พีระ โองาวา ศิลปินผู้เปลี่ยนเสียงแว่วในหูให้เป็นศิลปะเรขาคณิตและความสุขของวัย 75

ยามผมเปลี่ยนเป็นสีดอกเลายามหลังเริ่มงองุ้มตามกาลเวลายามที่สายตาเริ่มพร่าเลือนยามที่คุณอายุเข้าวัยเลข 7ลองจินตนาการสิว่า ตอนนั้นคุณกำลังทำอะไรอยู่ สำหรับเรา…ยังเป็นนักเขียน? ยังไปคอนเสิร์ตของนักร้องวงโปรด? ยังชอบเข้ามิวเซียม?คำตอบคือ ยังไม่รู้เลย ว่าวันนั้นจะยังทำสิ่งที่รักอยู่หรือเปล่า  แต่สำหรับ พีระ โองาวา ศิลปินวัย 75 ปีท่านนี้ ชีวิตทุกวันตลอดระยะเวลาหลายสิบปี ยังเข้านอนตั้งแต่หัวค่ำ เพื่อตื่นตอนเที่ยงคืนมาเปิดเพลงบรรเลงของโมซาร์ตและบีโทเฟน แล้วลงมือสร้างสรรค์ ศิลปะเรขาคณิต จนถึงยามฟ้าเริ่มสางช่วง 5 นาฬิกา เขาทำทุกวันอย่างไม่มีหยุดพัก และจะมีความสุขทุกครั้งที่วาดภาพออกมาได้ดั่งใจคิด เสื้อเชิ้ตสีฟ้าอ่อน กางเกงสแล็กสีดำ และรอยยิ้มใจดีของคุณพ่อพีระต้อนรับเรา เมื่อ แตง-ประกายจิต โองาวา ลูกสาวคนโตของครอบครัวเชื้อเชิญเข้าบ้าน ตามด้วยคำทักทายของ คุณแม่สว่าง โองาวา และลูกชายคนเล็ก เต้-ยุทธจิต โองาวา  ครอบครัวลูกครึ่งญี่ปุ่นยิ้มแย้มอย่างเป็นกันเอง ก่อนรวมตัวนั่งล้อมวงบนชั้น 2 เพื่อพูดคุยถึงโลกศิลปะของคุณพ่อพีระ ท่ามกลางงานศิลปะเรขาคณิตนับสิบชิ้นที่รายล้อมอยู่ในห้องรับแขก และอีกหลายร้อยชิ้นที่ซุกซ่อนอยู่ในบ้านหลังอบอุ่น ศิลปะไร้อุปกรณ์ ชีวิตศิลปะของศิลปินอายุ 75 ปีเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วัยไม่ถึงสิบขวบ เขามักหยิบดินสอมาวาดภาพ Freehand หรือการวาดภาพโดยไม่ใช้เครื่องมือเป็นเหล่าสัตว์นานาชนิดตามที่ใจคิด เพราะมองว่าสัตว์ทุกตัวมีความสวยงามเฉพาะแบบ บ้างวาดสัตว์ตัวนั้นตามแบบที่เป็น บ้างเอาสัตว์หลายตัวมาผสมกันจนมีรูปร่างหน้าตาแปลกไปจากเดิม อย่างรูปไก่ที่มีขนเป็นงู รูปต้นไม้ที่กิ่งก้านของมันกลายเป็นงูเลื้อย […]

แป้งตรางู ผมรู้คุณก็ใช้! ความเย็นจับใจที่ลดโรคร้อนให้คนไทยว่าเกินร้อยปี

เมืองไทยมี 3 ฤดู-ร้อน ร้อนมาก ร้อนมากที่สุด (ลากเสียงยาวไปจนสุดหนึ่งลมหายใจ) ต้อนรับสู่เดือนที่ร้อนระอุที่สุดแห่งปี ตำแหน่งนี้เป็นของเดือนไหนไปไม่ได้นอกจาก เมษายน ซึ่งอุณหภูมิพุ่งปรี๊ดแตะ 40 องศาเซลเซียส เพราะร้อนจนทนไม่ไหว เหงื่อไหล ไคลย้อย ลามไปจนถึงผดผื่นขึ้น เราจึงงัดสารพัดวิธีคลายร้อนแบบฉบับคนไทยออกมาใช้  แต่… นั่งตากพัดลมก็เจอแต่ลมร้อน เปิดแอร์ฯ ก็แสนจะเปลืองไฟ น้ำเย็น ไอศกรีมก็ช่วยได้ประเดี๋ยวประด๋าว ถ้าอย่างนั้นคงต้องหยุดร้อนด้วยวิธีคลาสสิกที่ยายเคยสอน แค่อาบน้ำแล้วประแป้งเย็นให้สดชื่น  กระป๋องเหล็กสีขาว โลโก้งูมีศรปักสีเขียว แป้งเย็นตรางู แป้งเย็นเจ้าแรกของโลก เรารู้ คุณหลายคนก็ใช้! “ร้อนเหลือ เหงื่อไหล ใช้แป้งหอม Prickly Heat ทาแล้วเย็นสบาย หายผื่นคัน” เมื่อ พ.ศ. 2435 ดร.โทมัส เฮย์วาร์ด เฮย์ก่อตั้งห้างขายยาอังกฤษตรางู ซึ่งเป็นร้านขายยาแห่งแรกในประเทศไทย ที่ด้านบนเปิดคลินิก และด้านล่างมีเภสัชกรคอยขายยา เปิดมาร่วม 36 ปี ก่อนขายต่อให้หมอล้วน ว่องวานิช ผู้ริเริ่มแป้งตรางูในปี 2490 ตามด้วย […]

ภารกิจ #Saveยางนา กู้ชีพไม้หมายเมืองต้นสุดท้ายที่ผูกศรัทธาเวียงเชียงใหม่มา 220 ปี

นั่งรถ 15 นาทีจากสนามบินเชียงใหม่สู่คูเมือง มองบรรยากาศเมืองเก่าที่มีเสน่ห์ พลางคิดถึงภารกิจ Save ยางนา ที่ทำให้เราเดินทางขึ้นเหนือ ภารกิจครั้งนี้เริ่มขึ้นเมื่อเราเห็นภาพโปสเตอร์ที่มีข้อความว่า “ฮอมฮักฮอมแฮง Saveยางนา ฮักษาอินทขิล ชวนร่วมเก็บเศษอิฐ เศษปูนชิ้นเล็กๆ ออกจากเก๊ายางหลวง” พร้อมทิ้งเบอร์โทรศัพท์ไว้ให้สอบถามที่ถูกโพสต์ลงเพจ Saveยางนา ฮักษาอินทขิล ก่อตั้งขึ้นโดยทีมเชียงใหม่มรดกโลก เพื่อโอบอุ้มรักษา ต้นยางนาหลวง ไม้หมายเมืองภายในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเชียงใหม่สู่การเป็นมรดกโลก  เราจึงต่อสายตรงหา อาจารย์ป้อง-วรงค์ วงศ์ลังกา อาจารย์สาขาภูมิสถาปัตยกรรม จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าของเบอร์ในภาพนั้น เพื่อนัดหมายให้เขาพาเราไป Save ยางนา กันถึงถิ่น “เจอกันใต้เก๊า (โคน) ต้นยางนาหลวงครับ แล้วจะเห็นป้ายที่เขียนว่าฮอมฮักฮอมแฮง แต่งตัวทะมัดทะแมง แล้วก็เตรียมหมวกมาหน่อย”  ปื๊นเก๊ายางหลวง เรือนยอดเสียดฟ้าเริ่มปรากฏให้เห็นเมื่อเดินเข้าวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร วัดเก่าแก่แห่งที่ 2 ตั้งแต่ตั้งเวียงเชียงใหม่ เราเดินเข้าไปด้านใน เพื่อไปยังใต้เก๊าต้นยางนาหลวงตามนัดหมาย อาจารย์ป้องยืนอยู่ตรงนั้น เราเอ่ยทักทายกัน แล้วเริ่มพูดคุยถึงปื๊น (ตำนาน) ของยางนาหลวง เขาสร้างความเข้าใจว่า ไม้หมายเมือง คือต้นไม้ที่ปลูกตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเวียงเชียงใหม่ […]

GAA รสชาติอินเดียร่วมสมัย ท่ามกลางบ้านเรือนไทยอายุ 60 ปี

บ้านเรือนไทยหลังใหญ่อายุกว่า 60 ปีถูกย้ายจากอยุธยามาตั้งโดดเด่นท่ามกลางร่มเงาไม้ตรงหัวมุมถนนในซอยสุขุมวิท 53 องค์ประกอบภายนอกคือความสมบูรณ์พร้อมอันงดงามแบบฉบับไทย แต่ใครจะคิดกันว่าที่แห่งนี้คือ Gaa ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่งสไตล์ Modern Indian Cuisine ที่หลายคนรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2017 บริเวณซอยหลังสวน ให้ได้ลิ้มรสอาหารอินเดียร่วมสมัยจากฝีมือ ‘Garima Arora’ เชฟชาวอินเดียคนแรกที่คว้าดาวมิชลินมาครอง ครั้งนี้ Gaa ย้ายบ้านใหม่สู่บรรยากาศเรือนไทยที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นแต่แรกเห็น ซึ่งยังคงปรัชญาแห่งการทำอาหารอย่างการหยิบวัตถุดิบท้องถิ่นไทยมาผสมผสานกับเทคนิคปรุงอาหารอินเดียแบบดั้งเดิม สู่อาหารอินเดียร่วมสมัยซึ่งอบอวลไปด้วยความแปลกใหม่ของวัตถุดิบที่คุณอาจรู้ดีว่าคืออะไร แต่รับประกันว่าไม่เคยสัมผัสรสชาตินี้ที่ไหน หากไม่มาเยือน Gaa 01 She is Garima Arora ยามบ่ายที่แสงแดดกำลังอ่อนตัวลง เรามีนัดที่ Gaa กับเชฟ ‘Garima Arora’ ผู้รังสรรค์อาหาร และ ‘Luke Yeung’ สถาปนิกจากทีม ArchitectKidd ผู้รีโนเวตเรือนไทยอายุกว่า 6 ทศวรรษ เมื่อเปิดประตูก้าวเข้าสู่เรือนไทย ตามด้วยเดินขึ้นบันไดวนไปยังชั้น 2 ทันทีที่เท้ายกขึ้นจากขั้นสุดท้ายเพื่อเหยียบพื้นไม้ ต้องยอมรับว่าภาพการตกแต่งภายในที่สองตาได้เห็น ทำเอาหัวใจคนชอบงานสถาปัตยกรรมอย่างเราเต้นเร็วขึ้นมาอย่างไม่รู้ตัว ทำไมถึงเลือกเปิดร้านอาหารอินเดียท่ามกลางบ้านเรือนไทย คือคำถามแรกที่เราเอ่ยกับ […]

โดม ธิติภัทร นักจิตวิทยาผู้อยากขจัดความคิดว่า บำบัดจิต = บ้า

ถึงคุณที่กำลังเริ่มต้นอ่านบรรทัดแรก รบกวนยกมือขวาสัมผัสที่อกข้างซ้ายสักครู่ ก้อนเนื้อที่ใหญ่กว่ากำปั้นเล็กน้อยเป็นอย่างไรบ้าง มันกำลังบีบและคลายเพื่อบอกว่าคุณสุข เศร้า เหงา ทุกข์ หรือมันกำลังร้องบอกว่า ‘อยากปรึกษากับใครสักคน’  แต่เพราะการปรึกษาใจ หรือใช้คำศัพท์เชิงการแพทย์ว่า บำบัดจิต มีภาพจำในแง่ลบมากกว่าภาพบวก บ้างมองว่าเป็นบ้า บ้างด่วนสรุปไปแล้วว่าผิดปกติ ทว่าความจริงไม่ใช่อย่างนั้น และ โดม ธิติภัทร รวมทรัพย์ นักจิตวิทยา ควบด้วยสถานะนักศึกษาปริญญาโทด้าน Art Psychotherapy ที่ Goldsmiths, University of London ประเทศอังกฤษ อยากทลายความคิดนี้ให้หมดสิ้นจากสังคม พร้อมพาเรื่องสุขภาพจิตมาใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันของทุกคนด้วยการให้ความรู้ และคำปรึกษาออนไลน์ผ่านเพจ he, art, psychotherapy ยามที่สังคมยังมีความคิดว่า การเข้ารับบำบัด = บ้า เรานัดสนทนากับโดมที่ H.O.N. House of Nowhere โฮมคาเฟ่ในซอยปรีดีพนมยงค์ที่มีแกลเลอรีด้านข้าง และจัดสตูดิโอถ่ายภาพไว้ด้านบน สิบเอ็ดนาฬิกาถึงเวลานัดหมาย เขามาถึงร้านพร้อมกลิ่นหอมกรุ่นของกาแฟ Dirty ก่อนเลื่อนเก้าอี้ฝั่งตรงข้าม แล้วหย่อนตัวนั่งอย่างสบายๆ สองบทบาทใน He คนเดียว […]

ทางม้าลายแรกของโลกที่ The Beatles เคยเดินข้าม

ทางม้าลาย สัญลักษณ์บนท้องถนนสำหรับเดินข้ามที่ผู้คนส่วนมากเข้าใจว่า แถบขาวสลับดำที่ถูกฉาบได้แรงบันดาลใจมาจากลายสองสีของเจ้าม้าลาย แต่รู้หรือเปล่าว่าความเข้าใจที่ว่านั้นผิดมหันต์ แถมช่วงแรกทางม้าลายยังไม่ใช่สีขาว-ดำ แล้วความจริงเป็นอย่างไร คอลัมน์ Urban Tales ชวนค้นคำตอบตั้งแต่จุดแรกเริ่มของทางม้าลายไปพร้อมกัน  ก่อนไปถึงเรื่องราวของสัญลักษณ์สำหรับข้ามถนน ขอเล่าประวัติการเดินข้ามถนนสู่กันฟังเสียก่อน ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยโบราณราว 2,000 ปีที่แล้วในเมืองปอมเปอี นครโรมันโบราณ ตอนนั้นใช้หินก้อนใหญ่วางต่อกันโดยเว้นช่องว่างที่พอดีทั้งคนเดินข้าม และรถม้าวิ่งผ่าน เพื่อไม่ให้คนต้องย่ำเท้าลงถนนที่ด้านใต้เป็นระบบระบายน้ำและกำจัดสิ่งปฏิกูล  เวลาหมุนเวียนเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ จากสิ่งประดิษฐ์ของนครปอมเปอีที่ล่มสลาย สู่จุดเริ่มต้นของทางข้ามถนนอีกครั้งในเดือนธันวาคม ปี 1868 ที่ถนน ‘Bridge Street’ เมืองเวสต์มินสเตอร์ ลอนดอน สหราชอาณาจักร ซึ่งเกิดขึ้นจากความคิดของ ‘John Peake Knight’ วิศวกรทางรถไฟผู้มองหาหนทางให้ชาวเมืองข้ามถนนที่เต็มไปด้วยรถราอย่างปลอดภัย ด้วยการนำเสาหางปลา (Semaphore Arm) ซึ่งเป็นสัญญาณของทางรถไฟมาปรับใช้ โดยด้านบนติดตะเกียงแก๊ส (Gas Illuminated Lights) สีเขียวและแดง และมอบหน้าที่ให้ตำรวจเป็นคนสับเสาขึ้น-ลงเพื่อส่งสัญญาณให้คนเดิน แต่เนื่องจากตะเกียงมีส่วนผสมของแก๊สที่ง่ายต่อการระเบิด ในปี 1896 จึงยกเลิกการใช้สัญลักษณ์เสาหางปลาสำหรับการข้ามถนน และไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้เป็นเวลานานกว่า 50 ปี  เข้าสู่ช่วงทศวรรษ 1930 สหราชอาณาจักรออกกฎหมายสำหรับการใช้ถนนปี […]

รุ่งทิพย์ ActionAid จากเยาวชนสนใจปัญหาสังคมสู่นักเคลื่อนไหวผู้สู้ไม่ให้ รร. ขนาดเล็กถูกยุบ

เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองฯ เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่เรียนโรงเรียนขนาดเล็กใกล้บ้านตั้งแต่อนุบาล-ประถมฯ เราเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ต้องย้ายไปอยู่บ้านญาติในตัวเมืองเพื่อเรียนชั้นมัธยมฯ “ไปอยู่กับป้าเถอะลูกจะได้ไม่ต้องตื่นเช้ามาก เดินทางก็ไม่อันตรายด้วย” พ่อแม่ว่า  เพราะบ้านอยู่ไกลจากโรงเรียนร่วมยี่สิบห้ากิโลเมตร ถ้าไม่ยอมห่างอ้อมอกพ่อแม่ก็ต้องยอมตื่นตั้งแต่ตีห้า เพื่อขึ้นรถรับ-ส่งที่จ่ายเป็นรายเดือนแต่เช้าตรู่ และกลับถึงบ้านในเวลาเกือบฟ้ามืด เราในวัยนั้นจนถึงเราในวัยนี้รู้สึกว่าทำไมการเรียนหนังสือให้ครบตามหลักสูตรการศึกษาถึงต้องไกลบ้านออกไปทุกที แต่ยังดีที่พอมีโรงเรียนละแวกบ้านอยู่บ้าง แม้จะถูกจัดอยู่ในประเภทโรงเรียนขนาดเล็ก ที่กระทรวงศึกษาธิการไล่ ยุบ-ควบรวม มานานเกือบ 3 ทศวรรษ  ปี 2536 กระทรวงศึกษาธิการประกาศนโยบายควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งเป็นโจทย์จากทาง ธนาคารโลก (World Bank) ที่ทำการวิจัยแล้วพบว่า การยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก จะทำให้เด็กได้เรียนกับคุณครูครบทุกช่วงชั้น และครบทุกวิชา ไม่น่าเชื่อว่าปีที่หลายคนเพิ่งลืมตาดูโลกอย่างยังไม่ประสากับการศึกษา โรงเรียนขนาดเล็กก็ถูกไล่ยุบ-ควบรวมเสียแล้ว หากแต่ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนเราว่า สถานศึกษาใกล้บ้านนั้นมีความสำคัญและจำเป็นต่อเด็กในทุกพื้นที่ ยิ่งถ้ามีโรงเรียนใกล้บ้านยิ่งส่งเสริมให้เด็กเข้าถึงการศึกษาได้อย่างดี รุ่งทิพย์ อิ่มรุ่งเรือง ผู้จัดการฝ่ายโครงการและนโยบาย องค์การแอ็คชั่นเอด ประเทศไทย (ActionAid Thailand) เป็นอีกคนที่คิดเช่นนั้น เกือบ 10 ปีที่เธอร่วมขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างเต็มกำลัง เพื่อแถลงให้ใครต่อใครได้รู้ว่า การยุบ-ควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่ใครเขาว่าดี มีผลเสียซุกอยู่ใต้พรม  และเราสัญญากับเธอไว้ว่า จะเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมขับเคลื่อนอย่างสุดความสามารถผ่านบทความชิ้นนี้ เพื่อให้สังคมไทยตระหนักว่า โรงเรียนขนาดเล็กร่วม 15,000 แห่งทั่วประเทศไม่ควรถูกยุบ-ควบรวม ร. รุ่งทิพย์ หากเท้าความถึงการต่อสู้ของรุ่งทิพย์ […]

“เป็นพี่ต้องเสียสละ” คำสอนที่ ‘ลูกคนโต’ แบกไว้บนบ่า

“ยอมน้องหน่อยลูก”“ขอให้น้องเล่นก่อนนะ”“หนูเป็นพี่ต้องเสียสละให้น้อง” เป็นพี่ต้องเสียสละจริงหรือ-คำถามที่คนเป็น ‘พี่’ ได้แต่เก็บเงียบไว้ในใจ เพราะไม่ว่าพี่บ้านไหนก็ล้วนถูกพ่อแม่ปลูกฝังให้ต้องเสียสละ และเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับคนเป็นน้อง แต่หากค้นลงไปให้ลึกถึงก้นบึ้งใจ ก้อนเนื้อในอกข้างซ้ายของลูกคนโตอาจมีบาดแผลจากคำสอนที่ว่าซึ่งยังไม่หายซุกซ่อนอยู่ เปิดประเด็นเรื่องพี่น้องกับ หมอโอ๋ หรือ ผศ. พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร-กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้ให้คำแนะนำเรื่องการเลี้ยงลูกผ่านเพจ เลี้ยงลูกนอกบ้าน ถึงสิ่งที่ทำให้เชื่อว่าพี่ต้องเสียสละ ไปจนถึงผลที่กระทบต่อความสัมพันธ์ และคำแนะนำสำหรับสอนพี่น้องให้รู้จักเสียสละและแบ่งปันซึ่งกันและกันอย่างเต็มใจ มายาคติที่บีบให้พี่ต้องเสียสละ ความเป็นพี่และเป็นน้องถูกมายาคติตีกรอบไว้มากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งเหล่านั้นล้วนเป็นตัวกำหนดลักษณะนิสัยของพี่น้องจนกลายเป็นภาพจำที่ถูกส่งต่อ บริบทศาสตร์แห่งจิตวิทยา สมัยก่อนมีหลักทางจิตวิทยาที่ใช้บ่งบอกถึงลักษณะของคนอายุมากกว่า และน้อยกว่า ซึ่งกำหนดให้ พี่ ต้องมีความเป็นผู้นำ มีความรับผิด และต้องคิดถึงคนรอบข้าง ส่วน น้อง จะกล้าคิด กล้าทำ รั้น และเป็นตัวของตัวเองอย่างสุดขีด และท้ายที่สุดถูกผลิตสู่ความเชื่อซึ่งยอมรับได้ บริบททางสังคมและวัฒนธรรม ความคิดที่ว่า คนอายุมากกว่าต้องมีความรับผิดชอบ และเสียสละมากกว่า คืออีกหนึ่งสิ่งที่บีบพี่ให้เป็นไปตามกรอบซึ่งวางไว้ อย่างคำเล่าลือที่ว่า มีครอบครัวหนึ่ง พ่อแม่แขวนปลาทูไว้ดู แต่เสียสละให้ลูกได้กิน สิ่งนี้กลายเป็นความคาดหวังในความรู้สึกพ่อแม่ว่า คนที่โตกว่าต้องเสียสละ เหมือนที่พ่อแม่เสียสละให้ลูก ซึ่งถูกเปลี่ยนเป็นค่านิยมของความรักที่ดีงามไปโดยปริยาย คนดี = เสียสละ อีกวาทกรรมความดีงามที่ว่า […]

หมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ บึงกาฬ จากคำเล่าลูกอีสาน ขาบ สุทธิพงษ์ ผู้พัฒนาชุมชนให้มีชีวิต

บึงกาฬ จังหวัดที่มากไปด้วยธรรมชาติ ซึ่งท่ามกลางแมกไม้นานาพรรณเขียวชอุ่ม ภายใต้ร่มเงาของมันคือพื้นที่ซุกตัวของ หมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ อำเภอโซ่พิสัย ที่เปรียบเสมือนเกาะถูกห้อมล้อมด้วยสายน้ำ ซึ่งรุ่มรวยไปด้วยอัตลักษณ์คนชาติพันธ์ุไทโส้ วิถีชีวิตเรียบ ง่าย งาม และความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติสมกับประโยคที่ว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว”  ไม่เพียงเท่านั้น หมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ จังหวัดบึงกาฬในวันนี้ยังกลายเป็น ‘พิพิธภัณฑ์ชุมชนมีชีวิต จ.บึงกาฬ’ ที่ลูกหลานอย่าง ขาบ-สุทธิพงษ์ สุริยะ ฟู้ดสไตลิสต์แนวหน้าของเมืองไทย หวนกลับมาพัฒนาบ้านเกิดและรากเหง้าบึงกาฬให้มีลมหายใจอีกครั้ง จนพาชุมชนที่เคยไกลปืนเที่ยงแห่งนี้ไปคว้ารางวัลกูร์มองด์ อะวอร์ด (Gourmand Awards) หรือรางวัลออสการ์อาหารโลกซึ่งจัดขึ้นโดยประเทศฝรั่งเศส ธรรมะ-ธรรมชาติ-วัฒนธรรม สามแก่นแท้รากเหง้าบึงกาฬ ขาบเล่าว่า เรื่องธรรมะ จังหวัดบึงกาฬมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังมากมายให้ศรัทธา หากเป็นธรรมชาติคงไม่ต้องอธิบายให้มากความ เพราะบึงกาฬจัดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีห้วย หนอง คลอง บึง เยอะที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย  ส่วนด้านวัฒนธรรมก็แสนหลากหลายด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ‘ชาติพันธุ์ไทยโส้’ แห่ง ‘หมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่’ ที่ภายหลังเพี้ยนมาเป็นไทยโซ่ และถูกตั้งเป็นชื่ออำเภอโซ่พิสัย แปลว่าเมืองของคนโส้ ทั้งสามธรรมนี้จึงกลายเป็นรากเหง้าอันสมบูรณ์พร้อมของบึงกาฬ ซึ่งส่งเสริมให้จังหวัดที่เกิดขึ้นหลังสุดในแผนที่ประเทศไทยรุ่มรวยไปด้วยทุนวัฒนธรรม ขี้เหล็กใหญ่ในกาลก่อน ภาพหมู่บ้านขี้เหล็กใหญ่ในวันที่ขาบยังเป็นเด็ก คือหมู่บ้านที่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นดอน อุดมไปด้วยต้นไม้ใหญ่เขียวชอุ่มซึ่งคอยแผ่กิ่งก้านสร้างร่มเงาให้เป็นพื้นที่ซุกตัวสำหรับบ้าน 45 […]

Asexuality ความสัมพันธ์ที่ฉันรักเธอ แต่ ‘ไม่ฝักใฝ่เซ็กซ์’

‘การมีเซ็กซ์เป็นเรื่องธรรมชาติของร่างกายมนุษย์’ คือประโยคที่ได้รับรู้ผ่านการพร่ำสอน แต่ใครเล่าจะคิดว่าความปกติที่หล่อหลอม กลายเป็นส่วนสร้างบาดแผลชิ้นใหญ่ให้ผู้ที่มีรสนิยมทางเพศรูปแบบ Asexuality หรือ ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศกับผู้อื่น ที่ไม่ปรารถนาจะมีความสัมพันธ์ทางกายกับใคร  ชวนทำความเข้าใจ Asexuality หนึ่งในสีสันแห่งความหลากหลายทางเพศกับ ปาร์คเกอร์-ภารวี อากาศน่วม ผู้นิยามตัวเองว่า Aromantic Asexual Trans Masculine ซึ่งสิ่งที่คุณกำลังจะได้อ่านต่อจากนี้ คือเสียงที่เขาอยากสะท้อนก้องสู่สังคมถึงการยอมรับความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่ขึ้นชื่อว่า ‘มนุษย์’ P. Parkers เขาคือผู้กล้า “เรานิยามตัวเองว่าเป็น Asexual ที่ไม่มีแรงดึงดูดทางเพศกับใคร และอยู่ในสเปกตรัมของ Aromantic ที่มีแรงดึงดูดทางใจกับคนอื่นน้อยมาก และไม่ได้รู้สึกว่าการมีคนรักเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต และเราเป็น Trans Masculine ที่มีเพศกำเนิดเป็นหญิง แต่ไม่ได้ต้องการจะข้ามเพศไปเป็นผู้ชาย เพียงแค่อิงกับความเป็นชาย” เมื่ออยากนำเสนอคำว่า Asexuality ให้ถึงแก่น ปาร์คเกอร์ คือชื่อแรกที่ฉันนึกถึง นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ เอกภาษาและวรรณคดีอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งเพจ Aro/Ace-clusionist: Aromantic & Asexual Exist ซึ่งมีความมุ่งมั่นเพื่อสร้างความเข้าใจตัวอักษร ‘A’ ใน LGBTQIA+ […]

ศิลปะ วิทยาศาสตร์ นิทานอีสป เส้นบรรจบ ‘ภาพวาดชีววิทยาสะท้อนสังคม’ ของ ลลินธร เพ็ญเจริญ

กาลครั้งหนึ่งในบ้านหลังอบอุ่น มือคู่เล็กของ ลลินธร เปิดสารานุกรม สายตาจดจ้องแผ่นกระดาษที่มีโครงสร้างดอกไม้ตั้งแต่ชั้นนอกสุดอย่างกลีบเลี้ยง ไปจนถึงชั้นเกสร ก่อนพลิกสู่หน้าถัดไปแล้วเจอโครงสร้างสัตว์ที่เห็นเนื้อหนัง โครงกระดูก และอวัยวะภายใน เธอไม่รู้ว่าสิ่งที่เห็นคืออะไร รู้เพียงแค่สวย และเหมือนจริงจนไม่อาจละสายตา กาลครั้งนี้เธอเติบโต ได้รู้แล้วว่าสิ่งที่เห็นในสารานุกรมตอนเล็กเรียกว่า ภาพวาดทางวิทยาศาสตร์ จึงหยิบมาผสมผสานกับศาสตร์ศิลปะที่หลงใหล ซึ่งมีจุดเชื่อมเป็นนิทานอีสปให้ข้อเตือนใจ กลายเป็น ภาพวาดเชิงชีววิทยา ผ่านจินตนาการของ ลลินธร เพ็ญเจริญ ศิลปินที่อยากบอกให้ใครต่อใครรู้ว่า ศิลปะกับวิทยาศาสตร์สามารถบรรจบกันได้อย่างงดงาม สองเส้นที่ขนานกันในสมอง ฉันนั่งตรงข้ามกับลลินธร แล้วมองภาพจิ้งหรีดกับลาที่เห็นไปยันโครงกระดูกข้างในซึ่งจัดแสดงท่ามกลางแสงไฟส้มนวลที่ SAC Gallery ละแวกพร้อมพงษ์ ก่อนเอ่ยถามถึงเบื้องหลังความคิดที่หยิบศาสตร์แห่งศิลป์และวิทย์มาหลอมรวมกัน “รู้ไหมศิลปะกับวิทยาศาสตร์ไม่เคยแยกออกจากกันเลย” คือประโยคที่เธอพูดหลังจากเอนหลังพิงพนักเก้าอี้ ก่อนเล่าต่อว่าในยุคกรีกโรมัน สองศาสตร์นี้เคยเกื้อหนุนกันเพื่ออธิบายและทำความเข้าใจสิ่งที่เป็นไปในจักรวาล กระทั่งวันหนึ่งศิลปะกับวิทย์ต้องแยกจาก เพราะการแบ่งองค์ความรู้เฉพาะด้านให้ชัดเจน แต่ก็แอบเป็นแรงบันดาลใจการทำงานให้กันอยู่เงียบๆ จนพอเข้ายุคหลังสมัยใหม่ ปลายทางที่แยกออกก็กลับมาบรรจบอีกครั้ง เพราะเรียนรู้แล้วว่าบางครั้งความรู้ศาสตร์เดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาหรือทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดได้ทั้งหมด ส่งผลมาถึงปัจจุบันที่มีแนวทางลูกผสมอย่าง Art & Science  ฉันฟังแล้วร้องว้าวออกมาจนเธออมยิ้ม แล้วต่อบทสนทนาให้แคบลงสู่เรื่องของลลินธร ว่าทำไมถึงสนใจสองศาสตร์วิชาที่ชอบถูกนิยามว่า ศิลปะคือเรื่องความรู้สึก แต่วิทยาศาสตร์นั้นว่ากันด้วยเหตุผล เธอเล่าถึงเส้นขนานแรกอย่าง ศิลปะ ที่สมัยมัธยมต้น เวลาว่างขณะเรียนชอบหยิบวงเวียน ไม้บรรทัดสี่เหลี่ยม […]

ขนมจากแม่เล็ก สูตรมะพร้าวน้ำหอมเจ้าแรกในแปดริ้ว ฉะเชิงเทรา

ชวนเคาะประตูร้านขนมจากแม่เล็ก ขนมจากสูตรมะพร้าวน้ำหอมรสประทับใจที่เปิดขายเป็นเจ้าแรกในแปดริ้ว พร้อมพูดคุยกับ ‘แม่เล็ก’ เจ้าของร้านที่คอยทักทายลูกค้าอย่างเป็นกันเอง

1 2 3 4 12

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.