CITY
อัปเดตทุกเทรนด์ชีวิตคนกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ที่น่าสนใจรอบโลกได้ที่ Urban Creature เพื่อเปิดโลกไอเดียเกี่ยวกับชีวิตวิถีใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ เทรนด์การใช้ชีวิต ไปจนถึงเรื่องราวมากมายในยุคที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดความเข้าใจต่อภาพรวมของสังคม ที่จะส่งผลให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สังคมและประเทศของเราจะได้น่าอยู่มากยิ่งขึ้น
ทำไมมอเตอร์ไซค์ห้ามขึ้นสะพาน ความเหลื่อมล้ำบนถนน ดีต่อรถยนต์แต่ไม่เอื้อพาหนะสองล้อ
ภาพอุบัติเหตุมอเตอร์ไซค์คว่ำบนสะพานถูกกั้นด้วยกระจกรถยนต์หนาไม่กี่มิลลิเมตรที่ขับผ่านไปคันแล้วคันเล่า ถ้ามองจากวิวบนพาหนะ 4 ล้อ บ้างอาจคิดว่าเจ้าของมอเตอร์ไซค์เหล่านั้นน่าสงสาร บ้างอาจคิดว่าขับมอเตอร์ไซค์อันตรายจนรีบบอกลูกที่นั่งเบาะข้างๆ ว่าอย่าไปขับเชียวนะ บ้างอาจคิดว่าทำผิดกฎหมาย ‘ห้ามขึ้นสะพาน’ เองนี่ หรืออาจคิดว่าคนขับมอเตอร์ไซค์ผิดตั้งแต่เลือกขับแล้ว เพราะกฎหมายเข้มงวดสารพัดสิ่งถูกบังคับใช้กับคนขับมอเตอร์ไซค์เป็นส่วนใหญ่ แม้อุบัติเหตุบางส่วนเกิดขึ้นเพราะคนขับรถยนต์ และลักษณะการออกแบบของสะพานก็ตาม นั่นน่ะสิ ทำไมคนขับมอเตอร์ไซค์ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศ (มีจำนวน 21,452,050 คัน มากกว่ารถยนต์กว่า 10 ล้านคันเลยนะ) ถึงห้ามขึ้นสะพานฝ่ายเดียว ตามมาตรา 139 (1) ในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อ 3 กล่าวว่า ห้ามรถจักรยานยนต์ รถจักรยาน รถยนต์สามล้อ และล้อเลื่อนลากเข็นทุกชนิดเดินบนสะพานข้ามทางร่วมทางแยก สะพานยกระดับ และสะพานข้ามแม่น้ำ รวม 39 สาย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความเห็นเกี่ยวกับการอนุญาตให้มอเตอร์ไซค์ขึ้นสะพานจากกลุ่มประชาชนตัวอย่างในเขต กทม. 1,254 คน พบว่า ร้อยละ 51.12 ไม่เห็นด้วย เพราะสะพานข้ามแยกค่อนข้างลาดชัน ไม่เหมาะกับมอเตอร์ไซค์ เนื่องจาก ‘รถยนต์’ […]
ฉีดครบโดสแล้วหายเลย? ฉีดแล้วตายใครเยียวยา? ถาม-ตอบ ‘วัคซีนโควิด-19’ อะไรที่ควรรู้
การมีอยู่ของวัคซีนโควิด-19 ทำให้เกิดคำถามมากมายวิ่งเข้ามาในหัวแทบทุกวัน ยิ่งคนไทยซึ่งไม่สามารถเลือกยี่ห้อวัคซีนฉีดเอง แถมวัคซีน 2 ชนิดอย่าง Sinovac และ AstraZeneca ที่ใช้ฉีดในประเทศยังเกิดข้อครหาด้านประสิทธิภาพและอาการแพ้ ยิ่งทำให้ประชาชนอย่างพวกเรากังวลเข้าไปอีก
Osaka กับแผน Soft Power เรียกคืนเสน่ห์ Manchester of East Asia ด้วยมิวเซียมบ้านโอซาก้าแท้แห่งแรกในญี่ปุ่น
Osaka Museum of Housing and Living พิพิธภัณฑ์โอซาก้าบรรยากาศ Machiya ที่สร้างโดยช่างผู้เคยสร้าง Katsura Imperial Villa
58 ปีที่มีคำว่า ‘สมองไหล’ ภาวะอนาคตชาติเลือนรางจนต้องแก้ด้วยยาแรง ‘ย้ายประเทศกันเถอะ’
ภาวะสมองไหล ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้น แต่กลับมีประวัติศาสตร์ยาวนานมาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดอะไรขึ้นหากกำลังหลักของประเทศทิ้งบ้านเกิดไป
เฉาจัง! 10 เขตที่มีพื้นที่ต้นไม้ต่อคนน้อยที่สุดใน กทม.
สารพัดโครงการชวนคนเมืองปลูกต้นไม้ของกรุงเทพมหานครผุดขึ้นทุกปี ตั้งแต่ชวนปลูกต้นไม้หนึ่งแสนต้น มากไปจนถึงล้านกล้าสู่ล้านต้น เพื่อสร้างกรุงเทพฯ เมืองสีเขียวให้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามปี 2563 กรุงเทพฯ กลับมีพื้นที่สีเขียวเพียง 6.99 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งน้อยกว่าค่ามาตรฐาน 9 ตารางเมตรต่อคนที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ‘พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง’ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครจึงตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้คนกรุงเทพฯ 10 ตารางเมตรต่อคนให้ได้ ภายใต้โครงการ Green Bangkok 2030 แต่ตอนนี้ไม่ว่าจะปลูกเท่าไหร่ ต้นไม้ที่ควรจะเติบโตละลานตาเต็มกรุงเทพฯ ก็ยังกระจายไปไม่ครบทุกเขตเสียที เพราะต้นไม้มีความสำคัญกับเมืองและคนอยู่ จึงมีหลายภาคส่วนศึกษาเรื่องพื้นที่ต้นไม้ เพื่อช่วยกันผลักดันให้ประชากรกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้พอหายใจ และทีม mor and farmer เป็นหนึ่งในนั้น สี่สถาปนิกรั้วธรรมศาสตร์ใช้เทคโนโลยีในการคิด วิเคราะห์ และออกแบบสื่อเพื่อพัฒนาเมือง ชุมชน และผู้คน ได้วิเคราะห์พื้นที่ต้นไม้ในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานครปลายปี 2560 จนถึงต้นปี 2561 ด้วยเครื่องมือ Machine Learning สำหรับหาพื้นที่ต้นไม้จากภาพถ่ายดาวเทียม ผลปรากฏว่า กรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้เพียง 227 ตารางกิโลเมตรจากพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด […]
ยิ่งหยุดพัก งานยิ่งปัง?
วันศุกร์ทีไร ‘มนุษย์แรงงาน’ ดี๊ด๊าทุกที เพราะเป็นวันสุดท้ายของการทำงานในสัปดาห์! เพื่อชาร์จพลังกลับไปลุยงานต่อวันจันทร์ ว่าแต่การหยุดพัก 2 วันหลังจากเคร่งเครียดกับงานมายาวๆ 5 วันนั้นช่วยให้สมองและร่างกายเราพร้อมกลับไปทำงานจริงหรือเปล่า เพราะยังว่ากันว่าหลังจากได้พักยาวๆ แล้ว เมื่อกลับไปทำงานอีกครั้ง ประสิทธิภาพของคนทำงานจะดีขึ้น จนผลงานที่ออกมาเต็มไปด้วยคุณภาพ เรื่องนี้จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ คอลัมน์ Curiocity ชวนค้นคำตอบฉลองวันแรงงานกัน ทำ 5 พัก 2 มาจากไหน ย้อนกลับไปศตวรรษที่ 19 สมัยที่ยังไม่มีกฎหมายแรงงาน ทำให้นายจ้างกำหนดเวลาเข้า-ออกงาน รวมถึงชั่วโมงทำงานอย่างไรก็ได้ บางที่ดีหน่อยให้หยุดพัก 1 วัน ไม่เสาร์หรืออาทิตย์ขึ้นอยู่กับวันประกอบพิธีของแต่ละศาสนา แต่บางที่ก็แย่เกินใครเพราะไม่มีวันหยุด และให้พนักงานโหมทำงานมากถึง 14 ชั่วโมง/วัน เนื่องจากงานหนักจนคนทำงานทนไม่ไหว จึงเกิดการนัดหยุดงานเพื่อออกมาประท้วง ท้ายที่สุดพี่น้องแรงงานเลือดนักสู้ก็ได้เวลาทำงานวันละ 8 ชั่วโมง และหลายประเทศบรรจุเข้าข้อกฎหมาย ประกอบกับปัญหาการขอหยุดงานไม่ตรงกันของแต่ละศาสนาที่ยากต่อการจัดการ และประสิทธิภาพการทำงานตกลง จึงมีข้อกำหนดเพิ่มเติมให้วันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันหยุดงานประจำสัปดาห์ไปโดยปริยาย ปี 1926 ‘เฮนรี ฟอร์ด’ เจ้าของฟอร์ด มอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอเมริกา คือนายทุนแรกที่ทดลองให้คนงานทำงานแค่ […]
หากวันหนึ่งคุณหูหนวกจะพบอะไรบ้าง ในเมืองไร้เสียงที่ชื่อว่ากรุงเทพฯ
‘…………..’ หากวันหนึ่งคุณตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าเสียงที่ได้ยินกลายเป็นเสียงเดียวกันทั้งหมด กลายเป็นเสียงแห่งความเงียบงัน ที่ดังก้องกังวานจนคุณไม่ได้ยินเสียงของผู้อื่นหรือแม้กระทั่งเสียงของตัวเอง คุณหันไปหยิบโทรศัพท์ที่เคยตั้งนาฬิกาปลุกไว้ตอน 7 โมงเช้า แต่เช้าวันนี้กลับไม่ได้ยินเสียงปลุกชวนรำคาญหูอีกต่อไป สัมผัสได้เพียงแรงสั่นไหวจากโทรศัพท์เท่านั้น และภาพที่คุณเห็นจากตาดวงเดิมกลายเป็นเหมือนโลกใบใหม่ ที่มือไปถูกปุ่ม Mute ไว้ตลอดกาล คุณจะทำอย่างไรต่อในเช้าวันนี้ แค่เรื่องสมมุติ ‘หากวันหนึ่งกลายเป็นคนหูหนวก’ ยังทำให้เราเป็นกังวลไม่น้อย เพราะการได้ยินเป็นสัมผัสสำคัญของมนุษย์ที่ใช้ในการสื่อสาร Urban Creature จึงอยากจะชวนทุกคนไปรู้จักโลกของคนหูหนวกผ่านการพูดคุยกับ ปรียานุช ศศิธรวัฒนกุล หรือนุ้ย และล่ามภาษามือ เต็มศิริณ ชลธารสีหวัฒน์ หรือไข่มุก ตัวแทนจากสมาคมคนหูหนวกแห่งประเทศไทย ที่จะมาบอกเล่าเรื่องราวการใช้ชีวิตภายในเมืองของคนหูหนวก เพื่อให้คนหูดีและคนหูหนวกได้เข้าใจกันและกันมากขึ้น หากวันหนึ่งคุณหูหนวก จะพบกับอะไรบ้าง การสื่อสารที่ใช้ภาษามือและภาษากายแทนภาษาพูด – ปัญหาพื้นฐานในชีวิตประจำวันของคนหูหนวกคือเรื่องการสื่อสาร เนื่องจากคนหูหนวกใช้ภาษามือสื่อสารเป็นภาษาแรก และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ทำให้การใช้ภาษาไทยของคนหูหนวกอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร อาจไม่เข้าใจความหมายของคำทุกคำ เวลาเขียนรูปประโยคภาษาไทยก็มักจะเขียนตามไวยากรณ์ภาษามือของคนหูหนวก อย่างประโยคที่ว่า ‘ฉันกินข้าว’ แต่คนหูหนวกจะเขียนประโยคดังกล่าวเป็น ‘ข้าวฉันกิน’ สลับตำแหน่งคำ เหมือนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ ซึ่งทำให้คนอ่านอาจจะเกิดความฉงนสงสัยและไม่เข้าใจสิ่งที่คนหูหนวกจะสื่อสาร และเมื่อคนหูหนวกเจอรูปประโยคยาวๆ เขาจะอ่านและแปลความหมายทีละคำ ทำให้ไม่เข้าใจรูปประโยคยาวนั้นเท่าไหร่ แต่เขาจะเข้าใจรูปประโยคสั้นๆ ง่ายๆ ที่ใช้สื่อสารบ่อย รูปประโยคที่ใช้ในการสื่อสารกับคนหูหนวกจึงควรเป็นประโยคคำพูดสั้นๆ […]
ความจุของรถเมล์ กทม. กับ Social Distancing ช่วง COVID-19 สะเทือนอะไรวงการขนส่งฯ บ้าง
รู้ตัวอีกที เราก็อยู่กับ COVID-19 มาครบ 1 ปีแบบไม่ทันตั้งตัว 1 ปีที่หลายคนคงชินกับการใส่หน้ากากขึ้นรถสาธารณะไปแล้ว ขณะที่กำลังเผชิญการระบาดซ้ำระลอก 3 ‘ประเทศไทย’ เป็นหนึ่งในเมืองที่ยังคงมูฟออนไม่ได้ หลายคนเลยต้องวนลูป Work from Home บางถนนหนทางห้างร้านตลาดกลับมาโล่งจนพ่อค้าแม่ขายใจหายไปตามๆ กัน ‘รถเมล์’ บริการสาธารณะที่ถูกออกแบบมาให้รับ-ส่งคนไปไหนมาไหนได้ครั้งละมากๆ จึงหนีไม่พ้นตกเป็นอีกหนึ่งวงการที่พลอยได้รับผลกระทบในช่วงที่เราต้องรักษาระยะห่างในที่สาธารณะไปด้วย ย้อนกลับไปที่การระบาดระลอก 2 เมื่อต้นปี เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมได้เป็นผู้โดยสารเพียง ‘หนึ่งเดียวคนนี้’ ตลอดทางที่นั่งรถเมล์ไปทำงาน ซึ่งระยะทางจากบ้านไปสถานีรถไฟฟ้าก็ไม่ใช่ใกล้ๆ ไกลกันเกือบสิบกิโลฯ จากเดิมรถเมล์ที่เคยขึ้นจะมีเพื่อนร่วมทางหลายสิบคน…จนบางวันแทบปิดประตูไม่ได้ ก็กลายเป็นเหมือนผมเช่ารถเมล์ 1 คันไปต่อรถไฟฟ้า และเป็นอย่างนั้นอยู่ 3 วันติดๆ!!! คิดขำๆ ก็ดูจะเป็นการนั่งรถเมล์ที่สบายดี…แม้บรรยากาศจะดูเหงาๆ เข้าโหมดกระทำความหว่องหน่อยๆ แต่ก็รักษาระยะห่าง (Physical Distancing) กับคนบนรถตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำไว้ว่าเราควรห่างกัน 1.8 เมตรได้จริง… ว่าแต่ ตอนรถติดไฟแดงนิ่งๆ มีใครเคยเล่นนับที่นั่งบนรถเมล์กันบ้าง? นี่คือกิจกรรมแรกๆ ที่ผมฝึกสังเกตตอนนั่งว่างๆ อยู่บนรถ เริ่มกันที่รถเมล์รุ่นที่ผมชอบที่สุดอย่าง รถปรับอากาศ […]
ปลดล็อกเตียงทอง! เปลี่ยนพื้นที่เมืองเป็น ‘โรงพยาบาลสนาม’
ขอปลดล็อกสกินเตียงทอง ระดมไอเดียออกแบบโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจในฝัน หยิบพื้นที่ในเมืองที่น่าสนใจ แปลงโฉมเป็นศูนย์ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ชั่วคราว แบบฉบับ Urban Sketch
ใบสั่งจราจร ไม่หนี ไม่จ่าย ได้ปะ
โดนใบสั่งจราจร ไม่หนี ไม่จ่าย ได้ปะ เป็นคำถามไท้ยไทยที่เราพบบ่อย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวินัยการขับขี่ของคนไทยได้เป็นอย่างดี เพราะคำตอบดังกล่าวทุกคนต่างรู้อยู่แก่ใจว่า ‘ควรจะต้องจ่าย’ หากคุณทำผิดกฎหมาย เหตุผลสำคัญที่คนทำผิดกฎจราจรส่วนใหญ่เพิกเฉยต่อการจ่ายค่าปรับ เกิดขึ้นจากระบบใบสั่งจราจรยังไม่สามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลกรมการขนส่งทางบกได้ทั้งหมด จึงทำให้ใบสั่งบางใบไม่ได้อยู่ในระบบ และเมื่อไม่อยู่ในระบบ ใบสั่งก็จะมีอายุความเพียง 1 ปี เหตุผลประการต่อมาคือ มีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอในการติดตามเรียกเก็บค่าปรับใบสั่งทุกใบที่ออกมานับ 10 ล้านใบต่อปี จึงกลายเป็นปัญหาใบสั่งคั่งค้างในระบบ และผู้คนที่ได้รับใบสั่งต่างเพิกเฉยเพราะขาดการติดตามให้ไปชำระค่าปรับตามกฎหมาย ที่ตลกร้ายสำหรับเรื่องนี้ คือสถิติจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.ต. เอกราช ลิ้มสังกาศ ผู้บังคับการตำรวจทางหลวง กล่าวในเวทีสัมมนาเรื่องถนนไว้ว่า ในปี 2562 มีการแจกใบสั่งสูงถึง 11,839,622 ใบ ราว 12 ล้านใบ แต่มีผู้มาชำระค่าปรับเพียงแค่ 2,141,818 ใบ หรือ 18.1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เทียบกับสถิติผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่จักรยานยนต์ประมาณ 30 ล้านคน และรถยนต์ประมาณ 10 ล้านคน นับเป็นการกระทำผิดสูงถึงราว 1 ใน 5 ของผู้ขับขี่บนท้องถนน […]
ย้อนดูวิวัฒนาการ 139 ปี ‘ศาลยุติธรรม’ ส่อง ‘ดัชนีนิติรัฐ’ ไทยอยู่อันดับเท่าไรของโลก
การอยู่ร่วมกันในสังคมย่อมต้องมีกฎที่ทุกคนใช้ร่วมกันเพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง แต่กว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายที่มีมากมายหลายมาตราอย่างทุกวันนี้ เราจะพาไปย้อนดูประวัติศาสตร์ของระบบยุติธรรมไทยในอดีต ตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา ไล่เรียงมาจนสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีวิวัฒนาการให้ทันกับยุคสมัยและปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม จนกระทั่งกลายมาเป็นศาลยุติธรรมซึ่งครบรอบ 139 ปี ‘วันก่อตั้งศาลยุติธรรม’ ในวันที่ 21 เมษายนนี้เอง เราขอย้อนจอภาพสีซีเปียกลับไปในสมัยกรุงสุโขทัย เชื่อว่าหลายคนคงจินตนาการภาพไม่ออกว่า ในยุคที่ศาลยุติธรรมยังไม่เกิด แน่นอนยังไม่มีใครรู้จักคำว่าผู้พิพากษา ดังนั้นใครกันจะเป็นผู้ตัดสินคดีความ หากจำได้ในหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ สมัยกรุงสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ยุคนั้นกษัตริย์เป็นผู้ทรงพระราชอำนาจชี้ขาดคดีความให้แก่ราษฎร โดยยึดหลัก ‘คัมภีร์พระธรรมศาสตร์’ ของอินเดียอันเป็นคัมภีร์สำคัญทางศาสนาพราหมณ์ที่มีอิทธิพลต่อสังคมที่นับถือทั้งศาสนาพราหมณ์และพุทธ ในยุคนั้นไทยเราเป็นเมืองพุทธ การใช้พระราชอำนาจของกษัตริย์จึงอยู่ภายใต้หลักธรรมของการปกครองแบบพุทธศาสนา กฎหมายมีลักษณะเป็นจารีตประเพณี มีความคาบเกี่ยวกับศาสนา จึงไม่เน้นการลงโทษที่รุนแรงแต่จะเน้นการสั่งสอนให้กลับตัวเป็นคนดีดำรงตนอยู่ในศีลในธรรม ต่อมาในสมัยอยุธยาไทยได้รับอิทธิพลจากลัทธิเทวราชาตามคติทางศาสนาพราหมณ์ ยุคนั้นพราหมณ์เริ่มเข้ามามีบทบาทในพระราชพิธีต่างๆ ซึ่งมีความขรึมขลังศักดิ์สิทธิ์ ตามมาด้วยแนวคิดว่ากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเทพ ในระบบกฎหมายเองก็มีการปรับปรุงให้กษัตริย์ทรงมีพระราชอํานาจในการออกกฎเกณฑ์เพิ่มเติม เรียกว่า ‘ราชศาสตร์’ ซึ่งมีชื่อเรียกโดยรวมว่า ‘พระราชกำหนดบทพระอัยการ’ หรือ ‘พระราชกำหนดกฎหมาย’ ถึงอย่างนั้นกษัตริย์ก็ยังต้องออกกฎหมายที่สอดคล้องกับ ‘คัมภีร์พระธรรมศาสตร์’ โดยมีหลัก ‘จตุรธรรม’ 4 ข้อ ได้แก่ ผู้ปกครองไม่สามารถออกกฎหมายได้ตามอำเภอใจ กฎหมายต้องสอดคล้องกับธรรมะหรือศีลธรรม จุดมุ่งหมายของกฎหมายคือประโยชน์ของประชาชน และกษัตริย์ต้องใช้อำนาจทางกฎหมายบนพื้นฐานของหลักทศพิธราชธรรม นอกจากนี้ หากใครได้ดูละครไทยรีเมกเรื่อง ‘วันทอง’ […]
เมื่อมังงะ ดวงรายเดือน พระ ทำให้รั้วไซต์ก่อสร้างเป็นมากกว่าที่กั้นและเซฟแบบคาวาอี้
นักท่องเที่ยวสายเสพงานศิลป์ เวลามาญี่ปุ่นน่าจะพุ่งไปงานนิทรรศการกรุบกริบต่างๆ ตามมิวเซียมเก๋อย่าง Mori Art Museum หรือ 21_21 DESIGN SIGHT จริงๆ แล้วถ้าสังเกตให้ดี ในเมืองแอบมีงานศิลปะน้อยใหญ่ซ่อนตัวอยู่ตามจุดต่างๆ มากมาย และจุดที่คนน่าจะมองข้ามกันมากที่สุดคือ ‘ไซต์ก่อสร้าง’ ตั้งแต่อยู่ญี่ปุ่นมาหลายปี ไม่มีวันไหนที่ออกจากบ้านแล้วไม่เจอการก่อสร้าง ภาพที่เห็นจนชินตามาพร้อมกับความชื่นชมเรื่องความสะอาด ความเงียบ และความเอาใจใส่ชุมชนรอบๆ เช่น มีการใช้แผ่นชีตเก็บเสียง เครื่องเก็บฝุ่น และล้างล้อรถที่ใช้ในการก่อสร้างทุกครั้ง เพื่อกันไม่ให้ความสกปรกหลุดออกมาภายนอก และมีพี่ รปภ. คอยโบกอำนวยความสะดวกให้ผู้สัญจร และในช่วงหลายปีมานี้ ไซต์ก่อสร้างพัฒนาความกรุบกริบด้วยการเติมความคาวาอี้ในหลายจุด จนต้องหยุดเดินหันมาถ่ายรูป ความเก๋ที่ว่านั้นมีหลากหลาย เช่น ผ้าใบลายเดียวกับสิ่งที่กำลังสร้าง รั้วกั้นเขตลายการ์ตูน (คนไทยน่าจะเคยเห็น AKIRA, ART OF WALL รั้วก่อสร้างลาย Akira ที่ชิบุยะ ซึ่งเมื่อก่อสร้างเสร็จก็จัดนิทรรศการแสดงผลงานเหล่านั้นต่อ แล้วเอารั้วก่อสร้างมาทำของเล่นขายด้วย) ผนังรั้วก่อสร้างผลงานออกแบบของศิลปิน รวมไปถึงกรวยเรืองแสง ไฟกะพริบลายดอกซากุระ บางครั้งเลยเถิดถึงขั้นเอาดวงรายเดือนตามราศีมาให้อ่านที่กำแพงด้วย แม้แต่ไซต์ก่อสร้างก็ยังคาวาอี้ ความเวรี่เจแปนนีสนี้มีที่มาอย่างไร ไปสำรวจที่มาความน่ารักเหล่านั้นกัน Animal Guard […]