อาชีพหมอดูต้องเสียภาษีไหม

ปัจจุบันผู้คนต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการงาน การเงิน และความรัก ทำให้พวกเขาหมดหวังและหาคำตอบให้อนาคตของตัวเองไม่ได้ เมื่อรู้สึกกังวลและไม่รู้ว่าจะเอายังไงต่อกับชีวิตดี คนจำนวนไม่น้อยจึงหันไปพึ่ง ‘การดูดวง’ ที่อาจช่วยปลอบประโลมให้พวกเขาเตรียมรับมือกับสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เมื่อมีคนเชื่อในการทำนายโชคชะตามากกว่าแต่ก่อน หนึ่งในปรากฏการณ์ที่ตามมาคือ จำนวนของคนทำอาชีพ ‘หมอดู’ ที่ดูจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แถมการดูดวงที่ได้รับความนิยมก็มีหลายรูปแบบ ทั้งการอ่านลายมือ การเปิดไพ่ยิปซี การใช้ตัวเลข ฯลฯ ทั้งยังทำได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นแบบตัวต่อตัว การโทรศัพท์และส่งข้อความทางไลน์ ไปจนถึงการดูคลิปวิดีโอที่อัดไว้แล้ว เมื่อบริการดูดวงแพร่หลายจนกลายเป็นประเภทธุรกิจที่น่าจับตามอง ในฤดูเสียภาษีแบบนี้ เราจึงอดสงสัยไม่ได้ว่า คนที่ทำอาชีพหรือธุรกิจเกี่ยวกับการดูดวงต้องเสียภาษีเช่นเดียวกับมนุษย์ออฟฟิศอย่างเราๆ หรือไม่ ข้อมูลจากช่อง YouTube ชื่อ ‘เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา’ อธิบายไว้ว่า การทำธุรกิจหมอดูในยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบ ‘การดูดวงออนไลน์’ ซึ่งการเสียภาษีของผู้รับจ้างดูดวงแบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1) ธุรกิจดูดวงแบบจัดตั้งบริษัท : เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษี VAT กรณีที่ผู้ประกอบการจัดตั้งบริษัท และมีหมอดูหรือซินแสหลายคนให้บริการลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์หรือผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ ถือว่าเป็นธุรกิจที่มีรายได้และต้องเสียภาษี หากบริษัทมีรายได้เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) […]

‘หนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมฉายในไทยยากจัง’ ส่องปรากฏการณ์หนังไทยไม่มีที่อยู่

เมื่อไม่นานมานี้มีประเด็นหนังไทยถึงสองเรื่องที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ถึงแม้จะเป็นคนละประเด็นก็ตาม เรื่องหนึ่งประสบปัญหาการถูกลดรอบฉายหนัง ส่วนอีกเรื่องต้องเลื่อนฉายเพราะเนื้อหาไม่ผ่านกองเซนเซอร์ ทำให้เราสงสัยว่า ทั้งๆ ที่เป็นหนังไทยแท้ๆ แต่ทำไมการฉายหนังในประเทศบ้านเกิดถึงยากเหลือเกิน คอลัมน์ Curiocity จึงอยากชวนมาร่วมกันหาคำตอบของปัญหาหนังไทย ว่าทำไมการฉายหนังไทยสู่สาธารณะในไทยถึงเป็นเรื่องยาก และความยากนี้ส่งผลถึงวงการหนังอย่างไรบ้าง พร้อมกับฟังความคิดเห็นจากมุมของคนทำหนังอย่าง ‘บี๋-คัทลียา เผ่าศรีเจริญ’ โปรดิวเซอร์หนังอิสระ ที่ต้องประสบปัญหาเหล่านี้โดยตรง หนังไทยเข้าโรงทั้งทีต้องมีประเด็น อุตสาหกรรมหนังไทยถูกตั้งคำถามมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการส่งเสริมจากภาครัฐ ค่าตอบแทนแรงงานที่ไม่สอดคล้องกับชั่วโมงการทำงาน คนไทยไม่สนับสนุนหนังไทยด้วยกันเอง หรือแม้แต่เรื่องคุณภาพของหนังไทยที่มักโดนนำไปเปรียบเทียบกับหนังต่างประเทศอยู่บ่อยครั้ง ปัญหาข้างต้นที่ยกตัวอย่างมานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาหนังไทยที่มักพูดถึงกันอยู่เรื่อยๆ แต่ปัญหาที่ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นถกเถียงทุกครั้งที่มีหนังเตรียมฉาย มีแผนจะฉาย กำลังจะฉาย และฉายแล้วในโรงภาพยนตร์คือ เรื่องความไม่ยุติธรรมที่ส่งผลกระทบต่อวงการหนังไทย อย่างประเด็นของการลดจำนวนรอบฉายหนังเรื่อง ‘ขุนพันธ์ 3’ ที่เป็นการตัดโอกาสจนอาจทำให้ผู้สร้างไม่กล้าลงทุนกับหนังไทย หรือเรื่อง ‘หุ่นพยนต์’ ที่เกือบไม่ได้ฉายเพียงเพราะใช้แค่การตัดสินใจของคณะกรรมการเป็นหลักมากกว่าการทำความเข้าใจการสื่อสารของตัวหนัง การถกเถียงถึงประเด็นเหล่านี้ไม่ได้ส่งผลเสียกับวงการหนังไทยแต่อย่างใด แต่เป็นการจุดประกายเพื่อให้คนสนใจและหันมาให้ความสำคัญของการมีอยู่ของหนังไทยมากขึ้น เพราะเราเชื่อว่ายังมีคนจำนวนมากที่มองเห็นศักยภาพของหนังไทย และยังรอวันที่จะเห็นหนังไทยมีพื้นที่ในประเทศไทยมากกว่าเดิม เข้าพร้อมหนังดังก็ต้องทำใจ หลายคนน่าจะเคยเจอเหตุการณ์เช็กรอบหนังว่าตอนนี้มีหนังเรื่องใดฉายบ้าง แต่กลับพบว่าเกินกว่าครึ่งของรอบหนังที่เข้าฉายทั้งหมดในวันนั้นคือหนังเรื่องเดียวกัน ทำให้หนังเรื่องอื่นต้องแบ่งสันปันส่วนเวลาและโรงฉายเพื่อให้มีพื้นที่ในการเข้าถึงผู้ชม  ถึงแม้จะไม่ใช่แค่หนังไทยอย่างเดียวที่ต้องเจอกับการเบียดโรงจากหนังฟอร์มยักษ์แบบนี้ แต่หลายๆ ครั้งก็มักเป็นหนังไทยทุกทีที่ถูกตัดโอกาส จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่มีทางแก้เสียที การลดจำนวนรอบฉายอาจไม่ได้มีปัญหาอะไรถ้าหลายคนเชื่อว่า ถ้าหนังดียังไงก็มีคนดู แต่ในทางกลับกัน คนดูจะรู้ได้อย่างไรว่าหนังเรื่องนั้นดีหรือไม่ หากรอบฉายและระยะเวลาที่ฉายมีน้อยจนไม่มีทางเลือกอื่น สุดท้ายแล้วหนังเรื่องนั้นๆ […]

10 Censored Thai Cinemas ลิสต์หนังไทยที่รัฐไทยไม่ให้ไปต่อ

เคยสงสัยไหมว่า นี่ก็ปี 2023 แล้ว ทำไมประเทศไทยยังมีข่าวคราวการแบนหนังไทยให้ได้เห็นกันอีก ทั้งที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์บ้านเราก็ไม่ได้สู้ดีนัก โดยเฉพาะในช่วงหลังๆ ที่ปีปีหนึ่งหนังไทยเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ไม่กี่สิบเรื่อง และส่วนใหญ่ก็เป็นแนวใกล้ๆ กัน เช่น หนังผี หนังตลก หนังรัก เป็นต้น โดนกีดกันประเด็นหรือแนวหนังยังไม่พอ พอผู้กำกับและทีมงานก่อร่างสร้างหนังไทยสักเรื่องมาจนเสร็จเรียบร้อย ก็ยังต้องมาไหว้พระสวดมนต์ให้ผ่าน ‘กองเซนเซอร์’ หรือ ‘คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์’ ที่รัฐเป็นกำลังสำคัญในการกำกับดูแลอีก Urban Creature ชวนพังกำแพงแห่งศีลธรรมอันดีงาม ความมั่นคงของชาติ และนานาเหตุผล แล้วมาย้อนดูหนังไทย 10 เรื่องที่โดนแบนในช่วงสิบกว่าปีนี้กัน แสงศตวรรษ (2551) ก่อนหน้านี้มีภาพยนตร์ไทยที่โดนเซนเซอร์หรือห้ามฉายบ้าง แต่ ‘แสงศตวรรษ’ ซึ่งเป็นผลงานของ ‘อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล’ ผู้กำกับไทยที่เป็นที่รู้จักในเวทีระดับโลก ก็ทำให้การเซนเซอร์ในวงการภาพยนตร์เป็นที่พูดถึงและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น ‘แสงศตวรรษ’ กล่าวถึงชีวิตของแพทย์หญิงในโรงพยาบาลเล็กๆ ที่ต่างจังหวัด ที่มีความทรงจำที่ดีต่อผู้ป่วยและความรัก และอีกชีวิตของแพทย์ทหารหนุ่มในโรงพยาบาลในเมือง กับผู้ป่วยพิการและคู่รักของเขาที่จะจากไป หนังเรื่องนี้มีกำหนดฉายในประเทศไทยในเดือนเมษายน ปี 2550 แต่ไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เพราะชี้ว่ามีฉากที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ขององค์กรศาสนาและองค์กรทางการแพทย์ โดยมีเงื่อนไขให้ตัด 4 ฉากออกไป ได้แก่ […]

แผนการพัฒนาชีวิตชาวเมืองใน Attack on Titan ให้อยู่บนเกาะสวรรค์ได้อย่างมีความสุข

“ฉันเชื่อมาตลอดว่าอีกฟากของทะเลนั้นมีอิสระ แต่ว่ามันไม่ใช่ สิ่งที่อยู่อีกฟากคือศัตรู ถ้าเราฆ่าคนอีกฟากได้หมดเราจะเป็นอิสระกันได้งั้นเหรอ” – เอเรน เยเกอร์ ติดตาม Attack on Titan มาจนถึง The Final Season Part 3 แล้ว หลายครั้งก็แอบจินตนาการว่า หากเราเป็นชาวเอลเดียในบทบาทของชาวบ้านธรรมดาทั่วไป จะใช้ชีวิตบนเกาะสวรรค์อย่างมีความสุขได้อย่างไร ถ้าต้องคอยเอาชีวิตรอดจากการรุกรานของไททัน แถมดูเหมือนว่าความเป็นอยู่ของเมืองก็ยังไม่ค่อยจะเอื้อให้อยู่รอดจนถึงวันสุดท้ายของชีวิตเสียด้วย คอลัมน์ Urban Isekai ชวนมาวางแผนและหาทางพัฒนาเมืองหลังกำแพงสูงกัน จะทำอย่างไรให้ชาวเมือง Mitras บนเกาะสวรรค์แห่งนี้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพที่ดีขึ้น แม้ว่ายังต้องหาหนทางเอาชีวิตรอดจากการบุกรุกของไททันก็ตาม ซาซาเงโย! ซาซาเงโย จงอุทิศด้วยหัวใจ! สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างชาวเอลเดียและชาวโลก หลังจากที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวมานาน ก็ถึงเวลาที่ชาวเอลเดียจะได้มีเพื่อนบ้านสักที ด้วยการเปิดเกาะและส่งตัวแทนไปผูกสัมพันธ์กับเมืองรอบนอก เพื่อเรียนรู้วัฒนธรรมการใช้ชีวิตแบบคนทั่วไป และนำเอาเทคโนโลยีก้าวหน้าจากพื้นที่อื่นๆ เข้ามาปรับใช้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเมืองให้เท่าทันโลก หรือนำมาใช้พัฒนากองทัพเพื่อสร้างความแข็งแรง รองรับการบุกรุกของไททันได้อย่างเต็มที่ รวมถึงสร้างความเข้าใจกันผ่านประวัติศาสตร์ของทั้งสองฝ่าย ให้การศึกษาชาวเมือง ชาวเมืองหลายคนยังไม่ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง แถมเรื่องราวนอกกำแพงยังกลายเป็นเรื่องต้องห้าม ทำให้เอเรนและอาร์มินในวัยเด็กต้องแอบอ่านหนังสือของคุณปู่ ถึงจะรู้เรื่องราวของมหาสมุทรกว้างใหญ่ภายนอกกำแพง ดังนั้นเราจะปรับเปลี่ยนและพัฒนาการศึกษาให้กระจายไปในทุกพื้นที่ของเมือง ไม่ว่าอยู่เขตไหนก็จะได้เรียนหนังสือ เพื่อสร้างความรู้พื้นฐานในด้านต่างๆ ให้ชาวเมือง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวความก้าวหน้าของโลกภายนอกกำแพง ข้อมูลความถูกต้องของประวัติศาสตร์ที่ถูกบิดเบือน […]

เปิดสถิติงานสัปดาห์หนังสือย้อนหลัง 5 ปี จริงๆ แล้วคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงหรือไม่

ข่าวการปิดตัวลงของร้านหนังสือจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา อาจทำให้หลายคนมองว่าสาเหตุหลักๆ เกิดจากการที่คนไทยอ่านหนังสือน้อยลง แต่เมื่องานหนังสือวนกลับมาอีกครั้ง เหล่านักอ่านก็ยังให้ความสนใจและเตรียมไปขนหนังสือกลับบ้านกันอยู่ตลอด รวมถึงงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 51 ที่ใกล้ถึงนี้ ในสถานที่เดิมอันคุ้นเคยอย่างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ คอลัมน์ City by Numbers จึงขอพาไปดูสถิติย้อนหลังของงานสัปดาห์หนังสือฯ 5 ปีที่ผ่านมากันว่า จำนวนบูท ยอดผู้เข้างาน และยอดขายในแต่ละปีเป็นอย่างไร สอดคล้องกับความคิดที่ว่าคนไทยอ่านหนังสือน้อยลงหรือไม่ สถานที่เปลี่ยนไป ทำให้ตัวเลขในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติลดลง โดยปกติแล้ว งานหนังสือครั้งใหญ่ในกรุงเทพฯ จัดขึ้นสองช่วง ได้แก่ ‘งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ’ ในช่วงปลายเดือนมีนาคมคาบเกี่ยวต้นเดือนเมษายนของทุกปี และ ‘งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ’ ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยมีสถานที่จัดงานประจำคือ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แต่ในปี 2562 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้ปิดปรับปรุงนานกว่า 3 ปี ทำให้งานหนังสือทั้งสองช่วงต้องเปลี่ยนสถานที่จัดงาน รวมไปถึงการระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบงานเป็นออนไลน์ และเพิ่งได้กลับมาจัดงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์อีกครั้งในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 27 ในเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา  ด้วยสถานที่จัดงานที่เปลี่ยนไป รวมไปถึงการเดินทางที่ไม่สะดวกเท่าเดิม จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้งานหนังสือในช่วง 2 – 3 […]

‘หลงยุคหลุดสมัย’ รวมเรื่องสั้นถึงสังคมไทยในอนาคต ที่หยิบความล้ำมาเล่าอย่างเจ็บแสบ

เมื่อปีก่อน ฉันได้มีโอกาสอ่านรวมเรื่องสั้นฉบับกะทัดรัดที่ทางสำนักพิมพ์แซลมอน ซึ่งเป็นผู้จัดพิมพ์ให้คำจำกัดความไว้ว่า ‘โปรเจกต์ซาชิมิ’ เนื่องจากมีชิ้นพอดีคำ เนื้อหาสดใหม่ และไม่มีการปรับแก้ต้นฉบับ ชื่อของหนังสือคือ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ โดย วัน รมณีย์ นักเขียนที่ฉันไม่เคยได้ยินชื่อ และเสิร์ชหาข้อมูลเท่าไหร่ก็ไม่เจออะไรไปมากกว่าการที่เขาเป็นนักเขียนลึกลับ ฝีมือจัดจ้านเท่านั้น สามเรื่องสั้นที่ประกอบรวมในเล่ม อันได้แก่ จ๊ะเอ๋ บุษบา และหลงยุคหลุดสมัย ทำให้ฉันอดรู้สึกตะลึงพรึงเพริดไม่ได้ อาจเพราะฉันไม่ได้อ่านงานเขียนไทยแนวนี้มานานมากแล้ว หรือเพราะความสดใหม่ของไอเดียการนำเสนอเรื่องราวโดยนักเขียนก็ตาม สุดท้ายฉันเลือกบันทึกชื่อของ ‘วัน รมณีย์’ ไว้ลึกๆ ในใจ คาดหวังว่าถ้าเขาเขียนงานใหม่ออกมาเมื่อไหร่ ฉันจะไปขวนขวายหาอ่านให้ได้ จนกระทั่งฉันได้มาเจอ ‘หลงยุคหลุดสมัย’ ในอีกเวอร์ชันหนึ่งที่เป็นฉบับครบรอบสามสิบปี โดยสำนักพิมพ์ Anthill Archive ที่ออกมาช่วงปลายปีที่แล้ว (แต่ในหนังสือระบุว่า พิมพ์เมื่อธันวาคม 2595 ที่สื่อว่ามาจากอนาคต!) ความพิเศษของฉบับนี้คือ มีเรื่องสั้นเพิ่มจำนวนขึ้นอีก 9 เรื่อง รวมเบ็ดเสร็จเป็น 12 เรื่อง แถมยังมีกิมมิก Ways to Read สำหรับการไล่อ่านแต่ละเรื่อง แบ่งเป็นตัวเลือกของนักเขียนและบรรณาธิการอีกแน่ะ แต่สุดท้ายเราก็เลือกไล่อ่านตามหน้าหนังสือไปเรื่อยๆ […]

KARAVA แบรนด์องค์เทพตั้งโต๊ะของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนภาพจำไอเทมมูฯ ให้ดูโมเดิร์น

ไม่ว่าคุณจะเรียกตัวเองว่าสายมูฯ หรือไม่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าชีวิตประจำวันของเราเชื่อมโยงกับการมูเตลูไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การไหว้พระและรูปบรรพบุรุษให้คุ้มครองก่อนออกจากบ้าน การตามหาเลขเด็ดก่อนวันที่ 1 และ 16 ของเดือน หรือการขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือก่อนการพิตช์งานใหญ่ เหล่านี้คือตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ที่ถ้าคุณไม่ได้ทำเอง ก็ต้องมีคนใกล้ตัวสักคนทำ แน่นอน เรามูฯ เพราะคาดหวังความสำเร็จในสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรืออย่างน้อยที่สุดเราก็มูฯ เพื่อหล่อเลี้ยงความหวังและความสบายใจ บางครั้งการมูฯ ก็เป็นการตั้งหลักในใจก่อนจะเริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง ‘บุ๊ค-หัสวีร์ วิรัลสิริภักดิ์’ และ ‘เคน-นันท์ธร พรกุลวัฒน์’ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Karava ก็คุ้นเคยกับการมูเตลูมาตั้งแต่เด็กๆ พวกเขาอินกับการมูฯ มากจนเปิดธุรกิจไอเทมมูเตลูของตัวเอง เริ่มตั้งแต่สร้อยข้อมือหินมงคลพลังงานดี ไปจนถึงองค์เทพตั้งโต๊ะบูชา ที่น่าสนใจมันอยู่ตรงที่ว่า องค์เทพของแบรนด์ Karava ไม่ได้มีหน้าตาเหมือนองค์เทพที่เราเคยเห็นทั่วไป แต่ผ่านการดีไซน์ให้โมเดิร์นขึ้นเพื่อเอาใจคนรุ่นใหม่ ให้นำไปจัดวางไว้กับบ้าน Modern Luxury ที่ได้รับความนิยมในยุคนี้ได้อย่างไม่เคอะเขิน แนวคิดเบื้องหลังการดีไซน์ไอเทมมูเตลูของทั้งคู่เริ่มต้นยังไง คอลัมน์ Re-desire รอบนี้พาไปหาคำตอบกัน ธุรกิจมูเตลูของสายมูฯ ตัวจริง “ที่บ้านคนนี้เลยครับ” เคนผายมือไปที่บุ๊ค เมื่อเราถามถึงจุดเริ่มต้นการเป็นสายมูฯ ของทั้งคู่ บ้านของบุ๊คเป็นบ้านคนจีน คุณพ่อของเจ้าตัวมีตู้พระตู้ใหญ่ที่สะสมองค์พระดังๆ จากวัดมากมายในหลักร้อยชิ้น […]

สำรวจ ‘เมืองทองธานี’ เมืองเล็กในเมืองใหญ่ที่ไม่เคยหยุดเติบโต

“ครั้งล่าสุดที่ไปเมืองทองคือเมื่อไรกันนะ” คนรักบ้านและสวนอาจตอบว่าเมื่อปลายปีที่แล้วที่งานแฟร์ คนรักรถน่าจะไปเดินเล่นงานมอเตอร์เอ็กซ์โปเมื่อไม่กี่เดือนก่อน หรือหลายคนอาจไปคอนเสิร์ตของศิลปินที่ชื่นชอบเมื่อไม่นานมานี้ ‘เมืองทองธานี’ ไม่ได้ขึ้นชื่อแค่เรื่องอีเวนต์ที่จัดอยู่ตลอดทั้งปี แต่ยังมีที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียม ออฟฟิศ ร้านรวงยันห้างสรรพสินค้า ศูนย์ราชการ และสนามกีฬาประเภทต่างๆ โดยเฉพาะฟุตบอล กับการมีสโมสรประจำย่านที่มีแฟนคลับเข้าเส้นไม่ต่างจากสโมสรในต่างประเทศ ปกติแล้วคอลัมน์ Neighboroot มักจะชวนผู้อ่านลงพื้นที่ ย่ำตรอก ออกซอย สำรวจย่านต่างๆ ในเมืองหลวงเป็นหลัก แต่สำหรับครั้งนี้เราขอชวนออกไปปริมณฑลเพื่อนบ้านเมืองหลวง อัปเดตวิถีชีวิตชาวเมืองทอง กินอย่างคนเมืองทอง และเชียร์ฟุตบอลอย่างทีมเมืองทองฯ กันดูบ้าง ‘เมืองทองธานี’ เรียกว่าเป็นเมืองขนาดย่อมๆ ก็ไม่ผิดนัก หากเล่าอย่างคร่าวๆ เพื่อให้รู้จักที่มาที่ไปเร็วที่สุด โครงการอภิมหาโปรเจกต์มิกซ์ยูสนี้เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ. 2533 จากความตั้งใจของบริษัท บางกอกแลนด์ จำกัด (มหาชน) ที่อยากสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ขยับออกมาในเขตชานเมือง ตามอย่างในฮ่องกง พื้นที่รวมๆ ในเมืองทองธานีสามารถแบ่งได้เป็น 2 โซนหลักคือ โซนที่อยู่อาศัย มีทั้งคอนโดมิเนียมและบ้านเดี่ยว แบ่งซอยย่อยๆ แยกจากถนนใหญ่ไม่ต่างจากในเมือง วางแลนด์สเคปและผังเมืองในโครงการมาอย่างดี หากโซนแรกมีวิถีชีวิตที่เงียบๆ และไม่ค่อยพลุกพล่าน อีกฟากหนึ่งคงให้ความรู้สึกต่างออกไป เพราะโซนพื้นที่เชิงพาณิชย์-ศูนย์แสดงสินค้า จะคึกคักตลอดทั้งปี สถานที่ที่หลายคนคุ้นชินน่าจะเป็นชาเลนเจอร์ฮอลล์ อิมแพค […]

TÁR : เมื่อเวลาสัมพันธ์กับวัฒนธรรมคว่ำบาตร และพลวัตของอำนาจไม่อาจแยกจากเรื่องเพศ

บทความนี้มีการเปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์ หลังห่างหายจากงานกำกับไปนานกว่า 16 ปี ล่าสุดผู้กำกับมากฝีมืออย่าง Todd Field ก็กลับมาพร้อมกับผลงานภาพยนตร์เรื่อง Tár ที่เปิดตัวครั้งแรกในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส (Venice Film Festival) เมื่อปีที่ผ่านมา และล่าสุดก็ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ถึง 6 สาขาด้วยกัน รวมถึงสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Tár นั้นเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของ Lydia Tár (รับบทโดย Cate Blanchett) วาทยกรหญิงผู้แสนเก่งกาจและมากประสบการณ์ ความสามารถของเธออยู่ในระดับที่หาตัวจับได้ยากในแวดวงดนตรี แน่นอนว่าสถานะทางสังคมที่เป็นทั้งวาทยกรเอกและอาจารย์ที่ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์นับร้อยพัน นั่นอาจเป็นจุดสูงสุดของอาชีพการงานที่ใครคนหนึ่งจะไปถึงได้ หากแต่ช่วงชีวิตคนเราต่างก็แปรผันไปตามสถานการณ์ เมื่อมือเอื้อมแตะถึงขอบฟ้า แต่เท้ายังย่ำอยู่ในโคลนตม ก็ไม่แปลกที่ต่อให้แม้จะยืนอยู่ในจุดที่สูงแค่ไหนก็พร้อมร่วงหล่นลงมาได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะกับ Tár ศิลปินมากความสามารถที่เต็มไปด้วยรอยด่างพร้อยและข้อบกพร่องนับไม่ถ้วน ซ้ำยังทำในสิ่งที่ก้าวข้ามเส้นแบ่งศีลธรรมและจริยธรรมอยู่หลังม่านมานานแรมปี แน่นอนว่าความสำเร็จในแง่ของรายได้และคำวิจารณ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้คงเป็นที่ประจักษ์อย่างไม่มีข้อกังขา แต่ความสำเร็จอีกนัยหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ การหยิบจับประเด็นที่สังคมให้ความสนใจมาบอกเล่า โดยทำให้เรื่องราวเหล่านั้นยังคงอยู่ในบทสนทนา จนเกิดการพูดคุยถกเถียงกันต่ออย่างไม่รู้จบหลังจากที่ลุกออกจากโรงหนังไป ‘เวลา’ คือตัวแปรสำคัญของวัฒนธรรมคว่ำบาตร ในช่วงปีหลังมานี้ ทุกครั้งที่มีประเด็นร้อนของเหล่าคนดังที่เกิดข้อโต้แย้งกันบนโซเชียลมีเดีย หลายคนอาจคุ้นหูและผ่านตากับคำว่า ‘วัฒนธรรมคว่ำบาตร (Cancel Culture)’ มาไม่มากก็น้อย ซึ่งความหมายโดยกว้างของคำนี้คือ การเลิกสนับสนุนผลงานของเหล่าศิลปินที่มีปัญหา (Problematic) […]

ดราม่าหลังกล้อง และความเสวที่ไม่ได้บิลด์กันง่ายๆ ของ ‘ครูแพรว’ แอ็กฯ เสวที่คนตามหลักแสน

สำหรับคนที่ Follow เธออยู่แล้ว เรารู้กันดีว่าช่อง ‘ครูแพรว’ ไม่ใช่ช่องสอนหนังสือ เราไม่ได้ติดตามครูแพรวในฐานะครู แต่คือ Porn Creator ทรานส์เจนเดอร์ยอดนิยม เจ้าของแอ็กเคานต์ OnlyFans ที่มีจำนวน Subscribers จากทั่วโลกหลักพัน และมียอด Followers ในช่องทางอื่นๆ เรือนแสน สารภาพตามตรง เราเคยคิดว่าชื่อแอ็กเคานต์เป็นแค่กิมมิกให้จำง่ายเฉยๆ แต่พอได้นั่งคุยกับ ‘แพรว-แพรวไพลิน กสิวัฒนา’ แบบตัวต่อตัวกันในบ่ายวันนี้ เราถึงรู้ว่าเธอเป็นครูจริงๆ นอกจากบทบาทคนทำคลิปเสียว ครูแพรวคือหนึ่งในหุ้นส่วนและครูของโรงเรียนสอนแต่งหน้า กันคิ้ว และสอนบุคลิกภาพแห่งหนึ่งในขอนแก่น แถมเธอยังเป็นนางงามที่เพิ่งคว้ามงกุฎ Miss Trans Thailand มาหมาดๆ เมื่อปี 2022 และกำลังปลุกปั้นช่องยูทูบที่ทำคอนเทนต์เมาท์มอยและไลฟ์สไตล์ของตัวเองขึ้นมาอย่างมุ่งมั่น เส้นทางชีวิตก่อนหน้านี้ของเธอก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ตั้งแต่รู้ว่าอยากใช้ชีวิตแบบไหน ครูแพรวก็ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ใช้ชีวิตแบบนั้น แต่ชีวิตก็คือชีวิต มันไม่มีอะไรง่ายและไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป คอลัมน์ The Professional คราวนี้ เราจึงอยากชวนครูแพรวมาทบทวนเส้นทางที่ผ่านมา แล้วสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากชีวิตและการทำงานในฐานะ Porn Creator กับอีกสารพัดบทบาทของเธอให้เราฟัง นี่คือบทเรียนที่เธอไม่เคยเล่าหน้ากล้อง ไม่เปิดเผยบน […]

จากราชบุรีถึงอเมริกา ฟังเสียงเพลงจากชีวิตของ ‘ราม-เอกศักดิ์ ชานาง’ วง Selina and Sirinya

“ถ้าจังหวะมันไม่ได้ก็แค่พักไว้ก่อนและฝึกฝนไปด้วย ชีวิตต้องมีรายได้ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องจัดการ แต่ถ้าเวลาผ่านไปแล้วเราไม่ทำสิ่งที่รัก แน่นอนว่ามันย้อนกลับไปไม่ได้ ทุกวันคือต้องทำ ยิ่งทำก็ยิ่งก่อตัว “เราอยากให้เพลงที่ทำช่วยเยียวยาคนอื่น เป็นส่วนหนึ่งในความสร้างสรรค์ที่ให้แรงบันดาลใจ และส่งเสริมสังคมให้ดีขึ้น” ‘ราม-เอกศักดิ์ ชานาง’ ครองตนเป็นศิลปินมาจนถึงปัจจุบันในวัย 39 ปี เริ่มตั้งแต่เขาเติบโตเล่าเรียนในบ้านเกิดที่จังหวัดราชบุรี พอย่างเข้าวัยรุ่นก็เรียนที่ช่างศิลปสุพรรณ และไปเป็นเด็กวิจิตรศิลป์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในช่วงมหาวิทยาลัย ช่วงเวลานี้เองที่เขาได้พบรักกับสองสิ่ง หนึ่งคือ Selina (เซลิน่า) แบ็กแพ็กเกอร์สาวชาวอเมริกันที่มาเที่ยวที่ไทย สองคือ วงดนตรีที่ร่วมสร้างขึ้นมากับเพื่อนซี้สุดซัดมาด ‘เอ๊ะ-นที ศรีดอกไม้’ ในนาม Selina and Sirinya จากการพบรักก่อตัวเป็นสิ่งที่รัก ชีวิตศิลปินของรามได้ออกเดินทางครั้งใหญ่ เขาโยกย้ายไปอยู่กับครอบครัวที่มีภรรยาและลูกอีกสองคนที่ประเทศอเมริกาเป็นเวลาสิบกว่าปี เดือนไหนที่อาชีพคนสวนในฟาร์มกัญชาของเขาสามารถหยุดงานได้ รามจะพาครอบครัวบินกลับมาที่ไทย และใช้ชีวิตออกทัวร์เล่นดนตรีกับเพื่อน  เรานึกถึงบทสนทนาข้ามทวีปในช่วงสิ้นปีที่ได้คุยกับราม ถึงจุดเริ่มต้นของการไปใช้ชีวิตอยู่ในอเมริกา เรื่องราวเหล่านั้นประกอบด้วยงานเพลง ความฝัน ความนึกคิด ความเป็นศิลปิน รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองที่เขาอาศัยอยู่ เนื่องในเดือนกุมภาพันธ์นี้ วง Selina and Sirinya กำลังมีทัวร์เปิดอัลบั้มสามที่กรุงเทพฯ คอลัมน์ Think Thought […]

1 5 6 7 8 9 18

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.