‘ต้า Paradox’ ร็อกสตาร์แห่งวงการพระเครื่อง ผู้กำลังเขียนหนังสือพระฉบับเยาวชน

ย้อนกลับไปเมื่อสองสามเดือนที่แล้ว กองบรรณาธิการ Urban Creature ได้ให้กำเนิดคอลัมน์ Another Me เพื่อเล่าอีกมุมของคนดังในแบบที่เราไม่รู้จักมาก่อน และประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจมากระหว่างการประชุม คือการค้นพบว่าชีวิตล่างเวทีของ ต้า พาราด็อกซ์ หรือ อิทธิพงศ์ กฤดากร ณ อยุธยา นิยมชมชอบการส่องพระอยู่ไม่น้อย แน่นอนว่าการส่องพระ เล่นพระ จะเป็นงานอดิเรกของใครก็ได้ แต่เวลาไปดูคอนเสิร์ตพาราด็อกซ์ สิ่งที่เราเห็นคือความบ้าคลั่งในการแสดง และใส่กันไม่ยั้งทั้งคณะ ปลุกอารมณ์แฟนเพลงให้พลุ่งพล่านมากว่า 20 ปี จนแทบนึกไม่ออกว่าฟรอนต์แมนผู้สับสายกีตาร์อย่างเมามัน นั้นอยู่ในโหมดไหนในวงการพระ จะเป็นแนวนักเลงเก๋าๆ ห้อยพระเต็มคอ หรือเป็นเซียนพระมืออาชีพด้านการแลกเปลี่ยนทำกำไร  สารภาพตรงนี้ว่าเดาไม่ถูกจริงๆ จนต้องต่อสายถึงพี่ต้าในวันที่โลกข้างนอกยังไม่อนุญาตให้เราออกมาเจอกัน และขออนุญาตชวนคุณผู้อ่านที่ไล่สายตาถึงตรงนี้มารู้ไปพร้อมกันว่า จากยืนมองท้องฟ้าไม่เป็นเช่นเคย พี่ต้าของเราหันมายืนส่องพระหน้าแผงได้ยังไง  เดบิวต์เข้าวงการ ผมไม่แน่ใจนักว่านักดนตรีที่เดินทางทัวร์คอนเสิร์ตทั่วประเทศไทยจะได้อะไรติดไม้ติดมือกลับมาฝากคนที่บ้าน ถ้าเป็นกรณีทั่วไปเวลาไปเที่ยวต่างจังหวัด ผมนึกถึงของฝากประเภทของกิน เช่น โรตีสายไหมของอยุธยา ไส้อั่ว แคบหมูจากเชียงใหม่ ขนมหม้อแกงของบรรดาแม่กิม แต่ลองได้ชื่อว่าเป็นร็อกสตาร์ อะไรแบบนั้นคงธรรมดาไป  “ตั้งแต่เริ่มทัวร์คอนเสิร์ตเมื่อยี่สิบปีที่แล้ว เวลาที่ไปต่างจังหวัดจะไปไหว้พระ แต่ก็ยังไม่ได้ศึกษาอะไรมาก อาศัยว่าเจอวัดไหนก็เข้าวัดนั้น พระเครื่องเป็นของฝากที่รู้สึกว่าแปลกดี เพราะต้องไปให้ถึงวัด ไม่ใช่จะไปเช่าที่ไหนก็ได้ […]

ไม่ใช่เลขมงคล แต่น่าสนใจ ’11 ตัวเลข’ บอกความเป็นไปของไทย

Urban Report ชวนไปเช็กสถานะประเทศไทย ผ่านสถิติ และชุดตัวเลข ที่ทำหน้าที่เหมือนเข็มทิศคอยบอกว่าเราจะเดินหน้าต่อไปทางไหน และประเทศไทยเป็นไงบ้าง ?

‘LED Farm’ โรงงานผลิตพืชด้วยหลอดไฟ สะอาดจนไม่ต้องล้าง และมีผักทุกฤดูกาลให้กินทั้งปี

เมื่อไรก็ตามที่เราได้ยินคำว่า ‘อาหารที่ผลิตจากโรงงาน’ ถึงจะไม่รู้สึกแย่สักเท่าไหร่ แต่ก็คงไม่ใช่ตัวเลือกต้นๆ สำหรับคนรักสุขภาพแน่นอน ยิ่งนักเขียนนิยายคนไหนใช้คำบรรยายว่า ‘โรงงานผลิตพืช’ ผู้อ่านอย่างผมคงนึกไปถึงสถานที่แออัดซอมซ่อ บรรยากาศทะมึนๆ มีคนงานใช้สารพันสารเคมี แล้วประกอบผักสักต้นขึ้นมาทีละส่วนบนสายพานการผลิตเป็นแน่แท้ แต่นับเป็นโชคดีของคุณผู้อ่าน Urban Creature ที่เฟซบุ๊กมีระบบโชว์ภาพปกก่อนจะลิงก์เข้ามายังบทความเรื่องนี้ เพราะคุณคงเห็นแล้วแน่ๆ ว่าโรงงานผลิตพืชแห่งนี้เป็นคนละเรื่องกับที่ผมเคยนึกถึง เพราะดูสะอาดสบายตา มีผักสีเขียวที่ดูสดกรอบ หน้าตาไม่เลว แถมพนักงานยังไม่ทำหน้าทำตาอึมครึมใส่กันอีกด้วย ผมจึงอยากชวนมารู้จักฟาร์มผักใจกลางเมืองที่ใช้หลอดไฟแทนแสงอาทิตย์ ผ่านมุมมองของ วา-ยวิษฐา คนธรรพ์สกุล กรรมการผู้จัดการ LED Farm ที่มีผักสดคุณภาพดีให้เรากินตลอดปี คุณภาพเหมือนกันทุกล็อต แถมควบคุมสารอาหารได้อย่างกับออกมาจากโรงงาน (ก็ออกมาจากโรงงานนั่นแหละ) อดีตผลิตหลอดไฟ ปัจจุบันทำโรงงานพืช การต่อสู้ด้วยราคาเป็นสนามที่บรรดาผู้ประกอบการไม่อยากลงไปเล่นมากที่สุด เช่นเดียวกับ ซีวิค มีเดีย จำกัด บริษัทแม่ของ LED Farm ที่เคยเป็นเต้ยในธุรกิจผลิตจอภาพ หลอด LED แต่โดนอุตสาหกรรมใหญ่จากแดนมังกรเข้ามาแข่งขันเรื่องราคาที่ถูกกว่าถึงเท่าตัว จึงเลือกเดินหน้าเข้าสู่ธุรกิจใหม่ เริ่มศึกษาวิธีคิดและนวัตกรรมใหม่โดยยึดพื้นฐานเดิมเป็นตัวตั้ง  ทายาทรุ่นลูกอย่างวาเล่าให้ฟังว่า ชิงชัย คนธรรพ์สกุล คุณพ่อของเธอไปเห็นโมเดลการปลูกพืชด้วยหลอดไฟแอลอีดีจากประเทศญี่ปุ่น ที่เรียกว่า PFAL (Plant […]

จากเพจอยากดูหนังถึง ‘Lorem Ipsum’ พื้นที่ฉายหนังทางเลือกให้คนหาดใหญ่ได้ชม

ย้อนกลับไปเมื่อ 4 – 5 ปีก่อน สมัยยังเป็นนักศึกษาคณะนิเทศฯ ทำให้กลุ่มคนที่วนเวียนอยู่รอบตัวล้วนแล้วแต่เป็นคอหนังด้วยกันทั้งสิ้น จำได้ว่าถึงจะเรียนอยู่เชียงใหม่ จังหวัดใหญ่แห่งเมืองเหนือ แต่ก็ไม่วายที่หนังใหญ่บางเรื่องจะไม่เข้าฉาย ซึ่งตอนนั้นเราก็ไม่รู้เหตุผลเหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร  นอกจากเสียงบ่นของเพื่อนพ้องน้องพี่แล้ว อีกหนึ่งความไม่พอใจที่เห็นกันชัดๆ คือในเฟซบุ๊กมีเพจเรียกร้องให้เอาหนังมาฉายที่จังหวัดตัวเองผุดขึ้นเต็มไปหมด ไม่ต่างกับที่หาดใหญ่ซึ่ง ต้น–พรชัย เจียรวณิช ในฐานะคนรักหนัง ก็อดประหลาดใจไม่ได้ว่าทำไมภาพยนตร์บางเรื่องที่ดังระดับประเทศ แถมยังเป็นหนังระดับฮอลลีวูดที่หากเปิดให้เข้าชมในโรงฯ คนดูก็ไม่โหรงเหรงแน่ๆ แต่ทำไมคนต่างจังหวัดกลับไม่มีสิทธิ์ได้ดู  เรื่องนี้ฉายเหอะ…คนต่างจังหวัดอยากดู ต้นเล่าให้ฟังว่าภาพยนตร์ที่จะฉายในหาดใหญ่ถูกสกรีนด้วย ‘สายหนัง’ (ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์) ที่จะคัดเลือกหนังที่มีแนวโน้มจะทำรายได้ดีเข้ามาฉายในพื้นที่ แต่บางทีก็แปลกใจเหมือนกันว่าทำไมภาพยนตร์อย่าง Sing Street ที่เป็นหนังแมส คนอยากดูก็เยอะทำไมไม่เข้าโรงภาพยนตร์ที่หาดใหญ่ ด้วยความเก็บกดก็เลยเปิดเพจชื่อ ‘เรื่องนี้ฉายเถอะ คนหาดใหญ่อยากดู’ เพื่อเป็นพื้นที่ในการแสดงออก  ก่อนจะพบว่ามีกลุ่มคนที่อัดอั้นตันใจอยู่ไม่น้อย จึงเข้าไปคุยกับโรงภาพยนตร์เพื่อหาทางออกร่วมกัน  “ทีแรกเขาบอกว่าให้ไปรวมกลุ่มกันมาว่ามีคนดูกี่คน แต่เราส่งตัวเลขไปก็ไม่เกิดอะไรขึ้น ก็เลยมองไปที่การเช่าเหมาโรงฯ แล้วไปดีลกับค่ายหนังแทน ทีนี้เราก็เป็นเหมือนคนจัดฉายหนัง ลองหาดูว่าเรื่องไหนมีศักยภาพที่จะดึงคนมาดูแล้วเราไม่เจ็บหนักมากกับราคาเหมาโรงฯ ที่สองหมื่นบาท บางเรื่องก็คัฟเวอร์ บางเรื่องก็เข้าตัว แต่อย่างน้อยก็เป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้คนเข้าถึงหนังได้ “แต่ปัญหาคือดีลกับโรงหนังแต่ละครั้ง กลายเป็นต้องเริ่มใหม่ทุกรอบ เพราะคนที่รับเรื่องเป็นคนละคน แถมราคาที่เสนอมาก็ไม่เท่ากัน เลยรู้สึกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง” เมื่อผิดหวังกับระบบของโรงภาพยนตร์ และหวังจะสร้างคอมมูนิตี้ของคนรักหนังในหาดใหญ่ […]

LARQ กระบอกน้ำใบแรกของโลกที่ทำความสะอาดตัวเองและน้ำให้ปลอดภัยดื่มได้ใน 60 วินาที

ซาร่า (นามสมมติ) คุณเคยประสบปัญหานี้หรือไม่ อยากลดพลาสติกใจจะขาด แต่เจออากาศร้อนๆ ทีไร ก็ต้องแวะเข้าไปซื้อน้ำมาดื่มให้เย็นชุ่มชื่นหัวใจทุกที  ใช่ค่ะ จอร์จ​ (นามสมมติ) ครั้นจะพกกระบอกน้ำติดตัวแต่บางทีก็มีกลิ่นเหม็นอับเหมือนไม่ได้ล้างมาหลายวัน ดื่มแต่ละทีแทบจะเบือนหน้าหนี มันทำให้ชีวิตของฉันลำบากมากๆ เลยล่ะ  อย่าพึ่งตกใจไปซาร่า เพราะถ้าคุณใช้กระบอกน้ำของ LARQ ที่มีเทคโนโลยี UV-C LED ปัญหาทุกอย่างจะหมดไป ชีวิตของคุณจะดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น เพราะมีแสงยูวีคอยฆ่าเชื้อโรคให้โดยไม่ต้องเสียเวลาล้างกระบอกน้ำ แถมยังทำให้น้ำประปา หรือน้ำจากแหล่งน้ำในธรรมชาติ สะอาดจนดื่มได้ภายใน 60 วินาที  โอ้วว มันเยี่ยมไปเลยค่ะจอร์จ แล้วถ้าฉันอยากได้บ้างต้องทำอย่างไร  ไม่ต้องด่วนตัดสินใจหรอกซาร่า และก็ไม่ต้องรีบต่อสายไปที่ไหน ลองอ่านบทความข้างล่างนี่ก่อน แล้วค่อยตัดสินใจก็ไม่เสียหายยย  (เหตุการณ์ข้างต้นก็เป็นเรื่องสมมติ แต่เหตุการณ์ข้างล่างเป็นเรื่องจริง) กระบอกน้ำทำความสะอาดตัวเองใบแรกของโลก ในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ LARQ มีคำอธิบายตัวตนของพวกเขาแบบง่ายๆ ด้วยถ้อยคำไม่กี่ประโยคว่า “LARQ ถือกำเนิดขึ้นจากวิสัยทัศน์ที่เรียบง่าย ด้วยการนำเทคโนโลยีล้ำสมัยมาผสมผสานกับการออกแบบที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ เพื่อช่วยให้ผู้คนเข้าถึงน้ำดื่มบริสุทธิ์ได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน”  อย่างที่ทราบกันตั้งแต่ประถมวัยครับว่า ‘น้ำ’ คือต้นกำเนิดของชีวิต และเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตอยู่ทั้งในเชิงอุปโภคและบริโภค เพียงแต่ว่าในหลายสิบปีให้หลังมานี้ บรรจุภัณฑ์ที่บรรจุน้ำดื่มกลายเป็นขยะพลาสติกจำนวนมหาศาลที่เริ่มกระทบกระเทือนและเป็นอันตรายต่อชีวิตของพวกเรามากขึ้นเรื่อยๆ Justin Wang ในฐานะ […]

อย่าโดนเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพวัคซีน COVID-19 หลอก!

หากดูเผินๆ ‘เปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพ’ น่าจะเป็นสิ่งที่บอกว่าวัคซีนตัวไหนมีดีกว่ากัน และตัวเลข 95 เปอร์เซ็นต์ก็ดูน่าเชื่อมั่นกว่า 66 เปอร์เซ็นต์ เป็นไหนๆ แต่ที่จริงแล้ว ตัวเลขที่ห่างกันเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถระบุว่าวัคซีนตัวไหนมีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิด-19 มากกว่ากัน เพื่อตอบคำถามว่าทำไมตัวเลขที่สูงจึงไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ก็ต้องย้อนกลับไปดูก่อนว่าเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีน มีที่มาจากอะไร  ในการทดสอบว่าวัคซีนจะใช้งานได้จริง นักวิทยาศาสตร์จะแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่มด้วยกัน คือกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับวัคซีนจริงๆ โดยจะปล่อยให้กลุ่มตัวอย่างออกไปใช้ชีวิตตามปกติ เพื่อติดตามผลว่าทั้งสองกลุ่มนี้มีกี่รายที่จะติดเชื้อ  หากเราสมมติจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 10,000 คน สุดท้ายแล้วมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด 100 รายจากกลุ่มที่ได้วัคซีนจริงและยาหลอกเป็นจำนวนเท่ากันที่ 50 คน เท่ากับว่าเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีนชนิดนี้คือ 0 เพราะไม่ว่าคุณจะได้รับวัคซีนหรือไม่ ก็มีโอกาสติดเท่ากัน แปลว่าวัคซีนนี้ไม่มีความสามารถในการป้องกันการติดเชื้อแม้แต่น้อย  แต่ถ้าผลออกมาว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกมีผู้ติดเชื้อทั้งหมด 95 คน แต่ผู้ที่ได้วัคซีนมีคนติดเชื้อแค่ 5 คนเท่านั้น นั่นแปลว่าวัคซีนตัวนี้มีเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพสูงถึง 95 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งการหาเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพของวัคซีนทุกชนิดใช้วิธีเดียวกันนี้ทั้งหมด ทำให้ดูเหมือนว่าวัคซีนที่มีเปอร์เซ็นต์ประสิทธิภาพมากกว่าต้องได้ผลมากกว่าตามไปด้วย แต่ที่จริงแล้วมีรายละเอียดในการทดสอบมากกว่านั้น   เปอร์เซ็นต์จะมีผล ถ้าวัดในสถานการณ์เดียวกัน ในบรรดาวัคซีนหลายตัวจะเห็นว่า Pfizer-BioNTech […]

Starboard แบรนด์กีฬาทางน้ำของแชมป์โลก Windsurf ที่ผลิตบอร์ดจากขยะทะเล ขยะครัวเรือน

ท่ามกลางฤดูกาลที่เงียบสงบสองฟากฝั่งของทะเลไทยทั้งอ่าวไทยและอันดามันกำลังเฝ้ารอวันที่คลื่นลมจะหวนกลับมา เพื่อต้อนรับนักเซิร์ฟจากทั่วทุกสารทิศให้กลับมาวาดลวดลายบนปลายคลื่นอีกครั้ง  ในฐานะกีฬาที่ต้องเอาร่างกายออกไปปะทะสายน้ำ จึงทำให้ความนิยมของกีฬาประเภทนี้เติบโตขึ้นไปพร้อมกับแนวคิดเรื่องการปกปักรักษาธรรมชาติ  เมื่อสองปัจจัยผสานกันไปราวกับเกลียวคลื่นเราเลือกที่จะเดินทางไปพูดคุยกับ สเวน รัสมุสเซ่น (Svein Rasmussen) อดีตนักกีฬาวินด์เซิร์ฟแชมป์โลก ผู้ก่อตั้ง Starboard ผู้ผลิตเซิร์ฟบอร์ดและอุปกรณ์กีฬาทางน้ำที่ไม่คิดจะทำ CSR แต่มีภารกิจหลักเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เคยเก็บขยะบนชายหาดตั้งแต่บางแสนถึงสัตหีบ ปลูกต้นโกงกางเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์นับ 650,000 ต้น แถมยังคิดภาษีให้ตัวเองเมื่อจำเป็นต้องใช้พลาสติก จนไม่ได้หยุดความนิยมอยู่ที่นักโต้คลื่น แต่กลายเป็นที่รักของทุกคนที่มีใจให้สิ่งแวดล้อม  แบรนด์ที่กำเนิดท่ามกลางดวงดาว  ย้อนกลับไปในปี 1994 ริมชายหาดแห่งหนึ่งของฮาวายในวันที่ฟ้าเปิดและมองเห็นดวงดาวได้ชัดเจน นักกีฬาวินด์เซิร์ฟที่ประสบความสำเร็จระดับโลกในวัย 30 ปี กำลังมองหาคลื่นลูกใหม่ให้กับชีวิตหลังเกษียณ  แม้จะมีไอเดียอยู่เต็มหัว แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับชายที่เอาจริงเอาจังเรื่องกีฬาตั้งแต่เด็ก และไม่ได้สนใจเรื่องโรงเรียนแม้แต่น้อยที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจสักอย่างหนึ่ง  “ตั้งแต่เด็กกีฬาเป็นสิ่งเดียวที่ทำให้เลือดลมของผมสูบฉีด ผมไม่ได้รู้อะไรมากนักเพราะไม่เคยทุ่มเทให้การเรียน เพราะฉะนั้น คงไปสมัครงานที่ไหนไม่ได้แน่ๆ สิ่งที่แน่นอนคือเวลานี้เหมาะที่สุดในการจะเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ และผมรู้ดีมากเกี่ยวกับวินด์เซิร์ฟ ตอนนั้นไอเดียเกี่ยวกับธุรกิจอัดแน่นอยู่เต็มหัว สิ่งเดียวที่ผมยังไม่แน่ใจคือจะเรียกมันว่าอะไรดี “คืนนั้นผมนั่งอยู่ที่ฮาวาย พยายามค้นหาชื่อที่เหมาะ ในขณะที่คำตอบยังไม่ออกมาให้เห็นก็มองดูดวงดาวไปเรื่อยเปื่อย พร้อมคิดไปด้วยว่าดาวแต่ละดวงต้องการจะบอกอะไรเรา  “ผมชอบดาราศาสตร์ จึงพอรู้ว่าดาวแต่ละดวงมีความหมายในตัวเอง ตอนนั้นเองผมคิดว่าชื่อ Star (ดวงดาว) ก็เป็นอะไรที่โอเคแล้ว แต่ในเมื่อดวงดาวมันเรียงกันเป็นแนว (Border) และเรากำลังจะผลิตบอร์ด (Board) ก็เป็นที่แน่นอนแล้วว่าแบรนด์นี้ต้องชื่อ […]

ภูเก็ต พัชทรีทัวร์ กับเรือท่องเที่ยวไฟฟ้าลำแรกในไทย ภารกิจไม่ใช่กำไรแต่เป็นปกป้องทะเล

หาดป่าตองที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยวตลอดทั้งวัน ย่านเมืองเก่าที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และของอร่อย ฝูงปลาที่แหวกว่ายอยู่ในปะการังที่สิมิลัน พระอาทิตย์ตกดินที่แหลมพรหมเทพ หรือเขาตะปูที่เป็นฉากหลังของภาพยนตร์เรื่องเจมส์ บอนด์ อะไรที่ทำให้นักท่องเที่ยวติดอกติดใจภูเก็ตจนขึ้นชื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับโลกที่มีบทความแนะนำเต็มไปหมด หันกลับมามองที่ปัจจุบันแม้จะอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ที่เป็นตอนกลางของช่วง High Season คลื่นลมมรสุมไม่มีทีท่าว่าจะกระหน่ำเข้ามา แต่ภูเก็ตกลับไม่มีนักท่องเที่ยวหนาตาอย่างที่เคย ในช่วงที่ธุรกิจกำลังซบเซาหัวเรือใหญ่ของภูเก็ต พัชทรีทัวร์ บริษัทนำเที่ยวที่อยู่คู่ภูเก็ตมากว่ายี่สิบปีอย่างโกดำ-ไชยา ระพือพล กลับเลือกเปลี่ยนหมากบนหน้ากระดาน ด้วยการเปิดตัวเรือนำเที่ยวที่ใช้พลังงานไฟฟ้าร้อยเปอร์เซ็นต์ การปฏิวัติวงการในครั้งนี้ทำให้เราอดไม่ได้ที่จะขอเดินทางข้ามสะพานสารสิน เพื่อเรียนรู้มิติใหม่ของการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ที่ไม่ได้หวังกำไรแต่เอาธรรมชาติเป็นตัวตั้ง  ภูเก็ตในความทรงจำ ย้อนกลับไปราวๆ 20 ปีที่แล้ว อาชีพแรกของโกดำหลังข้ามทะเลมาที่ภูเก็ตคือการเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่โรงแรมฮิลตัน ภูเก็ต อาร์คาเดีย รีสอร์ต แอนด์ สปา โรงแรมเก่าแก่ที่มีวิวทะเลเป็นหาดกะรน อะคาเดมีที่ฝึกปรือวิชาให้ลูกชาวสวนที่มีปริญญาประดับตัวอย่างโกดำเรียนรู้สารพันวิชาในธุรกิจท่องเที่ยวก่อนจะลงจากเขาเหลียงซาน และเริ่มก้าวแรกในฐานะเจ้าของกิจการ “แต่ก่อนเป็นลูกชาวสวน มาจากกระบี่แบบไม่มีอะไรเลย มีแต่ความรู้ พอมาที่นี่ก็ได้โอกาสได้ฝึกทำอะไรหลายอย่าง พัชทรีทัวร์คือที่ทำงานที่ที่สอง ช่วงแรกเมื่อประมาณสักยี่สิบปีที่แล้วก็เช่าเรือแคนูมาทำทัวร์ล่องเรือ ผมชอบทำอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับธรรมชาติหรือการอนุรักษ์ หัวใจเราเป็นอย่างนี้”  เพราะมีเสน่ห์ไม่เหมือนใคร แถมยังงดงามไปทั่วทุกตารางนิ้ว ทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวของภูเก็ตเป็นที่หมายปองของใครต่อหลายคน ยิ่งจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามามากเท่าไหร่ ธุรกิจก็ยิ่งเฟื่องฟูมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะมีผลทำให้ตัวเลขทางเศรษฐกิจของเมืองติดอันดับประเทศและสร้างชื่อเสียงระดับนานาชาติ แต่โกดำกลับมองว่า ยิ่งมีปริมาณผู้เล่นในเกมมากเท่าไหร่ และทุกคนสนใจแต่ตัวเลข สิ่งนี้ย่อมไม่ใช่การแข่งขันที่ยั่งยืน รวมถึงธรรมชาติที่เคยงดงามได้เสียหายลงไปทุกวัน “เราไม่ได้แข่งกันให้มันดีขึ้น เราแข่งกันให้มันเลวลง […]

จากรันเวย์สู่ลู่วิ่ง จีนเปลี่ยนสนามบินเก่าเป็นสวนสาธารณะ

ชวนไปดูพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของเซี่ยงไฮ้ ที่หยิบเอารันเวย์เก่าของสนามบินที่ปิดบริการมาตั้งแต่ปี 2011 มาปัดฝุ่นใหม่อย่างน่าสนใจ ด้วยการออกแบบโดยอิงจากประวัติศาสตร์ของสถานที่ จึงออกมาเป็นสวนสาธารณะทางยาวรูปร่างเหมือนกับรันเวย์ที่เปลี่ยนจากเครื่องบินมาให้คนวิ่ง แถมยังจัดสวนเล็กๆ ระหว่างทางเดิน แทนที่โล่งกว้างข้างๆ รันเวย์ ที่เห็นในสนามบินทั่วไป และยังมีสวนซับน้ำฝน และอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่เข้ามาช่วยให้คุณภาพน้ำไปจนถึงคุณภาพดินของเซี่ยงไฮ้ดีขึ้นอีกด้วย  สนามบินเก่าสู่พื้นที่สาธารณะ ‘Longhua Airport’ คือสนามบินพาณิชย์ที่อยู่คู่คนเซี่ยงไฮ้มาตั้งแต่ปี 1949 – 2011 หลังจากปลดประจำการมาเป็นเวลานาน บริษัทสถาปนิก Sasaki เจ้าของคอนเซปต์ Better design, together ก็ใช้พลังแห่งการออกแบบชุบสนามบินเก่าให้กลับมามีชีวิตอีกครั้งในชื่อ ‘Xuhui Runway Park’  พวกเขาเปลี่ยนรันเวย์สำหรับเครื่องบิน เป็นสวนสาธารณะแนวยาวตามรูปแบบของรันเวย์ดั้งเดิม ตลอดเส้นทาง 1,830 เมตร โดยมีทั้งทางเดินสำหรับชื่นชมสวนดอกไม้ พร้อมลู่วิ่ง และเลนจักรยานสำหรับผู้ที่ต้องการออกกำลังกายท่ามกลางความร่มรื่น เพราะพื้นที่สีเขียวคือชีวิต ‘Dou Zhang’ ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโสของ Sasaki บอกว่า สวนสาธารณะแห่งนี้คือนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยฟื้นฟูเมืองและเติมลมหายใจให้เซี่ยงไฮ้  ซึ่งสวนนี้ออกแบบโดยคำนึงถึงประวัติศาสตร์ของสถานที่ แต่ในขณะเดียวกันก็ใส่ความทันสมัยลงไปเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งานที่หลากหลาย เพราะคำนึงถึงผู้ใช้งานทุกกลุ่มได้ทำกิจกรรมที่ตนเองต้องการและผ่อนคลายได้อย่างเต็มที่โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย   ไม่ทิ้งเสน่ห์ดั้งเดิม เซี่ยงไฮ้คือเมืองที่เติบโตอย่างไม่หยุดยั้งด้วยจำนวนประชากรที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้พวกเขามองหาหนทางเพิ่มพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่อยู่เสมอ แต่ในขณะเดียวกันชาวเซี่ยงไฮ้ก็ยังโอบกอดประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของพวกเขาไว้อย่างงดงาม  เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสวยงามในอดีต […]

‘พื้นที่สาธารณะน้อยลง คนโสดก็ยิ่งเยอะขึ้น’ ดูความสัมพันธ์ที่แปรผันไปกับเมือง

ถ้าคุณเคยดูหนังรอมคอมผ่านตามาบ้าง คิดว่าฉากไหนโรแมนติกมากกว่ากัน ระหว่างดาราสาวสวยระดับโลกมาพบรักกับคนขายหนังสือเดินทางในร้านสถานะใกล้เจ๊งที่ย่านนอตติงฮิลล์ หรือวิศวกรหนุ่มหล่อที่เข้างานกะดึกบังเอิญมาเจอกับสาวออฟฟิศบนรถไฟฟ้าที่แน่นขนัด แม้จะเป็นเรื่องราวความรักที่สวยงามที่สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะด้วยกันทั้งคู่ แต่ฉากหลังของภาพยนตร์สองเรื่องนี้ถ้าเปรียบกันแบบน่ารักๆ ก็เรียกว่าพลิกจากหน้ามือกับหลังมือ เพื่อหาคำตอบว่าทำไมฉากหลังของกรุงเทพฯ  ถึงดูเหมือนจะไม่ค่อยตอบโจทย์คู่รักหรืออบอวลไปด้วยกลิ่นอายโรแมนติกเหมือนในลอนดอนหรือเมืองชั้นนำในหลายประเทศ เราจึงชวน ‘รศ.ดร.พนิต ภู่จินดา’ หัวหน้าภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ‘ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ’ มาหาคำตอบร่วมกันว่าปัจจัยอะไรที่จะสร้างความสัมพันธ์อันดีงามให้เกิดขึ้นในเมืองหลวงของเรา และจะมีวันไหนที่กรุงเทพฯ จะกลายเป็นมหานครที่เต็มไปด้วยความโรแมนติกกับเขาบ้าง  จำเลยรัก คนเราจะรักกันได้อย่างไรถ้าไม่เคยเจอหน้ากัน และจะมีความสัมพันธ์กันแบบไหนหากไม่มีพื้นที่สาธารณะ ก่อนจะท่องไปในโลกของความสัมพันธ์อันแสนล้ำลึกอาจารย์พนิตชวนเราก้าวถอยหลังออกมามองบริบทของกรุงเทพฯ เพื่อให้เห็นภาพต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น  “เมืองเรามีปัญหาอยู่อย่างหนึ่งคือเป็น Gated Community หรือสังคมล้อมรั้ว มีหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม ที่ดึงเอาสวนสาธารณะ ลานออกกำลังกาย หรือพื้นที่ที่คนจะมารวมตัวกันเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของตัวเอง ทำให้เกิดเป็นชุมชนปิดเพราะมีแต่คนประเภทเดียวกันที่มีราคาบ้านเป็นตัวกำหนด “จะเห็นว่าคนไทยมีคนรักที่อยู่ในสังคมเดียวกันเป็นหลัก เป็นเพื่อนที่เรียนหรือทำงานด้วยกันด้วยกัน เพราะโอกาสที่จะรู้จักกับคนอื่นมีน้อยมาก หากจะเริ่มความสัมพันธ์กับใครคุณจะไปเจอเขาที่ไหน ยิ่งมีพื้นที่ส่วนตัวมากเท่าไหร่ยิ่งทำให้มีคนโสดมากขึ้น” นอกจากสังคมแบบปิดจะทำให้คนรักไม่มีวันได้พบกันแล้ว ยังทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย อาจารย์พนิตบอกว่า สังคมปิดจะทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างชนชั้นชัดเจน และความหลากหลายทางเศรษฐกิจก็จะลดลง เพราะเราเคยชินกับการมีพื้นที่ของตัวเองจนลดการปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นลงไป สินค้าทุกอย่างก็จะกลายเป็นแบบเฉพาะกลุ่มมากขึ้น Economy of Scale หรือสินค้าที่ผลิตปริมาณมากเพื่อขายราคาถูกก็จะน้อยลง เศรษฐกิจจะกระจุกตัวอยู่กับคนแต่ละชนชั้นเท่านั้น  เศรษฐกิจสีชมพู ค่าครองชีพที่สูงชะลูดเมื่อเทียบกับรายได้เฉลี่ยอาจจะทำให้ความสัมพันธ์ของใครหลายคนต้องเป็นหมัน […]

The End of the Storm ภาพยนตร์ของเด็กหงส์ ที่ทุกคนต้องหลงรัก

ย้อนกลับไปในปี 2015 ที่เจอร์เกน คล็อปป์ก้าวขึ้นมาคุมบังเหียนลิเวอร์พูล สถานการณ์ของทีมเป็นไปอย่างไม่สู้ดีนัก ดาวดังพากันเก็บกระเป๋าไปทีมอื่น และผู้เล่นชุดปัจจุบันก็ยังพิสูจน์ตัวเองได้ไม่ดีพอ ข้อความแรกที่เขาส่งไปหาแฟนบอลคือพวกเขาต้องเปลี่ยนความสงสัยให้กลายเป็นศรัทธา หลังจากนั้นเกือบ 5 ปี กุนซือชาวเยอรมันทำตามคำมั่นได้สำเร็จ เพราะนอกจากหัวใจของแฟนบอลจะเปี่ยมไปด้วยความเชื่อมั่น พวกเขายังได้รางวัลใหญ่ติดไม้ติดมือไปอีกต่างหาก สารคดีเรื่องนี้พาเราย้อนเหตุการณ์ 5 ปีที่ผ่านมาอย่างรวบรัด และโฟกัสไปที่ฤดูกาล 2019/20 เป็นหลัก โดยนอกจากเจอร์เกน คล็อปป์ ผู้เล่าเรื่องหลักคือ เซอร์ เคนนี่ ดัลกลิช อดีตผู้จัดการทีม และสองนักเตะตัวหลักอย่างจอร์แดน เฮนเดอร์สัน และเฟอร์จิล ฟาน ไดก์ พร้อมนักเตะในทีมอีกหลายคน แต่น่าเสียดายที่ไม่ได้มากันครบทั้งหมด แต่หนังก็ได้เติมความพิเศษด้วยการติดตามวิถีชีวิตของแฟนบอลลิเวอร์พูลทั่วโลก เบื้องหลังที่เต็มไปด้วยพลัง ยอดกุนซือในตำนานอย่างเซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เคยบอกไว้ว่า เกมรุกจะทำให้คุณชนะ แต่เกมรับจะทำให้คุณเป็นแชมป์ คล็อปป์เห็นด้วย และบอกว่ามันคงสุดยอดถ้าเราทำได้ดีทั้งสองฝ่าย  The End of the Storm ไม่ได้ลงลึกไปถึงแทคติกและแนวคิดการเล่นเพื่อเอาใจแฟนบอลพันธุ์แท้ แต่หนังเน้นไปที่อารมณ์ร่วมของกุนซือและนักเตะมากกว่า เราเห็นคล็อปป์หัวฟัดหัวเหวี่ยงกับการเล่นแบบอันตรายของทีมตรงข้าม เห็นความเป็นผู้นำร่วมกันในห้องแต่งตัวของนักเตะ ที่ทุกคนตั้งมั่นต่อสู้ร่วมกันเพื่อเอาชนะอาถรรพ์ในการไม่ได้แชมป์มานานถึง 30 ปี  […]

ส่องนโยบายสิ่งแวดล้อมโลกปี 2021

ปฏิทินหมุนเข้าปี 2021 เข็มชีวิตเดินไปข้างหน้าในขณะที่นาฬิกาโลกกำลังนับถอยหลัง ในปีที่ผ่านมาการละลายของแผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่กรีนแลนด์เดินเข้าสู่จุดที่ไม่มีวันหวนกลับ ภัยธรรมชาติหลายอย่างกำลังรุมเร้าจนสถานการณ์ของโลกตั้งอยู่ในความไม่แน่นอน   แม้ธรรมชาติกำลังสะสมขุมกำลังเพื่อเดินหน้าเข้าโจมตี แต่ทั่วโลกกำลังหาทางหยิบยื่นสันติ ถึงสถานการณ์ระหว่างประเทศจะเต็มไปด้วยข้อขัดแย้ง แต่นานาชาติเห็นไปในทางเดียวกันว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศรอไม่ได้ ในปี 2021 นี้คืออีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญในการแก้ปัญหาโลก ก่อนที่จะเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่าจะลงเอยเช่นไรในปี 2030 . ตามไปดูนโยบายสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมของโลกในปีหน้า ที่ขยับเขยื้อนกันตั้งแต่ระดับโลกไปจนถึงเอกชน  THE WORLD AGREEMENT : ทั่วโลกลงนามเพื่อสิ่งแวดล้อม ย้อนกลับไปในปี 2015 ท่ามกลางสนามการค้าที่คุกรุ่นและระอุไม่ต่างจากอุณหภูมิของโลกที่ค่อยๆ สูงขึ้น หลายประเทศต่างลงนามเพื่อเข้าร่วม ‘ข้อตกลงปารีส’ (Paris Agreement) ที่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อหวังว่าสถานการณ์ของโลกจะดีขึ้น  นับจากการบังคับใช้ข้อตกลงปารีสในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2016 เพื่อหวังให้สิ่งแวดล้อมพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น สถานการณ์ของโลกกลับย่ำแย่ราวตลกร้าย จนผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่กล่าวว่าข้อตกลงปารีสไม่เพียงพอจะป้องกันไม่ให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียส ก่อนยุคอุตสาหกรรม หรือขีดจำกัดที่ 2 องศาเซลเซียส ตามคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ แต่ทิศทางของแต่ละประเทศในอนาคตเต็มไปด้วยความน่าสนใจหลังจากเวลา 5 ปีที่ผ่านมายังไม่เห็นผล   นอกจากในปี 2030 จะครบกำหนดสัญญาที่รัฐบาลไทยได้ลงนามในข้อตกลงปารีส สำหรับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 20 – […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.