‘Words Studio’ ร้านขายการ์ดที่เหลือเพียงแห่งเดียวในไต้หวัน

ทุกคนยังจำช่วงเวลาที่ออกไปหาซื้อการ์ด หรือทำการ์ดด้วยตัวเองได้ไหม ? ยังจำความรู้สึกตอนตั้งใจเขียนตัวหนังสือลงการ์ดให้สวยได้หรือเปล่า ? เราจะพาทุกคนย้อนไปนึกถึงความรู้สึก ณ ช่วงเวลานั้นที่ ‘Words Studio’ ร้านขาย ‘การ์ด’ ที่เหลือเพียงแห่งเดียวในประเทศไต้หวัน

ไร้บ้านไม่ไร้ค่า หนึ่งวันกับ ‘คนไร้บ้าน’ ชีวิตที่อยากให้เข้าใจ

เรียนรู้ชีวิตคนไร้บ้านไปพร้อมกับ ‘พี่เอ๋-สิทธิพล ชูประจง’ หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนนที่พาเราไปเข้าถึงคนไร้บ้านอย่างเปิดใจให้ว่าง เพื่อทำความเข้าใจ รับฟังเรื่องราว รับรู้ปัญหา และถ่ายทอดสิ่งที่พบเจอให้ทุกคนได้สัมผัส ‘คนไร้บ้าน’ ในมุมมองใหม่

‘ประชาธิปไทป์’ ฟอนต์สะท้อนการเมืองไทย

ในวันที่ตัวอักษรกำลังช่วยกู่ร้องเพื่อ #ประชาธิปไตย ชวนลงลึกเรื่อง ‘ตัวอักษรสะท้อนการเมือง’ อย่างถึงแก่นกับ ประชาธิปไทป์ (Prachathipatype) เพจของนักออกแบบฟอนต์ผู้เชี่ยวชาญด้านตัวอักษร และกราฟิตี้มือฉมังเทคนิคลายฉลุ Headache Stencil ซึ่งร่วมมือกันทำงานเพื่อสร้าง ‘เซ็ทตัวอักษร’ ให้เป็นชุดเครื่องมือศิลปะแห่งประชาธิปไตยที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของได้

คนไทยกินข้าวทุกวัน แต่ทำไมชาวนาจนลง?

เมื่อข้าวคืออาหารหลักของคนไทย แต่ทำไมพี่น้องชาวนาจนลงทุกวัน ? ชวนฟังเสียงชาวนากับ ‘E-Rice Thai Farmers’ กลุ่มชาวนาจากภาคอีสานที่รวมตัวกันขายข้าวเองโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง เพื่อให้ชาวนาไทยไม่ถูกเอาเปรียบ

หากคุณหมดไฟ พวกเราซ่อมได้ : ภารกิจตามติดช่างไฟฟ้า

ช่างไฟฟ้า นักปีนเสาไฟที่มีภารกิจแก้ไฟให้ประชาชนได้ใช้อย่างด่วนจี๋ ซึ่งครั้งนี้ ‘คุณเต้-พิพัฒน์พงษ์ สุรพิพิธ’ พนักงานช่างระดับ 3 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาย่อยอำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทรา จะพาเราขึ้นกระบะออกไปปีนเสา ซ่อมไฟด้วยกัน พร้อมทำความเข้าใจว่ากว่าจะเป็นช่างไฟฟ้าต้องผ่านอะไรมาบ้าง แล้วอาชีพค่อนข้างอันตรายนี้เขาทำงานและฝึกฝนกันยังไง ? ก่อนเริ่มภารกิจ: ช่างไฟไม่ใช่ใครก็เป็นได้  กว่าจะเป็นช่างไฟไม่ใช่แค่เดินเข้ามาสมัครก็เป็นได้ เพราะอาชีพที่ค่อนข้างเสี่ยงอันตรายนี้ ต้องเรียนจบวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงช่างไฟฟ้า (ปวส.) หรือจบวิศวกรรมศาสตรบัณฑิตเท่านั้น ซึ่งถ้าหากใครไม่ได้จบโดยตรง จะต้องไปเรียนเพิ่มเติมให้ได้วุฒิการศึกษาที่กำหนด เพื่อใช้สอบเข้าทำงานช่างไฟฟ้านั่นเอง  เหมือนอย่างที่ ‘คุณเต้-พิพัฒน์พงษ์ สุรพิพิธ’ พนักงานช่างระดับ 3 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาย่อยอำเภอราชสาส์น จังหวัดฉะเชิงเทราที่พาเราขึ้นรถกระบะลงพื้นที่ตามติดภารกิจช่างไฟครั้งนี้ ที่ไม่ได้เรียบจบตรงสาย เพราะครอบครัวอยากให้เรียนรัฐศาสตร์เพื่อรับราชการ แต่เมื่อได้ลองทำงานกลับพบว่าไม่ใช่ เลยไปสมัครเป็นลูกจ้างช่างไฟ เก็บเกี่ยวประสบการณ์นานถึง 4 ปี ซึ่งระหว่างนั้นคุณเต้ไปเรียนเสริมวุฒิปวส.ไฟฟ้าที่วิทยาลัยการอาชีพบางปะกงร่วมปีกว่า และเมื่อมีโอกาสสอบเข้า ด้วยความขยัน และชอบจริงๆ ทำให้เขาสอบติดบรรจุเป็นพนักงานช่างไฟ ภารกิจที่ 1: เตรียมพร้อมแก้ไฟ ‘แก้ไฟ’ คือภาษาที่ช่างไฟใช้กันเมื่อต้องออกไปซ่อมไฟฟ้าที่ชำรุด ซึ่งกว่าจะออกแก้ไฟได้ ช่างไฟจะต้องเข้าฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ที่ทางการไฟฟ้ากำหนด เช่น การอบรมพื้นฐานช่างสาย […]

อยากตาย แต่ก็อยากกินต๊อกบกกี บันทึกรักษาโรคซึมเศร้าที่ทำให้เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น

อยากตาย แต่ก็อยากกินต๊อกบกกี (죽고 싶지만 떡볶이는 먹고 싶어) คือชื่อหนังสือที่เมื่อได้อ่านครั้งแรกช่างตอบความรู้สึกที่ว่า ของอร่อยเยียวยาใจ ได้อย่างเห็นภาพ หากแต่ในหนังสือปกสีส้มอมแดงที่ออกแบบภาพประกอบโดยอาร์ทติสไทย S U N T E R นั้นกลับเป็นบันทึกสนทนาระหว่าง แบ็กเซฮี (백세희) ตัวผู้เขียนกับจิตแพทย์ระหว่าง ‘การรักษาโรคซึมเศร้า’ ที่พาคนอ่านลิ้มรสชาติอย่างแช่มช้า และค่อยๆ ละเลียดตัวหนังสือเพื่อซึมซับ

นักเรียนจากรร.ที่สอนให้เข้าใจชีวิตมากกว่าท่องจำ และพาฝึกงานตั้งแต่ ม.4

‘ณิชา วงศ์วอนแสง’ หรือ น้องนิ นักเรียนชั้น ม.5 จากโรงเรียนไตรพัฒน์ โรงเรียนทางเลือก 2 ภาษาที่ใช้หลักสูตรวอลดอร์ฟจากประเทศเยอรมนี ซึ่งออกแบบให้ตรงกับความต้องการของเด็กตามแต่ละช่วงวัย น้องมาขอฝึกงานกับเราเป็นเวลา 3 อาทิตย์ ซึ่งถึงแม้เวลาจะน้อย แต่ก็ทำให้เราได้เรียนรู้วิธีคิดของเด็กที่โรงเรียนสอนให้เข้าใจตัวเองมากกว่านั่งท่องจำตำราได้อย่างถึงแก่น และต่อจากนี้คือไดอารีที่บันทึกสิ่งที่เราได้พูดคุยกับน้องนิ เด็กวัย 17 ปีที่ทำให้เรารู้สึกประหลาดใจทุกครั้งเมื่อได้ฟังคำตอบ

‘ศาสตราจารย์วิริยะ’ ชายตาบอดผู้ผลักดันกฎหมายและสู้เพื่อสิทธิคนพิการไทย

สนทนากับ ‘ศาสตราจารย์วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์’ ชายตาบอดผู้ไม่เคยง้อโชคชะตา เพราะเชื่อมั่นว่าตัวเราคือคนกำหนดเส้นทางชีวิต จึงลุกขึ้นยิ้มสู้เพื่อให้ได้กฎหมาย และสร้างความเท่าเทียมให้ผู้พิการไทย

6 ตุลา ทำไมต้อง ‘แขวน’

6 ตุลาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ถูกบันทึกลงในประวัติศาสตร์ว่า เป็นวันจัดนิทรรศการ ‘แขวน’ 6 ตุลา On Site Museum ที่รวมเอาหลักฐาน ข้อเท็จจริง พื้นที่ และเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน เพื่อเป็นประจักษ์พยานของเหตุการณ์เมื่อ 44 ปีที่แล้วว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง.เพื่อทำความเข้าใจ และไม่ปล่อยให้เรื่องราววันที่ 6 ตุลาถูกซ่อนไว้ เราจึงไปชมนิทรรศการ ‘แขวน’ ซึ่งจัดแสดงที่โถงหอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ตั้งแต่วันที่ 1-11 ตุลาคม 2563

‘PHOkitchen’ ผักโขมแม่สู่เส้นพาสต้าฝีมือลูก

ผักโขมที่คุณแม่ใส่ใจปลูกในสวนผักปลอดสารพิษของบ้านหลังอบอุ่นที่นครปฐม สู่การเปลี่ยนเป็น ‘เส้นพาสต้าผักโขม’ ฝีมือลูก เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญแห่งร้าน ‘PHOkitchen’ ของ ‘กิ๊ก–กุลวดี โพธิ์อุบล’ และ ‘มอช–พงศธร คุ้มปลี’ ร้านพาสต้าโฮมเมดซึ่งซ่อนตัวอยู่ในซอยลาดพร้าว 29 ที่ตั้งใจไว้แต่แรกเริ่มว่า จะใช้รสธรรมชาติจากผักของคุณแม่ ปรุงแต่งอาหารทุกจานอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้คนทานรู้สึกอิ่มท้องไปพร้อมกับความอิ่มใจเมื่อได้ลิ้มรส

‘เดินหลงในดงดอก’ เจอคน เจอดอก และชีวิตปากคลองตลาด

เดินหลงในปากคลองตลาด เพื่อสัมผัสวิถีชีวิต ดอมดมกลิ่นดอกไม้ ตามหารูปถ่ายมนุษย์ปากคลอง และล่า AR ดอกไม้ฟูฟ่องตามจุดต่างๆ ที่กระจายทั่วตลาด แน่นอนว่าเราไม่พลาดไปเดินหลงมาแล้ว (หลงจริงนะไม่ได้พูดเล่น) แล้วมาดูกันสิว่า ทุกคนจะหลงทาง และหลงรักปากคลองตลาดเหมือนที่เราไปมาหรือเปล่า

“ถ้ารัฐใส่ใจพัฒนาประชาชน ทุกคนจะเข้าถึงหนังสือ” – เพจรองขาโต๊ะ

เปิดเล่มความคิดเรื่องการเข้าถึงหนังสือกับแอดมิน ‘รองขาโต๊ะ’ เพจรีวิวหนังสือที่เกิดจากความขี้เล่นแกมเสียดสีของนักอ่านตัวยง ผู้รีวิวความน่าอ่านตามความน่านำไปรองขาโต๊ะ แม้วิธีการให้คะแนนหนังสืออาจดูใช้ความรู้สึกส่วนตัวเป็นที่ตั้ง แต่เขากลับมองวงการหนังสือไปถึงภาพกว้างระดับสังคม ด้วยความเชื่อที่ว่า “นิสัยรักการอ่านควรเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ที่บ้าน ไปจนถึงนโยบายส่งเสริมอย่างทั่วถึงจากภาครัฐ”

1 2 3 4 5 12

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.