Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส

ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]

เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เวทีของนักทำหนังรุ่นใหม่ที่เชื่อว่าหนังโลกร้อนไม่จำเป็นต้องน่าเบื่อ

เพราะเกิดและเติบโตที่จังหวัดเชียงใหม่ เราจึงมีประสบการณ์ตรงกับฤดูฝุ่นควันที่แวะเวียนมาทุกปี จำไม่ได้แล้วว่าครั้งแรกที่คัดจมูกเพราะฝุ่นควันคือเมื่อไหร่ แต่สิ่งที่เรารู้แน่ๆ คือทุกครั้งที่ฤดูฝุ่นเวียนมาถึง มันจะรุนแรงขึ้นทุกปี เช่นเดียวกับอุณหภูมิในเมืองที่ร้อนขึ้นเรื่อยๆ วัดได้จากหน้าหนาวที่ไม่ได้หนาวเท่าเดิม สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นปัญหาที่น่ากลัว และไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับเรา เช่นเดียวกับ ‘บุษกร สุริยสาร’ ผู้ร่วมก่อตั้งและที่ปรึกษาโครงการ Changing Climate, Changing Lives (CCCL) Film Festival ใครหลายคนอาจรู้จัก CCCL ในชื่อ ‘เทศกาลหนังสั้นโลกป่วยเราต้องเปลี่ยน’ ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2563 และจัดต่อเนื่องมาทุกปี เทศกาลนี้ไม่ได้เป็นเทศกาลฉายหนังสั้นว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลกเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นเวทีที่เปิดให้นักทำหนังอิสระรุ่นใหม่จากภูมิภาคเอเชียได้เสนอโปรเจกต์ขอทุนทำหนังของตัวเอง ในขณะเดียวกันก็เปิดรับหนังสั้นจากคนทำหนังทั่วโลก เมื่อพูดถึงหนังสั้นหรือคอนเทนต์ใดๆ เกี่ยวกับโลกร้อน เรามักจะนึกถึงการให้ข้อมูลแบบตรงไปตรงมาหรือสารคดีน่าเบื่อ แต่ CCCL ไม่เชื่อเช่นนั้น พวกเขาเชื่อว่าหนังสั้นที่สื่อสารประเด็นจริงจังก็มีความหลากหลาย ดูสนุก และครีเอทีฟได้เหมือนกัน เรานัดพบกับบุษกรและ ‘นคร ไชยศรี’ ผู้ออกแบบกิจกรรมและเทศกาล เพื่อพูดคุยถึงเบื้องลึกเบื้องหลังการสร้างเฟสติวัล Edu-tainment ในบ่ายวันหนึ่งที่เราได้ยินข่าวว่าฤดูฝุ่นของเชียงใหม่กลับมารุนแรงอีกครั้ง ก่อนจะจบบทสนทนาด้วยความหวังเต็มเปี่ยมหัวใจว่าในปีต่อไปเราจะได้ยินข่าวดีบ้าง ทุกอย่างเริ่มจากการตระหนักรู้ว่าโลกร้อนไม่ใช่เรื่องไกลตัว เราได้เรียนรู้เช่นนั้น โลกป่วยเราต้องเปลี่ยน เพราะเคยทำงานให้ UN และติดตามข่าวการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลกมาตลอด […]

Imaginary Objects สตูดิโอออกแบบที่เชื่อในพลังของสนามเด็กเล่นกับการสร้างเมืองและมนุษย์ที่ดี

ภาพของเด็กๆ วิ่งเล่นชุลมุน ส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวเฮฮา บนเครื่องเล่นสีสันสดใส คือบรรยากาศที่เราสัมผัสได้เสมอเมื่อไปเยี่ยมเยือนสนามเด็กเล่น สนามเด็กเล่นคือพื้นที่แห่งความสุขของเด็ก เป็นพื้นที่ที่พวกเขา (และเราในอดีต) ได้ใช้เวลากระโดดโลดเต้นกับเพื่อนฝูงโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก นอกเสียจากจะเล่นอย่างไรให้สนุกที่สุด มองแบบผิวเผิน เหมือนว่าสนามเด็กเล่นจะเป็นแค่พื้นที่ให้เด็กเล่นสนุก ปลดปล่อยพลังอันเหลือล้นจนเหนื่อยหอบ แต่ ‘ญารินดา บุนนาค’ และ ‘โรเบร์โต้ เรเกโฮ เบเล็ตต์’ (Roberto Requejo Belette) กลับมองว่าสนามเด็กเล่นมีประโยชน์และมีหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่มากกว่านั้น และมันคือองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ ญารินดาและโรเบร์โต้ คือสองสถาปนิกผู้ก่อตั้ง Imaginary Objects ออฟฟิศออกแบบที่ทำงานหลากหลายรูปแบบ นอกจากผลงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบภายใน พวกเขายังเชื่อมั่นกับการออกแบบสนามเด็กเล่น และฝากผลงานออกแบบไว้มากมาย เช่น Play Objects ต้นแบบสนามเด็กเล่นสำหรับชุมชนในงาน Bangkok Design Week 2020, Thawsi Playground สนามเด็กเล่นที่โรงเรียนทอสี หรือ Kitblox ผลงานเครื่องเล่นตัวต่อหลากสีหลายรูปทรงสำหรับเด็ก ในมุมมองของพวกเขา สนามเด็กเล่นจะช่วยสร้างเมืองที่น่าอยู่ได้อย่างไร นอกจากการเป็นสถานที่เล่นสนุก สนามเด็กเล่นมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง และไอเดียเบื้องหลังการสร้างสนามเด็กเล่นของพวกเขาคืออะไร มาโลดแล่นไปในบทสนทนาและค้นหาคำตอบพร้อมกันในบทความนี้ เล่าให้ฟังหน่อยว่าตอนเด็กๆ คุณเติบโตมากับสนามเด็กเล่นแบบไหน […]

สวมวิญญาณนักเดินทาง สำรวจดาวอาร์ราคิสใน Dune ตามหา ‘สไปซ์’ เพื่อกลับไปช่วยโลก

ในอนาคตอันแสนไกลนับหมื่นปี เทคโนโลยีเดินทางในอวกาศได้ก้าวล้ำจนมนุษย์อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วทั้งกาแล็กซี ด้วยการใช้ ‘สไปซ์ เมลานจ์’ (Spice Melange) สารเสพติดที่มีค่ามากที่สุดในจักรวาล เพราะใช้ในการเดินทางในอวกาศได้อย่างปลอดภัย ยืดอายุขัย และช่วยเพิ่มพูนทักษะต่างๆ ทว่าสิ่งนี้กลับมีอยู่แค่ในดาว ‘อาร์ราคิส’ (Arrakis) เพียงดวงเดียวในจักรวาลเท่านั้น ในขณะที่ดาวโลกสีน้ำเงินของเรากำลังตกอยู่ในวิกฤตโลกเดือด และทุกพื้นที่กำลังกลายเป็นทะเลทรายจนมนุษย์ไม่สามารถอาศัยอยู่ได้ ทำให้เราต้องรีบค้นหาดาวเคราะห์ดวงใหม่สำหรับมนุษยชาติด้วยการตามหา ‘สไปซ์’ ชาว Urban Creature ขออาสาเป็นนักเดินทางจากดาวโลก พาทุกคนมาสำรวจดวงดาวอาร์ราคิสอันโด่งดังในจักรวาล ‘Dune’ กัน นอกจากการตามหาสไปซ์แล้ว เรายังควรดูดาวอาร์ราคิสเป็นกรณีศึกษาในกรณีที่โลกทั้งใบได้กลายเป็นทะเลทรายไปแล้วจริงๆ เทียบท่าจอด ณ ‘อาร์ราคิส’ ดวงดาวที่ร้อนกว่าประเทศไทย แค่ก้าวเท้าลงมาจากยาน อากาศที่ร้อนระอุกว่า 60 องศาเซลเซียสก็พัดกระแทกหน้าอย่างจัง ที่นี่ร้อนกว่าเมืองไทยของเราเสียอีก มองไปทางไหนก็เห็นแต่เนินทรายสีทองกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ก่อนเราจะก้าวลงเดินบนพื้นทราย ไกด์นำทางของเราได้ยื่นชุด ‘สติลสูท’ (Stillsuit) ให้ เพราะชุดนี้จะรีไซเคิลของเหลวในร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นของเสีย เหงื่อ ปัสสาวะ หรือแม้แต่ลมหายใจของเรา ให้กลับมาเป็นน้ำใช้ใหม่อีกครั้ง เพื่อป้องกันผู้สวมใส่ไม่ให้ขาดน้ำตายบนความแห้งแล้งของอาร์ราคิส คืนนี้เราจะนอนกันที่ ‘อาร์ราคีน’ (Arrakeen) เมืองหลวงของดาวอาร์ราคิส ก่อนที่จะออกไปตามล่าสไปซ์ในวันรุ่งขึ้น […]

เสรีภาพสื่อที่ถูกจำกัดและผู้เห็นต่างที่ถูกกำจัด ในกราฟิกโนเวล ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’

‘เมื่อตัดไปหนึ่งหัวกลับงอกเพิ่มขึ้นมาอีกสองหัว’ มังกรไฮดรา สัตว์ร้ายในตำนานที่ยิ่งพยายามฆ่ามันเท่าไหร่ มันกลับยิ่งแตกตัวและแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์บ้านเมืองของ ‘สยาม’ ในอดีตก็เช่นกัน ยิ่งรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใช้อำนาจกำจัดผู้กระด้างกระเดื่องมากเท่าไหร่ จำนวนผู้ต่อต้านก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จนนำไปสู่การยึดอำนาจ ย่ำรุ่ง 24 มิถุนายน 2475 เกิดการ ‘อภิวัฒน์สยาม’ เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ‘ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ สู่ ‘ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ’ มอบอำนาจสูงสุดกลับคืนสู่ราษฎร แต่ผ่านไปเพียงแค่ชั่วอึดใจ ผู้มีอำนาจกลุ่มใหม่ก็เข้ามารับไม้ต่อเป็นเผด็จการเสียเอง เสมือนเปลี่ยนเพียงหัวโขนจากกษัตริย์เป็นทหาร ทำให้เรากลับมาตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นในสยามช่วงเวลาก่อนปี 2475 ที่เป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองและวิธีการของรัฐที่ใช้อำนาจปิดปากประชาชน แล้วทำไมจาก ‘สยาม’ มาจนถึง ‘ไทย’ ในปัจจุบัน สังคมการเมืองบ้านเรายังคงวนลูปแห่งอำนาจและการต่อสู้อย่างไม่เคยสิ้นสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้อ่านหนังสือ ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’ กราฟิกโนเวลดราม่าอิงประวัติศาสตร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากบุคคลและเหตุการณ์จริง ภาพลายเส้นโดย สะอาด (ภูมิ-ธนิสร์ วีระ) ผู้สร้างสรรค์ครอบครัวเจ๊งเป้ง, ให้รักเป็นบทกวีชั่วชีวิต ฯลฯ และเนื้อเรื่องโดย พชรกฤษณ์ โตอิ้ม และ สะอาด เรื่องราวภายในเล่มกล่าวถึงสยามประเทศช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุคสมัยที่พระนครเต็มไปด้วยอาชญากรรมและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ […]

Plant Workshop Cafe คาเฟ่ที่อยากเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการอยู่กับธรรมชาติของคนเมือง

ถ้าคุณเป็นคนเมืองที่โหยหาธรรมชาติ รักการอยู่ท่ามกลางต้นไม้เป็นชีวิตจิตใจ การก้าวเข้ามาใน ‘Plant Workshop Cafe’ คาเฟ่สีเขียวซึ่งตั้งอยู่ใจกลางราชเทวีน่าจะมอบความรู้สึกสบายใจให้คุณได้ไม่น้อย เห็นคำว่าเวิร์กช็อป บางคนอาจคิดว่าที่นี่จัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับต้นไม้ แต่แท้จริงแล้ว ‘ต้อม-กฤษฎา พลทรัพย์’ และ ‘ออม-ดร.มนสินี อรรถวานิช’ เจ้าของคาเฟ่ตั้งใจให้ที่นี่เป็น ‘โรงปฏิบัติการ’ สำหรับคนที่ไม่ได้เชี่ยวชาญในการปลูกต้นไม้แต่ชอบปลูก ในบทบาทหนึ่ง ต้อมกับออมคือนักออกแบบสถาปัตยกรรมและอาจารย์ผู้สนใจเรื่องการสร้างพื้นที่ในเมืองให้เป็นประโยชน์ แต่พวกเขาก็เหมือนเราหลายๆ คน เป็นคนเมืองที่ต้องออกจากห้องแต่เช้า กว่าจะกลับห้องก็ค่ำ จะปลูกต้นไม้ที่ดูแลยากๆ ในห้องก็ใช่ที ในแง่หนึ่ง Plant Workshop Cafe แห่งนี้จึงเป็นพื้นที่ลองผิดลองถูกในการดูแลพืชพรรณของพวกเขา และในอีกมุม มันก็เป็นทั้งคาเฟ่ โคเวิร์กกิ้งสเปซ ที่นั่งแล้วสบายใจ พร้อมเสิร์ฟเครื่องดื่มกับอาหารราคาสบายกระเป๋า บทสนทนาของเราเกิดขึ้นที่ชั้นสองของร้าน ท่ามกลางสีเขียวของหมู่มวลต้นไม้หลากชนิด ที่นั่น เราได้ฟังเรื่องราวความสนใจที่ฝังรากลึก ไปจนถึงเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ที่อยู่แล้วสบายใจ มากกว่านั้นคือ เป็นพื้นที่มอบแรงบันดาลใจให้คนเมืองคนอื่นๆ รู้สึกอยากปลูกต้นไม้เช่นกัน สวนหลังบ้าน “เราไม่ได้คิดทำร้านกาแฟ จริงๆ มันคือสวนหลังบ้าน” แค่ความตั้งใจแรกที่ต้อมเล่าให้ฟังก็ทำให้เราเลิกคิ้วอย่างประหลาดใจ ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ต้อมกับออมได้ตึกแถวเปล่าใจกลางราชเทวีขนาดหนึ่งคูหามาตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ระบาด พวกเขาเปิดบริษัทที่ทำงานด้านสถาปัตย์ของตัวเอง จึงเปลี่ยนชั้นสองและชั้นสามเป็นบ้านและออฟฟิศไว้ ส่วนชั้นหนึ่งที่ว่าง […]

11 ลาย 11 อัตลักษณ์ เพิ่มมูลค่าท้องถิ่น จากกางเกงช้าง สู่ ‘กางเกงลายประจำจังหวัด’

ในช่วงที่ผ่านมา ‘กางเกงช้าง’ กลายเป็นแฟชั่นยอดนิยมของคนไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จนทำให้กางเกงช้างในรูปแบบผ้าสกรีนลาย สวมใส่สบาย กลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง และจากกระแสความนิยมในกางเกงช้างนี่เอง ที่ทำให้ผู้ประกอบการและหน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัดหลายแห่ง เกิดไอเดียโปรโมตการท่องเที่ยวและเพิ่มมูลค่าให้จังหวัดของตัวเองผ่าน ‘กางเกงประจำจังหวัด’ ซึ่งเป็นการนำรูปแบบของกางเกงช้างเดิมมาเปลี่ยนลวดลายใหม่ที่สะท้อนให้เห็นถึงของดีประจำถิ่นของตัวเองเข้าไป ว่าแต่กางเกงประจำจังหวัดที่น่าสนใจและกำลังเป็นกระแสอยู่ตอนนี้จะมีหน้าตาอย่างไร และมีของจังหวัดอะไรบ้าง Urban Creature ขออาสาพาทุกคนไปดู 11 ลายกางเกงประจำจังหวัดกัน กางเกงแมว (โคราช) ‘กางเกงแมว’ เป็นหนึ่งในผลงานจากผู้เข้าประกวดโครงการ KORAT Monogram ที่ต้องการผลักดัน Soft Power ภายในจังหวัด จนออกมาเป็นกางเกงลายโมโนแกรมที่รวมอัตลักษณ์เด่นๆ ของโคราช ทั้งสัตว์ประจำจังหวัดอย่าง ‘แมวสีสวาด’ หรือที่เรียกกันเล่นๆ ในพื้นที่ว่าแมวโคราช เจ้าเหมียวสีเทาเงางามที่ใครเห็นก็ต้องหลงรัก รวมถึงดอกสาธร ปราสาทหิน ผัดหมี่โคราช และประตูชุมพล สอบถามรายละเอียดการสั่งซื้อที่ : แมวโคราช กางเกงปล้าง (PLA.PLA TOO.TOO สมุทรสงคราม) ‘กางเกงปล้าง’ เกิดจากการรวมคำระหว่าง ‘กางเกงลายช้าง’ และ ‘กางเกงลายปลา’ เข้าด้วยกัน เป็นผลงานการออกแบบของ ‘ปาป้า-ทูทู่ สตูดิโอ’ […]

กาดหลวง มนตร์เสน่ห์จากวันวาน

“ยิ่งเก่า ยิ่งขลัง” เป็นคำพูดที่หลายคนคงได้ยินติดหูกันมานาน ช่วงเวลาผ่านเรื่องราวในอดีต หลงเหลือไว้เพียงความทรงจำที่ยังคงฝังมาจนถึงปัจจุบัน เวลานำพาเทคโนโลยีความทันสมัยต่างๆ เข้ามาจนไม่หลงเหลือความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิม ถึงอย่างนั้นก็ยังมีกลุ่มคนที่ยังคงหลงรักมนตร์เสน่ห์ของยุคเก่า ทั้งคอยเก็บสะสมและแลกเปลี่ยน ยิ่งของที่เก่ามาก ราคายิ่งสูงตาม โดยส่วนตัวเราเป็นคนที่ชอบของเก่า ถึงแม้จะเกิดไม่ทันในยุคสมัยนั้นก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นแนวการแต่งตัว หนัง และความชอบในการท่องเที่ยวดูสถานที่ที่ยังเหลือกลิ่นอายของยุคเก่า ทั้งที่มีมาตั้งแต่อดีตหรือที่เขาจัดแต่งขึ้นมาทีหลัง ‘กาดหลวง’ หรือ ‘ตลาดวโรรส’ คือตลาดที่ยามว่างเราชอบมาเดินเล่นกับกล้องหนึ่งตัว ถึงแม้จะไม่ได้อะไรติดไม้ติดมือกลับบ้านเลย แต่สิ่งที่ได้สัมผัสคือบรรยากาศที่เหมือนเคยได้สัมผัสมาก่อน จากการเดินสังเกตเรื่องราวของผู้คนราวกับหนังจอใหญ่ 4D เราพบว่าคนขายของมีหลากหลายเชื้อชาติ คนอินเดียบางคนที่เขาอยู่มานานพูดภาษาเหนือได้คล่อง ผู้คนพูดคุยทักทายกันเหมือนเคยรู้จักกันมาก่อน ระหว่างเดินและมองไปรอบๆ ภาพในอดีตสมัยเด็กๆ ล่องลอยขึ้นมาในหัวร่วมกับความรู้สึกที่ผสมปนเปกันไปหมด ทั้งความคิดถึง เหงา ตื้นตันใจ ความสุข และความรู้สึกอบอุ่น จนน้ำตาไหลออกมาแบบไม่รู้ตัว ได้แต่หวังว่าในอนาคตที่ปัจจุบันกำลังดำเนินไปจะยังคงหลงเหลือมนตร์เสน่ห์จากวันวานนี้อยู่ ติดตามผลงานของ วราลักษณ์ ใจเป็ง ต่อได้ที่ Instagram : laa_WJ และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

‘สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์’ จุดเริ่มต้น F1 ที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเปิดโอกาสให้ชุมชนได้เป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขัน

‘ใครคือผู้ที่เร็วที่สุดในโลก’ คำถามที่หลายคนตั้งตารอในแต่ละปีสำหรับการแข่งขัน ‘Motorsport’ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง ‘Formula 1’ หรือ ‘F1’ การแข่งขันรถยนต์สูตร 1 ที่ขับเคี่ยวกันด้วยความเร็วกว่า 300 กม./ชม. โดยทั้งนักแข่งและผู้ชมต่างก็โฟกัสที่ความเร็วเป็นหลัก โดยอาจลืมไปว่าในการแข่งขันรถยนต์นั้น สิ่งที่ตามมาคือการสิ้นเปลืองพลังงานและการปล่อยมลพิษทางอากาศปริมาณมหาศาล ด้วยจำนวนรถยนต์ 20 คันจากทั้งหมด 10 ทีม และการแข่งขัน 23 รายการทั่วโลก คือสาเหตุที่ทำให้การแข่งขัน F1 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่า 256,000 ตันในแต่ละฤดูกาล จากการเผาผลาญเชื้อเพลิงฟอสซิลจำนวนมากในแต่ละการแข่งขัน ซึ่งขัดกับเทรนด์โลกในปัจจุบันที่กำลังพยายามลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน ถึงอย่างนั้นทางผู้จัดเองก็ไม่ได้ละเลยปัญหาการสร้างมลภาวะนี้ และได้มองหาทางแก้ปัญหาที่สามารถจัดการไปพร้อมกับสร้างความสนุกสนานจากการแข่งขันได้ โดยมี ‘สิงคโปร์ กรังด์ปรีซ์’ (Singapore Grand Prix) การแข่งขัน F1 ในประเทศสิงคโปร์ เป็นจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์ ‘สิงคโปร์’ จุดเริ่มต้นแห่ง Net Zero ของการแข่ง F1 ปัญหาการปล่อยมลภาวะจำนวนมากจากการแข่งขัน F1 ทำให้ ‘สหพันธ์ยานยนต์นานาชาติ (FIA)’ หันมาให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น […]

‘ผังเมืองจะทำให้เห็นเมืองของเราในอนาคต’ คลี่คลายทุกความสงสัยเรื่องผังเมืองกับ ‘นพนันท์ ตาปนานนท์’

เมื่อไม่นานมานี้ ประเด็นเรื่องผังเมืองรวม กทม. กลายเป็นประเด็นร้อนแรงปลุกให้คนกรุงเทพฯ หันมาสนใจว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น ทำไมคีย์เวิร์ด ‘ผังเมืองใหม่เอื้อกับนายทุน’ โผล่มาให้เห็นบ่อยๆ ตามสื่อโซเชียลมีเดีย จนทำให้ กทม.แถลงชี้แจง และขยายระยะเวลารับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และแน่นอนว่าในฐานะคนเมือง เราย่อมได้ยินคำว่าผังเมืองอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาพูดถึงปัญหาเมืองเรื้อรังที่แก้ไขไม่ได้ เช่น รถติด การเดินทางไม่สะดวก หรือกระทั่งเรื่องอากาศร้อน Urban Creature ชวน ‘รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ มาให้ความเข้าใจถึงเรื่องผังเมืองอย่างง่ายๆ ว่าคืออะไร และปัจจัยนี้เป็นสาเหตุของหลายปัญหาเมืองจริงไหม ลองไปหาคำตอบจากบทสัมภาษณ์นี้กัน ในเชิงวิชาการ คำว่า ‘ผังเมือง’ มีความหมายว่าอย่างไร ถ้าให้ผมสรุปสั้นๆ ผังเมืองเป็นการกำหนดภาพอนาคตของเมือง เป็นกายภาพ มองเห็น จับต้องได้ เพื่อรู้ว่าเมืองนี้มีภาพในอนาคตข้างหน้าเป็นอย่างไร หน่วยงานภาครัฐใช้ภาพนี้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่วนเมืองมีการพัฒนาโดยภาคเอกชนและประชาชน คือ การสร้างที่อยู่อาศัย การสร้างอาคารพาณิชย์ […]

Waiting for a Snake รถไฟฟ้ามาหานคร

พ.ศ. 2542 เป็นปีที่คนไทยได้สัมผัสกับระบบขนส่งมวลชนแบบใหม่ในนาม ‘รถไฟฟ้า’ เป็นครั้งแรก ก่อนที่เวลาต่อมา มันจะซอกซอนและยืดเหยียดไปตามพื้นที่ต่างๆ ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เหมือนงูยักษ์ที่เลื้อยไปตามถนน ย่าน และสถานที่สำคัญต่างๆ ของเมือง นอกจากจะทำหน้าที่ขนส่งมวลชนแล้ว ทุกที่ที่งูเหล่านี้เลื้อยผ่าน ยังทำให้ภูมิทัศน์ของเมืองเปลี่ยนแปลงไปทุกมิติทั้งเชิงบวกและลบ อาคารที่อยู่อาศัยแนวตั้งและอาคารพาณิชย์มากมายผุดขึ้นตามเส้นทางของมัน ที่ดินราคาสูงขึ้น และโอกาสในการทำงานของคนในพื้นที่ก็เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าเช่าที่พักอาศัยในบริเวณนั้นก็มักจะสูงตาม อีกทั้งการก่อสร้างมันขึ้นมายังทำให้เกิดมลพิษทั้งทางน้ำและอากาศ โดยเฉพาะที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นอาการขัดข้องและอุบัติเหตุจากระบบต่างๆ รวมถึงอัตราราคาที่ต้องจ่ายเพื่อใช้บริการมัน รถไฟฟ้าจึงเปรียบเสมือนงูใหญ่ที่มอบโอกาสในการเดินทาง และอสรพิษที่สามารถทำร้ายผู้คนได้ แม้จะไม่ได้ตั้งใจ แต่ไม่ว่าอย่างไร ชาวเมืองก็ยังจำเป็นต้องพึ่งพาเจ้างูตัวนี้ เพื่อการเดินทางที่มีความแน่นอนทางเวลา (หากระบบไม่รวน) รวมไปถึงความปลอดภัยเมื่อเทียบกับการเดินทางบนท้องถนน หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

จากโรมันถึงวันนี้ ‘เวโรนา’ เมืองที่เก็บรักษาโครงสร้างความโรแมนติกได้อย่างไม่เคยหมดรัก

‘เวโรนา’ คือหนึ่งในเมืองแห่งความโรแมนติกที่เราอาจเคยได้ยินชื่อจากวรรณกรรมชื่อก้องโลก Romeo and Juliet ‘วิลเลียม เชกสเปียร์’ เลือกเมืองนี้เป็นท้องเรื่อง เพราะด้วยสถาปัตยกรรมทรงเสน่ห์ที่เมืองยังคงอนุรักษ์ไว้ตั้งแต่สมัยโรมันไปจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำให้หลายคู่รักเลือกเดินทางไปย้อนเวลากลายเป็นเจ้าชายเจ้าหญิงเหมือนในนิยาย ท่ามกลางบรรยากาศสุดแสนโรแมนติก เวโรนา อารีนา (Verona Arena), สะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra), มหาวิหารซานเซโน (Basilica of San Zeno) หรือแม้แต่บ้านจูเลียต (Juliet’s House) คือตัวอย่างสถาปัตยกรรมโบราณขึ้นชื่ออันโดดเด่นที่เหล่านักท่องเที่ยวต่างหลงใหลในเสน่ห์แห่งเวโรนา แต่ในความจริงทุกอย่างไม่ได้สวยงามดั่งความรักของโรเมโอและจูเลียต เมืองเวโรนาเคยผ่านการล้มลุกคลุกคลานจากสงครามที่ทำลายเมืองไปกว่าครึ่ง แต่ว่าสิ่งไหนกันที่ทำให้ ‘เวโรนา’ ยังคงเสน่ห์และความสวยงามได้อย่างไม่เคยหมดรัก ตามไปอ่านได้ในบทความนี้ ชุบชีวิตเมืองที่ถูกทำลายจากสงคราม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองเวโรนาคือหนึ่งในเมืองที่ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี บ้านกว่า 7,000 หลังคาเรือนถูกทำลายราบคาบ จึงไม่แปลกที่สถาปัตยกรรมโบราณจะได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือสะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra) ที่ถูกทำลายและไม่ได้รับการฟื้นฟู แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ผู้มีอำนาจในเมืองเวโรนาได้เริ่มวางแผนชุบชีวิตเมืองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในปี 1946 ‘Piero Gazzola’ ประธานสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) ได้มีส่วนสำคัญอย่างมากในแผนการฟื้นฟูโครงสร้างของเมืองเวโรนา […]

1 2 3 4 5 20

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.