KULTX พื้นที่ศิลปะแห่งใหม่โดยคนทำงานหน้าเก่า ที่อยากให้ชุมชนมีส่วนร่วมในเมืองขอนแก่น

แม้จะไม่ได้ใหญ่และมีมากเหมือนในกรุงเทพฯ แต่การกระจายตัวของพื้นที่แสดงศิลปะในต่างจังหวัดนั้นถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีและน่าจับตามอง ดังจะเห็นได้จากทางภาคใต้ที่มี ปัตตานี อาร์ตสเปซ และ หอศิลป์เดอลาแปร์ นราธิวาส ส่วนภาคเหนือมีพื้นที่ศิลปะกระจายตัวทั่วสารทิศทั้งเชียงใหม่และเชียงราย หรือจังหวัดเล็กๆ อย่างพะเยาก็มี ARTCADE  ฝั่งอีสานก็เป็นที่เลื่องชื่อในด้านการผลักดันศิลปะไม่แพ้กัน อย่างที่โคราชมีเทศกาลศิลปะนานาชาติ Thailand Biennale ขณะเดียวกัน ขอนแก่นก็มีนิทรรศการศิลปะโด่งดังชื่อ มานิเฟสโต้ (KhonKaen Manifesto) ยังไม่นับรวมพื้นที่แสดงศิลปะ ทั้งหอศิลป์มหาวิทยาลัย แกลเลอรีอย่าง ใหม่อีหลี และ YMD Art Space อันเกิดจากการผลักดันของกลุ่มเพื่อนศิลปินที่ช่วยกันสร้างพื้นที่ศิลปะ จนแตกกิ่งก้านเป็นเทศกาลศิลปะ S.O.E Our City Old Town แก่น เก่า เก๋า ที่เลือกใช้พื้นที่ในเมืองและชุมชนเก่าแก่ฝั่งทิศตะวันตกของบึงแก่นนคร ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานในการจัดงาน ในวันเวลาที่เมืองขอนแก่นกำลังเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลง เราขอชวนไปฟังเสียงของสองศิลปินตัวแทนกลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์ที่ร่วมด้วยช่วยกันผลักดัน และขับเคลื่อนให้ขอนแก่นได้มีพื้นที่ทางศิลปะ นั่นคือ ‘ต้อง-อุกฤษฏ์ จอมยิ้ม’ อาจารย์ประจำสาขาศิลปะภาพถ่าย จากวิทยาลัยการออกแบบ ม.รังสิต และ ‘ตั้ม-มนพร รอบรู้’ ศิลปินสตรีทอาร์ตชาวขอนแก่น ที่ยังคงนำทัพทำงานสร้างสรรค์ […]

Aviva Spirit แบรนด์ตี่จู้เอี๊ยะโมเดิร์นที่ส่งต่อศาสตร์และศิลป์แห่งศรัทธาสู่คนรุ่นใหม่ 

ทำไมตี่จู้เอี๊ยะถึงไม่เป็นสีแดงรูปทรงที่โมเดิร์นจะถูกหลักฮวงจุ้ยไหมรูปปั้นมังกรกับตุ๊กตาอากงหายไปไหน เหล่านี้ล้วนเป็นคำถามที่แบรนด์ ‘Aviva Spirit’ ต้องพบเจอตลอดระยะเวลา 10 ปีที่เปิดดำเนินการมา เนื่องจากตี่จู้เอี๊ยะของทางร้านถูกแปลงโฉมให้โมเดิร์นกว่าในอดีต ทั้งสี รูปร่าง และรูปทรง จนมีลักษณะผิดแปลกไปจากที่คนส่วนใหญ่คุ้นตา ในฐานะลูกครึ่งจีนคนหนึ่งที่พบเห็นตี่จู้เอี๊ยะไม้ทาสีแดงแบบดั้งเดิมมาทั้งชีวิต เราจึงไม่รอช้าขอพาทุกคนไปร่วมหาคำตอบเกี่ยวกับตี่จู้เอี๊ยะสมัยใหม่พร้อมกัน ผ่านการพูดคุยกับครอบครัว ‘วิวัฒนะประเสริฐ’ ทั้งเรื่องของฮวงจุ้ย การดีไซน์ตัวเรือนตี่จู้เอี๊ยะ หรือแม้กระทั่งรูปแบบการไหว้ ที่ทำให้เรื่องของการไหว้เจ้าที่เป็นเรื่องง่าย เข้ากับไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากกว่าเดิม ตี่จู้เอี๊ยะโมเดิร์นที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของแบรนด์ ‘สุภชัย วิวัฒนะประเสริฐ’ ซินแสฮวงจุ้ยผู้เป็นหัวเรือใหญ่ของแบรนด์ ‘Aviva Spirit’ และเจ้าของเพจ ‘Fengshui Balance – ฮวงจุ้ย สมดุลแห่งธรรมชาติ’ เล่าว่า สมัยก่อนที่ไปดูฮวงจุ้ยให้ลูกค้าที่บ้าน หลายรายมักถามว่ามีตี่จู้เอี๊ยะรูปแบบอื่นๆ นอกเหนือจากตี่จู้เอี๊ยะแบบเก่าให้เลือกไหม เพราะอยากได้ศาลเจ้าที่เข้ากับบ้านของเขา ทำให้สุภชัยเห็นถึงความต้องการของลูกค้าที่คำนึงเรื่องรูปลักษณ์และความทันสมัยมากขึ้น แม้ว่าตี่จู้เอี๊ยะจะเป็นที่ต้องการและมีผู้ค้าลงเล่นในตลาดนี้จำนวนมาก แต่รูปทรงของเรือนก็ยังไปในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือเป็นเรือนไม้สีแดง แกะสลักเป็นรูปมังกร รูปสิงห์ และมีตุ๊กตาอากงอยู่ภายใน ไม่สอดคล้องกับการตกแต่งภายในที่เน้นความเรียบง่ายของบ้านส่วนใหญ่ในปัจจุบัน  เขาจึงเริ่มมองหาการออกแบบใหม่ๆ ที่จะตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ขณะเดียวกันก็ต้องถูกหลักฮวงจุ้ยด้วย  “พอมีหลายคนถามหาเยอะขึ้น เราก็เลยตัดสินใจเริ่มศึกษาการทำตี่จู้เอี๊ยะหินอ่อนที่มีลักษณะโมเดิร์นขึ้นมา” สุภชัยกล่าว “โดยอยู่ภายใต้คอนเซปต์ ‘ศาสตร์และศิลป์แห่งศรัทธา’ […]

‘กัลชนา เนตรวิจิตร’ พนักงานกวาดถนน ผู้เป็นฟันเฟืองของเมืองที่มากกว่าแค่ทำความสะอาด

หากพูดถึงฟันเฟืองเล็กๆ ที่ทำให้เมืองของเราน่าอยู่ขึ้น คุณจะคิดถึงอะไร คำตอบแรกสำหรับเราที่ผุดขึ้นมาในหัวคงเป็นบรรดาพี่ๆ ที่ทำงานบริการใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ยิ่งในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขยะจากใบไม้กับเศษกิ่งไม้ที่ร่วงหล่น ไปจนถึงเศษซากอาหาร ถุงขนม กระดาษ ขวดพลาสติก หรือขยะชิ้นเล็กๆ อย่างก้นบุหรี่กับหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วจากฝีมือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ยิ่งทำให้ ‘พนักงานกวาดถนน’ ทวีความสำคัญขึ้นไปอีก วันนี้เราจึงเดินทางมายังเขตจตุจักรเพื่อพูดคุยถึงเรื่องราวชีวิตของ ‘แก้ว-กัลชนา เนตรวิจิตร’ ลูกจ้างชั่วคราวพนักงานทั่วไป (กวาด) ที่ก่อนหน้านี้เธอออกสื่อมาแล้วมากมาย เนื่องจากมีโอกาสได้รับประทานอาหารกับผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หลังจากเหตุการณ์ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหอวังที่โดนโจรจี้  เราหวังว่าถ้อยคำต่อจากนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงการทำงาน ความเป็นอยู่ ทั้งในเรื่องของรายได้และรัฐสวัสดิการของอาชีพพนักงานกวาดถนนมากขึ้นอีกหน่อย แล้วทุกคนจะรู้ว่าคนทำงานตัวเล็กๆ ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันมีความสำคัญต่อเมือง และต้องการคุณภาพในการใช้ชีวิตไม่ได้ยิ่งหย่อนไปจากอาชีพอื่นๆ เลย พนักงานกวาด ที่ไม่ได้มีหน้าที่แค่กวาด ในขณะที่ชีวิตของใครหลายคนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า แต่ชีวิตทุกวันของแก้วกลับเริ่มต้นขึ้นในยามที่ดวงจันทร์กำลังลาลับไป “เราตื่นนอนออกจากบ้านประมาณตีสี่ครึ่ง มาถึงก็ไปเอาไม้กวาดกับบุ้งกี๋มากวาดตรงจุดรับผิดชอบที่เขากำหนด จากนั้นมีเวลาพักช่วงแปดถึงเก้าโมงหนึ่งครั้ง ก่อนกลับมากวาดรอบสอง และนั่งอยู่บริเวณที่รับผิดชอบเผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน” ‘เหตุการณ์ฉุกเฉิน’ ที่ว่ารวมตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างขยะปลิว ไปจนถึงต้นไม้หัก น้ำท่วม หรือรถยนต์ที่ผ่านไปมาทำน้ำมันหก ทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของพนักงานกวาดถนนทั้งนั้น  แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นพนักงานกวาดถนน แต่หน้าที่การงานไม่ได้ทำแค่กวาดอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ เพราะควบรวมไปถึงการดูแลความเรียบร้อยทุกอย่างในพื้นที่นั้นๆ ด้วย […]

KIDS’ VIEW นิทรรศการภาพถ่ายฟิล์มครั้งแรกจากมุมมองเด็กสามจังหวัดชายแดนใต้

ปัตตานีเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีความสร้างสรรค์เป็นพลังช่วยเคลื่อนเมืองให้พ้นจากมุมมองและภาพจำเกี่ยวกับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ ทุกวันนี้เราได้เห็นศิลปะ ดนตรี ภาพยนตร์ รวมถึงการเกิดขึ้นของพื้นที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นทิศทางการพัฒนาเมืองที่ดีของจังหวัดทางใต้แห่งนี้  สำหรับชาวเมืองหลวงที่ยังไม่มีโอกาสไปปัตตานี เราอยากชวนไปงานอีเวนต์ของคนจากปัตตานีที่จัดแสดงอยู่ในกรุงเทพฯ ชื่อว่า ‘KIDS’ VIEW’ เป็นนิทรรศการภาพถ่ายผ่านมุมมองทางสายตาของน้องๆ นักเรียนชั้น ม.ปลาย ทั้งหมด 19 คน ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ ‘มูลนิธินูซันตาราเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา’ (Nusantara Patani) พวกเขาได้ถ่ายทอดมุมมองผ่านการจัดแสดงผลงานศิลปะภาพถ่ายกว่า 70 ภาพ เพื่อให้ผู้คนนอกพื้นที่ได้แลกเปลี่ยนรายละเอียดวิถีชีวิต ความนึกคิด และสิ่งที่เด็กกำพร้าในสามจังหวัดชายแดนใต้มองเห็นได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น  ความน่าสนใจของภาพถ่ายในงานนี้คือ ‘การใช้กล้องฟิล์มครั้งแรก’ ของน้องๆ  “เอากล้องทอยให้น้องไปคนละตัวและให้ฟิล์มกันไปคนละม้วน” อำพรรณี สะเตาะ อาจารย์จากสาขาวิชาศิลปะภาพถ่ายชาวปัตตานี จากวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกเล่าถึงการดำเนินงานของนิทรรศการ KIDS’ VIEW ให้ฟัง  อาจารย์ใช้เวลาพูดคุยกับเด็กๆ รวมถึงจัดเวิร์กช็อปการใช้กล้องฟิล์ม 101 เล่าความรู้เบื้องต้นการถ่ายภาพให้กับน้องๆ เป็นเวลา 10 กว่าวัน จากนั้นก็ปล่อยให้เหล่าช่างภาพมือใหม่ลงสนามตามหาสิ่งที่อยากถ่าย โดยไร้ซึ่งคอนเซปต์ ไม่มีการตีกรอบทางความคิดใดๆ  หลังจากที่อาจารย์นำฟิล์มครั้งแรกของน้องๆ ไปล้างและอัดรูปแล้ว ภาพทั้งหลายที่ได้มาล้วนมีเอกลักษณ์และมุมมองที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป เพราะจะถ่ายอะไรก็ได้ ทั้งในชุมชน […]

นั่งรถรางส่องประวัติศาสตร์กับ Co-create Chiang Rai โปรเจกต์พัฒนาเชียงรายให้เป็นเมืองสร้างสรรค์

01 ความทรงจำน้อยนิดระหว่างเราและจังหวัดเชียงราย คงเป็นวันหนึ่งในฤดูฝน แดดเช้าเย็นฉ่ำด้วยอายกลิ่นเมฆครึ้มในร้านกาแฟ ชาวเมืองต่างแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดที่ต้องไปให้ได้เมื่อมาเยือนแดนเหนือถิ่นนี้ เช่น เดินชมงานที่ ขัวศิลปะ ไป วัดร่องขุ่น ดูลวดลายฝีมืออาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ และที่ขาดไม่ได้คือ บ้านดำ พิพิธภัณฑ์แห่งชีวิตของถวัลย์ ดัชนี ซึ่งทุกสถานที่ที่เอ่ยมาล้วนอยู่นอกเมือง วิธีเดินทางง่ายๆ ที่แนะนำต่อกันมาคือ การเช่ารถยนต์สักคันเพื่อประหยัดทั้งเงินและเวลา เราอดคิดซ้ำๆ ในใจไม่ได้ว่าขนส่งสาธารณะทุกๆ ที่ควรเร่งปรับปรุงแก้ไขได้เสียที กลับมาเชียงรายอีกครั้งในฤดูกาลเดียวกันกับคราวก่อน รอบนี้เราไม่ได้ออกไปนอกเมือง แต่กำลังนั่งอยู่บนรถรางไฟฟ้า  “วันนี้เป็น Test Day ทดลองใช้และดูระยะการปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนขนาดเล็กภายในเมือง รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ในเมืองเชียงราย” อาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พูดผ่านไมค์เป็นการทักทายสำหรับการนำทัวร์เมืองล้านนาในวันนี้ ปกติแล้วรถรางไฟฟ้าของทางเทศบาลจะให้บริการในเมืองวันละ 2 รอบ แล่นไปยัง 4 จุดสำคัญ เป็นเส้นทางรถรางเชิงท่องเที่ยวสำหรับไหว้พระในเมืองเก่าเชียงรายที่มีหลายสิบวัด  แต่เพื่อการซัปพอร์ตมิติที่หลากหลายของผู้คนในเมืองมากขึ้น Test Day วันนี้เลยเพิ่มรอบรถรางเป็นทั้งหมด 8 รอบ ในบริเวณ 10 จุดสถานที่ที่ทางสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA), สำนักงานในจังหวัดเชียงราย, กลุ่มนักสร้างสรรค์ท้องถิ่น และคนในชุมชน […]

คุยกับผู้อยู่เบื้องหลังการรีโนเวตศูนย์ฯ สิริกิติ์ จากผ้าไทย สู่โอกาสของไทยในเวทีโลก

เหมือนเพิ่งจะรู้สึกเศร้าเสียดายกับการปิดปรับปรุงไปไม่นาน แต่รู้ตัวอีกทีก็ผ่านไปเกือบ 3 ปี จนได้เวลาที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้แล้ว แถมยังมีคิวงานยาวเหยียดรออยู่ ไม่ว่าจะเป็นงานหนังสือซึ่งจะกลับมาสู่บ้านหลังเดิมอีกครั้ง หรือการประชุมใหญ่อย่าง APEC Thailand 2022 ที่เราน่าจะได้เห็นการใช้งานศูนย์ประชุมใหม่แห่งนี้อย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ‘ความเป็นไทย’ เราเฝ้าครุ่นคิดถึงนิยามของคำคำนี้ตลอดบทสนทนากับ ‘ออ–อริศรา จักรธรานนท์’ ในห้องประชุมของ ONION บริษัทสถาปนิกผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบและตกแต่งภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ โดยมี Frasers Property Thailand เป็นผู้บริหารงานก่อสร้าง ในโลกที่เปรียบเสมือนหม้อใบใหญ่ เคี่ยวกรำวัฒนธรรมอันหลากหลายเข้าจนบางอย่างแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน อะไรคือสิ่งที่เราพอจะบอกได้ว่านี่แหละคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ภาษา สถาปัตยกรรม ดนตรี หรือว่าอาหาร “สืบสาน รักษา ต่อยอด” คือสามคำที่เธอเล่าว่าเป็นแก่นของการออกแบบในครั้งนี้ สิ่งที่อริศราและทีมต่อยอดออกมานั้น ไม่ใช่ความเป็นไทยในแบบที่จับต้องไม่ได้หรือถูกยกไว้บนหิ้ง แต่เป็นสิ่งที่สามารถอยู่ร่วมกับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไม่ประดักประเดิด ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นที่เชิดหน้าชูตาให้กับคนไทยได้ในฐานะศูนย์ประชุมแห่งชาติ แม้จะยังไม่สามารถเข้าไปดูศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ให้เห็นกับตา แต่เราก็ขอให้อริศราช่วยพาเราไปสำรวจเบื้องหลังการรีโนเวตในครั้งนี้ ซึ่งท้าทายตั้งแต่ขนาดพื้นที่ที่รับผิดชอบ อย่างการออกแบบอย่างไรไม่ให้คนเดินแล้วหลง ที่สำคัญคือต้องคำนึงถึงการแข่งขันในระดับนานาชาติอีกต่างหาก น้อยแต่มาก ไทยแต่เท่ จากโครงสร้างเดิมของศูนย์ฯ สิริกิติ์ที่สร้างขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 การรีโนเวตครั้งนี้ได้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ไม่เพียงพอ พื้นที่อาคารแห่งใหม่จึงถูกขยายให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่จอดรถเดิม จนได้พื้นที่ใช้สอยรวมกว่า […]

มนต์รักรถไขว่คว้า ลิเกเร่ที่อยากผลักดันให้รถไฟฟ้าเป็นบริการสาธารณะของทุกคน

ช่วงสองเดือนที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครดูจะมีกิจกรรมให้ชาวเมืองได้ร่วมสนุกกันอยู่ตลอด ทั้งดนตรีในสวนในเดือนมิถุนายน และเทศกาลหนังกลางแปลงในเดือนกรกฎาคมนี้ ทำให้ผู้คนได้ออกจากบ้าน มีกิจกรรมใหม่ๆ นอกจากเดินห้างฯ อีกทั้งยังช่วยให้เมืองมีชีวิตชีวาและคึกคักยิ่งกว่าเดิม  อีเวนต์เหล่านี้ถือเป็นกิจกรรมเพื่อประชาชน ที่อยากให้คนเมืองมีส่วนร่วมมากที่สุด เพราะส่วนใหญ่จัดขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ที่ชาวกรุงเข้าถึงได้แบบชิลๆ ด้วยรถโดยสารสาธารณะอย่างรถเมล์ ไปจนถึงรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าใต้ดินสำหรับคนที่ต้องการความรวดเร็ว ทว่าแม้จะเป็นกิจกรรมที่เปิดให้เข้าร่วมฟรี แต่ก็ยังมีคนอีกหลายกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงกิจกรรมเหล่านี้ได้ ไม่ว่าจะด้วยเพราะอยู่ในพื้นที่ที่ห่างจากตัวเมือง หรือแม้แต่การเดินทางที่ไม่สะดวกก็ตาม ต้องยอมรับว่าการโดยสารรถไฟฟ้านั้นช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางได้มากพอสมควร ไม่ต้องเสียสุขภาพจิตไปกับการเอาแน่เอานอนไม่ได้ในเมืองที่เต็มไปด้วยการจราจรติดขัดและปัญหาบนท้องถนน เราเองก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เลือกใช้รถไฟฟ้าในวันที่เร่งรีบ หรือไม่อยากเสี่ยงกับรถติด แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ใช้ชีวิตในเมืองจะสามารถใช้บริการรถไฟฟ้าได้อย่างที่ต้องการ เพราะความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชน ‘กลุ่มดินสอสี’ จึงเข้าร่วมโครงการสนับสนุนข้อเสนอและการรณรงค์เรื่องรถไฟฟ้าในชื่อ ‘ขนส่ง ขนสุข สาธารณะ’ ร่วมกับสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ในการจัด ‘ลิเกเร่เตร็ดเตร่ชุมชน’ เพื่อให้ ‘กลุ่มคนชายขอบ’ หรือกลุ่มคนจนเมืองที่เรียกได้ว่าเป็น ‘เส้นเลือดฝอย’ ได้มีโอกาสสนุกกับลิเกที่จะเข้าไปเล่นตามชุมชนของพวกเขากันบ้าง และกิจกรรมนี้ยังเป็นกระบอกเสียงเรื่องสิทธิและการเข้าถึงรัฐสวัสดิการอย่างเท่าเทียมให้แก่กลุ่มคนที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเมือง แต่แทบไม่ได้มีโอกาสใช้รถไฟฟ้าในฐานะรถสาธารณะเลย คณะลิเกเร่จะเข้าไปในบรรดาชุมชนที่ไม่มีโอกาสได้ใช้บริการรถไฟฟ้า หรืออาจจะน้อยจนนับครั้งได้ แม้ว่าจะอยู่ไม่ไกลก็ตาม แต่ด้วยราคาค่าบริการที่ค่อนข้างสูง ทำให้บางกลุ่มที่มีรายได้ต่ำไม่สามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ รถไฟฟ้าเป็นของทุกคน “รถไฟฟ้าเป็นการเดินทางที่สะดวกของคนชนชั้นกลาง แต่ในความเป็นจริงแล้ว รถไฟฟ้าควรจะมีไว้เพื่อทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนชนชั้นไหนก็ตาม เราอยากให้ทุกคนใช้บริการรถไฟฟ้าได้ อยากให้เข้าถึงทุกคน ไม่มีความเหลื่อมล้ำ” โซ่-ปริตอนงค์ […]

“ประดับวงการใช่ว่าจะไม่มีประโยชน์” 20 ปีของ ‘ภูมิจิต’ วงดนตรีที่ไม่มีวันดังอีกแล้ว

“วงดนตรีของเรายี่สิบปีพอดี ถ้ามองมุมนี้ก็ถือว่าเรามาได้ไกลกว่า The Beatles ประมาณหนึ่ง” เสียงของชายผู้รับหน้าที่เป็นนักร้องดังขึ้น “พรุ่งนี้พาดหัวข่าว วง ‘ภูมิจิต’ เย้ย The Beatles ไอ้ห่าดังเลยกู” มือกลองตบจังหวะนี้เรียกเสียงฮาลั่นห้องอัด  ต่อหน้าเราขณะนี้คือวงดนตรีภูมิจิต ในวันที่พวกเขากำลังอัดเพลงอัลบั้มใหม่ วงภูมิจิตมีสมาชิก 4 คนไล่จากนักร้องนำที่ทั้งแต่งเพลงและเล่นกีตาร์ พุฒิ-พุฒิยศ ผลชีวิน ถัดไปคือ กานต์-เกษม จรรยาวรวงศ์ มือกีตาร์เพื่อนสนิทร่วมห้องของพุฒิสมัยเรียนวิศวะที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่วนอีกสองคนคือสมาชิกใหม่ที่กลายมาเป็นฟันเฟืองสำคัญ ได้แก่ บอม-ธิตินันท์ จันทร์แต่งผล เล่นเบส และ แม็ก-อาสนัย อาตม์สกุล มือกลอง  20 ปีที่ผ่านมา วงดนตรีภูมิจิตมีผลงานเพลงทั้งหมด 4 อัลบั้ม ได้แก่ ‘Found and Lost’ (2551), ‘Bangkok Fever’ (2553), ‘Home Floor’ (2555) และปี 2561 คือ ‘MIDLIFE’ อัลบั้มล่าสุดที่ทั้งวงยกให้เป็น […]

“ดนตรีอยู่ที่ไหนก็ได้” – ‘ลภ เวลาเย็น’ ผู้จัดงานดนตรีที่อยากชวนทุกคนไปฟังเพลงกันซักแดด

ดนตรีมีหลากหลายแนวเพลง รูปแบบการเล่นดนตรีก็แตกต่าง การแสดงดนตรีย่อมไม่เหมือนกัน ในร้านเหล้า ผับ บาร์ คาเฟ่เป็นแบบหนึ่ง บนเวทีคอนเสิร์ต ในพื้นที่สาธารณะเป็นอีกแบบหนึ่ง ในงานตลาดนัดหรือเทศกาลดนตรีก็อีกแบบหนึ่ง ต่างรสนิยมและความสุนทรีย์ เป็นปัจเจก ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะเลือกแบบไหน ประเด็นที่สำคัญกว่าคือ ในประเทศไทยมีทางเลือกในการฟังเพลง ดูดนตรีกันสักกี่รูปแบบ จากผลกระทบของโรคระบาด ทำให้สองสามปีที่ผ่านมารูปแบบการจัดงานดนตรีต้องปรับเปลี่ยน ลดขนาด เว้นระยะห่าง ไม่แออัด ฯลฯ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ทำให้นึกถึง ‘ซักแดด’  ซักแดดคืองานดนตรีที่ใช้พื้นที่ในจังหวัดราชบุรีเป็นที่จัดงาน บริหารโดยทีมผู้จัดงานชื่อ ‘เวลาเย็น (Velayen)’ โดยมี ลภ-วัลลภ แก้วพ่วง เป็นหัวหน้าแก๊ง เขาเล่าว่า ซักแดดเกิดขึ้นมาพร้อมการปรับตัวในรูปแบบวิถีชีวิตใหม่หลังโรคระบาดมาเยือน เวลาเย็นกับการชวนไปซักแดด ก่อนจะไปฟังเรื่องของซักแดด เราอยากพาไปรู้จักกับหัวหน้าแก๊งเวลาเย็นกันก่อนสักนิด ลภเป็นคนบางแพ จังหวัดราชบุรี เรียนประถมฯ ต่อมัธยมฯ แถวบ้านได้ปีเดียว ก็เปลี่ยนมาต่อเทคนิคฯ ช่างไฟ ที่โพธาราม กระทั่งปี 2546 เขาก็เข้ากรุงเทพฯ มาเรียนวิศวกรรมไฟฟ้าที่เทคนิคกรุงเทพฯ จนเรียนจบออกมาใช้วิชาช่างไฟสร้างตัวอยู่ในเมืองหลวงราว 15 ปี ก่อนเปิดบริษัทรับเหมาเป็นของตัวเอง และตัดสินใจวางแผนกลับไปอยู่บ้านอีกครั้ง ปี […]

ตัวตนและการทำงานของ ‘แอดมินหมู’ มือไลฟ์คู่หูผู้ว่าฯ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’

“สวัสดีคร้าบบบ คุณผู้ชม ขณะนี้เราอยู่ที่สวนลุมพินีครับ” หลายคนคงคุ้นเคยการทักทายเป็นกันเองแบบนี้จาก ‘การถ่ายทอดสด’ หรือ ‘ไลฟ์’ ของ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ผู้ว่าฯ กทม. คนที่ 17 ซึ่งตั้งแต่รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ ชัชชาติได้ถ่ายทอดสดภารกิจในแต่ละวัน ตั้งแต่การวิ่งในเมืองแบบ City Run ช่วงเช้าตรู่ การลงพื้นที่พบปะชาวบ้าน ไปจนถึงการประชุมกับหน่วยงานต่างๆ ให้ประชาชนได้สำรวจกรุงเทพฯ ไปพร้อมกับผู้ว่าฯ แบบเรียลไทม์แทบจะตลอดทั้งวัน การถ่ายทอดสดของชัชชาติได้รับความนิยมอย่างมาก ไลฟ์แต่ละครั้งมียอดผู้ชมแบบ Real Time ทะลุหลักหมื่นอย่างรวดเร็ว ส่วนคอมเมนต์ก็เพิ่มขึ้นรัวๆ จนอ่านแทบไม่ทัน และมียอดวิวถึงหลักล้าน เราเชื่อว่าความสำเร็จเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากความมุ่งมั่นในการทำงาน การเปิดเผยข้อมูลแบบตรงไปตรงมา รวมไปถึงการให้ข้อมูลของชัชชาติที่ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาเมืองอย่างหลากมิติ ส่วนอีกคนที่ต้องยกเครดิตให้ก็คือ ‘แอดมินหมู’ มือไลฟ์เสียงนุ่ม มาดกวนนิดๆ ที่ตั้งคำถามแทนผู้ชมทางบ้านแบบตรงๆ แถมยังคอยแซวและหยอกล้อชัชชาติอย่างเป็นกันเอง ทำให้การไลฟ์สนุก ไม่น่าเบื่อ ดูได้เรื่อยๆ จนหลายคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาเสพติดการดูไลฟ์ชัชชาติงอมแงมชนิดที่ว่าดูแทนซีรีส์ยังได้  วันนี้เราขอพาทุกคนมาพูดคุยกับ ‘หมู-วิทยา ดอกกลาง’ หรือ ‘แอดมินหมู’ จากเพจ ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ […]

พาทัวร์อีเวนต์ไพรด์ Bangkok Pride: Rainbowtopia 17 – 19 มิ.ย. 65 ที่ BACC และ Siam Square

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ได้มีการเดินไพรด์พาเหรดในงาน ‘นฤมิตไพรด์’ เฉลิมฉลองความหลากหลาย และเรียกร้องเรื่องความเท่าเทียมทางเพศไปอย่างยิ่งใหญ่ในกรุงเทพฯ คราวนี้ถึงคิวของ ‘Bangkok Pride 2022: Rainbowtopia’ อีเวนต์ไพรด์อีกงานที่จัดเต็มทั้งศิลปะ เวิร์กช็อป เสวนา มาร์เก็ต และคอนเสิร์ต เพื่อร่วมเฉลิมฉลองคอมมูนิตี้ LGBTQ+  เทศกาลนี้จัดขึ้นโดย SPECTRUM ทีมสื่อที่ทำงานและสื่อสารเรื่องเพศมาอย่างยาวนาน โดยร่วมมือกับหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักกิจกรรม กลุ่มผู้ทำงานศิลปะ คลินิกสุขภาพทางเพศ วงการภาพยนตร์ หรือศิลปินนักดนตรี โดยมีเป้าหมายที่จะเห็นโลกแห่งความเท่าเทียมที่ทุกคนเคารพซึ่งกันและกัน ธีมของงานใช้ชื่อว่า ‘Rainbowtopia’ เนื่องจากต้องการชวนทุกคนมาวาดฝันและจินตนาการถึงโลกแห่งความเท่าเทียม ที่คนทุกเพศ ทุกเชื้อชาติ และทุกช่วงวัย ได้มีพื้นที่ปลอดภัยในเป็นตัวของตัวเอง รวมถึงได้รับสิทธิ สวัสดิการอย่างเท่าเทียมกัน  ภายในงานได้มีการแบ่งโซนกิจกรรมออกเป็นหลากหลายรูปแบบตามธีมย่อยที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสีทั้ง 6 บนธงไพรด์ โดยแบ่งพื้นที่จัดกิจกรรมออกมาเป็น 2 แห่ง ได้แก่ ภายในหอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ (BACC) และ สยามสแควร์ บล็อก I  บรรยากาศงานเป็นยังไงบ้าง สนุกสุดต๊าชแค่ไหน มีกิจกรรมใดที่ไม่ควรพลาด Urban Creature […]

1 5 6 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.