บ้านในไทย ทำไมต้องล้อมรั้ว

สเต็ปการสร้างบ้านในเกมเดอะซิมส์ที่หลายคนคุ้นเคย ส่วนใหญ่คงจะเริ่มจากการสร้างตัวบ้าน ตกแต่งภายใน ตกแต่งบริเวณภายนอก ก่อนจะปิดท้ายด้วยการล้อมรั้วบ้านอย่างมิดชิด ซึ่งเป็นแนวคิดที่มาจากความเคยชินของคนไทย เพราะในประเทศของเรา ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ทาวน์โฮม หมู่บ้านจัดสรร หรือแม้แต่บ้านในต่างจังหวัด ที่อยู่อาศัยเหล่านี้มักมีรั้วล้อมรอบบ้านด้วยกันทั้งนั้น แต่พอดูหนังและซีรีส์จากฝั่งตะวันตกกลับพบว่า บ้านที่ปรากฏอยู่บนจอส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีรั้วบ้านเป็นกิจจะลักษณะชัดเจนเหมือนกับบ้านในประเทศไทย หรือบางหลังอาจจะมีแค่รั้วเตี้ยๆ จนเกิดความสงสัยว่ารั้วลักษณะนั้นจะสามารถป้องกันอะไรได้บ้าง การมีรั้วบ้านสำคัญกับการอยู่อาศัยในประเทศไทยมากน้อยขนาดไหน ทำไมบ้านในต่างประเทศแทบจะไม่มีรั้วบ้านให้เห็นกันเลย และหากจะสร้างรั้วบ้านด้วยตัวเองนั้นต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดอะไรบ้าง คอลัมน์ Curiocity จะพาไปหาคำตอบเกี่ยวกับรั้วบ้านกัน ทำไมบ้านในไทยต้องมีรั้ว ไม่ว่าจะเป็นบ้านในกรุงเทพฯ หรือต่างจังหวัด เรามักจะเห็นรั้วประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะรั้วปูน รั้วเหล็ก หรือรั้วไม้ทำมือ ที่กลายเป็นสัญลักษณ์ในการกำหนดพื้นที่ของบ้านแต่ละหลังได้อย่างชัดเจน จนทำให้หลายคนเกิดความสงสัยว่า รั้วบ้านนี้จำเป็นมากแค่ไหนสำหรับบ้านสักหลัง อาจเป็นเพราะว่าบ้านคือสถานที่ที่มอบความเป็นส่วนตัวให้เราได้มากที่สุด หลายคนจึงต้องการความสบายใจในการใช้ชีวิตอยู่ในบ้านโดยไม่ต้องระแวดระวังภัยมากนัก แม้ว่ารั้วบ้านจะไม่ใช่ข้อบังคับตามกฎหมาย แต่การมีรั้วล้อมรอบตัวบ้านจะช่วยเพิ่มทั้งความสวยงามให้กับตัวบ้าน เพิ่มความเป็นส่วนตัวจากสายตาของคนภายนอกที่อาจสอดส่องเข้ามา รวมถึงยังเป็นการสร้างความปลอดภัยอีกหนึ่งชั้นจากผู้บุกรุกได้อีกด้วย ถ้ารั้วบ้านช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับบ้าน แล้วทำไมบ้านในต่างประเทศถึงไม่ค่อยมีรั้วกั้น ยกตัวอย่างเช่นบ้านในสหรัฐอเมริกาที่เห็นกันตามหนังหรือซีรีส์ส่วนใหญ่มักจะไม่มีรั้วบ้านกำหนดขอบเขต สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะเรื่องของวัฒนธรรมที่หลายคนมองว่า ถ้าเพื่อนบ้านเคารพพื้นที่ส่วนตัวของกันและกันอยู่แล้ว รั้วบ้านก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นเท่าไรนัก และการสร้างรั้วก็อาจจะเป็นการไปเบียดเบียนพื้นที่ของเพื่อนบ้านได้ด้วย อีกเหตุผลคือเรื่องค่าใช้จ่ายในการทำรั้วเพิ่มเติมที่ค่อนข้างสูง ผู้คนจึงไม่นิยมสร้างรั้ว รวมไปถึงการอยู่อาศัยในชุมชนที่มีรั้วรอบขอบชิดและปลอดภัยมากพออยู่แล้ว การสร้างรั้วเพื่อป้องกันภัยก็อาจจะไม่จำเป็นสำหรับชาวอเมริกันสักเท่าไร แต่ไม่ใช่ว่าบ้านทุกหลังจะไม่มีรั้วเลย เพราะยังมีบางครอบครัวที่สร้างรั้วขนาดไม่สูงมากเพื่อกั้นไม่ให้เด็กเล็กและสัตว์เลี้ยงออกไปจากบริเวณบ้าน โดยส่วนใหญ่รั้วพวกนี้จะไม่ได้เพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับเจ้าของบ้านมากนัก อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีบ้านที่มาพร้อมรั้วสูงเพื่อเพิ่มความเป็นส่วนตัวและป้องกันอันตรายจากปัจจัยภายนอก […]

ขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ หันไปทางไหนก็เจอแต่อันตราย?

กรุงเทพฯ คือเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขนส่งสาธารณะหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้า รถเมล์ เรือข้ามฟาก มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รถสองแถว รถตุ๊กตุ๊ก ฯลฯ ที่พร้อมพาผู้โดยสารฝ่าทุกรถติดและซิ่งไปให้ถึงทุกพื้นที่เส้นเลือดฝอยที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ถือเป็นยานพาหนะที่เกิดมาเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์แสนเร่งรีบของชาวกรุง ทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเครือข่ายขนส่งมวลชนไม่ครอบคลุมของมหานครแห่งนี้ด้วย แต่ถ้าสังเกตดีๆ นอกจากความรวดเร็วและความสะดวกสบาย การใช้บริการขนส่งสาธารณะแบบไทยๆ เหล่านี้ยังมาพร้อมความเสี่ยงและอันตรายรอบด้าน เช่น รถเมล์ขับเร็วและกระชาก เรือข้ามฟากเจอคลื่นลมแรงจนเกือบจม หรือแม้แต่วินมอเตอร์ไซค์ที่พาขี่ซิกแซกปาดซ้ายขวา จนผู้โดยสารต้องนั่งลุ้นตัวเกร็งและรู้สึกไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย ในเมืองที่ผู้คนเดินทางแทบจะตลอดทั้งวัน มีขนส่งสาธารณะประเภทไหนบ้างที่ดูไม่ค่อยปลอดภัย เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุต่อทั้งคนขับและผู้โดยสาร คอลัมน์ Report ขอชวนไปสำรวจอันตรายใกล้ตัวผ่านบทความนี้ โดยหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการชี้ปัญหาซึ่งนำไปสู่การเสริมสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับขนส่งสาธารณะไทย รถเมล์ : รถโดยสารประจำทางที่ทั้งเร็วและแรง เริ่มกันด้วยขนส่งสาธารณะที่คนส่วนมากเลือกใช้อย่าง ‘รถเมล์’ เพราะค่าเดินทางถูกกว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสหรือรถไฟฟ้าใต้ดินหลายเท่าตัว แต่ข้อเสียที่ผู้โดยสารต้องเจอคือการจราจรที่ติดขัด ทำให้การเดินทางหนึ่งเที่ยวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง เท่านั้นยังไม่พอ การเดินทางด้วยรถเมล์ไทยยังมาพร้อมกับอันตรายและความเสี่ยง โดยเฉพาะ ‘รถเมล์ธรรมดา’ หรือ ‘รถเมล์ร้อน’ ที่มีสภาพเก่าคร่ำครึ ประตูหน้าต่างชำรุด แถมยังไม่เหมาะกับสภาพอากาศร้อนหรือฝนตกชุกของเมืองไทยอีกด้วย ที่อันตรายไปกว่านั้นคือ รถเมล์ไทยที่มีสภาพทรุดโทรมยังอาจก่อให้เกิดเหตุไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน โดยระหว่าง พ.ศ. 2555 – 2561 มีรายงานข่าวรถเมล์เกิดเพลิงไหม้อย่างน้อย 13 ครั้งในพื้นที่กรุงเทพฯ […]

‘Hangles’ ศูนย์รวมเสื้อผ้ามือสองที่อยากให้ทุกคนรักโลกไปพร้อมๆ สนุกกับการแต่งตัว

หลายคนประสบปัญหาเปิดตู้เสื้อผ้ามาแต่ไม่มีอะไรจะใส่ ทำให้ต้องซื้อเสื้อผ้าใหม่อยู่ตลอด จนกลายเป็นว่ามีเสื้อผ้ามากมายล้นตู้ เพราะบางตัวใส่ไปแค่ครั้งเดียว บางตัวซื้อมาแค่ลองใส่ บางตัวใส่จนเบื่อ หรือบางตัวเก็บเอาไว้นานจนลืมไปแล้วว่าเคยมี แต่จะให้ทิ้งเสื้อผ้าเหล่านั้นไปเฉยๆ ก็รู้สึกเสียดายเงินทองที่จ่ายไปจำนวนไม่น้อย ทว่าจะให้รวบรวมไปวางขายก็อาจไม่ได้มีเวลาขนาดนั้น ด้วยเหตุนี้เราจึงอยากพาทุกคนมารู้จักกับ ‘Hangles’ ตัวกลางการโละตู้ที่ทำให้เราไม่ต้องหอบเสื้อผ้าไปหาสถานที่ขาย ไม่ต้องเปิดโซเชียลมีเดียใหม่ทำเป็นร้านค้า แค่เข้าไปขายหรือตามหาเสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่นมือสองได้ง่ายๆ ผ่านทางเว็บไซต์และแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน Hangles เกิดขึ้นเมื่อสามปีก่อนจากความสนใจด้านแฟชั่น ความยั่งยืน และการทำธุรกิจสตาร์ทอัพของสองพี่น้อง ‘ลูกน้ำ-เพ็ญพิชชา สันตินธรกุล’ และ ‘นุ่น-พิชชาธร สันตินธรกุล’ โดยทั้งคู่เริ่มต้นทำตลาดนัดออนไลน์แห่งนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นตัวกลางให้ใครที่อยากโละตู้เสื้อผ้าได้นำสิ่งของของตัวเองเข้ามาหมุนเวียนแลกเปลี่ยนกับคนอื่นๆ ผ่านแพลตฟอร์ม เพื่อส่งต่อสินค้าเหล่านั้นให้ได้กลับมาใช้งานอีกครั้ง นอกจากนี้ พวกเธอยังอยากให้ทุกคนที่ซื้อสินค้าต่อจากแพลตฟอร์มนี้ได้สนุกกับแฟชั่นโดยยังคงให้ความสำคัญกับความยั่งยืนไปด้วย ศูนย์รวมเสื้อผ้ามือสองที่เปิดพื้นที่ให้คนมาส่งต่อของให้คนที่สอง สาม สี่ จุดเริ่มต้นของ Hangles เกิดขึ้นจากปัญหาที่สาวๆ หลายคนต้องประสบพบเจอ นั่นคือ ปัญหาเสื้อผ้าล้นตู้ที่มีเยอะจนไม่รู้จะไปเก็บไว้ที่ไหน หรือบางตัวก็ลืมไปแล้วว่าเคยมี ซึ่งสองพี่น้องลูกน้ำกับนุ่นก็เคยเป็นหนึ่งในนั้น แน่นอนว่าทั้งคู่ชอบแต่งตัวและเป็นสายแฟชั่นอยู่แล้ว ทว่าในช่วงที่นุ่นไปเรียนต่อต่างประเทศ เธอเริ่มมีความสนใจและศึกษาเรื่องของความยั่งยืน (Sustainability) อย่างจริงจัง ประกอบกับพี่สาวอย่างลูกน้ำเองก็มีความสนใจในการทำสตาร์ทอัพ นั่นจึงทำให้สองพี่น้องนำความสนใจทั้งสามอย่างมาประกอบร่างเข้าด้วยกัน และกลายมาเป็น Hangles แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าแฟชั่นมือสองทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้าอย่างในตอนนี้ “การใช้สินค้ามือสองมีส่วนช่วยอุตสาหกรรมแฟชั่นตั้งแต่ขั้นตอนแรกคือ ลดการใช้ทรัพยากรในการผลิตเสื้อผ้าใหม่ […]

Rock Paper Scissors ช็อปของเนิร์ดแมกกาซีนที่ขายนิตยสาร กาแฟ และไอเทมที่ช่วยให้การอ่านรื่นรมย์

ในยุคที่ใครๆ ต่างบอกว่านิตยสารตาย (ไปนาน) แล้ว ไม่น่าเชื่อว่าเราจะได้เห็นร้านนิตยสารอิสระร้านใหม่ที่ทำให้เรากลับมาใจเต้นกับสื่อสิ่งพิมพ์ได้อีกครั้ง Rock Paper Scissors Store คือร้านที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจของ ‘ย้วย-นภษร ศรีวิลาศ’ และ ‘เฟิม-เฟื่องฟู จิรัฐิติวณิชย์’ คู่รักผู้เป็นเนิร์ดแมกกาซีนอินดี้ที่เชื่อว่าสื่อสิ่งพิมพ์ยังไม่ตาย (ที่ตายน่ะคือสื่อสิ่งพิมพ์ที่น่าเบื่อเท่านั้นแหละ) เลยเสาะหาซีนน่าสนใจจากหลายประเทศทั่วโลกที่คนทำก็เนิร์ดเรื่องสื่อสิ่งพิมพ์ไม่ต่างจากพวกเขา ทว่าสิ่งที่น่าสนใจกว่านั้นคือ แต่ละเล่มถูกชูด้วยคอนเซปต์ที่เราฟังแล้วต้องถามว่า ‘แบบนี้ก็มีด้วยเหรอ ทำได้ด้วยเหรอ ต้องรู้ด้วยเหรอ’ เช่น นิตยสารบ้านที่เชื่อว่า Interior ที่ดีที่สุดของบ้านคือชีวิตของผู้อยู่อาศัย หรือนิตยสารจากโคเปนเฮเกนที่หน้าตาเหมือนหนังสือแฟชั่น แต่จริงๆ แล้วเล่าเรื่องธุรกิจได้อย่างเข้มข้น สนุกสนาน ด้วยกระบวนท่าใหม่ นอกจากซีนเจ๋งๆ ในร้านของย้วยกับเฟิมยังเต็มไปด้วยสารพัดสิ่งที่ช่วยยกระดับประสบการณ์การอ่านให้รื่นรมย์ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกาแฟดริปฝีมือเฟิม คาเนเลหอมอร่อย หรือไอเทมต่างๆ ที่คนไม่ซื้อนิตยสารก็ช้อปได้อย่างสะดวก อย่างแว่นกันแดดที่พกไปอ่านหนังสือในที่เอาต์ดอร์ โคมไฟแสงอุ่นสุดชิก หรือแก้วกาแฟที่นำของเหลือจากกากกาแฟมาทำน้ำเคลือบให้ได้เทกซ์เจอร์การดื่มที่พิเศษขึ้น ช็อปที่ชูคอนเซปต์ Magazine/Things/Coffee ของทั้งคู่เกิดขึ้นได้ยังไง คอลัมน์ Urban Guide ตอนนี้อาสาพาทุกคนลัดเลาะซอยสุขุมวิท 39 ไปหาพวกเขาที่ร้านกัน Zine Lover แค่ช่วงเริ่มบทสนทนาเราก็เซอร์ไพรส์แล้ว เพราะย้วยบอกว่าจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอเป็นเนิร์ดแมกกาซีนทุกวันนี้ไม่ใช่แมกกาซีนเล่มไหน แต่เป็นแฮร์รี่ […]

Healthy Space Forum ทีมนักออกแบบที่อยากดีไซน์พื้นที่เมืองให้คนแข็งแรง และย่านคึกคัก

เราได้ยินชื่อ Healthy Space Forum หรือศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง ครั้งแรกจากพอดแคสต์ Unlock the City ที่ ‘รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา’ ผู้อำนวยการและผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังภาคและเมืองเป็นโฮสต์เจ้าประจำ ด้วยความเข้าใจว่า Healthy Space Forum คือหน่วยงานที่ต่อยอดมาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งอาจารย์พนิตเป็นหนึ่งในผู้สอน เพื่อให้ผู้เรียนมีสนามฝึกปรือฝีมือ นำความรู้ที่ใช้มาออกแบบงานเพื่อใช้งานจริงๆ ไม่ผิดไปจากความเข้าใจเท่าไหร่ สิ่งที่เซอร์ไพรส์คือ เมื่อเราได้นั่งคุยกับอาจารย์พนิตและทีมนักออกแบบของ Healthy Space Forum ความเข้าใจว่าพวกเขาออกแบบพื้นที่ออกกำลังกายเพื่อความ ‘เฮลตี้’ ของคนเมือง จริงๆ ถูกผลักเพดานไปไกลกว่านั้น  สิ่งที่พวกเขาทำนับตั้งแต่ Day 1 ในปี 2554 ไม่เพียงแต่ออกแบบพื้นที่ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากที่สุด แต่ยังหมายรวมถึงการตีความพื้นที่ในแบบใหม่ๆ ไปจนถึงการบริหารจัดการชุมชนให้คึกคักขึ้นมา  บรรทัดต่อจากนี้คือเรื่องราวการเดินทางตลอด 12 ปีของ Healthy Space Forum และความเชื่อเบื้องหลังการออกแบบของพวกเขาที่ล้วนเป็นไปได้ภายใต้หนึ่งเป้าประสงค์ นั่นคือการผลักดันให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี พื้นที่ที่ไม่ได้มีไว้เพื่อบริหารร่างกายเท่านั้น 12 ปีก่อน Healthy Space […]

‘สิงคโปร์’ กลยุทธ์ดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศด้วยการเป็นฮับความบันเทิงของเอเชีย

ไหนใครวางแพลนไปคอนเสิร์ตวง Coldplay หรือ Taylor Swift ที่จัดกันแบบจุใจถึง 6 รอบที่สิงคโปร์บ้าง ในช่วงที่ผ่านมาเราอาจจะเห็นคนรอบตัวเดินทางไปประเทศสิงคโปร์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการไปดูคอนเสิร์ตหรือเที่ยวพักผ่อนด้วยตัวเองก็ตาม เรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง แต่เป็นผลลัพธ์จากความพยายามของรัฐบาลสิงคโปร์มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2000 เพื่อผลักดันให้สิงคโปร์ขึ้นเป็น​​ ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ เบื้องหลังความสำเร็จของแผนพัฒนานี้คืออะไร สิงคโปร์ดำเนินงานอย่างไรถึงทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามาในประเทศได้ทั้งๆ ที่ไม่ได้ขึ้นชื่อเรื่องสถานที่ท่องเที่ยว คอลัมน์ City in Focus จะพาไปหาคำตอบ ประเทศเกิดใหม่ มองหาจุดขายเรื่องการท่องเที่ยว หากย้อนไปที่จุดเริ่มต้นของประเทศ สิงคโปร์ถือเป็นประเทศที่เพิ่งเกิดใหม่ได้ไม่นาน จากการแยกตัวออกจากมาเลเซียมาเป็นประเทศอิสระที่ตั้งอยู่บนหมู่เกาะขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 1965 ในช่วงแรกที่ตั้งประเทศ สิงคโปร์ต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นประเทศเปิดใหม่ที่ไม่มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่จะดึงดูดความสนใจจากนักท่องเที่ยวได้มากนัก และครั้นจะไปตามหามรดกทางวัฒนธรรมเดิมหรือสร้างวัฒนธรรมใหม่ขึ้นมาก็คงไม่เหมาะเท่าไหร่ เพราะคนในประเทศมีความหลากหลายทางเชื้อชาติจนยากจะหาวัฒนธรรมร่วม จุดยืนของรัฐบาลสิงคโปร์ในตอนนั้นจึงเป็นการสร้างแผนนโยบายทางเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประเทศให้เติบโตด้วยเทคโนโลยีและการจัดกิจกรรมภายในเมือง เพื่อดึงดูดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวเข้ามาแทน ทั้งหมดนี้นำมาสู่การพยายามผลักดันให้สิงคโปร์กลายเป็น​​ ‘เมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชีย’ (The Events and Entertainment Capital of Asia) ครั้งแรกในปี 2007 ที่ผลิดอกออกผลอย่างเด่นชัดในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลผลักดันประเทศผ่านการวางนโยบาย แต่การจะทำให้สิงคโปร์กลายเป็นเมืองหลวงแห่งกิจกรรมและความบันเทิงของเอเชียได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องอาศัยการวางนโยบายที่ดีและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน […]

Resilient City ออกแบบเมืองให้พร้อมรับมือปัญหาน้ำท่วม

ในปัจจุบันกรุงเทพฯ ยังคงประสบปัญหาน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ สาเหตุนั้นมาจากหลากหลายองค์ประกอบ ทั้งการขยายตัวของเมือง การสร้างถนน ตึกและสิ่งก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นทุกปี ผลที่ตามมาคือ เมืองหลวงของไทยมีพื้นที่รับน้ำน้อยลง ส่วนคลองที่เคยเป็นช่องทางเดินน้ำก็มีขนาดเล็กลงและระบายน้ำยากขึ้นทุกวัน นี่ยังไม่รวมถึงลักษณะทางภูมิศาสตร์ของกรุงเทพฯ ที่เป็นแอ่งกระทะ และมีพื้นที่เป็นดินเหนียวอุ้มน้ำ มีขยะจำนวนมากอุดตันขวางทางเดินน้ำ ผังเมืองเจ้าปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งล้วนส่งผลให้ปริมาณน้ำฝนมีมากกว่าปกติ น้ำจากภูมิภาคทางเหนือที่ไหลบ่าลงมา และการหนุนสูงของน้ำทะเลก็มากขึ้น กรุงเทพฯ จึงเกิดปัญหาน้ำท่วมขังและมีสภาพเป็นเสมือนประตูระบายน้ำที่ต้องรอการระบายหนักกว่าเดิมในทุกๆ ปี ด้วยเหตุนี้ คอลัมน์ Urban Sketch จึงอยากหยิบนวัตกรรมและการรับมือปัญหาน้ำท่วมจากเมืองต่างๆ ทั่วโลกมานำเสนอ เพราะไอเดียเหล่านี้น่าจะมีส่วนช่วยทำให้เมืองที่เราอาศัยอยู่สามารถรับมือน้ำท่วมได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาระดับโครงสร้างเมือง พื้นที่ชุ่มน้ำ ‘สวนสาธารณะ’ นอกจากจะเป็นพื้นที่สีเขียวให้คนเมืองพักผ่อนหย่อนใจหรือใช้ออกกำลังกายแล้ว ยังเป็นพื้นที่รับน้ำให้กับเมืองได้ด้วย เช่น Climate Park ในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่มีการออกแบบพื้นที่ให้สามารถรองรับน้ำได้เป็นอย่างดี มีลักษณะขั้นบันไดที่ด้านล่างเป็นแอ่งกระทะและใช้เป็นสนามกีฬาได้ เมื่อน้ำมาก็กลายเป็นสระน้ำให้ผู้คนมานั่งเล่นพักผ่อนได้ อย่างในกรุงเทพฯ ก็มีสวน 100 ปี จุฬาฯ ที่ตั้งใจออกแบบพื้นที่สาธารณะซึ่งตอบโจทย์หลากหลายฟังก์ชันทั้งการทำกิจกรรม เป็นพื้นที่สีเขียว และเป็นแหล่งรับน้ำของเมือง ถือเป็นตัวอย่างของการออกแบบที่หน่วยงานต่างๆ ควรนำไปปรับใช้กับพื้นที่สีเขียวทั่วเมือง เพิ่มท่อระบายน้ำขนาดใหญ่ การทำให้เส้นเลือดใหญ่อย่าง […]

ร่วมออกแบบนโยบายเพื่อยกระดับ ‘การท่องเที่ยวชุมชนของสระบุรี’ ให้เป็นเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์และยั่งยืน

‘สระบุรี’ คือจังหวัดเมืองรองในภาคกลางที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก มีพื้นที่ราบสลับกับพื้นที่ภูเขา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมผสมผสานกับพื้นที่การเกษตร ทว่านอกจากเป็นเมืองทางผ่านที่สำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมอันดับต้นๆ ของประเทศแล้ว สระบุรียังเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและประวัติศาสตร์กระจายตัวอยู่มากมาย ที่เป็นเช่นนั้นเพราะชุมชนส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในลุ่มแม่น้ำป่าสักของสระบุรี เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อพยพย้ายถิ่นมาไม่น้อยกว่า 150 ปี ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายของชาติพันธุ์ต่างๆ เช่น ไทยวน ลาวเวียง พวน มอญ และจีน ทำให้สระบุรีมีมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ที่กำลังรอให้นักท่องเที่ยวมาสัมผัสด้วยตัวเอง ทั้งนี้ สระบุรีและอีก 3 จังหวัดในบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสัก ได้แก่ เพชรบูรณ์ ลพบุรี และพระนครศรีอยุธยา กลับต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการท่องเที่ยวชุมชนในมิติต่างๆ เช่น ชุมชนไม่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยว เพราะส่วนใหญ่จะตกอยู่ในมือภาคธุรกิจขนาดใหญ่ รวมไปถึงการสร้างเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม การพัฒนาทรัพยากรบุคคล การเปลี่ยนกรอบความคิดของคนในชุมชน การสร้างผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ และการพัฒนามาตรฐานของสินค้าและบริการต่างๆ เป็นต้น เพื่อยกระดับและพัฒนา ‘การท่องเที่ยวชุมชน’ ของสระบุรีให้กลายเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทาง Thailand Policy Lab และ UNDP Accelerator Lab Thailand จากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้จัดกิจกรรม ‘Policy Innovation […]

“ให้คิดว่าเป็นเหมือนทรัพย์สินของเราเอง” รู้จักอาชีพ ‘คนตรวจบ้าน’ กับ Mylovecondo

“ให้คิดว่าเป็นเหมือนทรัพย์สินของเราเอง” รู้จักอาชีพ ‘คนตรวจบ้าน’ ผ่านการทำงานตามแบบ Mylovecondo

ญี่ปุ่นกับนโยบายเช่าและขายบ้านราคาถูก ที่หวังแก้ปัญหาคนกระจุก บ้านร้างกระจาย

อีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ทำเอารัฐบาลประเทศญี่ปุ่นปวดหัวไม่แพ้กับปัญหาสังคมผู้สูงอายุเลยคือ การเพิ่มจำนวนของ ‘บ้านร้าง’ ที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกพื้นที่บนหมู่เกาะ เนื่องจากคนรุ่นใหม่มีมุมมองเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยที่ต่างไปจากเดิม จนไม่ต้องการเสียเงินไปกับค่าใช้จ่ายในการซื้อและบำรุงรักษาบ้านอีกต่อไป เกิดเป็นปรากฏการณ์ที่ใครหลายคนพากันทิ้งบ้าน เดินทางเข้าหัวเมืองใหญ่เพื่อเช่าหรือซื้อห้องพักบนตึกสูงประเภทคอนโดฯ แทน เนื่องจากมองว่ามีความสะดวกสบายและดูแลรักษาได้ง่ายกว่าบ้านในรูปแบบเดิมๆ ปัญหาที่ตามมาคือการกระจุกตัวของผู้คนและที่อยู่อาศัยจำนวนมากบริเวณใจกลางเมืองใหญ่ เพราะไม่อยากให้บ้านถูกทิ้งไว้จนเปล่าประโยชน์ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงต้องเร่งแก้ไขปัญหา และออกมาตรการผลักดันให้บ้านที่ถูกทิ้งร้างเหล่านี้กลับมามีเจ้าของอีกครั้ง ด้วยการเปิดขายบ้านราคาถูกและออกนโยบายช่วยเหลือในส่วนต่างๆ คอลัมน์ City in Focus ชวนไปดูปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการผุดขึ้นของบ้านร้างในประเทศญี่ปุ่น ไปจนถึงการแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ต้องการกระจายคนไปตามบ้านร้างต่างๆ ทั่วประเทศ แทนที่จะกระจุกตัวอยู่แค่ใจกลางเมือง จำนวนบ้านร้างที่เพิ่มขึ้น ถ้าจะพูดว่า ในตอนนี้แดนอาทิตย์อุทัยกำลังตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเกี่ยวกับปัญหาที่อยู่อาศัยก็คงไม่ผิดนัก เพราะการเก็บสถิติในปี 2018 พบว่า ญี่ปุ่นต้องเผชิญกับปัญหาบ้านร้างที่กระจายตัวอยู่ทั่วทุกมุมเกาะมากถึง 8.49 ล้านหลัง และสถาบันวิจัยโนมูระยังคาดการณ์ว่า ตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านหลังภายในปี 2023 แต่เนื่องจากเทรนด์การเลือกซื้ออสังหาริมทรัพย์ของคนรุ่นใหม่ที่นิยมที่อยู่อาศัยมือหนึ่งในรูปแบบคอนโดมิเนียมกันมากขึ้น และไม่นิยมซื้อบ้านมือสองอีกต่อไป ทำให้จำนวนบ้านร้างมีปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีคนเข้าไปอยู่อาศัยหรือรับช่วงต่ออย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งความนิยมคอนโดฯ มือหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้นนี้สอดคล้องกับข้อมูลจากกระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารที่ระบุว่า เมื่อปี 2018 ญี่ปุ่นมีที่อยู่อาศัยซึ่งรวมทั้งบ้านและคอนโดฯ ทั้งหมด 62.41 ล้านยูนิต และมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 65.46 ล้านยูนิตภายในปี 2023 กราฟที่เพิ่มสูงขึ้นชี้ให้เห็นว่า ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มือหนึ่งกำลังเติบโตขึ้น […]

Mappa บ้านของนักออกแบบการเรียนรู้ที่อยากให้คนรุ่นใหม่ได้ร่วมกันดีไซน์สังคมที่ดีกว่าเดิม

ในฐานะคนที่เรียนหนังสือแบบท่องจำมาตลอด การได้ฟัง ‘มิรา เวฬุภาค’ ผู้ก่อตั้ง Mappa และทีมเล่าเรื่องราวการเรียนรู้แบบใหม่ที่เราไม่คุ้นเคยนั้นช่างน่าฉงนสงสัย ในขณะเดียวกันก็น่าตื่นเต้นเหลือเกิน เราเคยได้ยินเรื่องโรงเรียนทางเลือก โฮมสคูล และแอปฯ ส่งเสริมการเรียนรู้มาบ้าง ทั้งยังเคยฟังเด็กๆ โอดครวญด้วยความห่อเหี่ยวใจเรื่องระบบการศึกษาบ้านเราหลายหน ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือ Pain Point และแรงบันดาลใจสำคัญที่ทำให้เกิด Mappa ในวันนี้ หลายคนรู้จักพวกเขาในฐานะสื่อออนไลน์ที่ผลิตคอนเทนต์สนุกๆ บนพื้นฐานความเชื่อว่าความรู้เกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ และสร้างได้จากทุกสิ่ง แต่แท้จริงแล้ว Mappa ไม่ใช่แค่สื่อ พวกเขาคือแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาที่อยากผลักดันให้การเรียนรู้ของเด็กไทยไปไกลกว่ากรอบเดิมๆ ผ่านเครื่องมืออันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ บอร์ดเกม สื่อการเรียนรู้ ไปจนถึงคอร์สอบรมมนุษย์ผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ คุณครู หรือคนที่มีพื้นที่เรียนรู้ ไม่ได้เรียนแค่เรื่องวิชาการจ๋า แต่อยากให้เด็กๆ ได้มีสกิลซึ่งโรงเรียนอาจจะลืมสอนไป เช่น การสร้างความสัมพันธ์ การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม สุนทรียภาพ กระบวนการคิด ฯลฯ มากกว่านั้น ผู้ก่อตั้งอย่างมิรายังอยากปลุกปั้น ‘Learning Designer’ หรือ ‘นักออกแบบการเรียนรู้’ ที่เป็นคนรุ่นใหม่ เพื่อช่วยยกระดับการศึกษาในอนาคตให้เด็กเจเนอเรชันต่อไปได้มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายกว่าเก่า เช้านี้ที่น่าฉงนสงสัยและน่าตื่นเต้นเป็นพิเศษ ทีม […]

FYI

#แพทย์ลาออก เสียงสะท้อนจากเหล่าบุคลากรทางการแพทย์

จากกระแส #แพทย์ลาออก ที่กลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมในตอนนี้ ทำให้บุคลากรทางการแพทย์หลายต่อหลายคน ทั้งคนที่กำลังเรียนอยู่ กำลังอยู่ในช่วงทำงานใช้ทุน หรือกระทั่งทำงานมานานแล้ว ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงประเด็นนี้กันข้ามวันข้ามคืน เพราะบุคลากรทางการแพทย์ก็เป็นคนทำงานเหมือนๆ กับทุกอาชีพ ที่ต้องการระบบการทำงานที่ดี มีเพื่อนร่วมงานที่ไม่เป็นพิษ Work-life Balance ที่เหมาะสม และคุณภาพชีวิตที่ดีเช่นกัน ด้วยวาระนี้เอง Urban Creature จึงติดต่อไปหา 5 บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อเป็นพื้นที่ให้พวกเขาส่งเสียงสะท้อนถึงระบบการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการมีชีวิตที่ดี ทั้งยังทำให้คนทำงานหมดแรงหมดใจไปเรื่อยๆ อ. อายุ 24 ปีแพทย์จบใหม่ที่พยายามอยู่ในระบบให้ได้ เราเป็นแพทย์จบใหม่ที่เพิ่งเข้ามาอยู่ในระบบราชการได้ราวๆ 1 เดือน เหตุผลที่ตัดสินใจยังอยู่ในระบบเพราะการเรียนต่อเฉพาะทางในสาขาที่เราสนใจ เราโชคดีที่จับฉลากได้อยู่จังหวัดใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งต้องแก่งแย่งกับเพื่อนๆ จากโควตาภาคกลางอันน้อยนิด บางคนโชคร้ายต้องไปอยู่ไกลบ้านมากๆ บางคนต้องไปอยู่จังหวัดที่พูดชื่อขึ้นมาก็ยังนึกไม่ออกว่าอยู่ตรงไหนในแผนที่ประเทศไทยด้วยซ้ำ การทำงานในทุกๆ วันมีความเครียดและกดดัน ทั้งคนไข้ปริมาณมหาศาลที่ต้องตรวจให้หมดในเวลาอันจำกัด การต้องอดนอน ทำงานติดต่อกันหลายวัน รวมถึงความเครียดจากสตาฟฟ์เวลาปรึกษาปัญหาของคนไข้ กลายเป็นว่าบางครั้งเราต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ยากๆ คนเดียว ทั้งที่เราเองก็ไม่ได้มีประสบการณ์ การเป็นหมอเคยเป็นสิ่งที่เรารู้สึกชอบและสนุกเวลาทำงาน แต่ด้วยระบบและสิ่งแวดล้อม มันค่อยๆ บั่นทอนแพสชันของเราและเพื่อนไปเรื่อยๆ จนตอนนี้ในหัวคิดไปเป็นวันๆ ว่าเราจะผ่านวันนี้ไปยังไงให้สุขภาพจิตของเรายังดีเหมือนเดิม โอ๊ต อายุ 23 […]

1 2 3 4 5 6 17

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.