ลุงผู้ใหญ่แว้นพาเที่ยว บ้านปากซวด จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมู่บ้านนี้มีดีที่สายน้ำ | Green Link EP.1

คุณคิดว่าคนอยู่ร่วมกับป่าได้จริงเหรอ แล้วจะอยู่กันอย่างไร คำตอบอยู่ในสารคดีชุดนี้ Green Link รายการสารคดีที่ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมคือลมหายใจของมนุษย์ ในตอนแรกนี้ คุณจะได้ซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ลุง เที่ยวชมบ้านปากซวด จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมู่บ้านที่อยู่กับน้ำ จนได้เป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติจัดการน้ำชุมชนฯ ที่นี่คือหนึ่งในหมู่บ้านที่เป็นภาพชัดของการอยู่อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริ ตลอดเส้นทางที่เหมือนเราได้ไปสูดอากาศดีๆ ฟังเสียงสายน้ำ กินอาหารแสนอร่อยของที่นี่ ไปด้วยจริงๆ ระหว่างกำลังสนุกนั้น เราก็จะได้ไปพบกับเหตุผลว่าทำไมป่าต้นน้ำ ถึงสำคัญกับชีวิตคุณ ไม่ว่าคุณจะอยู่ห่างไกลจากป่าเป็นหลายพันกิโลก็ตาม

พก : ร้านหนังสือและโรงหนังเคลื่อนที่ของคู่รักที่พกหนังสือและหนังดีไปหาคนดูได้ทุกที่

ภาพทิวดอย ทุ่งนา และฟ้าใส ค่อยๆ เคลื่อนผ่านไปบนกระจกของรถยนต์ที่กำลังแล่นไปตามทางลดเลี้ยวเลียบสันดอยของจังหวัดเชียงราย ที่นั่งด้านหลังถูกปรับให้กลายเป็นพื้นที่บรรทุกหนังสือจำนวนหลายเล่ม และเครื่องฉายภาพยนตร์คุณภาพเป็นเพื่อนร่วมเดินทาง เป้าหมายของการเดินทางครั้งนี้คือการพาหนังสือและหนังคุณภาพดีไปนำเสนอให้กับผู้คนในอำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย “พวกเราเชื่อว่าหนังที่ดี หนังสือที่ดี ทำงานกับหัวใจของผู้คนให้ไหวไปกับเนื้อหาที่ได้รับ และสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีให้เกิดขึ้นได้ แต่จะทำยังไงให้หนังที่ดีและหนังสือที่ดีไปถึงที่ผู้คนได้มากที่สุด วิธีการที่ดีที่สุดที่พวกเราคิดก็คือ การพกหนังที่ดีและหนังสือที่ดีไปหาผู้คน เราสองคนจึงเริ่มต้นทำ ‘พก’ ขึ้นมา” พก คือชื่อร้านหนังสือและโรงหนังเคลื่อนที่ที่จะพกหนังสือและหนังคุณภาพพาไปสู่ผู้คนในวงกว้างทั่วทุกพื้นที่เท่าที่จะเป็นไปได้ของ ‘เป๊ก-ธวัชชัย ดวงนภา’ และ ‘ดา-สุดารัตน์ สาโรจน์จิตติ‘ คู่รักนักทำภาพยนตร์สารคดี ที่ตัดสินใจย้ายชีวิตจากกรุงเทพฯ มาอยู่ที่จังหวัดเชียงราย และเริ่มต้นทำโปรเจกต์ ‘พก’ ขึ้นมา รถยนต์เดินทางมาถึงที่หมาย ณ สตรอเบอรี่สวนหลังบ้าน (Backyard Strawberry) ร้านคาเฟ่เล็กๆ ที่ตั้งอยู่หน้าไร่สตรอว์เบอร์รีและผักออร์แกนิกที่ปลูกเพื่อนำมาเสิร์ฟเป็นเมนูภายในร้าน เป๊กและดาค่อยๆ ช่วยกันนำของที่พวกเขาพกมาลงจากรถ นำผ้าดำมาขึงรอบบริเวณใต้ถุนร้าน นำเก้าอี้มาวาง เอาจอมากาง และตั้งเครื่องฉาย ดัดแปลงพื้นที่ใต้ถุนให้กลายเป็นโรงหนังใต้ถุนเธียร์เตอร์ที่พร้อมฉายภาพยนตร์คุณภาพดีให้ผู้คนที่นี่ หลังจากนั้นพวกเขาก็ขนเอากระเป๋าลงจากรถและนำมาวางเปิดบนโต๊ะ ในกระเป๋าเต็มไปด้วยหนังสือจำนวนมากที่พวกเขาคัดสรรกันมาอย่างดี เท่านี้ ‘พก’ ก็พร้อมแล้วที่จะให้ผู้คนได้เข้ามาชมว่าพวกเขาได้พกพาเรื่องราวอะไรมาบ้าง ขอเชิญก้าวเท้าตามเรามา และไปดูกันดีกว่าว่าเป๊กและดาได้พกเรื่องราวอะไรมากับพวกเขาบ้าง พบปัญหาจึงต้อง ‘พก’ เป๊กและดาประกอบอาชีพนักทำภาพยนตร์สารคดี นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นประเด็นในสังคมมานานนับสิบปี การงานเช่นนี้ได้พาพวกเขาได้เดินทางไปในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ พบเจอกับผู้คนและเรื่องราวน่าสนใจและน่าอดสูจำนวนมาก “การทำงานสารคดีทำให้เราได้เดินทางไปในหลายที่ เจอผู้คนมากมาย นั่นทำให้เราเห็นทั้งปัญหาในสังคม […]

วิ่งวนที่ ‘วงเวียน’ การจราจรบนท้องถนนที่ปลอดภัยที่สุด

หากลองนึกภาพท้องถนนเมืองไทย เราอาจพบเห็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการจราจรหลายรูปแบบ คอลัมน์ Urban Tales ครั้งนี้ เลยพาไปทำความรู้จัก ‘วงเวียน’ ซึ่งในอดีตใช้สำหรับเปลี่ยนเส้นทางการสัญจร แต่ปัจจุบันถูกปรับมาเป็นสี่แยกที่เห็นกันอย่างแพร่หลาย ย้อนกลับไปช่วงทศวรรษที่ 1790 นั่นคือยุคแรกที่แนวคิดการสัญจรรถเป็นวงกลมถือกำเนิด โดย ‘Pierre L’Enfant’ สถาปนิกพ่วงตำแหน่งวิศวกร เขาเริ่มจากการสร้างต้นแบบในวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา จนในปี 1905 ก็ได้ฟื้นฟูรูปแบบและพัฒนาจนกลายเป็นสี่แยกวงกลมแห่งแรกของสหรัฐอเมริกาที่ชื่อว่า ‘Columbus Circle’ ซึ่งตั้งโดดเด่นเป็นสง่า ณ มหานครนิวยอร์ก ก่อนจะถูกเรียกว่า ‘วงเวียน’ เต็มรูปแบบอย่างทุกวันนี้ หลักการพื้นฐานของวงเวียนคือการช่วยให้การจราจรที่อยู่ภายในหมุนเวียนได้อย่างลื่นไหล โดยไม่ต้องใช้สัญญาณไฟจราจร ซึ่งในวงเวียนอาจมีเลนภายในด้วย ยกตัวอย่างการใช้งานที่ประเทศอังกฤษ จะเห็นว่าระบบการจราจรที่นั่นส่วนใหญ่ แม้แต่จุดเปลี่ยนเส้นทางเล็กๆ ในเมือง มักจะใช้วงเวียนมากกว่าการใช้สัญญาณไฟจราจร หรือประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างจีน ก็มีสถานที่ชื่อดังอย่าง ‘วงเวียนหมิงจู่ (Mingzhu)’ ซึ่งกลายเป็นแลนด์มาร์กของเมืองเซี่ยงไฮ้ที่ครบวงจรมากกว่าการให้รถยนต์สัญจรไปมา แต่ยังสามารถเดินบนสกายวอร์กเชื่อมไปยังศูนย์การค้าหรือตึกต่างๆ ของย่านการค้าใจกลางเมืองโดยไม่ต้องข้ามถนน ข้อมูลทางสถิติจากการประเมินเปรียบเทียบประสิทธิภาพความปลอดภัยของวงเวียนและการควบคุมทางแยกแบบดั้งเดิม โดยสถาบันวิศวกรการขนส่งสหรัฐอเมริกาบอกว่า วงเวียนที่ถูกออกแบบมาอย่างสมบูรณ์จะปลอดภัยสำหรับผู้ขับขี่และคนเดินถนนมากกว่าสัญลักษณ์ในการจราจรรูปแบบอื่นๆ เพราะอัตราการเร่งรถจะลดลงเหลือ 25 – 40 กม. เท่านั้น […]

ร้านบิ๊กเต้ โชห่วยแห่งประเทศรังสิต ที่ครองใจชาวหอ เด็ก มธ. และทำให้ชาวเน็ตอารมณ์ดี

ชวนคุยกับ เต้-ศตวัสส์ เจ้าของร้านบิ๊กเต้ แห่งประเทศรังสิต ผู้คิดประโยคโดนๆ บนป้ายสินค้า ให้ลูกค้าและชาวเน็ตยิ้มตาม

แบบทดสอบ : KNOW YOU KNOW ME เพื่อนที่อนุญาตให้กันและกันเป็นตัวของตัวเอง

นิยามคำว่า ‘เพื่อนสนิท’ สำหรับฉันอาจไม่ใช่การเจอหน้ากันทุกวัน หรือรู้เรื่องชีวิตของกันและกันทุกกระเบียดนิ้ว แต่ถ้าคนใดคนหนึ่งต้องการ ‘ที่พักพิง’ เมื่อไหร่ พวกเราก็พร้อมที่จะมอบความสบายใจให้แก่กันเสมอ

ตึกแถว ศิลปะชิ้นเอกของคนอยู่

ทุกครั้งที่เดินเที่ยวย่านเมืองเก่า จะเห็น ‘ตึกแถว’ เรียงตัวยาวต่อไปกันจนสุดหัวมุมถนนทั้งสองฝั่ง หากมองเจาะลึกลงไปยังโครงสร้างหน้าตาของตึกแถว มักมีความตายตัว เรียบง่าย และเน้นประโยชน์การใช้สอยของผู้อยู่อาศัยเป็นหลัก  แต่หากมองลึกลงไปให้มากกว่านั้น จะเห็นเสน่ห์ของวิถีชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ในตึกคูหา ผ่านทุกการจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่หันออกมาทางหน้าบ้าน เปรียบได้กับ ‘ผ้าใบผืนใหญ่’ ที่วาดลวดลายโดยจิตรกรเอกอย่าง ‘ผู้อยู่อาศัย’ “เฟื่องฟ้า” “ดาวเรือง” “ปั๊มทองเคยันเสา” “ซ่าทั้งโค้ก ทั้งเฮีย ลองเลย” “กุมารเรนเจอร์ในตึกเรนโบว์” “ว่าง ที่ไม่มีที่ว่าง” “ห้ามหยุด ทำไมถึงหยุด” “ขาคู่” “คนละครึ่ง คนละบาน”

ล่องเรือมานครปฐมตามล่า ‘ฟักข้าว’ พืชป่ามากสรรพคุณ I Hunt

‘ฟักข้าว’ พืชที่คนรักสุขภาพหันมาให้ความสนใจ บางคนรู้จัก บางคนอาจยังไม่รู้ว่าพืชนี้เป็นอย่างไร Hunt รายการจาก Urban Eat พวกเราจะเสาะหาวัตถุดิบหลากคุณค่า ที่มากด้วยเรื่องเล่า เพื่อเอามาส่งต่อให้ผู้คนได้รู้จักอย่างลึกซึ้งกับวัตถุดิบนั้น Hunt ในตอนนี้จึงอาสาพาไปล่องเรือ เลียบคลองมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม ขึ้นฝั่งที่บ้านฟักข้าว ครอบครัวที่อยู่กับฟักข้าวมาอย่างยาวนาน นอกจากสรรพคุณมากมาย ฟักข้าวยังส่งผลให้ชีวิตของผู้คนละแวกบ้านเกิดการเรียนรู้ ดัดแปลงองค์ความรู้ของขึ้นเป็นภูมิปัญญาของตน และนี่คือเรื่องราวที่จะมาตอบว่าแท้จริงแล้ว ฟักข้าว คืออะไร?​ ชื่อฟอนต์ : maaja (หมาจ๋า) ดาวน์โหลดที่ : https://www.dogplease.com/my-font

Tempelhof สวนสาธารณะเบอร์ลินจากสนามบินสมัยสงครามโลก

พื้นที่สาธารณะในเบอร์ลิน เมืองหลวงของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี นั้นมีมากมาย ทั้งสวนสาธารณะ ทางจักรยาน ไปจนถึงสเปซคนเดิน เพื่อรองรับประชากรเกือบ 4 ล้านคนให้มีที่พักผ่อนหย่อนใจ โดยหนึ่งในพื้นที่ซึ่งนำมาเปลี่ยนเป็นพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองคือ สถานที่รกร้าง เราเลยชวนทุกคนมาสำรวจพื้นที่สาธารณะในเมืองเบอร์ลิน ที่ถือกำเนิดขึ้นจากการคืนชีวิตให้พื้นที่รกร้างมีลมหายใจอีกครั้ง เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้ชาวเบอร์ลิน Tempelhof สวนบนสนามบินร้าง เท็มเพลโฮฟ (Tempelhof) คือชื่อของสนามบินที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งอยู่ในเขตเท็มเพิลโฮฟ-เชอเนอแบร์ค ทางใต้กลางของกรุงเบอร์ลิน ซึ่งในอดีตนั้นยิ่งใหญ่ในฐานะสนามบินหลักของเมืองเบอร์ลิน มีอาคารผู้โดยสารที่เคยใหญ่ที่สุดในยุโรป รวมถึงเป็นสนามบินแรกของเยอรมนีซึ่งใช้เป็นพื้นที่สำหรับปล่อยเครื่องบินขึ้นไปถ่ายภาพทางอากาศ และปล่อยบอลลูนที่เป็นส่วนหนึ่งของการค้นพบชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) ไม่เพียงเท่านั้น ความที่สุดของสนามบินเท็มเพลโฮฟคือสองพี่น้องตระกูลไรต์ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องบินลำแรกของโลก เคยมา Take Off เครื่องบินที่นี่และทำสถิติใหม่ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับวงการการบินในเยอรมนี มากไปจนถึงเคยเป็นส่วนหนึ่งของการรบในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อีกด้วย แต่งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา สนามบินเท็มเพลโฮฟปิดตัวลงเมื่อ ค.ศ. 2008 และได้รับการปรับปรุงให้เป็นสวนสาธารณะ เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่ไม่เหมือนที่ไหน เพราะมีทางทอดยาว และกลายเป็นหนึ่งในพื้นที่เปิดที่มีขนาดใหญ่มากของโลก ซึ่งชาวเบอร์ลินถูกใจกับสิ่งนี้ไม่น้อย และมักออกไปทำกิจกรรมต่างๆ ที่สวนสาธารณะเท็มเพลโฮฟ ไม่ว่าจะเป็นเล่นสเก็ต เล่นว่าว ขี่จักรยาน และยังมีสวนกว้างใหญ่สองข้างทางให้ชาวเมืองได้มานั่งปิกนิกรับแดด […]

หมดปัญหาไม่รู้จะทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ไหน ฝากพี่ไปรษณีย์ไทยไปทิ้งได้

รู้หรือไม่? ประเทศไทยมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์จากชุมชนสูงถึง 380,000 ตัน/ปี แต่มีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่ถูกนำกลับรีไซเคิลอย่างที่ควรจะเป็น ส่วนที่เหลือก็จะปะปนไปกับขยะมูลฝอยอื่นๆ รอการฝังกลบ และปล่อยสารเคมีอันตรายอย่างปรอท ตะกั่ว ดีบุก สะสมต่อไปในห่วงโซ่อาหาร ดังนั้น AIS และไปรษณีย์ไทยจึงจับมือกันสร้างโครงการ ‘ฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์’ ที่จะช่วยให้เราจัดการขยะได้อย่างเป็นระบบมากขึ้นผ่านบุรุษไปรษณีย์กว่า 20,000 คนทั่วประเทศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าขยะอันตรายจะถูกนำไปกำจัดและรีไซเคิลอย่างถูกต้องตามมาตรฐานสากลแบบ ‘Zero Landfill’ หรือการรีไซเคิลแบบไม่มีการฝังกลบเลย ส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่รับฝากทิ้ง ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต สายชาร์จ หูฟัง พาวเวอร์แบงก์ และแบตเตอรี่มือถือ สำหรับคนที่สนใจก็นำเจ้าพวกนี้ใส่กล่องพร้อมกับเขียนหน้ากล่องว่า ‘ฝากทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์’ มอบให้บุรุษไปรษณีย์ที่แวะเวียนมาส่งจดหมายแถวบ้านได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

Vaccine Passport โชว์ผลตรวจและการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อลดข้อจำกัดการข้ามประเทศ

ทุกวันนี้การเดินทางข้ามประเทศกลายเป็นเรื่องยากราวกับย้อนไปยุคก่อนมีเครื่องบิน เพราะฉะนั้น เพื่อสลัดข้อจำกัดการข้ามประเทศ ทำให้ ‘Vaccine Passport’ หรือพาสปอร์ตวัคซีน กลายเป็นทางออกที่ ‘คาดว่า’ จะทำให้น่านฟ้ากลับมาคึกคักอีกครั้ง

Shivam นักมวยปล้ำดีกรีแชมป์กับชีวิตบนบัลลังก์มวยปล้ำไทย | Somebody Ordinary I EP.1

มวยปล้ำเป็นการแสดงแบบนี้เจ็บจริงหรือเปล่า? แบบนี้ก็หลอกคนดูสิ? อีกหลายข้อครหา หลากคำถามที่เกิดขึ้นไม่อาจลบความรักของกลุ่มคนที่รักมวยปล้ำลงได้ หนึ่งในคนเหล่านั้นคือ ศิวัม ทริพาธี แชมป์มวยปล้ำ SETUP Thailand Openweight ผู้ใช้ชีวิตจริงลงทุนไปกับการรับใช้ความฝันบนผ้านวมที่เขารักตั้งแต่เด็ก ปลุกกระแสมวยปล้ำในไทยขึ้นมา Somebody Ordinary รายการที่เชื่อในพลังของคนธรรมดาตอนแรกจะพาไปสำรวจชีวิต พูดคุยกับศิวัม ถึงการฝ่าฟันต่อสู้กว่าจะมีเข็มขัดแชมป์มาคาดเอว จนไปถึงมุมมองของตนที่มีต่อมวยปล้ำที่อยากส่งต่อให้คนภายนอกได้รับรู้ ศิวัมเกริ่นกับเราไว้ว่า “ใครจะว่ามวยปล้ำแสดงอะไรยังไง แต่วันที่กรรมการนับหนึ่ง สอง สาม ผมได้แชมป์ ทุกอย่างทุกความรู้สึกในตอนนั้น มันคือของจริง”

‘Izakaya Bottakuri’ ซีรีส์ญี่ปุ่นที่สอนให้รู้ว่า คุณค่าของอาหารคือรสชาติของชีวิต

ณ ตรอกที่อยู่ถัดจากถนนย่านการค้า มีร้านอิซากายะอยู่ร้านหนึ่ง ร้านนี้มีเครื่องดื่มดีๆ อาหารอร่อยๆ และกลุ่มคนที่มีหัวใจอบอุ่นยินดีต้อนรับเสมอ “อิรัชชัยมาเสะ” ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Izakaya Bottakuri ซีรีส์ญี่ปุ่นขนาดสั้นที่ถูกดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูนในชื่อเดียวกัน บอกเล่าเรื่องราวร้านอาหารของสองพี่น้องมิเนะและคาโอรุ ที่คอยสร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และคราบน้ำตา ให้ผู้คนในร้าน ผ่านเมนูอาหารจานพิเศษของร้านในแต่ละวัน ทำให้บรรยากาศภายในร้านแห่งนี้ตลบอบอวลไปด้วยความอบอุ่น ความสุข และความสัมพันธ์ ผ่านการปรุงอาหารด้วยหัวใจทุกจาน นอกจากจะเป็นซีรีส์ชวนหิว ยังชวนให้เราเข้าครัวในเวลาเดียวกัน ถ้าอยากรู้ว่าเป็นยังไง ต้องดูให้จบตอน! ซีรีส์ที่พาเราไปรู้จักวัฒนธรรมการกินแบบ Izakaya เมื่อพูดถึงดินแดนอารยธรรมอย่างญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยเรื่องราวน่าสนใจ Izakaya คือรูปแบบร้านกินดื่มประเภทหนึ่งที่แตกต่างจากร้านเหล้าที่เราคุ้นเคยในประเทศไทย ด้วยเอกลักษณ์การเสิร์ฟเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ควบคู่ไปกับอาหารประเภทต่างๆ เพื่อเพิ่มอรรถรสในการกินดื่มให้มีรสชาติมากขึ้น ส่วนบรรยากาศภายในร้านจะเน้นความอบอุ่นเป็นกันเอง เหมาะแก่การเป็นสถานที่สังสรรค์หลังเลิกงานเพื่อคลายเครียดและกระชับความสัมพันธ์กับผู้คนไปในคราวเดียวกัน รูปแบบการกินดื่มดังกล่าวได้รับความนิยมจนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่น และค่อยๆ แพร่กระจายไปยังสถานที่อื่นทั่วโลก ‘Bottakuri’ ชื่อร้านที่หมายถึงการขูดรีด ความพิเศษของร้านแห่งนี้คงต้องเริ่มจากชื่อร้าน ‘Bottakuri’ ซึ่งหมายถึงการขูดรีด โดยมีที่มาจากความคิดของคุณพ่อเจ้าของร้านว่า การที่เรารับเงินจากการเสิร์ฟอาหารที่บ้านไหนก็มี บ้านไหนก็ทำได้ คงเหมือนการขูดเลือดขูดเนื้อผู้มาใช้บริการหรือเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า ‘บตตากุริ’ กลายเป็นที่มาที่ไปของชื่อร้าน ถึงแม้ร้านแห่งนี้จะเสิร์ฟอาหารทั่วๆ ไป แต่ต่างตรงที่ความตั้งใจพิถีพิถันของคนปรุงซึ่งปรุงอาหารทุกจานด้วยหัวใจ และเมื่ออาหารสร้างรอยยิ้มบนใบหน้าของผู้คนได้ เมื่อนั้นลูกค้าก็จะไม่เสียดายเงิน ทุกคนที่ก้าวเท้าเข้ามาในร้านจึงพร้อมถูกขูดรีดอยู่เสมอ  เมนูนี้สอนให้รู้ว่า […]

1 262 263 264 265 266 370

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.