LGBTQ+ หางานยาก? คุยกับ โกโก้ กวินตรา Trans Woman ผู้สมัครงาน 200 ที่แต่ไม่มีใครเรียก

สมัยนี้อย่าเลือกงานมากเลย แต่ทำไมงานถึงเลือกเพศ?  โดนกาหัวใบสมัครงาน เพราะไม่ใช่ผู้หญิงหรือผู้ชาย ตำแหน่งงานที่จะโปรโมตสำหรับผู้หญิงเท่านั้น เธอไม่ใช่ผู้หญิง อย่ามาแสดงท่าทางตุ้งติ้ง หรือทำตัวเจ้าฮะให้เห็นตอนทำงานล่ะ ถกประเด็นโอกาสเข้าถึงงานของเพศหลากหลายกับ โกโก้-กวินตรา เทียมไสย์ ผู้หญิงข้ามเพศผู้เป็นนักวิจัยนโยบายให้กับองค์กรระหว่างประเทศแห่งหนึ่ง พร้อมกับสร้างโปรเจกต์ She Can เพื่อฝึกทักษะและเตรียมพร้อมเยาวชนคนข้ามเพศให้เติบโตเป็นผู้นำในสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้เกิดขึ้นหลังจากเธอเรียนจบปริญญาโทด้าน Gender Studies ที่วิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและการศึกษาแอฟริกา มหาวิทยาลัยลอนดอน (SOAS University of London) ด้วยทุนรัฐบาลอังกฤษ ก้าวชีวิตที่ยิ่งใหญ่ ใครจะคิดว่าเธอเคยเป็นเด็กจบใหม่ที่ร่อนสมัครงานไปมากกว่า 200 ใบแต่กลับไม่มีใครเรียกไปสัมภาษณ์ จะว่าคุณสมบัติที่มีไม่เหมาะสมกับงานทั้งสองร้อยงานเลยก็คงไม่ใช่ เธอจึงเชื่อว่าส่วนหนึ่งมาจากเหตุแห่งเพศ เพราะสังคมไทยที่เป็นอยู่ไม่มีทั้งกฎหมายรับรองสถานะทางเพศ ยังคงเหยียด เลือกปฏิบัติ และมอง LGBTQ+ ไม่เท่ากับคนอื่น ไหนว่าอย่าเลือกงาน แต่ทำไมงานถึงเลือกเพศได้? เธอพร้อมแล้วที่จะถกประเด็นให้คุณได้รู้ งานเลือกเพศ งานวิจัยการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของ LGBTI ในประเทศไทยปี 2561 จากธนาคารโลก (World Bank) ซึ่งสำรวจกลุ่ม LGBTQ+ และคนที่ไม่ใช่ LGBTQ+ รวม 3,502 […]

วัดชลประทานรังสฤษดิ์ ออกแบบอย่างเข้าใจชาวพุทธยุคใหม่ ปฏิรูปพุทธวิถีให้เข้าถึงง่าย

ไม่เข้าวัด ห่างไกลวัดออกไปทุกที ถ้าไม่ไปทำบุญ หรืองานศพ ก็ไม่รู้จะพาตัวเองเข้าวัดไปทำอะไร เรารู้สึกแบบนั้นเสมอ แต่เมื่อได้มาเยือน วัดชลประทานรังสฤษดิ์ พระอารามหลวง ละแวกปากเกร็ด นนทบุรี ความคิดที่ขยับออกจากวัดกลับกลายเป็นความรู้สึกอยากชิดใกล้ ผ่านกิจกรรมทางพุทธศาสนารูปแบบใหม่ และงานดีไซน์ร่วมสมัยชวนเข้าหา สู่วัดบันดาลใจสำหรับพุทธศาสนิกชนยุคใหม่ หนึ่ง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่ออกแบบโดยยึดหลักสัปปายะ หรือการออกแบบให้สะดวกสบายกับพุทธบริษัท หรือพุทธศาสนิกชน สอง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่เปิดให้จัดงานที่เป็นกุศล ปราศจากอบายมุข เช่น งานแต่งงานอย่างเรียบง่ายในรูปแบบธรรมสมรส สาม วัดชลประทานรังสฤษดิ์ คือวัดที่มีนวัตกรรมการฌาปนกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่รับพวงหรีด เผาไร้ควัน และมีหอมนุษยชาติ ดิจิทัลอัฐิ ทั้งสามข้อข้างต้นเป็นเพียงน้ำจิ้ม ที่จะชวนมารู้จักวัดชลประทานรังสฤษดิ์อย่างถึงแก่นผ่าน 3 บทต่อจากนี้ที่เราตั้งใจเขียน และเต็มใจนำเสนอเพื่อเชิญชวนชาวพุทธรุ่นใหม่ขยับเข้าใกล้ แล้วมองวัดในมุมที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป  ผู้สร้าง วัดชลประทานรังสฤษดิ์ สร้างขึ้นในปี 2502 โดย ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ก่อนปี 2503 ได้อาราธนา ท่านปัญญานันทภิกขุ มาเป็นเจ้าอาวาส ด้วยความศรัทธาในการสอนธรรมะแนวใหม่ที่เปลี่ยนจากการ ถือใบลาน นั่งเทศน์บนธรรมาสน์ มาเป็นการยืนพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมยกตัวอย่างที่ร่วมสมัยและใกล้ตัวชาวพุทธ […]

บ้านเอาถ่าน! Char Co- ของแต่งบ้านจากถ่านไม้โกงกาง ดำแต่เท่ ดูดกลิ่น ไม่เลอะมือ

จับถ่านทีมือดำปี๋ ไม่ระวังให้ดีหล่นนิดเดียวก็แตก ทำเอาหลายคนไม่อยากสัมผัสถ่าน จะหยิบก็ต้องควานหาถุงมือมาใส่กันเลอะ ความไม่อยากจับถ่านที่ใครๆ รู้สึก กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ Char Co- แบรนด์ของแต่งบ้านจากถ่านไม้โกงกาง ของสามนักออกแบบเอาถ่านอย่าง ปอนด์-ธีรศักดิ์ ลิ้มทัตธนกุล น็อต-นภดล สังวาลเพ็ชร และ แนค-วรภัทร์ เมืองรวมญาติ ที่ฉีกกฎความเป็นถ่านว่าต้องใช้เป็นเชื้อเพลิงเท่านั้น สู่การเพิ่มคุณค่าเป็นของแต่งบ้านจากถ่านไม้โกงกาง “Char Co- มาจากคำว่าถ่าน แต่ตัด al ออกจากคำว่า Coal แล้วเติม – เพื่อสื่อว่า จะเอาถ่านมาสร้างความเป็นไปได้รูปแบบใหม่ ผ่านการใช้ร่วมกับวัสดุต่างๆ ไปจนถึงการนำถ่านไปร่วมงานกับแบรนด์อื่นๆ” ซึ่งของแต่งบ้านแต่ละชิ้น ไม่ว่าจะเป็นแจกัน ที่รองแก้ว นาฬิกา แผ่นแต่งผนัง ไปจนถึงท็อปโต๊ะนั้นไม่ได้ทำกันง่ายๆ เพราะต้องเดินทางไปถึงชุมชนยี่สาร จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อตามหาถ่านไม้โกงกาง ก่อนนำมาผสมเรซิน กลึง หั่น เพาะ เชื่อม แล้วขึ้นรูปเป็นของแต่งบ้านจากถ่านที่มีคุณสมบัติดูดกลิ่น ซับความชื้น กรองความสกปรก และหากวันหนึ่งเกิดแตกหักก็สามารถนำไปเป็นเชื้อเพลิง หรือกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตได้อีกครั้ง คนเอาถ่าน  เปลี่ยนมุมมองถ่านที่ประโยชน์เยอะ แต่ไม่มีใครอยากสัมผัส […]

ทำไมถนนปูดเก่ง จนรถพากันเหินไม่หยุด

ใครขับรถไปจนถึงเดินบนฟุตพาทแล้วอาจชำเลืองตาไปเห็นกับสภาพ ‘ถนนปูด’ ที่ปูดเก่งไม่ไหว จนพาให้รถหลายคัน ทั้งรถยนต์ ไปจนถึงมอเตอร์ไซค์เหินเวหา ล้มระเนระนาดมานับไม่ถ้วน แล้วสภาพถนนปูดนี้เกิดขึ้นเพราะอะไร คอลัมน์ Curiocity ชวนมาหาคำตอบกัน ก่อนอื่นชวนทำความเข้าใจก่อนว่า ถนนในบ้านเรามีทั้ง ‘ถนนลาดยางมะตอย’ หรือ ถนนแบบผิวทางอ่อน (Flexible Pavement) ซึ่งจะใช้หลักการออกแบบตามมาตรฐานของสถาบันยางมะตอย (Asphalt Institute) โดยจะมีอายุการใช้งานราว 20 – 30 ปี กับอีกรูปแบบถนนคือ ‘ถนนคอนกรีต’ หรือ ถนนแบบผิวทางแข็ง (Rigid Pavement) ใช้หลักการออกแบบตามวิธีของสมาคมปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (Portland Cement Association : PCA) โดยจะมีอายุการใช้งานอย่างน้อย 40 – 50 ปี สาเหตุถนนปูดคืออะไร สำหรับอาการถนนบวม (Upheaval) หรือเรียกง่ายๆ ว่าถนนปูดนั้น เป็นความเสียหายด้านการใช้งาน (Functional Failure) ประเภทการเปลี่ยนรูปร่าง (Distortion) และมักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งกับถนนประเภทลาดยางมะตอยที่มีชั้นถนนเป็นดินเดิมของพื้นที่นั้นๆ ซึ่งสาเหตุของการเกิดมีดังนี้ […]

FYI

Your Pride, Your Future ส่งเสียง “อนาคตที่อยากเห็น…” จาก LGBTQIA+ ให้สังคมได้ยิน

“อนาคตที่อยากเห็น…” ส่งเสียงแห่งความหลากหลายทางเพศให้ดังยิ่งขึ้น ฟังอนาคตที่ LGBTQIA+ อยากเห็นในหัวข้อ ‘Your Pride, Your Future’ ครอบคลุมตั้งแต่อนาคตเมือง กฎหมาย ครอบครัว ความรัก การเหยียดกัน ไปจนถึงการเปิดกว้างทางความคิดที่อยากให้เป็น เจี๊ยบ-มัจฉา พรอินทร์ ครอบครัวไม่จำเป็นต้องมีพ่อ-แม่-ลูก มิติครอบครัวในสังคมไทย ถูกปลูกฝังว่าต้องมี พ่อ-แม่-ลูก ซึ่งกรอบที่เชื่อกันว่าถูกกลับสร้างบาดแผลให้กับชีวิตของใครหลายคน รวมถึง เจี๊ยบ-มัจฉา พรอินทร์ ผู้นิยามตัวตนว่าเลสเบี้ยน (Lesbian) เจี๊ยบคือผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ องค์กรสร้างสรรค์อนาคตเยาวชน, ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการหลักสูตร The School Of Feminists : Feminist Theory and Practice, Co-President, International Family Equality Day – IFED, กรรมการ สมาคมผู้หญิง กฎหมายและการพัฒนาแห่งเอเชียแปซิฟิก – APWLD, ผู้ประสานงานประจำประเทศไทย องค์กร V-Day และผู้ที่มีครอบครัวแบบ […]

เป็นผู้ใหญ่ก็ขอโทษเด็กได้ เมื่อการยอมรับผิดไม่ได้วัดจากช่วงวัย

ตั้งแต่เล็ก ฉันและคุณอีกจำนวนไม่ถ้วนถูกพร่ำสอนให้รู้จักขอโทษเสมอเมื่อทำผิด แต่ยิ่งเติบโต ยิ่งได้มองเห็นโลกที่กว้างใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และพบพานกับคนหลายช่วงวัย ฉันกลับพบบางแง่มุมที่บอกเป็นนัยว่า เมื่อโตเข้าวัยผู้ใหญ่แล้ว การขอโทษกลายเป็นเรื่องไม่จำเป็น โดยเฉพาะเมื่อต้องพูดกับเด็ก ผู้ใหญ่บางคนเลือกที่จะไม่เอ่ยคำนี้ออกไปเพียงเพราะความคิดว่า ‘ฉันอายุมากกว่าเธอ’ “การที่ผู้ใหญ่ขอโทษเด็ก มันเป็นเรื่องน่าอับอายมากเลยเหรอครับ” “เด็กต้องขอโทษผู้ใหญ่เสมอ ทั้งๆ ที่คนผิดไม่ใช่เด็กเหรอครับ”“ทำไมคนไทยที่แก่กว่า ขอโทษคนที่อายุน้อยกว่ามากๆ ไม่เป็น” นี่เป็นเพียงกระทู้ส่วนหนึ่งจาก pantip.com ที่ตั้งคำถามถึงการขอโทษไม่เป็นของผู้ใหญ่ ซึ่งหลายคำตอบไหลเข้ามาในหลากแง่มุม บ้างถกประเด็น บ้างเห็นด้วย และบ้างก็สงสัยเช่นกันว่าทำไมผู้ใหญ่ถึงขอโทษเด็กไม่ได้ เป็นผู้ใหญ่ขอโทษเด็กได้ไหม – ชวนฟังทัศนะของ แหม่ม-วีรพร นิติประภา นักเขียนดับเบิลซีไรต์จากสองวรรณกรรมเรื่อง ไส้เดือนตาบอดในเขาวงกต พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ ตามด้วยหนังสือเรื่อง โปรดโอบกอดมนุษย์ลูก และ ทะเลสาบน้ำตา เธอยังเป็นคุณแม่แห่งยุคสมัยที่ขึ้นชื่อเรื่องความเข้าใจระบบความสัมพันธ์ของแม่-ลูกซึ่งเต็มไปด้วยความต่างของช่วงวัย ชนชั้นผู้ใหญ่ ชนชั้นเด็ก “ประเทศไทยก็เหมือนประเทศเอเชียอื่นๆ คือให้ความสำคัญกับวัยวุฒิ เช่นเดียวกับการมีลำดับขั้นชนชั้น” คำตอบของคำถามถึงต้นตอของความคิดที่ว่า เมื่อเป็นผู้ใหญ่แล้ว ทำไมการขอโทษเด็กเป็นเรื่องที่ไม่ต้องทำก็ได้จากแหม่ม ก่อนเธออธิบายต่อว่า เมื่อวัยวุฒิและลำดับขั้นรวมตัวกัน มันก่อให้เกิดชนชั้นผู้ใหญ่ และชนชั้นเด็กที่มีเส้นกั้นไม่ให้เด็กเทียบเท่าผู้ใหญ่ได้ “เมื่อมีชนชั้น เด็กก็ล่วงละเมิดผู้ใหญ่ไม่ได้ และเพื่อดำรงชนชั้นนั้นไว้ ผู้ใหญ่จะไม่ถูกสอนให้ขอโทษเด็ก เพราะการขอโทษคือการยอมรับว่าผิด และเมื่อผู้ใหญ่ทำผิดบ้าง […]

นัท สุมนเตมีย์ ช่างภาพใต้น้ำคนแรกๆ ผู้ถ่ายความมหัศจรรย์ใต้ทะเลตั้งแต่ยุคกล้องฟิล์ม

ขอชวนคนบนฝั่งทุกคนเรียนรู้โลกใต้ทะเลแบบไม่ต้องเปิดตำราเล่มหนา ผ่านบทสนทนากับ นัท สุมนเตมีย์ ช่างภาพใต้น้ำไทย

เฉาจัง! 10 เขตที่มีพื้นที่ต้นไม้ต่อคนน้อยที่สุดใน กทม.

สารพัดโครงการชวนคนเมืองปลูกต้นไม้ของกรุงเทพมหานครผุดขึ้นทุกปี ตั้งแต่ชวนปลูกต้นไม้หนึ่งแสนต้น มากไปจนถึงล้านกล้าสู่ล้านต้น เพื่อสร้างกรุงเทพฯ เมืองสีเขียวให้เกิดขึ้นจริง อย่างไรก็ตามปี 2563 กรุงเทพฯ กลับมีพื้นที่สีเขียวเพียง 6.99 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งน้อยกว่าค่ามาตรฐาน 9 ตารางเมตรต่อคนที่องค์การอนามัยโลกกำหนด ‘พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง’ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครจึงตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้คนกรุงเทพฯ 10 ตารางเมตรต่อคนให้ได้ ภายใต้โครงการ Green Bangkok 2030 แต่ตอนนี้ไม่ว่าจะปลูกเท่าไหร่ ต้นไม้ที่ควรจะเติบโตละลานตาเต็มกรุงเทพฯ ก็ยังกระจายไปไม่ครบทุกเขตเสียที เพราะต้นไม้มีความสำคัญกับเมืองและคนอยู่ จึงมีหลายภาคส่วนศึกษาเรื่องพื้นที่ต้นไม้ เพื่อช่วยกันผลักดันให้ประชากรกรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้พอหายใจ และทีม mor and farmer เป็นหนึ่งในนั้น สี่สถาปนิกรั้วธรรมศาสตร์ใช้เทคโนโลยีในการคิด วิเคราะห์ และออกแบบสื่อเพื่อพัฒนาเมือง ชุมชน และผู้คน ได้วิเคราะห์พื้นที่ต้นไม้ในแต่ละเขตของกรุงเทพมหานครปลายปี 2560 จนถึงต้นปี 2561 ด้วยเครื่องมือ Machine Learning สำหรับหาพื้นที่ต้นไม้จากภาพถ่ายดาวเทียม ผลปรากฏว่า กรุงเทพฯ มีพื้นที่ต้นไม้เพียง 227 ตารางกิโลเมตรจากพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด […]

FICS สเปซของคนรักหนัง เสิร์ฟเมนูกลิ่นอายหนังฮิต และมีแกลเลอรีโปสเตอร์สุดแรร์

: เธอชอบหนังเรื่องอะไร เราชอบ The Lobster มาก: เรามี Call Me by Your Name เป็นเรื่องโปรด: งั้นไป FICS กัน เขาว่าเป็นสเปซใหม่ของคอหนัง มีคาเฟ่ แกลเลอรีโปสเตอร์หนัง มีตู้ถ่ายรูปด้วย อยู่ในซอยสุขุมวิท 31  เพราะทุกคนมีภาพยนตร์ในดวงใจ เลยอยากชวนตีตั๋วเข้าโลกอีกใบของคอหนังที่ FICS สเปซสำหรับคนรักหนังซึ่งมี ‘บาส-นัฐวุฒิ พูนพิริยะ’ ผู้กำกับแนวหน้าของไทยเป็นหัวขบวนหลัก เขาและทีมเปลี่ยนตึก 5 ชั้นให้เป็นเหมือนโรงภาพยนตร์ซึ่งเสิร์ฟเมนูซิกเนเจอร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากหนังฮิต 6 เรื่อง มีแกลเลอรีโปสเตอร์หนังหายาก การันตีความโหดที่บางแผ่นเป็นโปสเตอร์ปีเดียวกับที่หนังฉาย มุมคอนเซปต์สโตร์ที่มีของที่ระลึกเอาใจคนรักหนัง ไปจนถึงยกตู้ถ่ายรูปจาก Sculpture Bangkok มาให้เก็บภาพเหมือนฉากในหนังเรื่อง Amélie ว่าแล้วก็เตรียมตัวให้พร้อม เพราะ FICS is now showing! บาสนำเรื่องนี้ไปคุยกับครอบครัว ขิม-จุฬารัตน์ หาญรุ่งโรจน์ จ๋า-แพรว พูนพิริยะ ปรีดี-ปรีดี เฮงษฎีกุล […]

ยิ่งหยุดพัก งานยิ่งปัง?

วันศุกร์ทีไร ‘มนุษย์แรงงาน’ ดี๊ด๊าทุกที เพราะเป็นวันสุดท้ายของการทำงานในสัปดาห์! เพื่อชาร์จพลังกลับไปลุยงานต่อวันจันทร์ ว่าแต่การหยุดพัก 2 วันหลังจากเคร่งเครียดกับงานมายาวๆ 5 วันนั้นช่วยให้สมองและร่างกายเราพร้อมกลับไปทำงานจริงหรือเปล่า เพราะยังว่ากันว่าหลังจากได้พักยาวๆ แล้ว เมื่อกลับไปทำงานอีกครั้ง ประสิทธิภาพของคนทำงานจะดีขึ้น จนผลงานที่ออกมาเต็มไปด้วยคุณภาพ เรื่องนี้จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ คอลัมน์ Curiocity ชวนค้นคำตอบฉลองวันแรงงานกัน  ทำ 5 พัก 2 มาจากไหน ย้อนกลับไปศตวรรษที่ 19 สมัยที่ยังไม่มีกฎหมายแรงงาน ทำให้นายจ้างกำหนดเวลาเข้า-ออกงาน รวมถึงชั่วโมงทำงานอย่างไรก็ได้ บางที่ดีหน่อยให้หยุดพัก 1 วัน ไม่เสาร์หรืออาทิตย์ขึ้นอยู่กับวันประกอบพิธีของแต่ละศาสนา แต่บางที่ก็แย่เกินใครเพราะไม่มีวันหยุด และให้พนักงานโหมทำงานมากถึง 14 ชั่วโมง/วัน เนื่องจากงานหนักจนคนทำงานทนไม่ไหว จึงเกิดการนัดหยุดงานเพื่อออกมาประท้วง ท้ายที่สุดพี่น้องแรงงานเลือดนักสู้ก็ได้เวลาทำงานวันละ 8 ชั่วโมง และหลายประเทศบรรจุเข้าข้อกฎหมาย ประกอบกับปัญหาการขอหยุดงานไม่ตรงกันของแต่ละศาสนาที่ยากต่อการจัดการ และประสิทธิภาพการทำงานตกลง จึงมีข้อกำหนดเพิ่มเติมให้วันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันหยุดงานประจำสัปดาห์ไปโดยปริยาย  ปี 1926 ‘เฮนรี ฟอร์ด’ เจ้าของฟอร์ด มอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอเมริกา คือนายทุนแรกที่ทดลองให้คนงานทำงานแค่ […]

เพลง Plastic Plastic ในมุมครูวิชา Natural Appreciation ใช้ศิลปะสอนเด็กอนุบาลให้รักธรรมชาติ

ชื่อ เพลง ต้องตา จิตดี อาชีพ คุณครู โรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ “วันนี้ครูเพลงจะชวนเด็กๆ ชั้นอนุบาลสามห้องผักกาดมาวาดรูปกันค่ะ” การพบเจอ เพลง-ต้องตา จิตดี ครั้งนี้ ไม่มีชื่อวง Plastic Plastic ต่อท้าย ไม่มี ปกป้อง จิตดี พี่ชายข้างกาย ไม่มีเสียงร้องที่ชวนให้หยิบแฮมเป็นแผ่นที่หก ไม่มีท่วงทำนองสดใสพาฮัมเพลงหนึ่งเพลงซ้ำๆ มีเพียง ครูเพลง คุณครูประจำวิชา Natural Appreciation ของเด็กนักเรียน โรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ ด้านหลังร้านอาหารก้ามปู คือพื้นที่ของโรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ที่เด็กๆ กำลังทานอาหารกลางวันอยู่ ครูเพลง ต้องตาออกมาต้อนรับอย่างเป็นกันเอง ก่อนเดินนำไปยังบ้านสีขาวด้านในที่ปกป้องออกแบบให้เป็นโฮมสตูดิโอ พร้อมแบ่งพื้นที่ใต้ถุนบ้านเป็นห้องเรียนทำอาหาร  เธอชวนหย่อนตัวที่มุมรับแขก ซึ่งมองออกไปเห็นสนามเด็กเล่น และบ้านต้นไม้ที่ด้านหนึ่งเป็นสไลเดอร์ และอีกด้านเป็นหน้าผาจำลองแสนสนุก เพื่อเริ่มต้นคลาสเรียนวิชา ครูเพลง 101 ชีวิตเพลงในโรงเรียนอนุบาล เพลงไม่ได้เดินมาสมัครเป็นคุณครูที่โรงเรียนอนุบาลเทพารักษ์ แต่เธอเติบโตภายในโรงเรียนแห่งนี้ซึ่งคุณแม่เป็นผู้อำนวยการ ไปจนถึงเคยเป็นนักเรียนอนุบาลตัวน้อยผู้ได้เรียนหลักสูตรการเรียนการสอนแนวบูรณาการ (Integrated Learning) ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น ทดลอง และทำกิจกรรมสร้างสรรค์ตั้งแต่ ชั้นเตรียมอนุบาลจนถึงอนุบาล 3 “เพราะบ้านเราอยู่บริเวณเดียวกับโรงเรียน […]

‘ขนมจีบวรวิทย์’ ร้านขนมจีบยุคจอมพล สฤษดิ์ ความอร่อยแห่งชลบุรีที่เยาวราชยังต้องง้อ

“เฮีย เอาขนมจีบยี่สิบบาท” “ใส่ซอสกินเลยเปล่า” “กินเลยเฮีย” เสียงทุ้มติดสำเนียงจีนดังขึ้นหน้าตึกแถวโบราณยาม 7 โมงเช้าในตลาดล่าง อำเภอเมืองฯ จังหวัดชลบุรี มองเข้าไปเห็นบรรยากาศความเก่าแก่ของครอบครัวคนจีน ด้านหน้ามีตู้กระจกใสซึ่งมีขนมจีบเรียงราย เคียงด้วยซึ้งหลังใหญ่ปล่อยควันโขมง และเมื่อควันค่อยๆ จางลงตามสายลม ก็ปรากฏภาพ เก๊า-วรวิทย์ วิจิตรกุลสวัสดิ์ อากงวัย 80 เจ้าของบทสนทนาข้างต้นที่มีรอยยิ้มแต้มใบหน้าเสมอ และเป็นเจ้าของ ขนมจีบวรวิทย์ (เก๊า) ชลบุรี ร้านเก่าแก่ในตำนานอายุ 62 ปีที่อยู่คู่เมืองชลฯ มาตั้งแต่สมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ “มาแล้วเหรอหนู เดินเข้าไปดูข้างในได้ไม่เป็นไร บ้านเก่าหน่อยนะ” อากงว่าหลังเราเอ่ยทักทาย ก่อนเดินนำเข้าไปในบ้านเพื่อพบกับ อาม่าไพลิน วิจิตรกุลสวัสดิ์ ที่กำลังนั่งห่อขนมจีบอย่างคล่องแคล่วอยู่กับหลานสาวอย่าง หนิง-พจนา แซ่ลิ้ม และใกล้กันนั้นมี ต้น-ปิติ วิจิตรกุลสวัสดิ์ ลูกชายคนโตกำลังเทขนมจีบร้อนๆ ส่งกลิ่นหอมฟุ้งจากซึ้งใส่ถาด บรรยากาศครอบครัวอบอุ่น ช่วยกันทำคนละไม้คนละมือ สร้างความรู้สึกประทับใจให้เราตั้งแต่แรกเห็น พลางคิดในใจว่า คุ้มค่าแล้วที่ตื่นตั้งแต่ตีห้า เพื่อเดินทางมาเยือนร้านขนมจีบวรวิทย์แต่เช้าตรู่ จีบของตระกูล เราหย่อนตัวลงบนม้านั่งไม้โบราณ ตรงข้ามคืออาม่าที่สองมือกำลังหยิบแผ่นแป้ง หรือที่เรียกว่าเปลือกขึ้นมาตัดขอบให้ได้ขนาดพอดี […]

1 2 3 12

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.