
LATEST
‘Urban Common Source’ แพลตฟอร์มรวมข้อมูลของกรุงเทพฯ ที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาเมืองเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้ว
การหาข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบัน เราทุกคนต่างเชื่อว่าสามารถค้นหาทุกอย่างได้บนอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งการหาข้อมูลทั่วๆ ไปของเมืองที่เราอาศัยอยู่ กลับต้องใช้เวลาในการยื่นคำร้องสู่หน่วยงานอีกหลายขั้นตอนกว่าจะได้รับข้อมูลนั้นมา และไม่ใช่แค่ประชาชนทั่วไปที่ต้องการข้อมูลเหล่านี้ไปทำงานหรือทำวิจัย แต่เชื่อหรือไม่ว่า แม้แต่หน่วยงานรัฐเองบางครั้งก็ประสบปัญหาการสืบค้นข้อมูลเมือง ทำให้การพัฒนาพื้นที่บางจุดในเมืองเป็นไปอย่างล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็น คอลัมน์ Trouble Solver พาไปทำความรู้จักกับ urbancommonsource.com แพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมือง ที่เกิดจากการทำงานของ Urban Studies Lab ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และการร่วมมือกับกรุงเทพมหานครและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ เพื่อสร้างพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูล ให้การทำงานของหน่วยงานรัฐ รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ ที่ต้องการใช้ข้อมูลเมืองมีความสะดวกสบายและง่ายขึ้น Urban Studies Lab กับการเป็นตัวกลางเชื่อมรัฐและชุมชน ‘ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง’ หรือ ‘Urban Studies Lab (USL)’ คือศูนย์วิจัยอิสระด้านการศึกษาเมือง ที่เน้นการพัฒนาเมืองในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านสังคม คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติและการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบมีข้อมูลเป็นหลักฐาน การทำงานของ Urban Studies Lab จะเป็นการพัฒนาชุมชนโดยใช้การมีส่วนร่วมระหว่างภาคส่วนต่างๆ ภายในเมือง เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาหรืองานวิจัย และภาคประชาสังคม […]
หนังสือภาพ ‘Moments in Chiang Mai’ บอกเล่าความประทับใจและเสน่ห์ในเชียงใหม่ ผ่านลายเส้นของ Louis Sketcher
หลังจากที่ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากหนังสือ ‘Bangkok Shophouses ตึกแถวกรุงเทพฯ และชีวิตชาวย่าน’ ซึ่งเป็นผลงานของ ‘หลุยส์-ศุภชัย วงศ์นพดลเดชา’ นักวาดภาพเมือง (Urban Sketcher) เจ้าของเพจ Louis Sketcher ที่พาทุกคนไปพบกับความสวยงามของตึกเก่าในกรุงเทพฯ ครั้งนี้หลุยส์อยากแบ่งปันความประทับใจจากอาหารการกิน สถาปัตยกรรม และภาษาท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ในจังหวัด ‘เชียงใหม่’ ที่มีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่ช่วงที่ยังเป็นนักศึกษา จนทำให้กลายเป็นจังหวัดที่ชวนให้เขากลับไปซ้ำแล้วซ้ำเล่า และในวันที่เติบโตขึ้น การเตรียมพร้อมไปเชียงใหม่ของเขานั้นจะต้องมีสมุดสเก็ตช์ อุปกรณ์วาดรูป และแพสชันในการบันทึกความประทับใจที่เจอออกมาเป็นลายเส้นที่เต็มไปด้วยสีสัน ความประทับใจเหล่านั้นได้รวบรวมออกมาเป็นหนังสือ ‘Moments in Chiang Mai บันทึกช่วงเวลาในเชียงใหม่ ผ่านการเดินทางของลายเส้นและสีน้ำ’ ที่จะพาเราออกเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ในแต่ละช่วงเวลา ผ่านภาพวาดที่คงความเป็นเอกลักษณ์ของ Louis Sketcher ด้วยดินสอ ปากกา สีน้ำ และลายเส้นเฉพาะตัว จำนวน 160 หน้า พิมพ์สีทั้งเล่ม และมาพร้อมกับเนื้อหาสองภาษา (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) Moments in Chiang Mai บันทึกช่วงเวลาในเชียงใหม่ ผ่านการเดินทางของลายเส้นและสีน้ำ เปิดให้ Pre-order […]
บางเรื่องของ ‘บางลำพู’ ย่านท่องเที่ยวหลากวัฒนธรรม
‘บางลำพู’ ย่านท่องเที่ยวอันดับหนึ่ง ที่มีถนนข้าวสาร จุดหมายปลายทางอันดับต้นๆ ของชาวต่างชาติที่มาเยือนกรุงเทพฯ ชวนไปดูว่า บางลำพูปรับตัวอย่างไร จึงสามารถเอาตัวรอด ฟื้นฟูตัวเอง และกลับมาคึกคักได้อีกครั้ง หลังจากสถานการณ์โรคระบาด จนรักษาชื่อให้เป็นย่านที่นักท่องเที่ยวยังคงตั้งใจมาเยือน บางที่ก็มีเรื่องนั้น บางย่านก็มีเรื่องนี้ เพราะทุกย่านมี ‘บางเรื่องที่โลกต้องรู้’ Urban Creature ร่วมกับกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เสนอสารคดีขนาดสั้นจากบางเรื่องเล่าของ 5 ย่านท่องเที่ยวทั่วกรุงเทพฯ ชมพร้อมกันทุกวันพุธตลอดเดือนพฤษภาคมนี้ ทุกช่องทางของ Urban Creature
Abang Adik สองพี่น้องผู้ยังมีกันและกัน และความสัมพันธ์ที่ไม่เคยถูกเหลียวแล ณ ซอกหลืบที่ลึกสุดของความชายขอบ
ภาพยนตร์จากประเทศมาเลเซีย คงไม่ได้เป็นสิ่งที่หาชมได้บ่อยนักในโรงหนังไทย อีกทั้งน่าจะมีภาพจำว่าต้องเป็นหนังที่นำเสนอความเป็นศาสนาอิสลามแน่ๆ ยังไม่นับรวมกฎการเซนเซอร์หนังที่เคร่งครัดเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ หลายๆ คนอาจจะเข้าใจผิด ไม่คิดว่า Abang Adik หนังที่คว้ารางวัลนักแสดงนำชายจากเวทีม้าทองคำ (Golden Horse Awards) ที่ได้ชื่อว่าเป็นออสการ์ของจีน ซึ่งมีตัวละครนำเป็นชาวจีนจะเป็นหนังมาเลเซียไปได้ มากไปกว่านั้น มันยังเป็นหนังแนวชีวิตรันทด ขื่นขม และโหดร้าย ที่ตัวละครต้องการจะหลีกหนีจากโชคชะตาอันต้อยต่ำในสังคม ตะเกียกตะกายหาหนทางไปสู่ชีวิตที่ดีกว่าผ่านเส้นทางอันสุดแสนยากลำบาก ที่ไม่ว่ายังไงก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะหลุดออกจากวงจรเหล่านั้น เนื่องจากระบบสังคมกดทับพวกเขาอยู่ เราแทบไม่เคยเห็นเรื่องราวลักษณะนี้จากฟากฝั่งของหนังมาเลเซีย ทั้งที่หนังแนวนี้ในระดับสากลถูกเล่ามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสถานที่และเวลา ยกตัวอย่าง Rosetta (1999) ของพี่น้อง Dardenne ที่ว่าด้วยเด็กสาวผู้พยายามต่อสู้เอาชีวิตรอดเพียงหวังแค่การงานที่มั่นคง, Lilya 4-Ever (2002) ของ Lukas Moodysson ที่เล่าถึงชีวิตเด็กสาวที่ถูกพ่อแม่ทอดทิ้งในเมืองที่เคยเป็นสหภาพโซเวียต และถูกหลอกไปค้าประเวณีในสวีเดน, An Elephant Sitting Still (2018) หนังจีนของ Hu Bo ผู้ล่วงลับ ที่ฉายภาพของกลุ่มคนหลากวัยที่หมดหวังกับเมืองของเขา หรือ A Sun (2019) […]
มา ‘สะออนเด้’ สืบสานดีเอ็นเอชาวอีสาน กับ ‘เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2567’ วันที่ 29 มิ.ย. – 7 ก.ค. 67 ทั่วจังหวัดขอนแก่น
ได้เวลาม่วนซื่นโฮแซวกับงานเทศกาลศิลปะสุดยิ่งใหญ่ในภาคอีสาน ‘เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2567 (ISAN Creative Festival 2024)’ หรือ ISANCF2024 โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ที่ครั้งนี้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 4 ภายใต้ธีม ‘สะออนเด้’ Proud of Isan ผสมอีสาน ต่อยอด เติบโต พร้อมพาไปรับประสบการณ์สุดครีเอตที่ชาวอีสาน So Proud ชวนทุกคนหาคำตอบในความเป็นอีสานผ่านงานดีไซน์ งานศิลปะ งานคราฟต์ อาหารอีสานฟิวชัน และความบันเทิงหลากหลายแขนงที่แบ่งออกเป็น 3 มิติ ได้แก่ 1) สะออนของ ‘ดี’ อีสาน (Isan Assets) ตีแผ่ต้นทุนความพรั่งพร้อมของทรัพยากรความสร้างสรรค์ในภูมิภาคอีสาน จากกลุ่มคน ธุรกิจ และย่านสร้างสรรค์2) สะออน ‘ทดลองเรียนรู้’ (Isan Experiment) เปิดพื้นที่ทดลองเพิ่มมูลค่าให้กับต้นทุน โดยหยิบเอกลักษณ์ในท้องถิ่นที่แตกต่างไปต่อยอด เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ3) สะออนสรรค์สร้าง ‘โอกาส’ (Isan Opportunity) […]
สำรวจ ‘ป่าในเมือง’ ที่สวนเบญจกิติไปกับเยาวชนตัวน้อย ในค่าย Power Green Camp ครั้งที่ 19
เพราะป่า เมือง และชีวิตต่างเชื่อมโยงถึงกัน จนขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ การปลูกฝังให้เยาวชนรับรู้ว่า พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ใช่ ‘เจ้าของ’ จึงเป็นเรื่องสำคัญ กว่า 19 ปีที่โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Power Green Camp) บ่มเพาะเด็กรุ่นใหม่ให้สนใจและหวงแหนสิ่งแวดล้อมรอบตัว และในปีนี้เป็นปีที่เราต้องเผชิญกับสภาพอากาศแปรปรวน ปัญหาฝุ่นควัน มลพิษจากการจราจรที่หนาแน่น ประกอบกับอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวในประเทศไทยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสดีที่จะร่วมปลูกฝังให้เยาวชนเห็นความสำคัญของ ‘พื้นที่สีเขียว’ หนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เพื่อให้พวกเขาสามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างป่า-เมือง-ชีวิต Urban Creature ขอใช้โอกาสนี้ร่วมใช้เวลาหนึ่งวันไปกับการสำรวจ ‘ป่าในเมือง’ ที่สวนเบญจกิติพร้อมเหล่าเยาวชนตัวน้อย ภายใต้ธีม ‘Urban Rewilding ป่า-เมือง-ชีวิต’ ที่มาพร้อมกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติ เน้นการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์มาดูแลทรัพยากรป่าไม้และฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพของป่าในเมืองอย่างเป็นระบบ ไอความร้อนภายในเมืองที่หลายคนลงมติว่าปีนี้ร้อนขึ้นกว่าทุกๆ ปี เป็นสัญญาณว่า ‘ภาวะโลกเดือด’ กำลังทำให้สมดุลของสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป ยิ่งในสังคมเมือง โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ของเราที่มีอัตราส่วนพื้นที่สีเขียวต่อประชากรอยู่เพียง 3.54 ตารางเมตรต่อคน ซึ่งไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่กำหนดไว้ที่ 9 ตารางเมตรต่อคน ทำให้ปัญหาเรื่องพื้นที่สีเขียวกลายเป็นปัญหาสำคัญที่เราทุกคนต้องร่วมด้วยช่วยกัน อีกทั้งเทรนด์ในปัจจุบันที่คนหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับพื้นที่ธรรมชาติสีเขียวในเมืองมากขึ้น การให้ความสำคัญกับป่าในเมือง อีกหนึ่งพื้นที่สีเขียวของคนเมืองที่เป็นมากกว่าสวนสาธารณะทั่วไป จึงเป็นสิ่งที่เราต้องเริ่มต้นให้ความสนใจตั้งแต่วันนี้ […]
หมาเด็กแมวเด็ก ช่วยให้โฟกัสได้ดีขึ้น การเสพภาพหรือคลิปสัตว์โลกตัวน้อยทำให้มีสมาธิในการทำงานโดยไม่รู้ตัว
ช่วงที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเข้าไปในโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มไหนก็มักเจอแต่ภาพและคลิปวิดีโอสัตว์น่ารักๆ เต็มไปหมด ไม่ว่าจะเป็นแพนด้ากินไผ่ คาปิบาราแช่น้ำร้อน วอมแบตเกาก้น หรือเหล่าหมาเด็กที่ชาวเน็ตอยากอมหัวออนไลน์ แน่นอนว่าการดูคลิปหรือภาพสัตว์น่ารักๆ ช่วยลดความเครียด เพิ่มความสุขให้กับเรา และแม้ว่าเราจะใช้เวลานอนดูคลิปไปวันๆ โดยไม่ได้ทำอะไร แต่เชื่อหรือไม่ว่า นอกเหนือจากการช่วยขจัดความรู้สึกอันหนักหน่วงออกไปแล้ว ความน่ารักแบบไม่รู้ตัวของเจ้าสัตว์พวกนี้ยังช่วยให้มนุษย์มีสมาธิเพิ่มขึ้นอีกด้วย ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นได้ด้วยความคิวต์ของสัตว์โลก เวลาเครียดๆ เรามักหาวิธีการผ่อนคลายจากความหนักหนานั้นด้วยการไถหน้าจอดูอะไรสนุกๆ หรือน่ารักๆ ซึ่งภาพหรือคลิปสัตว์น่าจะเป็นสิ่งแรกๆ ที่เรานึกถึง โดยเฉพาะเจ้าสัตว์ตัวน้อยๆ ที่ยิ่งคูณความน่าเอ็นดูขึ้นไปอีก แต่มากไปกว่าความตะมุตะมิเกินต้าน ยังมีการศึกษาของนักวิจัย ‘ฮิโรชิ นิตโตโน’ แห่งมหาวิทยาลัยฮิโรชิมา ที่แสดงให้เห็นว่า เจ้าสัตว์โลกเหล่านี้ช่วยให้เราโฟกัสได้ดีขึ้นอีกด้วย โดยเขาได้ทำการทดลองผ่านการเล่นเกม แยกเป็นครั้งแรกให้ผู้ทดลองเล่นตามปกติ ส่วนครั้งที่สองแบ่งผู้ทดลองออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งดูภาพของลูกหมาและลูกแมว อีกกลุ่มหนึ่งดูภาพของหมาและแมวโตเต็มวัยที่มีความน่ารักน้อยกว่าวัยเด็ก หลังจากกลับมาเล่นเกมอีกครั้ง ทีมผู้วิจัยพบว่า กลุ่มผู้ทดลองที่ดูภาพหมาเด็กแมวเด็กมีความรอบคอบมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ดีขึ้นกว่ารอบแรก ส่วนกลุ่มที่ดูภาพหมาแมวตอนโตนั้นใช้เวลาในการเล่นเท่าเดิมและประสิทธิภาพที่ออกมานั้นไม่ได้ต่างจากเดิมเท่าไหร่ การศึกษานี้ทำให้พบว่า สิ่งน่ารักๆ โดยเฉพาะลูกสัตว์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งอาจเกิดจากสมาธิที่เพิ่มขึ้น เพราะขอบเขตความสนใจที่แคบลงจากการเพ่งความสนใจทั้งหมดไปอยู่ที่รูปภาพหรือคลิปวิดีโอของสัตว์น่ารักๆ ตรงหน้าไปแล้ว สอดคล้องกับรายงานในปี 2009 ของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียที่พบว่า การดูรูปน่ารักๆ อย่างลูกหมาและลูกแมวนั้นส่งผลต่ออารมณ์เชิงบวกได้ง่าย ช่วยให้มีความตั้งใจความเอาใจใส่มากขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการอยากมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมด้วย เพราะความกระจุ๋มกระจิ๋ม ทำให้ลูกสัตว์ส่งผลต่อใจคนมากกว่า […]
ปลีกตัวจากโลกที่วุ่นวาย ไปหาความหมายของความว่างเปล่า ใน ‘ภูมิทัศน์ของความว่างเปล่า : Landscape of Emptiness’
‘ความว่างเปล่า’ ไม่ได้แปลว่า ไม่มีอะไร แต่อาจหมายถึงสภาวะที่เราเลิกยึดติด ปล่อยวางตัวเองไปจากบางสิ่งบางอย่าง หรือเป็นการสูญสลายไปของสิ่งของต่างๆ ก็ได้ ‘ภูมิทัศน์ของความว่างเปล่า : Landscape of Emptiness’ เป็นนิทรรศการศิลปะเดี่ยวจาก ‘สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์’ โดยมี ‘กฤษฎา ดุษฎีวนิช’ เป็นภัณฑารักษ์ นิทรรศการนี้ชักชวนให้เราหลีกหนีจากโลกอันวุ่นวาย แล้วเข้าไปสงบกาย สงบใจ กับงานศิลปะที่จำลองโลกแห่งความว่างเปล่า พร้อมสำรวจความหมายของ ‘ความว่างเปล่า’ ในหลากหลายแง่มุม รวมถึงแง่มุมสัจธรรมที่ว่าทุกสิ่งนั้นตั้งอยู่แล้วดับไป ภูมิทัศน์ของความว่างเปล่า : Landscape of Emptiness จัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ – 8 มิถุนายน 2567 ที่หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ)
Reserve a chair in Thailand style อากาศร้อน ขอจองที่ไว้ก่อนนะ
ผมเป็นคนชอบถ่ายภาพแนว Street Photography เพราะเสน่ห์ของการถ่ายภาพแนวนี้คือ เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่า ในวันที่ออกไปถ่ายภาพเราจะได้ภาพอะไรบ้างหรืออาจไม่ได้อะไรเลย ส่วนใหญ่ภาพแนวสตรีทที่ผมถ่ายนั้นจะเป็น Single Photo หรือการเล่าเรื่องในภาพเดียว ซึ่งภาพเดี่ยวของภาพสตรีทนั้นมีแนวที่หลากหลาย ถ้าตามสากลที่ยึดแกนหลักกันคร่าวๆ จะมี Layer, Juxtaposition, Unposed เป็นต้น แต่บังเอิญว่าในวันที่ผมออกไปถ่ายภาพ ท่ามกลางแดดร้อนและเวลาที่จำกัด ผมที่เดินหาภาพก็ครุ่นคิดอยู่นานว่าจะถ่ายภาพอะไรดี จนกระทั่งเห็นลานที่มีเก้าอี้เรียงเป็นทิวแถว ซึ่งบนเก้าอี้แต่ละตัวเต็มไปด้วยสิ่งของที่วางไว้เพื่อทำหน้าที่จับจองพื้นที่ ทำให้การถ่ายภาพในวันนั้นเปลี่ยนจาก Single Photo มาเป็น Mini Series Reserve a chair in Thailand style หรือการจองเก้าอี้ในแบบไทย เป็นชุดภาพที่ต้องการเล่าแบบเรียบง่าย แต่ก็แอบแฝงความไทยแทร่ของคนไทยในการครีเอตวิธีการจองที่ได้เป็นอย่างดี เพราะต่อให้ไม่มีการยืนยันตัวตนเหมือนซื้อบัตรเข้าชมงาน แต่ผู้คนที่จะหาที่นั่งต่างก็รู้ดีว่า เก้าอี้เหล่านี้มีเจ้าของเรียบร้อยแล้ว งานภาพชุดนี้ไม่ต้องตีความให้ซับซ้อน เหมือนเราดู Review Before and After แค่ต้องอาศัยช่วงเวลาของแสงเพื่อทำให้เกิด Mood & Tone ของสิ่งที่ถ่ายให้ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ […]
Rumba Bor แบรนด์ที่อยากกระชากสิ่งของเชยๆ ให้กลับมามีชีวิต ด้วยการใช้วัสดุรีไซเคิล
“สิ่งที่เราทำคือการกระชากเก้าอี้จีนเชยๆ ที่คนอาจมองข้ามไป ให้หันมามองสิ่งของใน Everyday Life ในมุมมองใหม่ๆ ที่ Sustainable มากขึ้น” ‘รัมภา ปวีณพงษ์พัฒน์’ เจ้าของแบรนด์ Rumba Bor บอกถึงความตั้งใจของเธอในการเริ่มต้นทำแบรนด์สิ่งของเครื่องใช้รักษ์โลก ที่มีจุดเด่นคือการดึงเอาของใช้ในชีวิตประจำวันมาผสมผสานความครีเอทีฟ โดยใช้วัสดุที่รีไซเคิลเป็นหัวใจหลัก หญิงสาวเล่าว่า จุดเริ่มต้นของ Rumba Bor เกิดขึ้นเมื่อเธอเรียนจบด้าน Fine Arts มาได้สักพัก และเริ่มรู้สึกอยากเริ่มทำแบรนด์เป็นของตัวเองด้วยการนำสิ่งที่เรียนมาใช้ทำงานให้สนุก นอกจากแพสชันส่วนตัว ในช่วงที่เรียนอยู่ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย รัมภามักเห็นคนทิ้งสิ่งของเครื่องใช้อย่างเฟอร์นิเจอร์อยู่บ่อยๆ โดยเธอมักจะเดินไปดูว่ามีอะไรน่าสนใจและหยิบจับไปใช้ในงานออกแบบของตัวเองได้บ้าง ตรงนี้เองที่ส่งผลให้รัมภาซึมซับเรื่องสิ่งของมือสอง ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม และเข้าใจการใช้ชีวิตในแบบที่ไม่ต้องซื้อของใหม่บ่อยๆ หลังจากลองผิดลองถูกอยู่นาน ผลงานชิ้นแรกภายใต้แบรนด์ Rumba Bor ของรัมภา ก็ออกมาเป็น ‘เฌย (Choei)’ เก้าอี้จีนรูปลักษณ์คุ้นเคยที่ลูกหลานคนจีนคุ้นตาดี ซึ่งหญิงสาวนำมาตีความใหม่ และใช้พลาสติกโพลีโพรไพลีนรีไซเคิล (PP Recycle) ในการทำ “มันเกิดจากการที่เรามีโอกาสไปเดินดูโรงงาน แล้วเจอเก้าอี้ที่ลวดลายเชยๆ สีม่วงแดง ทำมาจากพลาสติก PVC ย่อยสลายไม่ได้ ขายไม่ออก […]
ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive พฤษภาคม 2567
ของพวกนี้ดีไซน์แล้วหรือยังเป็นคำถามที่เกิดขึ้นกับตัวผมเองในช่วงไม่นานมานี้ หลังจากเริ่มเผยแพร่ภาพผลงานสิ่งประดิษฐ์อันแสนน่าอัศจรรย์ใจที่พบเจอตามริมทางท้องถนนเมืองไทยมาสักพักใหญ่ ทั้งผ่านช่องทางส่วนตัวหรือกับทาง Urban Creature เอง ตอนผมเรียนในโรงเรียนออกแบบ โดยทั่วไปอาจารย์มักสอนกันว่า เวลาสร้างผลงานใดๆ เราจำเป็นที่จะต้องตอบคำถามสิ่งที่เราดีไซน์กันอยู่ให้ได้ 3 เรื่อง ได้แก่1) ฟังก์ชันการใช้งาน2) ตอบโจทย์แก้ปัญหา3) ความสวยงาม แต่เมื่อเรามีประสบการณ์ทำงานดีไซน์ไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่ก็มักจะพบกันว่า ไอ้ข้อที่ 3 ที่ว่าเรื่องความสวยงาม เริ่มกลายเป็นเรื่องรองมากขึ้น เพราะในสังคมปัจจุบัน ความสวยงามเป็นเรื่องของปัจเจกสูง มีความแล้วแต่บุคคลจะมอง เทสใครเทสมัน ทำให้ยุคหลังๆ นักออกแบบหลายคนในหลายวงการโฟกัสผลงานดีไซน์ไปที่เรื่องฟังก์ชันและการแก้ปัญหาเป็นหลักเสียมากกว่า เพราะงานออกแบบที่สวยงามมากๆ แต่ไม่ตอบโจทย์การใช้งาน ก็อาจไม่เรียกว่างานดีไซน์ที่ดีได้เช่นกัน กลับมาที่สิ่งประดิษฐ์จากคนธรรมดาผู้ไม่ได้เรียนออกแบบที่เราพบเจอได้ตามท้องถนน แล้วของพวกนี้มันดีไซน์แล้วหรือยัง มันอาจจะดีไซน์แล้วมั้ง-เพราะมีฟังก์ชันและสามารถแก้ปัญหาได้ดีมากๆ แต่หน้าตาก็ดูแปลกๆ หรือมันยังไม่ได้ดีไซน์-เพราะหน้าตาแย่เกินไปกว่าที่เราควรจะไปชื่นชมมัน หรือต้องเป็นของที่ผ่านมือนักออกแบบเท่านั้นถึงจะเรียกว่าดีไซน์ บอกเลยว่าตัวผมเองก็ยังไม่มีคำตอบให้ เพราะเมื่อได้พบเจอกับของพวกนี้ชิ้นใหม่ๆ ทุกครั้ง ผมจะรู้สึกว้าวอยู่ตลอด มันชวนตั้งคำถามและท้าทายอาชีพนักออกแบบอยู่เสมอๆ ว่าพวกเราสามารถคิดวิธีออกแบบได้ดีเท่านี้ไหม แล้วเพื่อนๆ ทุกท่านคิดว่าของเหล่านี้ถูกดีไซน์แล้วหรือยัง หากยังไม่แน่ใจในคำตอบแบบเดียวกับผม ก็ขอชวนมาดูภาพของเหล่านี้กันเพลินๆ อีกครั้ง ที่ผมคัดสรรมาให้โดยเฉพาะกับคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอ ประจำเดือนนี้ได้เลย Table + Height Adjustment ระดับความสูงของโต๊ะอ่างล้างจานมาตรฐานบ้านเรามักจะอยู่ที่ […]
ชวนมาอยู่ด้วยกัน ที่ “Noble Neighbor” กรุงเทพกรีฑา คอมมูนิตี้ใหม่ครบทั้ง work – life – nature
กรุงเทพฯ มีการขยายตัวของเมืองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในตอนนี้ก็เริ่มเข้าสู่การพัฒนาฝั่งตะวันออก ทำให้มีการเติบโตของเศรษฐกิจขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีส้ม รวมไปถึงธุรกิจต่างๆ ที่เริ่มขยับขยายมาเปิดตัวในโซนนี้เป็นจำนวนมาก ด้วยการเดินทางที่สะดวกสบาย เข้าสู่ใจกลางเมืองได้หลากหลายวิธี ทำให้ในอนาคตอันใกล้นี้ ย่านกรุงเทพกรีฑาอาจเป็นพื้นที่ในการใช้ชีวิตแห่งใหม่ของคนกรุงเทพฯ ก็เป็นได้ เตรียมมาเป็นชาว Nobler ด้วยกันในย่านกรุงเทพกรีฑา กับสองโครงการแรก อย่าง ‘Noble Norse’ และ ‘Nue Verse’ โครงการที่ออกแบบที่อยู่อาศัยตอบโจทย์กับกลุ่ม ‘Affordable Millennials’ ผู้มีไลฟ์สไตล์ชัดเจน และกำลังมองหาการลงทุนระยะยาวอย่างบ้านหลังแรกที่สามารถรองรับการใช้ชีวิตได้ตามที่ต้องการ กรุงเทพกรีฑา ย่านที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต เมื่อการขยายตัวของเมืองเริ่มเข้าสู่โซนตะวันออก การเลือกทำเลที่อยู่อาศัยในย่านที่กำลังจะเติบโตอย่างกรุงเทพกรีฑาจึงเป็นการวางแผนอนาคตอย่างหนึ่ง ด้วยทำเลที่อยู่ติดกับถนนกรุงเทพกรีฑาตัดใหม่ จุดเด่นที่สังเกตได้ชัดเจนคือ โครงการหมู่บ้านระดับ Luxury จากผู้ประกอบการรายใหญ่มากมาย ถนนใหญ่ 8 เลน และทางด่วนที่พาเข้าเมืองได้อย่างง่ายดาย รวมไปถึงการมาของ Community ที่ผุดขึ้นอย่างรวดเร็ว และโรงเรียนนานาชาติชื่อดังที่ฮิตในหมู่พ่อแม่ผู้ปกครอง จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คอมมูนิตี้ใหม่อย่าง Noble Neighbor นั้นตอบโจทย์กับการอยู่อาศัยในย่านนี้เป็นอย่างมาก มากไปกว่านั้น คอมมูนิตี้ Noble Neighbor ยังรายล้อมไปด้วยสถานที่ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนนานาชาติ […]