ย้อนวันวาน 1991 ผ่านภาพจากสไลด์ฟิล์มที่บังเอิญเจอในตลาดขายของเก่าเชียงใหม่

มนุษย์ชอบถ่ายฟิล์มอย่างผม ยามว่างคือการออกเดินตลาดมือสอง เพื่อมองหากล้องฟิล์มบ้าง ม้วนฟิล์มบ้าง และมีสิ่งหนึ่งที่ผมยังพอเจออีกบ้างคือ เหล่าสไลด์ฟิล์มเก่า ที่มักเป็นภาพถ่ายฟิล์มครอบครัว ไม่ก็งานเทศกาล แต่สไลด์ฟิล์มชุดนี้แตกต่างจากที่ผมเคยเจอ ภาพที่ปรากฏบนสไลด์นั้นน่าสนใจจนอดไม่ได้ที่จะซื้อเก็บ แม้สไลด์ค่อนข้างเก่ามากแล้ว จนสีเพี้ยนไปจากเดิมมากพอสมควร แต่ผมก็ยังคงนำไปส่งแล็บสแกน ก่อนเอาไฟล์มาทำ Color Grading และปรับ White Balance เท่าที่พอจะทำให้สีภาพออกมาดีที่สุด  เพื่อนำมาแบ่งปันให้คุณที่กำลังอ่านอยู่ได้ชมภาพฟิล์มสมัยปี 1991 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงแฟชั่นยุคนั้น กับความน่าสนใจของคนในรูปภาพ ที่บางภาพ หรือแฟชั่นบางอย่าง ต้องบอกว่า “มาก่อนกาล” คุณรู้สึกเหมือนผมไหม ว่าหลังจากดูเซตภาพถ่ายฟิล์มจากสไลด์ฟิล์มเก่าเสร็จผมชื่นชมการจัดวางองค์ประกอบภาพที่ดีมากๆ การจัดวาง Subject ก็สวยงาม รวมถึงจังหวะ และทิศทางของแสงก็พาให้ผมรู้สึกตื่นเต้นเมื่อได้มอง  ไม่รู้ว่าช่างภาพเป็นใครไม่รู้ว่าสถานที่คือที่ไหนไม่รู้ว่าใช้กล้องฟิล์มอะไรแต่รู้ว่าคุณในปี 1991 ถ่ายภาพสวยมากๆ เลยครับ

สามล้อถีบ นนทบุรี สองขาปั่น สามล้อหมุน

สามล้อถีบ นนทบุรี ยังคงขับเคลื่อนอย่างเนิบช้าท่ามกลางความรีบเร่ง… ในวันที่ทุกอย่างถูกขับเคลื่อนด้วยความเร่งรีบ เราทุกคนต่างแข่งขันกับเวลาที่เดินไปอย่างไม่รีรอ แต่ท่ามกลางความรีบเร่งยังมี สามล้อถีบ ที่ถูกปั่นด้วยแรงขาสองข้างอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งดูสวนทางกับโลกปัจจุบัน สามล้อถีบนั้นวิ่งอยู่รอบย่านท่าน้ำนนท์ นนทบุรี เราเองที่เคยผ่านแถวนี้บ่อยๆ ยังไม่เคยได้ลองนั่ง วันนี้มีโอกาสจึงลองโบกเรียกสามล้อถีบสักคัน ไม่นานก็มีสามล้อถีบปั่นมาอย่างรวดเร็วพร้อมกับคำทักทายว่า  “ไปไหนครับ”“ไปท่าน้ำค่ะ”“ขึ้นมาได้เลยครับ” บทสนทนาเริ่มต้นสั้นๆ ที่ทำให้เราได้พูดคุยอย่างออกรสต่อกับ ลุงต้อย นักปั่นสุดเก๋าแห่งท่าน้ำนนท์ เสียงโซ่ที่ถูกปั่นเพื่อหมุนวงล้อดังให้ได้ยินเป็นระยะเมื่อขึ้นมานั่งบนสามล้อถีบ ลมเย็นๆ พัดเข้าหา ภาพบรรยากาศรอบท่าน้ำนนท์เต็มไปด้วยรถรา ผู้คน และวิถีชีวิตผ่านสายตาในมุมใหม่บนสามล้อถีบ นั่งไปสักพัก ก็ถึงเวลาสานต่อบทสนทนากับลุงต้อยที่กำลังออกแรงขาพาเราไปยังจุดหมาย ภาพข้างหลังของลุงต้อยที่งุ้มงอตามวัย ทำให้อดสงสัยไม่ได้ว่า เขาขี่สามล้อถีบมานานแค่ไหนแล้ว “ลุงเริ่มขี่สามล้อถีบตั้งแต่อายุ 18 นู่น ตอนนี้ก็ร่วม 40 กว่าปีแล้ว แถวท่าน้ำนนท์ นนทบุรีลุงขี่มานานสุด เพราะเป็นคนพื้นที่ คันอื่นส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนอีสานที่มาหางานทำ ขี่ได้ปีกว่าก็กลับบ้าน แต่ลุงขี่ทุกวันไม่เคยหยุด เพราะลูกค้าประจำลุงจะเยอะหน่อย” ลุงต้อยเล่าให้ฟังต่อว่า ลูกค้าประจำส่วนมากเป็นคนละแวกท่าน้ำนนท์ที่มาจับจ่ายซื้อของในตลาด เมื่อได้ของที่ต้องการก็จะเรียกใช้บริการสามล้อถีบของลุงต้อยให้พากลับบ้าน สำหรับค่าบริการนั่งสามล้อถีบ ลุงต้อยบอกด้วยน้ำเสียงใจดีว่า ค่าโดยสารคิดเริ่มต้นตั้งแต่ 20 บาท ก่อนจะปรับตามระยะทาง ซึ่งลุงต้อยเคยปั่นไปส่งไกลที่สุดคือ บิ๊กซี […]

ศิลปะ วิทยาศาสตร์ นิทานอีสป เส้นบรรจบ ‘ภาพวาดชีววิทยาสะท้อนสังคม’ ของ ลลินธร เพ็ญเจริญ

กาลครั้งหนึ่งในบ้านหลังอบอุ่น มือคู่เล็กของ ลลินธร เปิดสารานุกรม สายตาจดจ้องแผ่นกระดาษที่มีโครงสร้างดอกไม้ตั้งแต่ชั้นนอกสุดอย่างกลีบเลี้ยง ไปจนถึงชั้นเกสร ก่อนพลิกสู่หน้าถัดไปแล้วเจอโครงสร้างสัตว์ที่เห็นเนื้อหนัง โครงกระดูก และอวัยวะภายใน เธอไม่รู้ว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร รู้เพียงแค่สวย และเหมือนจริงจนไม่อาจละสายตา กาลครั้งนี้เธอเติบโต ได้รู้แล้วว่าสิ่งที่เห็นในสารานุกรมตอนเล็กเรียกว่า ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ จึงหยิบมาผสมผสานกับศาสตร์ศิลปะที่หลงใหล ซึ่งมีจุดเชื่อมเป็นนิทานอีสปให้ข้อเตือนใจ กลายเป็น ภาพวาดเชิงชีววิทยา ผ่านจินตนาการของ ลลินธร เพ็ญเจริญ ศิลปินที่อยากบอกให้ใครต่อใครรู้ว่า ศิลปะกับวิทยาศาสตร์สามารถบรรจบกันได้อย่างงดงาม สองเส้นที่ขนานกันในสมอง ฉันนั่งตรงข้ามกับลลินธร แล้วมองภาพจิ้งหรีดกับลาที่เห็นไปยันโครงกระดูกข้างในซึ่งจัดแสดงท่ามกลางแสงไฟส้มนวลที่ SAC Gallery ละแวกพร้อมพงษ์ ก่อนเอ่ยถามถึงเบื้องหลังความคิดที่หยิบศาสตร์แห่งศิลป์และวิทย์มาหลอมรวมกัน “รู้ไหมศิลปะกับวิทยาศาสตร์ไม่เคยแยกออกจากกันเลย” คือประโยคที่เธอพูดหลังจากเอนหลังพิงพนักเก้าอี้ ก่อนเล่าต่อว่าในยุคกรีกโรมัน สองศาสตร์นี้เคยเกื้อหนุนกันเพื่ออธิบายและทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นไปในจักรวาล กระทั่งวันหนึ่งศิลปะกับวิทย์ต้องแยกจาก เพราะการแบ่งองค์ความรู้เฉพาะด้านให้ชัดเจน แต่ก็แอบเป็นแรงบันดาลใจการทำงานให้กันอยู่เงียบๆ จนพอเข้ายุคหลังสมัยใหม่ ปลายทางที่แยกออกก็กลับมาบรรจบอีกครั้ง เพราะเรียนรู้แล้วว่าบางครั้งความรู้ศาสตร์เดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดได้ทั้งหมด ส่งผลมาถึงปัจจุบันที่มีแนวทางลูกผสมอย่าง Art & Science  ฉันฟังแล้วร้องว้าวออกมาจนเธออมยิ้ม แล้วต่อบทสนทนาให้แคบลงสู่เรื่องของลลินธร ว่าทำไมถึงสนใจสองศาสตร์วิชาที่ชอบถูกนิยามว่า ศิลปะคือเรื่องความรู้สึก แต่วิทยาศาสตร์นั้นว่ากันด้วยเหตุผล เธอเล่าถึงเส้นขนานแรกอย่าง ศิลปะ ที่สมัยมัธยมต้น เวลาว่างขณะเรียนชอบหยิบวงเวียน ไม้บรรทัดสี่เหลี่ยม […]

หน้ากากอนามัย ถูกทอดทิ้ง

หน้ากากอนามัย ที่ใช้แล้วทิ้ง ชวนให้นึกถึงประโยค “เสร็จแล้วก็ทิ้งกันอย่างไม่ไยดี” พวกมัน ‘ถูกถอดทิ้ง’ และ ‘ถูกทอดทิ้ง’ ไว้แทบทุกที่ที่สามารถย่ำเท้าเข้าไปถึง บางชิ้นหล่นร่วงข้างทาง บ้างติดอยู่ที่พุ่มไม้สวยบนเกาะกลางถนน กลายเป็นขยะที่ยิ่งกว่าขยะ เพราะมีเชื้อโรคมากมายฝังตัวอยู่  หลายคนอาจไม่ได้ตั้งใจทิ้งหน้ากากอนามัย มีเผลอทำหล่นหรือลมพัดปลิวหายบ้าง และแน่นอนว่ายังมีคนที่ตั้งใจทิ้งขว้างอย่างไม่ใส่ใจอยู่เช่นกัน แต่สุดท้ายแล้วขยะหน้ากากอนามัยใช้แล้วที่ถูกถอดทิ้งก็ควรได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ภาพถ่ายชุดนี้จึงเต็มไปด้วยความตั้งใจที่อยากลบความรู้สึกคุ้นชินเมื่อเห็นหน้ากากอนามัยถูกถอดทิ้งนอกถังขยะ และอยากสะกิดใจผู้ใช้งานให้นึกถึงผู้เก็บขยะที่ต้องเผชิญกับเชื้อโรคบ้างสักนิดก็ยังดี สวัสดีจำเราได้มั้ย เราที่เคยต้องการมากๆ ไง ตอนนั้นเรากล่องละ 800 บาทเลยนะ ตอนนี้ถูกทอดทิ้งเหมือนไม่มีค่าเลย ทิ้งไว้คนเดียวแบบนี้มันหนาวนะ จะทิ้งทั้งทีก็ทำให้มันดีๆ หน่อย หรือบางทีเธออาจลืมไป ลืมว่าเราใช้ซ้ำได้ ลืมไว้กับโพยหวย ลืมไว้กลางเศษแก้ว ตอนนี้ยัง Move on ไม่ได้เลย ถูกทิ้งแล้วยังถูกเหยียบซ้ำอีก นอยด์แล้ว เลิกใจร้ายได้แล้ว เราอยาก Move on

เย็บ | ปัก | ถัก | ชีวิต ศิลปะบนผ้าพื้นเมืองที่ไม่มีวันหมดอายุ

เมื่อพูดถึงผ้าพื้นเมือง หลายคนคงติดภาพเสื้อชาวเขา เสื้อม่อฮ่อม ผ้าซิ่น ซึ่งถูกทำให้กลายเป็นของแปลกใหม่สำหรับคนเมือง กลายเป็นเครื่องนุ่งห่มของคนต่างถิ่น แต่ไม่ใช่สำหรับเธอ บุคคลผู้หลงรักมนตร์เสน่ห์ของผ้าพื้นเมืองในฐานะ ผ้าที่เต็มเปี่ยมไปด้วยภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่น งานของเธอจึงใช้ผ้าพื้นเมืองที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ และใช้กรรมวิธีการย้อมสีจากธรรมชาติมาใช้เป็นหลัก จากผ้าฝ้ายธรรมดาก็กลับสามารถเพิ่มมูลค่าทั้งทางเศรษฐกิจและจิตใจ ด้วยวิธีคิด การมอบคุณค่าให้กับผ้า จนผลงานบนผืนผ้าของเธอได้โลดแล่นในเวทีระดับโลก เธอคนนั้นมีชื่อว่า ‘ซิกแนล หรือ สมพร อินทร์ประยงค์’ ผ้าพื้นเมืองถึงจะเก่า แต่เก๋าไม่เสื่อมคลาย เสื้อผ้าพื้นเมืองถูกผลักออกจากชีวิตผู้คนสมัยใหม่ ให้กลายเป็นเพียงเสื้อผ้าของชาวเขา และแทนด้วยเสื้อผ้าโรงงานซึ่งเน้นการผลิตจำนวนมาก เสื้อผ้าเหล่านั้นอาจจะดูสวย ทันสมัยสำหรับคนในเมือง แต่สิ่งที่ขาดไปในผ้าทุกผืนนั้นก็คือ มนตร์เสน่ห์และชีวิตของผู้ที่อยู่เบื้องหลัง จนเราไม่เคยคิดเลยว่าเรากลายเป็นผู้คนที่สวมใส่เสื้อผ้าที่ผลิตโดยเครื่องจักรไปเสียแล้ว ในทางกลับกันเสื้อผ้าพื้นเมืองที่ถูกถักทอด้วยมือ กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยเรื่องราวทางวัฒนธรรม นอกจากนั้น ยังมีชีวิตของผู้ผลิตอยู่ในนั้น ถึงแม้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนาน งานเหล่านี้ก็จะไม่มีวันล้าสมัย และยังคงโดดเด่นอยู่เสมอด้วยเรื่องราวในตัวของมันเอง เสื้อผ้าพื้นเมืองกลายเป็นกระแสทำให้หลายคนเริ่มหันกลับมามองรากวัฒนธรรมของสิ่งที่เราสวมใส่ และเราคงหันมองทุกครั้งถ้าได้เห็นคนใส่ผ้าพื้นเมืองบนรถไฟฟ้า หยุดสายตาเพื่อชื่นชมในเสน่ห์ของชุดของเขาอยู่ไม่น้อย ซึ่งหนึ่งในบุคคลที่คอยผลักดันภูมิปัญญาพื้นถิ่น ตั้งแต่เครื่องเงิน กระเป๋าสาน กำไลข้อมือ และชิ้นสำคัญอย่างผ้าพื้นเมืองให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งก็คือพี่ซิกแนล เห็นคุณค่าของเวลาจึงออกแบบให้หลากฟังก์ชัน เธอเป็นคนเห็นคุณค่าของเวลา ทำให้การจะสร้างสรรค์งานขึ้นมาสักชิ้น ต้องมีอรรถประโยชน์สูงสุด เพื่อให้คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป พี่ซิกแนลได้แนวคิดในการออกแบบงานหนึ่งชิ้นให้มีฟังก์ชันได้หลากหลาย เสื้อ 1 ตัวของเธอจึงใส่ได้ 4 ด้าน ด้วยเทคนิคการออกแบบคอเสื้อเฉพาะตัว […]

จัดช่อตัวต่อดอกไม้ด้วย ‘LEGO’

เราสามารถต่อดอกไม้เองด้วย ‘LEGO’ คอลเลกชัน ‘Botanical’ หรือสวนพฤกษศาสตร์ที่สามารถนำตัวต่อรูปทรงต่างๆ มาเนรมิตเป็นดอกไม้ในจินตนาการ

เท่ ทน โจรยังกรีดไม่เข้า! กระเป๋าจากแผ่นรองตัด Least Studio

แผ่นรองตัดสีเขียวอื๋ออุปกรณ์คู่ใจเด็กศิลป์ไว้รองกรีด รองตัด และรองหั่น (?) เพื่อสร้างศิลปะอันบรรเจิดหรือสำหรับเสกโปรเจกต์ขึ้นมายามค่ำคืน ก่อนถูกพัฒนาโดยอดีตสถาปนิก ‘มิ้น-ธีรพล อัครทิวา’ และ ‘ออม-วรัญญา นันทสันติ’ สองผู้ก่อตั้งสตูดิโอ Least Studio ที่พัฒนาแผ่นรองตัดให้เป็นมากกว่ากระเป๋าแต่อยากเป็นต้นแบบวัสดุทางเลือกเพื่อลดการใช้หนังสัตว์

เมื่อกาว UHU และแผ่นรองตัดสวมใส่ได้

นักเรียนออกแบบในนิวยอร์กกว่า 10 ชีวิตอยากร่วมชนแก้ว เอ้ย ! เฉลิมฉลองและขอบคุณเครื่องมือและอุปกรณ์เหล่านั้นว่าพวกมันเจ๋งกว่าใคร ด้วยการนำมันมาเป็นแรงบันดาลใจในการผลิตเครื่องแต่งกายแนวสตรีทสุดมัน ‘Boolean Brands’

ปะติดปะต่อแนวคิด กราฟิกดีไซเนอร์ Pariwat Studio

องค์ประกอบยิบย่อยในเมืองที่ปะติปะต่อกันเป็นงานดิจิทัลคอลลาจ ดึงดูดให้ฉันหยุดพิจารณาและไล่สายตาดูตึกรามบ้านช่อง ป้ายร้านรวง รถราบนท้องถนน และรถเข็นขายผลไม้ ภาพแทนของกรุงเทพฯ เมืองที่เปรียบเป็นงานศิลปะคอลลาจในตัวเอง

Blue Bangkok โปรเจกต์ถอดแบบตึกเก่าในย่านเก่าเป็นของที่ระลึก

คุยกับทีม Blue Bangkok ผู้รักย่านเก่าถึงขึ้นถอดแบบตึกเก่าให้กลายเป้นของที่ระลึกสุดน่ารัก

‘ประชาธิปไทป์’ ฟอนต์สะท้อนการเมืองไทย

ในวันที่ตัวอักษรกำลังช่วยกู่ร้องเพื่อ #ประชาธิปไตย ชวนลงลึกเรื่อง ‘ตัวอักษรสะท้อนการเมือง’ อย่างถึงแก่นกับ ประชาธิปไทป์ (Prachathipatype) เพจของนักออกแบบฟอนต์ผู้เชี่ยวชาญด้านตัวอักษร และกราฟิตี้มือฉมังเทคนิคลายฉลุ Headache Stencil ซึ่งร่วมมือกันทำงานเพื่อสร้าง ‘เซ็ทตัวอักษร’ ให้เป็นชุดเครื่องมือศิลปะแห่งประชาธิปไตยที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของได้

ชวนดูการออกแบบ 7 หอพักนักศึกษาทั่วโลก ที่คิดเพื่อคนอยู่ ดีต่อใจ ไม่ใช่ห้องรูหนู

หอพักนักศึกษาประเทศอื่นหน้าตาเป็นอย่างไร เหมือนหรือต่างจากของบ้างเรากันนะ ชวนดู 7 การออกแบบหอพักนักศึกษาทั่วโลก

1 20 21 22 23 24 29

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.