ในพื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัย ย่อมมีขยะเกิดขึ้นไม่มากก็น้อย ซึ่งในแต่ละเมืองก็จะมีนโยบายกำจัดขยะต่างกันออกไป สิ่งที่เราจะช่วยกันได้ง่ายที่สุด ก็คงจะเป็นการนำขยะบางส่วนที่ยังพอใช้ได้มารีไซเคิลเพื่อลดขยะ
สตูดิโอออกแบบ BakerBrown จึงปิ้งไอเดียสร้างอาคารจากขยะและวัสดุเหลือใช้ที่หาได้ในท้องถิ่น โดยพวกเขาดีไซน์ศาลาในสวนให้โรงโอเปร่า ‘Glyndebourne’ ของประเทศอังกฤษ โดยการนำขยะจากงานเลี้ยงที่จัดในโรงละครมาใช้ในการก่อสร้าง เช่น นำ ‘จุกแชมเปญ’ มาใช้แทนปูนปลาสเตอร์ นำ ‘เปลือกหอยนางรม’ และ ‘เศษแก้ว’ มาทำกระเบื้องมุงหลังคาแทนการใช้คอนกรีต รวมถึง ‘ไม้แอช’ พืชท้องถิ่นมาทำเป็นโครงสร้างหลักของตัวศาลา
ไม่เพียงเท่านั้น ศาลาแห่งนี้ยังถูกออกแบบให้แยกโครงสร้างออกจากกันได้ เพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับอาคารอื่นๆ ในอนาคต แถมยังมีแผนที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกขั้นตอนการก่อสร้างอีกด้วย
ศาลารักษ์โลกนี้มีกำหนดเริ่มก่อสร้างในเดือนกันยายน 2021 หลังรวบรวมขยะจากเทศกาลโอเปร่าที่จะจัดขึ้นในปีนี้ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคมของปีถัดไป
RELATED POSTS
‘HELLO Gas Pavilion’ ปั๊มน้ำมันในจีนที่สะท้อนเอกลักษณ์ของเมือง โดดเด่นท่ามกลางทุ่งนาด้วยหลังคาทรงโค้ง
เรื่อง
Urban Creature
ภาพจำของสถานีบริการน้ำมันหรือปั๊มน้ำมันโดยทั่วไปล้วนมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งแต่ละแบรนด์มักต้องสร้างความโดดเด่นบางอย่างให้สะดุดตาผู้สัญจรไปมา เช่นเดียวกับปั๊มน้ำมัน ‘HELLO Gas Pavilion’ ที่ตั้งอยู่ในเมืองตงอิ๋ง ซึ่งเป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมปิโตรเลียมในประเทศจีน และเป็นแหล่งกำเนิดของแบรนด์ ‘Hello’ บริษัทเทคโนโลยีพลังงานรูปแบบใหม่ ทีมนักออกแบบ ‘SITUATE Architecture’ จึงตั้งใจที่จะออกแบบปั๊มน้ำมันแห่งนี้ให้มีภาพลักษณ์ที่แตกต่างไปจากสถานีบริการน้ำมันแบบเดิมๆ ปั๊ม HELLO ตั้งอยู่บนนาข้าวที่ดินมีความเค็มและเป็นด่างสูง จึงต้องมีสายพานน้ำที่ฝังอยู่ระหว่างสันเขาเพื่อช่วยในการปรับปรุงคุณภาพของดิน อีกทั้งทีมออกแบบยังสร้างความโดดเด่นให้ปั๊มน้ำมันแห่งนี้ด้วยหลังคาทรงโค้งครึ่งวงกลมทำจากโครงคอนกรีตที่สวยงามและดูร่วมสมัย สะท้อนถึงพื้นผิวดินที่มีลักษณะเป็นคลื่นหลังจากฝังสายพานน้ำลงไป ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว ยังชวนให้นึกถึงท่อส่งน้ำมันกับเรือบรรทุกน้ำมันที่ถือเป็นมรดกทางอุตสาหกรรมของเมืองนี้อีกด้วย เมื่อรถยนต์จากถนนสายหลักขับผ่านเส้นทางนี้ จะมองเห็นด้านข้างของปั๊มน้ำมันได้จากระยะไกล และเมื่อขับเข้ามาใกล้ก็จะเห็นมุมมองด้านหน้าที่ทำให้เห็นเส้นโค้งชัดขึ้น จากความตั้งใจของนักออกแบบที่อยากสร้างมุมมองที่ให้ความรู้สึกสนุกสนาน และเป็นการสร้างประสบการณ์ที่แปลกใหม่จากภาพลักษณ์ของปั๊มน้ำมัน ภายในสถานี HELLO นั้นประกอบไปด้วยฟังก์ชันพื้นฐานสามอย่าง ได้แก่ การเติมน้ำมัน ตู้คีออสก์ และบริการล้างรถ รวมไปถึงมีคาเฟ่และเลานจ์บนชั้นสองของสถานี เพื่อให้ผู้ใช้บริการมองเห็นทุ่งนาด้านนอก ทำให้รู้สึกได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติ โดยพื้นที่ด้านบนนี้ยังปรับเปลี่ยนเป็นห้องประชุมหรือห้องสำหรับจัดนิทรรศการได้ด้วย Sources :ArchDaily | tinyurl.com/yr66aps3Designboom | tinyurl.com/yhzshzfe
โปรเจกต์ ‘Guilty Flavours’ ไอศกรีมจากพลาสติกรีไซเคิล ทางเลือกการกำจัดขยะในอนาคต
เรื่อง
Urban Creature
ดูเหมือนว่าขยะพลาสติกจะเป็นปัญหาที่ยังหาทางแก้ไม่ได้อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าจะมีกระบวนการรีไซเคิลที่ช่วยลดขยะพลาสติกได้ แต่งานรีไซเคิลในปัจจุบันก็มักเข้าสู่กระบวนการออกแบบขึ้นมาใหม่พร้อมกับเรซินหรือวัสดุอื่นๆ ที่ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้อีกครั้ง จากปัญหานี้ทำให้ ‘Eleonora Ortolani’ นักศึกษาปริญญาโทจาก Central Saint Martins ได้แรงบันดาลใจในการทำโปรเจกต์ปีสุดท้ายของเธอ เนื่องจากมองว่าการรีไซเคิลอาจไม่ได้เป็นวิธีการแก้ปัญหาพลาสติกที่แท้จริง เธอจึงตั้งข้อสงสัยว่า มีวิธีไหนที่ทำให้คนกำจัดพลาสติกได้อย่างสมบูรณ์ด้วยการ ‘กิน’ ได้บ้าง หลังจากคิดค้นมานาน ในที่สุดก็เกิดเป็นโปรเจกต์ ‘Guilty Flavours’ ซึ่งเธอได้ ‘Hamid Ghoddusi’ หัวหน้าหลักสูตรวิทยาศาสตร์การอาหารแห่งมหาวิทยาลัย London Metropolitan และ ‘Joanna Sadler’ นักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Edinburgh ที่ใช้แบคทีเรียดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อสังเคราะห์ ‘วานิลลิน’ จากพลาสติกมาร่วมงานด้วยกัน วานิลลินคือสารให้กลิ่นสังเคราะห์คล้ายกลิ่นวานิลลาที่เป็นทางเลือกที่ราคาถูกกว่าวานิลลาธรรมชาติ และมักผลิตจากน้ำมันดิบที่มีต้นกำเนิดจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเช่นเดียวกับพลาสติก ทำให้นักวิทยาศาสตร์เลือกโมเลกุลของสารชนิดนี้มาใช้ในการทดลอง ในการทดลองนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ออกแบบเอนไซม์ที่สามารถสลายพันธะที่แข็งแกร่งระหว่างโมเลกุลในโครงสร้างของพลาสติก เพื่อให้เอนไซม์อีกตัวสังเคราะห์โมเลกุลที่ไม่เชื่อมโยงเหล่านี้ให้เป็นวานิลลิน Ortolani อธิบายเพิ่มเติมว่า เมื่อเอนไซม์ตัวแรกทำลายโครงสร้างลง มันจะไม่เป็นพลาสติกอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีใครที่ได้ลองชิมสารชนิดนี้ เพราะถือเป็นสารสังเคราะห์ที่เกิดขึ้นใหม่ และนักวิทยาศาสตร์จะไม่อนุญาตให้ชิมจนกว่าจะมั่นใจว่ามีความปลอดภัยต่อร่างกายจริงๆ ตอนนี้ Guilty Flavours เป็นไอศกรีมที่แช่อยู่ในตู้เย็น และแสดงอยู่ในนิทรรศการ CSM […]
‘Wedding Cake’ พาวิลเลียนเค้กแต่งงานสีพาสเทล งานศิลปะชิ้นใหม่ในคฤหาสน์ Waddesdon
เรื่อง
Urban Creature
‘คฤหาสน์ Waddesdon’ เป็นสถาปัตยกรรมที่สำคัญในเมือง Buckinghamshire ประเทศอังกฤษ ที่เปิดเป็นสถานที่ให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาสัมผัสประวัติศาสตร์และศิลปะอันสวยงามของคฤหาสน์ และหากใครมีโปรแกรมท่องเที่ยวที่ Waddesdon ในช่วงนี้ ย่อมต้องสะดุดตากับ ‘เค้กแต่งงาน’ ก้อนยักษ์ที่โดดเด่นท่ามกลางสีเขียวของต้นไม้และบรรยากาศความเก่าแก่รอบด้านอย่างแน่นอน เค้กแต่งงานนี้เป็นพาวิลเลียนที่สร้างขึ้นโดย ‘Joana Vasconcelos’ ศิลปินชาวโปรตุเกส มีลักษณะคล้ายกับเค้กแต่งงานสีพาสเทลที่มีความสูงถึง 12 เมตร ตั้งอยู่ในบริเวณคฤหาสน์ Waddesdon ที่สร้างขึ้นในปี 1870 โดย ‘Baron Ferdinand de Rothschild’ เพื่อเป็นสถานที่รับรองแขกและจัดแสดงคอลเลกชันเซรามิก ส่วนผสมของพาวิลเลียนเค้กแต่งงานสามชั้นหลังนี้ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนเหล็กดัด 3,500 ชิ้น แผ่นเหล็กรวม 21,815 กิโลกรัม และกระเบื้องเซรามิกจากบริษัท Viúva Lamego ในโปรตุเกสจำนวนกว่า 26,000 ชิ้น ที่มีลวดลายต่างๆ ปูทับภายนอก เลียนแบบลักษณะของส่วนประกอบขนมหวานอย่างบัตเตอร์ครีมและมาร์ซิแพน (Marzipan) ทำให้ดูส่องประกายระยิบระยับราวกับน้ำตาลไอซิงที่เคลือบบนตัวเค้ก เท่านั้นไม่พอ โจอานายังเพิ่มความมีชีวิตชีวาให้ตัวพาวิลเลียนน่ามองยิ่งขึ้นด้วยองค์ประกอบอื่นๆ อย่างนางเงือก โลมา หรือเชิงเทียน ที่เสริมให้เค้กแต่งงานก้อนนี้เหมือนหลุดออกมาจากเทพนิยาย ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้เวลากว่า 5 ปีในการสร้างจนเสร็จสมบูรณ์ […]
‘CATUP’ สตาร์ทอัพที่อยากช่วยลดขยะบนโลก ด้วยการรีไซเคิลพลาสติกให้เป็นโดมแมวและปากกา
เรื่อง
Urban Creature
ปัจจุบันนี้ผู้คนตระหนักถึงภาวะโลกร้อนกันมากขึ้น จึงหันมาใส่ใจกับการแยกขยะเพื่อความสะดวกต่อการคัดแยกและเข้าสู่กระบวนการทำลายอย่างถูกวิธี ซึ่งบางคนอาจเลือกเก็บขยะพลาสติกไว้ขาย แต่ถ้าใครที่ไม่รู้ว่าจะส่งต่อให้ใครและจะนำไปทำอะไรได้บ้าง Urban Creature ขอแนะนำให้รู้จักกับสตาร์ทอัพ ‘CATUP อัพไซเคิลแบบแมวๆ’ ที่เกิดขึ้นโดย ‘นคร แขฉายแสง’ วิศวกรผู้อยากเปลี่ยนขยะให้เป็นของที่มีคุณค่ามากขึ้น นครบอกกับเราว่า จุดเริ่มต้นของ CATUP อัพไซเคิลแบบแมวๆ นี้เกิดจากความชอบในงานประดิษฐ์ บวกกับตัวเขาสนใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการรักษ์โลกอยู่แล้ว และเป็นช่วงว่างหลังจากที่เพิ่งออกจากงานพอดี ทำให้เขาอยากสร้างสรรค์สินค้าที่มาจากกระบวนการจัดการขยะ โดยเฉพาะขยะพลาสติก แรกเริ่มนั้นเขาซื้อฝาพลาสติกบางส่วนจาก ‘Precious Plastic Bangkok’ องค์กรอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่มีการรับบริจาคขยะรีไซเคิล และแบ่งซื้อฝาขวดน้ำบางส่วนจากโรงงานรีไซเคิล เพื่อนำมาเป็นวัสดุในการผลิตสินค้า โดยสินค้าจากขยะพลาสติกของ CATUP มีทั้งหมดสองประเภท คือ โดมแมวและปากกา นครอธิบายต่ออีกว่า ทีแรกเขาตั้งใจจะทำเพียงโดมแมวเท่านั้น แต่เนื่องจากเป็นสินค้าที่ค่อนข้างเฉพาะกลุ่ม จึงขยายไปสู่การผลิตปากกาจากฝาขวดน้ำเพิ่มขึ้นอีกอย่างหนึ่ง “กระบวนการผลิตสินค้าทั้งสองอย่างนั้น ทาง CATUP ทำขึ้นเองทั้งหมดทุกขั้นตอน ตั้งแต่กระบวนการแยกสีฝาขวดน้ำ ทำความสะอาด ย่อยขยะ หรือแม้แต่การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ ด้วยความที่เป็นวิศวกรมาก่อน เราก็ประดิษฐ์เครื่องจักรและทำแม่พิมพ์สำหรับสินค้าทั้งสองอย่างนี้ด้วยตัวเอง “ทาง CATUP ยังมองถึงการผลิตสิ่งของที่ต้องใช้ขยะปริมาณมากๆ ด้วย เพราะปากกาหนึ่งแท่งที่เราทำนั้นมาจากฝาขวดน้ำเพียงเจ็ดฝา ส่วนโดมแมวหนึ่งหลังใช้ขยะพลาสติกที่เป็นขวดน้ำยาซักผ้าปริมาณห้าลิตรเพียงสองขวดเท่านั้น ทำให้เราอาจยังกำจัดขยะไปได้ไม่มากนัก” […]