‘ภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉัน’ สะท้อนชีวิตในรั้ว รร. ผ่านเลนส์กล้องฟิล์มเด็กมัธยมฯ ขอนแก่น

ตั้งแต่โควิด-19 ระบาด ชีวิตในรั้วการศึกษาของเด็กรุ่นนี้ก็ยาวนานขึ้นไปโดยปริยาย นักเรียนบางกลุ่มยังคงต้องเรียนออนไลน์ บ้างกำลังจะเปิดเทอมในวันพรุ่งนี้ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการที่เลื่อนเปิดเทอมจากวันที่ 1 มิถุนายนมาเป็น 14 มิถุนายน ซึ่งแน่นอนว่าสำหรับการเรียนแล้ว เด็กแต่ละคนย่อมมีมุมมองที่แตกต่างกัน  คอลัมน์ Urban Eyes ชวนมองภาพสะท้อนการศึกษาผ่านชุดภาพ ‘ภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉัน’ จากฝีมือเด็กนักเรียนมัธยมที่ 1 – 5 โรงเรียนน้ำพองศึกษา จังหวัดขอนแก่นที่ได้จับกล้องฟิล์มเป็นครั้งแรกในชีวิต ซึ่งเป็นกิจกรรมดีๆ จาก มูลนิธิ Teach For Thailand และ FilmGalong จังหวัดขอนแก่น ก่อนนำมาพิมพ์เป็นโปสต์การ์ดเพื่อส่งต่อความรู้สึกถึงกัน เพราะเชื่อว่าภาพหนึ่งใบสามารถสะท้อนความรู้สึกภายในใจได้อย่างมากมาย  ทางหนึ่ง…นี่อาจเป็นของที่ระลึกบันทึกความรู้สึกใน ‘ภาพปัจจุบัน’ ก่อนจะกลายเป็นอดีต และอีกทางหนึ่ง ชุดภาพ [ถ่าย] การศึกษาของฉันอาจเป็นไทม์แมชชีนพาย้อนกลับสู่ ‘ภาพวันเก่า’ ก่อนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้เช่นกัน เพื่อนสนิท – เด็กหญิงอรินนา ดุสิทธิ์ ม.2 ทำไมต้องใส่กระโปรง – นางสาวมัตตัญญุตา อภัยพลชาญ ม.5 ฉันคือใครในวันนี้ […]

หอพักพยาบาลจุฬาฯ ลบภาพอาคารซ้ำๆ ปั๊มๆ ด้วยฟังก์ชันที่พยาบาลเลือกเอง

มองไกลๆ ‘หอพักพยาบาล’ หลังใหม่ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประกอบด้วยอาคารสูงฉาบปูนสีขาวสบายตา 26 ชั้น เรียงรายไปด้วยห้องพัก 523 ห้อง ดีไซน์ระเบียงสลับเป็นแพตเทิร์นฟันปลายึกยัก (นึกถึงศิลปะกระดาษแบบ Pop-up Craft เหมือนกัน) กลางตึกคว้านเป็นรูปทรงบวก หรือสัญลักษณ์อุณาโลมแดง โลโก้สภากาชาดไทยในอดีต  มากกว่าดีไซน์ด้านนอกที่ไม่ค้านสายตาว่าสวย เก๋ ปัง เขยิบไปมองใกล้ๆ อีกนิด จะพบฟังก์ชันที่ตอบโจทย์การใช้งานจริงมากมาย ทั้งอาคารหอพักถูกแยกออกเป็นสองซีก เว้นตรงกลางและด้านข้างไว้รับลมธรรมชาติ พร้อมเปลี่ยนลานจอดรถเก่าให้เป็นพื้นที่สีเขียวหรือ Public Space ที่พยาบาลสามารถออกมานั่งหย่อนใจ คลายเครียดระหว่างพัก เช่นเดียวกับบริเวณตราอุณาโลมแดงที่ตั้งใจไว้เป็นส่วนกลาง ให้นำต้นไม้มาปลูกได้ แค่นั้นยังไม่พอ มุมอินไซด์ใกล้ชิดคนอยู่อาศัยสุดๆ ที่ Plan Architect บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรม เจ้าของผลงานลงไปนั่งล้อมคุยกับพยาบาลว่า “หอพักแบบไหนโดนใจทุกคน” ก็ว้าวตั้งแต่ดีไซน์ระเบียงห้องให้มีองศาเฉียงหลบตาตึกตรงข้ามเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัว แยกฝั่งห้องนอนและสิ่งอำนวยความสะดวกเป็นสองฝั่ง เพราะไม่ใช่ทุกคนจะสนิทกับรูมเมต (โคตรเรียล) และคำนึงถึงการลดค่าแอร์สูงลิ่วจากสภาพอากาศบ้านเราด้วยเทคนิคระบายความร้อนรอบอาคารยันห้องนอน 01 หอพักพยาบาลที่เป็นมากกว่าห้องติดๆ กัน วรา จิตรประทักษ์ และ เมฆ-นภสร เกียรติวิญญู […]

Land of lost ภาพสะท้อนชีวิตคนรุ่นใหม่ชายแดนใต้ที่ไม่อาจเติบโตเพราะเหตุการณ์ความรุนแรง

เด็กสาว ระเบิด และพื้นที่บ้านเกิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ Land of lost หรือ ดินแดนที่ต้นกล้าไม่อาจเติบโต คือผลงานภาพถ่ายของ สกีฟา วิถีกุล มุสลิมปลายด้ามขวานที่อยากบอกเล่าถึงความผิดปกติที่กลายเป็นความปกติในสามจังหวัดชายแดนใต้ของไทย จนทำให้เธอ และคนรุ่นใหม่ เสียหลายโอกาสในอีกช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดของชีวิต จนไม่อาจเติบโตได้อย่างมั่นคง เธอจึงอยากใช้ภาพถ่ายชุดนี้สะท้อนถึงความรุนแรงที่เกิดให้คนนอกด้ามขวานรับรู้ แม้จะรู้ว่าต่อให้ใช้ภาพมากมายเท่าไร ความรุนแรงที่เกิดคงไม่สงบลง “‘จะต้องมีสักคนทำเรื่องนี้ คนที่จะกล้าแสดงมันออกมาไม่ว่าในรูปแบบไหนก็ตาม’ คือคำแนะนำจากอาจารย์ซึ่งเป็นชนวนของการขุดคุ้ยความอัดอั้นตันใจต่อความรุนแรงที่เกิด ในพื้นที่บ้านเกิดจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราจึงเก็บเอาประสบการณ์เหล่านั้นมานำเสนอในรูปแบบของการถ่ายภาพเชิงศิลป์ “Land of lost หรือ ดินแดนที่ต้นกล้าไม่อาจเติบโต จึงกลายเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ สาขาการถ่ายภาพ ที่บอกเล่ามุมมองของตัวเราเอง พูดถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นจนเป็นปกติ ความเคยชินที่เราอยู่กับการไร้อิสรภาพ การถูกกักขัง ความกลัว ความเจ็บปวด หรือแม้แต่ความอยุติธรรมต่างๆ ที่เกิดกับพี่น้องในพื้นที่ ประกอบเป็นสัญลักษณ์ต่างๆ แทนค่าสิ่งนามธรรมจนเกิดเป็นรูปธรรมในผลงานชิ้นนี้ “ความไม่สงบใน ‘ดินแดน’ ที่เกิดขึ้น ไม่เพียงทำให้ ‘ต้นกล้า’ ต้นเล็กอย่างเราไม่อาจเติบโตได้อย่างมั่นคงเท่านั้น เมื่อมองให้กว้างขึ้น เราจะเห็นต้นกล้าที่เรียกว่าคนรุ่นใหม่ไม่อาจเบ่งบานได้อย่างที่ควรเป็น เราต่างหวาดกลัวที่จะเรียกร้องหรือแสดงความคิดเห็น กังวลถึงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จนไม่กล้าที่จะริเริ่ม หรือสร้างสิ่งใหม่ๆ และทำให้เสียโอกาสในช่วงชีวิตที่ดีที่สุดไป “เมื่อเหตุการณ์ยังคงอยู่ […]

‘อัครา นักทำนา’ ช่างภาพที่ทำนิตยสารจนโตมาเป็น CTypeMag Gallery ให้ทุกคนมีพื้นที่แขวนรูป

ช่างภาพสตรีทที่หันมาจับนิตยสารออนไลน์อย่าง CTypeMag ตั้งแต่ปี 2016 ล่าสุดเขากระโดดจากออนไลน์มาทำแกลเลอรีเล็กๆ ชื่อ CTypeMag Gallery ในซอยภูมิจิตร ย่านพระโขนง

จินตนาการจากผ้าปาเต๊ะ ธีสิสเย็บปักถักร้อยจากชีวิตสาวปักษ์ใต้ผู้คิดถึงบ้าน

ชวนดูศิลปนิพธ์ของสาวใต้จากจิตรกรรมฯ ศิลปากร ผู้หยิบผ้าปาเต๊ะมาสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งชวนหลงใหลบรรยากาศแดนใต้

BALL is Waiting for…ชุดภาพถ่ายแห่งการเฝ้ารอของ บอล-ต่อพงศ์ พี่คนโตแห่ง What The Duck

รอ… เรากำลังรอบางสิ่ง ระหว่างรอเลยถ่ายภาพสิ่งแวดล้อมรอบๆ ที่พักของตัวเองในวันหยุด ช่วงล็อกดาวน์ด้วยคอนเซปต์ ‘Waiting for’ แต่ละรูปเลยเต็มไปด้วยความเงียบในบรรยากาศของการเฝ้ารออะไรบางอย่างให้ผ่านไป และรอความหวังใหม่ๆ ให้เข้ามาเติมเต็ม แต่ก็ยังไม่รู้ว่าต้องรอไปอีกนานเท่าไหร่

Our Body, Our Ground ธีสิสที่เชื่อว่าไม่มีใครอยากท้องเพื่อทำแท้ง

My Body, My Choice เป็นเรื่อง Common Sense ที่สังคมควรตระหนักได้แล้วว่าหน่วยเซนติเมตรที่ถูกวัดตั้งแต่หัวจรดปลายเท้า หรือทุกอวัยวะทั้งภายนอกและภายในซึ่งประกอบกันจนเรียกว่า ‘ร่างกาย’ เป็นของแต่ละบุคคล และบุคคลเหล่านั้นมีสิทธิ์จะทำอะไรกับมันก็ได้ จริงอยู่ที่การเคลื่อนไหวทางประชาธิปไตยในเวลานี้บอกแบบนั้น กลับกัน ชารอน-โอบอุ้ม ลีลาศวัฒนกุล นิสิตจุฬาฯ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ หลักสูตรนานาชาติ แสดงทัศนะของเธอว่า “หลายคนเรียกร้องสิทธิ ตีแผ่ความเหลื่อมล้ำ ผลักดันความเท่าเทียม แต่ทำไมพอมีคำว่า ‘ทำแท้ง’ เข้ามา ถึงรับไม่ได้ เข้าใจไม่ได้ สรุปคุณก็ไม่เคารพสิทธิเนื้อตัวร่างกายของคนอื่นอยู่ดี” Our Body, Our Ground เว็บไซต์สร้างความเข้าใจถึงประเด็น ‘ท้องไม่พร้อม’ และปริญญานิพนธ์ CommDe Degree Show 2021 ที่เธอเลือกทำ เพื่อบอกสังคมว่าเรื่องนี้ควรพูดกันได้ตามปกติโดยปราศจากการตีตรา เธอใส่ช่องทางช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา เสียงของคนเคยท้องหรือทำแท้ง รวมทั้งเหตุผลหลากมิติที่คนคนหนึ่งจะตัดสินใจทำแท้ง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายทำแท้งให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น เพราะเมื่อใดที่อคติในสังคมลดลงและช่องโหว่ทางกฎหมายถูกอุด เมื่อนั้นผู้มีมดลูกจะไม่ต้องเสี่ยงกับการทำแท้งเถื่อน หรือกินยาขับเลือดซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต 01 On The Ground […]

Sculpturebangkok นักออกแบบตู้ถ่ายรูปอัตโนมัติให้เป็นงานศิลปะตั้งทั่วเมือง

“แชะ แชะ แชะ” เพียงเสี้ยววินาที ตู้ถ่ายภาพก็กดสแนปช็อตอย่างไม่ปรานีสภาพหน้า ทำให้หวนคิดถึงสมัยผมติ่ง แบกเป้เดินสยาม แล้วแวะถ่ายรูปตู้สติกเกอร์พุริคุระกับเพื่อนก่อนไปเรียนพิเศษ ยิ่งโมเมนต์โหวกเหวกในตู้แคบๆ คอยจัดแจงว่าใครยืนหน้า-หลัง กลายเป็นความทรงจำสมัยเรียนที่มีของที่ระลึกเป็น ‘ภาพถ่าย’ ขนาดจิ๋ว (เพราะต้องตัดแบ่งให้เพื่อนอีกนับสิบคน) หรือย้อนกลับไปสมัยตัวกะเปี๊ยก เวลาเจอตู้ถ่ายสติกเกอร์ตามห้าง ต้องจูงมือพ่อกับแม่วิ่งเข้าไปแอ็กท่าสักสองสามแชะ ก่อนจะได้รูปถ่ายเฟรมฟรุ้งฟริ้ง ที่เตรียมแปะอวดรูปครอบครัวพร้อมหน้า แบบไม่ต้องมีใครหายไปจากภาพ เพราะต้องถือกล้องถ่ายให้ พอรู้ตัวอีกที ตู้ถ่ายภาพในความทรงจำ ณ ตอนนั้นต่างทยอยปิดตัวจนแทบไม่เหลือให้เดินไปสแนปขำๆ กับเพื่อนกลางสยาม แต่เมื่อไม่นานมานี้ ‘ปิ่น-ลักษิกา จิระดารากุล’ และ ‘พี-สาริษฐ์ ตรัยเลิศวิเชียร’ ผู้สร้างตู้ถ่ายภาพจาก ‘Sculpturebangkok’ ได้ทำให้หลายคนต้องนึกถึงวันวานอีกครั้ง ตู้ถ่ายภาพ ‘อัตโนมือ’ ที่มาที่ไปของตู้ถ่ายภาพอันฮอตฮิต เริ่มจากปิ่นเดินทางไปนิวยอร์ก แล้วเห็นตู้ถ่ายภาพกระจายอยู่ทั่วทั้งเมือง ประกอบกับตู้ส่วนใหญ่มีม่านกั้นให้ความเป็นส่วนตัว ทำให้ปิ่นอยากเข้าไปถ่ายเรื่อยๆ เพราะตัวเองค่อนข้างเคอะเขินเวลาต้องไปแอ็กท่าจังก้าให้คนยกกล้องขึ้นมาถ่ายกลางที่สาธารณะ จากการถ่ายเพื่อเอาสนุก กลายเป็นคนชอบเช็กอินตู้ Photoautomat ในต่างแดนเป็นที่ระลึกแต่ใครจะไปคิดว่าตู้ถ่ายภาพอัตโนมัติของ Sculpturebangkok ที่เราเห็นๆ กันอยู่ตอนนี้ จะใช้ระบบ ‘อัตโนมือ’ มาก่อน!  ปิ่นบินกลับมาประเทศไทยช่วงปลายปี 2019 […]

Untitled ชุดภาพถ่ายทลาย Beauty Standard อ้วน ผอม มีแผลเป็น ไว้ขนรักแร้ก็สวยได้

ฉันมีร่างกายที่ผอมมาก และรู้สึกไม่มั่นใจในตนเองฉันมีแผลเป็น ที่ไม่ต้องการให้ใครได้เห็นฉันมีขนรักแร้ขึ้นตามธรรมชาติ แต่ไม่ต้องการกำจัดออกฉันมีรูปร่างที่อ้วน และไม่ได้รับการยอมรับจากใคร แม้แต่ตัวฉันเอง ไม่ว่าฉัน เธอ หรือผู้หญิงคนไหนจะเป็นแบบไหน จงมั่นใจว่าเราทุกคนล้วนมีความสวยงามในแบบของเราเอง เราทุกคนสมควรได้รับการยอมรับ โดยเฉพาะการยอมรับจากตัวเราเอง เหมือนชุดภาพถ่าย Untitled ของ พชร สีอ่อน ที่อยากสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าความงามของผู้หญิงอย่างไร้รูปแบบ และฉีกกรอบค่านิยมความสวยเดิมๆ “Untitled คือศิลปนิพนธ์ที่เกิดขึ้นเมื่อสองปีก่อนของเรา ซึ่งเริ่มต้นจากการบังเอิญเห็นโฆษณาผลิตภัณฑ์ดูแลผิว และการกำจัดขนชื่อ Billie ใน Project Body Hair ซึ่งสร้างความประทับใจให้เราเป็นอย่างมาก โดยตัวโฆษณานำเสนอภาพผู้หญิงหลายคนที่มีความแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ สีผิว รูปร่าง ฯลฯ แต่สิ่งที่ทุกคนมีเหมือนกันคือ ความสวยที่เปล่งประกายออกมาในแบบของตัวเอง แม้ความสวยของหลายๆ คน จะไม่เป็นไปตามค่านิยมความงามในสังคมที่เราอยู่ในตอนนั้นก็ตาม “ทำให้เราเกิดความสนใจที่จะนำเสนอความสวยงามไร้รูปแบบ ต่างจากค่านิยมเดิม ภายใต้ความคิดที่ว่า ถ้าหากในอดีต สื่อโฆษณาสามารถสร้างกรอบค่านิยมให้กับผู้บริโภคในประเทศได้ ด้วยการนำเสนอ ตอกย้ำ ผลิตความงามตามอุดมคติซ้ำๆ เพื่อขายสินค้า จนส่งผลทำให้ผู้หญิงส่วนใหญ่เกิดความไม่มั่นใจในรูปร่าง สีผิว และริ้วรอยตามธรรมชาติของตัวเอง ด้วยเพราะไม่เป็นไปตามรูปแบบความงามที่สื่อโฆษณาตั้งใจนำเสนอ ได้อย่างไรแล้ว  “เราก็เชื่อว่าการนำเสนอความสวยงามที่หลากหลาย จากคนหลายคน […]

Pica Pen ลอกคราบความเชยของเครื่องเขียนให้อยากพกติดตัว

เปิดประสบการณ์ใหม่ผ่านเครื่องเขียนกับเจ้าของและนักออกแบบแบรนด์ Pica Pen ‘ก้อง-พิชชากร มีเดช’ ที่ตกหลุมรักเครื่องเขียนตั้งแต่วันแรกที่ได้เจอ จนสานต่อมาเป็นผลงานออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

‘Soul Salt’ Paint Bar กลิ่นอายทะเลที่ยกหาดทรายมาไว้ริมเจ้าพระยาให้ทุกคนนั่งละเลงสี

รู้จัก Soul Salt เบนต์บาร์ริมเจ้าพระยา ที่ยกหาดทรายมาไว้กลางกรุง พื้นที่ที่ต้อนรับทุกคน

THE 8th CONTINENT เปิดทวีปที่ 8 ใต้มหาสมุทรทั่วโลกด้วยเลนส์กล้องของ 6 ช่างภาพใต้น้ำไทย

ทวีปที่ 8 บนดาวเคราะห์สีฟ้าที่ตั้งอยู่เป็นลำดับที่ 3 ในระบบสุริยจักรวาล ผืนดินที่เป็นพื้นที่ส่วนน้อย ของดาวดวงนี้ถูกแบ่งออกเป็นทวีปทั้ง 7 ในขณะที่ผืนน้ำซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่นั้นเชื่อมต่อกัน เป็นผืนเดียวกันได้ถูกตั้งชื่อออกเป็นมหาสมุทรทั้ง 5 ผืนน้ำ ซึ่งดูเหมือนจะรกร้างว่างเปล่า นั่นคือ ‘ต้นกำเนิดของสรรพชีวิตบนโลกใบนี้’ ที่มีพัฒนาการต่อเนื่องกันมานับล้านปีก่อนที่มนุษย์คนแรกจะถือกำเนิดมา  มนุษย์เรียนรู้เรื่องราวมากมายจากผืนดินและสภาพแวดล้อมที่อยู่รายรอบตัว หากแต่ท้องทะเล ซึ่งเปรียบเสมือนมารดาแห่งสรรพสิ่งนั้นคือทวีปที่หายไป เราเพิ่งเริ่มต้นทำความรู้จักกับท้องทะเล และมหาสมุทรอย่างจริงจังในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ร้อยปีที่ผ่านมานี้เอง นานแสนนานนับจากวันแรกที่มีสิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในท้องทะเล และวันแรกที่บรรพบุรุษของมนุษย์ได้เดินทางขึ้นมาจากท้องทะเล Deep VI คือการรวมตัวของกลุ่มช่างภาพใต้น้ำที่ประกอบไปด้วย นัท สุมนเตมีย์ ผู้ที่บันทึกภาพใต้น้ำมาตั้งแต่ยุคสมัยฟิล์ม ศิรชัย อรุณรักษ์ติชัย ช่างภาพและนักอนุรักษ์ผู้บันทึกภาพพะยูนมาเรียมที่ถ่ายทอดเรื่องราวของการอนุรักษ์ออกไปทั่วโลก ภานุพงศ์ นรเศรษฐกมล ผู้ที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในท้องทะเลในพื้นที่ห่างไกลของอินโดนีเซีย ธนากิจ สุวรรณยั่งยืน และ พิพัฒน์ โกสุมลักษมี ช่างภาพมือรางวัลระดับนานาชาติ และ บารมี เต็มบุญเกียรติ ช่างภาพสัตว์ป่ามืออาชีพ  พวกเราทั้ง 6 คนอยากถ่ายทอดเรื่องราวของทวีปที่ 8 ซึ่งชื่อ ใต้ทะเล ให้คุณรู้จัก และเข้าใจผ่าน THE 8th […]

1 17 18 19 20 21 29

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.