DEMO EXPO เทศกาลดนตรีและศิลปะเพื่อประชาชน โดยผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง

เมื่อช่วงกลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ‘ลานคนเมือง’ พื้นที่สาธารณะของเขตพระนคร ใกล้กับเสาชิงช้าวัดสุทัศน์ฯ ถูกใช้เป็นพื้นที่จัดงาน ‘DEMO EXPO’ เทศกาลดนตรีที่กลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์ผู้ได้รับผลกระทบทางการเมืองร่วมกันจัดขึ้น  ชื่อของเทศกาลดนตรีครั้งนี้มาจากคำว่า Democracy (ประชาธิปไตย) และในอีกทางหนึ่ง คำว่า Demo เองก็หมายถึงการแสดงตัวอย่าง ดังนั้น DEMO EXPO จึงเป็นดั่งงานดนตรีที่แสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ประชาชนเผชิญอยู่ และทำหน้าที่เป็นเวทีให้ศิลปินหลายแขนงได้ใช้นำเสนอผลงานในรูปแบบที่แตกต่างกัน  แม้ทีมผู้จัดงานจะเป็นกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบทางการเมือง ทว่าเทศกาลดังกล่าวหาใช่ม็อบการเมืองหรือการชุมนุมใดๆ เป็นเพียงงานเทศกาลดนตรีที่ถ่ายทอดผ่านพลังสร้างสรรค์ ตามสโลแกนของงานคือ ‘Music Arts Peoples’  งาน DEMO EXPO มีวงดนตรีแห่งยุคสมัยกว่า 20 รายชื่อบรรเลงกันตั้งแต่เที่ยงวันยันเกือบเที่ยงคืน ภายในงานประดับประดาไปด้วยงานศิลปะจากศิลปินหลายสไตล์ อัดแน่นด้วยกิจกรรมให้ความรู้ทางการเมือง รวมถึงข้อเรียกร้องทางการเมืองหลายประเด็น โดยมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนหลายช่วงวัยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นความบันเทิงที่ได้ทั้งความสุนทรีย์และเสรี ผ่านความชอบที่แตกต่างหลากหลาย  คอลัมน์ ‘Art Attack’ พาทุกคนย้อนกลับไปสำรวจเบื้องหลังของ ‘DEMO EXPO’ อีกหนึ่งงานตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่า ดนตรีและศิลปะเป็นสิ่งที่รับใช้ประชาชน และสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างแท้จริง เทศกาลดนตรีฟรีที่ไม่กำหนดอายุ DEMO EXPO จัดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม 2565 […]

ลาบเสียบ Jim Thompson Art Center ร้านกับแกล้มอีสานฟิวชันที่อยากเป็นพื้นที่เปิดบทสนทนาให้คนกรุง

ท้องฟ้ายามเย็นกำลังระบายสีส้มอ่อน เราเดินขึ้นบันไดไปสู่ชั้นดาดฟ้าของ Jim Thompson Art Center พลางถอดเสื้อตัวนอกออกเพื่อรับลม พื้นที่ข้างบนนี้กว้างขวาง เงียบสงบ บรรยากาศเหมาะกับการสูดอากาศ จิบเครื่องดื่มเย็นๆ แล้วคุยเรื่อยเปื่อยกับใครสักคน และนั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้มีร้านค้ามาตั้งอยู่ตรงนี้ ‘ร้าน’ ที่เราพูดถึงคือลาบเสียบ ร้านกับแกล้มอีสานฟิวชันที่ไม่ได้เป็นคนแปลกหน้าสำหรับคนในวงการกินดื่มแต่อย่างใด ร้านแห่งแรกก่อตั้งในปี 2563 โดย ‘ฝ้าย-อาทิตย์ มูลสาร’ ชายหนุ่มผู้เปลี่ยนโฮมสตูดิโอในซอยวัดลาดปลาดุกให้เป็นแหล่งสังสรรค์ใหม่ของชาวกรุง ด้วยการเสิร์ฟลาบเสียบไม้ย่างใหม่ๆ คู่กับเครื่องดื่มเย็นฉ่ำ  ย่างไปย่างมาได้สองปี ลาบเสียบก็คิดถึงการขยายกิจการสู่สาขาใหม่ แต่อาทิตย์เกรงว่าจะดูแลทั้ง 2 สาขาไม่ไหว จึงเปลี่ยนแผนเป็นย้ายร้านมาอยู่บนดาดฟ้าของ Jim Thompson Art Center แทน บาร์สีเลือดหมูเปิดโล่งให้ความรู้สึกคล้ายร้านอิซากายะสไตล์ญี่ปุ่น ตกแต่งด้วยอุปกรณ์ในครัวของคนอีสานบ่งบอกว่าเรามาไม่ผิดที่ ในแสงสีส้มของอาทิตย์ยามเย็น อาทิตย์ที่เป็นเจ้าของร้านเดินเข้ามาต้อนรับด้วยรอยยิ้ม เขารับออเดอร์อย่างเป็นมิตรและส่งต่อให้คนครัวรังสรรค์อย่างพิถีพิถัน ช่วงเวลารอลาบเสียบให้สุกนั้น เรามีโอกาสได้นั่งคุยกับเขาเรื่องการทำร้านและการผลักดันอาหารอีสานไปสู่ขอบเขตใหม่ๆ “พอพูดคำว่าลาบเสียบ ถ้าไม่ได้มาเห็นกับตา มากินกับปาก คนทั่วไปอาจนึกภาพไม่ออกว่าลาบเสียบเป็นยังไง ถ้าให้นิยาม คุณจะนิยามแบบไหน” คือคำถามของเราในวันนั้น และต่อจากนี้คือคำตอบสุดนัวจากปากของชายเจ้าของร้าน ลาบเสียบคือร้านกับแกล้ม สันนิษฐานแรกตอนได้ยินคำว่าลาบ เราคิดถึงเมนูลาบอีสานในร้านอาหารทันที แต่อาทิตย์ยืนยันกับเราว่า “ลาบเสียบไม่ใช่ร้านอาหารที่จะมากินเอาอิ่ม” […]

PaPa’ Chao Cafe บาริสต้าวัยเกษียณผู้เชื่อว่าธุรกิจคือเรื่องของการแบ่งปัน

แม้ว่ายุคนี้จะมี ‘ร้านกาแฟ’ เปิดใหม่เรื่อยๆ ทั่วทุกหัวระแหง ทั้งแบบสแตนด์อะโลนขนาดเล็ก ขนาดกลาง จนถึงแฟรนไชส์ของบรรดาแบรนด์ยักษ์ใหญ่ เยอะจนหลายคนมองว่าร้านกาแฟเกลื่อนเมืองแล้ว แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าธุรกิจเครื่องดื่มคาเฟอีนยังคงฮอตฮิตในหมู่ผู้บริโภค และยังเป็นความฝันของใครหลายคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ภาพบรรยากาศคาเฟ่ที่อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมของกาแฟ เสียงเครื่องบดที่ดังเป็นระยะๆ บาริสต้ายืนดริปกาแฟอยู่หน้าบาร์ ดูจะเป็นไดนามิกการทำธุรกิจที่เหมาะกับคนรุ่นใหม่ซะเหลือเกิน เพราะเจ้าของร้านกาแฟเปิดใหม่ที่เราเห็นส่วนใหญ่มีอายุราว 25 – 35 ปีเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว การทำกาแฟไม่จำกัดอายุ ใครๆ ก็มีคาเฟ่ของตัวเองได้ ตั้งแต่วัยรุ่นจนถึงวัยเกษียณ ‘เชา-ชวลิต จริตธรรม’ คืออดีตผู้บริหารด้านทรัพยากรมนุษย์วัย 66 ปี ที่ผันตัวมาเปิดคาเฟ่เล็กๆ ชื่อ ‘PaPa’ Chao Cafe’ ในย่านแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ที่เขาปลุกปั้นมากับมือ ทำเองแทบจะทุกอย่างตั้งแต่ลงทุนทำร้าน คัดสรรเมล็ดกาแฟ บดกาแฟ จนถึงชงเครื่องดื่มส่งตรงถึงมือลูกค้า  แม้ว่าก่อนเกษียณ ชีวิตการทำงานของเชาจะวนเวียนอยู่กับการบริหารคนเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้มีประสบการณ์เกี่ยวกับกาแฟมาแม้แต่น้อย แต่เพราะความเชื่อว่า ‘คนอื่นทำได้ เราก็ต้องทำได้’ เมื่อถึงวันที่ต้องเป็นเจ้าของร้านกาแฟ เขาตั้งใจทำเต็มที่ และทำได้ดีด้วย จนตอนนี้ PaPa’ Chao Cafe มีอายุมากกว่า […]

“คนขี้เมาก็เปลี่ยนประเทศได้” 3 ปีของ ประชาชนเบียร์ กับเสรีภาพการดื่มที่ยังไม่ก้าวหน้า

“เมื่อก่อนผมเป็นอิกนอร์ กินเหล้ากินเบียร์ไม่ได้สนใจอะไรเลย มาตาสว่างเมื่อรู้ว่าระบบของประเทศนี้เป็นยังไง” ‘เบนซ์-ธนากร ท้วมเสงี่ยม’ ผู้ก่อตั้ง ‘ประชาชนเบียร์’ เล่ารอยต่อสำคัญที่ทำให้เขาเริ่มจริงจังกับการเรียกร้องเพื่อแก้ไขข้อกฎหมายเหล้าเบียร์ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 กำหนดให้ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท แถมต้องผลิตไม่ต่ำกว่า 100,000 ลิตรแต่ไม่เกิน 1 ล้านลิตรต่อปี ขอบเขตเช่นนี้ส่งผลให้วงการเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผูกขาดอยู่แค่เจ้าใหญ่ที่มีทุนทำได้ และปิดโอกาสสำหรับผู้ผลิตรายย่อยที่ไม่มีวันทำตามกติกาแบบนั้นได้จริง เกิดเป็นปัญหาอื่นๆ เช่น การต้มแบบเถื่อน หรือการต้องแอบดื่มที่นำไปสู่ภาพจำที่ทำให้เรื่องเหล้าเบียร์เป็นของมอมเมาผู้อื่นอยู่เสมอ ด้วยการผูกขาดกฎหมายที่เอื้อแต่นายทุนเช่นนี้ ทำให้วัฒนธรรมการกินดื่มของประเทศถูกปิดกั้นความสุนทรีย์และไม่มีเสรีเปิดกว้างอย่างทั่วถึง นักดื่ม นักต้ม ผู้ประกอบการ และกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ จึงรวมตัวกันเพื่อผลักดันให้เกิดการแก้ไขกฎหมายที่ทำให้มีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นและทุกคนได้สิทธิ์ที่เท่าเทียมกัน  ดังจะเห็นได้จากการเคลื่อนไหวสำคัญนั่นคือ ‘พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า’ โดยพรรคก้าวไกล ทางคณะได้ยื่นร่างแรกต่อสภาไปเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2565 และมีการโหวตลงมติกันอีกครั้งในช่วงต้นเดือน พ.ย. สรุปมติที่ประชุมปัดตกกฎหมายสุราก้าวหน้าไปด้วยเสียงโหวตทั้งหมด 405 คะแนน เห็นด้วย 194 และไม่เห็นด้วย 196 งดออกเสียง 15 คะแนน เท่ากับว่าวงการเบียร์และสุรายังคงต้องเดินหน้าร่วมกันผลักดันการแก้กฎหมายให้ปลดล็อกเรื่องนี้กันต่อไป  “ตั้งแต่ทำเพจประชาชนเบียร์มาสามปี กฎหมายไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย ยังเหมือนเดิม […]

ท้าพิสูจน์ย่าน ‘ประตูผี’ จากชุมชนริมกำแพงพระนครสู่ย่านสตรีทฟู้ดที่ดังไกลไปทั่วโลก

เมื่อพูดถึงย่านหลอนๆ ในความทรงจำของคนกรุงเทพฯ คิดว่าคงหนีไม่พ้น ‘ย่านประตูผี’ ส่วนหนึ่งของโซนเมืองเก่าในเกาะรัตนโกสินทร์ ที่มีเรื่องราวเล่าขานมาอย่างยาวนานถึงเรื่องชวนขนหัวลุก อย่าง ‘แร้งวัดสระเกศฯ เปรตวัดสุทัศน์’ ที่ตกเย็นเมื่อไร ผู้คนในยุคต้นพระนครต่างหวาดกลัว และไม่อยากย่างกรายผ่านย่านนี้ ท่ามกลางความมืดและเรื่องราวจากอดีต ทุกวันนี้ บรรยากาศของความน่ากลัวเปลี่ยนเป็นแสงไฟจากร้านค้าแผงลอยและร้านอาหารในอาคารพาณิชย์ต่างๆ รวมถึงความเงียบที่กลับกลายเป็นความคึกคักของเหล่านักชิมมากหน้าหลายตา ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ที่แวะเวียนกันมาลิ้มลองรสชาติอาหารต่างๆ ของย่านนี้ คอลัมน์ Neighboroot ชวนผู้อ่านแง้มประตูบ้านย่านประตูผี ตามหาแสงไฟร้านค้าของย่านในค่ำคืนก่อนวันฮาโลวีน สำรวจการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่แยกสำราญราษฎร์ไปจนถึงป้อมมหากาฬ กับบทบาทใหม่ที่ได้รับขนานนามในฐานะแหล่งรวมร้านอาหารเจ้าดังระดับโลกและสตรีทฟู้ดขึ้นชื่อ ที่กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในทุกวัน และกลบความสยองขวัญของย่านที่หายไปจนเหลือเพียงตำนาน ประตูผี คือหนึ่งในย่านหลอนๆ ของชาวพระนครช่วงต้นกรุง เพราะเป็นทางที่นำศพของผู้เสียชีวิตในเขตกำแพงเมือง ออกไปฌาปนกิจยังวัดสระเกศฯ ที่อยู่ด้านนอกคูเมือง โดยเฉพาะช่วงที่มีอหิวาตกโรคระบาดหนัก ก็ใช้เส้นทางนี้ลำเลียงศพออกไปแบบไม่หวาดไม่ไหว ต้องวางศพเกลื่อนลานเมรุวัดสระเกศฯ จนเป็นที่มาของคำว่า ‘แร้งวัดสระเกศฯ’ ที่โฉบลงมากินศพ เป็นที่สยดสยองและร่ำลือกันในหมู่ชาวพระนคร ต่อมาย่านประตูผีได้เติบโตควบคู่ไปกับการตัดถนนบำรุงเมือง ถนนรุ่นแรกๆ ของเกาะรัตนโกสินทร์ที่ใช้เทคนิคการสร้างอย่างชาวตะวันตก ซึ่งคงสร้างทับเส้นทางขนศพในอดีตนี่แหละ พร้อมทั้งมีการปลูกสร้างเป็นอาคารพาณิชย์แบบชิโน-โปรตุกีสอยู่ตลอด 2 ฝั่งถนน ตั้งแต่เสาชิงช้าจนถึงแถบประตูผี แต่ปัจจุบันถูกรื้อหาย กลายเป็นบริเวณแยกสำราญราษฎร์ ร้านรวงต่างๆ จึงเริ่มเข้ามาจับจองพื้นที่ กลายเป็นย่านการค้าอีกแห่งของกรุงเทพฯ มีตลาดใหญ่ชื่อว่า […]

Teeth Time คลินิกทำฟันสุดอบอุ่นที่ใช้ดีไซน์เยียวยาความกลัวของคนไข้และจิตใจทันตแพทย์

ฟาซาดขนาดมหึมาโดดเด่นเห็นมาแต่ไกล มองเข้าไปด้านในเจอเฟอร์นิเจอร์ไม้สไตล์นอร์ดิกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ ลึกเข้าไปหน่อยคือสวนสวยที่มีต้นเสม็ดแดงชูยอดรับแดดจากช่องหลังคาทรงกลม แวบแรกดูเหมือนห้างฯ มองดีๆ แล้วคล้ายคาเฟ่ แต่นาฬิกาเรือนใหญ่ที่มีเข็มหน้าปัดเป็นรูปแปรงสีฟันบนฟาซาดก็ยืนยันว่า เรากำลังยืนอยู่หน้าคลินิกทำฟัน Teeth Time ไม่ผิดแน่ พูดตามตรง ใครจะคิดว่าริมถนนพุทธมณฑล สาย 4 ที่เสียงรถเร่งเครื่องขึ้นสะพานเป็นแบ็กกราวนด์จะมีคลินิกทำฟันมาตั้งอยู่ตรงนี้ แถมยังเป็นคลินิกที่หน้าตาและบรรยากาศแตกต่างจากคลินิกที่เราเคยคุ้น ยามสายที่แดดอ่อนๆ ทอแสงในสวน เราจึงนัดสนทนากับเจ้าของคลินิกอย่าง ปฐวี นวลพลับ, ทันตแพทย์หญิงอัญชลี สุจิวโรดม ภรรยาของปฐวี และ กาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ ผู้ก่อตั้งและดีไซน์ไดเรกเตอร์ของสตูดิโอ Physicalist ผู้เปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าริมถนนให้กลายเป็นคลินิกทำฟัน ซึ่งลบภาพจำเก่าๆ ไปจนไม่เหลือเค้าโครงเดิม Spooky Time ตึกแถวที่ดูลึกลับ แบ่งห้องอย่างไม่ซับซ้อน มีส่วนต้อนรับขนาดเล็กซึ่งมองเข้าไปจะเห็นลูกค้าแออัดเนืองแน่น และแน่นอนว่าต้องเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้ตลอดเวลา ภาพจำของคลินิกทำฟันของหลายคนน่าจะเป็นแบบนั้น ปฐวีก็เช่นกัน มากกว่านั้นคือเขารู้สึกอยู่ตลอดว่าคลินิกทำฟัน ‘น่ากลัว’ “ตั้งแต่จำความได้ ผมมองคลินิกทำฟันว่าเป็นสถานที่ที่ไปแล้วทุกข์ทรมาน ไปเจอความเจ็บปวด มีเสียงเหมือนอยู่ในห้องเชือดตลอดเวลา หมอฟันก็ดูเป็นคนใจร้ายไปโดยปริยาย” เขาเล่าขำๆ แต่สีหน้าจริงจัง ยืนยันว่าหมายความตามนั้นจริง  ก่อนที่อัญชลีจะเสริมต่อว่า ในฐานะหมอฟันผู้เคยทำงานทั้งในโรงพยาบาลรัฐและคลินิกเอกชน แพตเทิร์นเดิมๆ ของห้องทำฟันส่งผลให้คนทำงานอย่างเธอรู้สึกเบื่อหน่าย […]

Expectation VS Reality ชีวิตวุ่นๆ ในเมืองกรุงของหนุ่มขี้เหงากับภารกิจตามหารักแท้แบบฉบับหนังรัก

สวัสดีครับ เหล่าคนเหงาในเมืองใหญ่ทุกคน  ผม ‘แทน แทนทะเล’ นะครับ หลายคนอาจจะเห็นหน้าค่าตาผมจากรายการ ‘Urban เจอนี่’ มาบ้าง แต่วันนี้ผมไม่ได้จะมาชวนไปดูรายการหรือทำอะไรประหลาดๆ หรอกนะ แค่เห็นว่าวีกนี้ Urban Creature เขาทำคอนเทนต์ธีม ‘Bangkok Zombie Town’ ที่ตีแผ่ชีวิตสุดห่วยในเมืองกัน ผมเลยอยากนำเสนอชีวิตหนึ่งวันในฐานะของผู้ชายขี้เหงาคนหนึ่งที่ก็อาศัยอยู่ในเมืองหลวงแห่งนี้ ‘คนเดียว’ มานานกับเขาบ้าง หลังจากปัด Tinder จนนิ้วด้าน โหลดแอปฯ เดตติงจนความจำในโทรศัพท์เต็ม ผมก็ฝันถึงผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำให้หัวใจเจ้ากรรมที่เริ่มด้านชากลับมามีสีสันมากขึ้น ผมจึงตัดสินใจว่า “วันนี้แหละที่เราจะไปปฏิบัติการตามหารักแท้ในเมืองด้วยตัวเอง เอง เอง” (ใส่เอกโค่เพิ่มความดราม่า) แต่แหม จะให้ไปตามหาคนในฝันแบบธรรมดาๆ ก็ดูไม่ค่อยเหมาะกับพิธีกรรายการดังแบบผมเท่าไหร่ ด้วยความที่เป็นอดีตนักเรียนฟิล์มและชอบดูหนังมากๆ ผมเลยขอหยิบเอาหนังรักโรแมนติกมาใช้เป็น Reference สร้างซีนประทับใจในหนึ่งวันที่ผมออกไปเจอเธอสักหน่อย จะได้รู้ดำรู้แดงกันไปเลยว่า ‘เมืองกรุงเทพฯ’ จะ ‘โรแมนติก’ แบบเมืองในหนังรักกับเขาได้ไหม รับบทเป็นธีโอดอร์ ใน Herมองเมืองแบบเหงาๆ คิดถึงเขาทำไงดี ก่อนออกไปตามหารักแท้ในเมืองใหญ่ ผมก็ขอทำตัวเลียนแบบ ‘ธีโอดอร์’ ในหนังคนเหงาเรื่อง ‘Her’ […]

Illuminight – แสงไฟและชีวิต

แสงไฟที่เราเห็น แท้จริงแล้วคือชีวิตของผู้คน ดวงไฟที่สว่างไสวในยามค่ำคืน คือหลักฐานว่าพวกเขาเหล่านั้นยังมีชีวิตอยู่ ในฐานะผู้สังเกตการณ์ เราจัดทำผลงานชุด Illuminight ขึ้น เพื่อสำรวจที่อยู่อาศัยและความเป็นอยู่ของผู้คน ผ่านแสงนีออนของห้องพักในเมืองหลวง ที่จะส่องสว่างในช่วงเวลาเย็นย่ำค่ำมืดหลังเลิกงาน เป็นแพตทเทิร์นวนซ้ำแบบนี้ในทุกๆ วัน Bangkok Zombie Town คือซีรีส์คอนเทนต์ประจำเดือนตุลาคม 2565 จาก Urban Creature ที่ต้องการให้คนเมืองเห็นปัญหาเมืองผ่านข้อมูล ผู้คน และแง่มุมใหม่ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้อยู่อาศัย เพื่อทำความเข้าใจ เรียกร้องการเปลี่ยนแปลง และไม่โทษว่าเป็นความผิดพลาดของตัวเองเพียงอย่างเดียว

กฎหมายทำแท้งเปลี่ยนแล้ว แต่ทำไมการทำแท้งปลอดภัยยังเข้าถึงยาก คุยกับ ‘กลุ่มทำทาง’

ในฐานะคนที่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศ ชื่อของ กลุ่มทำทาง ผ่านหูผ่านตาเราหลายหน เราเคยเห็นข่าวคราวของการรณรงค์เรื่องทำแท้งปลอดภัย เคยอ่านบทความที่ออกมาแชร์ประสบการณ์จริงของผู้หญิงที่เคยทำแท้งจากเว็บไซต์และเพจของพวกเธอ และเคยฟังพอดแคสต์ที่ชวนคิดชวนคุยในหัวข้อเดียวกันนี้มาบ้าง กระทั่งเมื่อต้นปีที่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ชี้ว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ซึ่งกำหนดความผิดแก่หญิงที่ทำให้ตนเองแท้งว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ นำมาซึ่งการแก้ไขกฎหมายให้สามารถทำแท้งได้ภายในอายุครรภ์ 12 สัปดาห์โดยไม่ถือว่ามีความผิดทางอาญา นอกจากนี้ยังแก้กฎหมายอาญา มาตรา 305 ให้หญิงที่มีอายุครรภ์ 12 – 20 สัปดาห์สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน แต่ต้องตรวจและรับคำปรึกษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น การแก้ไขกฎหมายเรื่องนี้นำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์หลายขั้วจากคนในสังคม แม้จะล่วงเลยเวลามานานกว่าหนึ่งปีก็ยังเป็นที่พูดถึงบนหน้าไทม์ไลน์ฉันเสมอ ในวาระที่กลุ่มทำทางเพิ่งจัดงาน ‘Bangkok Abortion กรุงเทพทำแท้ง’ เสร็จไปหมาดๆ เราเลยไม่พลาดที่จะนัดคุยอัปเดตสถานการณ์เรื่องนี้กับพวกเธอ น่าสนใจที่เมื่อเราถามความรู้สึกของ ‘นิศารัตน์ จงวิศาล’ หนึ่งในสมาชิกที่มานั่งคุยกับเราวันนี้ต่อกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ข้อปัจจุบัน เธอบอกว่า ‘ยังไม่แฮปปี้’ และการปรับเปลี่ยนข้อกฎหมายก็ไม่ได้แปลว่าผู้ที่อยากยุติการตั้งครรภ์เข้าถึงการรับการบริการมากขึ้น ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น-ให้บทสนทนาในบรรทัดถัดไปเล่าให้ฟัง ​​ทำไมคุณถึงยังไม่แฮปปี้กับกฎหมายทำแท้งที่เพิ่งอัปเดต เราว่าการเปลี่ยนข้อกฎหมายมันก็ดี ในแง่ที่ทำให้ผู้ให้บริการสบายใจขึ้น และผู้รับบริการรู้สิทธิ์ตัวเอง มันดีหมดแหละ แต่สิ่งที่เราอยากได้จริงๆ ตั้งแต่แรกคือการยกเลิกมาตรา 301 ไปเลย คนที่ทำแท้งต้องไม่มีความผิดทุกกรณี อันนี้คือจุดมุ่งหมายแรกของเรา Pain Point ที่กลุ่มทำทางเจอคือการไม่มีสถานที่บริการทำแท้ง ซึ่งถึงจะแก้กฎหมายแล้วก็ไม่ได้ดีขึ้น […]

Politic 0.4 – การเมืองไทยผ่านถุงกล้วยแขก

‘ถุงกล้วยแขก’ บรรจุภัณฑ์อาหารริมทางที่ผลิตจากหน้าหนังสือพิมพ์กับแป้งเปียก เราเชื่อว่านี่คือสิ่งที่ปรากฏให้เห็นอย่างคุ้นชินในสภาพสังคมยุคหลังสงครามเย็น ข้อความต่างๆ บนถุงกล้วยแขกล้วนบ่งบอกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ของสภาพสังคม เศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งบริบททางการเมือง ในปีพุทธศักราช 2557 ได้เกิดการรัฐประหาร โดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. โดยคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองครั้งนี้ประกอบด้วย กองทัพไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ภายใต้การนำของพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ซึ่งเราทุกคนไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เหตุการณ์ในครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อสภาพสังคมในหลากหลายมิติ ผลงานชุด Politic 0.4 ใช้หน้าหนังสือพิมพ์หลากหลายฉบับที่มีข้อความข่าวสารต่างๆ ปรากฏอยู่ มาประกอบสร้างเป็นถุงกล้วยแขก ซึ่งเปรียบเสมือนวัตถุจากอดีตที่ถูกผลิตซ้ำทางประวัติศาสตร์ ในยุคที่มีสงคราม เศรษฐกิจดิ่งลงเหว ชีวิตล้มเหลว ผู้คนสิ้นหวัง ความปรารถนาในการมีชีวิตที่ดีขึ้นมลายหายไป ถุงกล้วยแขกนับเป็นวัตถุง่ายๆ ที่ช่วยให้ทุกคนรับรู้ความจริง ผลงานชุดนี้ผลิตขึ้นในปีพุทธศักราช 2561 บัดนี้เวลาล่วงเลยมานับสี่ปี ข้าพเจ้าไม่เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงใดที่เป็นไปตามนโยบายแผนพัฒนาเศรษฐกิจ Thailand 4.0 ข้าพเจ้าจึงหวังเพียงแค่ว่า ขอให้ทุกอย่างดีขึ้น ขอให้คุณมีแสงสว่างในการดำรงชีวิตอย่างมั่งคั่ง และขอให้ไฟแห่งความฝันของทุกคนกลับมาอย่างมั่นคงและยั่งยืนเหมือนเดิม

ประกายแก้ว แบรนด์กระจกสีอายุ 29 ปี ที่รับทำตั้งแต่ซ่อมกระจกวัดจนถึงป้ายชื่อศิลปินเกาหลี

ในยุคที่เราตั้งคำถามกับการเปลี่ยนความชอบให้เป็นงาน อาจเป็นความโชคดีที่บางคนเจอสิ่งที่ชอบแล้วทำมันเป็นงานได้ แต่นั่นก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็นเสมอไป กับบางคนที่ไม่ได้รักงานที่ทำมาก แต่งานนั้นมอบคุณภาพชีวิตดีๆ มีเวลาว่างให้ผ่อนคลาย นั่นอาจเป็นนิยามของชีวิตที่น่าพอใจแล้ว ถึงอย่างนั้น เราก็ยังรู้สึกสนุกทุกครั้งเวลาได้เจอคนที่ทำงานในสิ่งที่รัก เหมือนกับวันนี้ที่เรามาเจอ ‘พวงแก้ว นันทนาพรชัย’ เจ้าของร้านและผู้ก่อตั้งร้าน ประกายแก้ว แบรนด์รับทำ-ซ่อมกระจกสีที่เพิ่งเป่าเทียนฉลองวันเปิด 29 ปีไปหมาดๆ โดยมี ‘ฌัลลกัณฐ์ นพวงศ์ ณ อยุธยา’ คอยหนุนหลังในฐานะทายาทผู้มารับช่วงต่อ ในยุคที่เราตั้งคำถามกับการเปลี่ยนความชอบให้เป็นงาน ความหลงใหลในอะไรบางอย่างจะอยู่กับเราได้นานแค่ไหน ป้าพวงแก้วและฌัลลกัณฐ์คือตัวอย่างของคนที่อยู่กับกระจกสีมาได้อย่างยาวนาน, อย่างน้อยๆ ก็ 29 ปี  แต่อยู่มานานก็ไม่ได้แปลว่าต้องทำแบบเดิมเสมอไป เพราะธุรกิจของพวกเธอดำเนินอยู่ในโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงทุกวัน ในคำว่ายาวนานของร้านประกายแก้วนั้น มีการปรับตัวและพัฒนาบริการครั้งแล้วครั้งเล่า จากที่เคยรับทำกระจกสีซึ่งเราเห็นในบ้านและโบสถ์ ทุกวันนี้ประกายแก้วทำงานกระจกสีในรูปแบบใหม่เพื่อตอบรับกับกลุ่มลูกค้าอันหลากหลาย ตั้งแต่นักสะสมไปจนถึงแฟนคลับศิลปินเกาหลี  ลัดเลาะเข้าไปในหมู่บ้านมหาวงษ์ 3 ในบ้านหลังไม่เล็กไม่ใหญ่ริมคลองพระโขนงอันเป็นที่ตั้งของร้านประกายแก้ว ป้าพวงแก้วและฌัลลกัณฐ์เล่าเบื้องหลังให้เราฟังท่ามกลางเสียงเจียกระจกในโรงงาน Puangkaew’s Glass Glitter Studio ถ้าจะบอกว่าความสัมพันธ์ระหว่างกระจกสีกับป้าพวงแก้วเป็น ‘รักแรกพบ’ ก็คงไม่ผิดนัก ป้าพวงแก้วเรียนจบโรงเรียนคาทอลิก หลงใหลในกระจกสีหรือ Stained Glass ถึงขนาดไปเรียนกับช่างทำกระจกสีอยู่ 2 ปี […]

ทอดน่องท่องย่าน ‘แขกตานี’ ตามหาร่องรอยชาวมลายูในบางกอก

เหลียวซ้ายหันขวาพบว่ากลุ่มคนและวัฒนธรรมอิสลามอยู่ใกล้ตัวเรามากๆ หรือถ้าหากเจาะจงให้แคบลงเฉพาะในเมืองหลวง ลองเปิดแผนที่กรุงเทพฯ ดู ก็ปรากฏชื่อของมัสยิดตั้งอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะในโซนเมืองเก่าที่เราเจอว่ามีกลุ่มคนมุสลิมตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยกันหลายพื้นที่ นอกจากศาสนสถานและอาคารสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสะดุดตา คำศัพท์ต่างๆ ที่ภาษาไทยหยิบยืมมาใช้ อาหารรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ยังมีมรดกอีกหลายอย่างที่ตกทอดและแทรกตัวอยู่ท่ามกลางวิถีชีวิตของคนไทยจนอาจไม่ทันนึกถึง นับว่าเป็นการผสานความหลากหลายของผู้คนที่อยู่ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ขอติดสอยห้อยตามเพจ Halal Life Magazine นิตยสารออนไลน์ของกลุ่มพี่น้องมุสลิม ไปทอดน่องท่องย่านในกิจกรรม ‘ย่ำตรอก ออกซอย ตามรอยบ้านแขกตานี’ ที่ชวนออกเดินทางสำรวจ ‘ย่านแขกตานี’ ชุมชนดั้งเดิมของคนมลายูที่อพยพมาจากภาคใต้ตั้งแต่ต้นกรุงฯ ตามหาร่องรอยต่างๆ ของแขกมลายูบริเวณนี้ เช่น อาคารบ้านเรือน ชื่อบ้านนามถิ่น อาหารการกิน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของผู้คนแถบนี้ ที่ตั้งอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ในเกาะรัตนโกสินทร์ที่สำคัญ เรายังได้กูรูด้านประวัติศาสตร์มุสลิมในประเทศไทยอย่าง ‘อาจารย์ศุกรีย์ สะเร็ม’ และผู้รู้อีกหลายๆ ท่าน มาเป็นผู้พาเดินเที่ยวและช่วยเติมเต็มเรื่องราวต่างๆ ของคนมุสลิมในกรุงเทพฯ ให้ชัดเจนขึ้นอีกด้วย ถิ่นฐานย่านแขก ชุมชนคนมลายูในบางกอก ไม่ไกลจากถนนข้าวสาร แสงสีคู่กรุงเทพฯ ยามค่ำคืน และใกล้ๆ กันกับบางลำพู ช้อปปิงเซ็นเตอร์รุ่นเก่าของเกาะรัตนโกสินทร์ แต่เดิมแถบนี้เคยเป็นหมู่บ้านของพี่น้องชาวมุสลิมที่ตั้งบ้านเรือนอาศัยกันอย่างหนาแน่น ประกอบกิจการร้านค้ากันเรียงรายทั่วย่าน แต่ปัจจุบันหากเดินสำรวจดูโดยไม่มีผู้รู้คอยนำทาง อาจไม่ทราบเลยว่าที่นี่เคยเป็นถิ่นฐานบ้านชาวมลายู เพราะเหลือเพียงชื่อกับร่องรอยไม่กี่อย่างที่บ่งบอกถึงเท่านั้น […]

1 4 5 6 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.