Furiosa : A Mad Max Saga มหากาพย์เด็กสาวผจญโลกบ้าคลั่งของชายชาตรี ในดินแดนรกร้างว่างเปล่าที่ผู้คนสูญสิ้นความเป็นคน

หนึ่งในภาพยนตร์ที่ถูกจดจำในยุคสมัยใหม่นี้ ทั้งแง่ของการเป็นหนังอาร์ตขวัญใจนักวิจารณ์ และหนังที่มีความบันเทิงแบบบล็อกบัสเตอร์อยู่เต็มเปี่ยม คงหนีไม่พ้น Mad Max : Fury Road (2015) หนังที่อัดแน่นไปด้วยซีนแอ็กชันสูบฉีดอะดรีนาลีนแบบ Non-stop ตั้งแต่ต้นเรื่องยันท้ายเรื่อง และภาพเชิงสัญญะที่เปิดช่องว่างให้คนดูตีความกันได้ ไหนจะงานสร้างสุดอลังการที่เนรมิต Wasteland ดินแดนรกร้างหลังโลกาวินาศออกมาได้อย่างน่าตื่นตาตื่นใจ ฉากแอ็กชันขับเคลื่อนเรื่องราวที่สมจริง ทั้งยานยนต์ทั้งหลาย บรรดาสตันท์ผาดโผน ความรุนแรงต่างๆ นานา มันจึงสมกับความบ้าคลั่งของโลกในภาพยนตร์สุดๆ อย่างที่ไม่เคยมีเรื่องไหนทำได้มาก่อน หนึ่งสิ่งที่ผู้ชมต่างจดจำในภาคนี้คือตัวละคร Furiosa ที่แสดงโดย Charlize Theron ผู้ลงทุนโกนหัวสกินเฮดจนกลายเป็นที่จดจำไปโดยปริยายเสียยิ่งกว่าตัวละคร Max Rockatansky ผู้เป็นตัวเอกของหนังชุด Mad Max เสียอีก คงไม่เป็นการกล่าวเกินจริงหากจะบอกว่าฟูริโอซ่าเป็นตัวละครที่ Empower ผู้หญิงอย่างแนบเนียน สมเป็นหนึ่งในตัวละครหญิงแกร่งไอคอนิกของยุคสมัยใหม่ ประจักษ์ได้จากการที่เธอเป็นผู้นำลุกขึ้นสู้กับอำนาจในโลกที่ปกครองโดยผู้ชาย และปลดแอกการกดทับที่มีต่อบรรดาตัวละครหญิงในเรื่อง ซึ่งผู้ชมบางส่วนอาจไม่ทันรู้สึกถึงสิ่งเหล่านี้หากไม่ได้ตั้งใจมองลึกลงไป เพราะด้วยความที่ Fury Road เน้นไปที่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เล่าเรื่องด้วยภาพมากกว่าคำพูดที่มีไม่กี่ถ้อยคำ นำมาสู่ช่องว่างที่เปิดโอกาสให้เรื่องราวประวัติของสิ่งต่างๆ มากมายในโลก Wasteland ที่ไม่ได้เล่า จนนำมาทำเป็นเรื่องราวส่วนขยายได้ ด้วยประการฉะนี้ ภาพยนตร์ […]

Skyline Film ธุรกิจหนังกลางแปลงของคนรุ่นใหม่ ที่อยากให้ทุกคนมาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ของการดูหนัง

ประสบการณ์การดูหนังที่เพอร์เฟกต์ของคุณถูกนิยามไว้แบบไหน ต้องอยู่ในห้องที่เงียบและมืดสนิท แอร์เย็นฉ่ำ เก้าอี้นุ่ม หรือมีป็อปคอร์นเสิร์ฟตลอดการฉาย ตามประสาคนรักหนัง เราเคยคิดว่าสิ่งเหล่านั้นช่วยสร้างอรรถรสได้ไม่น้อยเช่นกัน จนกระทั่งได้รู้จักกับ Skyline Film Bangkok กิจกรรมฉายหนังที่ป็อปขึ้นมาบนหน้าฟีดเมื่อไม่นานมานี้ ถ้าคุณเคยเห็นเหมือนกัน อาจพอรู้ว่า Skyline Film Bangkok นั้นเป็นการฉายหนังบนดาดฟ้า มองเผินๆ แล้วไม่ต่างอะไรจากหนังกลางแปลงที่เราคุ้นเคย แต่ที่พิเศษกว่านั้นคือ พวกเขาจัดฉายหนังบนดาดฟ้าที่เน้นขายบรรยากาศ ความสะดวกสบาย และสร้างประสบการณ์แบบใหม่ที่นักดูหนังอาจไม่เคยได้รับจากที่ไหนอย่างการดูหนังเอาต์ดอร์แล้วสวมหูฟังของตัวเอง ไหนจะมีกิจกรรมพิเศษต่างๆ อาทิ เครื่องดื่มพิเศษ โฟโต้บูท ให้มาทำคอนเทนต์รอดูหนัง ธรณ์ พิทูรพงศ์ และ แมน-พลัฏฐ์ เหมะจันทร์ คือสองชายหนุ่มที่อยู่เบื้องหลังอีเวนต์นี้ ซึ่งบอกเลยว่ากำลังเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่นเทรนดี้และนักท่องเที่ยวสุดๆ จากการฉายครั้งแรกที่กะทำเอาขำๆ พวกเขาขยับขยายให้กลายเป็นธุรกิจจริงจัง เปลี่ยนภาพจำเกี่ยวกับประสบการณ์การดูหนังที่เพอร์เฟกต์ของหลายคนไปตลอดกาล ข้างหลังจอภาพ Skyline Film Bangkok เริ่มต้นด้วยวิธีคิดแบบใด และอะไรทำให้การฉายหนังของพวกเขาพิเศษขึ้นมา เราขอชวนคุณหย่อนก้นนั่ง ใส่หูฟัง แล้วตามไปฟังเคล็ดลับของพวกเขากัน จากไต้หวันสู่เมืองไทย บทเรียนภาษาจีนคือสิ่งที่ดึงดูดธรณ์ให้เดินทางไปไต้หวัน แต่ขากลับนอกจากสกิลภาษา เขาได้ธุรกิจติดมือมาประเทศไทยด้วย หลายปีก่อนระหว่างที่ไปลงคอร์สเรียนภาษา ชายหนุ่มสมัครงานพาร์ตไทม์ทำ เขาได้งานในบริษัทให้คำปรึกษาสตาร์ทอัพไต้หวันที่อยากมาลงทุนในไทย […]

Abang Adik สองพี่น้องผู้ยังมีกันและกัน และความสัมพันธ์ที่ไม่เคยถูกเหลียวแล ณ ซอกหลืบที่ลึกสุดของความชายขอบ

ภาพยนตร์จากประเทศมาเลเซีย คงไม่ได้เป็นสิ่งที่หาชมได้บ่อยนักในโรงหนังไทย อีกทั้งน่าจะมีภาพจำว่าต้องเป็นหนังที่นำเสนอความเป็นศาสนาอิสลามแน่ๆ ยังไม่นับรวมกฎการเซนเซอร์หนังที่เคร่งครัดเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ หลายๆ คนอาจจะเข้าใจผิด ไม่คิดว่า Abang Adik หนังที่คว้ารางวัลนักแสดงนำชายจากเวทีม้าทองคำ (Golden Horse Awards) ที่ได้ชื่อว่าเป็นออสการ์ของจีน ซึ่งมีตัวละครนำเป็นชาวจีนจะเป็นหนังมาเลเซียไปได้ มากไปกว่านั้น มันยังเป็นหนังแนวชีวิตรันทด ขื่นขม และโหดร้าย ที่ตัวละครต้องการจะหลีกหนีจากโชคชะตาอันต้อยต่ำในสังคม ตะเกียกตะกายหาหนทางไปสู่ชีวิตที่ดีกว่าผ่านเส้นทางอันสุดแสนยากลำบาก ที่ไม่ว่ายังไงก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะหลุดออกจากวงจรเหล่านั้น เนื่องจากระบบสังคมกดทับพวกเขาอยู่ เราแทบไม่เคยเห็นเรื่องราวลักษณะนี้จากฟากฝั่งของหนังมาเลเซีย ทั้งที่หนังแนวนี้ในระดับสากลถูกเล่ามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสถานที่และเวลา ยกตัวอย่าง Rosetta (1999) ของพี่น้อง Dardenne ที่ว่าด้วยเด็กสาวผู้พยายามต่อสู้เอาชีวิตรอดเพียงหวังแค่การงานที่มั่นคง, Lilya 4-Ever (2002) ของ Lukas Moodysson ที่เล่าถึงชีวิตเด็กสาวที่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งในเมืองที่เคยเป็นสหภาพโซเวียต และถูกหลอกไปค้าประเวณีในสวีเดน, An Elephant Sitting Still (2018) หนังจีนของ Hu Bo ผู้ล่วงลับ ที่ฉายภาพของกลุ่มคนหลากวัยที่หมดหวังกับเมืองของเขา หรือ A Sun (2019) […]

Reserve a chair in Thailand style อากาศร้อน ขอจองที่ไว้ก่อนนะ

ผมเป็นคนชอบถ่ายภาพแนว Street Photography เพราะเสน่ห์ของการถ่ายภาพแนวนี้คือ เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่า ในวันที่ออกไปถ่ายภาพเราจะได้ภาพอะไรบ้างหรืออาจไม่ได้อะไรเลย ส่วนใหญ่ภาพแนวสตรีทที่ผมถ่ายนั้นจะเป็น Single Photo หรือการเล่าเรื่องในภาพเดียว ซึ่งภาพเดี่ยวของภาพสตรีทนั้นมีแนวที่หลากหลาย ถ้าตามสากลที่ยึดแกนหลักกันคร่าวๆ จะมี Layer, Juxtaposition, Unposed เป็นต้น แต่บังเอิญว่าในวันที่ผมออกไปถ่ายภาพ ท่ามกลางแดดร้อนและเวลาที่จำกัด ผมที่เดินหาภาพก็ครุ่นคิดอยู่นานว่าจะถ่ายภาพอะไรดี จนกระทั่งเห็นลานที่มีเก้าอี้เรียงเป็นทิวแถว ซึ่งบนเก้าอี้แต่ละตัวเต็มไปด้วยสิ่งของที่วางไว้เพื่อทำหน้าที่จับจองพื้นที่ ทำให้การถ่ายภาพในวันนั้นเปลี่ยนจาก Single Photo มาเป็น Mini Series Reserve a chair in Thailand style หรือการจองเก้าอี้ในแบบไทย เป็นชุดภาพที่ต้องการเล่าแบบเรียบง่าย แต่ก็แอบแฝงความไทยแทร่ของคนไทยในการครีเอตวิธีการจองที่ได้เป็นอย่างดี เพราะต่อให้ไม่มีการยืนยันตัวตนเหมือนซื้อบัตรเข้าชมงาน แต่ผู้คนที่จะหาที่นั่งต่างก็รู้ดีว่า เก้าอี้เหล่านี้มีเจ้าของเรียบร้อยแล้ว งานภาพชุดนี้ไม่ต้องตีความให้ซับซ้อน เหมือนเราดู Review Before and After แค่ต้องอาศัยช่วงเวลาของแสงเพื่อทำให้เกิด Mood & Tone ของสิ่งที่ถ่ายให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive พฤษภาคม 2567

ของพวกนี้ดีไซน์แล้วหรือยังเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับตัวผมเองในช่วงไม่นานมานี้ หลังจากเริ่มเผยแพร่ภาพผลงานสิ่งประดิษฐ์อันแสนน่าอัศจรรย์ใจที่พบเจอตามริมทางท้องถนนเมืองไทยมาสักพักใหญ่ ทั้งผ่านช่องทางส่วนตัวหรือกับทาง Urban Creature เอง ตอนผมเรียนในโรงเรียนออกแบบ โดยทั่วไปอาจารย์มักสอนกันว่า เวลาสร้างผลงานใดๆ เราจำเป็นที่จะต้องตอบคำถามสิ่งที่เราดีไซน์กันอยู่ให้ได้ 3 เรื่อง ได้แก่1) ฟังก์ชันการใช้งาน2) ตอบโจทย์แก้ปัญหา3) ความสวยงาม แต่เมื่อเรามีประสบการณ์ทำงานดีไซน์ไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะพบกันว่า ไอ้ข้อที่ 3 ที่ว่าเรื่องความสวยงาม เริ่มกลายเป็นเรื่องรองมากขึ้น เพราะในสังคมปัจจุบัน ความสวยงามเป็นเรื่องของปัจเจกสูง มีความแล้วแต่บุคคลจะมอง เทสใครเทสมัน ทำให้ยุคหลังๆ นักออกแบบหลายคนในหลายวงการโฟกัสผลงานดีไซน์ไปที่เรื่องฟังก์ชันและการแก้ปัญหาเป็นหลักเสียมากกว่า เพราะงานออกแบบที่สวยงามมากๆ แต่ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน ก็อาจไม่เรียกว่างานดีไซน์ที่ดีได้เช่นกัน กลับมาที่สิ่งประดิษฐ์จากคนธรรมดาผู้ไม่ได้เรียนออกแบบที่เราพบเจอได้ตามท้องถนน แล้วของพวกนี้มันดีไซน์แล้วหรือยัง มันอาจจะดีไซน์แล้วมั้ง-เพราะมีฟังก์ชันและสามารถแก้ปัญหาได้ดีมากๆ แต่หน้าตาก็ดูแปลกๆ หรือมันยังไม่ได้ดีไซน์-เพราะหน้าตาแย่เกินไปกว่าที่เราควรจะไปชื่นชมมัน หรือต้องเป็นของที่ผ่านมือนักออกแบบเท่านั้นถึงจะเรียกว่าดีไซน์ บอกเลยว่าตัวผมเองก็ยังไม่มีคำตอบให้ เพราะเมื่อได้พบเจอกับของพวกนี้ชิ้นใหม่ๆ ทุกครั้ง ผมจะรู้สึกว้าวอยู่ตลอด มันชวนตั้งคำถามและท้าทายอาชีพนักออกแบบอยู่เสมอๆ ว่าพวกเราสามารถคิดวิธีออกแบบได้ดีเท่านี้ไหม แล้วเพื่อนๆ ทุกท่านคิดว่าของเหล่านี้ถูกดีไซน์แล้วหรือยัง หากยังไม่แน่ใจในคำตอบแบบเดียวกับผม ก็ขอชวนมาดูภาพของเหล่านี้กันเพลินๆ อีกครั้ง ที่ผมคัดสรรมาให้โดยเฉพาะกับคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอ ประจำเดือนนี้ได้เลย Table + Height Adjustment ระดับความสูงของโต๊ะอ่างล้างจานมาตรฐานบ้านเรามักจะอยู่ที่ […]

กางสถิติจำนวนรถยนต์ในกรุงเทพฯ​ เมืองที่มีรถมากกว่าคนแบบเท่าตัว

นอกจากวัด วัง แม่น้ำเจ้าพระยาที่เปี่ยมด้วยชีวิตชีวา และสตรีทฟู้ดอันยั่วน้ำลาย อีกสิ่งอย่างที่คนนึกถึงเมื่อพูดถึงกรุงเทพฯ ก็คือ ท้องถนนที่หนาแน่นแออัดไปด้วยรถยนต์แบบสุดลูกหูลูกตา เนื่องจากกรุงเทพฯ ขาดการพัฒนาเมืองอย่างเป็นแบบแผน เมืองเต็มไปด้วยซอยตันลึกแคบ ซึ่งกว่าจะเดินด้วยเท้าไปถึงขนส่งมวลชนสาธารณะได้ก็แสนจะยากเย็น แถมเมืองไม่ได้ออกแบบให้เป็นมิตรกับคนเดินเท้าอีก ผู้คนเลยกรูไปใช้รถยนต์ในการเดินทางกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใน พ.ศ. 2565 เว็บไซต์ INRIX วิเคราะห์ว่า คนกรุงเทพฯ หนึ่งคนเสียเวลาเดินทางบนท้องถนนเฉลี่ยมากถึง 67 ชั่วโมงต่อปี ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 2 ของเอเชีย น่าสนใจเหมือนกันว่า จริงๆ แล้วกรุงเทพฯ มีรถเยอะจริงไหม แล้วบรรดารถยนต์ที่เบียดเสียดในกรุงเทพฯ เป็นรถยนต์แบบไหนบ้าง คอลัมน์ City by Numbers ครั้งนี้เลยขอเอาข้อมูลรถยนต์จดทะเบียนสะสมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2566 จากกลุ่มสถิติการขนส่ง กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก มากางให้หายสงสัย กรุงเทพฯ รถเยอะกว่าคน จากสถิติจำนวนรถจดทะเบียนสะสมในกรุงเทพมหานคร วันที่ 31 ธันวาคม ปี 2566 พบว่า กรุงเทพฯ มีจำนวนรถจดทะเบียนทั้งหมด 11,791,220 […]

Childhood Amnesia ความทรงจำสีจาง

เราแทบไม่มีความทรงจำตอนช่วงแรกเกิดหลงเหลืออยู่เลย ยิ่งเมื่อโตขึ้นความทรงจำเหล่านี้ก็ยิ่งเลือนหายไป เราจึงอยากบันทึกเรื่องราวแทนความทรงจำของลูกด้วยภาพถ่ายฟิล์มขาวดำ เพราะเด็กแรกเกิดจะมองเห็นภาพเป็นสีขาวดำ จากนั้นก็นำฟิล์มมา Soup ด้วยน้ำนมของภรรยา ทำให้เกิดปฏิกิริยากับฟิล์มที่สื่อถึงการมองเห็นของลูกและความทรงจำที่เลือนราง ติดตามผลงานของ ชาคริสต์ เจือจ้อย ต่อได้ที่ Instagram : bombaychakrist และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

รู้จัก Heat Wave คลื่นความร้อนตัวร้าย กับวิธีการรับมือและนโยบายป้องกันประชากรจากทั่วโลก

“เขาว่ากันว่า ประเทศไทยมีสามฤดูคือ ร้อน ร้อนมาก ร้อนที่สุด” นี่คือคำพูดประชดประชันที่สะท้อนถึงความร้อนระอุของอากาศประเทศไทยที่เราไม่อยากชินชา แต่อุณหภูมิที่สูงขึ้นทุกปีนั้นไม่ใช่เรื่องล้อเล่น เนื่องจากปัญหาอากาศร้อนสามารถส่งผลต่ออารมณ์และสภาพสังคม ซึ่งในปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบปัญหาอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างผิดปกติ และหนึ่งในสาเหตุหลักคือ ‘Heat Wave’ หรือคลื่นความร้อน องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization : WMO) ได้กำหนดนิยามของคลื่นความร้อนว่า ภาวะที่อุณหภูมิสูงสุดประจำวันเกินค่าอุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน แน่นอนว่าในบรรดาประเทศที่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว ล้วนได้รับผลกระทบมากมายจากความร้อนที่สะสมในพื้นที่ โดยเฉพาะในยุโรปและเอเชียที่เกิดความผิดปกติของอุณหภูมิอากาศค่อนข้างมาก ทำให้ในแต่ละปีจะมีผู้คนเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับความร้อน (Heat-related Illness) เป็นจำนวนไม่น้อย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างฉับพลันได้ ทำให้ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าในช่วงที่เกิดคลื่นความร้อน ประชาชนในหลายพื้นที่มีอัตราการใช้พลังงานสูงขึ้น เพราะต้องใช้เครื่องปรับอากาศทำความเย็น จนส่งผลให้บางพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า อีกทั้งปัญหาคลื่นความร้อนยังส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายในปริมาณมาก รวมถึงผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปศุสัตว์อีกด้วย  จากที่กล่าวมาข้างต้น เราจะเห็นว่าปัญหาเหล่านี้ส่งผลต่อผู้คนทั้งในด้านสังคมและเศรษฐกิจ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้หลายประเทศทั่วโลกจำเป็นต้องประกาศนโยบายและแนวทางการแก้ไขเพื่อรับมือกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงขึ้นทุกปีๆ นโยบายมาตรการรับมือคลื่นความร้อนจากทั่วโลก คลื่นความร้อนสร้างปัญหาให้เมืองมากกว่าแค่ทางความรู้สึก เพราะมันส่งผลถึงทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจ รวมไปถึงปัญหาด้านพลังงาน ทำให้หลายประเทศสร้างแผนรับมือคลื่นความร้อน ซึ่งประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานรัฐบาลต่างๆ ยกตัวอย่าง ประเทศฝรั่งเศส ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทั้งการสร้างอาคารทนความร้อน โดยเฉพาะสถานที่สาธารณะ เช่น […]

เลื้อยลอด (รอด) ร้อน ส่องดอกไม้ตามตรอกซอกเมือง

ในเมืองหลวงที่อากาศร้อนระอุ ทั้งคนทั้งสัตว์เลี้ยงต่างต้องปรับตัวสู้อุณหภูมิเดือดด้วยการเข้าไปอยู่ในที่เย็นสบาย เปิดแอร์ฉ่ำใจ แต่สำหรับสิ่งมีชีวิตที่ขยับอะไรมากไม่ได้แบบพืชนั้นน่าอัศจรรย์ใจอย่างยิ่งว่า ปรับตัวได้อย่างไรกับเมืองที่เต็มไปด้วยป่าซีเมนต์มากมาย และในหลายพื้นที่นั้นนอกจากจะไม่มีคนคอยให้น้ำแล้ว ยังผลิดอกออกสีสันให้จรรโลงตาได้อีก พุ่มเล็กๆ ในกระถางดินเผานี้อาจไม่ช่วยให้ร่มเงากับคนปลูกมากนัก แต่ช่วยให้สบายตาขึ้น ตาข่ายกันแดดนี้ก็สภาพไม่ต่างกัน แม้จะรุ่ยจนไม่อาจให้ร่มเงาอะไรได้อีกแล้ว แต่สีโทนเย็นของมันก็สอดรับกับสีชมพูนวลนี้ได้ดี ช่วยปรุงให้เหล็กและปูนที่แข็งกระด้างดูมีชีวิตชีวาขึ้นทันตา ดาดฟ้าคือพื้นที่ที่รับความร้อนโดยตรง การปลูกไม้ดอกไม้พุ่มจึงเป็นทางเลือกที่พอจะบรรเทาอุณหภูมิให้เย็นลงได้ น่าทึ่งที่ไม้พุ่มเหล่านี้นอกจากจะไม่เหี่ยวเฉาแล้ว ยังผลิดอกใบได้ดกดีท้าแดด ช่วยให้คนที่นั่งรถไฟฟ้าผ่านไปมาได้สัมผัสธรรมชาติใกล้ตาบ้าง ไม่ต้องมองทะลุไปไกลสุดลูกหูลูกตา ที่คุ้นตากันดีคงหนีไม่พ้นพุ่มไม้ผลิดอกสีเหลืองที่มักจะเห็นตามข้างถนนใหญ่ เป็นสัญญาณว่าหน้าร้อนมาถึงอย่างเป็นทางการแล้ว หากมองจากระนาบเดียวกันจากถนนไปยังต้นไม้อาจจะรู้สึกแสบตาอยู่บ้าง แต่หากแหงนหน้ามองจากใต้ต้นไม้ทะลุไปยังท้องฟ้า จะเห็นสีสันที่ค่อยสบายตามาหน่อย ด้วยสีท้องฟ้าที่ตัดกับสีของดอกเหลืองนี้พอดี และทำให้เห็นชัดขึ้นมาหน่อยว่ามันก็มีฝักเล็กๆ แซมอยู่ ไม่เพียงแต่ต้นไม้ใหญ่ดอกสีเหลืองที่เราคุ้นตากันดีในหน้าร้อนนี้ ดอกสีแดงอมแสดก็เป็นอีกสีคุ้นตากันดีในประเภทต้นไม้ใหญ่ที่มักขึ้นตามถนนหรืออาคารเก่าแก่เช่นกัน ต้นไม้ใหญ่ที่มีแต่ใบเขียวครึ้มแปะกับสีโทนเย็นอย่างฟ้าครามทำให้ดูเย็นตาเย็นใจ พอได้สีแดงแต้มใส่หน่อยก็เป็นลูกเล่นที่ลงตัวเข้ากันได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ พุ่มชมพูแสบตานี้ไม่เพียงแต่เป็นไม้เลื้อยที่เรามักคุ้นตากันดีว่าอยู่ตามบ้านหรือกำแพงแล้วตั้งตระหง่านบานใหญ่โต บางอาคารที่มีพื้นที่จำกัดก็สามารถปลูกไว้บนดาดฟ้าได้ แล้วให้มันเลื้อยเป็นก้านเล็กๆ ชูไสวลู่ลมร้อน ทำให้แผ่นปูนแผ่นกระเบื้องจืดๆ ดูสดชื่นขึ้นในพริบตา สีละมุนขนาดนี้ มองเผินๆ นึกว่าดอกไม้ในหน้าหนาว แต่ที่จริงแล้วเป็นดอกไม้ที่ชูช่อสูงในหน้าร้อนนี่แหละ เป็นดอกไม้ที่ใครหลายคนก็คงนึกไม่ถึงว่าจะมีด้วย อาจเพราะสีของมันที่จืดชนิดที่ว่ากลืนไปกับท้องฟ้าหรือแผ่นปูน หากไม่มีสีของใบไม้ช่วยตัด และหากไม่แหงนไปสังเกตดีๆ ก็จะมองไม่เห็นเลย สีขาวสว่างนี้เป็นดอกไม้ที่หลายคนคุ้นตาดีว่ายืนต้นในหน้าร้อนได้ อาจจะเพราะความหลากหลายของมันที่อยู่ได้ทั้งกระถางเล็กๆ ไปจนถึงต้นสูงใหญ่ ปลูกได้ทั้งที่พักอาศัยหรือโรงแรม ไม่ต้องดูแลอะไรมากก็ทนแดดทนฝนได้ หลายแบบหลายฟังก์ชันขนาดนี้ ก็ไม่แปลกที่หลายคนจะคุ้นเคยกันดี ก้านลีบเรียว […]

ชิมช้อปความอร่อยที่ ‘ตลาดตรอกหม้อ’ ฟังเรื่องราวของตลาดสดยามเช้าใจกลางเกาะรัตนโกสินทร์

เกาะรัตนโกสินทร์ใช่เพียงแต่เป็นศูนย์รวมสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่คอยต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วมุมโลกมาเยี่ยมเยือน แต่เมืองเก่าแห่งนี้เป็นเมืองที่ยังมีชีวิต ประกอบด้วยบ้านเรือนและผู้คนในย่านต่างๆ รวมอยู่ด้วย และส่วนหนึ่งที่อยู่ในวิถีชีวิตของชาวบ้านคือตลาดสด ที่คอยหล่อเลี้ยงชีวิตของผู้คนทุกวันเสมอมา ‘ตลาดตรอกหม้อ’ เป็นตลาดที่ซ่อนตัวอยู่เงียบๆ ท่ามกลางย่านฮิตในเขตโอลด์ทาวน์ที่โอบล้อมอยู่ทั่วทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นสามแพร่ง เสาชิงช้า วังบูรพา หรือสามยอด ซึ่งวันนี้มีคาเฟ่รุ่นใหม่เกิดขึ้นในอาคารเก่าจำนวนมาก ตามกระแสเที่ยวเมืองเก่าที่ทำให้ย่านเหล่านี้คลาคล่ำไปด้วยคน นอกจากความอันซีน ความพิเศษของตลาดแห่งนี้คือ เป็นตลาดสดที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิด (หรือแห่งสุดท้าย) บนเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งยังคงทำหน้าที่เป็นที่ฝากท้องยามหิวให้กับคนท้องถิ่นและคนทำงานในหน่วยงานข้างเคียงอยู่ รวมถึงพ่อค้าร้านอาหารที่มีร้านอยู่รอบๆ ที่มาจับจ่ายซื้อหาของสดไปเป็นวัตถุดิบ คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้พาไปทำความรู้จักกับตลาดตรอกหม้อ ดูวิถีชีวิตของชาวบ้านร้านตลาดในย่านเมืองเก่า แวะพูดคุยกับคนในชุมชนราชบพิธพัฒนา ถึงความอบอุ่นของเด็กตลาดในวันวานและวันนี้ที่ไม่เคยจางหายไปจากซอยเทศา ‘ตรอกหม้อ’ ตลาดสดเก่าแก่ใจกลางพระนคร นาฬิกาในโทรศัพท์ขึ้นเวลาว่าเกือบ 10 โมงแล้ว นี่อาจไม่ใช่เวลาที่ควรจะเดินตลาดนัก โดยเฉพาะตลาดสดที่เริ่มเปิดแผงกันตั้งแต่แสงอาทิตย์ยังไม่ขึ้นมาสะท้อนผิวถนน สายป่านนี้จึงเป็นชั่วโมงท้ายๆ แล้วของกิจกรรมทุกเช้าของชาวบ้านย่านเมืองเก่าแห่งนี้ ขณะที่บางร้านเริ่มขนของกลับบ้าน เราเดินสวนเข้าตลาดเพราะนัดหมายกับเจ้าถิ่นที่ยินดีพาเดินและพูดคุยกับเหล่าผู้คนในตรอกหม้อ ‘พี่ริน-สุรินทร์ อมรชัชวาลกุล’ เป็นชาวตรอกหม้อแต่กำเนิด ถึงแม้ย้ายออกไปอยู่ที่อื่นนานหลายปีแล้ว แต่ยังมีคุณแม่และบ้านเก่าอยู่ ทำให้เขาแวะเวียนมาที่ตลาดแห่งนี้แทบทุกสัปดาห์ “แต่ก่อนตลาดไม่ถึงตรงนี้ ตลาดจริงๆ อยู่ทางนั้น” บทสนทนาเริ่มต้นบริเวณปากตรอกหม้อหรือซอยเทศาฝั่งถนนราชบพิธ พี่รินชี้นิ้วไปสุดซอยแล้วเล่าว่า แรกเริ่มเดิมทีพ่อค้าแม่ค้ากระจุกตัวอยู่บริเวณปากซอยฝั่งถนนบำรุงเมือง ใกล้กับตลาดเทศา ซึ่งเป็นตลาดเอกชนที่ทุบไปแล้ว ทว่าเมื่อนานวันเข้าจำนวนผู้ค้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ […]

บันทึกจากคนเชียงใหม่ในวันที่กลายเป็นผู้ประสบภัย ใช้ชีวิตตายผ่อนส่ง จากฝุ่นควัน PM 2.5

สิบกว่าปีที่แล้วเวลานึกถึงเชียงใหม่ หลายคนมักนึกถึงอากาศเย็นๆ ในช่วงฤดูหนาว คนจำนวนมากเดินทางมาเพื่อชมภาพทะเลหมอกกับทิวดอยต่างๆ และบ้างที่มาเพื่อลองจิบกาแฟถึงแหล่งผลิตกาแฟคุณภาพอันดับต้นของประเทศ นี่คือส่วนหนึ่งจากหลายเหตุผลที่ทำให้ผู้คนมาเที่ยวที่เชียงใหม่ และทำให้จังหวัดนี้มีชื่อเสียง แต่ปัจจุบันเมื่อหมดช่วงฤดูหนาวที่เป็นหน้าไฮซีซันของจังหวัดไป เชียงใหม่ก็กำลังมี ‘ชื่อเสีย’ จากปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี จนติดอันดับหนึ่งของโลกอยู่หลายครั้ง และทำให้นักท่องเที่ยวลดน้อยถอยลงเพราะหนีจากฝุ่นไปจำนวนมาก ฝุ่นจึงส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาพลักษณ์ ต่อเศรษฐกิจ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสุขภาพของผู้คนเชียงใหม่ที่จำต้องสูดอากาศหายใจที่มีกลิ่นควันผสมกับกลิ่นเลือด จากการอักเสบของทางเดินหายใจของตนเองจากฝุ่น และใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางฝุ่น PM 2.5 ในฐานะ ‘ผู้ประสบภัย’ เมื่อทาง Urban Creature ติดต่อมาขอให้เขียนเรื่องปัญหาฝุ่นควันในคอลัมน์ One Day With… เราจึงตอบตกลงทันที ในฐานะของคนเชียงใหม่ที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัยโดยตรง เราขอเป็นตัวแทนคนเชียงใหม่ในการนำเสนอให้ผู้คนทั่วไปได้เห็นประสบการณ์ของคนเชียงใหม่ที่ต้องทนอยู่กับปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 มาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี คนเชียงใหม่ต้องเจออะไร ทนกับสิ่งไหน และมีความหวังกับอะไรบ้างที่จะช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่นควันนี้ให้หมดไป 01 แม้ ‘อากาศ’ จะไม่ได้ถูกรวมอยู่ในปัจจัยสี่อันเป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตของมนุษย์ แต่เรามองว่าอากาศคือสิ่งที่ทุกคนรับรู้โดยทั่วกันว่าคือ พื้นฐานสำคัญที่สุดในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ แต่ปัจจุบันสำหรับคนเชียงใหม่รวมถึงคนในจังหวัดทางภาคเหนือ การหายใจเข้าลึกๆ ที่ควรจะเป็นเรื่องดีกลับกลายเป็นความเสี่ยง เป็นความหวาดกลัวไปแล้วว่า พวกเขากำลังจะสูดเอามลพิษเข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมาก และเป็นการทำร้ายสุขภาพของพวกเขาเอง จนบางคนเรียกการทนอยู่กับฝุ่นนี้ว่าเป็นการตายผ่อนส่ง สำหรับคนเชียงใหม่ […]

Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส

ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]

1 3 4 5 6 7 23

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.