ทำงานอย่างไรไม่เจ็บปวด รวมผลิตภัณฑ์ Ergonomic ที่น่าลงทุน

เรื่องที่ถูกพูดถึงมากที่สุดในช่วงนี้ หากไม่นับเรื่องโควิด-19 กับการบริหารประเทศ ปัญหายอดนิยมที่รองลงมาของวัยทำงานก็หนีไม่พ้นเรื่องปวดหลัง ปวดคอ ปวดหัว และอีกสารพัดอาการปวดที่เรื้อรังมาตั้งแต่สมัยยังเข้าออฟฟิศ (นานแค่ไหนแล้ว) ลามมาจนถึงการ Work from Home ในตอนนี้ ทำงานอย่างไรไม่ให้เจ็บปวด เรื่องจิตใจอาจจะช่วยยาก แต่ปัญหาทางกายภาพแก้กันได้ Urban’s Pick ขอนำเสนอผลิตภัณฑ์ Ergonomic (พูดให้เข้าใจง่ายคือของที่ออกแบบตามการทำงานของร่างกายใช้แล้วสบายตัว) ที่คุ้มค่าน่าลงทุน เพราะถึงราคาจะสูงแต่ใช้แล้วชีวิตดีขึ้น แม้อาจจะไม่ถึงกับทันตาเห็นแต่ในระยะยาวแล้วเวิร์กแน่นอน  COSM l Herman Miller  ยามไม่มีใคร อ้างว้างเพียงไหน อย่างน้อยก็มีเก้าอี้ตัวนี้คอยหนุนหลังคุณอยู่เสมอ  Herman Miller คือแบรนด์จากสหรัฐอเมริกาที่มีชื่อเสียงอย่างมากกับเก้าอี้ Ergonomic และมีส่วนสำคัญในการทำให้เฟอร์นิเจอร์ที่ออกแบบตามหลักการยศาสตร์ได้รับความนิยมไปทั่วโลก  ต้นแบบของเก้าอี้รุ่น Cosm คือ Aeron ผู้โดดเด่นจากวัสดุที่ผลิตจากเส้นใยพิเศษแตกต่างจากเก้าอี้แบบดั้งเดิม และมีทีมวิจัยที่ศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้ บวกกับดีไซน์ที่โดดเด่นจนมียอดขายมากกว่า 7 ล้านตัว  Cosm มาพร้อมคอนเซปต์ Instant Comfort, Everywhere ความสบายที่เหมาะกับทุกอิริยาบถไม่ว่าจะนั่งหลังตรงทำงานหรือเอนกายพักผ่อน และช่วยบอกลาความเจ็บปวดที่ร้าวไปทั้งหลังด้วยฟังก์ชันต่างๆ เช่น Auto-Harmonic Tilt […]

‘Wayband’ GPS ระบบสั่นที่ช่วยให้คนตาบอดทั้งเดินและวิ่งได้ด้วยตัวเอง

เรื่องราวของการกีฬาอยู่ในสปอตไลต์มาหลายสัปดาห์ตั้งแต่คบเพลิงโอลิมปิกถูกจุดขึ้น ณ กรุงโตเกียว และอีกไม่นาน ‘พาราลิมปิก’ มหกรรมกีฬาที่ยิ่งใหญ่เป็นอันดับที่สองของมวลมนุษยชาติจะเริ่มต้นขึ้น บรรดานักกีฬากว่า 4,000 ชีวิต จะหอบหุ้มความฝันและการฝึกฝนออกมาแสดงให้โลกเห็น  แม้จะไม่ได้เป็นพาร์ตเนอร์อย่างเป็นทางการของพาราลิมปิก และเป็นเพียง สตาร์ทอัปเล็กๆ ในนิวยอร์กแต่เราคิดว่าเรื่องราวของ WearWorks เหมาะที่จะหยิบยกมาเล่าในช่วงนี้เป็นอย่างยิ่ง เพราะสิ่งที่พวกเขากำลังทำอยู่คือสายรัดข้อมือที่ชื่อว่า Wayband เป็น GPS นำทางที่ทำงานโดยระบบสั่น แจ้งเตือนด้วยการสั่นเมื่อผู้สวมใส่ออกนอกเส้นทางหรือถึงทางเลี้ยว Simon Wheatcroft นักวิ่งผู้พิการทางสายตา บอกว่า เป็นเรื่องยากสำหรับคนตาบอดที่จะก้าวเท้าไปบนทางที่ไม่รู้จัก แต่สายรัดข้อมือเส้นนี้สามารถพาวิ่งจนจบมาราธอน หรือเดินเล่นในเมืองที่พลุกพล่านโดยไม่ต้องอาศัยคนช่วยบอกทาง แต่ใช้การนำทางโดยการสั่น ที่จะทำให้คุณไม่หลงทิศ หรือไม่เดินไปชนกับอะไรหรือใครแน่นอน ‘ก้าว’ ที่เต็มไปด้วยข้อจำกัด ยังไม่ต้องพูดถึงขีดความสามารถในการแข่งขันด้านกีฬา คนพิการทางสายตามีข้อจำกัดเยอะมากสำหรับการฝึกซ้อม นักกีฬาบางรายใช้ไม้เท้าในการนำทาง ใช้สุนัขในการนำทาง หรือมีบัดดี้เป็นคู่คอยผูกคู่มือวิ่งไปด้วยกัน หนึ่งในผู้พิการทางสายตาที่พิชิตมาราธอนมาแล้วบอกกับ BBC ว่า เขาเคยวิ่งคู่กับอาสาสมัครซึ่งถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมากแต่สิ่งที่หายไปคือความเป็นอิสระ  แม้วิธีการข้างต้นจะช่วยให้จบการแข่งขันหรือดำเนินชีวิตประจำวันได้เหมือนกัน แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมนัก ไม้เท้าที่ใช้ในการนำทางสามารถตรวจจับรอยแตกหรือพื้นที่ไม่สม่ำเสมอบนทางเท้าได้เป็นอย่างดี แต่มีข้อเสียคือเป็นเครื่องมือนำทางที่ไม่เหมาะสำหรับการเปิดเส้นทางใหม่ หรือการใช้สุนัขนำทางก็มีค่าใช้จ่ายสูงถึง 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ (คนพิการทางสายตาในบางประเทศสามารถยื่นขอได้ฟรี) แม้จะมีหลายตัวช่วยที่ทำให้คนตาบอดสามารถใช้ชีวิตได้ดีขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัดของเครื่องมือ ความยุ่งยากหรือความไม่สบายตัวในการใช้งานจริง ทำให้ […]

คุยกับ พีทีที สเตชั่น ในวันที่ปั๊มไม่ได้แค่เติมน้ำมัน แต่กลายเป็นศูนย์กลางของชุมชน

ย้อนกลับไปราว 30 ปีที่แล้ว การเข้าปั๊มน้ำมันแต่ละครั้งแทบจะไม่มีเหตุผลอื่นนอกจากเติมน้ำมัน ย้อนมาใกล้อีกหน่อยสัก 10 ปี เราเข้าปั๊มน้ำมันทั้งที่น้ำมันยังเหลืออีกตั้งครึ่งถังเพื่อเข้าห้องน้ำ แวะทานข้าว ซื้อของที่ร้านสะดวกซื้อ หรือหากาแฟมาคลายง่วงที่ คาเฟ่ อเมซอน ย้อนกลับไปไม่กี่เดือน หุ้นโออาร์ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเพราะนักลงทุนเห็นโอกาสมหาศาลในตลาดค้าปลีก เราจึงขอบิดกุญแจสตาร์ทรถขึ้นทางด่วนไปลงที่ถนนวิภาวดีรังสิตแล้วแวะเข้าสถานีบริการน้ำมัน พีทีที สเตชั่นเพื่อสนทนากับคุณบุญมา พนธนกรกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)(OR) ถึงพัฒนาการของ พีทีที สเตชั่น ที่จะไม่ได้มีไว้แค่เติมน้ำมัน ไม่ได้แค่ห้องน้ำสะอาด แต่เป็นศูนย์กลางให้ชุมชน และพร้อมปรับตัวให้สอดรับกับเทรนด์โลก ธุรกิจน้ำมันต้องเผชิญ Disruption จากหลายทิศทาง แต่หุ้น OR ยังได้รับความนิยมสูงมาก แปลว่าคนยังเชื่อใน พีทีที สเตชั่น หุ้นจะดีหรือไม่ดีก็มีหลายปัจจัย ตลาดก็มีหลายอย่างที่คาดเดาไม่ได้ (หัวเราะ) ผมว่าเขามองเห็นการเติบโตของธุรกิจมากกว่า สัมผัสสิ่งที่เราทำได้อย่างเป็นรูปธรรมทุกครั้งที่เข้าปั๊ม โควิดทำให้หลายอย่างมาเร็วขึ้น ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยน ธุรกิจก็จำเป็นต้องปรับตัว มันทำให้ปั๊มน้ำมันต้องปรับตัวยังไงบ้าง ทุกคนเข้ามาลุยในสมรภูมินี้ แต่ก็แข่งกันอยู่ไม่กี่เรื่อง เช่นห้องน้ำใครดีกว่ากัน และตัวน้ำมันเองแข่งไปแข่งมาก็หาข้อแตกต่างได้ยากแล้ว อย่างที่บอกว่าปั๊มไม่ได้มีแค่เติมน้ำมันแล้ว […]

ติด Covid-19 รัฐจ่ายอะไรให้บ้าง?

แม้จะมีข่าวโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินเพิ่มอยู่เป็นระยะ แต่ถ้าว่ากันตามกฎหมายแล้วผู้ป่วยโควิด-19 จะได้รับการรักษา ‘ฟรี’ เนื่องจากเป็นโรคติดต่ออันตราย และถือว่าผู้ติดเชื้อเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินต้องได้รับการรักษาทั้งจากโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชนที่จะส่งบิลไปเรียกเก็บกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แล้วรัฐออกอะไรให้เราบ้าง แต่ละกระบวนการมีราคาเท่าไหร่ สิทธิ์ของเรามีแค่ไหน ดูกันได้ที่นี่ ค่าตรวจ 2,300 บาท  ราคาแรกที่รัฐต้องจ่ายเพื่อคัดกรองผู้ติดเชื้อมีหลายวิธีด้วยกัน แต่ถ้าเป็นการคัดกรองเฉพาะบุคคลไม่ได้ตรวจหาเป็นกลุ่มจะนิยมด้วยกัน 2 วิธีคือ RT-PCR ซึ่งเป็นวิธีที่องค์การอนามัยโลกแนะนำเพราะมีความแม่นยำสูงตรวจได้ทั้งเชื้อเป็นและเชื้อตายและทราบผลได้ใน 24 ชั่วโมง และอีกวิธีคือ Rapid Antigen Test ที่ใช้งานง่ายกว่าและทราบผลได้ในเวลาไม่เกิน 30 นาที ข้อเสียคือไม่สามารถตรวจหาเชื้อโรคที่ปริมาณน้อยได้ ทำให้ไม่แม่นยำเท่า RT-PCR ซึ่งแต่เดิมตรวจฟรีเฉพาะกลุ่มเสี่ยงสัมผัสสูง แต่ปัจจุบันมีการเปิดจุดตรวจฟรีเพิ่มขึ้นในพื้นที่เสี่ยงโดยใช้วิธี Walk-in หรือรับบัตรคิวล่วงหน้า  RT-PCR 2,300 บาท  Rapid Antigen Test 1,200 บาท เฉพาะในกรณีฉุกเฉิน (*หากตรวจร่วมกับ RT-PCR ไม่เกิน 500 บาท)  รายละเอียดเพิ่มเติม : shorturl.at/envIJ ค่ารักษา […]

Fine Robusta ลบภาพจำ 3 in 1 ในโรบัสต้า และมีความพิเศษในแบบที่อาราบิก้าทำไม่ได้

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของโลกที่พลิกโฉมหน้าการใช้ชีวิตของผู้คนไปโดยสิ้นเชิง ผลิตภัณฑ์หลากชนิดเช่นสิ่งทอได้เครื่องจักรเป็นกำลังสำคัญในการผลิตเสื้อผ้าจำนวนมากจนเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น รวมถึงเครื่องจักรไอน้ำที่ทำให้เกิดโรงงานใหม่ขึ้นจำนวนมาก  แต่สำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมของกาแฟโรบัสต้าในยุคนี้ อาจจะไม่ได้หมายถึงการผลิตในปริมาณมหาศาล ในรูปแบบกาแฟพร้อมดื่มนานาชนิด แต่หันมาโฟกัสที่รสชาติและคุณภาพเหมือนที่รุ่นพี่อย่างอาราบิก้ากรุยทางเอาไว้ Urban Creature ชวนสองผู้คร่ำหวอดในวงการกาแฟอย่าง เคเลบ จอร์แดน นักพัฒนากาแฟเมืองน่านที่ปลูกปั้นกาแฟมณีพฤกษ์จนติดระดับประเทศ และ กรณ์ สงวนแก้ว Head Roaster & Green Buyer จาก Roots ร้านกาแฟที่เอาจริงเอาจังในสิ่งที่ตัวเองทำและให้ความสำคัญเกษตรกร มาคุยกันถึงการเติบโตของโรบัสต้าที่กำลังเฉิดฉายนอกแวดวงอุตสาหกรรม ด้วยการมาอยู่ในคาเฟ่ที่เน้นกาแฟคุณภาพดี หรือโรงคั่วชั้นนำที่เริ่มปล่อยโรบัสต้าเบลนด์ใหม่สู่ตลาดเป็นระยะ ห้าปีมานี้กาแฟไทยโดยเฉพาะอาราบิก้าเติบโตอย่างก้าวกระโดด และโรบัสต้ากำลังจะตามไป และอาจมีสิทธิ์ก้าวไปไกลกว่าด้วยซ้ำ เพราะไม่ต้องเผชิญกับคู่แข่งมหาโหดจากทั่วโลก และไทยก็มีความพร้อมทั้งด้านภูมิประเทศ หรือผู้เชี่ยวชาญด้านกาแฟที่พร้อมผลักดันแต่ปัจจัยสำคัญอาจจะอยู่ที่ผู้บริโภค ดูคล้ายกันแต่เป็นคนละอย่าง ถึงภาพจำและความนิยมจะสู้ไม่ได้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าตัวเปิดที่ทำให้คอคาเฟอีนรู้จักกาแฟนั้นมาจากโรบัสต้าซะเป็นส่วนใหญ่ Head Roaster ของ Roots บอกว่า ดื่มกาแฟผงครั้งแรกก็เป็นโรบัสต้า กาแฟ 3 in 1 ก็เป็นโรบัสต้า โตขึ้นมากินกาแฟกระป๋องก็โรบัสต้า กระทั่งกินเค้กรสกาแฟก็เป็นโรบัสต้าอีกเหมือนกัน  “เรามีโรงงานใหญ่ที่รับซื้อเมล็ดกาแฟอยู่ภาคใต้ พอถูกปลูกเพื่อขายเข้าไปในสเกลใหญ่ระดับอุตสาหกรรมก็เลยไม่ได้ใช้ความดูแลมากขนาดนั้น และคนที่ปฏิเสธโรบัสต้าก็มีจริง พอมาถึงจุดหนึ่งเราไม่ได้กินกาแฟที่แปรรูปเป็นผงหรือเป็นน้ำอีกแล้ว แต่ดื่มกาแฟที่ชงจากเมล็ดซึ่งส่วนมากจะเป็นอาราบิก้า เราเริ่มเข้าใจกาแฟและให้ความสำคัญกับรสชาติมากขึ้น […]

NDV-HXP-S วัคซีนโควิด-19 จากไข่ไก่ฟัก ราคาไม่แพง ผลิตได้เองโดยนักวิจัยไทย

หลายเดือนมานี้เราตั้งคำถามกับ ‘ความมั่นคง’ ของประเทศ เมื่อนานาชาติสลัดหน้ากากอนามัยและออกมาใช้ชีวิตแบบที่คุ้นเคย ระบบสาธารณสุขที่เคยวิกฤตเริ่มกลับเข้าร่องเข้ารอย ในขณะที่สถานการณ์ของประเทศไทยยังคงต้องหาทางออกกันต่อไป เมื่อความมั่นคงของประเทศก้าวไปไกลกว่าอาวุธยุทโธปกรณ์ แต่ว่ากันด้วยเรื่องเทคโนโลยีและ ‘สาธารณสุข’ Urban Creature จึงพาไปสนทนากับ ศ. พญ.พรรณี ปิติสุทธิธรรม หัวหน้าโครงการวิจัยศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ที่กำลังวิจัยความปลอดภัยให้ประเทศผ่านการผลิตวัคซีนโควิด-19 จากไข่ไก่ฟัก ที่ได้ความร่วมมือจากองค์กรนานาชาติในการแบ่งปันเทคโนโลยีเพื่อร่วมกันฝ่าวิกฤต จนออกมาเป็นวัคซีนที่ราคาไม่แพง กระบวนการไม่ซับซ้อน และผลิตได้เองในประเทศไทย วัคซีนจากไข่ไก่ การผลิตวัคซีนสามารถนำวัคซีนที่อยู่ระหว่างการวิจัยหรือผลิตออกมาแล้ว มาปรับปรุงหรือต่อยอดได้หากมีโรคใหม่เกิดขึ้น แต่เดิมศูนย์วัคซีน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ทำการวิจัยวัคซีนหลากชนิดเป็นทุนเดิมทั้งหัด โปลิโอ เอดส์ หรือมะเร็ง แต่จุดเปลี่ยนสำคัญของเรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงการระบาดของไข้หวัดใหญ่ H1N1 เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว องค์การเภสัชกรรมได้รับเทคโนโลยีวัคซีนไข่ไก่ฟัก (Egg-based Flu Vaccine) จากประเทศรัสเซีย จนผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มาใช้ได้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน “เมื่อหลายปีก่อนเราไม่มีบุคลากรที่มีความรู้และศักยภาพเพียงพอ เพราะว่าการผลิตวัคซีนถือเป็นเรื่องใหญ่ที่มีการลงทุนเยอะมาก ในการคิดค้นปกติแล้วต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่าสิบปี ต้องใช้ทั้งเวลาและต้นทุนมหาศาล  “สมมติว่าเราคิดหรือค้น Antigen (สารก่อภูมิต้านทาน) ขึ้นมาตัวหนึ่ง ก็ไม่ได้หมายความว่าสารตัวนี้จะก่อให้เกิดภูมิต้านทานที่จะใช้ป้องกันโรคได้ บางครั้งพบเป็นร้อยตัวก็ยังไม่สำเร็จ” […]

Elroy Air สตาร์ทอัปโดรนที่จะส่งของให้ถึงที่ภายใน 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก

อนาคตของการขนส่งทางอากาศขยับมาใกล้มากขึ้นทุกปีนับตั้งแต่ Jeff Bezos แห่ง Amazon ประกาศเปิดตัว Amazon Prime Air บริษัทขนส่งเชิงพาณิชย์ที่เน้นขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักเบาด้วยความรวดเร็วโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) บริษัทอื่นเช่น FedEx หรือ DHL ก็เริ่มทดสอบการขนส่งสินค้าของตัวเองด้วยโดรนเช่นกันก่อนจะเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นเมื่อ องค์การบริหารการบินแห่งชาติ (FAA) อนุมัติให้อากาศยานอัตโนมัติของ Flirtey ขนส่งในเขตเมืองในปี 2016  ภาพยนตร์ และนวนิยายไซไฟหลายเรื่องคือฉากแห่งอนาคตที่บรรดานักประดิษฐ์กำลังวิ่งตาม วันนี้ภาพฝันนั้นชัดเจนขึ้นอีกระดับ Elroy Air คือผู้สร้างยานพาหนะทางอากาศหรือโดรน ที่อาศัยการขึ้นลงแบบแนวตั้ง รับน้ำหนักสินค้าได้มาก บินได้ไกล และมีภารกิจที่ไม่ใช่แค่การส่งของจากที่ใดที่หนึ่งไปยังจุดหมาย แต่เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทั่วโลก ด้วยการเข้าถึงระบบโลจิสติกส์ที่รวดเร็วและเป็นประชาธิปไตย (Democratizing access to rapid logistics)  ย้อนกลับไปที่แคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2019 Elroy Air บริษัทผู้พัฒนาระบบขนส่งทางอากาศที่ขึ้นและลงจอดในแนวดิ่ง ประกาศความสำเร็จในการทดสอบระบบการบินเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก กับโดรนที่มีน้ำหนักถึง 550 กิโลกรัม ในการบินขึ้นไปสูง 10 ฟุต เป็นเวลากว่า […]

จากขยะสู่ขุมทรัพย์ เมื่อกากโกโก้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้าสำคัญของไอวอรีโคสต์

โกโก้หนึ่งในผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก กำลังเจอบทบาทใหม่นอกจากมอบรสชาติสุดล้ำลึกเป็นของขวัญแก่มวลมนุษย์ เพราะที่ไอวอรีโคสต์ ประเทศผลิตโกโก้รายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ซึ่งหล่อเลี้ยงชีวิตประชากรที่ทำงานด้านนี้กว่า 6 ล้านคน หลังจากที่เติมพลังงานให้ผู้คนทั่วโลกมาอย่างยาวนาน โกโก้ กำลังจะเป็นต้นกำเนิดพลังงานที่จะขับเคลื่อนแดนงาช้างแห่งนี้  ไม่เหมือนกับข้าว ส้ม หรือแอปเปิล บางคนอาจจะนึกภาพต้นหรือโกโก้ไม่ออก ผู้บริโภคคุ้นเคยกับโกโก้ในฐานะเครื่องดื่ม ขนม ไอศกรีมรสโปรด ในฐานะผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาแล้วและวางขายอยู่บนชั้นวางที่ซูเปอร์มาร์เก็ต จากผลสีเหลืองขนาดประมาณฝ่ามือมีแต่ ‘เมล็ดโกโก้’ ที่ถูกมองว่าเป็นทอง ส่วนที่เหลือคือตะกอนดินที่ทิ้งไปได้ในทันที ทำให้ปริมาณกากโกโก้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล  แต่ของเหลือทิ้งเหล่านั้นกำลังจะเปลี่ยนสถานะเป็นขุมทรัพย์ทางด้านพลังงานหมุนเวียนของไอวอรีโคสต์ หลังจากประสบผลสำเร็จในโครงการนำร่อง ไอวอรีโคสต์ จึงเริ่มเดินเครื่องในโรงงานชีวมวลที่ผลิตไฟฟ้าจากกากของโกโก้ ที่ตั้งอยู่ใน Divo นครเอกของการผลิตโกโก้ เป็นโรงไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในแอฟริกาตะวันตกซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา คาดว่าจะแล้วเสร็จในอีก 2 ปีข้างหน้า  กากโกโก้เหล่านี้จะถูกนำไปเผาเพื่อผลิตไฟฟ้าให้กับกังหันลม ในลักษณะที่คล้ายกับเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วไป โดยโรงงานเพียงแห่งเดียวจะผลิตกำลังไฟได้เทียบเท่ากับความต้องการใช้งานของ 1.7 ล้านคน ผลิตไฟฟ้าได้เป็นจำนวน 46 – 70 เมกะวัตต์ต่อปี และผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่าสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 4.5 ล้านตัน เมื่อเทียบการผลิตแบบดั้งเดิม  เพิ่มพลังไฟฟ้า ลดก๊าซเรือนกระจก  ไม่ต่างจากนานาประเทศทั่วโลกที่มีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แม้จะเป็นประเทศที่ใช้พลังงานฟอสซิลเป็นหลัก ไอวอรีโคสต์หวังว่าพวกเขาจะเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนเป็น 42 เปอร์เซ็นต์ […]

NIA องค์กรนวัตกรรมที่อยากลบภาพจำหน่วยงานรัฐ มี พนง. 80% เป็นคนรุ่นใหม่และ First Jobber

คำอธิบายที่เข้าใจง่ายของนวัตกรรมคือการคิดค้นสิ่งใหม่ จึงไม่แปลกที่คนทำงานด้านนี้จะไม่ยอมอ่อนข้อต่ออดีต สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้ระบุไว้ว่าตัวเองเป็นองค์กรหัวก้าวหน้า และเมื่อได้พูดคุยกับ ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ NIA ก็พบว่าพวกเขากำลังพยายามล้างภาพจำหน่วยงานรัฐที่เคยติดตา และมีกลไกสำคัญคือ พนักงานถึง 80 เปอร์เซ็นต์ของที่นี่เป็นคนรุ่นใหม่ และ First Jobber ซึ่งพนักงานเหล่านี้ก็ไม่ได้มีหน้าที่ทำตามนายสั่ง เพราะมีวัฒนธรรมองค์กรที่บอกว่าทุกคนเสนอโครงการได้เท่าที่อยากทำ แต่มีข้อแม้ว่าต้องเรียนรู้ทุกกระบวนการของงานชิ้นนั้นตั้งแต่เริ่มต้น วัฒนธรรมและวิธีการทำงานหลายอย่างที่ราวกับลบภาพจำหน่วยงานราชการที่คุ้นเคยกันไปโดยสิ้นเชิง NIA มีการสนับสนุนให้คนทำงานอ่านติดตามทุกข่าวสารทั้งแบบภาพรวมและเจาะลึกไปในแต่ละอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพราะต้องก้าวให้ทันคนรุ่นใหม่ สตาร์ทอัปที่ผุดขึ้นทุกวัน หรือองค์กรเอกชนที่ไม่เคยหยุดพัฒนา และตัวผู้บริหารสูงสุดยังไม่ปิดกั้นหากเก่งจากที่นี่แล้วจะไปโตที่อื่น เปิดโอกาสให้ค้นหาตัวเองได้เต็มที่ ภายใต้ความเป็นมืออาชีพ เพราะอยากให้ที่นี่เป็นองค์กรของคนรุ่นใหม่อย่างแท้จริง NIA คืออะไร หน่วยงานที่สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ ทำงานกับภาคเอกชนและภาคสังคมเป็นหลัก แต่ก็มีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในระบบ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน คนรุ่นใหม่ รวมทั้งสถาบันการศึกษาที่อยากนำองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยมาแปลงเป็นนวัตกรรมและสามารถใช้งานได้จริง เป้าหมายของเราคือทำให้ประเทศมีระบบนวัตกรรมที่เข้มแข็ง ตอบโจทย์อนาคตในระยะสั้น กลาง ยาว ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องอาศัยระบบที่แข็งแกร่ง คนรุ่นใหม่ที่พึ่งเข้ามาอยู่ในระบบ หรือผู้ที่อยู่มานานแล้วก็ต้องมีการพัฒนาความสามารถให้เก่งขึ้นเรื่อย ๆ เพราะหัวใจสำคัญของการพัฒนาคือคน ถัดมาคือการมีแพลตฟอร์มแล้วก็โครงสร้างที่เอื้อให้พวกเขาเหล่านั้นได้แสดงฝีมือ NIA ทำงานร่วมกับ ‘คนรุ่นใหม่’ […]

เราจะอยู่ที่ไหนก็ได้ที่ตัวเองพอใจ ในแบบจ่ายไหว โดยไม่อิงกับที่ทำงานอีกต่อไป

ปีที่ผ่านมาโควิด-19 เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของโลกใบนี้ไปโดยสิ้นเชิง ปัจจุบันเมื่อประเทศชั้นนำได้แจกจ่ายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพให้ทั่วถึงประชาชนส่วนมากแล้ว สิ่งที่คุ้นตาก็เริ่มมีมาให้เห็น เมืองเริ่มกลับมาคึกคัก ผู้คนนำชีวิตชีวามาสู่ท้องถนน ร้านอาหารเปิดขายตามปกติ มหาวิทยาลัยและพิพิธภัณฑ์เต็มไปด้วยนักศึกษา  แต่บาดแผลที่ไวรัสทิ้งไว้ให้ยังไม่หายดี โดยเฉพาะย่านศูนย์กลางธุรกิจหรือ CBD (Central Business District) พื้นที่ใจกลางเมืองที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ ที่ส่อแววว่าอาจจะไม่กลับมาคึกคักในเร็ววันอย่างที่เห็นได้ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งแม้บริษัทจะเปิดให้กลับมาทำงานได้แล้ว แต่พนักงานกว่าครึ่งหนึ่งยังเลือกที่จะทำงานจากโซฟาในห้องนั่งเล่น แวะทานมื้อสายบนเก้าอี้บาร์และท็อปครัวที่ทำจากหินอ่อน มากกว่าไปแออัดยัดเยียดกันที่ใจกลางเมือง และดื่มน้ำล้างแก้วจากร้านกาแฟราคาแพงใต้สำนักงานเพื่อกระตุ้นสมองให้พร้อมรับแรงกดดันตลอดเวลา CBD ยังไม่ได้รับวัคซีน ย้อนกลับไปเมื่อปี 2020 ย่านศูนย์กลางธุรกิจชั้นนำของโลกเต็มไปด้วยความเงียบเหงา พนักงานกว่า 4.5 ล้านคน ไม่ได้รับอนุญาตให้ประจำการอยู่ที่ออฟฟิศเหมือนเคย เมื่อเวลาล่วงเลยไปร่วมขวบปีในขณะที่ประเทศไทยเริ่มปูพรมฉีดวัคซีนเมื่อต้นเดือนมิถุนายน และประกาศว่าจะเปิดประเทศในอีก 120 วันให้หลัง สหรัฐฯ ฉีดวัคซีนให้ประชาชนทั่วประเทศไปแล้วกว่า 300 ล้านโดส และเตรียมส่งมอบให้โครงการ COVAX อีก 500 ล้านโดส ล่าสุด นิวยอร์กเกอร์ สามารถออกมาสูดอากาศในที่สาธารณะได้โดยไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัย และกฎข้อบังคับเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็แทบจะยกเลิกไปโดยสิ้นเชิง  แม้การฉีดวัคซีนจะเข้าถึงอเมริกันชนส่วนใหญ่แล้ว แต่ CBD ดูจะยังหาวัคซีนเข็มแรกของตัวเองไม่เจอ ตัวเลขจาก Kastle Systems […]

Diffuse Energy กังหันไซซ์พัดลม พลังงานทางเล็ก (เลือก) ที่สร้างมาท้าชนดีเซลในออสเตรเลีย

ในโลกอันกว้างใหญ่จะมีที่ยืนสำหรับคนตัวเล็กหรือเปล่า ถ้าพูดถึงขนาดเพียงอย่างเดียว จะเห็นว่าความเล็กเป็นจุดขายในหลายอุตสาหกรรม โทรศัพท์มือถือเคยแข่งกันให้มีขนาดเล็กที่สุด แล็ปท็อปยิ่งบางก็ยิ่งดึงดูดสายตาผู้บริโภค แม้ในอุตสาหกรรมไฟฟ้าจะมีแต่ขยายโรงงาน สร้างเขื่อน หรือเพิ่มฟาร์มกังหัน แต่ความเล็กก็กำลังโดดเด่นขึ้นมาเช่นกัน  ชวนมาดูความเล็กที่ยิ่งใหญ่ของ Diffuse Energy สตาร์ทอัปสัญชาติออสเตรเลีย ที่ไม่อยากสู้เรื่องความใหญ่โตมโหฬารกับบริษัทพลังงานที่ไหน กับกังหันลมที่ขนาดราวพัดลมตั้งพื้นตามงานวัด เบาจนสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวคนเดียว แต่ลดปริมาณการผลิตไฟฟ้าด้วยน้ำมันดีเซลได้มหาศาล  พลังงานทางเล็ก (เลือก)  ก่อนจะไปถึงเรื่องราวของ Diffuse Energy ขอย้อนอดีตต้นกำเนิดของกังหันลมผลิตไฟฟ้ากันสักเล็กน้อย เพื่อจะได้เข้าใจภาพรวมของอุตสาหกรรมและแรงบันดาลใจในการผลิตกังหันลมขนาดเล็กมากขึ้น  พลังงานลมอยู่คู่กับมนุษยชาติมาเนิ่นนาน ย้อนกลับไป 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวบาบิโลนใช้กังหันลมในการโม่แป้ง กระโจนข้ามมาเร็วๆ ที่ ค.ศ. 1930 นักประดิษฐ์ควบตำแหน่งนักอุตุนิยมวิทยานามว่า พอล ลา คัวร์ ได้คิดค้นกังหันลมผลิตไฟฟ้าสมัยใหม่ โดยใช้ไฟฟ้าจากกังหันลมป้อนเข้าเครื่องแยกน้ำด้วยไฟฟ้าในการผลิตไฮโดรเจน และยังตีพิมพ์ The Journal of Wind Electricity วารสารที่ว่าด้วยการใช้พลังงานลมในการผลิตไฟฟ้าเล่มแรกของโลกอีกด้วย  หลังหมดยุคของพอล มีนักประดิษฐ์มากมายเดินตามรอยเท้าของเขา และความนิยมของพลังงานทางเลือกชนิดนี้ที่ทั้งสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมก็พัดไปไกลทั่วโลก ต้นศตวรรษที่ 21 เยอรมนีผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมราว 9,000 เมกะวัตต์ ซึ่งพลังงานลมถือว่าเติบโตอย่างรวดเร็วและประเทศที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมได้มากที่สุดคือจีนที่ […]

ไม่ต้องโทรหามัคนายก ‘รักทำบุญ’ ออร์แกไนเซอร์งานบุญครบวงจรตั้งแต่ราคาประหยัดถึง VIP

นิมนต์พระต้องทำยังไง ดอกไม้บูชาใช้พันธุ์ไหน ธูปเทียนมีกี่ดอก สังฆทานควรใส่อะไรบ้าง ต้องถวายปัจจัยเท่าไหร่ถึงจะไม่น่าเกลียด พิธีเริ่มยังไงจบตรงไหน คำถามเหล่านี้อินเทอร์เน็ตพอตอบได้ แต่ในเชิงปฏิบัติหนีไม่พ้นความวุ่นวายแน่นอน ชวนมารู้จัก ‘รักทำบุญ’ ออร์แกไนเซอร์ที่รับจัดงานบุญทุกรูปแบบครบวงจร มาเตรียมสถานที่ให้แต่เช้า นิมนต์รับส่งพระให้เรียบร้อย พิธีขั้นตอนมีอะไรบ้างไม่ต้องกังวล มีคนดูแลให้ ไม่ต้องรบกวนที่บ้านให้ลำบากใจ และมีแพ็กเกจทำบุญให้เลือกแบบครบวงจร ไล่ตั้งแต่ราคาประหยัดไปจนถึงระดับ VIP จากธุรกิจเวดดิ้ง สู่ออร์แกไนเซอร์งานบุญ ก่อนจะมาเป็น ‘รักทำบุญ’ คุณเอ-ฐปนวัชร์​ วิศรุตธรรม บอกว่า เคยทำ ‘รักเวดดิ้ง’ มาก่อน หน้าที่รักก็เหมือนออร์แกไนเซอร์งานแต่งทั่วไป คือจัดพิธีให้ถูกใจบ่าวสาว ซุ้มดอกไม้ต้องสวย โซนรูปพรีเวดดิ้งต้องน่ารัก แบ็กดรอปต้องเตรียมให้พร้อม สำคัญคือ ต้องประสานงานให้พิธีแต่งงานราบรื่นที่สุด เพราะถือเป็นวันสำคัญที่บ่าวสาวจะระลึกไว้ตลอดชีวิต ซึ่ง ณ ตอนนั้นไม่ได้คิดเลยว่าจะแตกไลน์ธุรกิจใหม่ออกมาได้ แต่ก็ได้อดีตลูกค้านี่แหละที่กลับมาใช้บริการอีกครั้ง แต่ไม่ได้หมายความว่าอยากจะแต่งงานใหม่นะครับ อยากทำบุญต่างหาก  “ธุรกิจทำบุญเกิดขึ้นหลังจากที่เราทำเวดดิ้ง มีลูกค้าเก่าหลายคนมาถามว่าอยากจัดเฉพาะพิธีทำบุญอย่างเดียวได้หรือเปล่า เราก็ต้องรับอยู่แล้วเพราะการแต่งงานก็มีส่วนของการนิมนต์พระ จัดพิธีสงฆ์ มีมัคนายก สามารถทำได้ทันที แม้รายได้จะไม่เยอะเท่ากับเวดดิ้ง แต่กระบวนการทำงานมีความเรียบง่ายกว่า “ผมมาสแกนตลาดก็เห็นว่า Demand ค่อนข้างเยอะ แล้วมีต่อเนื่องตลอดเวลา […]

1 2 3 4 5

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.