Imaginary Objects สตูดิโอออกแบบที่เชื่อในพลังของสนามเด็กเล่นกับการสร้างเมืองและมนุษย์ที่ดี

ภาพของเด็กๆ วิ่งเล่นชุลมุน ส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวเฮฮา บนเครื่องเล่นสีสันสดใส คือบรรยากาศที่เราสัมผัสได้เสมอเมื่อไปเยี่ยมเยือนสนามเด็กเล่น สนามเด็กเล่นคือพื้นที่แห่งความสุขของเด็ก เป็นพื้นที่ที่พวกเขา (และเราในอดีต) ได้ใช้เวลากระโดดโลดเต้นกับเพื่อนฝูงโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก นอกเสียจากจะเล่นอย่างไรให้สนุกที่สุด มองแบบผิวเผิน เหมือนว่าสนามเด็กเล่นจะเป็นแค่พื้นที่ให้เด็กเล่นสนุก ปลดปล่อยพลังอันเหลือล้นจนเหนื่อยหอบ แต่ ‘ญารินดา บุนนาค’ และ ‘โรเบร์โต้ เรเกโฮ เบเล็ตต์’ (Roberto Requejo Belette) กลับมองว่าสนามเด็กเล่นมีประโยชน์และมีหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่มากกว่านั้น และมันคือองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ ญารินดาและโรเบร์โต้ คือสองสถาปนิกผู้ก่อตั้ง Imaginary Objects ออฟฟิศออกแบบที่ทำงานหลากหลายรูปแบบ นอกจากผลงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบภายใน พวกเขายังเชื่อมั่นกับการออกแบบสนามเด็กเล่น และฝากผลงานออกแบบไว้มากมาย เช่น Play Objects ต้นแบบสนามเด็กเล่นสำหรับชุมชนในงาน Bangkok Design Week 2020, Thawsi Playground สนามเด็กเล่นที่โรงเรียนทอสี หรือ Kitblox ผลงานเครื่องเล่นตัวต่อหลากสีหลายรูปทรงสำหรับเด็ก ในมุมมองของพวกเขา สนามเด็กเล่นจะช่วยสร้างเมืองที่น่าอยู่ได้อย่างไร นอกจากการเป็นสถานที่เล่นสนุก สนามเด็กเล่นมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง และไอเดียเบื้องหลังการสร้างสนามเด็กเล่นของพวกเขาคืออะไร มาโลดแล่นไปในบทสนทนาและค้นหาคำตอบพร้อมกันในบทความนี้ เล่าให้ฟังหน่อยว่าตอนเด็กๆ คุณเติบโตมากับสนามเด็กเล่นแบบไหน […]

สำรวจ ‘บางอ้อ’ ถึง ‘บางพลัด’ ชิมลางย่านสร้างสรรค์ ชุมชนแขกแพและสวนผลไม้

บางพลัด-บางอ้อ กำลังจะเป็นย่านสร้างสรรค์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ คนเก่าคนแก่รู้จักย่านนี้ในฐานะสวนขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนความเจริญต่างๆ เริ่มเข้ามาทีละน้อย ทั้งถนน สะพาน อาคารพาณิชย์ โรงไฟฟ้า และรถไฟฟ้า นานวันเข้าพื้นที่สีเขียวค่อยๆ หายไป และเปลี่ยนโฉมเป็นโซนที่อยู่อาศัยและการค้า บางพลัดเป็นเส้นทางผ่านที่ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น และเป็นเหมือนม้านอกสายตาจากบรรดาย่านน่าสนใจอื่นๆ ของเมืองกรุง ทั้งที่ความจริงแล้วที่นี่ยังซ่อนสิ่งต่างๆ ไว้อีกมาก ไม่เพียงแต่พหุวัฒนธรรมพุทธและอิสลามที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว ความรุ่มรวยทั้งสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตก็น่าสนใจ อีกทั้งยังมีภูมิปัญญาที่สืบทอดมาในชุมชนต่างๆ รวมถึงเรือกสวนแบบโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ แม้ไม่มากแต่ก็เป็นมรดกที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน ยิ่งกว่านั้น ในเขตบางพลัดเริ่มมีสเปซของคนรุ่นใหม่ๆ ทยอยมาเติมแต่งให้อดีตย่านสวนฝั่งธนฯ นี้กลายเป็นพื้นที่ที่โอบรับสำหรับคนทุกวัย น่ามาเยือนและใช้ชีวิตด้วย คอลัมน์ Neighboroot ขอชวนไปเยี่ยมอีกย่านสร้างสรรค์ที่กำลังจะจัดกิจกรรมตลอดปีนี้ ย้อนดูอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นย่านบางพลัด-บางอ้อ ไม่ว่าจะเป็นสวนดั้งเดิมอายุกว่า 100 ปี สวนใหม่เจียนเก่าจากความทรงจำของครอบครัว พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของคนในย่าน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของชาวแขกแพ เหมือนกับหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ อดีตของบางพลัด-บางอ้อ คือพื้นที่สวนผลไม้ไกลสุดตา หากเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ‘สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง’ สวนในย่านนี้ก็คือสวนหนึ่งของสวนในบางกอกที่มีอายุย้อนไปได้เป็นร้อยปี สวนผลไม้สัมพันธ์กับอีกอัตลักษณ์ของย่านคือ ความเป็น ‘บาง’ ที่มีลำคลองสายเล็กๆ จากแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมเข้ามายังพื้นที่สวนกว่าสิบสาย และกระจายเป็นโครงข่ายท้องร่องขนาดมหึมา หล่อเลี้ยงสวนป่าในพื้นที่ตอนในที่อยู่ถัดเข้าไป หากมองในระดับสายตาบนถนน ไม่มีทางรู้เลยว่าย่านนี้ยังมีสวนหลงเหลืออยู่ เพราะเต็มไปด้วยตึกรามห้องแถว […]

เสรีภาพสื่อที่ถูกจำกัดและผู้เห็นต่างที่ถูกกำจัด ในกราฟิกโนเวล ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’

‘เมื่อตัดไปหนึ่งหัวกลับงอกเพิ่มขึ้นมาอีกสองหัว’ มังกรไฮดรา สัตว์ร้ายในตำนานที่ยิ่งพยายามฆ่ามันเท่าไหร่ มันกลับยิ่งแตกตัวและแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ สถานการณ์บ้านเมืองของ ‘สยาม’ ในอดีตก็เช่นกัน ยิ่งรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ใช้อำนาจกำจัดผู้กระด้างกระเดื่องมากเท่าไหร่ จำนวนผู้ต่อต้านก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น จนนำไปสู่การยึดอำนาจ ย่ำรุ่ง 24 มิถุนายน 2475 เกิดการ ‘อภิวัฒน์สยาม’ เปลี่ยนแปลงการปกครองจาก ‘ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์’ สู่ ‘ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ’ มอบอำนาจสูงสุดกลับคืนสู่ราษฎร แต่ผ่านไปเพียงแค่ชั่วอึดใจ ผู้มีอำนาจกลุ่มใหม่ก็เข้ามารับไม้ต่อเป็นเผด็จการเสียเอง เสมือนเปลี่ยนเพียงหัวโขนจากกษัตริย์เป็นทหาร ทำให้เรากลับมาตั้งคำถามว่า เกิดอะไรขึ้นในสยามช่วงเวลาก่อนปี 2475 ที่เป็นต้นเหตุของเรื่องราวทั้งหมด ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองและวิธีการของรัฐที่ใช้อำนาจปิดปากประชาชน แล้วทำไมจาก ‘สยาม’ มาจนถึง ‘ไทย’ ในปัจจุบัน สังคมการเมืองบ้านเรายังคงวนลูปแห่งอำนาจและการต่อสู้อย่างไม่เคยสิ้นสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เราได้อ่านหนังสือ ‘2475 นักเขียนผีแห่งสยาม’ กราฟิกโนเวลดราม่าอิงประวัติศาสตร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากบุคคลและเหตุการณ์จริง ภาพลายเส้นโดย สะอาด (ภูมิ-ธนิสร์ วีระ) ผู้สร้างสรรค์ครอบครัวเจ๊งเป้ง, ให้รักเป็นบทกวีชั่วชีวิต ฯลฯ และเนื้อเรื่องโดย พชรกฤษณ์ โตอิ้ม และ สะอาด เรื่องราวภายในเล่มกล่าวถึงสยามประเทศช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุคสมัยที่พระนครเต็มไปด้วยอาชญากรรมและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ […]

Plant Workshop Cafe คาเฟ่ที่อยากเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการอยู่กับธรรมชาติของคนเมือง

ถ้าคุณเป็นคนเมืองที่โหยหาธรรมชาติ รักการอยู่ท่ามกลางต้นไม้เป็นชีวิตจิตใจ การก้าวเข้ามาใน ‘Plant Workshop Cafe’ คาเฟ่สีเขียวซึ่งตั้งอยู่ใจกลางราชเทวีน่าจะมอบความรู้สึกสบายใจให้คุณได้ไม่น้อย เห็นคำว่าเวิร์กช็อป บางคนอาจคิดว่าที่นี่จัดเวิร์กช็อปเกี่ยวกับต้นไม้ แต่แท้จริงแล้ว ‘ต้อม-กฤษฎา พลทรัพย์’ และ ‘ออม-ดร.มนสินี อรรถวานิช’ เจ้าของคาเฟ่ตั้งใจให้ที่นี่เป็น ‘โรงปฏิบัติการ’ สำหรับคนที่ไม่ได้เชี่ยวชาญในการปลูกต้นไม้แต่ชอบปลูก ในบทบาทหนึ่ง ต้อมกับออมคือนักออกแบบสถาปัตยกรรมและอาจารย์ผู้สนใจเรื่องการสร้างพื้นที่ในเมืองให้เป็นประโยชน์ แต่พวกเขาก็เหมือนเราหลายๆ คน เป็นคนเมืองที่ต้องออกจากห้องแต่เช้า กว่าจะกลับห้องก็ค่ำ จะปลูกต้นไม้ที่ดูแลยากๆ ในห้องก็ใช่ที ในแง่หนึ่ง Plant Workshop Cafe แห่งนี้จึงเป็นพื้นที่ลองผิดลองถูกในการดูแลพืชพรรณของพวกเขา และในอีกมุม มันก็เป็นทั้งคาเฟ่ โคเวิร์กกิ้งสเปซ ที่นั่งแล้วสบายใจ พร้อมเสิร์ฟเครื่องดื่มกับอาหารราคาสบายกระเป๋า บทสนทนาของเราเกิดขึ้นที่ชั้นสองของร้าน ท่ามกลางสีเขียวของหมู่มวลต้นไม้หลากชนิด ที่นั่น เราได้ฟังเรื่องราวความสนใจที่ฝังรากลึก ไปจนถึงเป้าหมายในการสร้างพื้นที่ที่อยู่แล้วสบายใจ มากกว่านั้นคือ เป็นพื้นที่มอบแรงบันดาลใจให้คนเมืองคนอื่นๆ รู้สึกอยากปลูกต้นไม้เช่นกัน สวนหลังบ้าน “เราไม่ได้คิดทำร้านกาแฟ จริงๆ มันคือสวนหลังบ้าน” แค่ความตั้งใจแรกที่ต้อมเล่าให้ฟังก็ทำให้เราเลิกคิ้วอย่างประหลาดใจ ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ต้อมกับออมได้ตึกแถวเปล่าใจกลางราชเทวีขนาดหนึ่งคูหามาตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ระบาด พวกเขาเปิดบริษัทที่ทำงานด้านสถาปัตย์ของตัวเอง จึงเปลี่ยนชั้นสองและชั้นสามเป็นบ้านและออฟฟิศไว้ ส่วนชั้นหนึ่งที่ว่าง […]

แวะคาเฟ่ เดินดูฝาท่อ ตะลุยตลาด นั่งเรือไฟฟ้าคลองผดุงฯ ชมวิถีชีวิตย่านเก่า แวะท่องเที่ยวเลียบคลองแบบ Low Carbon

การเดินทางท่องเที่ยวในกรุงเทพฯ นับว่าสะดวกสบายเลยก็ว่าได้เมื่อเทียบกับต่างจังหวัด เพราะนอกจากขนส่งสาธารณะอย่างรถเมล์และรถไฟฟ้าที่พาเราไปยังสถานที่ต่างๆ แล้ว ก็ยังมีขนส่งสาธารณะอีกประเภทที่พาเราเดินทางบนผิวน้ำลำคลองอย่าง ‘เรือ’ ด้วย เรือขนส่งในกรุงเทพฯ มีหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรือหางยาว เรือเจ้าพระยา หรือแม้กระทั่ง ‘เรือไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์’ ที่ ‘คลองผดุงกรุงเกษม’ ก็มีให้บริการฟรีตลอดเส้นทาง ชวนให้ชาวเมืองได้ออกไปสนุกกับการสัมผัสวิถีชีวิต ‘เลียบคลองผดุงกรุงเกษม’ ผ่านการท่องเที่ยวแบบลดการปล่อยมลพิษทางน้ำและอากาศ สุดสัปดาห์นี้ ใครกำลังมองหาที่เที่ยวอยู่แต่ไม่รู้ว่าจะไปที่ไหน คอลัมน์ Urban Guide ขอชวนไปล่องเรือไฟฟ้าแบบ Low Carbon ที่คลองผดุงกรุงเกษม เปิดรูต One Day Trip พร้อมแวะพักผ่อนท่องเที่ยวชิลๆ กับ 3 ตลาด 3 คาเฟ่ตลอดทั้งเส้นทางล่องเรือกัน จุดเริ่มต้นของเส้นทางเดินเรือไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เลียบคลองผดุงกรุงเกษม มีต้นสายที่ท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพงไปจนถึงจุดสิ้นสุดที่ท่าเรือตลาดเทวราช รวมทั้งสิ้น 11 ท่าเรือ ประกอบด้วยท่าเรือสถานีรถไฟหัวลำโพง, ท่าเรือหัวลำโพง, ท่าเรือนพวงศ์, ท่าเรือยศเส, ท่าเรือกระทรวงพลังงาน, ท่าเรือแยกหลานหลวง, ท่าเรือนครสวรรค์, ท่าเรือราชดำเนินนอก, ท่าเรือประชาธิปไตย, ท่าเรือเทเวศร์ และท่าเรือตลาดเทวราช ในระยะทาง […]

‘ผังเมืองจะทำให้เห็นเมืองของเราในอนาคต’ คลี่คลายทุกความสงสัยเรื่องผังเมืองกับ ‘นพนันท์ ตาปนานนท์’

เมื่อไม่นานมานี้ ประเด็นเรื่องผังเมืองรวม กทม. กลายเป็นประเด็นร้อนแรงปลุกให้คนกรุงเทพฯ หันมาสนใจว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น ทำไมคีย์เวิร์ด ‘ผังเมืองใหม่เอื้อกับนายทุน’ โผล่มาให้เห็นบ่อยๆ ตามสื่อโซเชียลมีเดีย จนทำให้ กทม.แถลงชี้แจง และขยายระยะเวลารับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปจนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และแน่นอนว่าในฐานะคนเมือง เราย่อมได้ยินคำว่าผังเมืองอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะเวลาพูดถึงปัญหาเมืองเรื้อรังที่แก้ไขไม่ได้ เช่น รถติด การเดินทางไม่สะดวก หรือกระทั่งเรื่องอากาศร้อน Urban Creature ชวน ‘รศ. ดร.นพนันท์ ตาปนานนท์’ อาจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นักวิชาการจากศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเป็นหนึ่งในผู้จัดทำ ‘ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ปรับปรุงครั้งที่ 4’ มาให้ความเข้าใจถึงเรื่องผังเมืองอย่างง่ายๆ ว่าคืออะไร และปัจจัยนี้เป็นสาเหตุของหลายปัญหาเมืองจริงไหม ลองไปหาคำตอบจากบทสัมภาษณ์นี้กัน ในเชิงวิชาการ คำว่า ‘ผังเมือง’ มีความหมายว่าอย่างไร ถ้าให้ผมสรุปสั้นๆ ผังเมืองเป็นการกำหนดภาพอนาคตของเมือง เป็นกายภาพ มองเห็น จับต้องได้ เพื่อรู้ว่าเมืองนี้มีภาพในอนาคตข้างหน้าเป็นอย่างไร หน่วยงานภาครัฐใช้ภาพนี้ดำเนินการตามบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ขนส่ง สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ส่วนเมืองมีการพัฒนาโดยภาคเอกชนและประชาชน คือ การสร้างที่อยู่อาศัย การสร้างอาคารพาณิชย์ […]

Harmony of Thai-Chinese ไทยจีนสัมพันธ์

นอกจากวันแห่งความรัก เดือนนี้ก็นับว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีน เพราะมีวันตรุษจีนให้ระลึกถึงบรรพบุรุษที่จากไป มากไปกว่าตรุษจีนที่เป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นภาพแทนของความเป็นไทยเชื้อสายจีน ด้วยความใกล้ชิดสนิทสนมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันมาตั้งแต่อดีต จึงเป็นเรื่องธรรมดามากๆ ที่เราจะพบเจอศิลปวัฒนธรรมจีนในไทย ตั้งแต่สเกลเล็กๆ อย่างบนร่างกายผู้คน ในอาคารสถานที่ ไปจนถึงระดับเมือง และหากให้นึกถึงพื้นที่ที่เป็นตัวแทนความเป็นจีนในกรุงเทพฯ ย่อมหนีไม่พ้นย่านเยาวราชอยู่แล้ว ในฐานะที่อดีตผมเคยเป็นคนในพื้นที่ ภาพของผู้คนที่พากันมาซื้อของและขนมที่ใช้ไหว้ในช่วงเทศกาล วัตถุต่างๆ ที่มีองค์ประกอบของฟอนต์ภาษาจีน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของอาคารและวิถีชีวิต ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นนับว่าเป็นสิ่งที่เห็นจนชิน เมื่อเวลาผ่านมาจนผมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และได้กลับมาในบริเวณนี้อีกครั้งพร้อมกับกล้องถ่ายรูปคู่ใจ ผมย่อมรู้สึกต่างไปจากเมื่อก่อน จากเดิมที่เคยมองความเป็นจีนในไทยจนชินตา เมื่อเวลาผ่านไปกลับน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่อะไรก็หมุนไวไปหมด ทำให้อดไม่ได้ที่จะบันทึกเป็นภาพชุดนี้ขึ้นมา

ชื่อบ้านนามตรอกรอบ ‘ซอยวานิช 1’ เส้นเลือดใหญ่ของชาวจีนโพ้นทะเล ในโมงยามที่ชื่อย่านรางเลือน

หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ แทนที่ด้วยภาษาไทยสำเนียงแปร่งปร่าจากปากชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มใหม่ที่เพิ่งเข้ามา พร้อมกับป้ายร้านอักษรไทยฟอนต์ Tahoma และอักขรวิธีการสะกดคำที่อ่านแสนยาก ซึ่งนั่นหมายความว่ารากเหง้าของจีนเก่าที่มาก่อนก็กำลังถูกลบเลือนหายไปด้วยเช่นกัน เทศกาลตรุษจีนนี้ คอลัมน์ Neighboroot นัดพบกับพ่อค้าเชือกและนักประวัติศาสตร์ประจำย่านอีกครั้ง ชวนคุยเรื่องเก่าในละแวกบ้าน โดยมีแผนที่การค้าเก่าที่ปีนี้อายุครบร้อยปีพอดีเป็นตัวช่วยชี้ทาง เพื่อตามหาชื่อบ้านนามเมืองในสำเพ็งที่ทยอยหล่นหายไปตามเวลา ถนนคนเดินเบียดเสียด ละลานตาไปด้วยแสงไฟ อาหารสตรีทฟู้ดหลากหลาย กลายเป็นภาพจำของ ‘ไชนาทาวน์’ เมืองไทย ผู้คนจากทั่วสารทิศมาเยือนถนนสายมังกรด้วยเป้าหมายต่างกันออกไป ไม่น้อยเป็นคนไทยที่มาหาของกินยามค่ำ ไม่น้อยเป็นนักท่องเที่ยวที่มาเยือนแลนด์มาร์กต่างบ้านต่างเมือง และก็มีไม่น้อยที่เป็นกลุ่มทุนจีนใหม่ที่เข้ามาทำธุรกิจ เพื่อกอบโกยเม็ดเงินกลับไปยังต้นทาง หลายเวลา หลายวาระ สยามคือปลายทางหนึ่งของชาวจีนที่หันหัวเรือลงใต้ แสวงหาชีวิตที่ดีกว่ายังดินแดนใหม่ และหนีสารพัดภัยที่ต้องเจอในบ้านเกิด เข้ามาทำกิจการใต้ร่มบรมโพธิสมภาร เมื่อเก็บเงินได้จึงส่งกลับไปให้ครอบครัวที่อยู่เมืองจีน กลายเป็นเรื่องเล่าประจำบ้านชาวไทยเชื้อสายจีนที่ไม่ว่าใครก็เคยได้ยิน แทบทุกตำนานการเดินทาง ฉากแรกๆ ของผู้คนในสมัยนั้นคือ ‘สำเพ็ง’ ศูนย์กลางของชาวจีนในไทย ที่รับหน้าที่เป็นทั้งปลายทางให้ตั้งรกรากและจุดแวะพักเหนื่อยหลังเดินทางไกล ก่อนมุ่งหน้าต่อไปยังจังหวัดอื่น วันนี้เสียงพูดคุยด้วยภาษาจีนระหว่างชาวจีนพลัดถิ่นในสำเพ็งเบาลงทุกขณะ […]

Drinks On Me แพลตฟอร์มบาร์ทิพย์สู่บาร์จริง ที่ชวนคนแปลกหน้ามาฮีลใจ ด้วยบทสนทนาจากค็อกเทล

ในแต่ละวันเราคงมีปัญหาอัดอั้นที่ต้องการระบาย แต่พอจะคุยกับคนรอบตัวก็กลัวเขาลำบากใจ ครั้นจะให้ออกไปพบปะสังสรรค์กับคนแปลกหน้าในสถานที่ต่างๆ ก็อาจไม่สะดวกใจขนาดนั้น ด้วยเหตุนี้ ทำให้ใครหลายคนเริ่มมองหาการพูดคุยแลกเปลี่ยนบทสนทนากับคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์มากขึ้น แอปพลิเคชันประเภทหาเพื่อนคุยจึงได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก และแอปฯ เหล่านี้ก็เริ่มเข้ามามีอิทธิพลต่อผู้คนในเมืองขึ้นเรื่อยๆ หนึ่งในนั้นคือ ‘Drinks On Me’ แพลตฟอร์มบาร์ทิพย์ออนไลน์ ที่เปลี่ยนบรรยากาศการพูดคุยแบบเดิมๆ ในห้องแชตเปล่าๆ ให้ได้ความรู้สึกใหม่เหมือนกับไปอยู่ในบาร์จริงๆ โดยมีคาแรกเตอร์การ์ตูนน่ารักๆ มาสร้างความเป็นมิตรให้ตัวเว็บไซต์ พร้อมกิมมิกเจ๋งๆ อย่างการเลือกค็อกเทลที่บ่งบอกอารมณ์ความรู้สึกของผู้ใช้งาน เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นบทสนทนา จนกลายเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ใครหลายๆ คนกล้าแชร์ความคิดและความรู้สึกออกไป หลังจากเคยนำเสนอแพลตฟอร์มนี้ในช่วงแรกๆ ที่เปิดตัวไปแล้ว คอลัมน์ Re-desire ถือโอกาสชวน ‘นะโม-ชลิพา ดุลยากร’ และ ‘ปั่น-วศิน วัฒนศรีส่ง’ ผู้ก่อตั้ง Drinks On Me ที่เพิ่งครบ 1 ปีไปเมื่อเดือนกันยายนปีก่อน มาพูดคุยถึงตัวแพลตฟอร์มที่มีการพัฒนาแนวคิดมาเรื่อยๆ ถึงขนาดมีโอกาสร่วมงานกับแบรนด์ใหญ่ และขยายขอบเขตกิจกรรมพาผู้คนบนโลกออนไลน์มาสัมผัสประสบการณ์ใหม่ที่บาร์จริง รวมถึงเป้าหมายในอนาคตหลังจากนี้ของพวกเขา เริ่มต้นจากความสนุกที่อยากชวนคนมาชนแก้วบนโลกออนไลน์ ถ้าหลายคนจะคุ้นหน้าหญิงสาวในภาพก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะนะโมคือ TikToker ช่อง ‘รุงรังDiary’ ที่มีผู้ติดตามถึง 1.3 ล้านแอ็กเคานต์ และอีกบทบาทเธอก็เป็นเจ้าของ […]

เยียวยาหัวใจผ่านการรักษาตุ๊กตากับ Sewing Thing

ตุ๊กตาเน่าหรือผ้าเน่าคงเป็นสิ่งที่หลายคนเก็บไว้ตั้งแต่เด็กๆ จนปัจจุบัน บางคนอาจได้รับจากคุณแม่ คุณย่า หรือคนที่รักเราในสถานะใดก็ตาม และหลายคนก็คงยังไม่ได้อยากทิ้งมันไป เพราะภายในสิ่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงของเล่นหรือผ้าที่เอาไว้ห่มอย่างเดียว แต่มันเต็มไปด้วยเรื่องราวหรือประสบการณ์ต่างๆ มากมายตั้งแต่ยังเล็กที่เราไม่อาจลืม แต่เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งของเหล่านี้ล้วนเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา จนมันไม่อาจอยู่ในสภาพเดิม สิ่งของที่เต็มไปด้วยเรื่องราวที่ช่วยเยียวยาใจของเราในวันที่แย่ๆ ก็อาจหายไปหากไม่มีคนคอยรักษามัน Urban Creature ในคอลัมน์ The Professional ชวนคุยกับ ‘พี่ตุ๊ก-พนิดา เตียวตระกูล’ หมอรักษาตุ๊กตาจากร้าน Sewing_thing ถึงอาชีพที่คอยเป็นคนรักษาน้องเน่า เพื่อรักษาใจของเราให้ยังคงอยู่ต่อไปในทุกวัน ติดตามร้านได้ที่ : www.instagram.com/sewing_thing

‘Siradasue’ นักวาดเว็บตูน ที่อยากเห็นคนอ่านรักย่านเมืองเก่ามากขึ้น ถึงขนาดทำทริปเดินตามรอยโลเคชันในเรื่อง

ย้อนกลับไปในช่วงปลายปีที่ผ่านมา เราได้มีโอกาสไปเดินทริปตามรอยการ์ตูนเรื่อง ‘Moonlight Serenade’ ที่นำโดยนักวาดเว็บตูนลายเส้นเป็นเอกลักษณ์อย่าง ‘Siradasue’ หรือ ‘โบว์-ศิรดา สื่อไพศาล’ ซึ่งก่อนหน้านี้เธอเคยฝากฝีไม้ลายมือกับเรื่อง Blooming Days การ์ตูนแนว Slice of Life ที่พูดถึงเรื่องราวความรักและช่องว่างระหว่างวัยของเหล่าตัวละครจนถูกใจใครหลายคน แม้จะเป็นทริปเล็กๆ จบในหนึ่งวัน แต่ก็ถือเป็นประสบการณ์แสนอบอุ่นหัวใจ ที่พาเราเริ่มต้นเดินตามรอยความทรงจำของลิลี่และฟรานซิสในย่านตลาดน้อย-ทรงวาด เพื่อเยือนสถานที่จริงที่ใช้เป็นแรงบันดาลใจในการวาดภาพสถาปัตย์เรื่อง Moonlight Serenade แถมยังได้เรียนรู้เรื่องราวสถาปัตยกรรมของตึกแถว และการค้าขายกับต่างชาติของย่านเมืองเก่าในอดีต และต่อให้ทริปเดินตามรอยจะจบลง แต่ลิลี่ ฟรานซิส และตัวละครอื่นๆ ของโบว์ก็ยังคงใช้ชีวิตอยู่ในย่านตลาดน้อย-ทรงวาดภายใต้ลายเส้นการ์ตูนของเธอต่อไป จากความประทับใจในทริปครั้งนี้ Urban Creature ขอถือโอกาสยืมตัวนักวาดคนเก่งมาสนทนากันถึงเรื่องราว แนวคิด และประสบการณ์ในชีวิต ที่ทำให้อดีตกราฟิกดีไซเนอร์หันมาจับปากกาวาดลวดลาย จนกลายเป็นนักวาดการ์ตูนชาวไทยที่ได้มีผลงานตีพิมพ์ลงหน้าหลักของ LINE WEBTOON ที่มียอดวิวรวมมากกว่า 4.4 ล้านวิว และได้เรตติงสูงถึง 9.9 เต็ม 10 ดาว เดบิวต์ในฐานะนักวาด นามปากกา Siradasue ของโบว์เกิดขึ้นง่ายๆ จากการนำชื่อจริงของเธอมารวมเข้ากับพยางค์แรกของนามสกุล อาจไม่ได้มีความหมายลึกซึ้ง […]

‘สะพานเหล็ก’ ตลาดค้าของเล่นในความทรงจำ

หากมีสถานที่ไหนสักแห่งที่พาย้อนกลับไปวัยเด็กในโลกก่อนยุคดิจิทัล ท่องโลกตัวการ์ตูนหรือคาแรกเตอร์ในหนังผ่านโมเดลแบบต่างๆ ได้เลือกหาเครื่องเล่นและแผ่นเกมกลับบ้าน หรือฮีลใจด้วยการหาหุ่นฟิกเกอร์มาเติมเต็มตัวที่ยังขาดในคอลเลกชัน ‘สะพานเหล็ก’ น่าจะเป็นคำตอบที่แทรกอยู่ในความทรงจำของใครหลายคน แม้วันนี้ย้ายมาอยู่ในสถานที่ใหม่ ใหญ่กว่าเดิมหลายเท่า แต่ย่านการค้าของเล่นระดับตำนานของประเทศยังคงกลิ่นอายความคลาสสิกแทบไม่ต่างกัน และยังคงเป็นสวรรค์ของคนรักของเล่นและนักสะสมเหมือนเคย ยิ่งตลอดปีนี้ อาร์ตทอยและกล่องสุ่มกำลังมาแรง เหล่าศิลปินต่างสร้างสรรค์ออกมาในรูปลักษณ์ต่างๆ จนผู้คนเลือกซื้อสะสมกันไม่หวาดไม่ไหว เป็นอีกกระแสใหม่ของวงการทอยบ้านเราที่ส่งผลกระเทือนถึงย่านสะพานเหล็กด้วย คอลัมน์ Neighboroot ชวนตะลุยสะพานเหล็ก อาณาจักรของเล่นใหญ่ในกรุงเทพฯ ย้อนวันวานไปกับชาวย่าน กลับไปหาต้นตอของร้านรวง แล้วข้ามถนนไป Mega Plaza อัปเดตเทรนด์ใหม่ๆ ของวงการของเล่นปัจจุบัน หากมีสถานที่ไหนสักแห่งที่พาย้อนกลับไปวัยเด็กในโลกก่อนยุคดิจิทัล ท่องโลกตัวการ์ตูนหรือคาแรกเตอร์ในหนังผ่านโมเดลแบบต่างๆ ได้เลือกหาเครื่องเล่นและแผ่นเกมกลับบ้าน หรือฮีลใจด้วยการหาหุ่นฟิกเกอร์มาเติมเต็มตัวที่ยังขาดในคอลเลกชัน ‘สะพานเหล็ก’ น่าจะเป็นคำตอบที่แทรกอยู่ในความทรงจำของใครหลายคน แม้วันนี้ย้ายมาอยู่ในสถานที่ใหม่ ใหญ่กว่าเดิมหลายเท่า แต่ย่านการค้าของเล่นระดับตำนานของประเทศยังคงกลิ่นอายความคลาสสิกแทบไม่ต่างกัน และยังคงเป็นสวรรค์ของคนรักของเล่นและนักสะสมเหมือนเคย ยิ่งตลอดปีนี้ อาร์ตทอยและกล่องสุ่มกำลังมาแรง เหล่าศิลปินต่างสร้างสรรค์ออกมาในรูปลักษณ์ต่างๆ จนผู้คนเลือกซื้อสะสมกันไม่หวาดไม่ไหว เป็นอีกกระแสใหม่ของวงการทอยบ้านเราที่ส่งผลกระเทือนถึงย่านสะพานเหล็กด้วย คอลัมน์ Neighboroot ชวนตะลุยสะพานเหล็ก อาณาจักรของเล่นใหญ่ในกรุงเทพฯ ย้อนวันวานไปกับชาวย่าน กลับไปหาต้นตอของร้านรวง แล้วข้ามถนนไป Mega Plaza อัปเดตเทรนด์ใหม่ๆ ของวงการของเล่นปัจจุบัน ด่านแรกของร้านของเล่นนำเข้า ก่อนจะไปสำรวจย่านสะพานเหล็ก ขอพาไปฟังที่มาที่ไปของปลายทางในฝันของเด็กๆ […]

1 2 3 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.