“ให้คิดว่าเป็นเหมือนทรัพย์สินของเราเอง” รู้จักอาชีพ ‘คนตรวจบ้าน’ กับ Mylovecondo

“ให้คิดว่าเป็นเหมือนทรัพย์สินของเราเอง” รู้จักอาชีพ ‘คนตรวจบ้าน’ ผ่านการทำงานตามแบบ Mylovecondo

‘เข้าใจสิ่งใหม่ และไม่ลืมสิ่งเก่าที่มีประโยชน์’ จี๊บ เทพอาจ ผู้ร่วมชุบชีวิตลิโด้

“เราไม่ค่อยปล่อยโอกาสเท่าไหร่ ถ้ามีอะไรที่ทำได้หรือรู้สึกว่าทำแล้วไม่ขัดกับตัวเอง ส่วนใหญ่จะทำหมด” ‘จี๊บ-เทพอาจ กวินอนันต์’ บอกเล่าให้เราฟัง เมื่อถามว่าทำไมผู้บริหารในแบบฉบับของเขาถึงมีสารพัดสิ่งที่ต้องจัดการเต็มไปหมด จี๊บเล่าให้ฟังว่า ทุกวันนี้เขาแบ่งการงานของชีวิตเป็นสองส่วนหลักๆ หนึ่งคือ ฝั่งเครื่องดื่ม ที่มีทั้งการดูแลในส่วนที่อิมพอร์ตเข้ามา อาทิ Budweiser, Hoegaarden ฯลฯ และสร้างโรงงานผลิตสุรา Thai Spirit Industry Co.,Ltd. ที่ผลิตคราฟต์เบียร์ยี่ห้อขุนแผน และมีบริษัท รอยัล เกทเวย์ จำกัด ดูแลการจัดจำหน่ายเครื่องดื่ม Full Moon, โซจูยี่ห้อคอมเบ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนสอนต้มเบียร์อุดมคติ รวมถึงธุรกิจร้านอาหาร HOBS เป็นต้น การงานส่วนที่สองคือ ฝั่งงานเอนเตอร์เทนเมนต์ เขาทำงานบริหาร 8 ค่ายเพลง นำโดย LOVEiS Entertainment และอีก 7 ค่าย ได้แก่ marr, LIT Entertainment, kiddo records, PROM+, Juicey, HolyFox, […]

Little Stove & Little Stump สนามเด็กเล่นและคาเฟ่ที่อยากให้ครอบครัวใช้เวลาคุณภาพร่วมกัน

กลิ่นขนมปังอบสดใหม่ลอยจางๆ ในอากาศ ลาเต้ร้อนแก้วหนึ่งวางอยู่ตรงหน้า เรายกขึ้นจิบเชื่องช้า ละเลียดรสขมจากกาแฟที่เบลนด์กับความหวานของน้ำผึ้งได้พอดี ความง่วงงุนจากการออกเดินทางแต่เช้าหายเป็นปลิดทิ้ง “เดือนนี้มีวันพิเศษคือวันผึ้งโลก เราอยากให้เด็กๆ เรียนรู้ว่าผึ้งเป็นสัตว์ที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อม ในส่วนของสนามเด็กเล่นจะมีเวิร์กช็อปที่สอนเด็กๆ เรื่องนี้ ส่วนคาเฟ่ก็จะทำเมนูที่อินสไปร์ควบคู่ไปด้วยกัน” หญิงสาวคนคิดเมนูอธิบายให้ฟัง หญิงสาวคนนี้คือ ‘พีช-วงศ์ณิชา วงศ์สืบชาติ’ หุ้นส่วน ‘คาเฟ่’ ที่เสิร์ฟกาแฟให้เรา ส่วนที่นั่งข้างกันคือ ‘พราว พุทธิธรกุล’ หุ้นส่วน ‘สนามเด็กเล่น’ ที่เพิ่งถูกพูดถึง Little Stove & Little Stump คือชื่อของคาเฟ่และสนามเด็กเล่นแห่งนี้ และถึงแม้จะตั้งชื่อแยกกันชัดเจน ทว่าทั้งสองร้านตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน นั่นคือลานกว้างริมคลองบางมดในย่านพระราม 2 ที่มีต้นไทรเก่าแก่ตั้งอยู่เด่นหรา รายล้อมไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ ไม่ผิดแน่ว่าเป็นความตั้งใจ พวกเธออยากให้ทุกคนในครอบครัวได้มีพื้นที่ใช้เวลาร่วมกันได้ แต่มากกว่านั้น-ในฐานะแม่ของลูก-พวกเธออยากให้ผู้ใหญ่ไม่พลาดโมเมนต์สำคัญของเด็ก เช้าวันนี้ที่ไร้เสียงเจี๊ยวจ๊าวของน้องๆ เราเอ่ยปากขอให้พวกเธอพาทัวร์คาเฟ่และสนามเด็กเล่นพร้อมกับเล่าเรื่องราวเบื้องหลัง ท่ามกลางกลิ่นขนมปังอบสดใหม่และสีเขียวของพรรณไม้ Little Bond ย้อนกลับไปหลายปีก่อน พีชกับพราวรู้จักกันผ่านสามีที่เป็นเพื่อนกัน ทั้งคู่เจอกันบ่อยจนกลายเป็นเพื่อนสาวคนสนิท แชร์ความชอบ ความฝัน และเรื่องราวในชีวิตประจำวันให้กัน ยิ่งได้มีลูกในระยะเวลาที่ไล่เลี่ยกันก็ยิ่งเข้าอกเข้าใจกันและกันมากขึ้น หนึ่งในความฝันที่ทั้งสองคนแชร์กันบ่อยๆ คือ ถ้ามีลูก […]

สัมผัสชะตาโศกของคนไร้บ้านที่ไร้สิทธิ์ไร้เสียงกับ ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’

‘ยามเดินสวนกัน ไม่ว่าใครก็หลบสายตา แต่กลับถูกเฝ้าจับจ้องจากผู้คนมหาศาล นิยามนั้นคือชีวิตคนไร้บ้าน’ แม้จะเป็นคนที่ค่อนข้างสนใจประเด็นสังคมอยู่บ้าง แต่กับประเด็นคนไร้บ้าน ฉันคงต้องบอกว่าค่อนข้างเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่แม้ว่าในโลกแห่งความจริงมันจะแสนใกล้ตัว เพราะเคยนั่งรถหรือเดินผ่านคนกลุ่มนี้แถวถนนราชดำเนินและมุมอื่นๆ ในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยๆ ที่บอกว่าไกลตัวเพราะสารภาพตามตรงว่าตัวเองไม่เคยสนใจศึกษาประเด็นนี้อย่างจริงจัง แน่นอนว่ามีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเขาอยู่แล้ว แต่ไม่มีทางที่จะเข้าอกเข้าใจได้ เพราะไม่เคยสนทนาหรือคลุกคลีกับคนกลุ่มนี้แม้แต่น้อย จนกระทั่งเมื่อปีก่อน ไม่รู้อะไรดลใจให้ฉันหยิบหนังสือเกี่ยวกับชีวิตคนไร้บ้านในกองดองมาอ่าน เริ่มต้นด้วยรวมเรื่องสั้น ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ก่อนไปเสาะหาความเรียง ‘สายสตรีท’ มาอ่านเพิ่มเติม หนังสือทั้งสองเล่มเขียนโดย ‘บุญเลิศ วิเศษปรีชา’ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สนใจประเด็นชีวิตคนชายขอบ และเป็นนักวิชาการไทยผู้เป็นที่รู้จักจากการทำงานวิจัยที่เอาตัวเองไปใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้าน ทั้งในประเทศไทย (สนามหลวง กรุงเทพฯ), ประเทศญี่ปุ่น (กรุงโตเกียว) และกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ คุณบุญเลิศเคยกล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ท้ายหนังสือ ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ถึงความแตกต่างของโครงสร้างสังคมและค่านิยมที่ส่งผลต่อสถานภาพของคนไร้บ้านของแต่ละประเทศ โดยเปรียบเทียบผ่านประเทศฟิลิปปินส์ที่มีคนไร้บ้านจำนวนมาก จนมีชุมชนคนไร้บ้านของตัวเองตามย่านต่างๆ และประเทศญี่ปุ่นที่มีจำนวนคนไร้บ้านไม่มากเท่า ทั้งยังไม่ได้พบเจอได้ง่ายๆ เนื่องจากพวกเขาไม่เป็นที่ยอมรับ ต้องหลบซ่อนตัวจากผู้คน ทั้งยังถูกมองว่าใช้ชีวิตได้ล้มเหลว ทำให้คนไร้บ้านที่ญี่ปุ่นมีความกดดัน เครียด และมีสถานะที่ต่ำต้อยจากการหลบๆ ซ่อนๆ และนั่นนำมาสู่การอ่านนิยายเรื่อง ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’ โดย Yu […]

‘จักรพรรดิพงษ์’ ถนนทางผ่านย่านโรงพิมพ์หนังสือ ที่กำลังถูกปลุกให้ตื่นจากหลับใหล

ในวันที่ย่านเก่าอย่างนางเลิ้งและหลานหลวง เป็นปลายทางของผู้คนที่หลั่งไหลมาฮอปปิงคาเฟ่ที่ผุดขึ้นมากมายในพื้นที่ คืนความคึกคักกลับเข้ามาในพื้นที่โอลด์ทาวน์แถบนี้อีกครั้ง ไม่ต่างกับยุครุ่งเรืองของตลาดนางเลิ้งเมื่อครั้งอดีตที่เป็นจุดหมายของเหล่าหนุ่มสาวชาวพระนครมายาวนาน ใกล้ๆ กันยังมีอีกชุมชนหนึ่งตั้งอยู่ตรงกลาง ริมสองฝั่งของ ‘ถนนจักรพรรดิพงษ์’ ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมร้อยทั้งสองย่านที่ว่านี้เข้าด้วยกัน แม้วันนี้จะอยู่ในสถานะของทางผ่านจนหลายคนอาจมองข้ามไป หรือถูกเหมารวมไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของย่านข้างเคียง ทว่าจริงๆ แล้วตรงนี้ก็มีคาแรกเตอร์ที่โดดเด่นไม่น้อย เพราะแต่ก่อน บนถนนสายนี้เคยเต็มไปด้วยโรงพิมพ์และร้านหนังสือการ์ตูนในวันที่สิ่งพิมพ์เฟื่องฟู มีร้านทำผมบาร์เบอร์และซาลอนยุคเก่าตั้งเรียงรายกว่าสิบร้าน ไปจนถึงภาพชินตาอย่างร้านกล้วยแขกหลากหลายสีเอี๊ยมที่เป็นสัญลักษณ์ประจำย่านนี้ ชวนย้อนความหลังฟังเรื่องเล่าจากหลายปากเสียงของชาวชุมชนจักรพรรดิพงษ์ ถึงบรรยากาศในอดีตของย่าน พัฒนาการของร้านค้าและชุมชน ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่กำลังปลุกให้ย่านทางผ่านที่หลับใหลค่อยๆ ตื่นขึ้นมาอีกครั้ง ถนนที่นำพระนามอันไพเราะของพระอนุชาของรัชกาลที่ 5 มาตั้งเป็นชื่อนั้น คือผลพวงส่วนหนึ่งของการพัฒนาเมืองเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว โดยตัดแยกมาจากถนนบำรุงเมือง ถนนสายแรกๆ ในสยาม เชื่อมกับถนนราชดำเนิน เส้นเลือดใหญ่ที่เชื่อมระหว่างโซนเมืองเก่าตรงพระบรมมหาราชวังกับเมืองใหม่ (ในสมัยนั้น) แถบดุสิต แต่แรกเลยแถบนี้ยังเป็นพื้นที่สวนตามประสาบรรยากาศชานเมือง กว่าจะมีอาคารพาณิชย์ตลอดสองฝั่งถนนจักรพรรดิพงษ์แบบที่เห็นกัน ก็ต้องรอจนถึงประมาณช่วงทศวรรษ 2490 หลังจากนั้นจึงเริ่มเป็นย่านการค้าที่มีร้านรวงต่างๆ เข้ามาจับจองพื้นที่เพื่อประกอบกิจการกันอย่างหลากหลาย นอกจากร้านทำผมแล้ว ก็มีร้านตัดเสื้อสูท ร้านทำฟันแบบโบราณ ทำแป้งประหน้า ร้านเอกซเรย์ ร้านขายเคมีภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งสลับสับเปลี่ยนเจ้าของอยู่ตลอด บ้างก็ย้ายไปที่อื่นแล้วในตอนนี้ บางห้องก็ยังมีลูกหลานอยู่กระทั่งปัจจุบัน ‘สุขศาลานางเลิ้ง’ อดีตสถานอนามัยของชาวกรุง “ชุมชนป้าไม่ใหญ่ แต่มีสตอรีเยอะ” ป้าจิ๋ว […]

Chook แอปฯ เดลิเวอรีที่เชื่อว่าอาหารโฮมเมดพิเศษ จนสร้างแพลตฟอร์มให้เชฟที่ไม่มีหน้าร้าน

วันนี้ ที่ออฟฟิศ Urban Creature มีข้าวกลางวันฟรี เป็นเมนูแกงเขียวหวานเนื้อของร้าน ‘บ้านศรีโบว์’ ที่นอกจากจะใช้เนื้อวัวที่ตุ๋นจนเปื่อยเป็นวัตถุดิบหลัก น้ำแกงยังมีสีเขียวกว่าแกงเขียวหวานทั่วไป ไม่ได้ปรุงพลาดหรือใส่เครื่องแกงเยอะเกินไป แต่เป็นสูตรลับเฉพาะของคนทำที่บอกว่า แกงเขียวหวานบ้านเขาต้องเขียวแบบนี้เท่านั้น แกงเขียวหวานของร้านบ้านศรีโบว์ไม่ได้หาซื้อที่ไหนก็ได้ ถ้าไปเสิร์ชในแอปฯ สั่งอาหารทั่วไปคงไม่เจอ ยกเว้นแอปฯ เดียวที่ทางร้านเปิดขายชื่อ Chook Chook คือแอปฯ สั่งอาหารน้องใหม่ที่เปิดตัวในยุคที่ตลาดแอปฯ เดลิเวอรีแข่งขันกันอย่างดุเดือด แต่เอกลักษณ์ที่ทำให้ Chook โดดเด้งมากกว่าแอปฯ ไหน คือการเป็นแอปฯ ที่ขายเฉพาะเมนูโฮมเมดเท่านั้น แกงเขียวหวานของร้านบ้านศรีโบว์ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ในแอปฯ ยังมีเมนูและร้านอาหารจากครัวประจำบ้านอีกนับร้อยให้เลือกสรร ความน่ารักคือร้านเหล่านี้ไม่ได้มีหน้าร้านจริงจัง และเชฟผู้ปรุงเมนูเหล่านั้นอาจไม่ได้ทำอาชีพเชฟจริงจัง แต่เป็นคนธรรมดาๆ ที่ทำอาหารอร่อย และอยากแชร์สูตรอาหารโฮมเมดในบ้านตัวเองให้คนอื่นกินบ้าง เบื้องหลังแอปฯ ที่ธรรมดาแต่พิเศษนี้เป็นยังไง Vincent Kao ผู้ก่อตั้งแอปฯ มีนัดกับเราที่ออฟฟิศ Urban Creature เพื่อเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ฟัง ไม่ใช่แค่เล่า แต่ชายหนุ่มยังขอเลี้ยงมื้อกลางวัน แน่นอนว่ามันคือเมนูแกงเขียวหวานร้านบ้านศรีโบว์ หนึ่งในเมนูอาหารโฮมเมดซึ่งเปิดขายในแอปฯ ที่เขาสร้างขึ้นมานั่นเอง อาหารประจำครอบครัว “ทุกคนมีเรื่องราวเกี่ยวกับอาหารที่บ้านของตัวเอง” คือประโยคที่จุดประกายให้วินเซนต์ริเริ่มสตาร์ทอัปชื่อ Chook ไม่ต่างจากเราทุกคน […]

‘SiraWigs’ อาณาจักรวิกทอมือของ ‘ไจ๋ ซีร่า’ ที่อยากให้คนไทยสนุกและมั่นใจกับการแปลงโฉม

เมื่อพูดถึง ‘วิกผม’ หลายคนอาจมองว่าเป็นสิ่งของฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต แต่สำหรับคนจำนวนไม่น้อย วิกผมอันเดียวกันนี้คือหนึ่งในเครื่องมือประกอบอาชีพที่ เสริมสร้างความมั่นใจ หรือแสดงออกถึงตัวตนที่ซ่อนลึกอยู่ภายในให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาคนภายนอก เพื่อทำความเข้าใจถึงการมีอยู่ของลักษณะและประเภทของวิกผมในท้องตลาด วันนี้คอลัมน์ The Professional จึงขอชวน ‘ไจ๋-ศิรวิชญ์ กมลวรวุฒิ’ หรือ ‘ไจ๋ ซีร่า’ Drag Queen เบอร์ต้นๆ ของวงการที่ตัดสินใจเปิดธุรกิจ ‘SiraWigs’ แบรนด์วิกทอมือที่ถูกเรียกกันจนติดปากว่า ‘วิกพี่ไจ๋’ มาพูดคุยแบบลงลึกถึงจักรวาลวิกทอมือตั้งแต่วันแรกมาจนถึงวันนี้ เหตุผลอะไรที่ทำให้บรรดาลูกๆ Drag Queen ทั้งหลาย รวมไปถึงเซเลบ ดารา อินฟลูเอนเซอร์ และบุคคลทั่วไปที่มีความต้องการใช้วิกต่างมองหาวิกจาก SiraWigs เป็นอันดับแรกๆ เราขอชวนทุกคนไปหาคำตอบพร้อมๆ กัน Drag Queen กับวิกผมเป็นของคู่กัน การถือกำเนิดของแบรนด์ ‘SiraWigs’ นั้นมีสารตั้งต้นมาจากอาชีพ Drag Queen ของไจ๋ ที่ทำให้ต้องคลุกคลีอยู่กับวงการวิกผมมาโดยตลอด ซึ่งจุดเริ่มต้นในครั้งนี้เกิดจากการเจอกันของไจ๋และเพื่อน Drag ชาวเยอรมนีเมื่อครั้งที่ไจ๋อยู่ประเทศออสเตรเลีย “เราเป็นนางโชว์มาก่อน พอขยับจากนางโชว์มาเป็น Drag Queen เรื่องของวิกก็กลายเป็นเรื่องคู่กันที่ขาดไม่ได้ […]

เบื้องหลังเอ็มวี strawberry ice cream เพลงเดบิวต์ MXFRUIT เกิร์ลกรุ๊ปไทยที่ดังไกลถึงเกาหลี โดยสอง ศาศวัต

ในช่วงที่กระแส T-POP ยังมาแรงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นศิลปินเดี่ยวหรือศิลปินกลุ่มที่ทยอยเดบิวต์กันเรื่อยๆ แต่ละวงล้วนแล้วแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเสน่ห์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งผู้ชมอย่างเราๆ จะเห็นได้จากการร้อง การเต้น และการแสดงของพวกเขาในเอ็มวี หนึ่งในวงที่เราสนใจช่วงนี้คือ ‘MXFRUIT’ (มิกซ์ฟรุต) วงเกิร์ลกรุ๊ปที่เต็มไปด้วยสีสันมากมายคล้ายผลไม้เมืองร้อน ซึ่งเหล่าสมาชิกของวงประกอบด้วย มิเคลล่า, อปป้าเพชร, สกาวเดือน, ขนมจีน และโรเชล แอบสารภาพว่าตอนฟังเพลงวงนี้ครั้งแรก เรานึกว่าเป็นวงต่างประเทศด้วยซ้ำ เพราะจากเนื้อเพลงที่เป็นภาษาอังกฤษ สำเนียงการร้อง รวมถึงมู้ดในเพลงที่มีความอินเตอร์ แต่พอกดเปิดดูเอ็มวีก็พบว่าจริงๆ แล้ววงนี้เป็นวงไทย แถมยังใช้สถานที่ในการถ่ายเป็นย่านต่างๆ ในกรุงเทพฯ ที่ไม่ซ้ำใคร ตั้งแต่ร้านคั่วไก่ ตลาดสด จนถึงตรอกซอยเล็กๆ ที่บางแห่งเรายังไม่เคยไปด้วยซ้ำ ด้วยเหตุนี้ เราจึงนัดหมาย ‘สอง-ศาศวัต เลิศฤทธิ์’ ผู้กำกับเอ็มวีเพลงเดบิวต์ของพวกเธอทันที เพราะนอกจากเขาจะดึงตัวตนที่สดใสร่าเริง และเสน่ห์ของสมาชิกวง MXFRUIT ออกมาผ่านเอ็มวีตัวแรกในชีวิตของพวกเธอได้เป็นอย่างดีแล้ว เรายังรู้มาว่าเขาคือคนหนึ่งที่อยู่กับสาวๆ มาตั้งแต่ต้น แถมยังมีส่วนกำหนดทิศทางของวงให้ออกมาเป็นมู้ดโทนอย่างที่ทุกคนเห็น เพื่อที่ผู้ชมจะได้รู้สึกหลงรักวงผลไม้ผสมนี้เหมือนอย่างที่สองรู้สึก ความเป็นธรรมชาติของ MXFRUIT ด้วยความที่สองอยู่ในวงการทำภาพยนตร์มาก่อนแล้ว และเคยกำกับเอ็มวีให้วงอื่นๆ มามากมาย การได้รับโจทย์จากค่าย ILY LAB โดยบริษัท […]

JAIKLA แบรนด์ขนมหมาจากโปรตีนแมลงที่เชื่อว่าน้องหมาก็ช่วยโลกได้

สัมภาษณ์ผู้คนที่ทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนมาหลายคน ใครจะคิดว่าวันหนึ่งเราจะได้นั่งคุยกับเจ้าของธุรกิจขนมหมา ‘ขนมหมากู้โลก’ แวบแรกที่ได้ยินนิยามนี้ของขนมยี่ห้อ JAIKLA เราก็ไม่กล้าเชื่อเท่าไหร่ แต่เมื่อได้สนทนากับผู้ก่อตั้งแบรนด์อย่าง ‘โด่ง-อิทธิกร เทพมณี’ และ ‘เพชร-พชรพล อัจฉริยะศิลป์’ เราก็เชื่อว่ามันเป็นไปได้จริงๆ เพราะนี่ไม่ใช่ขนมหมาธรรมดา แต่เป็นขนมที่ทำมาจากโปรตีนแมลงที่เลี้ยงอย่างดีในฟาร์มเฉพาะ เลี้ยงด้วยเศษผักและอาหารส่วนเกินที่รับมาจากแหล่งต่างๆ ในไทย นอกจากจะนำแมลงเหล่านั้นมาแปรรูปเป็นขนมคุกกี้กรอบรสชาติถูกใจเหล่าน้องๆ ในปี 2022 พวกเขายังช่วยลดปริมาณอาหารส่วนเกินในบ้านเราไปได้เกือบ 15 ตัน! ใครจะคิดว่าน้องหมาสี่ขาที่บ้านเราจะช่วยเซฟสิ่งแวดล้อมได้ แต่พวกเขาก็พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าทำได้ เรื่องราวการทำขนมของโด่งและเพชรก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะต่อให้เป็นพ่อหมาที่เลี้ยงหมาของตัวเองอยู่แล้ว พวกเขาก็สารภาพกับเราว่าการทำขนมหมานั้นไม่ง่ายเลย ยิ่งท้าทายเข้าไปอีกเพราะเป็นขนมหมากู้โลก นอกจากโปรตีนแมลงที่เป็นส่วนผสมหลัก ขนมแบรนด์ JAIKLA มีอะไรเป็นส่วนประกอบบ้าง ให้บทสนทนาต่อจากนี้ของพวกเขาเล่าให้ฟัง ส่วนประกอบที่ 1ความมั่นคงทางอาหารที่ถูกสั่นคลอน ‘รู้จักประเด็นโลกร้อนแค่ผิวเผิน และไม่ได้รู้สึกว่าต้องเข้าไปแก้ไขอะไรมัน’ ถ้าคุณเคยรู้สึกแบบเดียวกัน โด่งบอกว่าเราเป็นเพื่อนกันได้ ด้วยพื้นฐานความรู้ด้านบริหารธุรกิจ เคยไปนั่งตำแหน่งนักวิเคราะห์การลงทุนที่ให้ความสำคัญกับเงินและประโยค ‘Greed is Good’ (ความโลภคือสิ่งดี) อยู่หลายปี โด่งไม่เคยคิดว่าวันหนึ่งจะได้มาเป็นส่วนหนึ่งของแวดวงที่ขับเคลื่อนเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่ก็เป็นการงานอีกนั่นแหละที่ดึงดูดให้เขาได้เข้าไปคลุกคลีกับเรื่องนี้ เพราะต้องติดตามเทรนด์ธุรกิจ ซึ่งหนึ่งในเทรนด์ที่มาแรงและมีผลต่อทุกอุตสาหกรรมคือความยั่งยืน โดยโด่งไปอ่านเจองานวิจัยหนึ่งขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture […]

Make a Wish เมืองมูเตลู

ในโลกยุคโลกาภิวัตน์และเศรษฐกิจฝืดเคือง ผู้คนต่างประสบปัญหามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงิน สุขภาพ หรือความรัก อีกทั้งยังไร้ที่พึ่งพิง สิ่งสุดท้ายที่คนจำนวนมากมักนึกถึงคือ การกราบไหว้ขอพรต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพและศรัทธา นับว่าเป็นอีกหนึ่งครั้งในรอบหลายปีที่เราได้กลับไปในพื้นที่ที่ได้รับความนิยมในการสักการบูชาองค์เทพต่างๆ โดยเฉพาะในย่านมูเตลูสุดฮิตอย่างบริเวณแยกราชประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นพระพิฆเนศและพระสทาศิวะที่ตั้งตระหง่านอยู่หน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ พระแม่ลักษมีที่อยู่บนดาดฟ้าชั้นสี่ของศูนย์การค้าเกษรวิลเลจ พระพรหมที่เป็นจุดแลนด์มาร์กสำคัญบริเวณสี่แยกราชประสงค์ ไปจนถึงวัดพระศรีมหาอุมาเทวีหรือที่เราเรียกสั้นๆ ว่าวัดแขกในย่านสีลม พร้อมกับสำรวจความเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ใหม่ในบริเวณนั้น

ปลุกความสร้างสรรค์ที่ย่าน ‘เจริญรัถ’ แหล่งค้าหนังและอุปกรณ์งานคราฟต์ของกรุงเทพฯ

ถ้าอยากทำกระเป๋าหนังสักใบ หรือหาอะไหล่นำกลับไปทำงาน DIY ที่บ้านในวันที่ไอเดียพรั่งพรู เหล่านักประดิษฐ์ตัวยงหรือดีไซเนอร์มือฉกาจต่างแนะนำเป็นเสียงเดียวกันว่า ‘เจริญรัถ’ คือคำตอบชนิดที่มาครบจบในที่เดียวได้ ย่านเจริญรัถ ใกล้กับวงเวียนใหญ่ ในฝั่งธนบุรี เรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวมกิจการร้านค้างานหนังแบบครบวงจรที่ขึ้นชื่อลือชามานานหลายสิบปี ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าหนังแท้และหนังเทียม สารพัดอุปกรณ์ตัด ตอก หรืออะไหล่ตกแต่งกระเป๋าให้สวยเก๋ ไปจนถึงร้านลับคมกรรไกรที่แทบไม่ค่อยเห็นแล้วในทุกวันนี้ ต่างแทรกตัวอยู่บนถนนเจริญรัถทั้งสิ้น คอลัมน์ Neighboroot ชวนสาวเท้าก้าวตามเจ้าของโรงเรียนสอนทำกระเป๋าบนถนนเจริญรัถ ฟังความเป็นมาของย่าน ทำความรู้จักร้านขายหนังและสารพัดอุปกรณ์รุ่นเก๋าที่เด็ดดวงสุดในย่าน จากปากของคนพื้นที่ที่คัดสรรมาให้แล้ว   MHA Art & Craft : โรงเรียนสอนทำกระเป๋าหนังแห่งย่านเจริญรัถ “เคยพูดเล่นๆ ว่า ถ้าหาหนังแล้วที่อื่นไม่มี และที่นี่ก็ไม่มี ก็ไม่ต้องหาละ” เจ้าของ MHA Art & Craft โรงเรียนสอนทำกระเป๋าอย่าง ‘พี่แบงค์-บุญชัย บุญนพพรกุล’ บอกอย่างติดตลก ถึงนิยามความเป็นย่านเจริญรัถ ย่านค้าหนังอันเลื่องชื่อของไทย  บทสนทนานี้เกิดขึ้นใต้ชายคาของตึกแถวที่เป็นทั้งโรงเรียนสอนทำกระเป๋า คาเฟ่ และประตูบานแรกก่อนเข้าสู่ถนนเจริญรัถ จากปากของทายาทโรงงานทำกระเป๋าหนังส่งออกและเจ้าของโรงเรียน เวิร์กช็อปสเปซสำหรับผู้สนใจและหลงใหลในงานหนัง ซึ่งเข้าสู่ขวบปีที่สิบแล้วในวันนี้ “ช่วงนั้นเกิดปรากฏการณ์ใหม่ คนสร้างแบรนด์เองง่ายขึ้นผ่านโซเชียลมีเดีย จังหวะนั้นก็เลยเกิดโรงเรียนของเรา […]

KARAVA แบรนด์องค์เทพตั้งโต๊ะของคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนภาพจำไอเทมมูฯ ให้ดูโมเดิร์น

ไม่ว่าคุณจะเรียกตัวเองว่าสายมูฯ หรือไม่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าชีวิตประจำวันของเราเชื่อมโยงกับการมูเตลูไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การไหว้พระและรูปบรรพบุรุษให้คุ้มครองก่อนออกจากบ้าน การตามหาเลขเด็ดก่อนวันที่ 1 และ 16 ของเดือน หรือการขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือก่อนการพิตช์งานใหญ่ เหล่านี้คือตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ที่ถ้าคุณไม่ได้ทำเอง ก็ต้องมีคนใกล้ตัวสักคนทำ แน่นอน เรามูฯ เพราะคาดหวังความสำเร็จในสิ่งหนึ่งสิ่งใด หรืออย่างน้อยที่สุดเราก็มูฯ เพื่อหล่อเลี้ยงความหวังและความสบายใจ บางครั้งการมูฯ ก็เป็นการตั้งหลักในใจก่อนจะเริ่มต้นทำอะไรสักอย่าง ‘บุ๊ค-หัสวีร์ วิรัลสิริภักดิ์’ และ ‘เคน-นันท์ธร พรกุลวัฒน์’ ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Karava ก็คุ้นเคยกับการมูเตลูมาตั้งแต่เด็กๆ พวกเขาอินกับการมูฯ มากจนเปิดธุรกิจไอเทมมูเตลูของตัวเอง เริ่มตั้งแต่สร้อยข้อมือหินมงคลพลังงานดี ไปจนถึงองค์เทพตั้งโต๊ะบูชา ที่น่าสนใจมันอยู่ตรงที่ว่า องค์เทพของแบรนด์ Karava ไม่ได้มีหน้าตาเหมือนองค์เทพที่เราเคยเห็นทั่วไป แต่ผ่านการดีไซน์ให้โมเดิร์นขึ้นเพื่อเอาใจคนรุ่นใหม่ ให้นำไปจัดวางไว้กับบ้าน Modern Luxury ที่ได้รับความนิยมในยุคนี้ได้อย่างไม่เคอะเขิน แนวคิดเบื้องหลังการดีไซน์ไอเทมมูเตลูของทั้งคู่เริ่มต้นยังไง คอลัมน์ Re-desire รอบนี้พาไปหาคำตอบกัน ธุรกิจมูเตลูของสายมูฯ ตัวจริง “ที่บ้านคนนี้เลยครับ” เคนผายมือไปที่บุ๊ค เมื่อเราถามถึงจุดเริ่มต้นการเป็นสายมูฯ ของทั้งคู่ บ้านของบุ๊คเป็นบ้านคนจีน คุณพ่อของเจ้าตัวมีตู้พระตู้ใหญ่ที่สะสมองค์พระดังๆ จากวัดมากมายในหลักร้อยชิ้น […]

1 2 3 4 5 6 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.