Pica Pen ลอกคราบความเชยของเครื่องเขียนให้อยากพกติดตัว

เปิดประสบการณ์ใหม่ผ่านเครื่องเขียนกับเจ้าของและนักออกแบบแบรนด์ Pica Pen ‘ก้อง-พิชชากร มีเดช’ ที่ตกหลุมรักเครื่องเขียนตั้งแต่วันแรกที่ได้เจอ จนสานต่อมาเป็นผลงานออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

‘Soul Salt’ Paint Bar กลิ่นอายทะเลที่ยกหาดทรายมาไว้ริมเจ้าพระยาให้ทุกคนนั่งละเลงสี

รู้จัก Soul Salt เบนต์บาร์ริมเจ้าพระยา ที่ยกหาดทรายมาไว้กลางกรุง พื้นที่ที่ต้อนรับทุกคน

THE 8th CONTINENT เปิดทวีปที่ 8 ใต้มหาสมุทรทั่วโลกด้วยเลนส์กล้องของ 6 ช่างภาพใต้น้ำไทย

ทวีปที่ 8 บนดาวเคราะห์สีฟ้าที่ตั้งอยู่เป็นลำดับที่ 3 ในระบบสุริยจักรวาล ผืนดินที่เป็นพื้นที่ส่วนน้อย ของดาวดวงนี้ถูกแบ่งออกเป็นทวีปทั้ง 7 ในขณะที่ผืนน้ำซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่นั้นเชื่อมต่อกัน เป็นผืนเดียวกันได้ถูกตั้งชื่อออกเป็นมหาสมุทรทั้ง 5 ผืนน้ำ ซึ่งดูเหมือนจะรกร้างว่างเปล่า นั่นคือ ‘ต้นกำเนิดของสรรพชีวิตบนโลกใบนี้’ ที่มีพัฒนาการต่อเนื่องกันมานับล้านปีก่อนที่มนุษย์คนแรกจะถือกำเนิดมา  มนุษย์เรียนรู้เรื่องราวมากมายจากผืนดินและสภาพแวดล้อมที่อยู่รายรอบตัว หากแต่ท้องทะเล ซึ่งเปรียบเสมือนมารดาแห่งสรรพสิ่งนั้นคือทวีปที่หายไป เราเพิ่งเริ่มต้นทำความรู้จักกับท้องทะเล และมหาสมุทรอย่างจริงจังในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมานี้เอง นานแสนนานนับจากวันแรกที่มีสิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในท้องทะเล และวันแรกที่บรรพบุรุษของมนุษย์ได้เดินทางขึ้นมาจากท้องทะเล Deep VI คือการรวมตัวของกลุ่มช่างภาพใต้น้ำที่ประกอบไปด้วย นัท สุมนเตมีย์ ผู้ที่บันทึกภาพใต้น้ำมาตั้งแต่ยุคสมัยฟิล์ม ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย ช่างภาพและนักอนุรักษ์ผู้บันทึกภาพพะยูนมาเรียมที่ถ่ายทอดเรื่องราวของการอนุรักษ์ออกไปทั่วโลก ภานุพงศ์ นรเศรษฐกมล ผู้ที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในท้องทะเลในพื้นที่ห่างไกลของอินโดนีเซีย ธนากิจ สุวรรณยั่งยืน และ พิพัฒน์ โกสุมลักษมี ช่างภาพมือรางวัลระดับนานาชาติ และ บารมี เต็มบุญเกียรติ ช่างภาพสัตว์ป่ามืออาชีพ  พวกเราทั้ง 6 คนอยากถ่ายทอดเรื่องราวของทวีปที่ 8 ซึ่งชื่อ ใต้ทะเล ให้คุณรู้จัก และเข้าใจผ่าน THE 8th […]

จากเพจอยากดูหนังถึง ‘Lorem Ipsum’ พื้นที่ฉายหนังทางเลือกให้คนหาดใหญ่ได้ชม

ย้อนกลับไปเมื่อ 4 – 5 ปีก่อน สมัยยังเป็นนักศึกษาคณะนิเทศฯ ทำให้กลุ่มคนที่วนเวียนอยู่รอบตัวล้วนแล้วแต่เป็นคอหนังด้วยกันทั้งสิ้น จำได้ว่าถึงจะเรียนอยู่เชียงใหม่ จังหวัดใหญ่แห่งเมืองเหนือ แต่ก็ไม่วายที่หนังใหญ่บางเรื่องจะไม่เข้าฉาย ซึ่งตอนนั้นเราก็ไม่รู้เหตุผลเหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร  นอกจากเสียงบ่นของเพื่อนพ้องน้องพี่แล้ว อีกหนึ่งความไม่พอใจที่เห็นกันชัดๆ คือในเฟซบุ๊กมีเพจเรียกร้องให้เอาหนังมาฉายที่จังหวัดตัวเองผุดขึ้นเต็มไปหมด ไม่ต่างกับที่หาดใหญ่ซึ่ง ต้น–พรชัย เจียรวณิช ในฐานะคนรักหนัง ก็อดประหลาดใจไม่ได้ว่าทำไมภาพยนตร์บางเรื่องที่ดังระดับประเทศ แถมยังเป็นหนังระดับฮอลลีวูดที่หากเปิดให้เข้าชมในโรงฯ คนดูก็ไม่โหรงเหรงแน่ๆ แต่ทำไมคนต่างจังหวัดกลับไม่มีสิทธิ์ได้ดู  เรื่องนี้ฉายเหอะ…คนต่างจังหวัดอยากดู ต้นเล่าให้ฟังว่าภาพยนตร์ที่จะฉายในหาดใหญ่ถูกสกรีนด้วย ‘สายหนัง’ (ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์) ที่จะคัดเลือกหนังที่มีแนวโน้มจะทำรายได้ดีเข้ามาฉายในพื้นที่ แต่บางทีก็แปลกใจเหมือนกันว่าทำไมภาพยนตร์อย่าง Sing Street ที่เป็นหนังแมส คนอยากดูก็เยอะทำไมไม่เข้าโรงภาพยนตร์ที่หาดใหญ่ ด้วยความเก็บกดก็เลยเปิดเพจชื่อ ‘เรื่องนี้ฉายเถอะ คนหาดใหญ่อยากดู’ เพื่อเป็นพื้นที่ในการแสดงออก  ก่อนจะพบว่ามีกลุ่มคนที่อัดอั้นตันใจอยู่ไม่น้อย จึงเข้าไปคุยกับโรงภาพยนตร์เพื่อหาทางออกร่วมกัน  “ทีแรกเขาบอกว่าให้ไปรวมกลุ่มกันมาว่ามีคนดูกี่คน แต่เราส่งตัวเลขไปก็ไม่เกิดอะไรขึ้น ก็เลยมองไปที่การเช่าเหมาโรงฯ แล้วไปดีลกับค่ายหนังแทน ทีนี้เราก็เป็นเหมือนคนจัดฉายหนัง ลองหาดูว่าเรื่องไหนมีศักยภาพที่จะดึงคนมาดูแล้วเราไม่เจ็บหนักมากกับราคาเหมาโรงฯ ที่สองหมื่นบาท บางเรื่องก็คัฟเวอร์ บางเรื่องก็เข้าตัว แต่อย่างน้อยก็เป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คนเข้าถึงหนังได้ “แต่ปัญหาคือดีลกับโรงหนังแต่ละครั้ง กลายเป็นต้องเริ่มใหม่ทุกรอบ เพราะคนที่รับเรื่องเป็นคนละคน แถมราคาที่เสนอมาก็ไม่เท่ากัน เลยรู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง” เมื่อผิดหวังกับระบบของโรงภาพยนตร์ และหวังจะสร้างคอมมูนิตี้ของคนรักหนังในหาดใหญ่ […]

บ้านบ่อแก้ว 12 ปีของมหากาพย์การต่อสู้ที่ ‘คนใน’ ถูกผลักไปเป็น ‘คนนอก’

บรรยากาศเงียบสงัด อากาศเย็นเยือกหลังฝนตก เราลืมตาขึ้นมาแต่เช้ามืดในที่พักใกล้ตัวเมืองขอนแก่น วันนี้เรามีภารกิจเดินทางไปที่ ‘ชุมชนบ้านบ่อแก้ว’ ตำบลทุ่งพระ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เพื่อพูดคุยกับชาวบ้านเรื่องข้อพิพาทระหว่างชุมชนบ้านบ่อแก้วกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) เมื่อสิ้นเสียงเครื่องยนต์เป็นสัญญาณบอกว่าถึงที่หมายแล้ว นั่นเป็นเวลาก่อนเที่ยงหน่อยๆ ท้องฟ้าเริ่มมีแดดส่องผ่านรำไรราวกับเปิดประตูต้อนรับ นับตั้งแต่ขาสองข้างเหยียบลงบนพื้นที่ชุมชนบ้านบ่อแก้ว เจ้าบ้านก็ออกมาต้อนรับด้วยน้ำเย็นๆ และผลไม้ให้เติมความสดชื่นหลังจากนั่งเปื่อยบนรถตู้มาราวสองชั่วโมง เรามีเวลาอยู่ที่นี่เพียงครึ่งค่อนวันเพื่อทำความเข้าใจสิ่งที่เกิด และเก็บเรื่องราวมาฝากให้คุณได้อ่าน มหากาพย์การต่อสู้เริ่มขึ้นเมื่อปี 2516 รัฐบาลประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าภูซำผักหนาม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทำกินของชาวบ้านในบ้านบ่อแก้ว ต่อมาปี 2521 กรมป่าไม้ให้สัมปทานเนื้อที่ 4,401 ไร่กับ อ.อ.ป. เข้าทำสวนป่าคอนสาร สำหรับปลูกไม้เศรษฐกิจ นำมาสู่การพยายามผลักชาวบ้านออกจากพื้นที่ด้วยข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่า ทั้งถูกตอกย้ำด้วย ‘ยุทธการทวงคืนผืนป่า’ ในแผนแม่บทป่าไม้ ภายใต้คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ซึ่งพยายามรื้อที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ทว่าการผลักคนในออกจากพื้นที่ทำให้ที่นั่นสมบูรณ์ขึ้นจริงหรือ ยิ่งเป็นคนที่เรียกว่ารู้จักพื้นที่ดีกว่าใครยิ่งต้องละเอียดอ่อนต่อการทำความเข้าใจมิใช่หรือ การโดนผลักออก ขับไล่ ต่อสู้ สูญเสีย โดนพิพากษาว่าบุกรุกพื้นที่ทำกินของตนเอง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับชาวบ้านบ่อแก้วอย่างขาดความเห็นอกเห็นใจเพื่อนมนุษย์ มองเห็นคุณค่าวิถีชีวิตน้อยกว่าเอกสารทางราชการ การแก้ปัญหาอย่างไม่ยุติธรรมและใช้กฎเกณฑ์ที่พวกเขาไม่ได้มีส่วนร่วม ชาวบ้านจึงตั้งชุมชนบ้านบ่อแก้วขึ้นมาในปี 2552 เพื่อกดดันและพิสูจน์ให้เห็นว่า พวกเขาสามารถอยู่กับพื้นที่ได้อย่างยั่งยืนมากกว่าการสัมปทานป่าเพื่อปลูกยูคาลิปตัส ยาวนานกว่า 12 ปี ที่ชาวบ้านตั้งชุมชนบ้านบ่อแก้วเพื่อต่อสู้เรียกร้อง และเมื่อวันที่ […]

‘ลานยิ้มการละคร’ คณะละครชื่อชวนยิ้ม แต่จิกกัดและตั้งคำถามต่อสังคมอย่างเจ็บแสบ

หากศิลปะไม่เป็นเจ้านายใคร และไม่เป็นขี้ข้าใคร คุณคิดว่าศิลปะเป็นอะไรกันแน่ ถ้าคุณสงสัยในประโยคข้างต้นว่าจริงๆ แล้วศิลปะมีความสำคัญอย่างไรต่อสังคม เราชวนมาคุย กับ ‘กอล์ฟ-นลธวัช มะชัย’ ผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ลานยิ้มการละคร’ คณะละครจัดแสดง Performance Art ริมถนนซึ่งเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเพื่อน ที่ถึงแม้จะมีชื่อชวนยิ้ม แต่กลับบอกเล่าเรื่องราวมากมายที่เกิดขึ้น ชวนผู้ชมตั้งคำถาม พร้อมตีแผ่ประเด็นทางสังคมอย่างจิกกัดและเจ็บแสบ อย่างชุดการแสดง ณ บางกลอย ที่ทำให้หลายคนต่างหันกลับมามองประเด็นความขัดแย้ง ความอยุติธรรม และข้อเรียกร้องของชาวบ้านบางกลอยได้อย่างน่าสนใจ ปฐมบทลานยิ้มการละคร ก่อนจะมาเป็นลานยิ้มการละคร (Lanyim Theatre Group) พวกเขาเคยเป็นกลุ่มลานยิ้ม Lanyim Creative Group ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของแก๊งเพื่อนที่เรียนสื่อสารมวลชนด้วยกันแต่หลากแขนง ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ การแสดง ไปจนถึงการละคร ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานในฐานะสื่อ ประกอบกับการแสดงละคร เพื่อสื่อสารประเด็นการเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ชาติพันธุ์ ประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน แต่เมื่อทำไปเรื่อยๆ การแสดงละครกลับกลายเป็นตัวตนที่ชัดเจนที่สุด พวกเขาต่างรู้ว่าถนัดอะไร อยากจะพูดอะไร ด้วยน้ำเสียงแบบไหน จนกลายมาเป็นกลุ่มลานยิ้มการละครที่เน้นการทำงานประเภทการแสดงละครเป็นหลัก สิ่งที่น่าสนใจของการเกิดกลุ่มลานยิ้มการละครคือการรวมตัวของกลุ่มเพื่อน เราเอ่ยปากถามไปว่า […]

City in Bloom – ปลอมในจริง

เมื่อปลูกต้นไม้จริง ไฉนเลยผลและดอกที่ออกกลับกลายเป็น ‘สิ่งไร้ชีวิต’ ที่มองแล้วดูคุ้นตา จนเกิดเป็นภาพความลงตัวที่ไม่ลงตัวแบบไทยๆ ราวกับว่าธรรมชาติเบ่งบานออกดอกออกผลเป็นสิ่งนั้นจริงๆ ทำให้ต้องเหลียวมอง พร้อมตั้งคำถามถึงความแปลก และประโยชน์ใช้สอยทุกครั้งที่เดินผ่าน “บานเป็นขวดสีใส” “บานเป็นขวดหลากสี” “บานเป็นเปลือกไข่” “บานเป็นซีดี” “บานเป็นดอกไม้พลาสติก” “บานเป็นขวดคละสี” “บานเป็นดอกกระดาษ” “บานเป็นถุงพลาสติก” (แอบมีพวงมาลัย)

Man & Art แปลงโฉม ‘มนุษย์’ เป็นงานศิลปะระดับโลก! ด้วยฝีมือ นศ. มหาวิทยาลัยศิลปากร

เปลี่ยนภาพจำการเรียนทฤษฎีในห้องเรียน ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมกับ ‘ศิลปะ’ มากยิ่งขึ้น เพราะมนุษย์กับศิลปะเป็นของคู่กัน!  เมื่อนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขานิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ลุกขึ้นมาเลียนแบบ ‘ภาพศิลปะ’ โดยใช้ร่างกายของตัวเองเป็นแคนวาส บรรจงแต่งองค์ทรงเครื่อง มาประชันความครีเอทีฟผ่านโปรเจกต์ ‘ภาพถ่ายที่ได้แรงบันดาลใจจากผลงานศิลปะ’ ในรายวิชา ‘มนุษย์กับศิลปะ’ (Man & Art)  นอกจากจะให้นักศึกษาได้ระเบิดความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการแล้ว ยังให้ความสนุกกับการเรียนศิลปะเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว! เรามาส่องไอเดียเจ๋งๆ ของเด็กรุ่นใหม่ไปพร้อมกันเลยดีกว่า ต้นฉบับ : The Fortune Teller โดย Frederic Bazilleชื่อผลงาน : “Fortune Uno” โดย ชลดา ผาติเสถียร ต้นฉบับ : Girl Running with Wet Canvas โดย Norman Rockwell ชื่อผลงาน : “Girl running to class with […]

Untitled ศิลปนิพนธ์เรียนรู้โรคกลัวรูของเด็กโฟโต้อาร์ตแห่งเชียงใหม่ผู้เป็นโรคกลัวรู

ชวนดูศิลปนิพนธ์โรคกลัวรูของนักศึกษาสาขาศิลปะการถ่ายภาพ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ว่าวจุฬา Originals : จักรกฤษณ์ อนันตกุล กับการถอดรองเท้ามาออกแบบเป็น Installation Art

“ดึงไปทางซ้าย วิ่งอีกๆ” เสียงน้องชายตะโกนเชียร์ฉันที่กำลังวิ่งว่าวตัวใหญ่ ลมพัดหอบมันสูงขึ้นๆ ขณะที่ขนาดของมันค่อยๆ เล็กลง จนดูเหมือนนกตัวน้อยบินลู่ลมอยู่บนฟ้า เชื่อว่าสมัยเด็กๆ หลายคนคงมีประสบการณ์วิ่งว่าวในท้องนา หรือเคยเห็นคนเล่นว่าวกลางท้องสนามหลวงกันมาบ้าง

พีระ โองาวา ศิลปินผู้เปลี่ยนเสียงแว่วในหูให้เป็นศิลปะเรขาคณิตและความสุขของวัย 75

ยามผมเปลี่ยนเป็นสีดอกเลายามหลังเริ่มงองุ้มตามกาลเวลายามที่สายตาเริ่มพร่าเลือนยามที่คุณอายุเข้าวัยเลข 7ลองจินตนาการสิว่า ตอนนั้นคุณกำลังทำอะไรอยู่ สำหรับเรา…ยังเป็นนักเขียน? ยังไปคอนเสิร์ตของนักร้องวงโปรด? ยังชอบเข้ามิวเซียม?คำตอบคือ ยังไม่รู้เลย ว่าวันนั้นจะยังทำสิ่งที่รักอยู่หรือเปล่า  แต่สำหรับ พีระ โองาวา ศิลปินวัย 75 ปีท่านนี้ ชีวิตทุกวันตลอดระยะเวลาหลายสิบปี ยังเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ เพื่อตื่นตอนเที่ยงคืนมาเปิดเพลงบรรเลงของโมซาร์ตและบีโทเฟน แล้วลงมือสร้างสรรค์ ศิลปะเรขาคณิต จนถึงยามฟ้าเริ่มสางช่วง 5 นาฬิกา เขาทำทุกวันอย่างไม่มีหยุดพัก และจะมีความสุขทุกครั้งที่วาดภาพออกมาได้ดั่งใจคิด เสื้อเชิ้ตสีฟ้าอ่อน กางเกงสแล็กสีดำ และรอยยิ้มใจดีของคุณพ่อพีระต้อนรับเรา เมื่อ แตง-ประกายจิต โองาวา ลูกสาวคนโตของครอบครัวเชื้อเชิญเข้าบ้าน ตามด้วยคำทักทายของ คุณแม่สว่าง โองาวา และลูกชายคนเล็ก เต้-ยุทธจิต โองาวา  ครอบครัวลูกครึ่งญี่ปุ่นยิ้มแย้มอย่างเป็นกันเอง ก่อนรวมตัวนั่งล้อมวงบนชั้น 2 เพื่อพูดคุยถึงโลกศิลปะของคุณพ่อพีระ ท่ามกลางงานศิลปะเรขาคณิตนับสิบชิ้นที่รายล้อมอยู่ในห้องรับแขก และอีกหลายร้อยชิ้นที่ซุกซ่อนอยู่ในบ้านหลังอบอุ่น ศิลปะไร้อุปกรณ์ ชีวิตศิลปะของศิลปินอายุ 75 ปีเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วัยไม่ถึงสิบขวบ เขามักหยิบดินสอมาวาดภาพ Freehand หรือการวาดภาพโดยไม่ใช้เครื่องมือเป็นเหล่าสัตว์นานาชนิดตามที่ใจคิด เพราะมองว่าสัตว์ทุกตัวมีความสวยงามเฉพาะแบบ บ้างวาดสัตว์ตัวนั้นตามแบบที่เป็น บ้างเอาสัตว์หลายตัวมาผสมกันจนมีรูปร่างหน้าตาแปลกไปจากเดิม อย่างรูปไก่ที่มีขนเป็นงู รูปต้นไม้ที่กิ่งก้านของมันกลายเป็นงูเลื้อย […]

‘มุมเดิม เวลาเดิม ต่างปี’ ชุดภาพถ่ายถนนข้าวสาร 13 เมษาที่หยุดอยู่ที่เดิมเป็นปีที่ 2

“ถนนข้าวสารปีก่อนในวันที่ 13 เมษายนเป็นอย่างไร วันนี้ก็ยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ปี 2563 – 2564 ทุกอย่างยังคงเงียบงัน” เป็นปีที่ 2 แล้วที่เราไม่ได้เห็นบรรยากาศคึกคักของเทศกาลสงกรานต์บนถนนข้าวสารแม้ปีนี้พ่อค้าแม่ขายและร้านรวงต่างๆ รอบถนนข้าวสารจะมีการเตรียมตัวจัดงานสงกรานต์เล็กๆ ที่พอจะเป็นไปได้ในช่วงที่โควิด-19 ดูจะซาลงไป แต่ก็ต้องพับทุกความตั้งใจเก็บไว้ เพราะเกิดการระบาดระลอกที่ 3 ในเมืองไทย  จึงเกิดเป็นชุดภาพถ่าย มุมเดิม เวลาเดิม แต่ต่างปี ของถนนข้าวสารในเช้าวันที่ 13 เมษายน ที่ไม่ได้มีเสียงหัวเราะและรอยยิ้มมา 1 ปีติดต่อกันแล้ว  พบว่าบางสิ่งที่เคยอยู่ตรงนั้น หายไปพบว่าบางสิ่งที่ไม่เคยมี ก็เกิดขึ้นใหม่พบว่าเมืองไทยย่ำอยู่กับที่มาตลอดพบว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น …นอกจากพื้นถนนดีไซน์ใหม่

1 18 19 20 21 22 29

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.