Form KHONWAN ภาพถ่ายวัดนครสวรรค์ที่ทลายกรอบสีประจำวัด ว่าเป็นอะไรก็ได้ ไม่ใช่แค่ทอง

วัด ที่คุ้นเคยกันมักประกอบด้วยสีทอง เงิน ขาว ส้มอมแดง แต่สีสันของวัดในครั้งนี้ถูกทลายกรอบให้จางลง เมื่อได้เริ่มเก็บภาพถ่ายชุด Form KHONWAN เพื่อนำเสนอภาพความงดงามทางสถาปัตยกรรมของ ‘วัด’ ในจังหวัดนครสวรรค์บ้านเกิด ด้วยความชื่นชอบส่วนตัวด้านการถ่ายภาพสถาปัตยกรรม จึงนำสิ่งนี้มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน พร้อมทั้งเรียนรู้ความแตกต่างของเอกลักษณ์ที่สะท้อนผ่านการออกแบบไปในตัว โดยในแต่ละภาพแสดงออกถึงสีสันที่แตกต่างรวมถึงความคิดในสถาปัตยกรรมใหม่ๆ ความพยายามที่จะหลุดออกจากระเบียบแบบแผนดั้งเดิมเพื่อสร้างเอกลักษณ์ ราวกับเป็นการผลิใบและงอกงามครั้งใหม่ของสถาปัตยกรรมอยู่เสมอ “ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับเวลา” ภาพชุดนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เป็นเพียงแค่ปัจจัยภายนอกเท่านั้น ทว่าสิ่งเหล่านั้นยังคงแทรกไปด้วยความศรัทธาที่ปรากฏให้เห็นผ่านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม ติดตามผลงานเพิ่มเติมได้ที่ : @Formthailand

อะไรอยู่ใต้ผ้าคลุม

“ทำไมต้องกลัวหมวกด้วยล่ะ” ถ้าใครมีโอกาสได้อ่านหนังสือเรื่อง ‘เจ้าชายน้อย’ คงคุ้นเคยกับประโยคนี้และนึกถึงภาพงูเหลือมกินช้างออก ซึ่งเป็นภาพวาดหมายเลข 1 ที่เจ้าชายน้อยวาดก่อนจะยอมแพ้ให้กับพรสวรรค์ด้านศิลปะของตัวเอง เพราะผู้ใหญ่ไม่เข้าใจสิ่งที่เขาวาดและมักต้องการคำอธิบายอยู่เสมอ  เมื่อมองไปยังผืนผ้าใบที่ใช้คลุมบางสิ่งแล้วรูปร่างภายนอกนั้นแตกต่างกัน เรานึกถึงเรื่องราวเจ้าชายน้อยอีกครั้ง ซึ่งปกติถ้าเห็นคงใช้เวลาไม่นานในการตอบคำถามว่าอะไรอยู่ภายใต้ผ้าใบเหล่านั้น แต่หลังจากที่ลองโยนตรรกะและเหตุผลทิ้งไป แล้วมองภาพพวกนี้อีกครั้ง เรากลับพบความเป็นไปได้มากมาย ซึ่งถูกคลุมซุกซ่อนไว้ Urban Eyes ครั้งนี้เราจึงอยากชวนให้คุณค่อยๆ ใช้จินตนาการดูภาพเหล่านี้ไปพร้อมกัน แล้วลองแชร์ให้ฟังหน่อยว่าคุณเห็นอะไรอยู่ภายใต้ผืนผ้าใบบ้าง  “มินเนี่ยน” “ปีศาจ” “ภูเขาน้ำแข็ง” “หมีพูห์” “ทีวีจอแบน” “ช้าง” “แมว” “หัวฮิปโป” “ทวิตเตอร์”

Apaul Product แบรนด์ยาดมที่ออกแบบประสบการณ์ผ่านการดมกลิ่น

ความท้าทายครั้งใหม่ของการสร้างแบรนด์ยาดม ให้กลายเป็นตัวกลางส่งต่อความสุขของการดมกลิ่นที่ไม่ว่าจะเรื่องทุกข์ใจ เศร้าจนน้ำตาไหล หรือเครียดจัดจนเวียนหัว Apaul Product อยากให้คุณเชื่อว่าการดมกลิ่นสามารถบำบัดอาการเหล่านั้นให้ทุเลาลงได้

Xspace แกลเลอรีศิลปะในโชว์รูมเฟอร์นิเจอร์ ที่เชื่อว่าความสร้างสรรค์พัฒนาคนและเมืองได้

หากมีคนโยนโจทย์มาให้หาจุดตัด ฉันจะนึกถึงแกน X แกน Y ในวิชาคณิตศาสตร์สมัยเรียนมัธยมฯ แต่โจทย์ครั้งนี้ไม่เหมือนครั้งไหนๆ เพราะสองตัวแปรที่ว่าไม่ใช่ตัวเลข แต่เป็น ‘ศิลปะ’ กับ ‘ดีไซน์’ ที่มาบรรจบกันเป็นจุดตัดบนพื้นที่สร้างสรรค์อย่าง Xspace

‘แท่นบูชาแดง’ ความเชื่อสุดขลังของชาวไทย-จีนฮกเกี้ยน พังงา

บ้านทุกหลังมีความเชื่อที่ต่างกันออกไป แต่สำหรับคนหลาดเก่า จังหวัดพังงา ซึ่งเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนนั้น คือการไหว้ ‘เทพเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้’ (玉皇) ผ่าน ‘เที่ยนกวนซือฮก’ (天官賜福) แท่นบูชาสีแดงที่มักติดบริเวณหน้าบ้าน เพื่อระลึกถึงเทพฟ้าดิน ระหว่างเดินเล่นที่หลาดเก่า ตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เราเห็นว่าทุกบ้านจะมีเที่ยนกวนซือฮกติดอยู่ ต่างกันที่ลักษณะและจุดสำหรับติดตั้งแท่น จึงอดไม่ได้ที่จะยกกล้องเก็บภาพความเชื่อและวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยนไว้  ชาวไทยจีนฮกเกี้ยนนับถือเทพเจ้า ‘หยกหองซ่งเต้’ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ‘เง็กเซียนฮ่องเต้’ ประมุขแห่งทวยเทพตามความเชื่อ ซึ่งจะพบเห็นวัฒนธรรมนี้ได้ที่จังหวัดภูเก็ตและพังงา ซึ่งทุกคนต่างเชื่อว่าท่านคือ ‘เทพแห่งฟ้าประทานพร’ ส่วนใหญ่การตั้งเที่ยนกวนซือฮก จะถูกติดตั้งที่เสาซ้ายมือหน้าบ้าน หรือที่เรียกว่า ‘หงอคาขี่’ หากบ้านที่ไม่มีหงอคาขี่ ก็จะถูกติดไว้ที่ด้านซ้ายของหน้าบ้านแทน ตามความเชื่อคนจีนที่ถือฝั่งซ้ายเป็นใหญ่ ธรรมเนียมการไหว้เที่ยนกวนซือฮกจะนิยมทำทุกวันตอนเช้าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น ตามด้วยไหว้เทพประจำบ้านและบรรพบุรุษ บางบ้านจะไหว้ในวันพระของไทย​หรือในวันพระของจีน โดยของที่ใช้ไหว้มีผลไม้ น้ำชา และขนม ตามขนาดความกว้างของเที่ยนกวนซือฮก แต่หลักๆ จะนิยมไหว้แค่น้ำชา 3 จอก จากนั้นจุดเทียน และธูปไหว้ 3 ดอก แม้รูปแบบของเที่ยนกวนซือฮกจะแตกต่างกัน แต่ความศรัทธาของชาวหลาดเก่านั้นมีหนึ่งเดียวคือ เทพเจ้าเง็กเซียนฮ่องเต้ และยังคงเป็นความเชื่อที่ต้องอยู่เสาด้านซ้ายของบ้านเสมอ

เงยหน้าหา ‘หัวมุมตึก’ สถาปัตยกรรมที่บ่งบอกความเจริญรุ่งเรืองในอดีต

หัวมุมตึก หนึ่งจุดเด่นที่อยู่คู่กันกับตึกแถว เป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งโครงสร้างและลักษณะของสถาปัตยกรรมสามารถบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต และวิวัฒนาการที่เปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย หัวมุมของอาคารในปัจจุบันเรียกได้ว่าเป็นทำเลทองที่มีการอนุรักษ์ ปรับปรุงโดยภาคเอกชน จนกลายเป็นย่านเศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญไปแล้ว จากความหลงใหลในการเดินย่านที่เต็มไปด้วยตึกเก่าแก่มากมาย ทำให้เราลองเปลี่ยนมุมมองตัวเองจากการมองดูสิ่งรอบตัว เป็นการยกกล้องถ่ายรูปขึ้นแล้วเล็งชัตเตอร์ไปที่ ‘หัวมุมตึก’ “มุมนี้อยู่มาหลายยุคหลายสมัย” “มุมนี้ครบวงจร” “มุมนี้ถูกทิ้งร้าง” “มุมนี้ขายแว่น” “มุมนี้มีพิพิธภัณฑ์” “มุมนี้เปลี่ยนเป็นธนาคาร” “มุมนี้มีคาเฟ่แซมด้วยต้นไม้” “มุมนี้ขายทอง” “มุมนี้เหมือนในหนังฮ่องกง” “มุมนี้ขายตาชั่ง” “มุมนี้มีของอร่อยขาย” “มุมนี้มีโรงแรม” “มุมนี้หุง อุ่น ตุ๋น ต้ม นึ่ง” “มุมนี้เป็นจุดกำเนิดการประปา” “มุมนี้รวม Art of Hand Painting” “มุมนี้สมดุล” “มุมนี้มีอะไหล่”

“หลาดเก่า” ตะกั่วป่า เงียบงันแต่ไม่เงียบเหงา

“หลาดเก่า” (ตลาดเก่า) หรือเมืองเก่าตะกั่วป่า คือชุมชนเก่าแก่ของอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เดิมที่นั่นคึกคักด้วยผู้คน แต่เมื่อโควิด-19 มาเยือนกลับเหงาลงถนัดตา แม้หลายสิ่งที่เคยเคลื่อนไหวค่อยๆ หยุดลง หากแต่การดำเนินชีวิตของชาวตะกั่วป่าก็ยังคงดำเนินไปอยู่ทุกวัน  เด็กตะกั่วป่าอย่างเราจึงขอชวนทุกคนมาสัมผัสหลาดเก่าผ่านภาพถ่าย ที่แม้จะเงียบงันไปเสียหน่อย แต่ก็ไม่เงียบเหงาซะทีเดียว ด้วยความตื่นเต้นที่จะไปเดินหลาดเก่า เราเลยตื่นเช้าเป็นพิเศษ เพราะกลัวจะพลาดเจอผู้คนที่ออกมาหาอะไรกินตอนเช้า เราฝากท้องที่ ‘ร้านโกปี๊’ ในตรอกเล็กๆ มีเพียงคุณลุงท่านหนึ่งนั่งดื่มโกปี๊อยู่เพียงลำพัง กับคุณป้าเจ้าของร้านที่กำลังเตรียมของอยู่ในร้าน มองแล้วชวนนึกถึงวันวาน ในทุกๆ เช้าจะมีแต่ความคึกคัก เสียงทักทายผู้คนที่ผ่านไปมาและเสียงพูดคุยของเหล่าคอกาแฟวัยเก๋า เมื่อเสร็จจากมื้อเช้า ถึงเวลาออกเดินเก็บภาพ ซึ่งตรงข้ามร้านโกปี๊เป็นที่ตั้งของ ‘ศาลเจ้าพ่อกวนอู ซิ่นใช่ตึ๋ง’ หรือที่คนในชุมชนเรียกกันว่า “อ๊ามใต้” ส่วนใหญ่คนหลาดเก่านั้นเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ที่นี่เลยเป็นอีกสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในละแวกนี้ ซึ่งจะคึกคักมากในช่วงเทศกาลกินเจ ก่อนจะไปต่อ บังเอิญหันไปเห็นน้องๆ นักเรียนกำลังเดินเรียงแถวหิ้วดอกไม้และปิ่นโตไปทำบุญที่วัด ทำให้นึกถึงสมัยประถมฯ ที่เราต้องเข้าค่ายอบรมจริยธรรม เดินไปเรื่อยๆ บนถนนศรีตะกั่วป่า ถนนสายหลักที่รายล้อมด้วยบ้านเรือนมีเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งก่อนนี้คึกคักไปด้วยผู้คน แต่ตอนนี้กลับเบาบางลงถนัดตา จากที่เคยเห็นผู้คนนั่งอยู่หน้าบ้าน พร้อมกับทักทายคนไปมาหาสู่กันได้ง่าย แต่วันนี้หน้าบ้านส่วนใหญ่เหลือเพียงม้านั่งที่ว่างเปล่า มีแต่ภาพวาด เด็กจริงๆ กลับไม่เห็น ท่ามกลางความเงียบเหงาที่ไม่ค่อยจะชินตาสักเท่าไร คงมีแต่บรรดาร้านรวงต่างๆ ซึ่งยังคงเปิดรอคอยผู้คนมาจับจ่ายใช้สอยสินค้ากันตามปกติ […]

รถเมล์ไทย อายุเท่าไหร่

รถเมล์ พาหนะหลักที่คนเมืองใช้สัญจรในชีวิตประจำวันนั้นมีหลากหลายสาย โดยจะวิ่งรอบกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถ้าใครขึ้นรถเมล์เป็นประจำ หรือแม้กระทั่งไม่ค่อยได้ขึ้น คงเห็นสภาพรถเมล์ไทยที่ปะปนกันไปทั้งใหม่-เก่า แล้วเคยสงสัยไหมว่า รถเมล์ในกรุงเทพฯ ที่ใช้บริการกันอยู่ทุกวันอายุเท่าไหร่แล้ว เราเลยชวนทุกคนไปสำรวจรถเมล์ เพื่อดูว่าตอนนี้สภาพรถเมล์ไทยเป็นยังไงบ้าง มีอะไรเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาต่างไปจากเดิมมากน้อยแค่ไหนกัน “เมล์ครีม-แดง ออริจินัลรถเมล์ไทยที่วิ่งมานานถึง 30 ปี กระเป๋ารถเมล์มาเก็บค่าโดยสารแล้ว ถึงเวลาควักเหรียญ” “ค่าโดยสาร 8 บาท กับรถที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาพอสมควร” “ครีม-น้ำเงิน นายอายุ 44 ปีเป็นคุณลุงแล้ว” “ทุกชีวิตล้วนผุพังตามกาลเวลา รถเมล์ก็เช่นกัน” “แต่ฝั่งนี้แดดส่องลงเต็มๆ” “เงียบเหงาจัง”  “ติดบ้าง ขยับบ้าง พอถนนโล่งทีไร คนขับก็ซิ่งใหญ่เลย” “มันก็…อันตรายอย่างที่ป้ายบอกนั่นแหละครับ” “สาย 8 ในตำนาน” “เดี๋ยวก็มีคนขึ้นรถครับป้า” “คุณลุงขึ้นไปนั่งแล้ว” “มินิบัสส้มแก๊งนี้ก็อายุ 12 ปีแล้วนะ” “10 บาทตลอดสาย” “อ้าวว กดกริ่งลงยังไงล่ะครับ มองหากริ่งใหม่แทบไม่ทัน” “พกไม้ถูพื้นด้วย รักสะอาดนะเรา” “ปอ.สีเหลืองนี่ก็อายุ 11 ปี อายุไม่น้อยเหมือนกันนะเรา” “ดูแล้วก็…อายุไม่น้อยจริงๆ […]

ตามพี่บ่าวไปแทงโวยวาย

เคยแทงโวยวายกันไหม อ่านแล้วหลายคนอาจกำลังขมวดคิ้วว่าคืออะไร เราจะเฉลยให้รู้ว่า ‘การแทงโวยวาย’ คือการจับหมึกสาย หรือที่คนท้องถิ่นเรียกว่า ‘ตัวโวยวาย’ ซึ่งเป็นรูปแบบการทำประมงชายฝั่งของชาวบ้านในตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ที่ส่งต่อภูมิปัญญากันมาอย่างยาวนาน

กระถางวัดอรุณฯ ผลงานดีไซเนอร์รุ่นใหม่ Mo Jirachaisakul

พระปรางค์วัดอรุณฯ ตั้งตระหง่านริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภาพจำกรุงเทพฯ ที่ไม่ว่าคนชาติไหนก็ต้องตั้งใจเดินทางมาให้เห็นกับตาสักครั้ง ยิ่งถ้าใครเดินทางด้วยเรือด่วนเจ้าพระยาเป็นประจำ ทุกครั้งที่นั่งเรือผ่านจะต้องหันไปชื่นชมความงามจนเรือแล่นลับสายตา แต่สิ่งที่น่าเสียดายคือคนส่วนใหญ่มักตื่นตะลึงกับความยิ่งใหญ่อลังการ จนมองข้ามรายละเอียดสุดประณีตโดยฝีมือช่างไทยโบราณที่บรรจงรังสรรค์ผลงานศิลปะอันยากจะเลียนแบบ

Colab-19 พลิกวิกฤตโควิดเนรมิต ‘นั่งร้าน’ เป็นพื้นที่กิจกรรมเพื่อคืนชีวิตให้เมืองโบโกตา

ตั้งแต่ COVID-19 เริ่มแพร่ระบาด หลายเมืองทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับเมืองหลวงของประเทศโคลอมเบียอย่าง ‘โบโกตา’ เพราะแค่ในเมืองนี้เมืองเดียวมีรายงานผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 ใน 4 ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดในโคลอมเบีย เป็นอีกหนึ่งเมืองที่ใช้มาตรการบังคับกักกัน (Forced Quarantine) นานที่สุดเมืองหนึ่งของโลก ร้านอาหารกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ถูกบังคับให้ปิดตัวลง ส่งผลให้แรงงานนับพันต้องตกงาน ในช่วงเวลานี้เองที่ Alejandro Saldarriaga และ German Bahamon สองสถาปนิกชาวโคลอมเบียได้จับมือกันหาทางออกที่จะช่วยฟื้นเศรษฐกิจของเมือง ด้วยการคิดหาวิธีการรักษาระยะห่างใหม่ๆ ผ่านการออกแบบ ให้คนออกมาทำกิจกรรมกลางแจ้งได้อย่างปลอดภัยขึ้นเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายใต้ชื่อทีม Colab-19 ไอเดียจากการใช้ ‘นั่งร้าน’ เพิ่มระยะห่างใน ‘แนวดิ่ง’ มาตรการรักษาระยะห่างทำให้จำนวนที่นั่งในร้านอาหารลดลงกว่าครึ่ง เช่น บริเวณหน้าตลาด La perse ที่ก่อนการแพร่ระบาดเคยนั่งได้ 16 โต๊ะ กลับเหลือเพียงแค่ 7 โต๊ะเท่านั้น ทีม Colab-19 จึงแก้ปัญหาด้วยแนวคิดว่ามาตรการรักษาระยะห่างในร้านอาหารไม่จำเป็นต้องทำในแนวระนาบอย่างเดียว ผุดไอเดียใช้ ‘นั่งร้าน’ หรือโครงสร้างชั่วคราวสำหรับใช้ในงานก่อสร้าง โดยการออกแบบนั่งร้านช่วยเพิ่มระยะห่างในแนวดิ่ง ทำให้ร้านอาหารเปิดให้บริการด้วยจำนวนโต๊ะเท่าเดิมแต่ยังรักษาระยะห่างได้อยู่ นอกจากนั้น นั่งร้านยังเป็นวัสดุที่ราคาถูก ใช้เวลาประกอบเร็ว […]

1 19 20 21 22 23 29

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.