เต้นสวิง เพลงแจ๊ส และการพัฒนากรุงเทพฯ ให้ดีขึ้นกว่าเดิม

หากพูดถึงการเต้นสวิง อาจจะดูเป็นเรื่องเก่าและไกลตัว แต่หลังจากช่วงโควิด-19 เบาลง หลายคนก็มองหากิจกรรมใหม่ๆ นอกบ้าน ทำให้แสงไฟที่สาดส่องฟลอร์เต้นก็ขยับขยายมากขึ้น พร้อมกับจำนวนนักเต้นมากหน้าหลายตาที่เพิ่มมาจากความสนุกของการได้เต้นและเพลงแจ๊สที่บรรเลงกลมกลืนไปกับจังหวะการขยับร่างกาย จากที่เคยเป็นกิจกรรมของคนกลุ่มเล็กๆ ในสตูดิโอ การเต้นสวิงก็กระจายตัวออกมาสู่การเป็นอีเวนต์ในพื้นที่สาธารณะ ทำให้สังคมให้ความสนใจกับอีเวนต์นี้มากขึ้น และยังส่งต่อไปถึงการเห็นภาพความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ เพื่อทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ดีขึ้นได้อีกด้วย คุยกับ The Stumbling Swingout และ Jelly Roll Jazz Club สองทีมงานเบื้องหลังอีเวนต์ STEP INTO SWING : Take the A Train at Hua Lamphong ที่อยากให้การเต้นสวิงเป็นคัลเจอร์ที่แข็งแรงและเติบโตต่อไปในอนาคต

พัฒนาชุมชนด้วยการเชื่อมคนนอกกับคนในย่านหัวลำโพง | ริทัศน์บางกอก

“ภาพจำของย่านหัวลำโพงสมัยก่อน คนอาจนึกถึงแค่ตัวสถานีรถไฟ จนไม่ค่อยเล็งเห็นถึงวิถีชีวิตของคนที่อยู่บริเวณรอบข้าง ทั้งที่เรามองว่าสิ่งนี้ก็เป็นเสน่ห์หนึ่งของย่านหัวลำโพงที่ยังไม่เคยมีใครพูดถึงมาก่อนเหมือนกัน” ‘ริทัศน์บางกอก’ เกิดขึ้นจากการรวมตัวของแก๊งเพื่อน ‘มิว-ญาณิน ธัญกิจจานุกิจ’, ‘จับอิก-ปกรณ์วิศว์ เวียงศรีพนาวัลย์’ และ ‘รวงข้าว-อภิสรา เฮียงสา’ ที่ร่วมกันทำกิจกรรมจนทำให้ชุมชนย่านหัวลำโพงกลับมามีชีวิตอีกครั้งโดยไม่ต้องพึ่งพิงเพียงสถานีรถไฟ เพราะพวกเขาเชื่อว่า การจะพัฒนาเมืองได้ต้องเริ่มจากการสร้าง Sense of Belonging และเชื่อมคนนอกและคนในเข้าด้วยกันก่อน แล้วการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพจะตามมาเอง Urban Creature ชวนคุยกับ ‘ริทัศน์บางกอก’ กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองที่เข้ามาพัฒนาและรื้อฟื้นวิถีชีวิตชุมชนย่านหัวลำโพงให้เป็นมากกว่าสถานีรถไฟ พร้อมทำให้เห็นถึงศักยภาพของพื้นที่ที่ไปได้ไกลมากกว่าเดิม สามารถติดตามกลุ่มริทัศน์บางกอกได้ที่ : www.facebook.com/rtusbangkok/?locale=th_TH

พัฒนาย่านอารีย์กับกลุ่มคนขับเคลื่อนเมือง | AriAround

‘อารีย์’ ย่านชิกที่หลายคนอาจจะมีภาพจำของการไปเที่ยวคาเฟ่และถ่ายรูปกันเป็นประจำ ทั้งที่จริงแล้วภายในย่านนี้กลับไม่ได้มีแค่ร้านกาแฟอยู่มากมาย แต่ยังมีธรรมชาติภายใต้เมืองให้เราได้สัมผัส รวมถึงคอมมูนิตี้ที่แข็งแรงที่พร้อมเปิดรับให้ทุกคนเข้ามา และสถานที่ Hidden Gems ที่หลายคนอาจไม่ได้รู้ ซึ่งอารีย์อาจไม่ได้เป็นอย่างนี้เลยหากว่าที่ย่านนี้ไม่ได้มีกลุ่มคนที่คอยซัพพอร์ตการพัฒนาย่านอย่าง ‘AriAround’ อยู่ “เมื่อก่อนเราคิดว่างานพัฒนาเมืองเป็นงานของรัฐ แต่มันลำบากจนต้องลุกขึ้นมาทำอะไรแล้ว สุดท้ายพอเราลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง ได้คอนเนกต์กับรัฐ เราถึงเห็นว่ารัฐก็อยากทำงาน แต่บางทีเขาก็ไม่รู้ว่าจะคอนเนกต์กับคนอย่างไร “การที่มี AriAround มันพาคนในพื้นที่มาคอนเนกต์กับคนจำนวนมากในพื้นที่อีกทีหนึ่ง” AriAround คือแพลตฟอร์มทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ที่เป็นตัวกลางเชื่อมคนในย่านอารีย์ให้เข้าหากันและกัน ทั้งยังสร้างเสริมคอมมูนิตี้ให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น เพื่อหวังว่าทุกคนในย่านจะมีชีวิตที่ดีและใช้ชีวิตในย่านได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น เพราะการพัฒนาเมืองไม่ได้มีเพียงแค่รัฐที่ทำได้ฝ่ายเดียว Urban Creature เลยไปคุยกับ ‘อรุ-อรุณี อธิภาพงศ์’ ผู้ร่วมก่อตั้ง AriAround ถึงพื้นที่อารีย์ในปัจจุบัน และความเปลี่ยนแปลงของย่านอารีย์หลังจากที่กลุ่มคนขับเคลื่อนเมืองนี้ได้สร้างพื้นที่ให้มีมากกว่าแค่ร้านกาแฟถ่ายรูปชิกๆ เก๋ๆ

มองหนังฮ่องกงผ่านเลนส์ผู้กำกับร่วมสมัย

เมื่อพูดถึงภาพจำที่มีต่อหนังฮ่องกงแนวกังฟูอย่าง ‘Ip Man’ หรือหนังโจรกรรมแอ็กชันอย่าง ‘Police Story’ ภาพจำในอดีตเหล่านี้หลายๆ ครั้งก็เป็นกับดักที่ทำให้ผู้ชมทั่วโลกมองไม่เห็นถึงความหลากหลายของหนังฮ่องกงเช่นกัน “ในช่วงยุค 80 – 90 ผู้สร้างหนังในฮ่องกงเปรียบเสมือนศิษย์พี่ศิษย์น้อง การสร้างผลงานจะออกมาคล้ายๆ กัน แต่ในสมัยใหม่ คนรุ่นใหม่มักสนใจการสร้างหนังเกี่ยวกับเรื่องรอบตัว ใช้ความรู้สึกส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่” Urban Creature คุยกับ ‘HO Miu-ki’ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Love Lies และ ‘Nick CHEUK’ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง Time Still Turns the Pages สองผู้กำกับหนังฮ่องกงร่วมสมัยจากเทศกาลภาพยนตร์ฮ่องกง 2024 ถึงอุตสาหกรรมหนังฮ่องกงในยุคปัจจุบันว่ามีปัญหาอะไร การหาทุนทำหนังในประเทศมีมากพอหรือไม่ หรือมีอะไรเปลี่ยนไปบ้างจากสมัยก่อน เทศกาลภาพยนตร์ฮ่องกง 2024 จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงภาพยนตร์ ‘House Samyan’ (ชั้น 5 สามย่านมิตรทาวน์) ติดตามข่าว […]

คุยเรื่องเมืองและอุตสาหกรรมดนตรีกับเจ้าของค่ายเพลง ‘บอล – What The Duck’

หลายคนคงรู้จัก ‘บอล Scrubb’ หนึ่งในนักดนตรีไทยที่มีผลงานเพลงติดหูมามากมายกว่า 20 ปี แต่ในฐานะเจ้าของค่ายเพลง ‘What The Duck, MILK! BKK Music Label และ MILK! Artist Service Platform’ อาจมีบางคนที่ยังไม่รู้ว่ามีเขาเป็นเบื้องหลังกำลังหลักคอยขับเคลื่อนอยู่ “เมืองหมายถึงความเจริญ มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ขนส่ง น้ำ ไฟ ประปา ถ้าสิ่งที่จับต้องได้จริงๆ มันไม่ดีพอ เดินทางมาไม่ถึงหรือเข้าถึงยาก คนก็จะรู้สึกเข้าไม่ถึง เพราะความสุขหรือศิลปะมันไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐาน เพราะฉะนั้นปัจจัยหลักมันต้องดีก่อน คนถึงจะมีเวลาไปมองหาอะไรที่เป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มความสุขส่วนตัว” Urban Creature คุยกับ ‘บอล-ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของค่าย What The Duck กับความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมดนตรีไทย และเมืองในฝันที่จะน่ารักกับดนตรีได้อย่างแท้จริง

ยินดีต้อนรับสู่ดินแดน PiXXiE เมืองในฝันของเหล่า PiXXeL

คุยกับสามสาว @PiXXiE จาก @LIT Entertainment ถึงพัฒนาการในแต่ละช่วงยุคสมัยของวงที่เดินทางควบคู่ไปกับอุตสาหกรรม T-Pop ในเมืองไทย จนมาบรรจบที่หมุดหมายสำคัญกับคอนเสิร์ตใหญ่ครั้งแรกของพวกเธอ ‘PiXXiE Tales Concert : Welcome to PiXXiE Land’

คุยกับป๊าและม้าของน้อนปาป้า-ทูทู่ มาสคอตปลาทูแห่งแม่กลอง

ถ้าพูดถึงมาสคอตประจำเมือง คนส่วนใหญ่จะนึกถึงเจ้าคุมะมง มาสคอตประจำจังหวัดคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น แล้วอย่างนี้ประเทศไทยจะน้อยหน้าได้ยังไง ขอแนะนำให้รู้จักกับ ‘ปาป้า-ทูทู่’ มาสคอตเอเลียนในชุดปลาทูแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม “คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องปลื้มใจอยู่แล้ว เวลามีคนพูดถึงลูกเรา หรือเห็นบรรยากาศที่มีเด็กๆ คุณลุง คุณป้า อยากถ่ายรูปกับน้องปาป้า-ทูทู่ เราก็รู้สึกดีใจ” Urban Creature คุยกับ ‘วิน-ภัทรพงศ์ ชูสุทธิสกุล’ และ ‘เต-เตชสิทธิ์ ยศวิปาน’ ผู้เปรียบเสมือนคุณพ่อ-คุณแม่ของน้องปาป้า-ทูทู่ ที่ออกแบบจากการดึงเอาเอกลักษณ์ของดีแม่กลองอย่าง ‘ปลาทู’ มาเติมความน่ารักน่าเอ็นดูเข้าไป จนกลายเป็นเอเลียนตัวสีฟ้าหน้ามู่ทู่ ใครที่มีโอกาสแวะไปเยี่ยมเยือนจังหวัดสมุทรสงคราม แล้วได้เจอกับน้องปาป้า-ทูทู่ ก็สามารถแวะถ่ายรูปกับน้องปลาทูตัวนี้ได้นะ

ความเ-ี่ยนไม่เคยหายไป เสวนากับสองผู้กำกับ จาก ‘Doctor Climax ปุจฉาพาเสียว’

เรื่องเซ็กซ์เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่โบร่ำโบราณ แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไป และการเข้าถึงเรื่องเพศก็ทำได้ง่ายขึ้น ทั้งในเรื่องของการเข้าถึงสื่อ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพหรือวิดีโอ รวมถึงการปรึกษาปัญหาเรื่องเพศ ที่เราสามารถหาคำตอบและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน “เซ็กซ์เป็นเรื่องส่วนตัวระดับปัจเจกบุคคลไปถึงครัวเรือน แต่ก็สามารถสะท้อนภาพของสังคมได้ด้วย” Urban Creature ชวนคุยประเด็น ‘เสว’ กับ ‘คงเดช จาตุรันต์รัศมี’ และ ‘ไพรัช คุ้มวัน’ สองผู้กำกับจากซีรีส์ ‘ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียว’ เล่าถึงแรงบันดาลใจในการหยิบประเด็นเรื่องเพศอันแสนจัดจ้านที่ถกเถียงในสังคมไทยยุค 70 ที่แม้ว่าเรื่องราวในซีรีส์จะผ่านมาหลายสิบปีแล้ว แต่ยังคงมีบางอย่างที่ยังร่วมสมัยในสังคมยุคปัจจุบัน

คุยกับเจ้าของเพจหนังผีสั้น ‘วิฬารปรัมปรา’

หากไถฟีดวิดีโอแล้วพบเจอกับหนังสั้นละครคุณธรรมมากมายนับไม่ถ้วน เดี๋ยวคนนั้นเป็นเจ้าของธุรกิจที เดี๋ยวคนนี้เป็นเจ้าของบริษัทบ้าง หากความจำเจนี้ทำให้คุณเบื่อหน่ายกับมัน เราขอพาทุกคนเปลี่ยนรสชาติเรื่องราวเหล่านี้ให้กระตุกต่อมความรู้สึก ‘กลัว’ มากขึ้น แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณธรรมที่เหล่าคนทำผิดต้องได้รับบทลงโทษผ่านเพจ ‘วิฬารปรัมปรา’ วิฬารปรัมปรา คือเพจแมวน้อยลึกลับที่มาพร้อมกับเรื่องเล่าสุดลี้ลับ แปรเปลี่ยนเรื่องราวเหล่านี้ให้กลายเป็นหนังสั้นและการ์ตูนสยองขวัญที่มักจะสะท้อนสังคม นำพาไปสู่การเรียนรู้ที่จะทำให้เห็นคุณค่าของชีวิตในแต่ละวันมากขึ้น ‘ความจริงแล้ว ฉันน่ะคือ…เจ้าของเพจวิฬารปรัมปรา!’ Urban Creature คุยกับ ‘อี่-วรันย์ ศิริประชัย’ เจ้าของเพจวิฬารปรัมปรา ครั้งแรกของการเปิดหน้าคนทำหนังสั้นบนโลกออนไลน์ ถึงแรงบันดาลใจจากละครคุณธรรมที่ยอดชมถล่มทลายไปถึงหนึ่งล้านวิว และมีการพูดถึงมากมายบนโลกออนไลน์ ติดตามเพจวิฬารปรัมปราได้ที่ : www.facebook.com/cattellsthetales

ให้หนังสือทำมือมีซีนที่ SPACEBAR ZINE

การจะทำหนังสือของตัวเองสักเล่มหนึ่ง ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เราขอแนะนำให้รู้จักกับซีน (Zine) หนังสือทำมือที่เราสามารถ สร้างสรรค์ขึ้นมาเอง ตั้งแต่การคิดเนื้อหาจนถึงการออกแบบรูปเล่ม โดยไม่ยึดอยู่กับกรอบของการบรรณาธิกรหรือสำนักพิมพ์ใดๆ สำหรับใครที่อยากสะสมซีนหรือเรียนรู้การทำซีน Urban Creature ขอพาไปทำความรู้จักกับ Spacebar Zine ร้านหนังสือสิ่งพิมพ์อิสระจาก Spacebar Design Studio โดย ‘วิว-วิมลพร วิสิทธิ์’ พื้นที่ให้ทุกคนที่สนใจทำสิ่งพิมพ์ ของตัวเองเข้ามาพูดคุยหรือเลือกหาซีนที่ชอบได้อย่างอิสระ

แกะรหัสความเกรงใจ แกะรหัสความเป็นไทย กับ Phum Viphurit

จากการเติบโตที่นิวซีแลนด์กลับมาสู่ประเทศไทย วัฒนธรรมเมืองที่แตกต่างทำให้ ‘Phum Viphurit’ นักร้องเจ้าของเพลงดังอย่าง ‘Lover Boy’ ต้องปรับตัวกลับมาให้เข้ากับสังคมไทย จนเริ่มสังเกตเห็นความเป็นไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากกว่าชาติอื่นๆ และอยากจะเล่าความเป็นไทยนี้ให้ต่างประเทศได้รู้จักผ่านเสียงเพลง ‘This is called The Greng Jai Piece and it’s not yours to eat.’ Urban Creature พาไปแกะรหัสความเป็นไทย แกะรหัสความเกรงใจของ ‘ภูมิ วิภูริศ’ ถึงมุมมองตัวเองที่มองประเทศไทย จนกลายมาเป็นอัลบั้ม The Greng Jai Piece

รวมคำถามยอดฮิตจากคนเมืองถึงไรเดอร์

“ปักหมุดให้แล้วทำไมยังมาไม่ถูก” “ต้องส่งกี่ออเดอร์ถึงจะพออยู่ได้” “ไรเดอร์รวมตัวกันเรียกร้องอะไร” Urban Creature รวบรวม 108 คำถามยอดฮิตที่คนเมืองสงสัย จนหลายครั้งก็ยังนั่งจับเข่าคุยกับพี่ไรเดอร์ Urban Creature ร่วมกับ @Nabi Fellows Program โครงการเสริมศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาคุณค่าประชาธิปไตย ผ่านโครงการวิจัย การผลิตสื่อ และสารคดี

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.