันเมื่อประเทศชั้นนำได้แจกจ่ายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้ทั่วถึงประชาชนส่วนมากแล้ว สิ่งที่คุ้นตาก็เริ่มมีมาให้เห็น เมืองเริ่มกลับมาคึกคัก ผู้คนนำชีวิตชีวามาสู่ท้องถนน ร้านอาหารเปิดขายตามปกติ มหาวิทยาลัยและพิพิธภัณฑ์เต็มไปด้วยนักศึกษา แต่บาดแผลที่ไวรัสทิ้งไว้ให้ยังไม่หายดี โดยเฉพาะย่านศูนย์กลางธุรกิจหรือ CBD (Central Business District) พื้นที่ใจกลางเมืองที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ที่ส่อแววว่าอาจจะไม่กลับมาคึกคักในเร็ววันอย่างที่เห็นได้ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแม้บริษัทจะเปิดให้กลับมาทำงานได้แล้ว แต่พนักงานกว่าครึ่งหนึ่งยังเลือกที่จะทำงานจากโซฟาในห้องนั่งเล่น แวะทานมื้อสายบนเก้าอี้บาร์และท็อปครัวที่ทำจากหินอ่อน มากกว่าไปแออัดยัดเยียดกันที่ใจกลางเมือง และดื่มน้ำล้างแก้วจากร้านกาแฟราคาแพงใต้สำนักงานเพื่อกระตุ้นสมองให้พร้อมรับแรงกดดันตลอดเวลา CBD ยังไม่ได้รับวัคซีน ย้อนกลับไปเมื่อปี 2020 ย่านศูนย์กลางธุรกิจชั้นนำของโลกเต็มไปด้วยความเงียบเหงา พนักงานกว่า 4.5 ล้านคน ไม่ได้รับอนุญาตให้ประจำการอยู่ที่ออฟฟิศเหมือนเคย เมื่อเวลาล่วงเลยไปร่วมขวบปีในขณะที่ประเทศไทยเริ่มปูพรมฉีดวัคซีนเมื่อต้นเดือนมิถุนายน และประกาศว่าจะเปิดประเทศในอีก 120 วันให้หลัง สหรัฐฯ ฉีดวัคซีนให้ประชาชนทั่วประเทศไปแล้วกว่า 300 ล้านโดส และเตรียมส่งมอบให้โครงการ COVAX อีก 500 ล้านโดส ล่าสุด นิวยอร์กเกอร์ สามารถออกมาสูดอากาศในที่สาธารณะได้โดยไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัย และกฎข้อบังคับเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็แทบจะยกเลิกไปโดยสิ้นเชิง แม้การฉีดวัคซีนจะเข้าถึงอเมริกันชนส่วนใหญ่แล้ว แต่ CBD ดูจะยังหาวัคซีนเข็มแรกของตัวเองไม่เจอ ตัวเลขจาก Kastle Systems […]
Park-PFI โปรเจกต์ดิ้นรนหาสเปซสีเขียวของญี่ปุ่น เกาะพื้นที่ไม่มากแต่ประชากรหนาแน่นมาก
รู้จัก Park-PFI โครงการที่รัฐบาลญี่ปุ่นจับมือกับภาคเอกชนเสริมสวยสวนสาธารณะเพื่อสร้างที่สีเขียวให้กระตุ้นเศรษฐกิจในนัดเดียว
‘แมลงสาบ’ สัตว์ชวนอี๋ ดีหรือร้ายกันแน่?
บางคนกลัวจิ้งจก บางคนกลัวแมงมุม บางคนกลัวตะขาบ และบางคนก็กลัวแมลงสาบจนขึ้นสมอง! A : เวลาเห็นมันวิ่งเฉยๆ ก็พยายามหลีกเลี่ยงไม่ไปใกล้ แต่ถ้ามันอัปเลเวลกางปีกบินเมื่อไหร่ก็วิ่งโกยแนบทางใครทางมัน B : วันไหนฝนตก ภาพกองทัพแมลงสาบเป็นร้อยที่กรูกันหนีน้ำออกมาจากท่อ สำหรับคนทั่วไปอาจแค่หยึยๆ แต่กับคนกลัวแมลงสาบอย่างเรา บอกเลยสยดสยองปนขยะแขยงพานกินข้าวไม่ลงไปหลายวัน C : ฉันก็อยากให้โลกนี้ไม่มีแมลงสาบ ‘ไดโนเสาร์’ และ ‘แมลงสาบ’ ต่างก็เป็นสัตว์ที่ถือกำเนิดขึ้นบนโลกใกล้ๆ กัน เพียงแต่ชนิดแรกนั้นสูญพันธุ์ไปแล้ว ในขณะที่ชนิดหลังกลับอยู่ยงคงกระพันเอาตัวรอดมาได้หลายร้อยล้านปี เพราะแมลงสาบเป็นสัตว์ที่อยู่เป็น ปรับตัวเก่ง กินอะไรก็ได้ และไม่ว่าจะอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบไหน หรือโลกเปลี่ยนแปลงไปสักเท่าไหร่ก็ไม่สามารถทำอะไรมันได้ แมลงสาบเป็นสัตว์ตัวเล็ก และมีโครงสร้างภายนอกที่ยืดหยุ่นสูง ทำให้มันซ่อนตัวในที่แคบได้อย่างรวดเร็วเมื่อมีภัยมา นักวิจัยจากสถาบันสรีรวิทยาพืชและนิเวศวิทยาในเซี่ยงไฮ้ บอกว่าในตัวแมลงสาบมี ‘ยีน’ ที่ถอนพิษตัวเองได้ ยีนช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง มีแม้กระทั่งยีนช่วยสร้างแขนขาขึ้นมาใหม่ หมายความว่าต่อให้กินอาหารเน่าหรือมีพิษ อยู่ในสถานที่สกปรก หรือพบพลาดโดนทับโดนเหยียบก็ไม่สามารถทำอะไรพวกมันได้ ในขณะที่ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพอร์ดูของสหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาเกี่ยวกับการกำจัดแมลงภายในบ้านพบว่า ยาฆ่าแมลงอาจจะใช้กำจัดแมลงสาบไม่ได้อีกต่อไป เพราะแมลงสาบเรียนรู้ที่จะปรับตัวและสร้างภูมิต้านทานการดื้อยาได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ผลวิจัยของ ดร.โคบี้ ชาร์ล (Kobe Charles) แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนอร์ทแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา ระบุว่า แมลงสาบสามารถใช้ชีวิตอยู่โดยไม่มีหัวนานถึง 1 สัปดาห์ […]
ไม่มีเงินเรียนหมอได้ไหม
เด็กต่างจังหวัดหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยิน ‘ทุนเรียนดี แต่ยากจน’ ผ่านมา 20 ปี ทุนนี้ก็ยังคงอยู่ จนกลายเป็นสิ่งที่เด็กในประเทศนี้ต้องมาแย่งชิงกัน ทั้งๆ ที่เด็กทุกคนควรได้รับการศึกษาฟรี (ที่ฟรีจริงๆ) ตั้งแต่อนุบาลไปจนถึงระดับปริญญาตรีเหมือนในหลายประเทศ แต่ปัจจุบันประเทศไทยให้เด็กเรียนฟรีในโรงเรียนรัฐแค่ระดับชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้น ทำให้ทุกปีช่วงเปิดภาคการศึกษาเราจะได้เห็นข่าวเด็กสอบติดคณะต่างๆ โดยเฉพาะคณะแพทยศาสตร์แต่ไม่มีเงินเรียน อย่างกรณีนักเรียนหญิงอายุ 18 ปี ในจังหวัดกาฬสินธุ์สอบติดแพทย์ แต่ทางบ้านฐานะยากจน ทำให้ผู้ใจบุญและชาวเน็ตพร้อมใจโอนเงินบริจาคเพื่อช่วยเหลือจนได้เงินบริจาคกว่า 3.7 ล้านบาท หลังจากมีข่าวออกไป เรื่องนี้ก็กลายเป็นหัวข้อที่ถูกพูดถึงกันอย่างหนัก หนึ่งในนั้นคือประเด็นที่ว่า “ทำไมประเทศนี้ให้ความสำคัญกับคนที่สอบติดแพทย์มากกว่าเด็กที่สอบติดคณะอื่นๆ” ไปจนถึง “คณะแพทย์ฯ มีทุนมากมายให้นักศึกษาที่มีฐานะยากจน” เมื่อสังคมตั้งคำถาม เราจึงพาทุกคนมาหาคำตอบว่าทำไมอาชีพหมอถึงถูกให้ความสำคัญในสังคมไทย และถ้าอยากเรียนแล้วไม่มีเงินจะเรียนได้ไหม | ค่านิยมของคนรุ่นเก่า “เก่งขนาดนี้ ทำไมไม่เรียนหมอ”“เป็นหมอแล้วได้เงินดีนะ มีค่าตอบแทนสูง”“หมอเป็นอาชีพมั่นคง ไม่ตกงาน” ในปี 2500 ได้มีการสำรวจ ‘ค่านิยมในการประกอบอาชีพของเด็กไทยชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตพระนครและเขตธนบุรี’ พบว่า ‘แพทย์’ คืออาชีพที่เด็กๆ ในยุคนั้นใฝ่ฝันอยากเป็นมากที่สุด โดยให้เหตุผลว่าเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ รองลงมาก็ครู ทหาร ตำรวจ และเข้ารับราชการ […]
เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย เมื่อรัฐจัดลำดับความสำคัญผิด
ราคาที่ถูกที่สุดในการรับมือคือการป้องกันด้วยการฉีดวัคซีนให้รวดเร็ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยคือความล่าช้าในการจัดหาวัคซีนของรัฐบาล
‘โฆษณารถเมล์’ สิ่งกวนใจคนโหน มรดกยุค 60 ที่หันมาใช้เทคโนโลยีเดียวกับ ‘ผ้าม่านบังแสง’
‘รถเมล์ไทย’ กับ ‘โฆษณา’ ของคู่กันที่เกิดมาก่อน ขสมก. ตั้งแต่เวอร์ชันแปะท้าย Wrap รอบคัน จนสติกเกอร์ปรุ
ทำไมถนนปูดเก่ง จนรถพากันเหินไม่หยุด
ใครขับรถไปจนถึงเดินบนฟุตพาทแล้วอาจชำเลืองตาไปเห็นกับสภาพ ‘ถนนปูด’ ที่ปูดเก่งไม่ไหว จนพาให้รถหลายคัน ทั้งรถยนต์ ไปจนถึงมอเตอร์ไซค์เหินเวหา ล้มระเนระนาดมานับไม่ถ้วน แล้วสภาพถนนปูดนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร คอลัมน์ Curiocity ชวนมาหาคำตอบกัน ก่อนอื่นชวนทำความเข้าใจก่อนว่า ถนนในบ้านเรามีทั้ง ‘ถนนลาดยางมะตอย’ หรือ ถนนแบบผิวทางอ่อน (Flexible Pavement) ซึ่งจะใช้หลักการออกแบบตามมาตรฐานของสถาบันยางมะตอย (Asphalt Institute) โดยจะมีอายุการใช้งานราว 20 – 30 ปี กับอีกรูปแบบถนนคือ ‘ถนนคอนกรีต’ หรือ ถนนแบบผิวทางแข็ง (Rigid Pavement) ใช้หลักการออกแบบตามวิธีของสมาคมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement Association : PCA) โดยจะมีอายุการใช้งานอย่างน้อย 40 – 50 ปี สาเหตุถนนปูดคืออะไร สำหรับอาการถนนบวม (Upheaval) หรือเรียกง่ายๆ ว่าถนนปูดนั้น เป็นความเสียหายด้านการใช้งาน (Functional Failure) ประเภทการเปลี่ยนรูปร่าง (Distortion) และมักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งกับถนนประเภทลาดยางมะตอยที่มีชั้นถนนเป็นดินเดิมของพื้นที่นั้นๆ ซึ่งสาเหตุของการเกิดมีดังนี้ […]
‘กรวยจราจร’ เหตุเกิดจาก พนง. ทาสีถนน จนได้เครื่องหมายจราจรที่คนทั่วโลกต้องหลีกทาง
กว่าจะมาเป็น ‘กรวยจราจร’ สีส้มแปร๊ดตั้งตระหง่านอยู่บนท้องถนน และเป็นสัญลักษณ์จราจรของสากลโลกที่บอกว่าเป็น ‘พื้นที่ห้ามเข้า’ ชนิดที่ต่อให้คุณบิดคันเร่งสุดแรง เหมือนดอมินิก ทอเรตโตเข้าสิงก็ต้องหักพวงมาลัยหลบทางให้ ซึ่งก่อนหน้านั้นมนุษย์เราเคยใช้ ‘แผงไม้’ กันมาก่อน แต่บ่อยครั้งที่โดนรถยนต์สอยกระจุยกระจาย แถมสร้างอันตรายให้ผู้ขับขี่ทวีคูณ ทำให้การใช้แผงไม้จึงไม่เวิร์กอย่างแรง! ‘Charles D. Scanlon’ พนักงานทาสีบนท้องถนนในเมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา คลุกคลีกับรถที่เหยียบเส้นถนนที่ลงสีไว้แล้วยังไม่แห้งจนเลอะเทอะพื้นไปทั่ว หรือรถยนต์พุ่งเข้ามาแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยขณะปฏิบัติงานอยู่บ้าง ทำให้เขารวบปัญหาทั้งหมดแล้วคิดค้น ‘กรวยจราจร’ เพื่อบอกรถยนต์ที่ขับผ่านไปมา กรุณาใช้ช่องทางอื่น เพราะสีเส้นถนนยังไม่แห้งค้าบโผ้มมมม (เสียเวลาทาใหม่แหละ) หลังจากตัดสินใจว่าจะทำกรวยจราจร ในปี 1940 เขาจึงเอาหนังมาเย็บเป็นทรงกรวยถูๆ ไถๆ ใช้งานไปก่อน หากรถคันไหนเกิดอุบัติเหตุขับชนกรวย อย่างน้อยมันก็ไม่ทำอันตรายต่อรถและผู้ขับขี่แน่นอน ซึ่งพอได้ลองใช้ปรากฏว่าเวิร์กซะงั้น เพราะรถหลายคันทยอยขับเบี่ยงทางและเดาได้ว่าข้างหน้าต้องมีการทาเส้นถนนอยู่แน่ๆ ในปีเดียวกัน Scanlon ยื่นจดสิทธิบัตร ‘กรวยจราจร’ และได้รับสิทธิบัตรในปี 1943 ในชื่อว่า ‘Safety marker (US 2817308)’ แถมเขายังตั้งกฎสำหรับการผลิตกรวยจราจรขึ้นมา 3 ข้อ1. ใช้สีสันที่รถต้องมองเห็นได้ง่าย และวัสดุที่ใช้ต้องไม่สร้างความเสียหายแก่รถยนต์2. ใช้พื้นที่จัดเก็บน้อยและขนย้ายได้ง่าย3. ถ้ากรวยโดนรถเสยจนเหินฟ้าต้องตกลงมาในแนวตั้งเหมือนเดิม […]
Smart Pole เสาไฟเป็นได้มากกว่าที่คิด
Smart Pole หรือเสาไฟอัจฉริยะ เป็นแนวคิดในการนำเอาเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ มาผสมผสานสร้างสิ่งใหม่ ให้มีหน้าที่การทำงานที่หลากหลาย สิ่งเหล่านี้อาจจะไม่ใช่สิ่งสำคัญที่เมืองของเราขาดในตอนนี้ แต่หมายถึงศักยภาพที่มากขึ้นของโครงสร้างพื้นฐานเมือง คุณภาพที่มากขึ้นของประชากรไปในเวลาเดียวกัน และเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเมืองให้เข้าสู่ Smart City ซึ่งคำว่าเมืองอัจฉริยะอาจไม่ได้หมายรวมถึงแค่เมืองทางกายภาพ แต่อาจหมายรวมถึงศักยภาพและความสามารถที่เพิ่มขึ้นของผู้คนภายในเมือง ผ่านการใช้เทคโนโลยีในวิถีชีวิตประจำวัน พื้นที่ริมถนน หากอยากเริ่มติดตั้งเสา Smart Pole สักต้น พื้นที่ริมถนนบริเวณจุดรอรถสาธารณะเป็นจุดที่ควรนำร่องติดตั้ง Smart Pole เป็นอันดับต้นๆ เพราะเป็นบริเวณที่เกิดกิจกรรมของคนหลายช่วงอายุ มีผู้คนสัญจรผ่านไปมา มีคนนั่งรอใช้บริการรถสาธารณะ ฟังก์ชันที่อยากนำเสนอจึงอยากเริ่มจากอะไรที่ง่ายๆ แต่ใช้งานได้จริงในชีวิตประจำวันของคนเมือง เริ่มต้นจากการเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนจากธรรมชาติอย่างแสงอาทิตย์ (Solar Cell) เพื่อกลบจุดอ่อนที่ว่า เสาไฟแบบเดิมมีฟังก์ชันการใช้งานเพียงช่วงเวลากลางคืน แต่ Smart Pole สามารถกักเก็บพลังงานธรรมชาติในตอนกลางวันเพื่อใช้หล่อเลี้ยงภายในระบบ ในยุคที่คนทั้งโลกสนใจปัญหาสิ่งแวดล้อมและมีนโยบายกระตุ้นให้ประชากรโลก หันมาใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการใช้พลังงานน้ำมัน รถพลังงานไฟฟ้าจึงได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างแพร่หลายในประเทศโลกที่ 1 แต่เมื่อมองย้อนกลับมาในประเทศไทย หนึ่งสิ่งที่ทำให้นโยบายการใช้รถยนต์ไฟฟ้ายังไม่ประสบความสำเร็จนัก เป็นเพราะปัญหาสถานีชาร์จไฟไม่เพียงพอต่อความต้องการ การเกิดขึ้นของ Smart Pole ที่มีฟังก์ชัน Charging Station จึงกลายเป็นหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ ซึ่งจะร่วมผลักดันให้คนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า […]