ชาวเยอรมันแห่ตุนกลิตเตอร์ หลังสหภาพยุโรปประกาศแบนเพื่อลดไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม

ความสวยงามบางประเภทก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะกลิตเตอร์ที่เป็นส่วนประกอบทั้งในเครื่องสำอาง เครื่องประดับ หรือเครื่องแต่งตัว เพราะกลิตเตอร์นั้นคือไมโครพลาสติกชนิดหนึ่งที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะย่อยสลาย แถมด้วยขนาดที่เล็กมากยังทำให้พลาสติกชนิดนี้ไหลลงแม่น้ำและมหาสมุทรอย่างง่ายดาย จนอาจเป็นอันตรายต่อสัตว์และพืชใต้น้ำ สหภาพยุโรปจึงเตรียมสั่งห้ามขายกลิตเตอร์และไมโครบีดส์ในวันที่ 15 ตุลาคมนี้ โดยคณะกรรมาธิการยุโรปให้เหตุผลว่า การห้ามใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะเป็นวิธีการหยุดการปล่อยไมโครพลาสติกประมาณครึ่งล้านตันสู่สิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่มีกลิตเตอร์จะถูกแบนจากร้านค้าตั้งแต่ช่วงปลายสัปดาห์นี้ เมื่อมีคำสั่งห้ามจำหน่ายเกิดขึ้น ทำให้ความต้องการซื้อกลิตเตอร์ในเยอรมนีเพิ่มขึ้นสูงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยคนดังอย่าง ‘Sam Dylan’ จากรายการ ‘Big Brother’ เรียลลิตี้ของเยอรมนี ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มยอดขายกลิตเตอร์และทุกอย่างที่ทำจากกลิตเตอร์ โดยเขาให้สัมภาษณ์ทางหนังสือพิมพ์ว่า เขากำลังช้อปปิงกลิตเตอร์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งก็ได้มามากกว่า 82 ซองเลยทีเดียว ไม่ใช่แค่กลิตเตอร์ที่มีประกายระยิบระยับเท่านั้น แต่การแบนในครั้งนี้ยังรวมไปถึงพลาสติกขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตรที่ไม่ละลายน้ำและไม่สามารถย่อยสลายได้อีกด้วย  Source :The Guardian | tinyurl.com/2axfyjpf

BOOK DREAMS เหล่าหนังสือในฝันที่ชาว Urban Creature อยากได้มาไว้ในคอลเลกชันกองดอง

ขอต้อนรับงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 28 กับธีม BOOK DREAMS ด้วยลิสต์หนังสือในฝันที่ชาว Urban Creature อยากได้ เพราะแม้ตอนนี้ราคาหนังสือแต่ละเล่มจะเริ่มพุ่งทะยานไปไกลจนเราต้องคิดแล้วคิดอีกเวลาควักเงินซื้อ แต่พออยู่ในงานหนังสือที่รายล้อมไปด้วยหนังสือมากมายหลากหลายประเภทที่มีหน้าปกล่อตาล่อใจ หลายๆ ครั้งเราก็มักจบลงด้วยการหอบหนังสือกองโตกลับบ้านพร้อมใบหน้าเปื้อนยิ้ม (ที่ต้องไปบริหารจัดการเงินทีหลัง) ในลิสต์นี้มีตั้งแต่ฟิกชันอ่านสนุก วรรณกรรมแปลแนวสืบสวนสอบสวน ชีวประวัติคนสำคัญระดับโลก ไปจนถึงน็อนฟิกชันเรื่องการออกแบบและเมืองที่ทำให้เราหันกลับมามองพื้นที่อยู่อาศัยในสายตาที่ต่างออกไป ว่าแต่มีเล่มไหนบ้าง มาอ่านที่เราป้ายยากัน ชื่อหนังสือ : สถาปัตย์-สถาปนา : การ(เมือง)ดีไซน์พื้นที่และความนัยสถาปัตยกรรมสำนักพิมพ์ : มติชน (บูท J47)ชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Managing Editor ปกติเป็นคนชอบอ่านงานเขียนประเภทนิยาย แต่จะมีบ้างบางครั้งที่เปลี่ยนอารมณ์ไปอ่านงานน็อนฟิกชันแนวการเมือง ซึ่งหนึ่งในงานเขียนแนวนี้ที่ประทับใจคือ ‘ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร’ โดย ‘ชาตรี ประกิตนนทการ’ ที่เล่าเรื่องการเมืองในศิลปะการออกแบบได้อย่างสนุก ชวนติดตาม พร้อมกับเปิดตาเราให้เห็นมุมมองทางอุดมการณ์และความเชื่อที่ซุกซ่อนอยู่ของการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะในหลายๆ สถานที่ที่เราเคยผ่านไปผ่านมาแต่ไม่เคยครุ่นคิดถึงต้นตอที่มาของมัน ด้วยเหตุนี้ เราจึงอดไม่ได้ที่จะลิสต์ ‘สถาปัตย์-สถาปนา : การ(เมือง)ดีไซน์พื้นที่และความนัยสถาปัตยกรรม’ ผลงานเล่มใหม่ของอาจารย์ชาตรีไว้ในใจ ต่อให้กองดองจะสูงเด่นท้าทายแค่ไหนก็ตาม […]

LEGO ยกเลิกการใช้ขวดพลาสติกในการสร้างวัสดุตัวต่อเลโก้รักษ์โลก หลังพบการปล่อยคาร์บอนที่มากขึ้น

เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา ทาง ‘LEGO’ ได้เปิดตัววัสดุตัวต่อเลโก้ต้นแบบตัวแรกที่ใช้ PET รีไซเคิล (rPET) ในการผลิต เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการเปลี่ยนให้ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดทำจากวัสดุที่ยั่งยืนภายในสิ้นทศวรรษนี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ตั้งแต่ปี 1963 เป็นต้นมา ตัวต่อเลโก้จำนวนหลายพันล้านชิ้นที่ผลิตในแต่ละปีล้วนทำมาจากพลาสติก ‘อะคริโลไนไตรล์ บิวทาไดอีน สไตรีน’ (ABS) หรือพลาสติกบริสุทธิ์ที่ทำจากน้ำมันดิบที่ปล่อยคาร์บอนมากถึง 1.2 ล้านตัน ทว่าเมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมา ทาง LEGO ก็ออกมาประกาศล้มเลิกการใช้ขวดพลาสติกในการสร้างวัสดุตัวต่อเลโก้รักษ์โลกแล้ว หลังจากพบว่าการปรับโรงงานให้หันมาใช้พลาสติก rPET แทน ABS นั้นกลับก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้นจนอาจได้ไม่คุ้มเสีย เพราะการขึ้นรูปเป็นตัวต่อจาก rPET จำเป็นต้องใช้พลังงานจำนวนมากในการแปรรูปและทำให้แห้ง เพื่อที่ตัวต่อจากวัสดุใหม่จะได้คุณสมบัติความทนทานเทียบเท่าของเดิม ซึ่งในกระบวนการนี้เองที่ทำให้แม้เราจะเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่รักษ์โลกขึ้น แต่กลับปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ออกมาในปริมาณเท่าเดิมหรืออาจมากกว่าด้วยซ้ำ ปัจจุบันทาง LEGO จึงมองหาทางออกใหม่ในการมุ่งสู่การผลิตตัวต่อเลโก้จากวัสดุที่ยั่งยืน ด้วยการทดสอบและพัฒนาตัวต่อที่ทำจากวัสดุทางเลือกที่ยั่งยืนอื่นๆ กว่า 100 รายการ รวมถึงพลาสติกที่มาจากการรีไซเคิลและจากแหล่งทางเลือกอื่นอย่าง E-methanol ที่ผลิตจากก๊าซผสมระหว่าง Green Hydrogen และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากการดักจับคาร์บอนในอากาศหรือโรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อเข้าสู่ข้อบรรลุของบริษัทที่ต้องการให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 […]

‘นภัสรพี อภัยวงศ์’ ศิลปินผู้ใช้ AI สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายที่เต็มไปด้วยความเหนือจริง

เมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาตามยุคสมัยมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งอำนวยความสะดวกสบายของพวกเราล้วนเปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยเข้ามาช่วยงานเราเล็กๆ น้อยๆ ตอนนี้เทคโนโลยีเดินหน้ามาถึงวันที่มันมีมันสมองในตัว สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาจากชุดข้อมูลที่เราป้อนเข้าไป ส่งผลให้การค้นหา ‘ความจริง’ ของเราถูกขยายขอบเขตไปไกลเกินกว่าจะกำหนดได้ เรื่องที่ไม่เคยรู้ก็ได้รู้ เรื่องที่น่ารู้น่าสนใจก็ประดากันเข้ามาเป็นประตูสู่โลกใบใหม่ที่มีหลากร้อยพันมิติให้เลือกค้นหาหรือใช้ประโยชน์ จากยุคปัญญาคนมาถึงยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเป็นเครื่องมือแห่งยุคสมัยหรืออาจเรียกว่าเป็นคู่หูใหม่ที่หลากหลายวงการต่างนำไปใช้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ออกมาให้ได้เห็นกันทุกวัน เช่นเดียวกับนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรกในไทยของ ‘ตรัส-นภัสรพี อภัยวงศ์’ ผู้นำ AI มาร่วมด้วยช่วย Generate ผลงานภาพชุด Resonances of the Concealed ของเขา เพื่อบันทึกช่วงเวลาหนึ่งเอาไว้ และวันนี้ภาพของเขาก็กำลังแขวนอยู่บนผนังสีนวลตาชั้นสองของแกลเลอรีสุดสงบ รอให้ทุกคนแวะเวียนมาชมที่ ‘Kathmandu Photo Gallery’ (คัดมันดูโฟโต้แกลเลอรี) ในซอยสีลม 20 ตรงข้ามวัดแขก Pale_Flare ระดับแสงที่ตรงกับความรู้สึก ตรัสเริ่มต้นเล่าว่า จากช่วงน้ำท่วมในปี 54 ระหว่างย้ายออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว ความเปื่อยๆ เบื่อๆ ก็เข้าครอบงำ พอดีกันกับที่น้องของเขาได้หิ้วหนังสือสอนถ่ายภาพเบื้องต้นและกล้อง Canon 7D เข้ามาให้ทำความรู้จัก การเรียนรู้ครั้งใหม่ของตรัสจึงเกิดขึ้น “ช่วงแรกๆ ก็ถ่ายรูปไปเรื่อย ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร […]

PARK :D แพลตฟอร์มจัดการที่จอดรถในอารีย์ เพิ่มการรองรับรถโดยไม่ต้องสร้างที่จอดเพิ่ม

ใครที่เคยไปเดินเล่นหรือทำธุระในย่านอารีย์ก็คงทราบกันดีว่า ปัญหา ‘ที่จอดรถไม่เพียงพอ’ นั้นสร้างความลำบากให้ผู้ใช้งานในพื้นที่มาอย่างยาวนานและสม่ำเสมอ จนหลายครั้งผู้ขับขี่ที่จำเป็นต้องเข้าใช้งานในพื้นที่ต้องยอมจ่ายค่าจอดรถที่มีราคาสูงถึง 50 – 100 บาทต่อชั่วโมง หรือหากเป็นพนักงานออฟฟิศจะมีรายจ่ายค่าที่จอดรถราว 4,500 บาทต่อเดือนอย่างไม่สามารถเลี่ยงได้ ด้วยเหตุนี้ ‘จ๋า-ชัญญา เตชวิริยะ’ และ ‘เต้-กันต์กวี บุญเพ็ง’ ที่ก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสพบกันในบริษัทแห่งหนึ่งหลังจบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรม จึงปิ๊งไอเดียสร้างแพลตฟอร์มช่วยบริหารจัดการที่จอดรถในย่านอารีย์ขึ้นมาชื่อ ‘PARK :D’ แพลตฟอร์มนี้เป็นไอเดียสำหรับเข้าร่วมกิจกรรมประกวดออกแบบสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาย่านอารีย์ให้น่าอยู่ (ARID Hackathon 2023 : Innovation for Well-being) จนได้รับรางวัลชนะเลิศและเงินรางวัลเพื่อนำไอเดียจากการประกวดไปพัฒนาต่อ “ปัจจุบันอารีย์มีปัญหาเรื่องที่จอดรถจริงๆ เราเลยมองหาว่ามีวิธีอะไรบ้างที่จะมาแก้ปัญหานี้ ทำให้รถที่เข้ามาในย่านอารีย์มีปริมาณที่จอดเพียงพอโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มที่จอดรถ แต่เป็นการเพิ่ม Capacity ของที่จอดรถที่มีอยู่เดิม” เต้เล่าถึงโจทย์แรกที่เขาและจ๋าต้องการแก้ไขในเบื้องต้น โดยการทำงานแพลตฟอร์ม PARK 😀 คือ การเป็นตัวกลางให้ผู้ที่มีที่จอดรถเป็นของตัวเองจับกับผู้ต้องการที่จอดรถในราคาถูกได้มากขึ้นผ่านรูปแบบ ‘Parking Lot-Sharing’ เพราะที่จอดรถ 1 ที่ มีเวลาการใช้ที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ที่จอดรถของสำนักงานที่มักว่างในช่วงวันเสาร์อาทิตย์ ที่จอดรถของคอนโดฯ ที่มักว่างช่วงเวลากลางวัน หรือบ้านบางหลังที่มีที่จอดรถเหลือ การปล่อยเช่าที่จอดรถเหล่านี้จะช่วยเพิ่มปริมาณที่จอดรถในย่านอารีย์ได้ง่ายๆ […]

‘Shenzhen Women & Children’s Center’ ศูนย์บริการสตรีและเด็กในเมืองเซินเจิ้นที่ปรับปรุงจากอาคารเก่า เพื่อสร้างความยั่งยืนให้โลก

อาคารบางแห่งในเมืองใหญ่ก่อสร้างขึ้นในสมัยก่อนตามมาตรฐานอาคารของยุคนั้นๆ ทว่าเมื่อเวลาผ่านไป ตัวโครงสร้างอาคารอาจไม่ตอบโจทย์มาตรฐานอาคารในยุคนี้ ทำให้ถูกรื้อถอนเพื่อสร้างเป็นอาคารแห่งใหม่แทน เช่นเดียวกับอาคาร Mixed-use เก่าที่มีอายุกว่า 29 ปี ในย่าน Futian ประเทศจีน ซึ่งสร้างขึ้นในช่วงที่เมืองเซินเจิ้นเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม อาคารนี้ได้รับการออกแบบตามมาตรฐานสมัยก่อน ทำให้เกิดข้อกังวลด้านความปลอดภัยจนทำให้ร้านค้าภายในอาคารค่อยๆ ปิดตัวลง และถูกทิ้งให้กลายเป็นอาคารที่ว่างเปล่าเป็นเวลานาน เนื่องจากประเทศจีนมีความมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนในระดับสูงสุด (Carbon Peak) ภายในปี 2573 และความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี 2603 อาคารแห่งนี้จึงเป็นหนึ่งใน 24 ตัวอย่างของการฟื้นฟูโดยคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ และเพื่อเป็นการแก้ไขตัวอาคารที่ไม่ตอบโจทย์เมือง ‘MVRDV’ บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและชุมชนเมือง จึงวางแผนออกแบบให้อาคารนี้กลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้งโดยไม่ต้องรื้อถอนหรือสร้างใหม่ ปัจจุบันอาคารนี้อยู่ในฐานะของ ‘Shenzhen Women & Children’s Center’ โรงแรมและสถานที่อำนวยความสะดวกสำหรับผู้หญิงและเด็ก ซึ่งภายในประกอบไปด้วยห้องสมุด หอประชุม โรงละครเด็ก Discovery Hall รวมไปถึงห้องบำบัดและสำนักงานสำหรับพนักงาน MVRDV ทำการเปลี่ยนแปลงส่วนด้านหน้าของอาคารด้วยตารางหลากสีที่สามารถลดความร้อนที่เพิ่มขึ้น และติดตั้งแผงที่เปิดได้จากด้านในซึ่งจะช่วยให้มีการระบายอากาศตามธรรมชาติ เพิ่มความสะดวกสบาย และลดการใช้เครื่องปรับอากาศ ส่วนสีโทนเหลือง ส้ม […]

07:00 AM สภากาแฟและอาหารเช้า

ในช่วงปลายเดือนกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคม จากการพยากรณ์อากาศพบว่ามีฝนตกมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่แทบทุกวัน สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างผมมันเป็นปัญหาไม่ใช่น้อยกับการต้องเดินทางไปทำงานยังสถานที่ต่างๆ หรือแม้กระทั่งการหาอาหารเช้าทาน ด้วยช่วงเวลาอันเร่งรีบบางครั้งก็ทำให้เราไม่มีตัวเลือก จนต้องจำใจกดแอปพลิเคชันสั่งอาหารผ่านร้านเดิมๆ เมนูเดิมๆ กลายเป็นช่วงเวลาที่แสนน่าเบื่อหน่ายไปในที่สุด อนึ่งปัญหาของผมกับการสั่งอาหารเช้านั้นมีอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาเสาะหาเลือกร้านและเมนูอาหาร เพราะด้วยตัวเลือกที่เยอะ ทำให้ผมนั่งๆ นอนๆ ไถหน้าจอมือถืออยู่นานจนไม่สามารถตัดสินใจได้สักทีว่าจะกดสั่งอะไรดี ไหนจะปริมาณอาหารที่มากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหวในตอนเช้า และปัญหาสุดท้ายที่หนักหนาสาหัสสำหรับผมก็คือ เมื่อรับอาหารจากไรเดอร์มาแล้ว ผมก็ทำได้เพียงแค่นำมันขึ้นมานั่งทานบนห้องเงียบๆ คนเดียว โดยมีรัฐสภาและการจราจรบนท้องถนนเป็นฉากนอกหน้าต่าง ทำหน้าที่เป็นวิวทิวทัศน์เพียงอย่างเดียวที่ผมสามารถใช้พักสายตาได้ ผมใช้ชีวิตซ้ำไปซ้ำมาจนเป็นกิจวัตร ความเบื่อหน่ายและความเหงาค่อยๆ กัดกินไปเรื่อยๆ จนในที่สุดผมก็ตัดสินใจที่จะคุยกับใครสักคน ผมกดเบอร์โทรศัพท์อย่างคุ้นเคย…ปลายสายรับสาย “ฮัลโหล ว่าไงวิน… “ทำไมไม่ลองหาเวลาออกจากคอนโดฯ ไปพวกร้านกาแฟหรือร้านอาหารเช้าดูล่ะ มันก็มีนะที่ไม่ไกลจากคอนโดฯ เอ็ง” เสียงแนะนำจากปลายสายแนะนำอย่างต่อเนื่อง และกระตือรือร้นเมื่อได้ฟังรูทีนชีวิตที่แสนน่าเบื่อของผม “สมัยก่อนตอนเอ็งเรียนอยู่ประถมฯ หลังจากไปส่งที่โรงเรียนเสร็จ ป๊าก็นั่งรถเมล์สาย 56 ไปร้านหนึ่งที่อยู่ตรงแยกวิสุทธิกษัตริย์ ‘ร้านเฮี้ยะไถ่กี่’ เป็นร้านเก่าแก่ที่มีมานานแล้ว สมัยก่อนตอนป๊าทำงานธนาคารแถวนั้นก็แวะไปนั่งกินประจำ เมื่อก่อนร้านนี้ถือว่าเป็นสภากาแฟเลยนะ เพราะหลายครั้งที่พวกคอลัมนิสต์มานั่งคุยกันเรื่องนู้นเรื่องนี้ และถกเถียงกันเรื่องข่าวสารหรือการเมือง “อีกร้านคือ ‘ร้านหน่ำเฮงหลี’ ตรงแยกหลานหลวง เอ็งจำได้ไหมว่าสมัยก่อนเวลาที่เอ็งเดินไปซื้อหนังสือการ์ตูนของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ร้านเขาจะอยู่แถวนั้น เอ็งเดินมานิดหนึ่งก็เจอเลย อยู่ตรงแยกพอดี ร้านนี้สังขยาอร่อยลองไปกินดู […]

‘กรุงเทพกลางแปลง’ กลับมาอีกครั้ง ชมหนัง 22 เรื่อง ใน 7 สถานที่ทั่วเมือง ยาวๆ ตั้งแต่วันนี้ – 12 พฤศจิกายน 66

หนึ่งในกิจกรรมที่ทำให้กรุงเทพฯ ปีที่แล้วมีสีสันและทำให้คนอยากออกไปนอกบ้านมากขึ้นคือเทศกาลฉายหนัง ‘กรุงเทพกลางแปลง’ ที่แม้จะจัดหน้าฝน แต่คนเมืองหลายคนก็พร้อมกางร่ม สวมชุดกันฝนไปชมภาพยนตร์ดีๆ ร่วมกัน ปีนี้กรุงเทพมหานคร ร่วมกับสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) และสมาคมหนังกลางแปลงแห่งประเทศไทย นำกรุงเทพกลางแปลงกลับมาอีกครั้งกับโปรแกรมภาพยนตร์ 22 เรื่องหลากหลายรสชาติ ตลอดทั้ง 6 สัปดาห์ ใน 7 สถานที่ทั่วเมือง นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมน่าสนใจให้เข้าร่วมอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการฉายหนังสั้นนักศึกษาและหนังสั้นจากโครงการ Today at Apple ที่ทาง กทม.จัดอบรมร่วมกับสมาคมผู้กำกับฯ ในทุกสัปดาห์ การเสวนาพิเศษ คอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง รวมถึงการฉายภาพยนตร์ต่างประเทศจากสถานทูต ที่สวนป่าเบญจกิติ ในวันที่ 3 – 5 พ.ย. และวันที่ 10 – 12 พ.ย. ที่เพิ่มเข้ามาจากโปรแกรมเดิม และนี่คือลิสต์หนังที่ฉายทั้งหมด พร้อมกับสถานที่ฉายที่มีทั้งรูปแบบอินดอร์และเอาต์ดอร์ เหมาะกับช่วงนี้ที่ฟ้าฝนไม่ค่อยเป็นใจให้อยู่กลางแจ้งเท่าไหร่ โดยหนังจะเริ่มฉาย 19.00 น. เป็นต้นไป 1) หัวลำโพง– 7 ต.ค. […]

ย่าน ‘ทรงวาด’ ในวันที่ถนนสายเครื่องเทศเปลี่ยนไปสู่ย่านสร้างสรรค์ของกรุงเทพฯ

‘ทรงวาด’ ในอดีตคือย่านการค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีความสำคัญพอๆ กับไชน่าทาวน์เยาวราชที่อยู่ถัดไปไม่ไกลกัน เป็นถนนที่เต็มไปด้วยโกดังกักเก็บสินค้า โดยเฉพาะเครื่องเทศที่ขึ้นชื่อลือชา จนได้รับการขนานนามว่า ‘ถนนสายเครื่องเทศ’ ทรงวาดในวันนี้ยังคงสถานะย่านพาณิชย์ แม้ภาพเรือขนส่งสินค้าที่มาจอดเทียบท่าจะหายไป แต่ก็แทนที่ด้วยรถราขนส่งที่วิ่งกันจอแจ ร้านค้าเก่าแก่ยังพอเปิดกิจการอยู่บ้าง ทว่าที่เพิ่มเติมมาคือร้านรวงเก๋ๆ คาเฟ่เท่ๆ และอาร์ตแกลเลอรีต่างๆ มากมายที่มาเสริมเติมแต่งเมืองเก่า ใต้ชายคาของสถาปัตยกรรมแบบยุโรปที่เรียงรายอวดความงามอยู่สองฟากฝั่งถนน เบื้องหลังการคืนลมหายใจของย่านเศรษฐกิจเก่าแก่ที่กำลังค่อยๆ ซบเซาลงไม่ใช่เรื่องง่าย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการร่วมมือร่วมใจของผู้ประกอบการทั้งรุ่นใหม่และวัยเก๋าในนาม ‘Made in ทรงวาด’ ที่ช่วยกันหยิบเอาของดีของเด็ดประจำถิ่นมานำเสนอ พัฒนาย่านร่วมกันอย่างตั้งใจ จนทำให้ย่านนี้กลายเป็นอีกย่านสร้างสรรค์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน คอลัมน์ Neighboroot คราวนี้ขอชวนกลับไปสำรวจถนนทรงวาด เดินทะลุตรอกออกซอยต่างๆ ของถนนสายเครื่องเทศอีกครั้ง สนทนากับเหล่าคนนอกที่เข้ามาทำกิจกรรมในย่านนี้ ทั้งพูดคุยกับนักเขียนอิสระเจ้าของผลงานทรงวาดไกด์บุ๊ก แวะสตูดิโอออกแบบและรีไซเคิลพลาสติกของสองสาวเจ้าของคาเฟ่รุ่นบุกเบิก และปิดทริปด้วยการเยือนร้านชาของคนไต้หวันที่ซ่อนตัวอยู่ในซอยวานิช 1 ฟังเรื่อง ‘ทรงวาด’ ผ่านสายตาของนักเขียนทรงวาดไกด์บุ๊ก ย้อนกลับไปเมื่อ 2 ปีก่อน Urban Creature เคยไปสำรวจทรงวาดมาแล้ว ตอนนั้นวี่แววในการเป็นทรงวาดแบบทุกวันนี้อาจไม่ชัดเจนนัก แต่พอจับสัญญาณได้จากการเริ่มมีกิจการรุ่นใหม่ๆ เปิดกันบ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแกลเลอรี โฮสเทล บาร์ และคาเฟ่ ไม่นานมานี้ พอ Made […]

หมดทุกปัญหาบ้านด้วย Q-CHANG

หากคุณเคยเจอปัญหาบ้านพังต่างๆ ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามาแล้วติดตั้งไม่เป็น ฝ้าเพดานหลุด หลังคารั่วซึม แอร์เสีย เครื่องใช้ไฟฟ้าพัง แล้วไม่รู้จะเรียกช่างที่ไหนดี มันคงจะดีกว่าไหมถ้าหากว่ามีแพลตฟอร์มที่พร้อมแก้ปัญหาทุกๆ เรื่องในบ้านให้คุณ Q-CHANG คือแพลตฟอร์มที่จะคอยแก้ทุกปัญหาเรื่องบ้านให้กับคนเมือง เพราะที่นี่มีบริการที่หลากหลาย ตั้งแต่บริการติดตั้ง ทำความสะอาด ซ่อมแซม เพื่อที่จะทำให้ชีวิตของทุกคนสะดวกขึ้น และมีเวลาไปใช้ชีวิตตามที่ใจต้องการมากขึ้น วันนี้ Urban Creature ขอพาไปคุยกับคุณ ‘บอย-ศรัณย์วิศว์ ภักดีนอก’ กรรมการบริหาร Q-CHANG ถึงแนวคิดเบื้องหลังของธุรกิจนี้ที่จะทำให้คนทุกคนมีชีวิตที่ดีขึ้นในทุกๆ วัน

กระทรวงวัฒนธรรมของเบอร์ลินยื่นข้อเสนอเปลี่ยนห้างสรรพสินค้าให้เป็นห้องสมุดกลางแห่งแรกของเมือง

เคยคิดกันไหมว่า หากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ใจกลางเมืองที่เป็นศูนย์กลางของการพักผ่อนหย่อนใจ ร้านค้า รวมไปถึงที่ตั้งของสำนักงานนั้นต้องเลิกกิจการไป อาคารขนาดใหญ่เหล่านี้จะถูกเปลี่ยนไปเป็นอะไรได้บ้าง สัญญาเช่า ‘Galeries Lafayette’ ห้างสรรพสินค้าสัญชาติฝรั่งเศสใจกลางกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนีแห่งนี้จะหมดลงในช่วงปลายปี 2567 และมีรายงานว่าเจ้าของห้างฯ จะถอนตัวออกหลังจากเปิดให้บริการมานานกว่า 28 ปี เนื่องจากเงื่อนไขการค้าที่มีความท้าทายมากขึ้น ‘Joe Chialo’ วุฒิสมาชิกฝ่ายวัฒนธรรมของเบอร์ลินจึงได้ทำการยื่นข้อเสนอในการเปลี่ยนห้างฯ แห่งนี้ให้เป็นห้องสมุดกลางแห่งแรกในเมืองเบอร์ลิน โดยราคาในการซื้อห้างฯ และค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนพื้นที่ให้กลายเป็นห้องสมุดของโครงการนี้อาจจะต้องใช้เงินสูงถึง 589 ล้านยูโร หรือประมาณ 2.28 หมื่นล้านบาท หากโครงการนี้สามารถดำเนินต่อไปได้ก็จะเปิดให้บริการได้ในปี 2569 โครงการนี้ยังคงเป็นเพียงข้อเสนอเท่านั้น ด้วยข้อสงสัยจากทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของเบอร์ลินในเรื่องของสภาพอาคาร ความเหมาะสมในการเปลี่ยนเป็นห้องสมุด และค่าใช้จ่ายที่อาจจะสูงเกินงบประมาณที่มี แต่อย่างไรก็ตาม บรรณารักษ์ในเยอรมนีก็ได้ทำการเรียกร้องให้ดำเนินโครงการต่อไป เพราะถือได้ว่าเป็นโอกาสแห่งศตวรรษที่จะมีห้องสมุดกลางในเมือง โดย ‘Regina Kittler’ หัวหน้าสมาคมห้องสมุดเยอรมนีสาขาเบอร์ลินมองว่า ห้างฯ Galeries Lafayette แห่งนี้มีศักยภาพในการเป็น ‘ห้องนั่งเล่นแห่งใหม่ในเบอร์ลิน’ ด้วยโครงสร้างเดิมที่เป็นกระจกและโลหะขนาดใหญ่ดึงดูดแสงธรรมชาติ มีผังทรงกลมแบบเปิดโล่ง และมีลิฟต์กับบันไดเลื่อนจำนวนมาก เหมาะแก่การเป็นพื้นที่ที่เปิดให้ทุกคนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันมากกว่าการใช้งานในเชิงพาณิชย์ Source :The Guardian | tinyurl.com/4wnjb88z

งาน Sustainability Expo 2023 สมดุลที่ดีต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ เพื่อโลกที่ดีกว่า

ยุคนี้ถ้าไม่รู้เรื่องของ ‘ความยั่งยืน’ หรือ ‘Sustainability’ ก็คงไปคุยกับใครไม่รู้เรื่อง เพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกันแก้ไข เพื่อโลกที่ดีในอนาคต เนื่องในโอกาสที่งาน ‘Sustainability Expo 2023’ กลับมาจัดอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่มาตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน และจะลากยาวไปจนถึง 8 ตุลาคม Urban Creature เลยจะขอพาทุกคนเดินทัวร์ดูโซนภายในงานไปพร้อมๆ กัน เพราะงานนี้ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นความรู้ โครงการต่างๆ แนวคิดที่น่าสนใจ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ตลอดจนกิจกรรมเวิร์กช็อปที่ส่งเสริมการเรียนรู้การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน โดยเน้นไปที่โซน ‘BETTER COMMUNITY’ บริเวณที่เราจะได้เห็นภาพจำลองสังคมเมืองในฝัน นวัตวิถีเพื่อชีวิตเท่าเทียม น่าอยู่ ปลอดภัย และยั่งยืน เท่านั้นยังไม่พอ ทุกคนยังจะได้พบกับแบบบ้านพอเพียงเพื่อผู้ขาดแคลน แบบโครงสร้างเมืองใหม่ที่เชื่อมถึงกันเต็มระบบ และชุมชนสร้างสรรค์เพื่อโอกาสที่เท่าเทียมของทุกคนในสังคมอีกด้วย แต่ก่อนจะเดินทางไปถึงโซนที่น่าสนใจ เราขอเล่าถึงตัวงานโดยรวมกันก่อน เพราะงาน Sustainability Expo 2023 เป็นงานอีเวนต์เกี่ยวกับความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จากการผสานความร่วมมือของ 5 องค์กรธุรกิจชั้นนำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนระดับสากล ไม่ว่าจะเป็นบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้, พีทีที […]

1 50 51 52 53 54 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.